คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #60 : So Ra No Wo To เคองภาคสงครามกลางเมือง
ในที่สุดการ์ตูนคอมมาดี้และเสียงเพลงเรื่อง เคอง(K-ON) การ์ตูนดังของญี่ปุ่น(แต่บ้านเราฮิตเงียบๆ) ก็ได้มีลิขสิทธิ์และวางจำหน่ายแล้วในแผงหนังสือในประเทศไทยในชื่อ “ก๊วนดนตรีแป๋วแหวว”
เคอง(K-ON)เป็นการ์ตูนสี่ช่องจบของญี่ปุ่นแต่งโดย Kakifly เป็นการ์ตูนแนวคอมมาดี้สบายๆ เกี่ยวกับกลุ่มสาวๆและชมรมวงดนตรีเคอง(ดนตรีเบาๆ) โดยตัวเอกเป็นเด็กมัธยมปลาย ฮิราซาว่า ยูอิ ที่เข้าชมรมนี้ทั้งๆ เล่นดนตรีไม่เป็นเลย แต่เมื่อเข้ามาแล้วเธอก็ได้ฝึกฝนและเสริมสร้างมิตรภาพเพื่อนๆ ในวง ภายใต้ช่วงเวลาที่อบอุ่น เฮฮ่า ตามภาษาวัยรุ่น
ภายใต้เนื้อหาที่สบายๆ ความน่ารักของบรรดาสาวที่ทั้งน่ารัก จุดเด่นในเรื่องบุคลิก และเพลงเพราะๆ ทำให้เรื่อง K-ON กลายเป็นการ์ตูนที่ฮิตติดชาร์ทของญี่ปุ่น มังงะมียอดขายเกินหนึ่งแสนเล่ม, เพลงที่ใช้ประกอบอมิเนชั่นติดชาร์ทอันดับสูงสุด,และได้รับรางวัล ได้รับรางวัล อนิเมชันฉายทางทีวียอดเยี่ยม (Best TV Animation Award) ในงาน Tokyo International Anime Fair ประจำปี 2010
หากจะถามผมว่าผมได้การ์ตูนเรื่องนี้ไหม คำตอบดู แต่ดูแต่มังงะ ส่วนอมิเนชั่นรอเงินเพื่อนำไปซื้ออยู่ แต่หากถามอีกว่ารู้สึกยังไง ผมตอบว่า เสียดายไม่มีพระเอกหื่น....เอ้ย.....คือ....ชอบครับมุกสบายๆ น่ารัก แต่ก็แปลกใจเล็กน้อยว่าดังได้อย่างไร เพราะการ์ตูนแนวนี้ก็ใช้ว่า K-ON จะเป็นต้นตำหรับเสียเมื่อไหร่ เพราะมีการ์ตูนหลายเรื่องก็แนวๆ แก๊งสาวๆ เหมือนกัน
การ์ตูนแก๊งสาวๆ เนื้อหาจะคล้ายๆ กันครับ ภายใต้เนื้อหาที่ ดำเนินเรื่องแบบสบายๆ จบในตอน เน้นความสัมพันธ์ระหว่างตัวละคร, ตัวละครตัวเอกจะเป็นผู้หญิงร่าเริงที่นิสัยเต็มไปด้วยความอยากรู้อยากเห็น, ตัวละครสาวๆ ในกลุ่มน่ารักน่ากอด, บุคลิกสาวๆ ส่วนใหญ่มี สาวแกร่ง, สาวเอาแต่ใจ, สาวแว่นฉลาด, สาวเรียบร้อย ฯลฯ (ส่วนสาวเงียบที่มีอดีตลึกลับนั้นนั้นสมัยก่อนการ์ตูนญี่ปุ่นยังไม่ค่อยมีตัวละครนี้ แต่หลังจากการปรากฏตัวของอายานามิ เรย์จากเรื่องเอวาเกเลี่ยนจึงเริ่มเห็นสาวเงียบในการ์ตูนเรื่องต่างๆ มากขึ้น) และที่สำคัญคือมีฉากเซอร์วิสกระตุ้นต่อมน้ำลายใหลสำหรับผู้ชายหลายๆ คน
ในปี 2010 มีนี้เองก็มีการ์ตูนเรื่องใหม่ออกสู่สายตาคนชอบการ์ตูนแนวแก๊งสาวๆ ได้ชมกัน ซึ่งเสียงตอบรับคือหลายคนบอกว่ามันช่างละม้ายคล้ายกับการ์ตูนเรื่อง K-ON ไม่มีผิดเลย
So Ra No Wo To
หรือ บทเพลงแห่งฟากฟ้า(Sounds of the Skies)
แนวคอมมาดี้-ดราม่า, ไซไฟ, ละครชีวิตเบาๆ
อมิเนชั่น http://www.nungning.net/catalog.php?idp=2972
การ์ตูน http://www.mangareader.net/1307-43881-1/so-ra-no-wo-to/chapter-1.html
So Ra No Wo To เป็นการ์ตูนอนิเมชั่นที่แต่งเรื่องขึ้นเองโดยไม่อ้างอิงจากนิยายหรือหนังสือการ์ตูน สร้างโดยสตูดิโอ A-1 Pictures และ Aniplex อันเนื่องจากเนื่องในโอกาสที่ทาง ทีวีโตเกียว ได้เปิดแผนกใหม่ แผนกอนิเมชั่นขึ้น โดยฉายการ์ตูนนี้เรื่องแรก ออกอากาศทางเครือข่ายโทรทัศน์ TV Tokyo ในช่วง 5 มกราคม 2010 ถึงวันที่ 22 มีนาคม 2010
การ์ตูนเรื่องนี้ได้สุดยอดฝีมือมาช่วยทำหลายคน ไม่ว่าจะเป็นผู้กำกับ มาโมรุ คันเบะ(Mamoru Kanbe)ที่มีผลงามมาแล้วมากมายไม่ว่าจะเป็น Cardcaptor Sakura, Elfen Lied, I"s Pure เขียนบทโดย ฮิโรยูกิ โฮชิโน( Hiroyuki Yoshino To Love-Ru, Blood+ และดนตรีประกอบเพราะๆ จากคนแต่งเพลง Full Metal Alchemaist (ภาคแรก)
เมื่อการ์ตูนเรื่องนี้ฉาย หลายคนบอกว่า การออกแบบตัวละครออกมาได้คล้ายคลึงกันกับ อะนิเมะเรื่อง K-ON!
แต่ขอโทษ แม้ตัวละครเหมือน K-ON! แต่การดำเนินเรื่องไม่เหมือนเลยครับ ด้วยเนื้อหาของเรื่องที่ดราม่า ข้อคิดเตือนใจ และบทเพลงที่แสนจะได้อารมณ์ จนทำให้คนดูท่านๆ ต้องประทับใจ ส่งผลให้เรื่อง So Ra No Wo To โด่งดังทันทีครับ(ในญี่ปุ่น) มีออกเป็นหนังสือการ์ตูนวาดโดย มากิ(Yagi Shinba) ออกเมื่อมกราคม 2010 ตอนแรกอยู่(ลายเส้นไม่เหมือน K-ON! เลยนะ)จะตีพิมพ์ในนิตยสาร เดนเกคิ กาโอ(Dengeki Daioh) และออกเป็นเกมส์ในชื่อ So Ra No Wo To: Maiden Quintet ของเครื่อง PSP(PlayStation Portable) เมื่อฤดูใบไม้ผลิ 2010 (เป็นเกมส์แนวกดปุ่มตามจังหวะเพลง) ออกแบบ OVA อีก 2 ตอน จนมีหลายคนเรียกร้องอยากให้มีภาคสองอีก
So Ra No Wo To เรื่องที่เกิดขึ้นในโลกสมมุติแห่งหนึ่ง ที่ครั้งหนึ่งในอดีตเคยมีสงครามครั้งใหญ่ที่มีแต่เทคโนโลยีที่ล้ำสมัยสู้รบกัน จนกระทั้งโลกถูกทำลายย่อยยับ จนสภาพของโลกต้องถอยหลังไปยังยุคต้นกลางศตวรรษที่ 20 สงครามดังกล่าวเกิดขึ้นเกิดโดยสองประเทศ ระหว่าง เฮลเวตเทีย (Helvetia) ออกไปทางญี่ปุ่นผสมยุโรป(เมืองยุโรปแต่ภาษาเขียนและภาษาพูดญี่ปุ่นจ๋าเลย) กับ โรมัน (Roma) ออกไปทางเอเชียกลาง(ผิวคล้ำนับถือเทพองค์เดียว) ทั้งสองต่างรบกันมานานจนทั้งสองฝ่ายต่างเจ็บซ้ำ ไม่มีผู้ชนะไม่มีผู้แพ้ จนกระทั้งเลิกยุติสงครามระหว่างกันในที่สุด แต่กระนั้นการเจรจาสันติภาพก็ยังไม่ยุติเสียที ทำให้หลายฝ่ายเริ่มกังวลว่าสงครามจะเกิดขึ้นในไม่ช้า
เรื่องราวของเรื่องเริ่มขึ้นเมื่อ สาวน้อยคนหนึ่งชื่อ “คานาตะ คุมิกะ” เด็กสาวที่มีความใฝ่ฝันว่าจะเป็นนักเป่าทร็มเบ็ต(เครื่องดนตรีประเภทเป่า) ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากสาวสวยลึกลับซึ่งเป็นทหารคนหนึ่งที่ช่วยเธอจากการจมน้ำเมื่อหลายปีก่อน และเธอได้เป่าเพลง “ความงดงามอันน่าอัศจรรย์(Amazing Grace)” แก่คานะตะฟัง จนเกิดความประทับใจ
หลายปีผ่านไป สงครามก็ได้ยุติลง คานาตะได้สมัครเป็นพลทหารเฮลเวตเทียในตำแหน่งนักเป่าทรัมเป็ต (trumpet&bugler ใช้ให้สัญญาณในการรบ) เนื่องจากเธอได้ยินว่าเรียนฟรีและหวังว่าจะมีคนที่จะช่วยสอนให้เธอเป็นนักเป่าทรัมเบ็ตที่เก่งได้ แต่กลายเป็นว่าเธอนั้นฝีมือเล่นทรัมเบ็ตไม่เก่งเอาเสียเลย แต่เธอก็ถูกมอบหมายให้ส่งตัวไปประจำเมืองแห่งหนึ่ง ที่เป็นเมืองชนบทเงียบๆ ติดชายแดน ที่มีป้อมปราการเก่าๆที่ถูกเรียกว่า “ป้อมบอกเวลา” และรถถังที่ใช้ทำงานไม่ได้ ซึ่งป้อมแห่งนี้มีหน่วย 1121 ที่คานาตะประจำการอยู่ และเมื่อคานาตะมาถึงเมืองนี้ก็พบว่า ที่นี้มีแต่ชาวบ้านใจดีที่เป็นมิตร ศาสนาและชาวบ้านอยู่ร่วมกันอย่างสันติโดยไม่มีการขัดแย้งใดๆ ทั้งสิ้น
เมื่อคานาตะประจำหน่วย 1121 เธอก็พบว่าหน่วยนี้เพียงทหารหญิงเพียงสี่คนเท่านั้น และแต่ละคนนั้นมีความหลังอดีตฝังใจที่แก้ยังไงก็ไม่หาย แต่กระนั้นทหารหญิงทั้งสี่ก็เป็นมิตรกับคานาตะมาก พร้อมกันนี้คานาตะก็เริ่มเป็นที่รักของทหารคนอื่นในหน่วย และเธอก็เข้ากันได้ดีชาวเมือง, โบสถ์ และเด็กกำพร้า
และแล้วสิ่งที่หลายคนคาดคิดก็เกิดขึ้น สงครามกำลังใกล้เข้ามา และคานาตะและพรรคพวกจะทำอย่างไรเพื่อจะยุติสงครามในครั้งนี้ ดนตรีของเธอจะช่วยหยุดสงครามนี้ได้หรือไม่ ติดตามได้ในการ์ตูนเรื่อง So Ra No Wo To (เอาเอง)
คานาตะ คุมิกะ(Kanata Sorami )สาวน้อยที่รักการเล่นทรัมเป็ต เธอสมัครเป็นพลทหารเพื่อเรียนรู้วิธีเล่น และถูกย้ายประจำหน่วย 1121 สดใสร่าเริง มองโลกในแง่ดี และอยากรู้อยากเห็น เธออาจมีปัญหาการอ่านบรรยากาศเล็กน้อย แต่ก็สามารถปรับตัวทุกสภาพแวดล้อมได้ ตอนแรกเธอเล่นทรัมเป็ต แต่หลังจากได้ยินคำพูดของช่างเป่าแก้วคนหนึ่งเธอก็เก่งทรัมเบ็ตดีขึ้นตามระดับ มีความสามารถฟังเสียงในระยะไกลมากๆ ได้
ริโอะ คาซูมิยะ(Rio Kazumiya) เป็นจ่า, พลเป่าทรัมเป็ต,รุ่นพี่และอาจารย์ของคานาดะ ค่อนข้างเป็นคนเก่ง, ไม่คิดเล็กคิดน้อย, เคร่งขรึมและเข้มงวดในระเบียบวินัย(ในบางโอกาส) แต่เธอก็รักคานาดะเหมือนน้องสาว และความจริงแล้วเธอเป็นถึงเจ้าหญิงอันดับสองของประเทศที่หนีมายังป้อมปราการที่ไร้ชีวิตชีวานี้เพื่อหนีโชคซะตาของเธอ แต่หลังจากการมาของคานาตะทำให้เธอตัดสินไม่หนีปัญหา เธอได้กลับไปเป็นเจ้าหญิงอีกครั้งเพื่อเจรจาสันติภาพกับโรมัน
เฟริเซีย ไฮเดนแมน(Filicia Heideman) ร้อยโทผู้บัญชาการกองทหาร 1121 ของป้อมปราการบอกเวลา สาวแว่นที่ค่อนข้างเป็นคนใจดีอ่อนโยน, ใจเย็น และแม่แบบผู้รอบคอบ โดยให้ความสำคัญกับมิตรภาพของกลุ่มซึ่งเธอมีนโยบายไม่มีลำดับยศในกลุ่ม 1121 สมาชิกต้องรักกันแบบเหมือนพี่กับน้อง เธอมักดูแลเด็กๆ ในหน่วยเหมือนแม่และพี่สาวมากกว่า ในอดีตของเธอนั้นเคยร่วมรบในสงครามและสูญเสียเพื่อนในหน่วยจากการรบทั้งหมด
คุเรฮะ ซูมิโนยะ(Kureha Suminoya) หน่วยพลปืนของหน่วย 1121 เป็นเด็กสาวทวิลเทล ตัวเล็ก(แบนและซึนฯ) ที่ดูจริงจังที่สุดในหน่วย แต่ความจริงก็เป็นเด็กสาวธรรมดาที่อ่อนโยน, ขี้กลัวและขี้กังวลมากๆ เป็นเด็กกำพร้าเพราะพ่อแม่เสียชีวิตในสงคราม
โนเอล คันนากิ(Noël Kannagi) สิบโท,พลขับและทหารช่างของหน่วย 1121 เป็นสาวเงียบผู้รอบรู้ ชอบง่วงนอนและนอนหลับทุกสถานที่ โดยรวมเธอเป็นเด็กที่ไม่พูดมาก แต่ก็รักเพื่อนฝูง เวลาส่วนใหญ่ของเธอหมดไปกับการซ่อมรถถัง ทาเคะมิคาซูซิ (Takemikazuchi) ซึ่งเป็นรถถังจากเทคโนโลยีจากยุคเก่า ในอดีตเธอเคยเป็นเด็กอัจฉริยะที่ปลุกเทคโนโลยีจากยุคเก่าจนทำให้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก ทำให้เธอรับสภาพนี้ไม่ไหว เลยหนีมายังป้อมปราการแห่งนี้และปิดบังตัวตนของเธอเอาไว้ไม่ให้ใครรู้ และเธอมักหวาดกลัวตันตนในอดีตอยู่เสมอ
อิลิยา(Iliya Arkadia) เจ้าหญิงที่เป็นฮีโร่และศูนย์รวมจิตใจของเฮลเวตเทีย เธอเป็นคนช่วยคานาดะจากการจมน้ำ และเป็นคนทำให้คานาดะสนใจการเป่าทรัมเบ็ต แต่เธอไม่ทันทีจะได้เห็นสันติภาพระหว่างเฮลเวตเทียและโรมันเธอก็กลับตายไปก่อนวัยอันควรด้วยโรคไข้ที่เกิดจากการช่วยคานาตะ
“ทำไมต้องเป็นทหาร??”พูดถึงทหารภาพที่คุณคิดคือชายฉกรรจ์ในชุดเขียวครามที่ดูดุดันเข้มแข็งเป็นรั่วของชาติ ปฏิบัติตามคำสั่งเคร่งครัดใช่เปล่าครับ แต่นั้นคือโลกแห่งความจริง แต่หากเป็นโลกของการ์ตูนภาพลักษณ์ของทหารส่วนใหญ่จะอยู่ภายใต้ทฤษฏีโมโอะ(Moe)ซึ่งส่วนมากจะเป็นทหารจะกลายสาวน่ารักมากกว่าผู้ชาย ชนิดเรียกว่าคุณเธอไปเป็นนางแบบดีกว่าจะมาเป็นทหารดีกว่านะ ปานซะนั้น
พวกผู้หญิงส่วนมากดูการ์ตูนพวกนี้อาจดูขัดๆ สายตานิดหน่อย ผู้ชายก็ใช่ว่าจะไม่ขัดนะครับ แต่ส่วนมากก็เข้าใจ
ทำไมต้องอยู่ภายใต้ทฤษฏีโมโอะ แน่นอนครับคำว่า “โมโอะ” ใช้ได้เมื่อเราได้พบเห็นสิ่งของน่ารักเกินห้ามใจแล้วอุทานว่า “โมโอะ น่ารักอ่ะ จ๊าเอา” แน่นอนผู้ชายก็มีสิทธิชอบของน่ารัก แต่บางครั้งหลายคนมักมองด้วยสายตาดูถูก เช่น พวกเหมียวคริสตี้, บาร์บี้, ตุ๊กตากระดาษ ผู้ชายเอาของพวกนี้เป็นสายห้อยโทรศัพท์เอามาประดับกระเป๋าผู้ชายคนนั้นคงถูกล้อเลียนแน่นอน ดังนั้นพวกเขาจึงเอาสิ่งที่ผู้ชายหลงใหลผสมกับวัฒนธรรมโมโอะขึ้นเมื่อเพื่อจะได้กลมกลืนจนสามารถพูดคำว่า “น่ารัก” โดยไม่สนใจสายตาผู้คน
สิ่งที่ผู้ชายหลงใหลที่ว่านี้คือ “เครื่องบินรบ”, “รถถัง”, “ปืน”, อาวุธสงคราม”, “ฮีโร่อเมริกัน”, “หุ่นยนต์”, “ทหาร”สิ่งของพวกนี้อยู่คู่กับเด็ก-ผู้ใหญ่ที่หลงใหลมานานแล้ว และเมื่อจับของพวกนี้ให้กลายเป็นผู้หญิง ใส่ตาโต ใส่หูแมว ใส่ชุดทหาร ใส่อะไรลงไปโดยเหลือเค้าโครงว่ามันมาจากอะไร แค่นี้ก็ถือว่าโมโอะ แล้วครับ
จุดประสงค์อย่างหนึ่งของโมโอะในชุดทหาร คือให้เหล่าผู้ชายหันมาสนใจทหารและการรักชาติบ้าครับ ง อย่างที่เรารู้กันหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นถูกบังคับตามสนธิสัญญาข้อ 9 ที่ลงนามในช่วงแพ้สงคราม ระบุว่า ห้ามญี่ปุ่นมีกองกำลังทหารและอาวุธร้ายแรงใดๆ ครอบครอง หากแต่มีแค่กองกำลังป้องกันประเทศเท่านั้น ดังนั้นคนญี่ปุ่นจึงหลายคนจึงมีความรู้เกี่ยวกับทหารน้อยมาก เท่าที่รู้ในปี 2004 ที่สหรัฐโจมตีอัฟกานีสถานเสร็จสิ้นทหารญี่ปุ่นก็เข้าไปประจำการเพื่อช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมในประเทศอัฟกัน นั้นแหละที่ทำให้โลกได้รู้ว่าญี่ปุ่นก็มีทหารด้วย!! ดังนั้นการ์ตูนจึงเป็นสื่ออย่างดีที่ทำให้ชาวญี่ปุ่นสนใจเรื่องทหารบ้าง ยกตัวอย่างก็มีนะครับนอกเหนือจากการ์ตูนเรื่องนี้ คือเรื่อง Magical Marine Pixel Maritan เป็นการ์ตูนที่จับทหารมาใส่ความเป็นโมโอะจนกลายเป็นทหารน่ารักตาโต โดยมีเป้าหมายส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับการเป็นทหาร, ฝึกทหาร
“ตัวละครเหมือนเคอง” ใช่ครับมันเหมือนการ์ตูนเรื่องเคออนจริงๆ โดยเฉพาะละคร และนอกจากนี้ยังมีส่วนผสมตัวละครจากเรื่อง Strike Witches ด้วยนะครับ บางเว็บถึงขั้นเอาภาพมาเปรียบเทียบชนิดฉากต่อฉากด้วยนะครับ เช่นตัวอย่างด้านล่างนี้
ฮิราซาว่า ยูอิ(Yui Hirasawa) จากเรื่อง K-On นิสัย ร่าเริง ซุ่มซ่าม เหม่อลอย เรียนไม่เก่ง แต่มีความตั้งใจ ซึ่งนิสัยของยูอิเหมือนนิสัยคานาตะ คุมิกะ(Kanata Sorami )ไม่มีผิด นอกจากนี้องค์ประกอบ ลายเส้น บรรยากาศ การใช้สีสัน มีส่วนคล้ายกันมากทีเดียว พูดง่ายๆ เปลี่ยนกีตาร์มาเป็นทร็มเบ็ตนั้นแหละ
ตารางเปรียบเทียบตัวละคร จะพบว่าตัวละครในเรื่อง เอามาจากเรื่อง Strike Witches ผสมกับ K-on จะเป็นตัวละคร ขึ้นมา จะไปว่าก๊อปก็ไม่ได้นะครับ เพราะคนออกแบบเป็นทีมงานเดียวกับการ์ตูนสองเรื่องก่อนหน้านี้ซะด้วย
“สิ่งที่การ์ตูนสื่อออกมา” เอางี้นะครับ.....หากคุณอยากจะดูการ์ตูนนี้ให้สนุกคุณจะต้องตั้งกฎกับตัวเอง 3 ข้อ
-ใครไม่ชอบการ์ตูนซึ้งๆ ขอให้ข้ามไปดูพวกบลิซ, นารูโตะเถอะ แม้การ์ตูนเรื่องจะเกี่ยวข้องกับทหารและผู้กำกับเคยกำกับเรื่องหูแมวโหด แต่การดำเนินเรื่องจะอยู่ในยุคหลังสงครามครับ ทำให้การ์ตูนเรื่องนี้จะดำเนินเรื่องแบบเรียบๆ สื่อให้เห็นวีถีชีวิตวันต่อวันอย่างเรียบง่าย ส่วนฉากมันๆ จะมีอยู่ไม่กี่ฉากซึ่งจะมีตอนท้ายเรื่องเท่านั้น
-อย่าดูเปรียบเทียบกับเคออน หากคนไม่เคยดูเคอง มาดูเรื่องนี้จะซึ้งประทับใจมาก ส่วนคนที่ได้ดูเคองแล้วก็ก็อย่าจับผิดดีกว่านะครับ ขอบอกว่าการ์ตูนเรื่องนี้นอกจากตัวละครแล้ว ส่วนอื่นๆ ไม่เหมือนเคออนเลยสักนิด เนื้อเรื่องดราม่า ภาพสดใส มุกตลกนิดหน่อย กระหน่ำด้วยมิตรภาพลึกซึ้ง และจบแต่ละตอนอย่างน่าประทับใจ สื่ออะไรมากมาย ยิ่งโครงเรื่องเป็นโลกหลังสงครามที่เคยเกิดเรื่องเลวร้ายมาก่อน ยิ่งดูยิ่งอิน ปกติการ์ตูนมันเน้นโลกที่กำลังเกิดสงครามใช่เปล่า แต่นี้ต่างกัน ดูแล้วก็ลุ้นไปลุ้นว่าแบบว่า ขอให้อย่าเกิดสงครามอีกเลย สงสารเหล่าทหารหญิงหน่วย 1121 ง่ะ ไม่อยากให้พวกเขาไปรบในสงครามที่ต้องฆ่าคนเลย
-ตามนโยบายบทความของผม เราหันมาดูการ์ตูนที่มีสาระดีกว่า การ์ตูนหลายเรื่องมักสอดแทรกสาระและคติประจำใจเอาไว้แทรกแต่ละตอนด้วยนะครับ ผมเชื่อครับหลายคนมักมองการ์ตูนเรื่องนี้แบบผ่านๆ ไป โดยไม่สนใจอะไรอีก แต่ผมไม่ครับ ตอนผมดูจบนะ ส่งแรกที่ผมทำ พิมพ์ชื่อการ์ตูนเรื่องนี้ ก่อนอื่นไปดูเว็บไทยก่อน จากนั้นก็ไปเว็บต่างประเทศ เก็บข้อมูลไว้มาเขียนจะเอามาให้ทุกคนได้อ่านว่าการ์ตูนเรื่องนี้ดีกว่าที่คุณคิด มันไม่ได้ดำเนินราบเรียบวันต่อวันอย่างที่หลายคนเข้าใจกัน มันสอดแทรกสาระได้อย่างเหลือเชื่อ
เริ่มจากเพลงเปิดเนื้อเรื่อง OP ชื่อเพลง Hikari no Senritsu สังเกตไหมครับว่าภาพประกอบเพลงจะเป็นเหล่าสาวๆ ของหน่วย 1121 ทำท่าทำทางประหลาดเหมือนแฝงอะไรบางอย่างสักอย่าง อีกทั้งฉากประกอบหลังตัวละครออกไปทางแฟนตาซีสีทองแปลกๆ เหมือนศิลปะโบราณ ตอนแรกสิ่งที่คิดเลยคือภาพประกอบเพลงดังกล่าวนั้นต้องเอามาจากอะไรสักอย่างแน่นอน ผมเลยค้นที่มาจากเว็บต่างๆ ทั้งวันเลยครับ แต่สุดท้ายก็ไม่เจอสักที จนกระทั้งมาเจอเว็บหนึ่ง เท่านั้นแหละผมตาสว่างหายโง่ทันทีเลย เพราะว่าเส้นผมบังภูเขาแท้ๆ ลืมไปว่าผู้กำกับเรื่องนี้มีผลงานเรื่อง “Elfen Lied” มาก่อน
กุสตาฟ คลิมท์ เป็นจิตรกรชาวออสเตรเลีย มีชีวิตอยู่ในช่วงปี ค.ศ. 1862 - 1918 ค่อนข้างจะเป็นศิลปินอาภัพ เป็นชาวเวียนนาออสเตรีย เขาเป็นนักศิลปะแนวใหม่ หรืออาร์ตนูโว(Art Nouveau)ผลงานของเขาค่อนข้างแตกต่างจากศิลปินอื่นๆ ในออสเตรเรียขณะนั้น เนื่องจากเขาเขียนภาพที่มีลักษณะเฉพาะตัวมากเกินไป จัดวางองค์ประกอบของภาพแปลกๆ ชอบเขียนภาพคนเปลือยที่อยู่รวมเป็นกลุ่มๆ ลักษณะท่าทางเหมือนแสดงอารมณ์ความรู้สึก, จิตวิทยาอยู่มาก และเน้นสีทองเป็นหลัก ซึ่งในเวลานั้นมีน้อยคนจะเข้าใจผลงานของคลิมท์ ทำให้คลิมท์เป็นศิลปินตกอับที่ไม่มีใครรู้จักมากนัก ปั่นปลายชีวิตเขายากจน โดดเดี่ยว และล้มป่วยลงอย่างทนทุกข์ทรมาน และเสียชีวิตลงในปี ค.ศ. 1918 ท่ามกลางผลงานที่เขียนไม่สำเร็จจำนวนมาก....
ปัจจุบันมีหลายฝ่ายยอมรับผลงานของกุสตาฟ คลิมท์ และภาพของเขาเป็นของมีค่าสำหรรับนักสะสมภาพเป็นอย่างมาก บางภาพถูกประมูลไว้สูงเกินกว่าจะเป็นภาพวาด เช่นภาพ Adele Bloch-Bauer I by Gustav Klimt ถูกประมูลเป็นจำนวนเงินถึง 135 ล้านดอลลาร์ เมื่อปี 2006
และผลงานของนั้น ก็ถูกนำไปดัดแปลงเป็นภาพประกอบเพลงต้นเรื่อง So Ra No Wo To ในเพลง Hikari no Senritsu ด้วย ส่วนจะมีภาพอะไรนั้น เท่าที่เห็นก็มีดังต่อไปนี้
ดูขนาดเต็มได้ที่ http://www.gravestmor.com/strips/klimt_sml.jpg
ภาพชุด บีโธเฟนผ้าสักหลาก (Beethoven Frieze) วาดในปี 1902 เพื่อฉลองแก่บีโธเฟน ซึ่งมีหลายส่วน เนื้อหาจะเน้น “ความต้องการของมนุษย์” และเนื่องจากวัสดุที่ใช้วาดนั้นเป็นวัสดุเบา ซึ่งไม่คงทนทำให้ตอนแรกภาพชุดเหล่านี้ถูกเก็บรักษาไว้โดยไม่ให้ออกมาให้คนภายนอกได้ชม จนกระทั้งปี 1986 จึงสามารถออกมาให้ชมได้ ซึ่งส่วนนี้ถือว่าเป็นจุดเด่นของภาพชุดทั้งหมด เป็นภาพที่สร้างชื่อแก่กุสตาฟ คลิมท์ ถึงขนาดเอาส่วนประกอบของภาพมาทำเป็นเหรียญสะสม โดยจุดเด่นของภาพคือผู้หญิงที่ถือพวงมาลัยชัยชนะ และผู้หญิงเอนหัวลงและทำมือประสานกัน จำหน่ายเป็นที่ระลึกเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2004 ปัจจุบันภาพนี้ตั้งอยู่ในอาคาร Vienna Secessionist ในเวียนนา
เป็นอีกส่วนของภาพ Beethoven Frieze ส่วนที่สอง ซึ่งถูกจัดแสดงใน อาคาร Vienna Secessionist เช่นกับส่วนแรก ตีความได้ว่าคนในภาพอยู่ในอาการสิ้นหวังหดหู่ท่ามกลางยุคสงคราม หรือหายนะที่กำลังเกิดขึ้น
เอามารวมกันจนเป็นภาพเดียว
อีกส่วนของภาพ Beethoven Frieze เช่นกัน เป็นภาพผู้หญิงที่ดูเหมือนเล่นอะไรสักอย่าง
อีกส่วนของภาพ Beethoven Frieze เช่นกัน เป็นภาพผู้หญิงหลายคนกำลังสวดมนต์อะไรสักอย่าง ดูเหมือนจะเกี่ยวข้องกับชัยชนะ สังเกตว่าตัวคนไม่มีสีสันเลย แต่จะเน้นสีสันที่ตัวเสื้อและด้านนอก
เวลาจัดแสดงก็ทำแบบนี้ อย่างที่เห็น
Tragedy (1897) หรือโศกนาฏกรรม ที่ภาพเป็นผู้หญิงใส่ชุดสีดำเหมือนชุดไว้ทุกข์แล้วมือถือหน้ากากที่แสดงสีหน้าเศร้าสลด ผู้หญิงในภาพทำหน้าตาขึงขังเหมือนหญิงแกร่ง หากแต่ภายในเต็มไปด้วยความอ่อนแอจากเหตุการณ์ในอดีต
Gold Fish (To my critics) (19011902) เป็นภาพสีน้ำมันและทองบนผ้าใบขนาด 180 x 66.5 ซม. ปัจจุบันตั้งอยู่ใน สวิสเซอร์แลนด์ เป็นภาพกุสตาฟ คลิมท์วาดแก่นักวิจารณ์โดยเฉพาะ เป็นภาพผู้หญิงสีหน้ายิ้มแย้มเปลือยหันหลัง ส่วนปลาทองที่เป็นชื่อภาพดันอยู่ทางซ้ายไม่เต็มตัว แถมรูปร่างไม่เหมือนปลาอีก แต่สื่อเหมือนกันคือความอุดมสมบูรณ์ ความสำเร็จ
ตัวอย่างตอนที่ประทับใจตอนที่ 1 เสียงดังก้อง : เมืองแห่งรุ่งอรุ่น(Resounding Sound: The City at Dawn) เด็กสาวชื่อคานาตะ คุมิกะเข้าร่วมกองทัพเฮลเวตเทียด้วยความหวังในการที่จะเรียนรู้ที่จะเป็นนักเป่าเท็มเบ็ตที่ดี เธอได้ถูกส่งตัวมาประจำที่เมืองแห่งหนึ่งที่อยู่ในพรมแดนที่ห่างไกลจากความเจริญมาก ตอนเธอมาเธอก็พบว่าที่นี้มีการจัดเทศกาลสาดน้ำพอดี เธอได้พบริโอะ คาซูมิยะ ได้รู้เรื่องเกี่ยวกับสตรีแห่งไฟซึ่งเป็นตำนานของเมือง ได้ผจญภัยเล็กๆ ก่อนจะตกทะเลสาบที่หน้าผาจนเกือบตาย และเมื่อตื่นขึ้นมาเธอก็พบว่าอยู่ที่ป้อมปราการ และได้พบริโอะ คาซูมิยะนายทหารรุ่นพี่ที่จะอาสาเป็นอาจารย์สอนเท็มเบ็ตแก่เธอ
(เพิ่มเติม) ต้องเข้าใจนะครับว่าตอนนี้การ์ตูนบรรยากาศสงครามโลกครั้งที่สองกำลังบูม ตัวอย่างเช่นเรื่อง Fullmetal Alchemist(หนังโรง) หรือ Senjou no Valkyria ที่ฮิตโด่งดังเป็นพุแตก ดังนั้นอาจดูขัดๆ กับตัวละครที่ไม่เข้าในเรื่องบ้างก็อย่าว่าเลยครับ ดูเอาสนุกดีกว่า เริ่มจาก ชื่อเมืองเซล ที่นางเอกประจำการนั้นไปพ้องกับชื่อเมืองชายแดนและ เฮลเวตเทียนั้นสัญลักษณ์ของสวิส และบ้านเรือนนางเอกไปในแถบกันดานถอดแบบจากเมือง ชูเอน
ชูเอน
ชูเอน
สะพานที่พวกนางเอกข้ามไปป้อมปราการนั้นเรียกว่า สะพานเวนต์ปอล(The St. Paul bridge) สร้างในปี 1533 -1589 เป้าหมายเพื่อเชื่อมเมืองข้ามแม่น้ำ Huecar's Gorge สะพานเดิมเคยพังครั้งหนึ่ง ก่อนจะสร้างใหม่ในปี 1902 ทำจากไม้และเหล็กตามสไตล์การก่อสร้างศตวรรษที่ 20 ยาวประมาณ 60 เมตร
บ้านที่นางเอกเกือบตกลงจากระเบียงพร้อมชุดชั้นใน(ถูกใจเฮีย) มีอยู่จริงคือ Las casas colgadas สร้างอยู่เหนือหน้าผาหิน ในศตวรรษที่ 15 เป็นอาคารที่พบเห็นทั่วไปในสมัยก่อน แต่อาคารนี้ถือได้ว่าเป็นอาคารพลเรือนที่มีชื่อเสียงที่สุดใน ปัจจุบันกลายเป็นร้านอาหารและพิพิธภัณฑ์ศิลปะให้นักท่องเที่ยวได้ไปเยี่ยมชมกัน
ส่วนคำว่า เฮลเวตเทีย(Helvetia) เป็นสตรีสัญลักษณ์ของสวิสเซอร์แลนด์ครับ รูปลักษณ์ของเธอจะเป็นสตรีที่มีมวยผมถัก ถือหอกและที่เป็นรูปกากบาด การนำสตรีเป็นเครื่องหมายนั้นสื่อถึง เพศหญิงที่หมายถึงแม่ที่ให้ความรักและห่วงใย ปกป้องคุ้มครอง รักใคร่สามัคคีกันและให้ลูกอาศัยอย่างมีความสุข จนกระทั้งในปี 1848 ก็ได้ทำสัญลักษณ์นี้มาเป็นสัญลักษณ์ที่ปรากฏในธงชาติของประเทศในที่สุด และสัญลักษณ์กากบาทนี้ปรากฏในที่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นธงกาชาด, เครื่องหมาย, สัญลักษณ์ ฯลฯ
ส่วนตำนานสาดน้ำของเมืองเซสนั้นดันไปเหมือนตำนานวันสงกรานต์บ้านเรา(แถมบ้านเรามีทีเดียวซะด้วยที่เอาน้ำสีมาสาดกัน) ซึ่งตำนานสงกรานต์ไทยมีอยู่ว่า ท้าวกบิลพรหมได้ตัดเศียรธรรมบาลกุมารแต่ด้วยว่าเศียรของท้าวกบิลพรหมนั้น หากตกต้องพื้นดิน พื้นดินก็จะลุกเป็นไฟ หากตกลงในมหาสมุทร น้ำก็จะเหือดแห้งหมด หากโยนขึ้นไปในอากาศ ฝนก็จะไม่ตกต้องตามฤดูกาล ท้าวกบิลพรหมจึงเรียกธิดาทั้งเจ็ดมา โดยให้นำพานมารองรับเศียร แล้วนำไปแห่ประทักษิณรอบเขาพระสุเมรุ แล้วนำเข้าไปเก็บในมณฑปถ้ำธุลีที่เขาไกรลาศ พอครบกำหนดพระอาทิตย์เคลื่อนเข้าสู่ราศีเมษ ก็ให้ธิดาทั้ง 7 ผลัดกันนำเศียรมาแห่เวียนรอบเขาพระสุเมรุแล้วจึงนำไปเก็บไว้ในมณฑปถ้ำธุลีเขาไกรลาศ เป็นประจำทุกปี... 165 วัน (โลกสมมุติว่าเป็น 1ปี) เป็นสงกรานต์ ซึ่งหมายถึงขึ้นปีใหม่นั้นเอง
ครั้งแรกที่ผมได้ดูการ์ตูนเรื่อง สิ่งที่ผมคิดคือ “ภาพสวย” อ่ะ สวยนี้การ์ตูนอมิเนชั่นนี้ทำได้ละเอียดมากเลยนะครับ ผมไม่รู้นะว่าคนอื่นมองการ์ตูนเรื่องนี้ว่ายังไง แต่ผมว่าสนุกดีนะครับ ไม่ได้คิดว่าเป็นเคออนด้วยซ้ำ ปกติดูอะไรหนักๆ มาเยอะแล้ว มาดูเรื่องนี้ได้พักใจไปด้วย
ตัวอย่างตอนที่ประทับใจตอนที่ 2 การต่อสู้ครั้งแรก : เรื่องราวบนเก้าอี้ (First Battle: The Story of a Chair) ในระหว่างช่วงอาหารเช้ารุ่นพี่ริโอะ ได้แนะนำสมาชิกคนอื่นๆ ในหน่วย 1121 ให้คานาตะรู้จัก โดยสมาชิกในหน่วยที่เหลือประกอบด้วย คุมิกะ เฟริเซีย ไฮเดนแมน, โนเอล คันนากิ และ คุเรฮะ ซูมิโนยะ ดูเหมือนคุเรฮะจะแสดงความเป็นปรปักษ์ต่อคานะตะตั้งแต่แรกพบ และเมื่อคุเรฮะถูกทำหน้าที่ให้รับอาสาพาคานาตะเดินทั่วป้อม คานาตะก็พบว่าที่นี้มีเครื่องมือเครื่องใช้ที่ขาดแคลน รถถังที่อยู่ระหว่างในการซ่อมแซมที่แทบไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้เลย คุเรฮะแสดงอาการภาวะซึมเศร้าต่อหน้าคานาตะ และยอมรับว่าหน่วย 1121 นั้นเป็นกองทหารที่ถูกละเลยจากกองทัพที่ไม่เคยได้รับภารกิจมอบหมายแบบจริงๆ จังๆ เลยสักครั้ง และเมื่อถึงกลางคืนโนเอลกับคานาตะบอกทุกคนในหน่วยว่าพวกเธอได้เห็นผีที่ค่ายทหารซึ่งเป็นอาคารที่อยู่ติดป้อมปราการ ทำให้คานาตะและคุเรฮะถูกส่งไปเพื่อตรวจสอบจุดที่พบเห็นผีนั้น ระหว่างที่ทั้งคู่ผจญภัยเล็กๆ นั้น พวกเขาพบว่าที่ค่ายแห่งนี้ครั้งหนึ่งเมื่อนานมาแล้วเคยเป็นโรงเรียน ซึ่งบางทีหากโลกนี้ไม่มีสงคราม พวกเขาคงจะเป็นนักเรียนธรรมดาที่ไม่ต้องจับอาวุธปืนเพื่อเข็นฆ่าผู้คนก็เป็นได้..(ตอนนี้มีลูกเล่นอย่างหนึ่งเกี่ยวกับการปรากฏตัวของผีที่แอบซ่อนในฉากตอนสำรวจค่ายทหารร้างต้องสังเกตดีๆ จะเห็น)
(เพิ่มเติม) แม้เนื้อหาจะออกแนวอยู่ไปวันๆ ก็ตาม แต่ตอนนี้สอนอะไรหลายอย่างครับ เริ่มจากสิ่งที่คานาตะบอกคุเรฮะเรื่องความสุขในความพอใจในงานที่ตัวเองทำ แม้มันจะน่าเบื่อไร้ค่าขนาดไหนหรือเป็นงานที่ไม่ชอบเพียงใด หากไม่สามารถเลือกทำงานที่เรารักได้ ก็จงรักในงานที่ต้องทำ นี้คือคติง่ายๆสำหรับเตือนใจ ในการทำงานให้เจริญก้าวหน้า
ปกติการ์ตูนที่เนื้อหาเกี่ยวกับสงครามทั่วๆ ไปมักดำเนินเรื่องเมื่อสงครามเกิดขึ้น หรืออยู่ในระหว่างสงคราม หากแต่การ์ตูนเรื่องนี้ดำเนินอยู่ในช่วงสงครามเลิกแล้ว และมีเผยภาพซากสิ่งของก่อสร้าง วัสดุแปลกๆ ที่ไม่น่าจะมีในโลกในยุคนี้ปรากฏอยู่ เหมือนคล้ายเป็นโรงเรียนญี่ปุ่นยุคปัจจุบัน และยิ่งฉากที่คานาตะได้วาดภาพว่าหากสงครามไม่เกิดขึ้น ตนเองคงจะเป็นนักเรียนธรรมดาคนหนึ่ง ทำกิจกรรมเล่นดนตรีชมรมร่วมกับเพื่อนๆ และใช้ชีวิตอย่างมีความสุขแทนที่จะเป็นทหาร สิ่งเหล่านี้ทำให้คนดูรู้สึกมีอารมณ์ร่วมกับเนื้อเรื่องอย่างยิ่ง
ในโลกแห่งความเป็นจริงของเราปัจจุบันยังมีบางประเทศที่นิยมใช้เด็กมาเป็นทหาร เช่นโซมาเลีย หรือประเทศพม่าใกล้บ้านเรา เด็กบางคนโดนบังคับ เช่น เผาบ้าน ใช้กำลัง บางคนสมัครด้วยใจ สาเหตุเพราะสงครามที่ทำให้พวกเขามีแรงกระตุ้นทำให้เกิดความอยากแก้แค้น เชื่อกันว่า ปากีสถาน อิรัก และอาฟกานิสถาน ซึ่งบางค่ายมีแนวโน้มจะฝึกเด็กให้โจมตีแบบพลีชีพด้วย...ข้อมูลที่น่าสนใจคือทหารเด็กผู้หญิงก็มี แต่หน้าที่พวกเธอไม่ได้รบเหมือนผู้ชาย หากแต่ทำหน้าที่เหมือน “ภรรยา” เช่นบำรุงขวัญทหาร, ส่งเสบียง, หาข่าว ซึ่งคุณคงคิดภาพเด็กผู้หญิงถือปืนกลขนาดใหญ่เกินตัวไม่ออกใช่เปล่าละ แต่มันเกิดขึ้นในโลกใบนี้แล้ว ไม่เชื่อสามารถหาดูที่กูเกิ้ลได้
ตัวอย่างตอนที่ประทับใจตอนที่ 3 วันของกองร้อย:ริโอะวิ่ง (The Squad's Day: Rio Runs) สมาชิกหน่วยคนอื่นๆ ต่างออกไปข้างนอกกันหมด เหลือแต่คานาตะและริโอะอยู่เฝ้าป้อม ทันใดนั้นคานาตะเกิดอาการเจ็บป่วยเป็นไข้ขึ้นมา ทำให้ริโอะนึกถึงอดีตตอนแม่เธอป่วยขึ้นมาและนักบวชที่รักษาไม่จริงใจในการรักษาอาการเจ็บป่วยแม่ของเธอ เป็นสาเหตุที่ทำให้เธอเกลียดพวกนักบวช แต่เพื่อคานาตะ ริโอะจำต้องลดทิฐิเดิมของเธอเพื่อขอความช่วยเหลือหญิงนักบวชชื่อยูมิน่า(Yumina) จนรักษาอาการป่วยของคานาตะได้สำเร็จ และเมื่อคานาตะฟื้นจากอาการไข้เธอเล่าให้ริโอะฟังว่าเธอเหมือนคนไร้ประโยชน์อีกทั้งยังสร้างปัญหากับคนในหน่วย เพราะจนบัดนี้เธอก็เป่าทรัมเป็ตเป็นเพลงเสียที มิโอะได้ยินดังนี้เธอเลยพาคานาตะไปโรงเก็บรถถังและใช้เสียงต่างๆ ในรถถังสร้างเป็นเพลง Amazing Grace ขึ้นมา ริโออธิบายให้คานาตะฟังว่าหน่วย,ทีมก็เปรียบเสมือนวงดนตรี ที่ไม่สามารถดำเนินการได้หากขาดสมาชิกคนใดคนหนึ่ง
“เพลงจะเป็นเพลงที่สมบูรณ์นะ จะต้องมีเครื่องดนตรีมากมาย เล่นพร้อมกัน จนกลายเป็นหนึ่งบทเพลง มันก็เหมือนรถถังคันนี้ ผู้บัญชาการ, พลปืน, พลขับ และพลสื่อสาร ทุกคนร่วมกันทำงานด้วยกันในรถถังคันเดียว ทุกๆ ส่วนต่างสำคัญ ทุกๆ เสียงต่างก็สำคัญ........”
(เพิ่มเติม) ตอนนี้ผมประทับใจคำพูดของริโอะมากเป็นพิเศษนะครับ แม้การ์ตูนหลายเรื่องพยายามอธิบายข้อคิดเรื่องความสามัคคีในทีม แต่ริโอะได้ใช้เรื่องรถถังมาใช้ประกอบการอธิบายทำให้คนฟังให้เกิดรู้สึกน่าสนใจด้วย ส่วนชื่อรถถังทาเคะมิคาซูซิ(Takemikazuchi) ซึ่ง คำว่า ทาเคะมิคาซูซิ เป็นชื่อหนึ่งในสี่เทพของญี่ปุ่นที่ถูกเชิญมามาอยู่ศาลเจ้า Kashima (ปัจจุบันเป็นแถวจังหวัดอิบารากิ) ...นอกเหนือจากนั้นชื่อนี้ยังถูกนำไปตั้งเป็นชื่อยานรบในการ์ตูนเรื่องกัมดั้มด้วย(ภาค Gundam SEED)
ตัวอย่างตอนที่ประทับใจตอนที่ 4 ฝนโปรย - แก้วสายรุ้ง "Rainy Season Sky: Quartz Rainbow" คานาตะกับโนเอสได้ออกจากป้อมปราการเพื่อเข้าเมืองเพื่อซื้อชิ้นส่วนรถถัง พวกเขาได้เข้าชมโรงงานทำแก้ว ที่นั้นคานาตะได้พูดคุยกับโนเอสในหัวข้อ “เครื่องจักทำร้ายคนมากมายน่ากลัวมั้ย?” น้ำเสียงของเอลในตอนนั้นเหมือนกับว่าตัวตนอดีตจะมีความหลังเจ็บปวด คานาตะปลอบใจโนสว่า “เครื่องจักรดีหรือไม่ดีก็แล้วแต่คนใช้”ก่อนที่คานาตะจะยกเรื่องทรัมเป็ตให้โนเอลฟัง หลักจากที่พูดคุยกับคนงานคานาตะได้เปิดใจว่าจนถึงบัดนี้เธอก็ไม่สามารถเป่าทรัมเป็ตได้ดีขึ้นเลย พยายามเท่าไหร่ก็ไม่ได้เรื่องเสียที จนคิดว่าตนไม่มีพรสวรรค์ในด้านนี้ และแล้วหัวหน้าช่างเป่าแก้วได้สอนคานาตะว่า “พรสวรรค์เป็นข้อแก้ตัวที่แย่ที่สุดสำหรับคนที่ยอมแพ้”, “อย่าพยายามบังคับมัน แต่ควรปล่อยให้มันไปตามที่มันจะเป็น” เมื่อคานาตะได้ฟังประโยคนี้แล้ว คานาตะก็สามารถเล่นทรัมเป็ตได้ดีขึ้นบัดดล
ตัวอย่างตอนที่ประทับใจตอนที่ 12 สะท้อนไปยังท้องฟ้าคราม(Resound Into the Azure Sky")ในที่สุดสงครามระหว่างสองฝ่ายก็ใกล้จะเกิดขึ้น สาวๆ ของหน่วย 1121 ได้พยายามหยุดสงครามครั้งนี้ให้จงได้ พวกเธอได้ผ่าวงล้อมทหารเข้าไปกลางวงของสองเหล่าทัพ และแล้วคานาตะได้เป่าทรัมเป็ตเพลง Amazing Grace จนทหารทั้งสองฝ่ายประทับใจและหยุดลงชั่วขณะ.....
(เพิ่มเติม) เป็นตอนจบ ผมไม่ขอสปอยน่ะครับ แต่สิ่งที่จะนำเสนอคือเพลง Amazing Grace ทำไมเพลงนี้ถึงสำคัญนักหนา เพราะทั้งเรื่องในการ์ตูนนี้มักมีเพลงนี้ประกอบทุกครั้ง และทำไมมันถึงสามารถสยบทหารทั้งกองทัพได้ บางคนที่ได้ฟังเพลงนี้ถึงกับซากซึ้งและร้องไห้ ทำไมมันถึงได้มีอิทธิพลต่อจิตใจของมนุษย์ถึงเพียงนี้
เชิญไปฟังเพลงนี้ในเวอร์ชั่นทรัมเป็ตได้เลยที่ http://www.youtube.com/watch?v=O5iGpkGeNlc
Amazing Grace... How sweet the sound
That saved a wretch like me
I once was lost, but now I'm found
Was blind, but now I see
'Twas grace that taught my heart to fear
And grace my fears relieved
How precious did that grace appear. The hour I first believed
(*) My chains are gone.. I've been set free
My God, my Savior has ransomed me
And like a flood His mercy reigns.. Unending love, Amazing grace
The Lord has promised good to me.. His word my hope secures
He will my shield and portion be.. As long as life endures
(*)x2
The earth shall soon dissolve like snow. The sunforbid to shine
but God, Who called me here below.. Will be forever mine.
Will be forever mine. You are forever mine
Amazing Grace เป็นเพลงที่นิยมร้องกันทั่วโลก แต่งโดยจอห์น นิวตัน(John Newton) 1725-1807 ซึ่งเป็นนักกวีอังกฤษและนักบวช ซึ่งแต่งและเผยแพร่ในปี 1779 มีเนื้อหาประมาณว่า “พระคุณพระเจ้า” การให้อภัยซึ่งกันและกัน ไม่ว่าบุคคลนั้นจะเป็นคนบาปเพียงใด พระเจ้าก็ให้ความเมตตา
ก่อนที่จอห์น นิวตันนั้นจะบวชเป็นพระหรือเขียนเพลงนี้ ชีวิตของเขานั้นแทบเรียกว่า ทำบาปทุกอย่าง แม่ต้องจากเขาไปตั้งแต่เล็กเพราะโรควัณโรค พ่อเป็นกัปตันเดินเรือและนิวตันเป็นลูกเรือ และโดนพ่อลงโทษโดนการโบยต่อหน้าลูกเรือ 350 ชีวิตทำให้นิวตันต้องอับอายมากจนถึงขนาดคิดฆ่าตัวตายมาแล้ว ด้วยเหตุการณ์นี้ทำให้นิวตันกลายเป็นคนบาป ไม่คิดถึงจิตใจมนุษย์ ดูหมิ่นศาสนา และต่อต้านพระเจ้าและทำบาปมาแล้วทุกรูปแบบ เมื่อโตขึ้นเขาเป็นพ่อค้าทาส ไม่ว่าชาย หญิง เด็กพันชีวิตล้วนผ่านมือเขามาแล้ว จนแทบไม่น่าเชื่อ ว่าเขาจะเป็นผู้ที่แต่งเพลงแสนหวานนี้
ในปี 1748 ขณะที่เขากำลังเดินทางกลับบ้านโดยทางเรือ พอดีระหว่างทางเกิดพายุร้ายขึ้น ทำให้เขาคุกเข่าสารภาพความผิดทั้งหมดแก่พระเจ้า ผลคือจู่ๆ ก็เกิดปาฏิหาริย์ขึ้น เขารอดและเป็นจุดเริ่มต้นให้นิวตันได้ศึกษาพระคัมภีร์และวรรณกรรมทางศาสนาอื่นๆ เขาได้ล้มเลิกคำพูดหยาบคาย, การพนัน, การดื่มของมึนเมาทุกชนิด แม้เขาจะยังไม่เลิกทำงานค้าทาสแต่เขาปฏิบัติต่อทาสดีขึ้น จนกระทั้งยกเลิกกิจการนี้เมื่อปี 1754 และบวชเป็นนักบวชรับใช้ศาสนาแทน เขามีส่วนอย่างยิ่งในเป็นแรงบันดาลใจการล้มเลิกระบบทาสออกจากอังกฤษ ในปี ใน 1772 เขาได้แต่งเพลง Amazing Grace ทำนองเดิมเชื่อกันว่ามาจากเพลงสก็อตหรือไม่ก็ไอริช โดนนิวตันแต่งเพลงนี้จากชีวิตของเขาเองและบางส่วนมาจากพระคัมภีร์ (เพลงสดุดีพระเจ้าที่เขียนขึ้นโดยกษัตริย์ดาวิด ในพระธรรม 1 พงศาวดาร บทที่ 16-17)
เพลงนี้โดนใจสำหรับคนฟังมาก แม้คนฟังนั้นไม่ได้นับถือคริสต์ก็ตามเนื่องจากเนื้อหาเพลงนี้มีจะสื่อถึงการแสวงหาเสรีภาพและปลอบโยนคนที่กำลังทุกข์ นับแต่นั้นมาเพลงนี้จึงอยู่เคียงข้างประวัติศาสตร์โลก ไม่ว่าจะเป็นการเปิดในการเทศนาของ ดร.มาติน ลูเธอร์คิงเพื่อเสรีภาพ, สงครามกลางเมืองสหรัฐ, ในวันที่เมลสัน แมนเดลล่าได้รับอิสรภาพ, วันกำแพงเบอร์ลินพังทลายลงมา, พายุเฮริเคนกระหน่ำที่นิวออนลินได้มีการเปิดเพลงนี้ที่ Superdrome, ในวันตึกเวิร์ดเทริคถล่ม นอกจากนี้ชื่อเพลงยังถูกนำไปตั้งเป้ฯชื่อภาพยนต์เรื่อง Amazing Grace สู้เพื่ออิสรภาพหัวใจทาส (บทเพลงเปลี่ยนโลก)ด้วย
สรุป ผมไม่อยากเรียกการ์ตูนเรื่องนี้ว่าการ์ตูน “ยูริ” สำหรับผมแล้วผมอยากเรียกการ์ตูนเรื่องนี้ว่าการ์ตูนมิตรภาพสาวๆ มากกว่า เป็นการ์ตูนที่สร้างประทับใจผมมาก ทั้งภาพและเพลงประกอบที่ทั้งสวยและไพเราะจริงๆ แม้เรื่องจะดำเนินแบบอารมณ์ไปวันๆ แต่มันก็ช่วยให้เราพักใจได้หลังได้หลังจากที่ผมดูการ์ตูนแนวหนักๆ กระแทกอารมณ์มาหลายเรื่องแล้ว อีกทั้งสิ่งที่สอดแทรกในเนื้อหาภายใต้ภาพโมเอะแต่ละตอนนั้นโดนใจมาก ภาพลักษณ์ทหารที่เรามักมองด้านลบ กลับกลายเป็นบวกเมื่อมาดูการ์ตูนเรื่องนี้ อีกทั้งสาระสำคัญคือ “สงครามไม่ใช้สิ่งที่ดีเลย” สามารถนำเสนอให้ผู้คนมีอารมณ์ร่วมได้อย่างแนบเนียน ถือได้ว่าเป็นการ์ตูนดีอีกเรื่องที่แนะนำให้ทุกท่านได้ดู หากคุณไม่คิดอคติว่ามันไม่สนุกเท่าเคอง......
ความคิดเห็น