ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    สาระ(แนว)การ์ตูน

    ลำดับตอนที่ #9 : ว่าด้วยเรื่องเจ้าของลิขสิทธิ์การ์ตูนญี่ปุ่นเรื่องมากเกี่ยวกับการตีพิมพ์

    • อัปเดตล่าสุด 21 เม.ย. 49


    การ์ตูนญี่ปุ่นที่เราคุ้นเคยกันอยู่นี่อย่างที่เราทราบกันดีครับว่าต้นฉบับจริงๆแล้ว ตีพิมพ์ให้อ่านจากขวาไปซ้ายมิใช่ซ้ายไปขวาแบบที่เราอ่านอยู่นี่เนื่องจากเป็นวัฒนธรรมการเขียนหนังสือมาแต่โบราณของชนชาติเขาเอง การเปิดอ่านจึงต้องพลิกเปิดจากซ้ายไปขวา ส่วนของเรานั้นพลิกเปิดจากขวาไปซ้าย
    เมื่อสำนักพิมพ์การ์ตูนบ้านเราซื้อลิขสิทธิ์ของเขาเพื่อมาจำหน่ายในบ้านเรา จึงต้องมีการกลับด้านต้นฉบับคล้ายๆกับภาพในกระจกนั้นละครับ เพื่อทำให้การ์ตูนสามารถอ่านในแบบวัฒนธรรมการอ่านของเราได้

    แต่ก็นั้นละครับมีการ์ตูนอยู่บางเรื่องจำเป็นต้องตีพิมพ์โดยคงต้นฉบับเดิมนั้นคือการอ่านจากขวาไปซ้าย เนื่องจากเป็นข้อตกลงทางธุรกิจกับสำนักพิมพ์ต้นสังกัดเจ้าของลิขสิทธิ์ โดยเฉพาะสำนักพิมพ์Shueisha(ยกเว้นการ์ตูนในนิตยสารการ์ตูนผู้หญิงRibbon) ,Mag Garden ,Wani Book ,Media Work ,Gentosha ,Square-Enix เป็นต้น
    แต่บางครั้งจะไปต่อว่าทางสำนักพิมพ์ต้นสังกัด(โดยเฉพาะKadokawa Shoten ,Shogakukan)นั้นไม่ได้ เนื่องจากคนเรื่องมากเจ้าปัญหาที่ว่านั้นกลับเป็นเจ้าของผลงานซะเอง เช่น โฮโจ ซึคาสะ(City Hunter) ,โอตะ เออิจิโร่(Onepiece) โดยเฉพาะรายหลังทำเอาผู้ที่ซื้อการ์ตูนของเขาไปก่อนแล้วเสียความรู้สึกไปตามๆกันเพราะจากเดิมที่รวมเล่มก็ตีพิมพ์ให้อ่านในแบบของเราอยู่แล้ว ดันมากลับลำให้ตีพิมพ์ตามต้นฉบับเดิมของเขาห้ามกลับด้านเด็ดขาด - -"
    ยิ่งการ์ตูนของค่ายShueishaในช่วงหลังๆแล้ว ต้องตีพิมพ์ตามแบบญี่ปุ่นเท่านั้นโดยการ์ตูนที่เคยพิมพ์อ่านแบบของเราในช่วงแรกๆนั้นเมื่อเอามาพิมพ์ขายใหม่ก็กลับไปพิมพ์ตามต้นฉบับเดิมของเขาเช่นกันอย่าง ไดตะลุยแดนเวทมนตร์ ,มืออสูรล่าปีศาจ ,ซามูไรพเนจร
    มีใจดียกเว้นอยู่สองเรื่องด้วยกันนั้นคือ นารุโตะ กับ Hunter X Hunter
    แน่นอนว่าวิบูลย์กิจซึ่งเป็นสำนักพิมพ์การ์ตูนเก่าๆแก่ๆ ยืนยันเจตนารมย์เดิมที่ยังไงก็จะไม่ตีพิมพ์การ์ตูนตามต้นฉบับญี่ปุ่นอย่างเด็ดขาด เลยต้องยึดหัวหาดสำนักพิมพ์กับเจ้าของผลงานที่ไม่เรื่องมากในข้อนี้อย่างKodansha และ Akita Pulishing

    อันด้วยวัฒนธรรมการเขียนตัวหนังสือของจีนและญี่ปุ่นแต่โบราณ เขียนจากบนลงล่างแล้วไปต่อหลักใหม่ทางด้านซ้ายครับ
    แล้วทำไมต้องไปต่อหลัก(สดมภ์ หรือ คอลัมป์)ใหม่ที่ด้านซ้ายด้วยละ ก็เพราะเขาเขียนหนังสือม้วนกระดาษยังไงละครับถ้าจับปากกาด้วยมือขวาแล้วคลี่ม้วนด้วยมือซ้ายอย่างนี้ไปทางด้านซ้ายจะเขียนได้ราบรื่นครับ ดีกว่าไปคลี่ทางด้านขวาซึ่งทำแบบนั้นต้องคร่อมมือไม่สะดวกเลยครับ
    ญี่ปุ่นซึ่งรับวัฒนธรรมหนังสือจากจีนมาก็เลยเขียนการ์ตูนแบบอ่านจากขวาไปซ้ายด้วยก็เท่านั้นละครับ
    ผมเองก็ไม่เข้าข้างวัฒนธรรมญี่ปุ่นหรอกครับ แต่ญี่ปุ่นต่างหากที่ต้องปรับไปตามโลก อย่าให้โลกต้องปรับไปตามญี่ปุ่นอยู่ฝ่ายเดียว
    อ่านจากขวาไปซ้ายผมก็ทำได้ไม่ตะขิดตะขวงใจหรอกครับ เพียงแต่ผมจะไม่ซื้อมาเก็บสะสมประดับชั้นก็เท่านั้นเอง

    เหตุผลที่ว่าทำไมต้องตีพิมพ์ตามต้นฉบับดั้งเดิมนั้นก็เพราะเจ้าของลิขสิทธิ์ไม่อยากให้มีการตกแต่งภาพโดยเฉพาะส่วนของตัวอักษรในการ์ตูน ให้มีความเพี้ยนไปจากเดิมอันเนื่องมาจากการตีพิมพ์กลับด้านเพื่อให้สามารถเปิดอ่านได้ตามแบบของเรานั้นจะทำให้รายละเอียดตามจริงของภาพโดยเฉพาะตัวอักษรทั้งในป้ายหรือเสื้อผ้าของการ์ตูน มีการกลับด้านไป จึงต้องมีการตกแต่งภาพส่วนนั้นซะใหม่ แต่ความเพี้ยนอย่างมือแต่ละข้างของตัวละครซึ่งในความเป็นจริงถนัดข้างขวา แต่พอตีพิมพ์แบบของเราจะกลายเป็นถนัดข้างซ้ายไป มีหลายคนที่ยอมรับตรงนี้ไม่ได้เช่นกัน
    ในทัศนคติของผมแล้วผมก็เช่าอ่านได้ครับ แต่ยังไงก็ไม่ซื้อมาสะสมเด็ดขาดสาเหตุก็เพราะไม่เข้าชุดกันอย่างมากกับการ์ตูนลิขสิทธิ์เปิดอ่านแบบสากลที่ผมซื้อสะสมเอาไว้หลายเรื่องตามที่ระบุไว้ในBlogหิ้งชั้นการ์ตูนนั้นละ
    แถมมีผู้อ่านบางคนตั้งแง่ทางวัฒนธรรมว่าทางญี่ปุ่นคิดจะยัดเยียดวัฒนธรรมการอ่านตามแบบของเขาให้กับนักอ่านบ้านเราซึ่งจริงๆเขาก็ไม่ได้คิดอย่างนั้น ถ้าคุณอยากจะอ่านผลงานของเขาคุณก็ต้องทำตามแบบของเขา ถ้าไม่ทำคุณก็ไม่ต้องอ่าน แค่นี้เองง่ายๆ

    จริงๆแล้วผมว่าน่าจะใช้วิธีพบกันแค่ครึ่งทางในการตีพิมพ์การ์ตูนเปิดอ่านแบบสากลเพื่อไม่ให้การ์ตูนญี่ปุ่นนั้นดูแปลกแยกออกไปเมื่อมาวางจัดไว้ในชั้น เช่น แทนที่จะกลับด้านต้นฉบับก็ใช้วิธีตัดกรอบช่องการ์ตูนแบบCut Workจากนั้นก็เอามาสลับตำแหน่งซ้ายขวากันแบบตัวต่อJigsaw เพื่อให้สามารถเปิดอ่านแบบสากลได้ แต่วิธีนี้ก็ยุ่งยากไม่ใช่เล่นเหมือนกันถ้าต้องทำกันทุกหน้ากระดาษ
    ว่าไปผมก็ลืมนึกถึงการเรียงลำดับบทพูดของตัวละครในช่องคำพูดไปหน่อย เพราะลำดับบทพูดในช่องการ์ตูนนั้นยังคงอ่านจากขวาไปซ้ายเหมือนเดิม
    แต่ผมว่าถ้าศิลปินนักเขียนการ์ตูนหันมาใส่ใจเรื่องผลงานการ์ตูนของตัวเองเมื่อต้องตีพิมพ์ให้อ่านแบบสากลบ้างก็ดีอยู่นะครับ เพราะเขาจะได้สร้างสรรค์ผลงานให้สามารถตีพิมพ์โดยอ่านแบบญี่ปุ่นก็ใช้ต้นฉบับหนึ่ง อ่านแบบสากลก็ใช้ต้นฉบับอีกรูปแบบหนึ่งอย่างงี้เป็นต้น แต่คนเขียนก็คงจะเหนื่อยตายแย่ และทางสำนักพิมพ์ต้นสังกัดเองก็ต้องให้ความร่วมมือและปรึกษานักเขียนการ์ตูนเพิ่มไปด้วยในเรื่องของกระบวนการพิมพ์เพื่อให้อ่านได้ทั้งสองแบบเพื่อให้นักเขียนได้เช็คดูผลงานของตัวเองเมื่อต้องตีพิมพ์แบบสากลจะได้สบายใจด้วยกันทั้งฝ่ายคนอ่านชาวต่างประเทศและตัวของนักเขียนเอง

    ผมเข้าใจดีครับว่าทั้งทางสำนักพิมพ์ต้นสังกัดและตัวผู้เขียนเจ้าของผลงานเองต่างก็รักและหวงในผลงานของท่านกันแทบทั้งนั้น แต่ก็อยากให้สำนักพิมพ์ต้นสังกัดของญี่ปุ่นและตัวของนักเขียนเองปรับเปลี่ยนต้นฉบับให้อ่านจากหน้ามาหลังตามแบบที่ตัวคุณเองต้องการ เพื่อให้นักอ่านต่างชาติที่เขาไม่ได้มีวัฒนธรรมการอ่านจากหลังมาหน้าเหมือนอย่างจีน ญี่ปุ่น เกาหลี ฮ่องกงและไต้หวัน (จริงๆน่าจะรวมประเทศในกลุ่มอาหรับมุสลิมไปด้วยเนื่องจากมีวัฒนธรรมการเขียนอ่านตัวอักษรจากขวาไปซ้าย)ได้มีโอกาสชื่นชมผลงานของพวกท่านโดยไม่ต้องมาตะขิดตะขวงใจกับเรื่องการยัดเยียดวัฒนธรรมการอ่านที่ไม่ต้องการ หรือมาตั้งแง่ว่าไม่คิดจะจริงจังกับการเปิดตลาดหนังสือการ์ตูนออกสู่สายตาชาวโลกด้วยเหตุผลเพียงแค่ไม่ชอบการอ่านแบบนี้ก็ไม่ต้องซื้อสะสมสิ หรือว่าการทำต้นฉบับพิเศษจากหน้ามาหลังนั้นมันต้องสูญเสียต้นทุนหรือเวลาไม่คุ้มกับที่จะขายได้ในตลาดโลกก็ไม่ทราบได้นะครับ
    ไม่ยังงั้นหลังจากที่พวกท่านจากโลกนี้ไปได้50ปี ลิขสิทธิ์การ์ตูนของท่านซึ่งจะตกเป็นของสาธารณะโดยอัตโนมัติตามกฏหมายสากล(ยกเว้นอเมริกาซึ่งประกาศยืดเวลาตามกฏหมายไปถึง100ปี เพื่อเป็นเกียรติแก่วอลต์ดีสนีย์ที่จากโลกนี้ไปได้เกือบ50ปีแล้วครับ) จะถูกทางสำนักพิมพ์ต่างชาติในอนาคตปรับเปลี่ยนต้นฉบับให้อ่านจากหน้ามาหลังตามใจชอบโดยที่ไม่ว่าใครก็ห้ามไม่ได้เลยนะครับ
    มาถึงตรงนี้ผมเห็นการ์ตูนที่ขายในแผงหนังสือแล้วอยากจะบอกตรงๆครับว่า เปลี่ยนความคิดจากรักษาผลงานศิลปะมาเป็นปรับปรุงผลงานศิลปะให้เข้ากับวัฒนธรรมการอ่านของโลกเถอะครับ ซึ่งผมก็เข้าใจดีครับว่าโอกาสมันยากมากๆเพราะคนญี่ปุ่นได้ชื่อว่ามีนิสัยชาตินิยมและขี้งกจัดกว่าชาติอื่นในโลกครับ (ก็มันจริงนี่นา หรือจะมีใครเถียงอีกละ)
    โดยเฉพาะนักเขียนในรายชื่อต่อไปนี้ซึ่งเห็นได้ชัดเจนมากครับว่าท่านทั้งรักทั้งหวงในผลงานของท่านกันมากขนาดไหน
    ยาซาวะ ไอ(NANA)
    โยโกะ มากิ(Babe My love)
    อาดาจิ มิซึรุ(H2 ,พริกขี้หนูสีรุ้ง ,Katsu ,Touch ฯลฯ)
    ไนโตะ ยาซึฮิโระ(Trigun)
    มิกิโมโต้ ฮารุฮิโกะ(Macross7)
    ไซโต้ จิโฮะ(Utena ฯลฯ)
    สุงิซากิ ยูกิรุ(D.N.Angel)
    Clamp(XXX Holic ,Tsubasa Chronicle)
    โยชิซูมิ วาตารุ(Ultra Maniac)
    โฮโจ ซึคาสะ(City Hunter ,Cat eye ,Angle Heart ฯลฯ)
    ฟุจิชิม่า โคสึเกะ(Oh my Goddess)
    โอตะ เออิจิโร่(One Piece)
    Gainax(Evangelion)
    Sunrise(Gundam Serie)
    ทาคาฮาชิ รูมิโกะ(Inuyasha)
    ฟูจิตะ คัทสึฮิโระ(ล่าอสูรกาย,หุ่นเชิดสังหาร,ศึกเซียนพิสดารโฮไร)
    ทาคาชิ ชิอินะ(แผนปราบผีไม่มีอั้น,สามพลังป่วนพิทักษ์โลก)
    ทาคาฮาชิ โยอิจิ(Hungry Heart,กัปตันซึบาสะ)
    คุรุมาตะ มาซามิ(Saint Seiya Episode G)
    ซามูระ ฮิโรอากิ(Blame of the Immortal;ฤทธิ์ดาบไร้ปราณี)
    คาโอรุ ชินทานิ(Area88)
    มิยางาวะ มาซาโยะ(Eden)
    โมริโมโตะ โคซูเอโกะ(ครูสาวยากูซ่า)
    โยชิดะ ซึนาโอะ(แต่งเรื่อง) กับ คิวเจียว คิโยะ(วาด) (Trinity Blood)
    ทามิโอะ บาบะ(คู่หูบะหมี่รถลาก)
    โยเนฮาระ ฮิเดยูกิ(Coco Full Ahead,แสบกว่านี้มีอีกไหม)
    ยามาโมโต้ เคนจิ(Black Jackหมอปีศาจ)

    นอกจากนี้ก็มีนักเขียนการ์ตูนผู้หญิงที่ถึงจะโนเนมแต่ก็ยังเรื่องมากเข้าให้อีก โอกาสที่ท่านจะทำตลาดโกอินเตอร์นี่จะเป็นไปได้ยากขึ้นนะครับ
    นาคาโจ ฮิซาโยะ(สับขั้วมาลุ้นรัก)
    มิโฮะ โอบานะ(Mizu No Yakata;คฤหาสน์แห่งสายน้ำ)
    มากิมูระ ซาโตรุ(Otenki Yoho;พรุ่งนี้อากาศเป็นเช่นไร)

    เอ้อ... ยังไงซะถ้าสำนักพิมพ์อย่างKodansha,Shogakukan,Kadokawa shoten,Akita Pulishing,Shonen Gohosha ,Media FactoryและShinshosha รวมไปถึงนักเขียนเจ้าของผลงานในสังกัดสำนักพิมพ์พวกนี้พยายามที่จะทำความเข้าใจในจุดนี้ซะและยอมรับกับมันละก็ จะเป็นเรื่องดีอยู่มากเลยนะครับ
    อ่านหลังมาหน้าผมก็เคยชินไปแล้วเหมือนกับทุกๆท่านนะแหละ ก็อ่านการ์ตูนเช่ามาถึงตอนนี้น่าจะถึงหลักพันเล่มได้แล้วมั่งก็เล่นอ่านกันวันละ3-4เล่มไม่มีเว้นวรรคเลยนี่หว่าแค่ใช้เวลาว่างช่วงที่งานไม่มาบ้าง คอยรถเมล์บ้าง ฆ่าเวลาช่วงรถติดบ้าง ว่างๆไม่มีอะไรทำที่บ้านก็เยอะ
    ก่อนที่การ์ตูนจะกลายเป็นแบบหลังมาหน้าหมดยังงั้นเห็นทีเราต้องกระตุ้นวงการนักเขียนการ์ตูนหนังสือไทยของบ้านเราให้คึกคักสักทีหนึ่งละครับ
    ยังไงซะผมก็ไม่อยากจะเห็นอนาคตที่การ์ตูนญี่ปุ่นอ่านจากหลังมาหน้าหมดทุกเล่มมันหลอกหลอนเอาจะดีกว่า ถ้าเป็นเช่นนั้นจริงๆละก็ผมก็ต้องเก็บรักษาการ์ตูนที่มีอยู่ให้ดีที่สุดไว้ให้ลูกหลานได้อ่านก่อนที่จะไม่มีฉบับหน้ามาหลังให้เราได้อ่านกันอีกต่อไป
    พูดถึงเรื่องรักษาผลงานศิลปะนี่เขาจะยอมให้มีการเซ็นเซอร์ใส่ตัวอักษรศีลธรรมแบบนั้นด้วยหรือเปล่านี่สิ ถ้าไม่ละก็การ์ตูนเรื่องนั้นอาจโดนลอยแพจากตลาดไปชั่วกาลนานเป็นแน่แท้
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน
    นิยายแฟร์ 2024

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×