จะเชื่อใครดี
แม่ผู้ให้กำเนิดแท้ๆ ยังไม่สนใจ
ผู้เข้าชมรวม
79
ผู้เข้าชมเดือนนี้
2
ผู้เข้าชมรวม
จะ.เชื่อใคร..ดี
ผมไม่อยากเชื่อเลยว่า เรื่องนี้มันจะเกิดขึ้นจริงๆ ในสังคมในที่ทำงานของผมเอง ..หลังจากวันมาฆบูชามาได้ไม่กี่ชั่วโมง อากาศยามเช้าของวันอังคารที่ 23 กุมภาพันธ์กำลังเย็นสบาย หลังจากผมได้เดินออกกำลังกาย บนเส้นทางถนนทางหลวงลำปาง- พะเยา- เชียงราย ในทุกๆเช้า เวลา 05.30 น. ผมจะต้องเดิน-หรือวิ่งออกกำลังกาย ออกจากบ้าน โดยจะต้องผ่านหมวดการทาง กรมทางหลวง ผ่านหมู่บ้านเคียงวัง ผ่านต้นไม้ใหญ่(ต้นแคนา )ตรงข้ามกับร้านสะดวกซื้อ ที่มีฝูงนกเอี้ยงจำนวนหลายพันตัวที่มันมาอาศัยอยู่ประจำ. พวกมันจะส่งเสียงร้องดังเจี๊ยวจ๊าว ระเบ็งเซ็งแซ่จนหนวกหูอยู่สองช่วงเวลา คือระหว่างช่วงเวลาตีสี่เป็นต้นไปจนใกล้หกโมงเช้าพวกมันก็จะบินแยกย้ายไปหากินในที่ต่างๆ และพอถึงช่วงเย็นเวลาประมาณหกโมง พวกมันก็จะบินกลับเข้ามาที่อยู่อาศัยเพื่อหลับนอนนับสิบๆปีที่เห็น มันก็ยังเป็นเช่นเดิม บ้านคนที่พักอาศัยอยู่ใกล้ๆ ที่พวกมันอยู่ คงอาจจะเคยชินกับเสียงมันร้อง แต่สำหรับผม รู้สึกหนวกหู เวลาผ่านตรงที่พวกมันอยู่อาศัย ระยะทางที่ผมออกกำลังทั้งขาไป-และกลับ มีระยะทางรวมประมาณ 6 กิโลเมตร
ช่วงขากลับ ของวันหนึ่ง ..เมื่อผมจะเลี้ยวเข้ามาตรงหน้าป้ายมหาวิทยาลัย และเดินตรงมาอีกสัก 200 เมตร ก็พบหญิงชราผู้หนึ่ง กำลังเดินมาอย่างช้าๆ ด้านหน้าของเธอมีอลูมิเนียมใช้ค้ำเดิน( Alum Walker) สำหรับหญิงชราผู้นี้ ผมเคยเห็นเธอบ่อยๆ แต่ก็ไม่เคยได้พูดคุยเลยสักครั้งเดียว รู้แต่เพียว่าเป็นมารดาของอาจารย์คนหนึ่ง ที่สอนอยู่ในที่ทำงานของผม เวลา ณ. ขณะนั้นคือ 6.20 น แสงอาทิตย์เพิ่งกำลังจะเริ่มโผล่ขึ้นจากขอบฟ้า แสงไฟจากเสาข้างทาง เพิ่งดับไปก่อนหน้า ผมเดินขิดขอบถนนด้านขวา หญิงสูงสัยเดินชิดขอบถนนด้านซ้าย จึงต้องมาสวนทางกัน ผมได้ทักทายหญิงชราขึ้นก่อน
“ แม่ กำลังจะไปไหนครับ “ผมถาม
เธอชำเลืองมาทางผม พร้อมเสียงตอบเบาๆ เป็นครั้งแรกจริงๆ ที่ผมได้ทักทายกับหญิงสูงวัยคนนี้ ก่อนหน้าผมเคยเห็นเธอเดิน ออกมาจากบ้านพักอาจารย์ใกล้ๆศาลเจ้าพ่อที่คณาจารย์และนักศึกษาของสถาบันแห่งนี้ ให้ความเคารพนับถือ
“จะไปโรงพยาบาล “หญิงสูงวัย ตอบ
“แล้วแม่จะไปอย่างไร เล่าครับ” ผมถามด้วยความเป็นห่วง
“รถสองแถว“เธอตอบด้วยน้ำเสียงน้อยใจ
หญิงสูงวัย ทั้งยังเดินกระโผลกกระเผลก ที่มองแล้ว.ให้นึกถึงลูกชายของเธอ ที่ปล่อยให้แม่ต้องพึ่งพาตนเอง แม้นไม่ใช่ญาติ แต่ก็อดเป็นห่วงมิได้
โดยปกติทุกๆเช้า ถึงช่วงสายๆ ผมจะเห็นหญิงชราคนนี้ นำเครื่องทุ่นแรงในการใช้เดิน เดินออกมาจากบริเวณที่ๆ ผมทำงานเสมอ ผมยังยืนและพูดคุยกับหญิงชรานี้อีกสักพักในขณะที่พูดคุยกับหญิงชราผมเรียกเธอว่า“แม่" อย่างเต็ม ปากเต็มคำ
“แม่อายุเท่าไหร่แล้ว เหรอครับ ”
“85 ปี แล้วล่ะ ลูก”เธอตอบ
“แม่เป็นแม่ของอาจารย์ อะไรหรือครับ ”
“อาจารย์ ยรรยงค์ ”
“อ้อ ครับ ”
“แม่ทำไม (ไม่เรียก)บ่ .ฮ้องให้อาจารย์ยงค์ ไปส่งที่โฮงยา(โรงพยาบาล) "ผมหันมาพูดภาษากำเมือง ทั้งๆที่ไม่ค่อยจะได้พูดกับใครบ่อยครั้งนัก
“ฮ้องแล่ว. มัน บ่ ตื่น.” (เรียกแล้ว เขาไม่ตื่น)
"อ้าว.ไอ้ห่า.ไม่รู้สึกรู้สา ว่าแม่มึงพิการอย่างนี้ ยังปล่อยให้ท่านไปโรงพยาบาลเพียงคนเดียว(ผมคิดในใจ) ผมถามต่อไปอีกว่า
"แล้วก่อนหน้านี้ อาจารย์ยงค์ มันเกยไปส่งแม่ที่โรงพยาบาลก่อ(มั้ย)" .ผมเอ่ยชื่อลูกชายของเธอ
“เกย.(เคย) แต่มันมาส่งฮื้อแม่..มา(ขึ้น)กึ้นรถสองแถว แล้วฮื้อมาโฮงยาเอง เปิ้นเกยปาแม่.มาโฮงยาแต่จ่มว่าต้องสอนหนังสือ อิ๊ด(เหนื่อย) (เคยส่งให้มาขึ้นรถสองแถวไปเอง บางครั้งเคยไปส่งโรงพยาบาลบ่าง แต่บ่นว่าเหนื่อยไม่อยากจะมา)
ผมอยากจะพูดเสียงดังๆ ไปถึงไอ้นี่ว่า“ อิ๊ดพ่ออิ๊ด แม่มึงนะสิ (เหนื่อยพ่อเหนื่อยแม่เอ็งสิ) แม่มึงทั้งคน ให้กำเนิดมึงมาแท้ๆ ไอ้เนรคุณ “ ผมคิด
"แค่นี้ มึงยังไปส่งแม่มึึงเองไม่ได้ มันเดรัจฉานจริงๆ ทีกับหญิงสาวที่เป็นเมียใหม่ มึงกับดูแล เอาอกเอาใจเขาดังไข่ในหิน ( แม้มันไม่ใช่เรื่องอะไรของผมเลยสักหน่อย แต่ผมเห็นแล้วอดสงสารหญิงชราคนนี้ไม่ได้ )
“ แม่ค่อยๆไปเน่อ(นะครับ) วันนี้ รถสองแถว บ่.ค่อยมี เพราะส่วน(ใหญ่)นัก เป็นรถรับส่ง นักเฮียน”ผมบอกหญิงสูงวัย
เธอมองมาที่ผม ด้วยแววตาที่บอกถึงความขอบใจ ผมยังหันหลังกลับ มาชำเลืองเธอเป็นระยะๆ ด้วยความเป็นห่วง เมื่อเดินห่างจากเธอมาได้อีก 200เมตร ก็ถึงถนนคลองชลประทาน ไม่รอช้า…ผมได้เดินไปที่ป้อมยามและเข้าไปถามไถ่ เจ้าหน้าที่รปภ..
“เมื่อสักครู่ เห็นแม่อาจารย์ยงค์มั้ย “ ผมพูด
รปภ.คนแรก ที่ผมเจอเขา ตอบว่า
” ผมได้ถามว่า..แม่จะไปไหน แม่เฒ่าบอกว่าจะไปโรงพยาบาล ปกติแกจะไม่พูดอะไรกับใคร .”
อีก 5 นาทีต่อมารปภ.ที่อาวุโสที่สนิทกับอาจารย์ยรรยงคฺ์ ได้กล่าวสบถออกมาต่อหน้าผม
“ไอ้ห่านี่เนรคุณ..เป็นถึงครูบาอาจารย์ ไม่เคยดูแลเอาใจใส่แม่ตัวเองเลยสักนิด" รปภ. ผู้อาวุโสพูดออกมาเป็นภาษากลาง เขาคงเห็นและรับกับสภาพพฤติกรรมของอาจารย์ยรรยงค์ไม่ได้จริงๆ ทั้งๆที่เขามีความสนิทสนมกันกับอาจารย์คนนี้มาก
“พอจะรู้ข่าวมั้ยว่า แม่อาจารย์ยรรยงค์ ไม่สบาย “ผมถาม รปภ. อาวุโส
“เมื่อกี้อาจารย์ยรรยงค์. ก็มาหาผม ถามว่า แม่ผมไปไหน ผมบอกว่า แม่ของอาจารย์เดินไปที่ปากทาง แต่อาจารย์ยรรยงค์ ก็นิ่งเฉยไม่ได้ทำอะไรต่อไปอีก ".
นี่คือคำบอกเล่าของรปภ.อาวุโส ที่มีบทสรุปว่า อาจารย์ผู้ที่เป็นลูกชายโดยสายเลือดได้กระทำการที่ขาดความรับผิดชอบต่อ มารดาของตนได้อย่างลงคอ
***********************************************************************************
จากที่สอบได้ถามหญิงชราว่า ได้เรียก(ปลุก)ลูกหรือไม่เพื่อให้ไปส่งที่โรงพยาบาล ท่านตอบว่าเรียกแล้ว แต่ลูกไม่ยอมตื่น. จากเหตุการณ์นี้ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นธรรมแก่อาจารย์ยรรยงค์ด้วย ผมจึงได้ไปสอบถามเพิ่มเติม กับคนงาน ซึ่งขายของกินเครื่องดื่มให้นักศึกษาของคณะวิศวกรรมศาสตร์ ที่อยู่ใกล้บ้านพักอาจารย์ยรรยงค์
“พี่…พอจะทราบเรื่อง ของแม่อาจารย์ยรรยงค์บ้างมั้ย ว่าเป็นคนอย่างไรบ้าง ”
“ก็เหมือนคนชราทั่วๆ ไป อาจจะมีเรื่องจู้จี้ขี้บ่นบ้าง แต่แกขยันนะ ” คนขายของพูด
“ผมสงสัยนะ ว่าทำไม แม่ลูกคู่นี้ จึงห่างเหินกัน เหมือนไม่ใช่แม่ลูกกันแท้ๆ เลย”ผมถาม
" อาจารย์ยงค์ เคยมาเล่าให้พี่ฟังว่า ผมรับแม่มาเลี้ยง ก็นับว่าดีแล้วนะ .ตอนที่ผมเล็กๆแม่ไม่เคยดูแล เลี้ยงผมมาเลยสักนิด ปล่อยผมอย่างหมูอย่างหมา “นี่คือคำบอกเล่าที่อาจารย์ยรรยงค์ บอกกับคนขายของและคนอื่นๆ เรื่องนี้ คือคำบอกเล่าที่คนขายของ บอกเล่าให้ผมฟังอีกทอด
“ข้อเท็จจริงเรื่องนี้ ผมจึงมิอาจหยั่งใจว่า ควรจะเชื่อใครมากกว่ากัน” ผมคิด
จริงๆแล้ว ผมพอจะรู้จักอุปนิสัยของอาจารย์คนนี้ดี ..ผมยังจำได้ว่า สมัยแรกๆที่เขาเเข้ามาทำงานที่นี่ใหม่ๆ ผมคือคนที่ช่วยเหลืองานและช่วยจัดงานมงคลสมรสของเขาแลภริยา ให้สำเร็จลุล่วงโดยช่วยประสานงาน ช่วยเขียนโฟมตกแต่งสถานที่ ทั้งที่เขื่อนกิ่วลม และที่ห้องอาหารที่จัดงานมงคลสมรส เขาอยู่กินกับภริยาได้สิบกว่าปี ก็ต้องหย่าขาดจากกัน ลูกๆ ทางฝ่ายภริยาเป็นผู้ดูแลเลี้ยงลูกโดยตลอด สามีทำงานที่ลำปาง ส่วนภริยาทำงานที่เชียงราย ต่างคนต่างมีครอบครัวใหม่ โชคดีที่ภริยาของอาจารย์ยรรยงค์เลี้ยงดูบุตรชายได้อย่างดียิ่ง ตัวเขาเสมือนคนป่วยทางจิต ที่มีเพื่อนๆ อาจารย์ได้กล่าวว่า
“อาจารย์ยงค์ ชอบถ้ำมองตามบ้านอาจารย์สาวๆและห้องน้ำของนักศึกษาหญิง”
เขาถูกสงสัยเกี่ยวกับเรื่องนี้มานาน แต่ยังไม่เคยถูกจับได้คาหนังคาเขา สักครั้ง จึงรอดตัวไป
******************************************************************************************
. ผมได้เห็นหญิงชราผู้เป็นแม่ของอาจารย์ยรรยงค์ ได้ประมาณสองสามปีที่ผ่านมา แต่ก็ไม่เคยรู้ว่าหญิงชราคนนี้เป็นแม่ของเขา. ไม่อยากนึก ไม่อยากคิดเลยว่า คนมีการศึกษา มีหน้าที่การงานที่ดี อย่างเขาจะกล้าทิ้ง หรือปล่อยให้แม่ อยู่อย่างคนไม่มีหัวนอนปลายตีนดังคนอนาถาไร้ญาติ
“คำพูดที่ว่า“แม่คนเดียว เลี้ยงไม่ได้” จึงเป็นสิ่งที่ไม่เกินความจริง และมันปรากฏ ขึ้นให้เห็นกับตาของผมและคนทั่วไปว่า อาจารย์ยรรยงค์มีพฤติกรรมเช่นนั้นจริงๆ
“มันเป็นไป ได้ไง ” ผมถามตนเอง
โดยเฉพาะเรื่องนี้.มันเกิดขึ้นกับสังคมของคนที่เป็นครู ที่จะต้องเป็นแบบอย่างที่ดีกับเยาวชน ในฐานะที่ผมมีหน้าที่ ที่จะต้องอบรมบ่มเพาะทั้งวิชาชีพและคุณธรรม บ่อยครั้ง. ช่วงที่ผมสอนวิชาภาวะผู้นำในหัวข้อเรื่องคุณธรรมของผู้นำ ผมได้เคยเล่าตัวอย่างเรื่องนี้ ให้นศ.ฟังและถามเขาไปว่า หากคุณเป็นอาจารย์คนดังกล่าว คุณจะดูแลเลี้ยงดูบุพการี อย่างไร นี่คือสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวที่ผมสอนเรื่องความกตัญญู ให้นศ. ได้เห็นของจริง โดยไม่ต้องใช้หนังหรือละครให้ชม
หลังจากวันนั้นแล้ว ผมยังเจอหญิงสูงวัย เป็นระยะๆ บางครั้งเห็นเธอนำเอาพืชผักมาขายที่ร้านค้าใกล้คลองชลประทาน ใครๆที่เห็นเธอต่างก็รู้สึกสงสาร ก็ช่วยกันอุดหนุน ผมคิดว่าแม่ของอาจารย์ยรรยงค์ คงน่าจะภูมิใจว่าเธอไม่ได้แบมือขอเงินลูก .ผมเคยได้ยินอาจารย์ที่พักในละแวกนั้น พูดหรือครหากับเธอว่า เธอมักจะไปเอาพืชผัก จากบ้านคนอื่นๆ ที่เขาปลูกมาขาย ผมก็รู้สึกเพียงแต่เห็นใจ..
“แม่ปลูกกล้วยหอมเองหรือครับ ขายไง ”
“แม่ปลูกเอง หวีละ 40 บาท ”
หญิงชรา กึ่งพิการ ที่ต้องเขยกๆ พลางเอาตะกร้าใส่กล้วย มายืนขายๆ ข้างๆป้อมยาม ให้เห็น แม้ผมจะได้ยินข่าวในทางมิดีของหญิงสูงวัย การจะไปพูดแนะนำ คนคราวแม่ จึงมิน่าจะเหมาะนัก
ชีวิตของเธอในบั้นปลายแทนที่จะมีความสุขกับต้องมาทุกข์ทรมานกับลูก ผมได้แต่นึกสงสาร.และนึกภาวนา ให้ลูกชายของเธอสำนึกในด้านความกตัญญูต่อมารดา แต่สำนึกนั้น.หาได้มีไม่
**********************************************************************
ต่อมา.อีกไม่นาน แม่ของอาจารย์ยรรยงค์ ก็ได้เสียชีวิตลง เขาได้นำศพมารดามาบำเพ็ญกุศล ที่วัดแห่งหนึ่ง .ใกล้ๆที่ทำงาน ชาวบ้านชาวช่องที่ได้เห็นกับสภาพของหญิงชรา ต่างรู้สึกสงสารเธออย่างมาก บ่อยๆครั้งที่เธอมาปรับทุกข์กับชาวบ้าน
“ลูกชายของแม่ อยากให้แม่ ไปอยู่บ้านพักคนชราที่เชียงใหม่ เขาทั้งปล่อย ทั้งทิ้งแม่ ดังกับแม่ไม่ใช่แม่ผู้ให้กำเนิด ” เธอมาปรารภกับชาวบ้านอย่างนั้น
แต่แล้ววันหนึ่ง… ที่วัด….ผมเห็นชาวบ้านช่วยกันจัดเตรียมจัดงานศพให้หญิงสูงวัยคนดังกล่าว โดยไม่มีลูกชายชองเธอมาทำหน้าที่เตรียมงาน เพียงแต่เขาไดคุยกับทางวัดว่า
ยังไงทางวัด ช่วยจัดการงานศพให้แม่ของเขาให้ด้วย เสร็จงานแล้ว เขาจะจัดการเรื่องเงินค่าใช้จ่ายให้
หมดเวร .หมดกรรม เสียที. เธอได้จากไปจากสงบ โดยไม่รู้สาเหตุการตาย ว่าเกิดจากสาเหตุใด..
สู่สุขคติเถอะ หญิงชรา ผู้น่าสงสาร อยู่ไปก็ทุกข์ใจ ..กรรมเวรที่มันทำ คงสนองแก่มันสักวัน..
ขลุ่ย บ้านข่อย
(๑๐ -๑๐ - ๖๕ )
หมายเหตุ ผมเขียนเรื่องนี้ ตั้งแต่ปีที่แล้ว และมาเขียนเพิ่มเติมเมื่อหญิงชรา ได้สิ้นอายุขัยลง
เนื้อเรื่อง
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ผลงานอื่นๆ ของ ขลุ่ย บ้านข่อย ดูทั้งหมด
ผลงานอื่นๆ ของ ขลุ่ย บ้านข่อย
ความคิดเห็น