ทามาก็อตจิ - ทามาก็อตจิ นิยาย ทามาก็อตจิ : Dek-D.com - Writer

    ทามาก็อตจิ

    ผู้เข้าชมรวม

    2,331

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    3

    ผู้เข้าชมรวม


    2.33K

    ความคิดเห็น


    1

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  4 ธ.ค. 49 / 17:21 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

      ระวังให้ดี!!! ทามาก็อตจิกลับมาแล้ว

       

      ของเล่นสัตว์เลี้ยงดิจิตอลที่เคยฮอตฮิตไปทั่วโลกเมื่อ 10 ปีก่อน กลับมาอาละวาดอีกแล้ว คราวนี้เจ้า ทามาก็อตจิ หันมาเอาใจเจเนอเรชั่นใหม่วัยเยาว์ ด้วยการเพิ่มคุณสมบัติอีกเพียบ

      พร้อมกับสร้างโลกของสัตว์เสมือนจริง  ให้พวกมันได้คบหาสมาคมกัน  แถมออกลูกออกหลานได้ด้วย แบบนี้เด็กๆ หรือจะอดใจไหว
      ดูตัวอย่างจากสองพี่น้องตัวกระเปี๊ยก  ทากุมิ  และ  อายากะ  โมชิซุกิ  ที่นำเจ้าทามาก็อตจิแขวนคอไว้กับตัวตลอดเวลา ขณะเดินเที่ยวชมในร้านค้าแห่งหนึ่ง ที่กรุงโตเกียว นานเป็นชั่วโมง เพื่อที่เจ้าสัตว์เลี้ยงเสมือนจริงของพวกแก จะสามารถสื่อสารปฏิสัมพันธ์กับทามาก็อตจิยักษ์ ที่มาเดินสายถึงที่นี่
      "ผมชอบเลี้ยงทามาก็อตจิของผมครับ"   ทากุมิ วัย 5 ขวบ มองด้วยสายตาละห้อยเพราะผิดหวังที่ไม่มีเงินเสมือนจริงพอที่จะซื้ออะไรให้กับสัตว์เลี้ยง "วัย 3 ขวบ" ของแกที่ตลาดใหญ่ ซึ่งจะต้องเข้าซื้อผ่านทามาก็อตจิยักษ์เท่านั้น "ผมล่ะเซ็งจริงๆ เลย"
      เจ้าทามาก็อตจิมีอะไรดี ถึงทำให้เด็กๆ ต้องมาคอยเฝ้าหน้าจอขนาดเล็กจิ๋ววันละหลายหน เพื่อให้อาหาร, เล่นหรืออาบน้ำให้พวกมัน
      ทามาก็อตจิเจเนอเรชั่นใหม่นี้   ไม่เหมือนกับรุ่นดั้งเดิมที่หมดความนิยมไปอย่างรวดเร็ว  หลังจากคนเห่อกันเพียงชั่วประเดี๋ยวประด๋าว บริษัทบันได ผู้ผลิตของเล่นจากญี่ปุ่น ในเครือนัมโคบันได โฮลดิงส์ ตั้งความหวังว่า  โลกทามาก็อตจิที่มีบุคลิกลักษณะหลากหลาย และการทำตลาดอย่างระมัดระวัง จะทำให้บริษัทสามารถปลุกความคลั่งไคล้ในตัวทามาก็อตจิให้ฟื้นคืนชีพได้สำเร็จ
      "เราอยากลองฟื้นคืนชีวิตให้ทามาก็อตจิตลอดมา  เพราะความคลั่งไคล้หมดลงเร็วเหลือเกิน" ทาเคอุชิ  ฮงโกะ  หัวหน้าเจ้าหน้าที่แผนกทามาก็อตจิวัย 51 ปีของบริษัทบันได กล่าว และเสริมด้วยว่า บริษัทตั้งตัวไม่ทันตอนที่ของเล่นชนิดนี้ กลายเป็นปรากฏการณ์ฮอตฮิตในยุคทศวรรษ 1990s โดยเฉพาะในหมู่เด็กหญิงมัธยมและพวกสาวๆ
      เวอร์ชั่นใหม่ล่าสุด ที่เปิดตัวในญี่ปุ่นเมื่อปี  2547  ขายเครื่องละประมาณ  25  เหรียญฯ (ราว 1,000  บาท)  ถูกเพิ่มความสามารถในการสื่อสารเข้าไป เพื่อให้เจ้าทามาก็อตจิสามารถพบปะและเล่นเกมกันได้ข้ามเครื่อง ผ่านเซ็นเซอร์อินฟราเรด
      สัตว์เลี้ยงเสมือนจริงรุ่นใหม่นี้ จะสามารถโตเป็นผู้ใหญ่  ทำงานทำการได้  แถมยังสามารถจับคู่แต่งงานกับทามาก็อตจิของคนอื่นได้ด้วย เมื่อเจ้าคู่รักทามาก็อตจิมีลูก - ซึ่งมันจะเป็นลูกแฝด เพื่อให้เจ้าของแบ่งกันเลี้ยงได้คนละตัว  -  เจ้าพ่อแม่ทามาก็อตจิก็จะหายเข้าไปอยู่ใน ดาวเคราะห์ทามาก็อตจิ ที่ซึ่งพวกเด็กๆ สามารถไปเยี่ยมได้ผ่านคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล
      ส่วนทามาก็อตจิที่ถูกเลี้ยงดูไม่ดี ก็อาจกลายเป็นงูหรือเป็นหัวขโมย  แต่เจ้าของที่ขยันเลี้ยงก็จะสามารถเลี้ยงแตกยอดออกไปได้ถึง 999 เจเนอเรชั่น
      แผนกผลิตของเล่นของบันไดคาดว่า ผลกำไรประกอบการปีล่าสุดสิ้นสุดเดือนมีนาคมจะเพิ่ม25.8%  มาอยู่ที่ราวๆ  136 ล้านเหรียญฯ จากปีก่อนหน้านี้ ด้วยยอดขายประมาณ 1.5 พันล้านเหรียญฯ หรือเพิ่มขึ้น 7.4% จากอานิสงส์ของความคลั่งไคล้ทามาก็อตจิ
      หลังเปิดตัวรุ่นใหม่มาได้ 2 ปี ทามาก็อตจิชุดที่สองทำยอดขายทั่วโลกไปได้ 20 ล้านเครื่องแล้วในเดือนนี้
      แต่จำนวนนี้ก็เป็นเพียงครึ่งหนึ่งจากยอดขายเดิม ที่ทามาก็อตจิรุ่นดั้งเดิมเคยทำไว้ที่ 40 ล้านเครื่อง
      ฮงโกะยอมรับว่า เมื่อครั้งที่เปิดตัวทามาก็อตจิครั้งแรกเมื่อปี 2539 บริษัทเก่าแก่ซึ่งมีลูกจ้างไม่ถึง 1,000 คนแห่งนี้ ไม่ทันได้เตรียมการรับมือกับความต้องการซื้อที่เพิ่มพรวดพราด
      ของเล่นชนิดนี้ กลายเป็นที่ต้องการของเด็กหนุ่มสาวญี่ปุ่นกันมาก ถึงขนาดที่ว่าพวกลูกจ้างของบริษัทบันไดถูกห้ามถือถุงที่มีโลโก้บริษัท เพราะกลัวถูกขโมย
      จากไอเดียง่ายๆ ของผู้บริหาร ที่รักสัตว์เลี้ยงเป็นชีวิตจิตใจ ที่นำมาสู่การประดิษฐสัตว์เลี้ยงเสมือนจริงที่พกพาไปไหนมาไหนได้ กลายเป็นสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมของยุคดิจิตอล ที่หลายประเทศ  เช่น  จีน และฟิลิปปินส์ ประณามว่าของเล่นชนิดนี้สร้างพฤติกรรมต่อต้านสังคม และถูกโรงเรียนทั่วโลกสั่งแบน
      ยุคนั้นบันไดไม่สามารถผลิตทามาก็อตจิได้ทันกับความต้องการ  แต่พอถึงช่วงที่บริษัทเพิ่มศักยภาพในการผลิตได้พอ  กระแสคลั่งไคล้ก็เลิกบูมเสียก่อน สินค้าผลิตเหลือบานเบอะ และบริษัทก็แบกตัวเลขขาดทุนในปีบัญชี 2542 จนต้องปรับโครงสร้างหนี้
      "เรารู้ว่าเราไม่อาจทำผิดแบบเดิมซ้ำสอง"  ฮงโกะที่มีลูกเล็กๆ  สองคน กล่าว  "ตอนนั้นเราไม่มีกลยุทธ์อะไรเลย"
      บันไดแก้ปัญหาใหม่และตั้งมั่นจะทำให้ทามาก็อตจิติดตลาดถาวร   พร้อมกับตั้งฮงโกะขึ้นเป็นหัวหน้าแผนกทามาก็อตจิเมื่อปี 2547 และทำการวิจัยตลาดก่อนเปิดตัวสินค้ารุ่นใหม่
      บริษัทหลีกเลี่ยงการทุ่มโฆษณา แต่เปลี่ยนมาเจาะกลุ่มเป้าหมาย ด้วยการลงบทความเกี่ยวกับทามาก็อตจิในนิตยสารสำหรับเด็กๆ และยังกะเก็งการเปิดตัวเวอร์ชั่นใหม่อย่างระมัดระวังพร้อมกับสินค้าเกี่ยวเนื่องกับการสร้างโลกตัวละครต่างๆ
      ทามาก็อตจิยังกลายเป็นเกมนินเทนโด  ที่บริษัทบันไดลงมือผลิตเอง ทำยอดขายได้ 1 ล้านชุดในญี่ปุ่น ส่วนยอดขายที่สหรัฐก็เริ่มต้นได้สวย
      บันได้ยังทำเกมทามาก็อตจิในโทรศัพท์มือถือ    และมีแผนจะขายโทรศัพท์ยี่ห้อทามาก็อตจิ ที่กะล่อใจพวกเด็กๆ โดยร่วมมือกับบริษัทโทรศัพท์ไร้สายวิลล์คอม ที่เป็นบริษัทร่วมทุนระหว่างคาร์ไลล์กรุ๊ปจากสหรัฐกับบริษัทเคียวเซราของญี่ปุ่น
      เห็นกลยุทธ์การตลาดยุคใหม่ของทามาก็อตจิแล้ว ก็ให้หวั่นใจแทนพ่อแม่ผู้ปกครองเสียจริง.

      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×