คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #6 : คลังสยองขวัญลงหลุม เรื่องสั้นของจุนจิ อิโต้ (ตอนที่ 3 จบ)
“ผมอาศัยไอเดียจากชีวิตประจำวัน บางครั้งก็มาจากข่าววิทยุ ถ้าฟังดูน่าสนใจ ก็จะหยิบมามองกลับหัว ผมไม่พยายามเค้นความสยอง หากคิดว่าอันไหนเข้าท่าก็ขยายเรื่องและเพิ่มส่วนที่สยองเข้าไปทีหลัง โดยวางแนวทางของเรื่องไว้ก่อนแล้วค่อยวางพล๊อต
เช่นเรื่องโทมิเอะ แนวทางของเรื่องคือจู่ๆ เด็กสาวที่ตายไปแล้วก็กลับมาเรียนหนังสือตามปรกติ เธอไม่ใช่ผี แต่มาโรงเรียนทั้งที่ตายไปแล้ว เมื่อเนื้อหาพัฒนา ตัวละครก็จะพัฒนาตาม โทมิเอะและไอเดียที่เธอถูกสับเป็นชิ้นๆเกิดขึ้นทีหลัง”
และ นี่คือหลักเกณฑ์การสร้างผลงานของอิโต้ จุนจิ
การ์ตูนของจุนจิ อิโต้ นั้นถูกนำมาดัดแปลงและทำเป็นหนังหลายเรื่อง ผมก็ไม่ได้ดูสักเรื่อง แต่ก็ไม่คิดจะหาดูหรอ เพราะผมหวังเนื้อเรื่องมันคงจะไม่เหมือนต้นฉบับ หรือเป็นหนังที่ดีละ เพราะส่วนใหญ่หนังญี่ปุ่นที่ทำจากการ์ตูนมีหลายเรื่องทำให้ผิดหวังเสมอ อย่างเรื่อง เดธโน๊ต, ฮัตโตริ, อาซามิ
สำหรับหนังที่ดัดแปลงจากการ์ตูนของจุนจิ อิโต้ มีดังต่อไปนี้
The Fearsome Melody (1992) รวมผลงานของอิโต้ จุนจิมั้ง ผมก็ไม่ได้อ่าน
Tomie ( 1998) ซีรีย์แรกของโทมิโอะซึ่งอิโต้ จุนจิได้มีโอกาสเป็นคนเลือกนักแสดงที่แสดงเป็นโทมิโอะโดยเฉพาะ
Tomie: Another Face - (1999) ทำนองเพลงแห่งความกลัว
Tomie Replay - (2000)
Uzumaki ก้นหอยมรณะ
Gravemarker Town (2000) เมืองหลุมฝังศพ
The Face Burglar (2000) โจรขโมยหน้าที่ตอนจบในการ์ตูนสะใจมาก
The Hanging Balloons (2000) เป็นหนังที่รวมเรื่องสั้นสามเรื่อง คือ Demon Logy ,
The Long Hair in the Attic (ผมในห้องใต้หลังคา) และ The Hanging Balloons (หัวลูกโป่ง)
Long Dream (2000) ฝันยาว
Oshikiri (2000) โอชิคิริกับคฤหาสตร์พิศวง(ชอบจริงกับวลี ไอ้เตี้ย)
Kakashi (2001) หุ่นไล่กาหน้าหลุมศพ
Lovesick Dead (2001) รักที่ทรมานของคนตาย! ดัดแปลงผิดจากต้นฉบับพอสมควร(เขาบอกนะ)
Tomie: Rebirth - (2001),
Tomie: The Final Chapter - Forbidden Fruit - (2002)
Marronnier (2002) หุ่นเชิ่ด(ไม่รู้ดัดแปลงจากคฤหาสน์หุ่นกระบอกหรือเปล่าหว่า)
The Groaning Drain (2004) เสียงครวญครางจากท่อระบายน้ำ
Tomie: The Beginning 2005
Tomie: Revenge 2005 โทมิโอะ ภาค 8 กลับมาอีกครั้ง(จนคนดูแอบเซ็ง) สวยตายยากอยู่แล้ว
Tomie Vs. Tomie 2007 ภาค 9 โอ้...พอๆ กับแม่นาคนะเนี้ย คราวนี้มีโทมิโอะสองคน
สังเกตว่าหลังๆ ไม่มีผลงานของอิโต้ทำเป็นหนังอีกแล้ว ก็ไม่สามารถตอบได้เป็นว่าเป็นเพราะอะไร
ที่จริงผมชอบเกือบทุกตอนในคลังสยองลงหลุมเลยนะครับ แต่ขื่นเขียนมันอาจยาวหลายตอน เพราะฉะนั้นผมเลยคัดเรื่องที่พูดถึงในเน็ตมากที่สุดมา 5 เรื่อง ที่จริงผมอยากจะเขียนตอนดาวเรจิน่ากับเพื่อนกันตลอดไปและบี้มากกว่าแตพอดีไม่มีโอกาสได้เขียน เอาเป็นว่าตอนที่ 5 ที่ผมคัดมีอะไรบ้างนั้นก็ไปดูเถอะครับ
ลูกโป่งแขวนคอ (The Hanging Balloons )
ลูกโป่งแขวนคอเป็นเรื่องสั้นจบ อยู่ในเล่ม 14
จู่ๆฟูจิโนะ เทรูมิ ดาราสาวดาวรุ่งได้ฆ่าตัวตายอย่างลึกลับ โดยไม่ทราบสาเหตุ และหลังจากนั้นก็ได้เกิดปรากฏการณ์ประหลาดขึ้น จู่ๆ ก็มี เมื่อลูกโป่งรูปหัวมนุษย์ขนาดใหญ่ที่มีหน้าตาเหมือนกับเราทุกคนได้โผล่ออกมาทั้งประเทศ โดยมันมีจะจู่โจมเจ้าของที่หน้าเหมือนมันเพื่อจับแขวนคอ นอกจากนี้แม้จะถูกทำลาย, รั่วหรือไหม้เจ้าของหน้าก็จะพบซะตากรรมเช่นเดียวกับมัน และมนุษย์ชาติจะรับมือยังไงกับมันนี่
หลังจากดูจบ เป็นตอนที่ผมชอบและคนอื่นก็ชอบเหมือนกัน แต่ผมยังแอบ งง เหมือนกันว่า “สรุปแล้วเจ้าลูกโป่งนั้นมาจากไหน??” และ”มันปรากฏเพื่ออะไร” แต่จุนจิ อิโต้ไม่ได้เขียนไว้ ก็เพราะเป็นจุดเด่นของคนเขียนละมั้งที่ไม่นำเสนอจุดกำเนิดเหตุผล ซึ่งในหลายๆ ตอนมักดำเนินเรื่องแนวๆ นี้แหละ
ในกฎนิยายขืนเราเขียนเรื่องแนวๆ นี้ โดยไม่บอกสาเหตุจุดกำเนิดของมันนี้ คงโดนคนอ่านเม้นติแน่นอนนะเนี้ย ว่าเวอร์ไม่มีเหตุผล แต่ผมว่าเราควรเปิดใจรับสักนิด นิยายเขย่าขวัญนั้นมันไม่มีเหตุผลอยู่แล้ว อย่างเรื่องสั้น “เครื่องบดมนุษย์ของคิง” เครื่องซักผ้ายังเป็นปีศาจได้เลย
นอกจากนี้เรื่องลูกโป่งหัวมนุษย์ยังแฝงปรัชญาและข้อคิดต่างๆ เราลองคิดดูสิว่าทำไมลูกโป่งถึงถือกำเนิดขึ้นมา ในเรื่องบอกว่าแค่ญี่ปุ่น เป็นไปได้ไหมที่คนเขียนต้องการสื่อเรื่องการฆ่าตัวตายของญี่ปุ่นที่วันๆ จะสูงขึ้นแต่ก็มีส่วนหนึ่งอยากตายเหมือนกันแต่ก็ไม่กล้าฆ่าตัวตาย จึงเลือกมีชีวิตอยู่ บางทีลูกโป่งนั้นจึงถือกำเนิดมาจากนี้ก็เป็นได้
หรือไม่ก็ลูกโป่งอาจเป็นการล้อเรื่อง เรื่องดาราญี่ปุ่นก็ได้ ที่เวลาไอดอลอะไรตายมักมีข่าวแฟนคลับฆ่าตัวตายตามเสมอ ในกรณีแบบนี้ก็เช่น ฮิเดะหนึ่งในสมาชิกวงเอ็กซ์เจแปนเสียชีวิตลงวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 โดยการแขวนคอตัวเอง ด้วยผ้าเช็ดตัวกับลูกบิดประตู โดยทางตำรวจได้สรุปว่าเป็นการฆ่าตัวตาย แต่แฟนเพลงหลายคนแทบยอมรับไม่ได้กับการตายของเขา หลายคนออกมาฆ่าตัวตาย จนทางการต้องประกาศให้หยุดการกระทำเหล่านี้
อีกเรื่องก็มีจุดหนึ่งอาจไม่สำคัญกับเรื่องมากนัก แต่น่าคิดสำหรับผม นั้นฉากที่ สามีขอภรรยาไปทำงานบริษัททั้งๆ ที่ข้างนอกเต็มไปด้วยลูกโป่งที่หมายเอาชีวิตมนุษย์ ซึ่งแน่นอนสมาชิกในครอบครัวต่างขอร้องว่าอย่าไปเลยนะตายแล้วไม่คุ้มหรอก แต่เจ้าตัวก็ยังยืนยันออกไปข้างนอกให้ตาย ผลสุดท้ายจึงตกเป็นเหยื่อลูกโป่งแขวนคออีกคนเพราะห่วงงานและประมาทนั้นเอง
แล้วรู้ไหมครับฉากนี้แฝงอะไรไว้??
นั้นคือโรคบ้างาน
เคยมีงานวิจัยหนึ่ง นำเสนอความแตกต่างระหว่าง คนขยันทำงาน (Work enthusiasts) กับ คนบ้าทำงาน (Workaholic) ว่าแม้ทั้งคู่จะมุ่งงาน (work involvement) เหมือนกันก็จริง แต่คนขยันทำงานจะสนุกกับงานที่ทำ (work enjoyment) ในขณะที่ความรู้สึกเร่งด่วน (driveness) ไม่บีบคั้นหรือส่งผลกระทบต่อเขามากนักเพราะเขาจัดเวลาได้อย่างสมดุล ส่วนคนบ้าทำงานกลับตรงกันข้าม นอกจากนี้ส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติหน้าที่และความผูกพันต่อกันในครอบครัว วิตกกังวลกังวลไม่เข้าเรื่อง การย้ำคิดย้ำทำ
นี้ละมั้งคือประเด็นที่คนเขียนกำลังนำเสนอ
ประเด็นต่อมาคือความกดดัน เราจะอยู่บ้านยังไงท่ามกลางภาวะแบบนี้ ที่ข้างนอกเต็มไปด้วยลูกโป่งแขวนคอ ในขณะที่ในบ้านอาหารการกินแทบไม่มี ซึ่งภาวะแบบนี้ก็อาจทำให้หลายคนเป็นบ้าหรือขาดสติไตร่ตรองก็ได้ ซึ่งในเรื่องสั้นนี้จับเอาเหตุการณ์นี้มาใช้ได้ดีทีเดียว
คฤหาสน์หุ่นกระบอก (Ayatsuri Yashiki)
“ตั้งแต่พี่จำความมาได้ พี่ก็เอาแต่เชิดตุ๊กตามาตลอด แต่พี่คิดว่านี้ไม่ใช้การควบคุมตุ๊กตาเลย กลับกันต่างหากเรานั่นแหละที่เป็นฝ่ายถูกตุ๊กตาควบคุม............”
พี่ชายของฮารุฮิโกะพูดประโยคนี้ขึ้นหลังจากพ่อล้มป่วย
ฮารุฮิโกะเป็นชายหนุ่มที่เกิดมาในตระกูลนักเดินสายแสดงเชิดหุ่นกระบอกที่ตระเวณไปตามเมืองต่างๆ ด้วยฐานะที่ยากจน พอพ่อล้มป่วย พี่ชายของเขาจึงหนีออกจากบ้านไปพร้อมหุ่นกระบอกพ่อมดชื่อ “แชง ปิแอร์” และหายสาปสูญไม่ได้รับข่าวอีกเลย
จนกระทั่งหลายปีต่อมา หลังพ่อตายไป ฮารุฮิโกะกับน้องสาวก็เลิกอาชีพเชิดหุ่นกระบอกและทำงานในเมืองเล็กๆ แห่งหนึ่ง เขารู้จักเพื่อนหญิงตอนเด็ก และตัวเธอก็ชอบเขาเสียด้วย เหตุการณ์กำลังไปด้วยดี ถ้าไม่มีจดหมายจากพี่ส่งถึงเขา
ในที่สุดฮารุฮิโกะก็ได้พบพี่ชายพร้อมครอบครัวของเขา ดูเหมือนว่าครอบครัวของพี่จะมีฐานะร่ำรวย และเขาก็พบสิ่งแปลกประหลาดอย่างหนึ่ง คือในคฤหาสน์มีโครงสร้างแปลกและ ทั้งพี่ชายและครอบครัวถูกคนเชิดไว้ตลอดเวลาเหมือนหุ่นกระบอกไม่มีผิด
“ถ้าคิดว่าคนเชิดกำลังเชิดพี่ล่ะก็ผิดแล้ว พวกเขาต่างหากที่ถูกเชิด” พี่ชายของฮารุฮิโกะอธิบาย
ความจริงแล้วตัวการที่ในการเชิดคนให้พี่ชายเขาคือ หุ่นกระบอก แชง ปิแอร์ และวันหนึ่งแฟนสาวของชายหนุ่มมาเกิดมาบ้านของพี่ชายเข้า ทำให้แชง ปิแอร์คุ้มคลั่งเพราะสมัยเด็กแฟนสาวคนนั้นทำปัดมันจนกระแทก มันแค้นหล่อน และเหตุการณ์นั้นจนนำพาไปสู่ฉากจบที่เหลือเชื่อ
หลังจากดูจบ เป็นการนำเสนอความขี้เกียจของมนุษย์เป็นอย่างดี ทุกวันนี้มนุษย์เอาแต่อยากสบาย ทำให้หลายคนผลิตหลายๆ สิ่งที่ทำงานแทนมนุษย์ขึ้น โดยสิ่งนั้นก็เช่น หุ่นยนต์ อินเตอร์เน็ต ซึ่งเราสร้างมันเพื่อควบคุมมัน
จากผลการวิจัย(จากไหนสักแห่ง) พบว่าทุกวันนี้มนุษย์อ่อนแอลงมาก งานต่างๆ เริ่มไม่จำเป็นต่อการใช้แรง แค่ใช้เทคโนโลยีจัดการแทนเราเท่านั้น ไม่ว่าจะเปิด-ปิดไฟก็ไม่จำเป็นต้องใช้นิ้วมืออีกต่อไปแล้ว แค่ใช้เสียงเท่านั้นไฟก็เปิด-ปิดอัตโนมัติ
มันอาจสบายก็จริงแต่เราลืมคิดหรือเปล่าว่าเราควบคุมมันหรือเรากำลังถูกมันควบคุม.....ถ้าสักวันหุ่นยนต์เหล่านั้นลุกขึ้นมาเรียกร้องสิทธิละจะเกิดอะไรขึ้น
แต่เราจะเลิกผลิตเทคโนโลยีและหันมาใช้ชีวิตแบบยุคหินได้ไหม ก็ตอบว่าไม่มีทางเป็นไปได้ ตัวอย่างที่เห็นชัดดีที่สุดคือเหตุการณ์ไฟดับที่เมืองใหญ่แห่งหนึ่งในอเมริกาและเหตุการณ์หลังไฟดับนั้นพบว่ามีอุบัติเหตุหลายพันรายและหลายครอบครัวแทบเป็นบ้าจากเหตุการณ์นี้(ทั้งๆ ที่ดับไม่ถึง 2 ชั่วโมง)
แฟรงเกนสไตน์(Frankenstein)
เค้าโครงเรื่องจากนิยายวิทยาศาสตร์อมตะของ Frankenstein โดย แมรี เชลลีย์ (Mary Shelly) โดย
ในนิยายเรื่อง Frankenstein ดร.แฟรงเกนสไตน์ ผู้ทุ่มเทความพยายามในการจะชุบชีวิตร่างมนุษย์ที่ตายไปแล้ว จนกระทั้งเขาได้ไอเดียจากการเห็นการทดลองการใช้ไฟฟ้าจี้ขาของกบที่ตายแล้วขยับได้ กระตุกได้
จากนั้นดร.แฟรงเกนสไตน์ก็รวบรวมซากศพจากสุสานมาประกอบและชุบชีวิตร่างที่ปราศจากชีวิตให้มีชีวิตขึ้นมาอีกครั้ง แต่เขาก็พบว่านี้ไม่ใช้สิ่งที่เขาหวังไว้มันเป็นสิ่งมีชีวิตที่รูปร่างน่าเกลียดน่ากลัว จนกระทั่งเรียกกันเป็น " ผีดิบ " เขาตกใจในสิ่งนั้นมากเลยตกใจและสลบไป
และเมื่อเขาตื่นขึ้นมาก็พบว่ามันหายไปแล้ว........
จากนั้นเมื่อเขากลับบ้านก็พบว่า เจ้าผีดิบที่เขาสร้างขึ้นมานั้นเกิดไปฆ่าน้องชายเขาตาย(ผีดิบไม่ได้ตั้งใจนะแค่หยอกเล่นเฉยๆ) จนเป็นเหตุผลให้สาวใช้ของเขาถูกตัดสินประหารชีวิตทั้งๆ ที่เธอไม่มีความผิด จนเป็นเหตุให้เกิดบาปในใจแก่ดร.แฟรงเกนสไตน์
จากนั้นเจ้าผีดิบก็ปรากฏต่อหน้าดร.แฟรงเกนสไตน์อีกครั้ง มันโทษเขาที่สร้างมันมาให้น่าเกลียดน่ากลัวอย่างงี้ และมันก็เล่าว่ามันเหงา อยู่อย่างโดดเดี่ยว ก็เกิดความเหงา อยากมีคู่ และให้ ดร.แฟรงเกนสไตน์สร้าง " คู่ " ให้
จากนั้นดร.แฟรงเกนสไตน์ก็ลงมือสร้างตัวผู้หญิงขึ้นมาให้เขา แต่ท้ายที่สุดเจ้าหล่อนก็ถูกแฟรงเกนสไตน์ฆ่าตาย แฟรงเกนบังคับให้เขาสร้างขึ้นใหม่อีก
แต่ ดร.แฟรงเกนสไตน์ ปฏิเสธ ผีดิบนั้นจึงพูดว่า
“งั้นข้าจะฆ่าครอบครัวเจ้า เพื่อนเจ้า คนที่รู้จักเจ้าให้หมด เพื่อให้แกโดดเดี่ยวเหมือนข้า”
จากนั้นเจ้าผีดิบก็ทำตามที่มันพูดจริงๆ ส่งผลให้ดร.แฟรงเกนสไตน์โดดเดี่ยวในที่สุด และชีวิตของเขาอยู่ด้วยความแค้น ตามล่ามันสุดขอบโลก จนกระทั้งมาขาดใจตายที่ขั้วโลกนี้เอง
ฉากสุดท้ายลูกเรือที่ช่วยเหลือดร.แฟรงเกนสไตน์ก็ได้พบเห็นสิ่งที่ชีวิตที่น่าสมเพสได้ตระโกณประโยคอมตะขึ้นมาประโยคหนึ่งว่า
“มาบัดนี้ผู้สร้างได้จากข้าไปแล้ว ตอนนี้ข้าก็โดดเดี่ยวอย่างแท้จริงแล้ว” และเสียงนี้ก็ขาดหายไปท่ามกลางลมที่พัดอย่างหนาวเย็นจับใจ......
หลังจากอ่านจบ มันเป็นนิยายที่เอาวรรณกรรมฝรั่งมาเขียนที่ที่ดีที่สุดที่อ่านมาก เพราะเท่าที่ดูส่วนใหญ่ญี่ปุ่นมักเอาวรรณกรรมต่างประเทศมาเขียนให้ผิดจากเดิมอย่างมาก เช่น สามก๊ก ไซอิ๋ว หรือ แดร็กคูล่า มักนำมาเขียนบู้ยี้บูยำจนแทบไม่เหมือนเค้าโครงเดิม แต่แฟรงเกนสไตน์ของจุนจิ อิโต้นั้นกลับไม่เป็นแบบนั้น เขานำเสนอเรื่องราวชนิดไม่ให้ต้นฉบับเสื่อมหรือผิดจากต้นฉบับเลยสักนิด และถ่ายทอดความเหงาและผีดิบนี้เป็นอย่างดี
ประเด็นของเรื่องคือ สิ่งที่ถูกสร้างขึ้นมา แล้วกลับทำลายผู้สร้างเสียเอง ซึ่งปัจจุบันมนุษย์เราก็ยังทดลองแบบแฟรงเกนสไตน์แบบนี้อยู่เนื่อง ขึ้นว่าทดลองแล้วมนุษย์ไม่สนหรอกว่ามันจะนำหายนะมาสู่เราหรือไม่ ขอให้ผลการทดลองเรามันยิ่งใหญ่ โนเบลละก็ มันก็ถือว่าเป็นการเสี่ยงที่คุ้มค่าทีเดียว
แมรี เชลลีย์ (Mary Shelly) เป็นนักเขียนหญิงที่มีชื่อเสียงเป็นผู้บุกเบิกนิยายวิทยาศาสตร์ของโลก ก่อนหน้าจะเขียนแฟรงเกนสไตน์(ค.ศ. 1818) เธอเขียนนิยายเรื่องเดียวเท่านั้น คือเรื่อง The Last Man ตีพิมพ์ ค.ศ. 1826 เป็นเรื่องวาระสุดท้ายของมนุษยชาติ ซึ่งเกิดจากโรคระบาด
ก่อนหน้าที่วงการวรรณกรรมโลก จะมีเรื่องแฟรงเกนสไตน์ ก็มีเรื่องแต่งที่มีลักษณะน่าจะเป็นนิยายวิทยาศาสตร์จริงๆ ได้ ดังเช่น เรื่องเกี่ยวกับ Utopia เรื่องการเดินทางระหว่างโลกกับดวงจันทร์ แต่ทุกเรื่องจะขาดส่วนสำคัญที่สุด ที่จะทำให้มีความเป็นนิยายวิทยาศาสตร์จริงๆ คือ กระบวนการที่เป็นวิทยาศาสตร์
แมรี เชลลีย์ มีชีวิตอยู่ระหว่าง ปี ค.ศ.1797 - ค.ศ.1851 เป็นภรรยาของกวีอังกฤษ ชื่อ เพอร์ซีย์ เชลลีย์ (Percy Shelly) และเธอได้เริ่มต้นเขียนนิยายแฟรงเกนสไตน์จากการพนันระหว่างเพื่อนนักเขียนด้วยกัน ซึ่งผลสุดท้ายเธอก็เขียนนิยายเรื่องนี้สำเร็จ
เรื่องของแฟรงเกนสไตน์ ยิ่งเป็นที่รู้จักแพร่หลายทั่วโลก เมื่อถูกสร้างเป็นภาพยนตร์ ทั้งภาพยนตร์จอเงิน และภาพยนตร์โทรทัศน์ ซึ่งถึงปัจจุบันก็มีภาพยนตร์เกี่ยวกับแฟรงเกนสไตน์ถูกสร้างขึ้นมาหลายครั้ง ในชื่อภาพยนตร์ Frankenstein ตรงๆ หรือชื่ออื่นๆ ที่มีแฟรงเกนสไตน์เกี่ยวพันอยู่ด้วย ทั้งเจ้าสาวของแฟรงเกนสไตน์ ลูกแฟรงเกนสไตน์ และแฟรงเกนสไตน์พบมนุษย์ประหลาด หรือมนุษย์สัตว์ป่า ดังเช่น มนุษย์หมาป่า โดยภาพยนตร์แฟรงเกนสไตน์เรื่องแรกสุด คือ Frankenstein เป็นภาพยนตร์ ปี ค.ศ.1910 สร้างโดยบริษัทของเอดิสัน แต่ภาพยนตร์แฟรงเกนสไตน์ ซึ่งถือกันว่า คลาสสิกที่สุด คือ Frankenstein ภาพยนตร์ ปี ค.ศ. 1931 นำแสดงโดย บอริส คาร์ ลอฟฟ์
รักที่ทรมานของคนตาย (ชายหนุ่มที่สี่แยก) Shibito no Koiwazurai
ณ เมืองแห่งหนึ่งซึ่งเต็มไปด้วยหมอกปกคลุม มีธรรมเนียมนิยมประหลาดที่นิยมกันมากคือ ใครที่เจอคนที่ผ่านอยู่สี่แยกหัวมุม จงขอให้คนนั้นตอบคำถามหรือคำพยากรณ์ที่ตนอยากรู้ ใครผ่านมาเป็นคนแรกต้องให้คำแนะนำแก่คนที่มาขอรับนั้น และจงปฏิบัติตามคำแนะนำจะได้สัมฤทธิ์ผล
และแล้วเรื่องก็จับมาที่พระเอกที่เกิดมีแผลใจในวันเด็กที่เขาเป็นสาเหตุที่ผู้หญิงคนหนึ่งฆ่าตัวตาย และพอดีผู้หญิงคนนี้ก็เป็นอาของแฟนสาวของเขาด้วย
ท่ามกลางบาปที่เกิดในใจของพระเอกยังไม่คลี่คลาย จู่ๆ ก็ปรากฎร่างของชายหนุ่มปริศนารูปงามร่างสูงในชุดดำท่ามกลางหมอกหนาทึบ และมันมีอำนาจในคำพูดของเขาที่มีพลังเปลี่ยนแปลงคนไปในทางลบได้ และนอกจากนี้เขายังมีพลังในการให้ผู้หญิงหลงใหลเมื่อพบครั้ง แม้แต่ผู้หญิงที่ผีศพก็ไม่เว้น
"ชอบจนจะตายให้ได้เลย รักนี้จะสมหวังไหม" เหล่าซากศพทั้งหลายต่างคร่ำครวญถามชายหนุ่มที่สี่แยก
"ไม่มีทาง รักนี้ไม่มีวันสมหวัง แม้ว่าจะตายอีกกี่ครั้งก็ตาม" เขาตอบด้วยคำพูดเย็นชาแกมเย้ยหยัน
และนี้คือจุดเริ่มต้นของเรื่องวิปโยคของพระเอกและชายหนุ่มที่สี่แยก เพราะเหตุการณ์ต่างๆ ที่ออกมานั้นเหมือนกับว่าพระเอกและชายหนุ่มที่สี่แยกมีความสัมพันธ์ความแค้นกันอยู่
เริ่มจากในตอนหญิงสาวขี้กังวล ที่ออกประสาทนิดๆบังเอิญเธอไปเจอพระเอกและขอคำแนะนำแต่ทำอย่างไรเธอก็ไม่พอใจคำแนะนำของพระเอกสักที จนกระทั้งเธอพบชายหนุ่มที่สี่แยก
ชายหนุ่มที่สี่แยกกล่าวกับเธอว่า "ทุกข์นั้นจะไม่มีวันหมดไป จนกว่าจะหาทุกข์ใหม่ที่ยิ่งกว่ามาแทนที่" และเมื่อเธอได้ฟังคำแนะนำ เธอจึงพยายามหาทุกข์ต่างๆมาใส่ตนยิ่งร้ายกว่าเดิม จนมากเกินพอดี จนเธอเป็นบ้าในที่สุด
จากนั้นเหตุการณ์ร้ายๆ ก็เกิดขึ้นกับพระเอกในที่สุด ถึงขั้นทำให้ชาวเมืองไล่ฆ่าเนื่องจากพระเอกเข้าใจผิดว่าพระเอกคือชายหนุ่มสี่แยก และสิ่งเดียวที่ช่วยพระเอกได้ในตอนนี้คือความรักความห่วงใยของนางเอก และแล้วพระเอกก็เล่าความจริงบาปในอดีตให้นางเอกฟัง
และระหว่างนางเอกกำลังกังวลเรื่องที่ชายหนุ่มเล่า ว่าควรให้อภัยหรือแก้แค้นพระเอกดีนั้น ระหว่างทางเธอก็พบชายหนุ่มที่สี่แยก
ชายหนุ่มที่สี่แยกกล่าวกับเธอว่า "อย่าให้อภัยมัน จงชิงชังมันไปตลอดชีวิต"
และตอนจบจะเป็นอย่างไรนั้นก็หามาดูเถอะครับ
หลังจากอ่านจบ ชายหนุ่มที่สี่แยกถือได้ว่าเป็นผลงานคลาสสิกเรื่องหนึ่ง จนนำมาสร้างเป็นภาพยนต์แม้มีการดัดแปลงมากพอสมควรแต่เนื้อหาโดยรวมคือ จุดเด่นเนื้อหาของปมปริศนาและความสัมพันธ์ของตัวละคร นอกจากนี้ยังมีการล่นกับประเด็นเรื่องความเปราะบางในจิตใจของมนุษย์ ที่นิสัยอีกอย่างของมนุษย์คือเวลาเราเจอปัญหาอะไร แทนที่จะแก้ด้วยตนเองกลับไปปรึกษาคนแปลกหน้าหรือคนใกล้ตัวแทน หรือการหลงเชื่อคนอื่นทั้งๆ ที่ไม่รู้จักหน้ากันมาก่อน อาจนำมาซึ่งหายนะแก่เราได้
มีหลายๆ คนบอกว่าตอนจบเรื่องนี้มันขาดเกินๆ อันนั้นผมไม่เห็นด้วย บทสรุปสุดท้ายนี้ถือว่าดีมากเป็นจุดที่ทำให้ผลงานนี้คลาสสิกก็ว่าได้
โดยตอนจบเป็นเรื่องราวหลังจากที่พระเอกหายสาบสูญไป แต่เมืองหมอกนั้นก็ยังไม่เปลี่ยนแปลง ผู้คนยังนิยมประเพณีทำนายมุมกำแพงสี่แยกเหมือนเดิม พร้อมกับการปรากฏตัวของหนุ่มสี่แยกที่ออกมาตอนกลางคินและบังคับให้ผู้หญิงในซากศพหลอกหลอนผู้คน เพื่อแสดงให้คนอื่นเห็นว่า “กูพ่อทุกสถาบัน”
แต่ท่ามกลางความสยดสยองปกครองเมืองอยู่นั้น ก็มีการปรากฏตัวของชายหนุ่มในเสื้อขาว(ที่เป็นพระเอก)ที่เต็มใจที่จะแนะนำอะไรดีๆ แก่ผู้พบเห็นตัวโอ้....ดูอบอุ่นมากเลย แหละ
“นี้ ฉันเบื่อชีวิตแล้ว นายช่วยหาวิธีตายเจ๋งๆ ให้ฉันได้เปล่า” ชายที่คิดฆ่าตัวตายถามชายในชุดขาว
“ไร้สาระ” ชายหนุ่มในชุดขาวตอบ “เอาเป็นว่านายให้กำลังใจคนร้อยคนก่อน แล้วจะพบเองแหละ”
จากนั้นชายที่คิดคนตายนั้นก็ทำตามคำแนะนำชายชุดขาว และแล้วเขาก็เริ่มคิดว่าการฆ่าตัวตายนั้นไร้สาระสิ้นดี เพราะคนร้อยคนนั้นมีปัญหาชีวิตยิ่งกว่าเขาเสียอีก........
ฉากสุดท้ายเป็นจุดหนึ่งที่ผมชอบที่สุดคือชายหนุ่มที่สี่แยกหวาดกลัวชายในชุดขาวที่มีพลังอำนาจมากกว่าตน เขาอยู่อย่างหลบๆ ซ่อน เพื่อหนีจากการมาของชายหนุ่มชุดขาว เหมือนสื่อให้เห็นว่าแม้ความชั่วจะไม่หายไปจากโลก แต่ถ้าเราสร้างแต่ความดี รักในเพื่อนมนุษย์ ก็ช่วยให้โลกเราน่าอยู่ได้เหมือนกัน
ก็ขอจบแค่นี้แหละครับ เออ......มีหลายคนว่าหาคลังสยองขวัญลงหลุมไม่เจอ อยากรู้ว่ามันมีขายที่ไหน ก็หาตามห้างใหญ่ดูนะครับ ร้านการ์ตูนเล็กๆ อาจไม่เจอ เพราะมันไม่มีลิขสิทธิ์+ +
ความคิดเห็น