ลำดับตอนที่ #7
คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #7 : ความรู้ด้านบทภาพยนตร์กับการ์ตูน ตอนที่ ๑ : องค์ประกอบสำคัญในการสร้างเรื่อง
ความรู้ด้านบทภาพยนตร์กับการ์ตูน ตอนที่ ๑ : องค์ประกอบสำคัญในการสร้างเรื่อง
โดย ยัติภังค์จากเว็ป http://www.moviemisc.com ของคุณขุนแสวงสรรพกิจ(กิ๊กก็อก)ครับ
หมายเหตุผู้เขียน: บทความนี้นำมาข้อความที่ผมได้ลงในเว๊บบอร์ดไทคอมิค และนำมาปรับปรุงรายละเอียดบางส่วนที่ขาดตกบกพร่องไป ข้อมูลต่างๆที่เขียนได้รับมาจากความรู้ที่เรียนมาจากการคอร์สอบรมเขียนบทภาพยนตร์ ประยุกต์กับบทความในนิตยสารไบโอสโคป ฉบับที่ ๑๐ - ๑๖ ครับ
เกริ่นนำ
เคยสงสัยไหมว่าทำไมหลายคนวาดการ์ตูนสวย แต่อ่านยังไงก็ไม่สนุก องค์ประกอบสำคัญในการสร้างเรื่องเพื่อให้น่าติดตามมันมีอะไรซับซ้อนหนักหนาหรืออย่างไร?
เพื่อสร้างความกระจ่างตามกำลังสติปัญญาผู้เขียนจะมีได้ ก็จะขอใช้ความรู้เกี่ยวกับการเขียนบทภาพยนตร์มาเพื่ออธิบายบทการ์ตูนสักหน่อย ทั้งนี้เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องแก่นักอ่านการ์ตูน ซึ่งจะทำให้อ่านและตีความสาระสำคัญ จุดเด่น จุดด้อยของการ์ตูนเรื่องหนึ่งๆได้ดีขึ้น อ่านการ์ตูนได้สนุกขึ้น นอกจากนี้ยังมีส่วนในการคิด และเขียนสำหรับนักเขียนการ์ตูนสมัครเล่นของไทยอีกด้วย
ความรู้เกี่ยวกับด้านบทภาพยนตร์นั้นมีประโยชน์เกี่ยวเนื่องกับการ์ตูนอย่างเห็นได้ชัด เพราะการวาดภาพเพื่อเล่าเรื่องราวนั้น ก็ไม่ต่างจากภาพยนตร์ที่เกิดจากภาพนิ่งหลายๆภาพมาทำให้เกิดภาพเคลื่อนไหวโลดแล่นบนแผ่นฟิล์ม อย่างไรก็ตามการ์ตูนก็มีองค์ความรู้อื่นๆมาประกอบ เนื่องด้วยเป็นสื่อที่มีมิติของหนังสือประเภทนวนิยายมาผสมผสานเช่นกัน ดังนั้นบทความนี้จึงได้ประยุกต์บางส่วนให้เหมาะสมกับการเล่าเรื่องแบบการ์ตูน
สิ่งที่จะนำมาอธิบายเป็นอันดับแรกในตอนที่หนึ่งนี้คือ องค์ประกอบสำคัญในการเกิดเรื่อง ซึ่งหมายความได้อีกทางว่า การ์ตูนเรื่องหนึ่งนั้นจะเกิดขึ้นได้นั้นมาจากสิ่งใดได้บ้าง
องค์ประกอบสำคัญในการเกิดเรื่องมาจาก ๔ ปัจจัยซึ่งทั้ง ๔ ประการที่จะกล่าวนั้นเป็นองค์ประกอบที่ไม่ว่าหนัง หรือการ์ตูนทุกเรื่องต้องมีทั้งสิ้นขึ้นอยู่ว่าจะทำได้ออกมาดีหรือไม่ดีเท่านั้น ย้ำว่าแค่เกิดเรื่องเท่านั้นส่วนจะคิดรายละเอียดที่แตกออกไปนั้นเป็นโครงสร้างของเรื่อง ซึ่งจะนำมากล่าวถึงอีกทีในตอนต่อไป
องค์ประกอบในการสร้างเรื่อง
ได้แก่
๑. แนวคิด (Idea)
หมายถึง จุดเด่น- ความคิดสร้างสรรค์ย่อยอย่างหนึ่งในการสร้างเรื่อง มักเป็นสิ่งแรกๆที่คนจะสังเกตและนึกถึงเวลาอ่านการ์ตูน ดูหนัง เช่น โดราเอมอนมีกระเป๋าวิเศษ, หรือตัวเอกมีวิชาด้านนินจา อย่างฮัตโตริ, ซาเอบะ เรียวเป็นมือปืนที่ลามกมากมี Beep เป็นความฮา ไม่ว่าจะเป็นตัวละครหรือว่าเงื่อนไขหลักในเรื่อง ถือเป็นไอเดียได้หมดครับ ซึ่งไอเดียของการ์ตูนนั้นเหตุที่สังเกตได้ง่ายเพราะการ์ตูนโดยส่วนใหญ่มีขนาดยาวกว่าภาพยนตร์ ไอเดียของการ์ตูนเรื่องนั้นจึงต้องเป็นสิ่งที่ผู้เขียนคิดแล้วว่าโดดเด่นจริงๆ จึงได้นำมาใช้ เพื่อตรึงคนอ่านให้ติดตามตลอดนั่นเอง
๒. โครงเรื่อง (Plot)
หมายถึง เช่น ฮันเตอร์x ฮันเตอร์ เป็นเรื่องของกอร์นเด็กซึ่งเข้าไปพัวพันกับองค์กรว่าฮันเตอร์ซึ่งมีความซับซ้อนเพื่อตามหาพ่อ, GTO เรื่องของนักเลงคนหนึ่งที่กลายมาเป็นครูซึ่งได้ใช้วิธีสอนแบบตนเองแก้ไขปัญหาของนักเรียนทุกคน ฯลฯ สังเกตได้ว่าพลอตสามารถซ้ำกันได้ขึ้นอยู่ว่าคุณจะเอาไปทำในลีลาแบบไหน เช่น GTO เป็นงานแบบตลกเสียดสีสังคม(Satire), Rookie ซึ่งมีพลอตคล้ายคลึงกับ GTO คือครูที่มีลักษณะแปลกๆคนหนึ่งเขามีวิธีการสอนแบบของตนเองเพื่อตั้งใจจะทำให้นักเรียนทุกคนเป็นคนดี ซึ่งนำเสนอด้วยแนวทางดราม่า สอดแทรกด้วยมุขตลก
ตัวอย่างการนึกถึงพลอตอย่างง่ายๆ ก็คือเมื่ออ่านการ์ตูนเรื่องนั้นจนจบ ให้ลองเล่าเรื่องอย่างย่อๆ ภายในหนึ่งบรรทัด นั่นแหละครับพลอต
หนังบางเรื่องเหมือนไม่มีพลอต เพราะอาศัยการนำเสนอแต่น้อย ราวกับไม่เน้นการเล่า แต่อาศัยการใส่รายละเอียดเล็กๆน้อยๆ ต่างๆ เพื่อสร้างความสมจริง หรืออีกวิธีหนึ่งคือเล่าแบบไม่คำนึงถึงห้วงเวลา ปฏิเสธวิธีแบบตามลำดับที่คนคุ้นเคย ซึ่งจัดเป็นวิธีการเล่าที่มีคนทำน้อย และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการ์ตูนขนาดยาวต้องเรียกว่าไม่มีคนทำ เพราะการตีพิมพ์ในลักษณะหนังสือเป็นส่วนผสมของสื่อชนิดนี้ ย่อมไม่ควรสร้างความสับสนให้คนดูที่ต้องอ่านหลายๆเล่ม
๓. แก่น (Theme)
หมายถึง สาระสำคัญหลักของเรื่อง อันนี้ไม่ว่าหนังสือ , เพลง, หนัง ,การ์ตูน ก็มีทั้งนั้น การ์ตูนเรื่องหนึ่งอาจมีสาระหลากหลายมากมายในความบันเทิง การที่มีสิ่งเหล่านี้ไม่ได้หมายความว่าจะทำเรื่องเครียด แต่กลับเพิ่มเนื้อสารเข้าไป ทำให้การ์ตูนสนุกขึ้น ส่วนใหญ่ Theme จะมีลักษณะเหมือนข้อคิดสอนใจ หรืออีกกรณีอาจเป็นสิ่งที่เน้นในเรื่อง (มักเป็นนามธรรม เช่น ความศรัทธา,คุณค่าของชีวิต,ธรรมชาติ,ความสูญเสีย,คุณค่าของเวลา) แล้วให้คนไปคิดเองว่าควรจัดการกับมันอย่างไร
ตัวอย่างของธีมในการ์ตูน เช่น โดราเอมอน มีธีมเกี่ยวกับการแก้ไขข้อผิดพลาดในชีวิต ซึ่งเรื่องแสดงให้เห็นว่าการที่โดเรมอนให้ของวิเศษโนบิตะ ไม่ได้ส่งผลดีเลย นอกจากว่าโนบิตะจะพยายามซะเอง , One Piece ว่าด้วยความฝันที่ไม่ควรละทิ้ง ซึ่งทำให้พวกเขาแต่ละคนที่มีความฝันต่างกันมาพบกัน รวมกัน และเกิดมิตรภาพ กับการผจญภัยมากมาย ฯลฯ
สรุปได้สั้นๆ Theme ก็เหมือนประโยคหนึ่งๆ คล้ายข้อคิดสอนใจซึ่งหนักแน่นเพียงพอที่จะใช้กับเรื่องๆหนึ่ง อาจเป็นสัจธรรมหรือไม่ก็ได้ (ซึ่งอาจจะตรงประเด็นชัดเจน หรือ กำกวมชวนตีความก็แล้วแต่ว่าผู้เขียนอยากนำเสนอข้อคิดนั้นให้ออกมาแบบไหน)
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ควรระมัดระวังก็คือ ขึ้นชื่อว่า Theme แล้ว ก็ไม่แน่ว่าจะสร้างสรรค์อะไรดีๆให้สังคม การ์ตูนบางเรื่องมี Theme ที่เน้นปัจเจกชนเสียจนละเลยขนบธรรมเนียมและไม่สนใจสังคมรอบข้างเลยหรือแม้แต่กระทั่งเชิดชูคนโกงก็มีให้เห็นเหมือนกัน คนอ่านจะต้องระวังบ้าง คนเขียนก็ต้องมีจรรยาบรรณด้วยเหมือนกัน
๔. หลักการโดยรวม (Concept)
หมายถึง การปรุงแต่งเรื่องราวทั้งหมดว่าจะให้เป็นไปทางใด เช่น การกำหนดแนวเรื่องเพื่อความเหมาะสมกับพลอต หรือเพื่อสร้างความแปลกใหม่ รวมไปถึงการสร้าง Frame หรือกรอบของเรื่องว่ามีเงื่อนไขต่างๆอย่างไร เข้ากับเวลาและสถานที่ในเรื่องหรือไม่ เช่น ดรากอนบอล คือ การนำไซอิ๋ว มาปรับปรุงใหม่ให้ทันสมัยด้วยสไตล์ที่เคลือบด้วยการ์ตูนตลก แต่เร้าใจด้วยฉากแอ๊คชั่น โดยรวมแล้วเป็นงานแบบแอ๊คชั่น คอเมดี้ ในโลกแฟนตาซีที่กำหนดให้มีลักษณะแบบอนาคตและอดีตปนเปไป ทั้งนี้เพื่อขับเน้นบรรยากาศของโลกของผู้ชายที่เต็มไปด้วยการผจญภัยและต่อสู้ , Hunter x Hunter จะเป็นคล้ายกับดราก้อนบอล แต่การกำหนด Frame จะแตกต่างออกไป ตั้งแต่ภาษา, วัฒนธรรม, ภูมิประเทศ รวมไปถึงองค์กรระดับใหญ่อย่าง "ฮันเตอร์" เพื่อเปิดโอกาสให้เกิดเรื่องราวการผจญภัยและการต่อสู้ที่ผู้เขียนต้องการ, หรืออย่างโจโจ้ล่าข้ามศตวรรษ ที่แต่ละภาค แต่ละเฟรมในเรื่องก็จะแตกต่างกันไปตามสถานที่,ยุคสมัย, และไอเดียหลักๆที่การ์ตูนใช้ตลอดเรื่อง
กรณีการสร้าง Frame นั้นอาจนำมาจากรายละเอียดในชีวิตจริง โดยดึงจากสังคม,วัฒนธรรมต่างๆ และนำมาประยุกต์เพื่อให้เข้ากับความเป็นการ์ตูนที่เราต้องการให้มากที่สุด ถ้ายังไม่นึกไม่ออก ลองนึกถึงภาพยนตร์กันบ้างดีกว่า เพราะการที่หนังแต่ละเรื่องใช้ผู้แสดงจริง ถ่ายจากสถานทีจริงไม่ได้หมายความว่าจะต้องทำเพื่อความสมจริงเสมอไป เช่น There's Something About Mary ตัวเอกในเรื่องต้องเจ็บตัวปางตาย(ปนทะลึ่ง)ไม่ต่างจากการ์ตูน, Bringing Out The Dead ที่ถ่ายทำเน้นความมืด แม้ในยามกลางวัน และให้ภาพวูบวาบเกินจริงบ่อยครั้งเพื่อสะท้อนสภาพชีวิตบุรุษพยาบาลที่หมดศรัทธา ซึ่งจะนำมาอธิบายอีกทีในส่วนของโครงสร้างของเรื่อง
วิธีกำหนด Concept ง่ายๆ นั้นใช้แนวเรื่องสำหรับวรรณกรรม ที่เรียกว่า Genre(ประเภท) เช่น Comedy (ซึ่งยังแบ่งย่อยออกได้เป็นอีก เช่น ตลกเจ็บตัว,ตลกเสียดสี,ตลกร้าย,ตลกล้อเลียน), Action (เช่น ผจญภัย,เผชิญหายนะ), ไปจนถึง งานแนวสืบสวน(Suspense),เขย่าขวัญ(Thriller), สยองขวัญ(Horror), เป็นต้น ซึ่งส่วนใหญ่มักจะผสมผสานหลายแนวทางไว้ด้วยกัน เช่น Rough เป็นหนังตลกที่เน้นเรื่องราวความรักระหว่างชาย - หญิงที่ครอบครัวเป็นปฏิปักษ์ทางฝ่ายพ่อ หนังรักมันซ้อนแนวที่ว่าด้วยการเรียนรู้ ซึ่งก็คือ การเรียนรู้ซึ่งกันและกันของทั้งสองฝ่าย รวมไปถึงเรียนรู้ใจตนเอง ในบรรยากาศแบบหนังวัยรุ่น เน้นไปที่เรื่องราวในโรงเรียนมากกว่าที่อื่น นอกจากนี้ยังผสมกับแนวกีฬาเข้าไปด้วย
กรณีตัวอย่างกับองค์ประกอบในการเกิดเรื่อง: โดเรมอน
เหตุที่ยกตัวอย่างการ์ตูนเรื่องนี้ขึ้นมาเพราะเชื่อว่าคงไม่มีใครที่เป็นนักอ่านการ์ตูนแล้วจะไม่รู้จักแมววิเศษตัวนี้เป็นแน่แท้ แม้จะเป็นการ์ตูนที่เก่าแต่มีอะไรหลายๆอย่างที่น่าสนใจมากมายจนคงความเป็นการ์ตูนอมตะได้ถึงทุกวันนี้ ก็เลยนำมาใช้อธิบายประกอบเพื่อความกระจ่างยิ่งขึ้น
Idea
ไอเดียของโดเรมอนมีมากมาย เพราะเป็นการนำของวิเศษหลากหลายมานำเสนออย่างไม่ซ้ำ แต่ทั้งนี้ไม่ได้คำนึงถึงเหตุผลทางวิทยาศาสตร์หากแต่เพื่อผนวกเข้ากับพลอตและธีมของเรื่อง จึงใช้ของวิเศษเพื่อช่วยเหลือและตอกย้ำตัวโนบิตะเอง หรือหากจะบอกว่าไอเดียต่างๆเกิดจากไอเดียที่คิดหุ่นยนต์แมวตัวนี้เลยก็น่าจะได้ (ตามคำบอกเล่าเกี่ยวกับแรงบันดาลใจของผู้เขียน)
Plot
ว่าด้วยเรื่องราวหลักๆคือมีผู้วิเศษจากอนาคตมาช่วยแก้ไขเด็กคนหนึ่งในโลกปัจจุบันเพื่อมิให้เป็นคนล้มเหลวในอนาคต, ขณะที่เรื่องที่นำเสนอคนดูเป็นเรื่องราวขยายความจากโครงเรื่องดังกล่าว คือหลังจากที่โนบิตะมีโดเรมอนแล้ว กลายเป็นเรื่องของคนๆหนึ่งได้รับบททดสอบใหม่ๆให้กับชีวิตจากการได้อำนาจ(ของวิเศษ)เพื่อให้ตระหนักในคุณค่าที่ตนเองขาดหาย และเติบโตขึ้นอีกระดับ
Theme
เป็นเรื่องของการแก้ไขข้อผิดพลาดในอดีต โดยเรื่องนี้ต้องการบอกว่าไม่มีสิ่งใดสามารถแก้ไขข้อผิดพลาดของเราได้นอกจากตัวเราเอง เพราะในขณะที่โดเรมอนช่วยโนบิตะด้วยของวิเศษ นิสัยที่ไม่ดีของโนบิตะก็มักลงเอยใช้ของวิเศษนั้นในทางที่ผิดทุกครั้งไป หรือไม่ก็มีอีกประเภทหนึ่งที่เลือกให้โนบิตะสำนึกผิดเองก่อนและเข้าใจหลักที่ว่า "ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน"
Concept
เป็นการ์ตูนประเภทจบในตอน ผสมผสานแนวตลกหลากหลายแนว ตั้งแต่ ดราม่าเจือตลก,ตลกเจ็บตัว,ตลกเสียดสีสังคม,ไปจนถึงตลกล้อเลียนภาพยนตร์อย่าง Star Wars ก็ยังมี กับแนวไซไฟซึ่งผู้เขียนได้รับแรงบันดาลใจจากเรื่องของไทม์แมชชีนและการย้อนเวลา โดยมีเหตุการณ์อยู่ในช่วงเวลาเดียวกับของผู้เขียนคือ 1969 จนถึงปลายยุค 80s และเพื่อไม่ให้เกิดความน่าเบื่อ โดเรมอนจึงมักมีตอนพิเศษขนาดยาวเพื่อเปลี่ยนแนวทางให้กลายเป็นแนววิทยาศาสตร์-ผจญภัย(Scifi-Adventure) อยู่เรื่อยๆ
อาจกล่าวได้ว่าแนวทางเรื่องของโดเรมอนที่ผสมผสานหลายแนว เพื่อขับเน้นจินตนาการแนวแฟนตาซีของโนบิตะ ที่มีแม่ที่ดุและจู้จี้ขี้บ่นให้มีคนคอยดูแลที่ดี (สังเกตดูว่าโดเรมอนมาอยู่ในบ้านอย่างไม่มีใครต้องเอะใจ) ช่วยจัดการปัญหาทุกอย่างแม้กระทั่งการเลือกคู่ชีวิตทุก ๆอย่างในปัจจัย ๔ ประการนี้ควรมีเหตุมีผลสอดคล้องเหมาะสมกันทั้งหมด เพราะหากจัดวางผิดก็จะทำให้งานขาดความสมเหตุสมผล และไม่สนุกเอาได้ง่ายๆ
องค์ประกอบในการเล่าเรื่องดังที่ว่านอกจากจะช่วยในการอ่านการ์ตูน,ดูหนังสนุกขึ้น(หรือบางคนอาจว่าคิดมากก็แล้วแต่) ยังช่วยในการคิดเรื่องของการ์ตูนด้วย ไม่เชื่อลองนำไปใช้ดู อะไรที่เรายังไม่มีก่อนสร้างเรื่อง อย่าพึ่งไปเขียนทำเนม เพราะจะเสียเวลาค่อนข้างมากในการเขียนการ์ตูนให้จบอย่างสมบูรณ์ลงตัว โดยอาจจะเริ่มจาก Idea ก่อนว่าอยากให้ตัวละครบางตัวมีจุดเด่น จุดด้อยอะไร, บางคนอาจถนัด Theme เรื่องหนึ่ง เช่น ความศรัทธาในชีวิต, ธรรมะชนะอธรรม ก็อาจจะนำเสนอเรื่องหลายๆแนว ใน Theme ที่ถนัด, หรืออาจจะนึกที่จะเล่นพลอตๆ หนึ่งอย่างคนที่ไม่ยอมแพ้ต่ออุปสรรคแม้ไร้ทางสู้ ให้เป็นรูปแบบของตัวเอง( เช่น ถ้าเราคิดแบบซีเรียสมากๆ และต้องการสื่อถึงคนที่ไม่อาจปล่อยวางจากปมชีวิตได้ ก็จะได้ Berserk)เมื่อทราบถึงองค์ประกอบในการสร้างเรื่องแล้ว ในบทต่อไปเราจะพูดในรายละเอียดในโครงสร้างของการ์ตูนกันต่อไปครับ
--------------------------------------------------------------------------------
หมายเหตุผู้เขียน: เนม หมายถึง การร่างภาพการ์ตูนตามเรื่องที่จะเขียนทั้งหมดก่อนเขียนจริงเพื่อดูความเหมาะสมและนำมาปรับปรุงแก้ไขงาน คล้ายกับ Storyboard ในการถ่ายทำภาพยนตร์
โดย ยัติภังค์จากเว็ป http://www.moviemisc.com ของคุณขุนแสวงสรรพกิจ(กิ๊กก็อก)ครับ
หมายเหตุผู้เขียน: บทความนี้นำมาข้อความที่ผมได้ลงในเว๊บบอร์ดไทคอมิค และนำมาปรับปรุงรายละเอียดบางส่วนที่ขาดตกบกพร่องไป ข้อมูลต่างๆที่เขียนได้รับมาจากความรู้ที่เรียนมาจากการคอร์สอบรมเขียนบทภาพยนตร์ ประยุกต์กับบทความในนิตยสารไบโอสโคป ฉบับที่ ๑๐ - ๑๖ ครับ
เกริ่นนำ
เคยสงสัยไหมว่าทำไมหลายคนวาดการ์ตูนสวย แต่อ่านยังไงก็ไม่สนุก องค์ประกอบสำคัญในการสร้างเรื่องเพื่อให้น่าติดตามมันมีอะไรซับซ้อนหนักหนาหรืออย่างไร?
เพื่อสร้างความกระจ่างตามกำลังสติปัญญาผู้เขียนจะมีได้ ก็จะขอใช้ความรู้เกี่ยวกับการเขียนบทภาพยนตร์มาเพื่ออธิบายบทการ์ตูนสักหน่อย ทั้งนี้เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องแก่นักอ่านการ์ตูน ซึ่งจะทำให้อ่านและตีความสาระสำคัญ จุดเด่น จุดด้อยของการ์ตูนเรื่องหนึ่งๆได้ดีขึ้น อ่านการ์ตูนได้สนุกขึ้น นอกจากนี้ยังมีส่วนในการคิด และเขียนสำหรับนักเขียนการ์ตูนสมัครเล่นของไทยอีกด้วย
ความรู้เกี่ยวกับด้านบทภาพยนตร์นั้นมีประโยชน์เกี่ยวเนื่องกับการ์ตูนอย่างเห็นได้ชัด เพราะการวาดภาพเพื่อเล่าเรื่องราวนั้น ก็ไม่ต่างจากภาพยนตร์ที่เกิดจากภาพนิ่งหลายๆภาพมาทำให้เกิดภาพเคลื่อนไหวโลดแล่นบนแผ่นฟิล์ม อย่างไรก็ตามการ์ตูนก็มีองค์ความรู้อื่นๆมาประกอบ เนื่องด้วยเป็นสื่อที่มีมิติของหนังสือประเภทนวนิยายมาผสมผสานเช่นกัน ดังนั้นบทความนี้จึงได้ประยุกต์บางส่วนให้เหมาะสมกับการเล่าเรื่องแบบการ์ตูน
สิ่งที่จะนำมาอธิบายเป็นอันดับแรกในตอนที่หนึ่งนี้คือ องค์ประกอบสำคัญในการเกิดเรื่อง ซึ่งหมายความได้อีกทางว่า การ์ตูนเรื่องหนึ่งนั้นจะเกิดขึ้นได้นั้นมาจากสิ่งใดได้บ้าง
องค์ประกอบสำคัญในการเกิดเรื่องมาจาก ๔ ปัจจัยซึ่งทั้ง ๔ ประการที่จะกล่าวนั้นเป็นองค์ประกอบที่ไม่ว่าหนัง หรือการ์ตูนทุกเรื่องต้องมีทั้งสิ้นขึ้นอยู่ว่าจะทำได้ออกมาดีหรือไม่ดีเท่านั้น ย้ำว่าแค่เกิดเรื่องเท่านั้นส่วนจะคิดรายละเอียดที่แตกออกไปนั้นเป็นโครงสร้างของเรื่อง ซึ่งจะนำมากล่าวถึงอีกทีในตอนต่อไป
องค์ประกอบในการสร้างเรื่อง
ได้แก่
๑. แนวคิด (Idea)
หมายถึง จุดเด่น- ความคิดสร้างสรรค์ย่อยอย่างหนึ่งในการสร้างเรื่อง มักเป็นสิ่งแรกๆที่คนจะสังเกตและนึกถึงเวลาอ่านการ์ตูน ดูหนัง เช่น โดราเอมอนมีกระเป๋าวิเศษ, หรือตัวเอกมีวิชาด้านนินจา อย่างฮัตโตริ, ซาเอบะ เรียวเป็นมือปืนที่ลามกมากมี Beep เป็นความฮา ไม่ว่าจะเป็นตัวละครหรือว่าเงื่อนไขหลักในเรื่อง ถือเป็นไอเดียได้หมดครับ ซึ่งไอเดียของการ์ตูนนั้นเหตุที่สังเกตได้ง่ายเพราะการ์ตูนโดยส่วนใหญ่มีขนาดยาวกว่าภาพยนตร์ ไอเดียของการ์ตูนเรื่องนั้นจึงต้องเป็นสิ่งที่ผู้เขียนคิดแล้วว่าโดดเด่นจริงๆ จึงได้นำมาใช้ เพื่อตรึงคนอ่านให้ติดตามตลอดนั่นเอง
๒. โครงเรื่อง (Plot)
หมายถึง เช่น ฮันเตอร์x ฮันเตอร์ เป็นเรื่องของกอร์นเด็กซึ่งเข้าไปพัวพันกับองค์กรว่าฮันเตอร์ซึ่งมีความซับซ้อนเพื่อตามหาพ่อ, GTO เรื่องของนักเลงคนหนึ่งที่กลายมาเป็นครูซึ่งได้ใช้วิธีสอนแบบตนเองแก้ไขปัญหาของนักเรียนทุกคน ฯลฯ สังเกตได้ว่าพลอตสามารถซ้ำกันได้ขึ้นอยู่ว่าคุณจะเอาไปทำในลีลาแบบไหน เช่น GTO เป็นงานแบบตลกเสียดสีสังคม(Satire), Rookie ซึ่งมีพลอตคล้ายคลึงกับ GTO คือครูที่มีลักษณะแปลกๆคนหนึ่งเขามีวิธีการสอนแบบของตนเองเพื่อตั้งใจจะทำให้นักเรียนทุกคนเป็นคนดี ซึ่งนำเสนอด้วยแนวทางดราม่า สอดแทรกด้วยมุขตลก
ตัวอย่างการนึกถึงพลอตอย่างง่ายๆ ก็คือเมื่ออ่านการ์ตูนเรื่องนั้นจนจบ ให้ลองเล่าเรื่องอย่างย่อๆ ภายในหนึ่งบรรทัด นั่นแหละครับพลอต
หนังบางเรื่องเหมือนไม่มีพลอต เพราะอาศัยการนำเสนอแต่น้อย ราวกับไม่เน้นการเล่า แต่อาศัยการใส่รายละเอียดเล็กๆน้อยๆ ต่างๆ เพื่อสร้างความสมจริง หรืออีกวิธีหนึ่งคือเล่าแบบไม่คำนึงถึงห้วงเวลา ปฏิเสธวิธีแบบตามลำดับที่คนคุ้นเคย ซึ่งจัดเป็นวิธีการเล่าที่มีคนทำน้อย และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการ์ตูนขนาดยาวต้องเรียกว่าไม่มีคนทำ เพราะการตีพิมพ์ในลักษณะหนังสือเป็นส่วนผสมของสื่อชนิดนี้ ย่อมไม่ควรสร้างความสับสนให้คนดูที่ต้องอ่านหลายๆเล่ม
๓. แก่น (Theme)
หมายถึง สาระสำคัญหลักของเรื่อง อันนี้ไม่ว่าหนังสือ , เพลง, หนัง ,การ์ตูน ก็มีทั้งนั้น การ์ตูนเรื่องหนึ่งอาจมีสาระหลากหลายมากมายในความบันเทิง การที่มีสิ่งเหล่านี้ไม่ได้หมายความว่าจะทำเรื่องเครียด แต่กลับเพิ่มเนื้อสารเข้าไป ทำให้การ์ตูนสนุกขึ้น ส่วนใหญ่ Theme จะมีลักษณะเหมือนข้อคิดสอนใจ หรืออีกกรณีอาจเป็นสิ่งที่เน้นในเรื่อง (มักเป็นนามธรรม เช่น ความศรัทธา,คุณค่าของชีวิต,ธรรมชาติ,ความสูญเสีย,คุณค่าของเวลา) แล้วให้คนไปคิดเองว่าควรจัดการกับมันอย่างไร
ตัวอย่างของธีมในการ์ตูน เช่น โดราเอมอน มีธีมเกี่ยวกับการแก้ไขข้อผิดพลาดในชีวิต ซึ่งเรื่องแสดงให้เห็นว่าการที่โดเรมอนให้ของวิเศษโนบิตะ ไม่ได้ส่งผลดีเลย นอกจากว่าโนบิตะจะพยายามซะเอง , One Piece ว่าด้วยความฝันที่ไม่ควรละทิ้ง ซึ่งทำให้พวกเขาแต่ละคนที่มีความฝันต่างกันมาพบกัน รวมกัน และเกิดมิตรภาพ กับการผจญภัยมากมาย ฯลฯ
สรุปได้สั้นๆ Theme ก็เหมือนประโยคหนึ่งๆ คล้ายข้อคิดสอนใจซึ่งหนักแน่นเพียงพอที่จะใช้กับเรื่องๆหนึ่ง อาจเป็นสัจธรรมหรือไม่ก็ได้ (ซึ่งอาจจะตรงประเด็นชัดเจน หรือ กำกวมชวนตีความก็แล้วแต่ว่าผู้เขียนอยากนำเสนอข้อคิดนั้นให้ออกมาแบบไหน)
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ควรระมัดระวังก็คือ ขึ้นชื่อว่า Theme แล้ว ก็ไม่แน่ว่าจะสร้างสรรค์อะไรดีๆให้สังคม การ์ตูนบางเรื่องมี Theme ที่เน้นปัจเจกชนเสียจนละเลยขนบธรรมเนียมและไม่สนใจสังคมรอบข้างเลยหรือแม้แต่กระทั่งเชิดชูคนโกงก็มีให้เห็นเหมือนกัน คนอ่านจะต้องระวังบ้าง คนเขียนก็ต้องมีจรรยาบรรณด้วยเหมือนกัน
๔. หลักการโดยรวม (Concept)
หมายถึง การปรุงแต่งเรื่องราวทั้งหมดว่าจะให้เป็นไปทางใด เช่น การกำหนดแนวเรื่องเพื่อความเหมาะสมกับพลอต หรือเพื่อสร้างความแปลกใหม่ รวมไปถึงการสร้าง Frame หรือกรอบของเรื่องว่ามีเงื่อนไขต่างๆอย่างไร เข้ากับเวลาและสถานที่ในเรื่องหรือไม่ เช่น ดรากอนบอล คือ การนำไซอิ๋ว มาปรับปรุงใหม่ให้ทันสมัยด้วยสไตล์ที่เคลือบด้วยการ์ตูนตลก แต่เร้าใจด้วยฉากแอ๊คชั่น โดยรวมแล้วเป็นงานแบบแอ๊คชั่น คอเมดี้ ในโลกแฟนตาซีที่กำหนดให้มีลักษณะแบบอนาคตและอดีตปนเปไป ทั้งนี้เพื่อขับเน้นบรรยากาศของโลกของผู้ชายที่เต็มไปด้วยการผจญภัยและต่อสู้ , Hunter x Hunter จะเป็นคล้ายกับดราก้อนบอล แต่การกำหนด Frame จะแตกต่างออกไป ตั้งแต่ภาษา, วัฒนธรรม, ภูมิประเทศ รวมไปถึงองค์กรระดับใหญ่อย่าง "ฮันเตอร์" เพื่อเปิดโอกาสให้เกิดเรื่องราวการผจญภัยและการต่อสู้ที่ผู้เขียนต้องการ, หรืออย่างโจโจ้ล่าข้ามศตวรรษ ที่แต่ละภาค แต่ละเฟรมในเรื่องก็จะแตกต่างกันไปตามสถานที่,ยุคสมัย, และไอเดียหลักๆที่การ์ตูนใช้ตลอดเรื่อง
กรณีการสร้าง Frame นั้นอาจนำมาจากรายละเอียดในชีวิตจริง โดยดึงจากสังคม,วัฒนธรรมต่างๆ และนำมาประยุกต์เพื่อให้เข้ากับความเป็นการ์ตูนที่เราต้องการให้มากที่สุด ถ้ายังไม่นึกไม่ออก ลองนึกถึงภาพยนตร์กันบ้างดีกว่า เพราะการที่หนังแต่ละเรื่องใช้ผู้แสดงจริง ถ่ายจากสถานทีจริงไม่ได้หมายความว่าจะต้องทำเพื่อความสมจริงเสมอไป เช่น There's Something About Mary ตัวเอกในเรื่องต้องเจ็บตัวปางตาย(ปนทะลึ่ง)ไม่ต่างจากการ์ตูน, Bringing Out The Dead ที่ถ่ายทำเน้นความมืด แม้ในยามกลางวัน และให้ภาพวูบวาบเกินจริงบ่อยครั้งเพื่อสะท้อนสภาพชีวิตบุรุษพยาบาลที่หมดศรัทธา ซึ่งจะนำมาอธิบายอีกทีในส่วนของโครงสร้างของเรื่อง
วิธีกำหนด Concept ง่ายๆ นั้นใช้แนวเรื่องสำหรับวรรณกรรม ที่เรียกว่า Genre(ประเภท) เช่น Comedy (ซึ่งยังแบ่งย่อยออกได้เป็นอีก เช่น ตลกเจ็บตัว,ตลกเสียดสี,ตลกร้าย,ตลกล้อเลียน), Action (เช่น ผจญภัย,เผชิญหายนะ), ไปจนถึง งานแนวสืบสวน(Suspense),เขย่าขวัญ(Thriller), สยองขวัญ(Horror), เป็นต้น ซึ่งส่วนใหญ่มักจะผสมผสานหลายแนวทางไว้ด้วยกัน เช่น Rough เป็นหนังตลกที่เน้นเรื่องราวความรักระหว่างชาย - หญิงที่ครอบครัวเป็นปฏิปักษ์ทางฝ่ายพ่อ หนังรักมันซ้อนแนวที่ว่าด้วยการเรียนรู้ ซึ่งก็คือ การเรียนรู้ซึ่งกันและกันของทั้งสองฝ่าย รวมไปถึงเรียนรู้ใจตนเอง ในบรรยากาศแบบหนังวัยรุ่น เน้นไปที่เรื่องราวในโรงเรียนมากกว่าที่อื่น นอกจากนี้ยังผสมกับแนวกีฬาเข้าไปด้วย
กรณีตัวอย่างกับองค์ประกอบในการเกิดเรื่อง: โดเรมอน
เหตุที่ยกตัวอย่างการ์ตูนเรื่องนี้ขึ้นมาเพราะเชื่อว่าคงไม่มีใครที่เป็นนักอ่านการ์ตูนแล้วจะไม่รู้จักแมววิเศษตัวนี้เป็นแน่แท้ แม้จะเป็นการ์ตูนที่เก่าแต่มีอะไรหลายๆอย่างที่น่าสนใจมากมายจนคงความเป็นการ์ตูนอมตะได้ถึงทุกวันนี้ ก็เลยนำมาใช้อธิบายประกอบเพื่อความกระจ่างยิ่งขึ้น
Idea
ไอเดียของโดเรมอนมีมากมาย เพราะเป็นการนำของวิเศษหลากหลายมานำเสนออย่างไม่ซ้ำ แต่ทั้งนี้ไม่ได้คำนึงถึงเหตุผลทางวิทยาศาสตร์หากแต่เพื่อผนวกเข้ากับพลอตและธีมของเรื่อง จึงใช้ของวิเศษเพื่อช่วยเหลือและตอกย้ำตัวโนบิตะเอง หรือหากจะบอกว่าไอเดียต่างๆเกิดจากไอเดียที่คิดหุ่นยนต์แมวตัวนี้เลยก็น่าจะได้ (ตามคำบอกเล่าเกี่ยวกับแรงบันดาลใจของผู้เขียน)
Plot
ว่าด้วยเรื่องราวหลักๆคือมีผู้วิเศษจากอนาคตมาช่วยแก้ไขเด็กคนหนึ่งในโลกปัจจุบันเพื่อมิให้เป็นคนล้มเหลวในอนาคต, ขณะที่เรื่องที่นำเสนอคนดูเป็นเรื่องราวขยายความจากโครงเรื่องดังกล่าว คือหลังจากที่โนบิตะมีโดเรมอนแล้ว กลายเป็นเรื่องของคนๆหนึ่งได้รับบททดสอบใหม่ๆให้กับชีวิตจากการได้อำนาจ(ของวิเศษ)เพื่อให้ตระหนักในคุณค่าที่ตนเองขาดหาย และเติบโตขึ้นอีกระดับ
Theme
เป็นเรื่องของการแก้ไขข้อผิดพลาดในอดีต โดยเรื่องนี้ต้องการบอกว่าไม่มีสิ่งใดสามารถแก้ไขข้อผิดพลาดของเราได้นอกจากตัวเราเอง เพราะในขณะที่โดเรมอนช่วยโนบิตะด้วยของวิเศษ นิสัยที่ไม่ดีของโนบิตะก็มักลงเอยใช้ของวิเศษนั้นในทางที่ผิดทุกครั้งไป หรือไม่ก็มีอีกประเภทหนึ่งที่เลือกให้โนบิตะสำนึกผิดเองก่อนและเข้าใจหลักที่ว่า "ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน"
Concept
เป็นการ์ตูนประเภทจบในตอน ผสมผสานแนวตลกหลากหลายแนว ตั้งแต่ ดราม่าเจือตลก,ตลกเจ็บตัว,ตลกเสียดสีสังคม,ไปจนถึงตลกล้อเลียนภาพยนตร์อย่าง Star Wars ก็ยังมี กับแนวไซไฟซึ่งผู้เขียนได้รับแรงบันดาลใจจากเรื่องของไทม์แมชชีนและการย้อนเวลา โดยมีเหตุการณ์อยู่ในช่วงเวลาเดียวกับของผู้เขียนคือ 1969 จนถึงปลายยุค 80s และเพื่อไม่ให้เกิดความน่าเบื่อ โดเรมอนจึงมักมีตอนพิเศษขนาดยาวเพื่อเปลี่ยนแนวทางให้กลายเป็นแนววิทยาศาสตร์-ผจญภัย(Scifi-Adventure) อยู่เรื่อยๆ
อาจกล่าวได้ว่าแนวทางเรื่องของโดเรมอนที่ผสมผสานหลายแนว เพื่อขับเน้นจินตนาการแนวแฟนตาซีของโนบิตะ ที่มีแม่ที่ดุและจู้จี้ขี้บ่นให้มีคนคอยดูแลที่ดี (สังเกตดูว่าโดเรมอนมาอยู่ในบ้านอย่างไม่มีใครต้องเอะใจ) ช่วยจัดการปัญหาทุกอย่างแม้กระทั่งการเลือกคู่ชีวิตทุก ๆอย่างในปัจจัย ๔ ประการนี้ควรมีเหตุมีผลสอดคล้องเหมาะสมกันทั้งหมด เพราะหากจัดวางผิดก็จะทำให้งานขาดความสมเหตุสมผล และไม่สนุกเอาได้ง่ายๆ
องค์ประกอบในการเล่าเรื่องดังที่ว่านอกจากจะช่วยในการอ่านการ์ตูน,ดูหนังสนุกขึ้น(หรือบางคนอาจว่าคิดมากก็แล้วแต่) ยังช่วยในการคิดเรื่องของการ์ตูนด้วย ไม่เชื่อลองนำไปใช้ดู อะไรที่เรายังไม่มีก่อนสร้างเรื่อง อย่าพึ่งไปเขียนทำเนม เพราะจะเสียเวลาค่อนข้างมากในการเขียนการ์ตูนให้จบอย่างสมบูรณ์ลงตัว โดยอาจจะเริ่มจาก Idea ก่อนว่าอยากให้ตัวละครบางตัวมีจุดเด่น จุดด้อยอะไร, บางคนอาจถนัด Theme เรื่องหนึ่ง เช่น ความศรัทธาในชีวิต, ธรรมะชนะอธรรม ก็อาจจะนำเสนอเรื่องหลายๆแนว ใน Theme ที่ถนัด, หรืออาจจะนึกที่จะเล่นพลอตๆ หนึ่งอย่างคนที่ไม่ยอมแพ้ต่ออุปสรรคแม้ไร้ทางสู้ ให้เป็นรูปแบบของตัวเอง( เช่น ถ้าเราคิดแบบซีเรียสมากๆ และต้องการสื่อถึงคนที่ไม่อาจปล่อยวางจากปมชีวิตได้ ก็จะได้ Berserk)เมื่อทราบถึงองค์ประกอบในการสร้างเรื่องแล้ว ในบทต่อไปเราจะพูดในรายละเอียดในโครงสร้างของการ์ตูนกันต่อไปครับ
--------------------------------------------------------------------------------
หมายเหตุผู้เขียน: เนม หมายถึง การร่างภาพการ์ตูนตามเรื่องที่จะเขียนทั้งหมดก่อนเขียนจริงเพื่อดูความเหมาะสมและนำมาปรับปรุงแก้ไขงาน คล้ายกับ Storyboard ในการถ่ายทำภาพยนตร์
เก็บเข้าคอลเล็กชัน
ความคิดเห็น