ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ดูการ์ตูนอย่างแมว ๆ

    ลำดับตอนที่ #286 : “คุณไม่ใช่ผู้ถูกเลือก” จากเดวิด มอยด์ ถึงอนาคิน สกายวอล์คเกอร์

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 2.77K
      2
      9 มิ.ย. 57

     

    หลายมักคุณหูกับ "ผู้ถูกเลือก" หรือ "The Chosen One" เสมอ โดยคำนี้หมายถึง การที่คนหนึ่ง (หรือกลุ่มหนึ่ง) ได้รับเลือกให้เป็นตัวแทนอะไรบางอย่าง โดยแบกรับความคาดหวังของหลายคนเอาไว้ และผู้ถูกเลือกจะต้องทำอะไรบางอย่างเพื่อตอบสนองคนหลายคนให้สมหวัง

    หลายคนอยากเป็น “ผู้ถูกเลือก” เพราะการเป็นผู้ถูกเลือกนั้นมันแตกต่างจากคนธรรมดาทั่วไป มันเหมือนว่าเราเป็นคนพิเศษ เป็นจุดศูนย์กลางของสังคมหนึ่ง หากเราเปลี่ยนอะไรก็ตามล้วนเป็นที่จดจำ

    “ผู้ถูกเลือก” คำนี้ยังคงมีอิทธิพลต่อจิตใจมนุษย์มาช้านาน ในตำนานเก่าแก่ ไปจนถึงพระคัมภีร์ ก็กล่าวถึง “ผู้ถูกเลือก” ในฐานะผู้นำพามนุษย์ให้พ้นภัย ขจัดมารร้าย นำมวลมนุษย์สู่ความหวังต่อไป  

                    แม้แต่หลายวงการ ก็มียังใช้คำนี้ ไม่ว่าจะเป็นสโมสรกีฬา ที่ได้เลือกผู้จัดการทีมคนใหม่ที่หวังว่าจะมาช่วยให้ทีมของพวกเขาดีขึ้น หรือเป็นนักการเมืองที่ถูกเลือกโดยประชาชนทั้งประเทศเพื่อบริหารงานด้วยความหวังจะทำให้ชาติบ้านเมืองเจริญยิ่งขึ้น  หรือแม้แต่การ์ตูนญี่ปุ่น ก็มีพล็อต “ผู้ถูกเลือก” ออกมาในลักษณะผู้กล้าที่ถูกเลือกลงมายังโลกต่างมิติ เพื่อเป็นความหวังของผู้คน ในการปราบจอมมารนำความสงบความร่มเย็นมาสู่โลก

                    ตลอดประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา มีคนดังและวีรบุรุษตำนานมากมายที่เกิดจากผู้ถูกเลือก ไม่ว่าจะเป็น โจน ออฟ อาร์ค” ผู้ซึ่งรับเลือกจากาสวรรค์ให้เป็นผู้กอบกู้ฝรั่งเศสจากอังกฤษ แม้แต่ผู้นำอย่าง “นโปเลียน” ไปจนถึง “ฮิตเลอร์” ก็ถูกคาดหวังโดยประชาชนของพวกเขาว่าเขาคือผู้ถูกเลือก

    และนั้นเองทำให้ผู้ถูกเลือกส่วนมากเป็นด้านบวก และแสดงให้เห็นว่า “ผู้ถูกเลือก” คือบุคคลพิเศษ แตกต่างจากคนธรรมดาทั่วไป  คำนี้ถือว่าเป็นคำที่มีความหมายมากสำหรับมนุษย์ เพราะมันเต็มด้วยอารมณ์ความรู้สึกของมนุษย์มากมาย โดยเฉพาะความหวัง

    อย่างไรก็ตาม ใช่ว่าทุกคนจะเป็นผู้ถูกเลือก ที่ได้รับเลือกแล้วจะสามารถทำทุกอย่างให้ดีขึ้น บางครั้งอาจเลวร้ายลง หรือเป็นอย่างอื่น อะไรบางอย่างที่หลายคนไม่คาดฝัน แต่เป็นด้านลบ ไม่สามารถตอบสนองต่อความคาดหวังของหลายคนแม้แต่น้อย จนมีประโยคหนึ่งพูดเชิงประชดว่า “คุณคือผู้ถูกเลือก แต่คุณจะใช่หรือเปล่า?” ตัวอย่างที่ชัดเจนก็คือ “ฮิตเลอร์” ที่ประชาชนหลงเชื่อว่าเขาคือผู้ถูกเลือก ถูกโยงเข้ากับตำนาน คำทำนายต่างๆ มากมาย ว่าเขาจะเป็นบุคคลพิเศษ สามารถนำเยอรมันยิ่งใหญ่ได้ หากคนในชาติต่อสู้เคียงบ่าเคียงไหล่เขา แต่ผลสุดท้ายเยอรมันกลายเป็นผู้แพ้สงคราม จากผู้ถูกเลือก ฮิตเลอร์ได้กลายเป็นผู้นำหายนะที่น่ารังเกียจของโลกไป


    The inside track on incoming Manchester United manager David Moyes
    เดวิด มอยส์ ไม่ใช่ผู้ถูกเลือกสำหรับแมนยู

     

    “คุณคือผู้ถูกเลือก แต่คุณจะใช่หรือเปล่า?” หรือ “คุณไม่ใช่ผู้ถูกเลือก” คำนี้หลายคนอาจคุ้นๆ เพราะเรามักได้ยินประโยคนี้สรุปถึงเรื่องราวของชายคนหนึ่งที่ชื่อ “เดวิด มอยส์”  ใครที่เป็นคอฟุตบอล โดยเฉพาะฟุตบอลลีกฟรีเมียร์ลีก ประเทศอังกฤษ ต้องรู้จักคนนี้แน่นอน เพราะเขาเป็นผู้จัดการทีมฟุตบอลชาวสกอตแลนด์ที่มีชื่อเสียง และรับหน้าที่เป็นผู้จัดการทีมฟุตบอลแมนแชสเตอร์ยูไนเต็ด หรือ “แมนยู” ซึ่งเป็นทีมฟุตบอลที่มีชื่อเสียงของโลก

    ตอนที่เดวิด มอยส์คุมทีมแทนเซอร์อเล็กซ์ เฟอร์กูสันซึ่งประกาศยุติทำหน้าที่เป็นผู้จัดการทีมเมื่อ 2012-2013 ซึ่งเซอร์อเล็กซ์นั้นเป็นบุคคลในตำนานของทีม เป็นผู้ถูกเลือกอย่างแท้จริง เพราะเขาได้นำทีมแมนยูที่อดีตเคยเป็นทีมตกต่ำในไปสู่ความยิ่งใหญ่ยาวนานหลายสิบปี ดังนั้นเมื่อยุติหน้าทีไป หลายคนย่อมคาดหวังมากมาย ว่าผู้จัดการคนใหม่ที่มาแทนท่านเซอร์อเลก็ซ์ จะนำพาทีมแมนยูสู่ความยิ่งใหญ่ต่อไป แน่นอนหวยออกไปที่ “เดวิด มอยส์”

    หลายคนยกเดวิด มอยส์ว่าเขาคือ “ผู้ถูกเลือก” เพราะท่านเซอร์อเล็กเป็นคนเลือกเขาเอง โดยบอกว่าเขาเป็นคนสกอต มีความซื่อสัตย์ และสามารถทำให้แมนยูดีขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม หลายคนไม่เชื่อฝีมือเดวิด มอยส์มากนักเพราะเขาเป็นผู้จัดการทีมที่มีประสบการณ์ไม่ได้มากมายอะไรมากนัก คุมแต่ทีมเล็ก และไม่เคยประสบความสำเร็จอะไร

                    แม้ว่าจะมีกระแสไม่เชื่อใจฝีมือการคุมทีมของเดวิด มอยส์จะมีมากมายก็ตาม แต่ก็มีบางส่วนเชื่อใจเดวิด มอยส์ โดยให้เหตุผลว่า “ให้เวลาเป็นเครื่องพิสูจน์” ว่าเขาคือของจริงหรือไม่

                    และเวลาก็เป็นเครื่องพิสูจน์จริงๆ เมื่อเดวิด มอยส์คุมทีมแมนยูได้อย่างย่ำแย่ ทำให้ทีมแมนยูที่เคยยิ่งใหญ่ในอดีต กลายเป็นสมันน้อย ตลอดฤดูกาล 2013-2014 ในฤดูกาลเดียว โดยแมนยูอยู่ในอันดับ 7 จาก 20 ทีมของตารางคะแนน ไม่ผ่านการเล่นยูฟ่าแชมเปี้ยนส์ลีกเป็นครั้งแรกในรอบ 19 ปี ทำให้ทีมเสียหายรายได้หลายพันล้านบาท

                    นอกจากนี้ ยังทำให้แฟนบอลทีมแมนยูหลายคนเกิดอาการไม่พอใจ บางกลุ่มถึงขั้นระดมเงินทุนสำหรับจ้างเครื่องบินเล็กติดป้ายข้อความ "Wrong One - Moyes Out" ซึ่งหมายความว่า "ผิดคนแล้ว-มอยส์ ออกไป" ให้บินสนามเหย้าของแมนยู เพื่อเป็นการตอบโต้กับแผ่นป้าย "Chosen One" หรือ "ผู้ที่ถูกเลือก" ซึ่งเป็นป้ายให้กำลังใจ มอยส์ ที่ถูกเลือกเข้ามาคุมทีมต่อจาก เซอร์ อเล็กซ์ เฟอร์กูสัน ที่ถูกติดอยู่บริเวณชั้นบนของอัฒจันทร์ฝั่ง สเตรทฟอร์ด เอนด์

    ด้วยเหตุผลด้านลบต่างๆ มากมาย และนั้นเองทำให้วันที่ 22 เมษายน 2014 บอร์ดบริหารของแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด ลงมติปลดมอยส์ออกจากตำแหน่ง และทำการปลดป้าย “ผู้ถูกเลือก” ของเดวิด มอยส์ ลง ปิดตำนานเดวิดมอยส์ผู้ถูกเลือกของแมนยูลงไปในที่สุด

    แน่นอน หลังมีการปลดเดวิด มอยส์ ก็มีการถกเถียงตามมามากมายว่าสมควรปลอดเดวิด มอยส์หรือไม่ เพราะเดวิด มอยส์คุมทีมเพียงฤดูกาลเดียว และตลอดการคุมทีมเขาได้รับความกดดันจากความหวังของแฟนบอลที่คุ้นเคยกับความสำเร็จมาโดยตลอด 2 ทศวรรษ มันไม่แตกต่างอะไรกับการทำงานให้ผ่านเป้าหมายทั้งทีระยะที่ให้นั้นสั้น แต่อยากเห็นเป้าหมายโดยเร็ววัน

    เหมือนดั่งเช่น ผู้กล้าที่รับเลือกในการ์ตูนญี่ปุ่น ใช่ว่าจะเป็นคนเก่งครั้งแรกแบบข้ามคืน มาถึงใช่ว่าจะไปสู้กับจอมมารบอสใหญ่ในทันที  เพราะส่วนใหญ่แล้วผู้กล้าคือคนธรรมดา ที่ต้องการเวลา เพื่อสะสมประสบการณ์ ความอดทนในการเรียนรู้วิชา ไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้การต่อสู้ด้วยอาวุธ เวทมนต์ ไปจนถึงการพัฒนาความสัมพันธ์เพื่อนร่วมกลุ่ม ฯลฯ ดังนั้นจึงใช้ระยะเวลานาน ความช้า ถึงจะเห็นผล

    กรณีของเดวิด มอยส์คุมทีมแค่ไม่กี่นัด ตัดสินว่าเขาไม่ใช่ผู้ถูกเลือกนั้น มันอาจเกินไป มันอาจโหดร้ายสำหรับโลกฟุตบอล ที่ต้องการผลสำเร็จโดยเร็ว แม้จะมีปัจจัยต่างๆ มากมาย แต่อย่างไรก็ตามผู้จัดการคือบุคคลที่ต้องโดนก่อนเสมอ

    ในขณะบางคนเปรียบเดวิด มอยส์ กับท่านเซอร์อเล็กซ์ ซึ่งท่านเซอร์อเล็กซ์นั้นเคยล้มเหลวกับแมนยูหลายครั้งในช่วงแรกเล่ม ก่อนที่จะใช้ 2-3 ฤดูกาลเพื่อเรียนรู้ สร้างผลงาน ศึกษาประสบการณ์มากมาย การสร้างความสัมพันธ์กับนักแตะในทีม และเด็กท้องถิ่น จนยิ่งใหญ่มาได้

    อย่างไรก็ตาม มีหลายคนไม่เห็นด้วยกับความคิดไม่ควรปลดมอยส์ ด้วยการให้เหตุผลว่าเดวิด มอยส์ไม่จำเป็นต้องให้เวลา เพราะมีหลายอย่างบ่บอกแล้วว่าเดวิด มอยส์ไม่ใช่ผู้ถูกเลือกสำหรับแมนยู ไม่ว่าจะเป็นการคัดเลือกคน การมองนักแตะใหม่ การวางแผน ไปจนถึงการสร้างความสัมพันธ์กับลูกทีมนั้นไม่สามารถประสบความสำเร็จในระยะสั้น และสื่อให้ล้มเหลวในระยะยาวด้วยซ้ำ ดังนั้นการปลดเดวิด มอยส์ตั้งแต่เนิ่นๆ นั้นน่าจะเป็นด้านดีมากกว่า เพราะหากขื่นให้เดวิด มอยส์คุมทีม จะทำให้ทีมเสียหายระยะยาว จนไม่สามารถนำกลับคืนได้

    ไม่ว่าเดวิด มอยส์สมควรถูกปลดหรือไม่ แต่ความจริงตอนนี้คือเดวิด มอยส์พ้นสภาพจากการเป็นผู้จัดการทีมไปแล้ว เขาไม่ได้เป็นผู้ถูกเลือก ผู้สร้างตำนานดีๆ ความทรงจำดีๆ ร่วมกับทีมแมนยูที่ยิ่งใหญ่อีกแล้ว

    กรณีของเดวิด มอยส์นั้น อาจมองได้ว่าคือการปลดตั้งแต่เนินๆ เมื่อไม่รู้ว่าเดวิด มอยส์ไม่ชู้ถูกเลือก และอาจนำพาแมนยูสู่ความตกต่ำได้ ซึ่งถือว่าโชคดีมากสำหรับใครหลายคน ผิดจากกรณีหนึ่งที่ “ผู้ถูกเลือก” ได้กลายเป็น “ผู้ไม่ใช่ผู้ถูกเลือก” ความหวังใหม่ได้กลายเป็นหายนะ ที่ยากจะแก้ไข

    แน่นอนผมพูดถึงอนาคิน สกายวอล์คเกอร์สตาร์วอร์นั้นเอง

     

     

    ดาร์ธ เวเดอร์

     

    อนาคิน สกายวอล์คเกอร์ (Anakin Skywalker) คือตัวละครตัวหลักจากภาพยนตร์สตาร์ วอร์ส  ซึ่งมีบทบาทสำคัญเป็นตัวละครหลักในภาพยนตร์ทั้งหกภาคของสตาร์วอร์ส และเนื้อหาในจักรวาลขยาย (ในการ์ตูนคอมมิค, อนิเมชั่น, วีดีโอเกม, นิยาย) อีกจำนวนมาก เรียกได้ว่าอนาคินเป็นพระเอกก็ไม่ผิดนัก (โดยเฉพาะภาค 1, 2, 3) อย่างไรก็ตามหลายคนรู้จักเขาในชื่อดาร์ธ เวเดอร์ (สตาร์ วอร์ส ภาค 4, 5 และ 6) มากกว่า

                    แน่นอนว่าหลายคนในที่นี้รู้จักสตาร์ วอร์ส (หากไม่รู้จัก ผมก็ไม่รู้จะพูดอะไรต่อแล้วล่ะ) เพราะเป็นซีรีย์ภาพยนตร์ขึ้นหิ้วกลายเป็นตำนานของโลก เรียกว่าสร้างชื่อให้ผู้กำกับจอห์น ลูคัสประดับในวงการตลอดกาล  อีกทั้งภาพยนตร์ยังก่อให้เกิดวัฒนธรรมใหม่ในวงการ ไม่ว่าจะเป็นมุมมองสงครามไซไฟ และหลายสิ่งหลายอย่างกลายเป็นแรงบันดาลใจให้คนรุ่นใหม่จนถึงปัจจุบัน (โดยเฉพาะดาบเลเซอร์)

                    เนื้อหาของสตาร์วอร์ส ถ้าพูดให้ตามตรงก็ไม่ได้มีอะไรซับซ้อนแปลกใหม่มากนัก เพราะเนื้อหาเป็นเรื่องการต่อสู้ความดีและความชั่ว  (สว่างและมืด) ในช่วงแรกๆ เรียกว่าเป็น “ลิเกของฝรั่ง” ก็ไม่ผิดนัก หากแต่ช่วงหลังๆ ก็เริ่มซับซ้อนมากขึ้น ระหว่างเริ่มมีการตีความมากขึ้นว่าตัวละครนี้ดีหรือชั่ว หรือเป็นตัวละครที่ออกไปทางเทาๆ มากกว่า และนอกจากนี้ก็เพิ่มประวัติตัวละครในเชิงลึกมากขึ้น

                    จะไม่ให้ลิเกได้ง่าย เพราะสตาร์วอร์สภาคแรกเริ่มฉาย 1977 (ชื่อภาค “ความหวังใหม่” เนื้อหาช่วงแรกๆ สูตรสำเร็จมากๆ และความสมจริงอาจมีอะไรสะดุด ไม่สมจริงเหมือนอย่างปัจจุบัน แต่สมัยนั้นถือว่ามันสมบูรณ์แบบมาก แม้เนื้อหาจะสูตรสำเร็จ แต่การสร้างโลกของสตาร์วอร์ส และเทคนิคพิเศษมากมายที่ทันสมัยในยุคนั้น ก็เพียงพอทำให้หลายคนสนใจ ติดตามแล้ว

                    แม้ว่าสตาร์วอร์สจะจบไปแล้วในหกชุดแล้วก็ตาม แต่มันก็มีการสร้างเรื่องราวขยายความต่อยอดกันมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์ย้อนก่อนภาพยนตร์, ขยายความระหว่างรอยต่อของแต่ละภาค ไปจนถึงภาคต่อภาพยนตร์ ในรูปแบบอื่นๆ โดยเฉพาะอนิเมชั่น การ์ตูน วีดีโอเกม นิยาย และอื่นๆ อีกนับไม่ถ้วน จนไม่มีท่าจะหยุด จนกลายเป็น “จักรวาลสตาร์วอร์ส” ที่แท้จริงไปแล้ว

                    และแน่นอนว่าตัวละครที่โดดเด่นที่สุดในสตาร์วอร์สนั้นเห็นจะไม่เกิดไปกว่า อนาคิน สกายวอล์คเกอร์ หรือดาร์ธ เวเดอร์ ซึ่งถือว่าเป็นตัวละครที่เป็นตัวเอกที่มีสีสันมากที่สุด เพราะประวัติชีวิต การกระทำ มีทั้งด้านสว่าง ด้านเทาๆ ไปจนถึงด้านมืด ประวัติชีวิตโลดโผน เป็นจุดศูนย์กลางจักรวาลโดยแท้จริง

                    อย่างไรก็ตาม หลายคนมักรู้จักอนาคิน สกายวอร์คเกอร์ ในภาพลักษณ์ของดาร์ธ เวเดอร์มากกว่า ซึ่งปรากฏครั้งแรกในภาค “ความหวังใหม่” แม้ว่าดาร์ธ เวเดอร์จะเป็นตัวร้าย แต่หลายคนกลับรู้จักผู้ร้ายคนนี้ ยิ่งกว่าพระเอกลุค สกายวอร์คเกอร์ที่เป็นลูกชายด้วยซ้ำ เพราะดาร์ธ เวเดอร์นั้นเท่ แถมเสียงหายใจจากเครื่องกรองอากาศที่เป็นเอกลักษณ์ พร้อมประโยคสุดฮิตอมตะว่า “ข้าคือพ่อของเจ้า” ทำให้ดาร์ธ เวดอร์ติดทำเนียบผู้ร้ายยิ่งใหญ่ที่สุดในภาพยนตร์ตลอดกาล ชนิดไม่มีใครโค่นได้

     

    Naberrie, Padmé Amidala 

    ตำนานรักอนาคินกับแพดเม่

     

                    ในช่วงที่อนาคินจะเกิดนั้น จักรวาลสตาร์ วอร์สเต็มไปด้วยความวุ่นวาย เมื่อมีใครคนหนึ่งพยายามทำลาย  “สภาเจได” ซึ่งเป็นนิกายพลังสายสว่างที่มีหน้าที่รักษาสันติภาพและความยุติธรรมเพื่อความสงบเรียบร้อยของจักรวาล (อารมณ์เดียวกับอเมริกา) และใครคนหนึ่งที่ว่าได้ก่อสงครามทั่วทั้งจักรวาลเพื่อให้สภาเจไดเข้าร่วมสงคราม

    ในช่วงนี้เองอนาคินได้เกิดมา แม้ว่าอาคินเป็นชาว “ดาวทาทูอิน” ดาวแห้งแล้งบ้านป่าเมืองเถื่อนดวงหนึ่งของจักรวาลสตาร์วอร์ส(แต่ความจริงอนาคินเกิดที่อื่นแล้วอพยพมาอยู่ดาวแห่งนี้เมื่ออายุได้สามปี มีแม่ชื่อ “ฉมี สกายวอล์คเกอร์” แต่ไม่มีพ่อ บุตรชายของเธอเกิดมาโดยไม่มีบิดา เขาเกิดจากครรภ์บริสุทธิ์ (ทำนองเดียวกับพระเยซู ในคติคริสเตียน ซึ่งฉมี แสดงโดยเพอร์นิลลา ออกัสต์ ซึ่งเคยได้รับบทบาทเป็นมารดาของพระเอซูในภาพยนตร์เรื่อง “Mary Mother or Jesus”) อาจเกิดเพราะเจตจำนงของพลังทำให้เขาจำเป็นต้องเกิดขึ้นมา

                    ชีวิตของอนาคินตอนเป็นเด็กยากจน แล้งแค้นมาก และเขาเป็นทาสของคนอื่นด้วยซ้ำ อย่างไรก็ตามเขาเป็นเด็กมหัศจรรย์มีพรสรรค์ในการสร้างหรือซ่อมเครื่องจักร อีกทั้งยังมีความกล้าหาญ ชอบผจญภัย ชอบเสี่ยง และชอบช่วยเหลือผู้อื่น ทำให้ลึกๆ แล้วอนาคินมีความทะเยอทะยานอยู่ไม่น้อย

                    อย่างไรก็ตาม ชีวิตของอนาคินก็ต้องเปลี่ยนไปตลอดกาล เมื่อเขาพบอาจารย์เจไดไควกอน จิน และลูกศิษย์โอบีวัน ที่ได้พาจาร์ จาร์ และแพดเม่ อมิดาล่าสาวสวยที่เป็นราชินีแห่งนาบูเป็นสาวใช้ เพื่อหลับหนีลี้ภัยการเมืองมาดาวแห่งนี้ ซึ่งอนาคินนั้นแอบหลงรักแพดเม่ (ตอนนั้นรูปลักษณ์อนาคินอายุประมาณ 7 ปี ส่วนแพดเม่น่าจะเป็นสาวอายุ 14- 17 ปี  หากดูวิกิพีเดียเปรียบเทียบก็พบว่าอนาคินเกิดก่อน ซึ่งผมก็ไม่ได้เป็นแฟนสตาร์วอร์สสักเท่าไหร่ แต่ที่แน่ๆ อนาคินเป็นสายโอบาคอน หากมองด้วยสายตาเปล่า)

                    อนาคินจึงชวนคณะหนีภัยการเมืองมาบ้านพักของเขา ซึ่งหลังจากเจไดไควกอน ได้รู้ชาติกำเนิดของเขา ได้เห็นพรสวรรค์และสัมผัสถึงพลังที่แข็งแกร่งในตัวอนาคิน ซึ่งตรงกับคำทำนายของเจไดโบราณว่า เขาคือ “ผู้ถูกเลือก โดยผู้ถูกเลือกจะนำสมดุลพลังมาสู่จักรวาล ซึ่งคนผู้นั้นเกิดมาจากครรภ์บริสุทธิ์”

                    เจไดไควกอนเชื่อว่าอนาคินเป็นผู้ถูกเลือกชนิดหากพนันก็จะพนันแบบหมดหน้าตัก  ดังนั้นเขาจึงให้ความสำคัญกับเด็กคนนี้มากยิ่งกว่าอะไรทั้งหมด  หลังอนาคินพ้นสภาพเป็นทาส ไดโควกอนจึงพาเขาไปฝากตัวสภาเจได้ เพื่อฝึกฝนอนาคินให้เป็นเจได (ให้อารมณ์แบบเฟอร์กี้แนะนำเดวิดมอยด์นั้นแหละ)

                    แต่หลังจากทดสอบพลังดูแล้ว สภาเจไดต่างส่ายหัวเป็นแถวๆ โดยบอกว่าเด็กคนนี้ไม่เหมาะเป็นเจได เพราะเขามีอายุมากกว่าที่จะได้รับการฝึกเจไดตามที่กำหนดเอาไว้ (เจไดต้องฝึกตั้งแต่เด็กน้อยด้วยซ้ำ) อีกทั้งเด็กคนนี้มีด้านมืด อนาคตที่มืดมน มีแต่ความกลัว และโกรธมากเกินไปซึ่งเป็นสิ่งติดตัวมาจากการที่เขาเป็นทาส

                    แม้สภาเจไดจะปฏิเสธ แต่อาจารย์เจไดไควกอนยังคงยืนยันว่าจะฝึกฝนอนาคินเป็นเจได เพราะเขาเชื่อว่าอนาคินเป็นเป็นผู้ถูกเลือก แต่อย่างไรก็ตามอาจารย์เจไดไควกอนไม่ได้เป็นอาจารย์อนาคินอย่างที่ตั้งใจเอาไว้ เพราะเขาเสียชีวิตจากการต่อสู้เสียก่อน ทำให้หน้าที่การเป็นอาจารย์อนาคตตกมาอยู่ที่โอบีวันแทน ซึ่งโอบีวันก็เชื่อเหมือนอาจารย์เจไดไควกอนว่าอนาคินคือผู้ถูกเลือก และแล้วอนาคินก็ได้เป็นเจไดแบบสมใจ

                    เรื่องของอนาคินก็เหมือนเดวิด มอยด์ ความเชื่อของผู้คนหนึ่งที่ทำการคัดเลือก “ผู้สืบทอด” ว่าเขาคือ “ผู้ถูกเลือก”  ชนิดว่าไม่มีใครคนอื่นอีก ต้องเป็นคนนี้เท่านั้น  ในขณะที่พวกผู้ใหญ่หลายคนต่างส่ายหน้าบอกว่า “จะไหวเหรอ?”, “ดูแล้วไม่เหมาะน่า” หรือ “มีแววจะล่มอย่างบอกไม่ถูก”, หรือ “ใช่ผู้ถูกเลือกจริงเรอะ” แต่อย่างไรก็ตาม แม้ว่าหลายคนไม่เห็นด้วย แต่ “ผู้ถูกเลือก” ก็เข้ามาสืบทอดมีบทบาทในองค์กรก็ได้ ด้วยเหตุผลที่ว่า “ควรให้เวลาเป็นตัวตัดสิน” มากกว่า “ตัดสินด้วยภาพลักษณ์ มโน”

     

     AnakinEstGrumpy.png

    อนาคินตอนเข้าสู่ด้านมืด

     

    บางครั้งการให้โอกาสตนนั้นมีแต่ดี มากกว่าเสีย เพราะเราเปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่พิสูจน์ความสามารถ  ทั้งนี้จะสามารถรักษาความยิ่งใหญ่ในองค์กร แน่นอนหากคนรุ่นใหม่มีฝีมือดีกว่าคนรุ่นเก่า ก็สามารถรับตำแหน่งแทนคนรุ่นเก่าได้เลย หากเก่งจริง

    อย่างไรก็ตาม บางครั้งการให้โอกาส ก็ไม่สามารถ หากผู้ถูกเลือก ผู้ให้โอกาสไม่สามารถทำสิ่งที่เราหวังได้ เป็นต้นว่า คนรับเหมาก่อสร้าง ที่สร้างบ้านไม่ตรงกับความต้องการ ผิดพลาดบ่อยครั้ง  เราก็สามารถปลดผู้รับเหมา หรือหากคนรุ่นใหม่ทำงานไม่ได้เรื่อง เราก็ไล่ออกได้ เพียงแต่ว่าเรามองออกหรือเปล่าว่าเขาไม่ได้เรื่อง ทำองค์กรเสื่อมเสีย  ต้องใช้เวลานานเท่าไหร่จึงจะรู้ว่าเขาไม่ใช่ผู้ถูกเลือก

    ในกรณีของอนาคินนั้นพวกผู้ใหญ่มองไม่ออกตั้งแต่ต้นยันจบ จริงอยู่เขาเป็นคนรุ่นใหม่ที่เต็มไปด้วยพลัง หลังจากที่อนาคินฝึกฝนการเป็นเจได เขาก็ก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว จนกลายเป็นนักรบเจไดที่เก่งที่สุดในประวัติศาสตร์คนหนึ่ง แม้ว่าอายุยังน้อยแต่มีผลงานมากมาย อีกทั้งยังบุคลิกน่านับถือ ภายนอกดูแข็งกร้าว แต่จิตใจอ่อนโยน ทำอะไรก็ทุ่มสุดตัว อีกทั้งยังเป็นที่รักของใครหลายคน

    แต่อย่างไรก็ตาม อนาคินมีข้อเสียมากมาย คือมความโอหัง  ไม่ชอบเข้าสังคมกับคนรุ่นเดียวกัน หากดูอนิเมชั่นจะพบว่าอนาคินแทบไม่มีเพื่อน หรือคู่หูที่เป็นเด็กรุ่นเดียวกันเลย อีกทั้งยังปฏิบัติตามกฎ เจไดมีกฎห้ามอะไร อนาคินก็แหกเสียทุกข้อ

    และอย่างที่หลายคนรู้กัน สุดท้ายอนาคินก็ค่อยๆ หันแหเข้าสู่ด้านมืดของพลัง และได้กลายเป็น “ดาร์ธ เวเดอร์” ที่หลายคนรู้จักกัน อนาคินไม่ได้เป็นผู้ถูกเลือก แถมยังเป็นผู้สร้างหายนะ ไม่เป็นเพียงแค่องค์กร (สภาเจไดต้องล่มสลาย) เท่านั้น หากแต่รวมถึงสังคม โลก (จักรวาลสตาร์วอร์) ด้วยมือของอนาคินคนเดียว

    แต่กรณีของอนาคินแตกต่างจากเดวิด มอยด์ เพราะอนาคินไม่ได้เป็นคนทำงานผิดพลาด บริหารอะไรไม่ดี เหมือนเดวิด มอยด์  เพราะเขาเป็นคนรุ่นใหม่ที่มีความสามารถ ทำอะไรก็เก่งไปหมด เป็นนักบินก็ชั้นยอด นักวางแผนก็เก่ง หากแต่อนาคินเป็นคนหักหลังองค์กร เขาสู่วิถีด้านมืด (หากเปรียบเทียบกับโลกจริงๆ ก็คือ “การย้ายค่าย” หรือ “ไปบริษัทอื่น” แถมย้ายธรรมดาไม่ได้ มันต้องทำให้บริษัทเก่าล่มจมเป็นการปิดท้ายด้วย อย่างที่เห็นภาพยนตร์ภาค “ซิธชำระแค้น” ที่อนาคินได้รับงานกวาดล้างเจไดครั้งใหญ่ และกวาดล้างกบฏ จนผู้คนล้มตายมากมาย อันเป็นที่มาของสตาร์ วอร์สหลายภาค

     

     

    Star Wars: The Clone Wars ทีวีซีรีย์

     

    ใครที่ดูแต่ภาพยนตร์สตาร์วอร์ส I: ภัยซ่อนเร้น (1999), II: กองทัพโคลนส์จู่โจม (2002) และIII: ซิธชำระแค้น (2005) คงจะเห็นการเปลี่ยนแปลงของอนาคินแบบช้าๆ  จากวัยรุ่นใหม่ไฟแรงเปลี่ยนด้วยพลังเริ่มเข้าสู่วิถีด้านมืด เพราะความโกรธ, ความริษยา และกลัวการสูญเสีย

    อย่างไรก็ตาม หลายคนอาจรู้สึกว่ามันยังไม่เพียงพอ เพียงแค่นี้เหรอ? ทำให้อนาคินเข้าสู่ด้านมืด ทรยศต่อองค์กรที่เขาอยู่มานานและให้อะไรกับเขามากมาย อย่างง่ายๆ แค่นี้หรือ

                    แน่นอนว่าภาพยนตร์ไม่เพียงพอที่จะอธิบายเรื่องราวทั้งหมดของอนาคิน ดังนั้นจึงมีอนิเมชั่น หรือแม้แต่สื่ออื่นๆ (วีดีโอเกม, หนังสือการ์ตูน)  เพื่ออธิบายรายละเอียดรอยต่อที่ขาดภายไประหว่าง สตาร์วอร์กองทัพโคลนจู่โจม-ซิธชำระแค้นนี้

                    โดยภาคเสริมสตาร์วอร์สที่หลายคนรู้จักดี ก็คือ สตาร์ วอร์ส: สงครามโคลน (ภาพยนตร์) และ สตาร์ วอร์ส: สงครามโคลน (Star Wars: The Clone Wars ทีวีซีรีย์) โดยเฉพาะอนิเมชั่น ซึ่งหลายคนรู้จักดีทางช่องการ์ตูนเน็ตเวิร์ก โดยอนิเมชั่นจะเป็นนื้อหาดำเนินเรื่องระหว่างภาพยนตร์สตาร์ วอร์ส เอพพิโซด 2: กองทัพโคลนส์จู่โจม และสตาร์ วอร์ส เอพพิโซด 3: ซิธชำระแค้น ซึ่งในภาคนี้ปรากฏตัวละครที่ไม่ปรากฏในภาพยนตร์ แต่บทบาทสำคัญต่อเนื้อเรื่องไม่แพ้กัน โดยฉากครั้งแรกเมื่อ 3 ตุลาคม 2008 และปัจจุบันก็ยังไม่จบ (ถ้าจำไม่ผิดตอนนี้ปาไป 6 ซีรีย์แล้ว)

                    แม้ว่าอนิเมชั่นชุดสตาร์วอร์สสงครามโคลน จะออกไปทางอนิเมชั่นโลกสวย กล่าวคือความดีชนะความชั่ว จนดูเหมือนเป็นอนิเมชั่นที่เหมาะแก่เด็กเยาวชนมากกว่า แต่ความจริงมันสอดแทรกเอาไว้ตลอด โดยเฉพาะซีซั่นหลังๆ เนื้อหาเริ่มหนัก โดยเฉพาะสาเหตุในการเสื่อมถอยของสภาเจได ว่าทำไมสภาแห่งความดีนี้ถึงได้ล้มสลายเพียงไม่กี่นาที รวมไปถึงเรื่องของอนาคินที่มีทั้งเรื่องดีและด้านไม่ดี ปะปน ก่อนที่จะถูกด้านมืดครอบงำ

                    ยิ่งเป็นอนิเมชั่นก็ยิ่งเห็นบุคลิกของอนาคินชัดเจน ว่าอนาคินแม้จะเป็นคนรักความยุติธรรม, สร้างสรรค์, มีความคิดแปลกใหม่เสมอ  และที่สำคัญคืออนาคินให้ความสำคัญกับคนใกล้ตัวเสมอ เช่น แพดเม่ในฐานะคนรัก ซึ่งรักจริง แม้ว่าจะผิดกฎเจไดก็ตาม และนอกจากนี้ก็มีพาดาวัน อาโซก้า ที่อนาคินรักในฐานะลูกศิษย์ ซึ่งหากทั้งสองเป็นอะไรขึ้นมาอนาคินยอมทำผิดกฎเจไดเพื่อช่วยเหลือพวกเขา          และนั้นเองทำให้กลายเป็นจุดอ่อนของอนาคิน หากคนใกล้ตัวเกิดอะไรขึ้น เขามักใจร้อน และมักวู่วามสมอ ซึ่งเจไดก็ได้สอนว่าอย่าใช้อารมณ์อยู่เหนือการตัดสินใจ เพราะยิ่งใช้อารมณ์มากการตัดสินใจก็ย่อมผิดพลาดไปด้วย

     


    สตาร์วอร์สฉบับมังงะ

     

    แม้ว่าอนาคินจะมีผลงานมากมายเพียงใด แต่อนาคินก็ไม่ได้เครดิตมากนัก ยิ่งเก่งยิ่งโอหัง และมีหลายครั้งที่อนาคินตัดสินใจผิดพลาดจนเสียงาน ทำให้อนาคินไม่เหมาะทำงานใหญ่  งานที่ต้องการเก็บความลับและความไว้ใจที่ค่อนข้างสูง เป็นเหตุทำให้อนาคินไม่พอใจเรื่อยมา ประกอบกับเห็นความอยุติธรรมในสภาเจไดที่ตัดสินความผิดอาโซกาทั้งทีเธอบริสุทธิ์ ยิ่งทำให้อนาคินหมดสิ้นนับถือสภาเจได พร้อมที่จะทรยศทุกเมื่อ เพียงแต่เขารอองค์กรใหม่ ที่ใหญ่กว่า และดีกว่าเสนอตำแหน่งจุดยืนของเขาที่ดีกว่าเท่านั้น

    และแล้วอนาคินก็ได้รับการติดต่อองค์กรใหญ่ ที่ดีกว่า  นั้นคือ “ซิธ” องค์กรมืด ที่เป็นคู่ปรับเจไดมาช้านาน ที่แสนอตำแหน่งดีๆ ให้กลับเขา  ประกอบกับอนาคินเห็นว่าสภาเจไดไม่มีอะไรให้แก่เขาแล้ว (รวมไปถึงความกังวลที่ไม่อยากสูญเสียคนรัก ซึ่งสภาเจไดไม่สามารถทำได้ แต่ซิธนั้นทำได้) และนั้นเองทำให้เขาทรยศสภาเจไดแบบไร้เยือใย โดยไม่สนว่าอดีตองค์กรแห่งนี้ให้อะไรหลายอย่างแก่เขาก็ตาม

    ในที่สุดอนาคินก็เข้าสู่ด้านมืดเต็มตัว จนโอบีวันซึ่งเป็นอาจารย์ของเขาถึงกับสิ้นหวังในตัวอนาคิน ที่อุตสาห์เลี้ยงดู สั่งสอน เพราะคิดว่าเขาจะเป็นผู้ถูกเลือก จนพูดประโยคลาสสิกว่า “เจ้าคือผู้ที่ถูกเลือก! เจ้าควรที่จะทำลายพวกซิธ ไม่ใช่เข้าร่วม! นำสมดุลมาสู่พลัง ไม่ใช่ทิ้งไว้ในความมืด!

    ในกรณีของอนาคินนั้น แน่นอนว่าการทรยศผู้มีพระคุณเป็นเรื่องไม่ดี หากแต่มองอีกแง่มุมหนึ่ง ก็พบว่าในสังคมมีคนแบบอนาคินอยู่ไม่น้อย ที่ไม่ชอบที่ทำงานเก่า ไม่เข้ากับลูกน้อง ไม่เห็นคุณค่าตน ทำอะไรไปก็ไม่เห็นได้อะไรตอบแทน หรือมีความสามารถที่เกินกว่าจะอยู่ที่ทำงานเก่าที่เล็กไปสำหรับเขาอีกแล้ว และเมื่อบริษัทใหญ่ติดต่อมา เขาก็ต้องตอบรับ

    เราเห็นหลายคนต้องออกจากบริษัทเดิม ไปสู่บริษัทที่ใหญ่กว่า ด้วยเงินเดือนมากกว่า ค่าตอบแทนมากกว่า แต่อย่างไรก็ตามบางคนเข้าบริษัทใหม่พร้อมกับความลับบริษัทเดินที่เคยทำงานอยู่ ซึ่งไม่แตกต่างอนาคินแม้แต่น้อย

    อย่างไรก็ตาม แม้ว่าอนาคินจะไม่ได้เป็นผู้ถูกเลือก จักรวาลเข้าสู่หายนะมานานหลายปี แต่ในที่สุดก็มีผู้ถูกเลือกที่แท้จริงปรากฏตัวนั้นคือ “ลุค สกายวอร์คเกอร์” ซึ่งเป็นลูกที่เกิดจากอนาคินและแพดเม่ และ เขาคือผู้กอบกู้จักรวาลในเวลาต่อมา อันเป็นที่มาของ “ความหวังใหม่” นั้นเอง

    และสุดท้ายอนาคินก็พบจุดจบเพราะหลงระเริงอยู่กับทำอาจ ความหลงผิด เช่นเดียวกับหลายคนในสังคม แต่อย่างน้อยอนาคินก็สำนึกตนได้

     

    สุดท้ายนี้ เอนิเชั่นสตาร์วอร์สกำลังใกล้ถึงบทสรุปสุดท้าย และภาพยนตร์สตาร์วอร์สภาคใหม่จะมา (ซึ่งภาคนี้ไม่มีอนาคินแน่นอน ซึ่งไม่รู้จะตอบรับดีไหม) และผมก็อยากทิ้งท้ายว่ามันโยงกันได้เนอะเดวิด มอยด์ กับอนาคินเนี้ย

     
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×