ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ดูการ์ตูนอย่างแมว ๆ

    ลำดับตอนที่ #516 : ทำไมอนิเมะ Dororo (2019) จึงเป็นผลงานที่หลายคนคาดหวัง?

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 5.94K
      41
      17 ม.ค. 62

    Dororo เป็นมังงะ ของโอซามุ เทตสึกะ นักเขียนการ์ตูนชาวญี่ปุ่นผู้ได้ฉายาว่า บิดาแห่งการ์ตูนญี่ปุ่น (ลิขสิทธิ์ในประเทศไทยโดย สำนักพิมพ์วิบูลย์กิจ และเรื่องนี้ถือว่าเป็นหนึ่งในผลงานที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของโอซามุก็ว่าได้

    โดยชื่อโดโรโระซึ่งเป็นชื่อของเด็กชาย (?) คนหนึ่งในเรื่อง    แต่เอาเข้าจริง บทบาท พระเอกและจุดศูนย์กลางของเรื่อง ก็คือพระเอกชื่อ เฮียกกุมารุ ต่างหาก

     


    ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ Dororo manga

     

    เนื้อเรื่องการ์ตูนได้กล่าวถึง  ในญี่ปุ่นยุคเซ็นโกคุหรือในยุคสงครามระหว่างแคว้น มีชายคนหนึ่งเป็นซามุไรครองแคว้นชื่อ คาเงะมิตสึ ไดโกะ ได้ทำข้อตกลงกับเหล่าปีศาจทั้ง 48 ตัว โดยมีเงื่อนไขให้ตนชนะสงครามและเป็นผู้ยิ่งใหญ่ และไม่พ่ายแพ้แก่ผู้ใดไม่ว่าจะเป็นการรบที่ไหนก็ตาม  ซึ่งเชาได้แลกเปลี่ยนสัญญากับปีศาจ โดยใช้ 48 อวัยวะสำคัญของร่างกายของลูกชายที่ยังมิได้ถือกำเนิดของเขาคนนี้ไว้เป็นสิ่งค้ำประกันกับพวกปีศาจ

    ต่อมาลูกของคาเงะมิตสึได้ถือกำเนิดขึ้น โดยไร้อวัยวะสำคัญของร่างกายทั้ง 48 จนดูเหมือนตัวหนอน แต่สามารถร้องได้ คาเงะมิตสึจึงนำเด็กน้อยใส่ตะกร้าแล้วปล่อยลอยไปตามน้ำ

    แต่เป็นโชคดีของเด็กน้อยที่ได้รับการช่วยเหลือจากแพทย์ผู้มีนามว่า จู เด็กน้อยที่ถูกเก็บมาได้รับการขนานนามจากจูไคว่า เฮียกกุมารุ จูไคได้ทำการคิดค้นเรื่องการปลูกถ่ายอวัยวะเทียมได้อย่างยอดเยี่ยมเอาไว้มากมายในช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมาทำให้เด็กน้อย เฮียกกุมารุ ดำเนินชีวิตได้อย่างคนปกติทั่วไป และเฮียกกุมารุยังมีพลังเหนือธรรมชาติหลายประการทำให้เขาสามารถมองเห็น พูดคุยได้ยินทั้งที่ไม่มีตา ปาก หรือ หู และจูไคก็ได้ตีดาบขึ้นมา 2 เล่ม และติดเป็นแขนให้กับเฮียกกุมารุ พร้อมกับสอนเพลงดาบให้

    เมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่เฮียกกุมารุ ได้ออกเดินทางเพื่อกำจัด ปีศาจทั้ง 48 เพื่อนำเอาร่างกายของเขากลับคืนมา หลังจากเดินทางได้ไม่นานเขาก็ได้เพื่อนร่วมทางเป็นเด็กน้อยผู้มีความสามารถเกินวัย เป็นหัวขโมยที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่นนั่นคือ โดโรโระ) ทั้งเฮียกกุมารุและโดโรโระเดินทางไปทั่วอาณาจักรญี่ปุ่นเพื่อปราบปีศาจ

     

    เทะซึกะ โอซามุ เกิดเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน ค.ศ. 1928 ในเมืองฟูโฮวจู จังหวัดโอซาก้า เริ่มต้นจากการเรียนหมอ ก่อนที่จบออกมากลายเป็นนักวาดการ์ตูน และเป็นผู้ริเริ่มการ์ตูนญี่ปุ่นสู่ยุคใหม่ จากยุคก่อนการ์ตูนญี่ปุ่นเป็นเหมือนนิยายภาพที่ใช้คำบรรยายประกอบใต้ภาพ แต่โอซามุใช้เทคนิคการแบ่งช่อง การใช้มุมมองภาพหลายทิศทาง การใส่ช่องคำพูด แทนที่จะบรรยายใต้ภาพ และการสร้างเป็นเรื่องราวยาว

    โอซามุนั้นมีผลงานการ์ตูนมากมาย เนื้อหาลายเส้นอาจดูเป็นการ์ตูนสำหรับเด็ก แต่อย่างไรก็ตามหลายเรื่องเน้นไปกลุ่มดูผู้ใหญ่ เพราะบางภาพก็ดูน่ากลัว หวาดเสียว และดราม่า สมจริงสมจัง ไอเดียต่างๆ มุมมองชีวิตของมนุษย์  สอดแทรกด้วยมุกตลกเข้า ทำให้งานของโอซามุมีเอกลักษณ์

    ผลงานเด่นๆ ของโอซามุก็มี เจ้าหนูปรมาณู (Astro Boy) เรื่องราวของการผจญภัยของเจ้าหนูหุ่นยนต์ที่ต่อสู้กับเหล่าร้าย, แบล๊คแจ๊ค หมอปีศาจ (Black Jack) เรื่องของศัลยแพทย์หนุ่มยอดฝีมือที่มาพร้อมบททดสอบว่าชีวิตมนุษย์มีค่าเพียงใด, ฮิโนโทริ วิหคเพลิง Hi no Tori (The Phoenix) ที่นำเอาความเชื่อศาสนาพุทธมาผสมกับเรื่องราวประวัติศาสตร์ไปจนถึงไซไฟแฟนตาซี ฯลฯ

    คำถามต่อมา แล้วโดโรโระจัดว่าเป็นอนิเมะแบบไหน? และดีที่สุดของโอซามุหรือเปล่า

    คำตอบคือ โดโรโระเป็นมังงะการ์ตูนที่ดี ที่ถูกลืม ส่วนหนึ่งแม้เนื้อหาตอนต้น เข้มข้น น่าติดตาม แต่ช่วงหลังๆ ดันจนจบง่ายเกินไป หรือเอาที่เข้าใจคือ “ตัดจบ” ทำให้กลายเป็นการ์ตูนที่ถูกลืมเหมือนการ์ตูนหลายเรื่องของโอซามุ (ที่มักจบแบบนี้)

    ในขณะพี่เจ้าหนูอะตอม และแบล็คแจ๊ค ถูกนำมาสร้างเป็นอนิเมะ เกม และภาพยนตร์หลายครั้ง แต่โดโรโระนั้นแม้ว่าจะได้รับความสนใจอยู่บ้าง แต่นับงานได้ น้อยมาก

                    ต้นฉบับโดโรโระฉบับมังงะ มีทั้งหมด 4 เล่ม (1967-1968) โดยที่เนื้อหาสามารถไปต่อได้หลายเล่ม แต่ไม่รู้เพราะอะไรที่จบแบบดื้อ จากนั้นก็มีอนิเมะช่วงปี 1969-1969  จำนวน 26 ตอน  (เป็นขาวดำ) มีภาพยนตร์คนแสดงปี 2007 (เนื้อหาพอรับได้ แต่อาจไม่สนุกมาก)

                    แม้ว่าโดโรโระจะมีจำนวนน้อย แต่สำหรับผมแล้ว โดโรโระเป็นอีกหนึ่งผลงานที่ผมชอบที่สุดของโอซามุ (รองจาก Microid S) เพราะส่วนหนึ่งโดโรโระเป็นผลงานที่ดาร์ก  โศกนาฏกรรมได้เต็มเปี่ยม ได้เป็นอย่างดี

                    ยุคสมัยที่การ์ตูนนำเสนอคือยุคสงครามกลางเมือง ที่เต็มไปด้วยการต่อสู้ ฆ่าฟัน  โจรป่าชุกชุม ชาวบ้านก็อยู่กันหวาดผวา ความดี ความมีศีลธรรมหดหาย เหล่าปีศาจที่ครั้งหนึ่งอยู่แต่เงามืด ไม่เคยมีตัวตน เริ่มออกมาสู่โลกมนุษย์ ทำร้ายผู้คนซ้ำเติมอีก

                    โอซามุนั้นค่อนข้างเป็นคนที่มักนำเสนอความเลวร้ายของสงคราม สาเหตุช่วงที่โอซามุยังเด็กนั้นญี่ปุ่นกำลังอยู่ช่วงยอมแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 แบบย่อยยับ ทำให้โอซามุเกลียดสงคราม และมันนำเรื่องความโหดร้ายนี้ใส่ลงในการ์ตูนบ่อยครั้ง โดโรโระก็เป็นอีกเรื่องที่นำเสนอเรื่องเหล่านี้ และพยายามเน้นเรื่องความซวย ชาวบ้าน ผู้บริสุทธิ์ มารับเคราะห์จากลูกหลงของสงคราม ภาพบ้านเรือนพังพินาศ ความหวาดระแวง เด็กกำพร้า คนถูกฆ่าด้วยเรื่องเล็กน้อย สิ่งนี้คือสิ่งที่พบเห็นในการ์ตูนโดโรโระก็ว่าได้

                    สาเหตุหนึ่งที่การ์ตูนเรื่องนี้ชื่อโดโรโระ ก็เพราะเนื้อหาส่วนใหญ่จะเป็นการเล่าในมุมมองของเด็กที่ชื่อโดโรโระ โอซามุเองมักใส่ตัวเอกที่เป็นเด็กเป็นหลักอยู่แล้ว จึงไม่แปลกใจนัก โดยตอนแรกโดโรโระเป็นเด็กที่ถูกพวกอันธพาลรุมทำร้ายเพราะโดโรโระแอบขโมยของพวกมันมา  หากแต่ระหว่างที่โดโรโระถูกซ้อมอยู่นั้น เฮียกกุมารุผ่านทางพอดี และการปรากฏตัวของปีศาจขยะ หลังจากที่เฮียกกุมารุจัดการมันได้ ก็ได้ชิ้นส่วนร่างกายคืน โดโรโระเห็นว่าเฮียกกุมารุสนใจจึงได้ติดตามเขาไปด้วย แม้จะรู้ว่าเส้นทางเฮียกกุมารุเดินทางนั้นมันจะอันตรายก็ตาม


    หลังโดโรโระกับเฮียกกุมารุเดินทางไปด้วยกัน แม้ตอนแรกๆ จะเป็นแบบโดโรโระแอบติดตามเฮียกกุมารุที่ต้องฆ่าปีศาจ 48 ตนเพื่อทวงร่างกายกลับคืนมา ระหว่างนั้นเราก็ทราบเรื่องราวของเฮียกกุมารุไปทีละเล็กทีละน้อย ว่าเขาผ่านอะไรมาบ้าง และทำไมเขาต้องการร่างกายของตนกลับคืนมา แม้ว่าสิ่งที่เขาทำจะอันตรายก็ตาม

    แน่นอนว่าตัวละครที่สร้างสีสันของเรื่องคือเจ้าหนูโดโรโระที่หลายคนชื่นชอบไม่มากไม่น้อย แม้ว่าจะมีนิสัยดูกวนๆ แต่ก็เป็นวิถีของเด็กที่เอาตัวรอดในยุคที่โหดร้ายป่าเถื่อนนี้ ก่อนที่ตอนท้ายเรื่องเราจะทราบประวัติที่น่าสะเทือนใจพอๆ กับเฮียกกุมารุ รวมไปถึงความลับที่ช็อกสำหรับใครหลายคน 4

    ทั้งสองผจญภัยมาทุกรูปแบบ และทั้งสองต่างพึ่งพากันและกัน จนกระทั่งในช่วงสุดท้ายที่มาถึงบทสรุปของแต่ละคน ที่เต็มไปด้วยโศกนาฏกรรม และการจากลา....

    โดโรโระอาจไม่ใช่การ์ตูนที่ดีเมื่อเทียบผลงานของโอซามุ แต่มันก็เป็นการ์ตูนที่น่าสนใจ เนื้อเรื่องเข้มข้น น่าติดตาม  จึงไม่แปลกแต่อย่างใดที่มีการ์ตูนหลายเรื่องได้รับแรงบันดาลจากการ์ตูนเรื่องนี้ไม่มากไม่น้อย

    และตัวผมเองก็เป็นคนที่ชอบอ่านการ์ตูนเรื่องนี้ และรู้สึกสนใจมากที่การ์ตูนเรื่องนี้ถูกทำเป็นอนิเมะในปี 2019   (ความจริงก่อนหน้านั้นก็มีมังงะในปี 2018 ออกมาสักพักแล้ว แต่ไม่ขอพูดถึงละกัน)


     


    ในปี 2019 มีการรีเมคเรื่อง Dororo (ดาบล่าพญามาร โดโรโระ) ผลงานเก่าของ เทซึกะ โอซามุ ผลิตโดย MAPPA ร่วมกับ Tezuka Productions

    ตอนที่ผมกำลังเขียนบทความนี้อนิเมะกำลังฉายไปสองตอน โดยรวมๆ แล้วยังอยู่ในระดับน่าพอใจ เพราะอย่างน้อยอนิเมะยังทำอะไรให้น่าสนกว่าต้นฉบับตรงที่เปลี่ยนรายละเอียดเรื่องราวบ้าง เป็นต้นว่าเหล่าปีศาจที่ชิงร่างกายเฮียกกุมารุ จาก 48 ตน เหลือเพียง 12 ตน และเนื้อเรื่องเริ่มต้นที่เฮียกกุมารุยังไม่ได้ฆ่าปีศาจเลยสักตัว (ในมังงะต้นฉบับก่อนหน้าที่เฮียกกุมารุตอนโตปรากฏตัวก็ฆ่าพวกปีศาจมาบ้างแล้ว)

    ทำให้ดูน่าสนใจมากขึ้นตรงที่ เฮียกกุมารุในอนิเมะตอนแรก แทบทำอะไรไม่ได้เลย เหมือนคนพิการเกือบสมบูรณ์ ไม่พูด ไม่จบ ไม่ส่งกระแสจิต เหมือนในต้นฉบับ นอกจากเดิน แล้วต่อสู้ ทำให้เราได้เห็นเฮียกุมารุแทบทำอะไรอย่างอื่นนอกจากนั้นไม่ได้เลย ทำให้เราได้เห็นโมเมนต์โดโรโระข่วยเหลือเฮียกกุมารุหลายฉาก ซึ่งต้นฉบับไม่มี เพราะส่วนมากเฮียกกุมารุมักต้องเป็นฝ่ายช่วยโดโรโระไม่ให้เกิดอันตรายมากกว่า (แม้ว่าโดโรโระจะช่วยเฮียกกุมารุหลายครั้ง

    พูดถึงเฮียกกุมารุภาค 2019 นี้ก็แตกต่างจากต้นฉบับ  คตวามจริงต้นฉบับเองก็มองไม่ออกสักเท่าไหร่ ว่าเฮียกกุมารุมีคาแร็คเตอร์ภายนอกเป็นหนุ่มบอบบางหรือไม่ แต่ในอนิเมะปี 1969 เราจะเห็นเฮียกุมารุที่ดูเป็นผู้ใหญ่ อารมณ์แบบพระเอกซามูไรจ๋า แต่เฮียกกุมารุ 2019 ดูเป็นหนุ่มบอบบาง เพียงลม มากกว่าทำให้ได้ความรู้สึกน่าใจไปอีกแบบ (เอาง่ายๆ น่ารักดี)

                    อย่างไรก็ตาม เนื้อหาก็ยังคงมีบางส่วนคงต้นฉบับเอาไว้ อย่างตอนที่ 2 ที่พวกเฮียกกุมารุเมาหมู่บ้าน ที่เหล่าชาวบ้านต้อนรับอย่างดี ก่อนที่จะมาเฉลยว่าหัวหน้าหมู่บ้านเป็นปีศาจกินคน ที่เหล่าชาวบ้านรู้เห็นเป็นใจ หลอกล่อนักเดินทางให้ปีศาจกิน เพื่อขโมยของมีค่าจากนักเดินทาง ซึ่งตรงกับต้นฉบับ เพียงแต่อนิเมะจะไปเร็วนิดหน่อย และตัวปีศาจไม่ได้น่ากลัวเท่าต้นฉบับเท่านั้น (เพราะปีศาจกากมาก)

                    แต่สิ่งที่น่าสนใจคือ ตัวอนิเมะได้เลือกที่จะใช้ลายเส้นบรรยายกาศไม่ให้เหมือนต้นฉบับ ผิดจาก ไม่เหมือนอนิเมะช่วงปี ช่วงปี 1969- ที่ลายเส้น บรรยากาศ เหมือนต้นฉบับมากกว่า

    นอกจากนี้อนิเมะเรื่องนี้ผลิตโดย MAPPA ร่วมกับ Tezuka Productions ก็ไว้ใจได้ โดย  Tezuka Productions ก็เป็นสตูดิโอที่เน้นเอาผลงานโอซามุมาทำเป็นอนิเมะมาอย่างยาวนาน  ส่วน  MAPPA เองก็มีผลงานอนิเมะที่มีภาพงามๆ และได้รับความชมหลายเรื่อง ดังนั้นเรื่องงานภาพอนิเมะเรื่องนี้หายห่วง ทำออกมาได้เนียนตา ฉากต่อสู้เน้นความเร็วไปนิด แต่พอดูได้ (เพราะมันเป็นสไตล์ต่อสู้ของพระเอกอยู่แล้ว)

    ดังนั้นเรื่องโดโรโระจึงเป็นอนิเมะที่คาดหวังในซีซั่นนี้ เพราะโดยส่วนตัวนานๆ จะได้เห็นอนิเมะดัดแปลงของโฮซามุนอกจาก อะตอม, แบล็คแจ๊ค เสียที (ซึ่งทั้งสองเรื่องผมไม่ได้อวยมากนัก)   สำหรับบทความนี้ไม่ขอเขียนอะไรมาก เพราะความสนุกของเรื่องมันอยู่ที่บทสรุปของตัวละคร และความลับที่หลอกคนดู ที่คนที่ไม่เคยดูต้นฉบับมาก่อนอาจช็อก หากอยากรู้ว่ามันคืออะไรก็ต้องติดตามดูเอาเอง

     

     หากมีอารมณ์ อาจจะเขียน 10 ผลงานนอกสายตาของโฮซามุว่าเรื่องไหนดีละกัน ไว้โอกาสหน้า

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×