คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #508 : Survival - Shounen S no Kiroku ต้องรอด
ต้องรอด (Survival) เป็นการ์ตูนญี่ปุ่น วาดโดยทาคาโอะ ไซโต เริ่มตีพิมพ์เป็นรายสัปดาห์ในนิตยสารโชเน็นซันเดย์ เมื่อปี 1976 ถึง 1977 ฉบับรวมเล่มตีพิมพ์และจำหน่ายครั้งแรกโดยสำนักพิมพ์โชกะคุคัง มีความยาวทั้งสิ้น 22 เล่มจบ ต่อมาใสำนักพิมพ์ลีดส์ ได้นำกลับมาพิมพ์รวมเล่มอีกครั้ง โดยจัดพิมพ์ให้มีความยาว 10 เล่มจบ และมีฉบับพิเศษเพิ่มขึ้นอีก 1 เล่ม
สำหรับในไทยนั้นต้องรอดเป็นอีกเรื่องที่พิมพ์ซ้ำเยอะพอดู ตั้งแต่ยุคก่อนระบบลิขสิทธิ์ สำนักพิมพ์วิบูลย์กิจเคยนำมาแปลและตีพิมพ์รวมเล่มในชื่อเรื่อง ผู้รอดตาย ก่อนที่ต่อมาเมื่อเข้าสู่ระบบลิขสิทธิ์ทางสำนักพิมพ์วิบูลย์กิจได้ซื้อลิขสิทธิ์มาแปลและตีพิมพ์ในชื่อเรื่อง ต้องรอด โดยตีพิมพ์มีความยาวทั้งสิ้น 16 เล่มจบ และมีเล่มพิเศษ 1 เล่ม และในปัจจุบันบริษัทสยามอินเตอร์มัลติมีเดีย ได้เป็นผู้ถือลิขสิทธิ์การตีพิมพ์และจัดจำหน่ายในประเทศไทย ต่อจากสำนักพิมพ์วิบูลย์กิจ โดยตีพิมพ์ทั้งสิ้น 18 เล่มจบ
Survival
ต้องรอด เป็นเรื่องราวของสึสึกิ ซาโตรุ ตัวเอกของเรื่อง
เป็นเด็กหนุ่มอายุราว 14 ปี ที่กำลังสำรวจถ้ำกับเพื่อนๆ แต่จู่ๆ ก็เกิดแผ่นดินไหวขึ้นอย่างรุนแรง
เมื่อซาโตรุรอดออกมาก็พบว่าอาศัยอยู่คนเดียว อยู่บนเกาะร้างที่ล้อมรอบด้วยน้ำ
ไม่สามารถออกไปไหนได้ และนั้นทำให้เขาต้องใช้ชีวิตอยู่คนเดียว เพื่อเอาตัวรอด
ท่ามกลางอันตรายนานา
“ต้องรอด” อาจไม่ใช่การ์ตูนดังเทียบเท่าดราก้อนบอล แต่ก็เป็นหนึ่งในการ์๖นคลาสสิกที่มีอะไรพูดถึงเยอะ อีกทั้งมันเป็นหนึ่งในผลงานของทาคาโอะ ไซโต คนวาด GOLGO 13 ที่วาดกันมาอย่างยาวนานมากๆ ถือได้ว่าเป็นการ์ตูนระดับตำนานอีกเรื่องของวงการการ์ตูนญี่ปุ่น เสียดายที่ไม่มีใครซื้อลิขสิทธิ์มาทำให้อ่านกัน (แต่มีแบบไม่มีลิขสิทธ์ แต่เก่ามาก)
ประมาณเกือบครึ่งเรื่องจะมีตัวละครที่เป็นมนุษย์คนเดียว ก็คือ สึสึกิ ซาโตรุเป็นเด็กหนุ่ม ที่หน้าไปกว่าอายุมาก เพราะว่าอายุราว 14 ปี (มุกเด็กหน้าแก่สมัยก่อน ขนาด เรื่องโรงเรียนลูกผู้ชาย พวกตัวละครในเรื่องอายุแค่มัธยมปลายเท่านั้น) ที่ ประสบกับเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ ต้องติดบนเกาะ เพราะพื้นที่ส่วนใหญ่ของญี่ปุ่นถูกจมในน้ำ
ทำให้ช่วงแรกจะได้เห็นสึสึกิต้องเอาชีวิตรอดแบบเซอร์ไววัล ท่ามกลางธรรมชาติที่โหดร้าย
ต้องรอดไม่ได้นำเสนอมุกผีดิบ ซอมบี้ สัตว์ประหลาดไล่ฆ่าคนเหมือนในปัจจุบัน แต่เป็นการเสนอภัยธรรมชาติที่อาจเกิดขึ้นได้ทุกเวลา และเราจำเป็นต้องปรับตัวใช้ชีวิตเพียงตัวคนเดียว ไม่มีอาหาร และแทบไม่มีอุปกรณ์ในการดำรงชีวิตเลย
เอ่อ..... อย่างไรก็ตาม พักเรื่อง “ต้องรอด” เวอร์ชั่นต้นฉบับไว้ก่อน (เดี๋ยวเล่าต่อทีหลัง) อย่างที่รู้กันว่ามันเป็นการ์ตูนเก่า แม้จะดัง คุ้นตาคนไทยก็เถอะ แต่ผมยอมรับว่าไม่ค่อยได้ดูมากนัก ส่วนหนึ่งผมไม่ค่อยพิสัยการ์ตูนเก่าสักเท่าไหร่ เพราะไม่ได้ชื่นชอบลายเส้นเก่าๆ ตัวละครไม่โมเอะ ผมเลยไม่ได้สนใจตอนแรก
จนกระทั่งไม่นานก็มีการ์ตูนเรื่องหนึ่ง Survival - Shounen S no Kiroku ผลงานของ Akira Miyagawa g,njvxu 2015 ซึ่งดูก็รู้เลยว่า เป็น “ต้องรอด” เวอร์ชั่นทำใหม่ ดัดแปลงเนื้อหา วาดลายเส้นให้ตัวละครให้ใบหน้าเหมาะกับเด็กชายอายุ 15 มากขึ้น ปรับเนื้อหาให้เข้ากับยุคปัจจุบัน เหมาะกับคนอ่านรุ่นใหม่ โดยเฉพาะผม (ที่ใจไม่ได้รักการ์ตูนคลาสสิกขนาดนั้น)
Survival - Shounen S no Kiroku มีความคล้ายกับ “ต้องรอด” เวอร์ชั้นต้นฉบับ จะต่างมากในช่วงหลังๆ
ตัวการ์ตูน Survival - Shounen S no Kiroku ดัดแปลงต้นฉบับได้อย่างน่าสนใจ ในขณะที่จังหวะการดำเนินเรื่อง “ต้องรอด” ฉบับต้นฉบับจะออกไปแบบช้าๆ เนิ่บๆ ตัวเอกมีความคิดอ่านแบบผู้ใหญ่ ไม่สมเป็นเด็ก 14 (ตามความคิดผมนะ) แต่พระเอก “ต้องรอด” ฉบับใหม่ คือมีความคิดอ่านแบบเด็กๆ จริงๆ
อย่างไรก็ตาม “ต้องรอด” ฉบับใหม่ ยังคงเหมือน “ต้องรอด” ต้นฉบับ ตรงช่วงแรกยังคงเน้นพระเอกคนเดียวดำรงชีวิตอยู่ในป่า แต่ดัดแปลงวิธีการดำรงชีวิตในป่าให้ดูทันสมัยมากขั้น เอาง่ายๆ ใครที่ดูคลิป แบร์กิลดำรงชีวิตในถิ่นทุรกันดารนั้นแหละ แต่ของ “ต้องรอด” ไม่ได้โหดถึงขั้นกินขี้สัตว์ กินเยี่ยวขนาดนั้น
เอางี้ให้คิดเรื่อง “เอาชีวิตรอดในป่า” ในคลิปที่พบเห็นในยูทูปละกัน ไม่ว่าจะเป็นการสร้างที่พัก การหาอาหาร การก่อไฟ ซึ่งใครที่ชอบดูคลิปจำพวกนี้มันไม่ง่ายเลย
คือช่วงแรก เมื่อพระเอกต้องพบการสูญเสีย ประสบกับเหตุไม่คาดฝัน พื้นที่อยู่กลายเป็นเกาะเพราะน้ำท่วมใหญ่ เหลืออยู่ตัวคนเดียวอยู่ในเกาะ ตอนแรกๆ เขาก็นึกถึงความสะดวกสบาย คิดถึงเพื่อน ครอบครัว แต่ไม่นานนักก็ตั้งสติได้ (เร็วกว่าที่เกิด) เขาจำเป็นต้องมีชีวิตอยู่ ท่ามกลางทรัพยากรที่จำกัด, น้ำสะอาดไม่มี, อาหารหายาก และไม่มีสิ่งสะดวกสบายสักอย่าง
พระเอกเรื่องนี้ชัดเจนว่าเขาไม่เคยใช้ชีวิตคนเดียวในป่าเลย ไม่เคยเรียนรู้วิชาเซอร์ไววัลอะไรมากมาย จะเรียนก็แค่จำมาจากคลิปยูทูปเท่านั้น แม้แต่จับปลาไม่เคย แต่อย่างไรก็ตามหลังจากดูหลายตอนนี้ พระเอกมันเรียนรู้เร็วอย่างน่าเหลือเชื่อ จนไม่น่าเชื่อว่าเป็นเด็กอายุ 14
สิ่งแรกที่พระเอกทำคือการไปที่สูงสุดของพื้นที่ เพื่อมองสภาพรอบข้าง จากนั้นก็เริ่มหาอาหารกิน ตอนแรกเขาก็เก็บผลไม้ข้างทางแบบมั่วๆ สุ่มกินไม่เลือก จนเกิดอาเจียน อ้วกขึ้นมา และบ่นกับตัวเองว่าโง่ที่ไม่แยกผลไม้ที่กินได้ และไม่ได้
ต่อมาพระเอกจับปลา ตอนแรกๆ ล้มเหลว ก่อนที่จะมีไอเดีย หาวิธีจับปลาได้ด้วยการเอากระเป๋ามาสร้างเป็นที่กั้นกระแสน้ำ ปลาที่ว่ายจะเข้าไปในกระเป๋าออกมาไม่ได้
จากนั้นพระเอกก็ต้องการไฟเพื่อปิ้งปลา แต่การใช้วิธีหมุนไม้เสียดสีจุดไฟแบบโบราณนี้โครตยาก ก่อนที่พระเอกจะคิดได้ว่าให้ใช้แผ่นฟอยล์หมากฝรั่งจุดไฟได้( โดยเฉาะแผ่นฟอยส์จับมาแปะขั่วบวก ขั้วลบเข้าด้วยกัน สักพักขั้วบวก ขั้วลบจะสามารถเชื่อมกระแสไฟจนสร้างความร้อนและไฟลุก ขึ้นมาได้)
หลังจากนั้น........ ก็ไม่มีอะไรมากมาย (ยอมรับ) คือเน้นไปทางพระเอกปรับตัวในการอยู่รอดแบบเซอร์ไววัล ทำถ้ำเป็นบ้าน ใช้มีดทำเฟอร์นิเจอร์ ทำโต๊ะ ทำส้วม (ฝีมือทำอย่างกับช่างไม้มืออาชีพ จนไม่เชื่อว่าเป็นฝีมือของเด็กอายุ 14) ลบกับสัตว์ร้าย ทั้งหมี และฝูงหนูที่หิวโหย (ที่พร้อมจะมารุมกินเนื้อตากแห้ง) ฯลฯ
ถ้าเอาตรงๆ ก็ไม่ได้หวือหวาอะไร หากเทียบกับหนีสัตว์ประหลาดมันกว่า ดุเดือดกว่า เลือดสาดกว่า
แต่ถ้าจะเอาฉากสำคัญ ก็มีสองเรื่อง หนึ่งฉากที่พระเอกป่วยท้องร่วงมีไข้หนักจนเอาชีวิตไม่รอด สิ่งที่พระเอกรอดก็คือกินเท่าที่จะกินได้ และสองคือฉากที่นกฮูกที่เป็นเพื่อนพระเอกถูกหนูรุมฆ่าตาย ซึ่งเป็นหนึ่งในสูญเสียที่ปวดใจเลยทีเดียว
ต้องรอด อาจไม่ใช่การ์ตุนที่คุณต้องการเซอร์ไววัลตื่นเต้น ประเภทที่เราเห็นแนวหนีสัตว์ประหลาดปัจจุบัน แต่เนื้อหาออกไปทางสายเรียลในช่วงแรก ที่พระเอกพยายามเอาตัวรอดในสภาวะยากลำบาก ไร้ความสะดวกสบาย และทรัพยากรจำกัด (แต่กว่าจะตื่นต้นก็อีกนาน ช่วงออกจากเกาะนั้นแหละ)
เซอร์ไววัลที่แท้จริง ที่หลายคนหลงลืมไปแล้ว เซอร์ไววัลไม่ใช่การหนีตาย แต่มันคือการอยู่รวด,การรอดตาย,การดำรงอยู่,การเหลืออยู่,สิ่งที่ดำรงอยู่,และคนญี่ปุ่นก็แสดงให้เห็นแล้วว่าพวกเขามีชีวิตได้ยังไง ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ทาหรญี่ปุ่นจำนวนมากติดเกาะ แถมขาดน้ำ ขาดอาหาร เพราะกองทัพพันธมิตรตัดเส้นทางลำเลียงทรัพยากรจนหมด แถมยังวางกำลังล้อมรอบเกาะ บังคับทหารญี่ปุ่นยอมแพ้ แต่หทารญี่ปุ่นเลือกที่จะไม่ยอมแพ้ พร้อมใช้ชีวิตในป่าลึกที่ไร้ซึ้งอาหารและน้ำ และเต็มไปด้วยอันตรายจากสัตว์และโรคต่างๆ ด้วยการกินอะไรก็ได้ที่กินได้ อาศัยความอบอุ่นจากกองไฟ หรือเพื่อนทหารด้วยกัน (หมายถึงเอาตัวพิงกันและกัน)
บางทีอาจเพราะแบบนี้ละมั้งที่คนญี่ปุ่นขึ้นชื่อว่าเป็นคนไม่ยอมแพ้ เก่งเรื่องการมีชีวิตเอาตัวรอด แม้จะเป็นถิ่นทุรกันดานก็ตาม
กลับมาดูที่เราคนไทย ผมว่าหลายคน หรือแม้แต่ผมก็ไม่ได้รู้วิชาเซอร์ไววัลสักเท่าไหร่ บางทีก็แอบหัวเราะเยอะว่าจะไปทำไมให้ลำบาก แต่ในขณะเดียวกันก็คิดอีกว่าหากเราอยู่ในสถานการณ์แบบพระเอก จะรับสภาพนี้ได้ไหม
บางทีการเรียนรู้วิชาเซอร์ไววัลตอนนี้อาจไม่เสียหาย การทำน้ำสะอาด, ก่อไฟ, ทำบ้าน, วิธีไล่แมลง ฯลฯ สักวันเราอาจติดเกาะ อยู่ทะเลทรายก็เป็นไปได้ ไม่มีใครรู้
กลับมาเรื่องการ์ตูนต่อ หลังจากที่เราดูพระเอกเอาตัวรอดด้วยคนเดียวหลายตอน ในที่สุดเนื้อเรื่องก็คืบหน้า เมื่อมีตัวละครอีกคนเข้ามาในชีวิตของพระเอก
และเธอก็คือนางเอกของเรื่องนี้
หลังจากเรื่องนี้ ผ่านไป 33 ตอน ในที่สุดก็ปรากฏนางเอก (ที่แท้จริง) เสียที เมื่อพระเอกใช้ชีวิตอยู่คนเดียวยาวนานพอสมควร วันเวลาไม่รู้หรอก รู้แต่ว่าจากฤดูร้อน ก็อยู่จนถึงฤดูหนาว จนเริ่มชินกับเซอร์ไววัลไปแล้ว และขณะที่พระเอกสำรวจชายหาดก็พบเรือลอยจากเกาะตรงข้าม และปรากฏว่ามีผู้หญิงอยู่ในเรือด้วย ซึ่งเธอเป็น “มนุษย์” คนแรกที่คนอื่นเจอหลังเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหว น้ำท่วมใหญ่
จากนั้นผู้หญิงคนนี้ก็แนะนำตัวว่าเธอชื่อ “อาคิโกะ” ซึ่งตอนแรกเธอก็อยู่แผ่นดินใหญ่ หากแต่เมื่อเกิดแผ่นดินไหวรุนแรง ทุกอย่างพังพินาศหมด และการใช้เรือเล็กข้ามทะเลก็เพื่อไปยังพื้นที่ดีกว่า ซึ่งหลังจากนั้นอาคิโกะก็เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตเซอร์ไววัลร่วมกับพระเอก
เนื่องจากไม่ได้อ่านต้นฉบับ แต่จากปากคำของคนที่อ่าน บอกว่ายัยอาคิโกะต้นฉบับนั้นทำตัวลำไยมาก (น่ารำคาญมาก) นอกจากหน้าตาจะเหมือนนางเอกหนังญี่ปุ่นยุคเก่าแล้ว (เอาง่ายๆ คือสวยในยุคนั้น) แม้จะมาอาศัยอยู่กับซาโตรุ แต่ด้วยความที่ยังเป็นคนยึดติดในอารยธรรมมนุษย์มากเกินไป จน เธอจไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับการใช้ชีวิตท่ามกลางธรรมชาติได้ ทำงานก็ไม่ได้ กินอาหารก็ไม่ค่อยได้ พระเอกต้องช่วยตลอด ผลคือเธออยู่อย่างอดอยากและยากลำบากได้ ถึงซาโตรุจะพยายามจับปลามาให้กิน เธอก็ไม่สามารถกินได้มากนักเพราะเป็นโรคแพ้ปลา ส่งผลให้สภาพร่างกายและจิตใจค่อยๆ ทรุดโทรมลง ให้พระเอกต้องดูแลอีก (สรุปคือเป็นตัวถ่วงของแท้)
แต่แบบใหม่นั้น อาคิโกะมามาดใหม่ คือมาแบบเด็กสาวยุคปัจจุบัน (ผมไม่ทราบอายุเธอนะ แต่ดูเธออายุมากกว่าพระเอกหน่อยๆ) ที่ปรับตัวกับชีวิตเซอร์ไววัลได้ แม้ช่วงแรกลำบากมาก แต่เธอก็ไม่อยากให้พระเอกรับภาระมากเกินไป ทำให้หลายอย่างเธอก็พยายามทำด้วยตัวเอง การรักษาสุขภาพ ไม่เรื่องมาก จนบางครั้งพระเอกรู้สึกตนเองว่าเขาไร้ประโยชน์ด้วยซ้ำ
อาคิโกะฉบับใหม่ไม่ใช่นางเอกน่ารำคาญ ทำให้มีบทอีกยาว แต่อาคิโกะฉบับเก่านั้นดูไม่เหมาะนางเอกสักเท่าไหร่ ทำให้บทของเธอจบลงด้วยการเขียนบทให้เธอพลัดตกจากเนินผา ทำให้เธอมีอาการประสาทหลอนอยู่พักใหญ่ (ฉากนี้ ต้นฉบับใหม่เปลี่ยนเป็นพระเอกหลอนแทน แล้วให้อาคิโกะดูแลพระเอก)
ในที่สุดอาคิโกะฉบับเก่าก็ล้มป่วยหนัก และสุดท้ายก็เสียชีวิต (ส่วนอาคิโกะฉบับใหม่นั้นรอดจากเหตุการณ์นี้มาได้ เพราะความเข้มแข็ง ไม่ได้อ่อนแอ)
มาถึงจุดนี้หลายคนอาจนึกเรื่องเพศ ในเมื่อชายหญิงอยู่ด้วยกันก็ต้องมีความสัมพันธ์บ้างแหละ ในต้นฉบับเดิมผมไม่แนะใจสักเท่าไหร่ ตรงฉากที่ก่อนอาคิโกะเสียชีวิต เธอขอให้พระเอกมีเพศสัมพันธ์กับเธอตรงจุดนี้ผมเลยไม่แน่ใจว่าพระเอกทำหรือไม่ แต่หลังจากฉากนี้ทำให้พระเอกเป็นผู้ใหญ่มากขึ้นกว่าเดิม พร้อมผจญสู่โลกกว้างในบทต่อไป
แต่อย่างไรก็ตามอาคิโตะต้นฉบับใหม่นั้นไม่ได้มีความสัมพันธ์ทางเพศกับพระเอก แม้พระเอกจะหวั่นไหวบ้างก็เถอะ
เมื่อนางเอกไม่ตาย หลังจากนั้นเนื้อหาการ์ตูนก็แตกต่างจากต้นฉบับหลายจุด และก็เริ่มมาถึงภาคใหม่ ภาคออกจากเกาะ ซึ่งเริ่มตั้งแต่น้ำล้อมรอบเกาะที่พระเอกอยู่เริ่มแห้งลดลง พระเอกกับนางเอกตัดสินใจที่จะออกจากเกาะเพื่อมุ่งสู้โลกกว้างบนแผ่นดินใหญ่ แม้ว่าแผ่นดินใหญ่ตอนนี้จะกลายเป็นดินแดนนอกกฎหมาย เพราะทุกอย่างพังพินาศ เต็มไปด้วยซากตึก สิ่งสะดวกสบายไม่มี คนเถื่อนเริ่มมีมากขึ้น ทั้งที่เรื่องเกิดขึ้นไม่ถึงปี
เมื่อพระเอกมาถึงแผ่นดินใหญ่ เขาก็ได้เจอพวกทหารที่ให้ที่พัก น้ำ อาหารให้ อย่างไรก็ตามพระเอกไม่ได้คิดอยู่ที่นี้นาน เมื่อเขาพบข้อความจากครอบครัวของเขาว่า พวกเขามีชีวิตอยู่ ทั้งพ่อ แม่ พี่สาว และรอการกลับบ้านของพระเอกอยู่ ซึ่งพระเอกพยายามหลบหนีจากค่าย จนได้นางเอกมาช่วยเหลือ แต่พวกเขาก็ได้สู่โลกภายนอกที่แท้จริง โลกที่เต็มไปด้วยความโหดร้าย ไร้กฎเกณฑ์ ที่พร้อมฆ่าพวกเขาทุกเมื่อทุกย่างก้าว
และเด็กทั้งสองจะเอาตัวรอดในโลกแห่งโหดร้ายหรือไม่ ต้องติดตามตอนต่อไป
ตอนที่เขียนบทความ การ์ตุนเรื่องนี้พึ่งอยู่ในช่วงออกสู่โลกภายนอก ความจริงก็ไม่ได้อ่านต้นฉบับหรอกว่า เนื้อหาช่วงหลังจากเกาะเป็นยังไง แต่น่าจะมีความแตกต่างจากช่วงแรกโดยสมควร ที่ช่วงแรกเน้นการอาศัยแบบเซอร์ไววัล แต่ช่วงสองน่าจะเป็นการออกเดินทางผจญภัยในโลกที่เหมือนจะล่มสลาย (ก็ไม่ถึงขั้นนั้น แต่ในมังงะนี้ถึงขั้นปกครองกันเอง สร้างอาณานิคมที่ตนเองปกครองแบบอิสระแล้ว) ทำให้อารมณ์แตกต่างกัน แต่ทั้งหมดก็ยังสื่อถึง “ต้องรอด” อยู่เหมือนเดิม แถมคนที่เคยอ่านต้นฉบับก็ยังติดตามแบบสดใหม่ เพราะมุกการดำเนินเรื่องปัจจุบันขึ้น แถมคราวนี้นางเอกไม่ตายอีกต่างหาก
Survival - Shounen S no Kiroku เป็นการ์ตูนแนวเซอร์ไววัลที่เน้นเอาตัวรอดในสภาพแวดล้อมอันโหดร้าย ซึ่งปัจจุบันเราเองก็เห็นการ์ตูนแนวแบบเดียวกันนี้อยู่บ้าง (อย่างเรื่อง เกาะคนตาย และผลงานใหม่อย่างย้อนอดีตไปดึกดำบรรพ์) แม้อาจไม่ได้โหดดิบเถื่อนเมื่อเรื่องอื่นๆ และเป็นแนวที่ดูได้เรื่อยๆ แต่ก็ทำให้เรามีความรู้เกี่ยวกับการใช้ชีวิตเซอร์ไววัลพอสมควร โดยเฉพาะการจุดไฟด้วยแผ่นแผ่นฟอยล์กับไฟฉายนี้แหละ มันเป็นอะไรที่พื้นๆ แต่เราก็คาดไม่ถึงเหมือนกัน ซึ่งรู้ไปไม่เสียหาย เพราะวันข้างหน้าเราอาจต้องใช้ชีวิตแบบพระเอกก็ได้ ใครจะไปรู้ (ส่วนผมคงรับไม่ได้กับชีวิตแบบนี้หรอก แบบว่าติดสบายไปแล้ว)
นอกจากนี้ยังแสดงให้เห็นว่าสมัยนี้เริ่มมีการเอาการ์ตูนคลาสสิกเอามาดัดแปลงใหม่มากขึ้น หรือบางเรื่องก็ทำเป็นภาคสอง ซึ่งก็มีทั้งผลตอบรับดี กับไม่ดี ก็ขึ้นอยู่กับว่าเรื่องนี้ดัดแปลงให้เข้ากับยุคสมัยใหม่มากกว่า สามารถดึงเอกลักษณ์ของการ์ตูนคลาสสิกได้หรือไม่ โดยที่คนอ่าน (ทั้งเก่าและใหม่) ยอมรับได้
:ซึ่ง Survival - Shounen S no Kiroku สอบผ่านครับ แม้จะมีช่วงน่าเบื่อก็เถอะ แต่ช่วงไปแผ่นดินใหญ่นี้สนุกน่าติดตามมาก
ความคิดเห็น