สมาธิสั้น : ภัยร้ายใกล้ตัว - สมาธิสั้น : ภัยร้ายใกล้ตัว นิยาย สมาธิสั้น : ภัยร้ายใกล้ตัว : Dek-D.com - Writer

    สมาธิสั้น : ภัยร้ายใกล้ตัว

    โดย Mr. AB

    สมาธิสั้นคืออะไร ? รู้หรือไม่...ว่าจะส่งผลร้ายแรงอย่างไรกับตัวคุณ !!!

    ผู้เข้าชมรวม

    2,345

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    5

    ผู้เข้าชมรวม


    2.34K

    ความคิดเห็น


    8

    คนติดตาม


    27
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  20 ม.ค. 58 / 19:39 น.


    ข้อมูลเบื้องต้นของเรื่องนี้

    สมาธิสั้น : ภัยร้ายใกล้ตัว



              รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา I20202 

    การสื่อสารและการนำเสนอ

    ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557

    ชั้นมัธยมการศึกษาปีที่ 3/11

    โรงเรียนศรีอยุธยาในพระอุปถัมภ์ ฯ

    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

       


              คำพูดที่ว่าเด็กซนคือเด็กฉลาดนั้นไม่จริงเสมอไป เพราะในปัจจุบันนี้ถ้าหากลูกหลานของคุณมีอาการซนมากๆ อารมณ์หุนหันพลันแล่น และสมาธิสั้น แสดงว่าพวกเขาอาจจะกำลังประสบปัญหาของโรคสมาธิสั้นอยู่ ซึ่งถ้าหากเป็นภาวะนี้แล้ว เขาต้องการการดูและเป็นพิเศษจากทั้งคุณพ่อคุณแม่ผู้ปกครอง ครูอาจารย์ และที่สำคัญจากแพทย์ด้วย

      โรคสมาธิสั้นนั้นไม่ได้เป็นแต่เฉพาะเด็กเท่านั้น ผู้ใหญ่ก็เป็นได้เหมือนกัน

       
             อาการโรคสมาธิสั้น

             โรคสมาธิสั้นเป็นความผิดปกติอย่างหนึ่งเกี่ยวกับพฤติกรรม ซึ่งจะพบบ่อยในเด็กวัยเรียน ซึ่งอาการของโรคสมาธิสั้นนั้น จะแบ่งเป็น 3 กลุ่มอาการหลัก

      กลุ่มอาการที่ 1 ขาดสมาธิ Inattentiveness  ไม่สามารถที่จะจดจ่อทำอะไรได้นาน เหม่อลอย หลงลืม และในกลุ่มเด็กนักเรียนนั้นก็อาจจะสังเกตได้เวลาที่คุณครูสอนจะมีอาการเหม่อลอยไม่ฟังครู หลงลืม ของหายบ่อย

      กลุ่มอาการที่ 2 ซนอยู่ไม่นิ่ง Hyperactivity  ชอบวิ่ง ปีนป่าย ไม่อยู่นิ่ง

      กลุ่มอาการที่ 3 หุนหันพลันแล่น Impulsiveness  ควบคุมอารมณ์ไม่ได้เวลาโกรธ เสียใจ ผิดหวัง ไม่ได้ดั่งใจ จะแสดงอารมณ์รุนแรงออกมาทันทีโดยไม่ได้ยั้งคิด

       

       



                   เด็กซนที่เป็นโรคสมาธิสั้นสังเกตอย่างไร ???
               เด็กซนมากผิดปกติ สังเกตได้ เช่น อยู่นิ่งไม่ได้ ต้องขยับตัว ทำนั้นทำนี่อยู่ตลอดเวลา สนใจอะไรที่ชอบก็จะจ่อได้นาน แต่ถ้าเป็นอะไรที่ไม่ชอบหรือเป็นเรื่องเรียน เขียน อ่าน จะไม่มีสมาธิ

      สมาธินั้นวัดจากงานที่ทำอย่างเช่น การบ้านหรือเวลาฟังที่ครูสอนจะไม่สมารถจดจ่ออยู่ได้นาน ถ้าเทียบกับเด็กคนอื่นๆ ส่วน เกม ทีวี หรือสื่อต่างๆ ไม่นับเพราะมีสิ่งเร้าทั้งแสง เสียงตลอดเวลา

       

       

       


      สาเหตุของโรคสมาธิสั้น
      1. ปัจจัยทางชีวภาพ
      คือ เกิดจากพันธุกรรม

      2. ปัจจัยทางร่างกาย เช่น การทำงานของสมอง การทำงานที่ผิดปกติของระบบสารสื่อประสาน

      3. ปัจจัยจากสภาพแวดล้อม เช่น การเลี้ยงดูจากครอบครัว โดยจะพบว่าการเลี้ยงดูที่ไม่ค่อยมีความสม่ำเสมอในเรื่องของการฝึกระเบียบวินัย หรือการปรับพฤติกรรม

       

       

            

       


       

       
            ผลเสียของโรคสมาธิสั้น

            1. ไม่สามารถหยุดนิ่งหรือทำสิ่งใดนาน ๆ ได้

      2. ส่งผลกระทบและความเสียหายกับงานและต่อการเรียนรู้

      3. เมื่อเกิดอาการสมาธิสั้นแต่ไม่ทำการรักษาทำให้เมื่อสูงอายุขึ้นเกิดเป็นโรคที่มีผลต่อความทรงจำรวดเร็วกว่าช่วงอายุ เช่น โรคอัลไซเมอร์

      4. อารมณ์จะแปรปรวนและอ่อนไหวง่าย จนเมื่อมีเรื่องมากระเทือนอาจทำให้ถึงขั้นฆ่าตัวตาย


              การรักษาอาการสมาธิสั้น


      ปรับแนวคิด ยอมรับความเป็นจริง ตามสภาพธรรมชาติ ที่สำคัญที่สุดเลยคือยอมรับอาการของตนเอง ไม่ต่อต้านหรือรู้สึกละอาย ซึ่งจะเป็นการยิ่งเสริมให้มีอาการหนักขึ้น

      เลือกงานที่ใช่ งานบางงานที่ไม่ถูกโรคกับสมาธิสั้น คืองานที่ต้องใช้สมองซับซ้อน นั่งอยู่กับที่ จมอยู่กับตัวเลย ฯลฯ งานเหล่านี้เป็นงานที่ไม่ถูกโรคกับผู้ป่วยโรคสมาธิสั้น ลองเปลี่ยนสายงานให้ไม่ต้องใช้กระบวนการบริหารจัดการ ไม่ยุ่งยากสลับซับซ้อนในขั้นตอนการทำ ไม่ต้องวางแผน ฯลฯ เช่น งานการตลาดและงานขาย งานไกด์ ช่างภาพ ฯลฯ งานที่ต้องทำนอกสถานที่และเปลี่ยนไปเรื่อยๆ จะเหมาะกับผู้ป่วยโรคนี้มากกว่า

      กีฬา กีฬา เป็นยาวิเศษ การเล่นกีฬานอกจากจะช่วยให้สนุกและเพลิดเพลิน แล้วยังช่วยปรับอารมณ์ของผู้ป่วยให้กลับมาสดใสร่าเริง หรือได้ปลดปล่อยความเครียดไปกับกีฬาได้อีกด้วย

                • ใครสักคนที่เข้าใจ การมีผู้ที่เข้าใจ อารมณ์เย็น มีเหตุมีผล ย่อมเป็นที่พึ่งที่ดีที่สามารถลดความกังวลได้อีกด้วย ที่สำคัญเลยคือเราต้องพูดความจริงกับคนผู้นั้น และขอให้เขาช่วยเตือนหรือส่งสัญญาณเวลาทำอะไรไม่เหมาะสม เชื่อแน่ค่ะว่าในชีวิตทุกคนต้องมีคนนี้อยู่ข้างๆ แล้วแน่นอน อย่างน้อยก็คุณพ่อคุณแม่นั่นล่ะค่ะ

               • คิดบวก...ช่วยได้ การคิดบวกนั้นนอกจากจะเป็นการให้กำลังใจแล้ว ยังช่วยให้เรามีความสุขกับการใช้ชีวิตประจำวันอีกด้วย เช่น เมื่อกินอะไรไม่อร่อยก็อย่าเพิ่งหงุดหงิด ให้คิดว่าเรายังกินได้เองไม่ต้องให้ใครป้อนถือว่าโชคดีแล้ว หรือมีกินก็ดีแล้วมีอีกหลายคนบนโลกที่มื้อนี้ไม่มีอะไรตกถึงท้อง หรือทำอะไรได้เสร็จแต่ผลสำเร็จได้เพียง 60 % ให้คิดว่าอย่างน้อยดีกว่าทำไม่ได้ หรือไม่ได้ทำ เป็นต้น

       

      นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      คำนิยม Top

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      คำนิยมล่าสุด

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      ความคิดเห็น

      ×