ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ดูการ์ตูนอย่างแมว ๆ

    ลำดับตอนที่ #321 : (ระลึกชาติ) Wingman เด็กหนุ่มบ้าฮีโร่กู้โลก

    • อัปเดตล่าสุด 7 ม.ค. 58


                 ช่วงท้ายปี 2014 ผมค่อนข้างถูกอกถูกใจกับ Ore, Twintails ni Narimasu  เป็นพิเศษ นอกเหนือว่ามันโครตฮาเร็ม ตลกบ้าบอ เพื่อนสมัยเด็ก ชุดแปลงร่างโมเอะแล้ว ยังเป็นองค์ประกอบของแนวเซ็นไตที่ไม่ได้เห็นยุคนี้มากนัก ซึ่งดูเรื่องนี้แล้วผมนึกถึงเรื่อง Wingman นักรบแห่งความฝันชอบกล ดังนั้นในบทความนี้ ผมจะขอระลึกชาติวิงแมนหน่อยครับ

     

     

    วิงแมน เล่ม 1

     

                 วิงแมนเป็นการ์ตูนญี่ปุ่น แนวไซไฟ แอ็คชั่น ตลกเ เขียนโดย มาซาคาสึ คัตสึระ (Masakazu Katsura) ฉบับภาษาญี่ปุ่นตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของสำนักพิมพ์ชูเอชะ ลงตีพิมพ์ในนิตยสารโชเนนจัมป์ระหว่าง 1982-1985 ส่วนในประเทศไทย มีการตีพิมพ์อย่างไม่ถูกต้องตามลิขสิทธิ์ โดยสำนักพิมพ์หมึกจีน และถูกนำมาตีพิมพ์ใหม่โดยสำนักพิมพ์ ANT มีจำนวน 7 เล่มจบ (ของญี่ปุ่นจบ 13 เล่ม)

                 นอกจากนี้ วิงแมนยังถูกนำไปสร้างเป็นอนิเมะ ในปี 1984-1985 มีทั้งหมด 47 ตอน และเคยฉายทาง ช่อง 9 อ.ส.ม.ท. เมื่อนานมาแล้ว  (ฉายไม่ีจบ เพราะว่าโดนห้ามฉายเพราะตัวอนิเมะมีฉากล่้อแหลมไม่เหมาะสำหรับเด็ก) และเคยถูกทำเป็นเกมในปี 1984

                 เนื้อหาของวิงแมนมีความคล้ายๆ กับ Ore, Twintails ni Narimasu กันอย่างน่าประหลาด  ฮิโรโนะ เคนตะผู้ชื่นชอบฮีโร่ โดยเฉพาะ “วิงแมน” และใฝ่ฝันจะเป็นฮีโร่ปราบเหล่าร้าย จนคนรอบข้างเอื่อมระอาความบ้าของมัน จนกระทั่งวันหนึ่งระหว่างทางกลับบ้านเขาก็ได้พบสาวสาวยแต่งชุดสูทบิกินี (สมัยก่อนชุดบิกินีถือว่าเป็นการคอสแบบหนึ่งครับ โดยเฉพาะพวกแนวไซไฟ) หล่นมาจากฟ้า และหมดสติ ด้วยความเป็นพระเอก เขาจึงแบกเธอกลับบ้าน

                 เมื่อมาถึงบ้าน พระเอกก็ค้นตัวสาวบิกินีลึกลับ  สิ่งที่พบเป็นกระดานกับปากการรูปทรงประหลาด และด้วยแปลก มันกระตุ้นความมือบอน พระเอกจึงเอาปากกาเขียนลงสมุดโน้ต วาดวิงแมน และนั้นทำให้เขาได้กลายเป็นวิงแมน มีพลังซูเปอร์ฮีโร่ขึ้นมาจริงๆ

     

     

    อาโออิ ตัวละครที่เปลืองเนื้อเปลืองตัวมากที่สุดในเรื่อง

     

                 พระเอกตกใจกับสิ่งที่เกิดขึ้น และเมื่อสาวบิกินีลึกลับรู้สึกตัว ก็ดีใจกับภาพที่เห็น เพราะเคนตะได้กลายเป็นผู้ถูกเรียกได้รับพลังจากดรีมโน้ต เธอแนะนำตัวว่าชื่อ “อาโออิ” และขอให้พระเอกใช้พลังนั้นเป็นผู้กอบกู้ดาวบ้านเกิดของเธอ และคุ้มครองโลกจากเหล่าร้าย และนี่คือจุดเริ่มต้นตำนานวิงแมน

                 วิงแมนถือว่าเป็นการ์ตูนอมตะ ที่น่าจะอยู่ในความทรงจำของใครหลายคน โดยเฉพาะรุ่นพ่อ รุ่นแม่ ส่วนตัวของผมเองสมัยก่อนชอบวิงแมน แต่อนิจจาด้วยความว่าสมัยก่อนไม่มีอินเทอร์เน็ต และบ้านผมบ้านนอกมากๆ ทำให้ผมไม่สามารถดูวิงแมนจบได้ การดูวิงแมนมาจากหนังสือการ์ตูนที่ได้รับอนุเคราะห์จากญาติเอามาให้เท่านั้น

                 อย่างไรก็ตาม แม้ผมจะอ่านวิงแมนไม่กี่เล่ม อ่านไม่จบ แต่ผมก็ยังคงจดจำการต่อสู้ของวิงแมนกับสัตว์ประหลาดแม่เหล็ก และต่อสู้กับปีศาจสมเสร็จกินความฝันได้จนถึงบัดนี้

     
     

     

    ฮาเร็มพระเอก

     

     


              วิงแมนเป็นผลงานสร้างสรรค์โดย มาซาคาสึ คัตสึระนักเขียนที่คนไทยคุ้นตาอยู่บ้างกับเรื่อง DNA², Zetman, Shadow Lady  (ทั้งหมดมีลิขสิทธิ์ในไทย) ซึ่งมีจุดเด่นคือแนวแฟนตาซี เอจจิ ฉากวับๆ แวมๆ)  เป็นนักเขียนรุ่นเดียวกับอากิระ โทริยามะและเคยร่วมงานกัน และยังคงเขียนการ์ตูนอยู่จนถึงปัจจุบัน ถือว่าเป็นนักเขียนที่มีอายุอานามมากพอสมควร

                 การ์ตูนของคัตสึระส่วนใหญ่มักมีกลิ่นอายของซูเปอร์ฮีโร่ และในขณะเดียวกันก็มีเรื่องราวความรักของวัยรุ่นเข้ามาด้วย อย่างผลงานวิงแมน ซึ่งอาจเป็นการ์ตูนเรื่องแรกๆ ก็มีส่วนผสมเหล่านี้เข้ามาด้วย

                 วิงแมนเป็นการ์ตูนมังงะโลดแล่นที่อยู่ในยุคทองแรกๆ ของ ภาพยนตร์โทคุซัทสึ (หมายถึงละครโทรทัศน์ที่แสดงด้วยมนุษย์จริง จุดเด่น คือ สเปเชียลเอฟเฟกต์ ตัวเอกเป็นยอดมนุษย์ กับเนื้อหาแนววิทยาศาสตร์และจินตนิมิต หรือพูดง่ายๆ คือซูเปอร์ฮีโร่ญี่ปุ่นนั้นเอง) ซึ่งก็เริ่มจาก แนวเมทัลฮีโร่ที่สวมชุดเกราะเหล็ก (แต่ไม่ได้ทำจากเหล็กจริงๆ) ซึ่งเมทัลฮีโร่แรกๆ ก็คือตำรวจอวกาศเกียบัน (ออกอากาศเมื่อ 1981-1982), แนวขบวนการนักสู้ (เซ็นไต หรือเซ็นไท) ขบวนการห้าสี (ซีรีย์แรกคือโกเรนเจอร์ ฉายออกอากาศครั้งแรกเมื่อ 1975-76) รวมไปถึงฮีโร่อุลตร้าแมนและมาร์คไรเตอร์เข้าไปด้วย

                 ดังนั้นจึงไม่แปลกแต่อย่างใดที่วิงแมนเป็นมังงะที่เต็มไปด้วยมุกตลกล้อเลียนญี่ปุ่นมากมาย  ไม่ว่าจะเป็นชุดเกราะวิงแมนเหมือนเมทัลฮีโร่, มีการแปลงร่างขยายร่างใหญ่, มิติต่างดาว สิ่งเหล่านี้เป็นสูตรของแนวซูเปอร์ฮีโร่ทั้งสิ้น

                 แม้ว่าวิงแมนจะเป็นการ์ตูนเก่า ลายเส้นดูล้าสมัย  แต่เนื้อหาของวิงแมนก็ยังดูแล้วสนุก เรื่องราวของเด็กหนุ่มบ้าๆ บอๆ จู่ๆ กลายเป็นผู้ถูกเลือก จากสาวต่างมิติผู้ลึกลับ ต่อสู้กับเหล่าร้าย  สูตรเหล่านี้ยังคงนำมาใช้จนถึงปัจจุบัน แม้จะมีการดัดแปลงยังไงก็ตาม

                 นอกเหนือจากล้อเลียนฮีโร่แล้ว ยังมีเรื่องของความรักเข้ามาเกี่ยวข้อง เกี่ยวกับความรักสามเศร้า ระหว่างพระเอกกับอาโออิสาวต่างมิติ และโองาวะ มิคุเพื่อนร่วมชั้น ซึ่งทั้งสองต่างชอบพระเอก (และนอกจากนางเอกทั้งสองแล้วยังมีสาวคนอื่นๆ ด้วย) ซึ่งเนื้อหาส่วนนี้ก็สนุกด้วย ทำให้เหมาะสำหรับผู้อ่านวัยรุ่น และเข้ากับยุคสมัยด้วย

     

     

    ฮาเร็มพระเอก

     

                 อย่างไรก็ตาม วิงแมนมีสิ่งหนึ่งที่โดดเด่นมาก และกลายเป็นมุกมาตรฐานปัจจุบัน เพราะเรื่องนี้มีขบวนเซ็นไต 5 คน แต่สมาชิกเซ็นไตนอกจากพระเอกวิงแมนแล้ว สมาชิกในกลุ่มล้วนเป็นผู้หญิงทั้งสิ้น (ประกอบด้วย อาโออิ และมิคุ ส่วนอีกสองคน โมริโมโตะ โมโมโกะสาวผมชมพูกล้าหาญที่ชอบพระเอก  และฟุซาวะ คุมิโกะสาวแว่นผมม่วง ) ซึ่งไม่เคยมีมาก่อนเพราะปกติขบวนเซ็นไตมักมีสมาชิกที่เป็นผู้หญิงในกลุ่มเพียง 1-2 คน เท่านั้น วิงแมนจึงเป็นเรื่องแรก และกลายเป็นบรรทัดฐานแนวฮาเร็มหลายเรื่องในปัจจุบัน (ทวินเทลกู้โลกจึงเป็นตัวอย่างเด่นชัดมาก)

                  มีอะไรหลายอย่างที่ทำให้หลายคนจดจำวิงแมนเยอะ โดนเฉพาะการออกแบบชุดของวิงแมนที่แม้จะดูเรียบง่าย แต่ก็ดูเท่ และคลาสสิกน่าจดจำมาก แม้กระทั่งจนบัดนี้เรายังคงเห็นโมเดลวิงแมน (มีทั้งแบบตั้งเดิมและกลายพันธุ์)  แบบโพสท่าเท่ๆ ปรากฏอยู่เนื่องๆ

                 ที่น่าแปลกคือวิงแมนไม่ได้จัดว่าเป็นแนวฮาเร็ม (ทั้งๆ ที่มีสาวหลายคนชอบ)  อาจเป็นเพราะสมัยก่อนนิยามของคำว่าฮาเร็มนั้นยังไม่ได้แจ้งเกิด แม้จะมีเนื้อหาเกี่ยวกับอีเวนท์รักๆ บ้าง แต่เนื้อหาก็ยังคงเน้นการต่อสู้ แต่การต่อสู้นั้นใครหวังจะเป็นพวกมิตรภาพ ดราม่า เลือดสาดกระจายก็อย่างหวัง เพราะส่วนใหญ่เน้นเซอร์วิส แถมมีล้อเลียนฮีโร่ญี่ปุ่นให้ฮ่ากระจายอีกต่าง (จำได้เลยว่า ตอนผมเป็นเด็ก ผมก็อ่านวิงแมน ก็รู้สึกแปลกๆ ว่าทำไมไม่เหมือนฮีโร่ญี่ปุ่นที่รู้จักฟ่ะ ทำไมพระเอกเป็นเด็กมัธยมปลายแทนที่จะเป็นผู้หญิง ทำไมกลุ่มพระเอกมีแต่พวกสาวๆ ทำไมฉากต่อสู้ทำไมลามกจังฟ่ะ)

                 สมัยที่ผมอ่านวิงแมนนั้นยอมรับว่าผมไม่ได้คิดอะไรสักเท่าไหร่ แต่ด้วยความชอบพวกฮีโร่ญี่ปุ่น พวกตำรวจเหล็กจีบัน หรือพวกขบวนการเซ็นไต ทำให้อ่านวิงแมน และที่ชอบพวกฮีโร่ญี่ปุ่นไม่เพียงแค่ฉากต่อสู้ ดูแล้วอลังการเท่านั้น ผมยังชอบการออกแบบพวกสัตว์ประหลาด ที่ดูแล้วมันหลากหลาย และสนุกกับการมองสัตว์ประหลาดเหล่านี้ แม้สัตว์ประหลาดวิงแมนในเรื่องวิงแมนจะดูเชยมาก แต่กระนั้นกลับเป็นจุดแข็ง ด้วยนิสัยบางตัวที่บ้างบอ (เจ้าแม่เหล็ก)  แถมกว่าจะบาปได้ก็ลากเลือด ทำให้จดจำได้แม่นเลย

                 และสิ่งที่ทำให้หลายคนประทับใจในเรื่องวิงแมน  ก็คือประเด็นความยึดมั่นความรักการเป็นฮีโร่ของเคนตะ ที่จิตใจของเคนตะยังคงรักฮีโร่จนถึงมัธยมปลาย ทั้งๆ ที่คนรอบข้างมองว่าเป็นเรื่องของเด็กประถมมากกว่ามัธยมปลายทำให้รู้สึกรังเกียจ และมองว่าเคนตะบ้า แต่อย่างไรก็ตาม เคนตะก็ยังคง

                  แม้ว่าบางครั้งพระเอกจะถูกดูดเอาความฝันความชอบการเป็นฮีโร่ออกไป จนคิดว่าความฝันที่ชอบฮีโร่นั้นมันไร้สาระ

                 ความชอบของคนเรานั้น มันไม่เหมือนกัน สิ่งที่หลายคนเห็นมันไร้สาระ ไม่ว่าจะเป็นการ์ตูน หรือฮีโร่ ที่มองว่าเป็นเรื่องของเด็ก เมื่อเราเติบโตมามีความรับผิดชอบต่างๆ   ก็อาจหลงลืมความชอบเหล่านั้นไป ทั้งๆ ที่เราก็เติบโตกับเรื่องไร้สาระนี้เลยมา เรื่องสาระนี้ได้สอนเราให้รู้จักคุณธรรม  สอนให้เรารู้จักความกล้า รู้จักผิดชอบชั่วดี ตัวอย่างพระเอกเรื่องนี้ที่กล้าเผชิญหน้าเรื่องต่างๆ และเพราะความรักฮีโร่นั้นเองทำให้พระเอกผ่านพ้นเรื่องร้ายๆ มาได้

                 วิงแมนยังคงเป็นการ์ตูนที่หลายคนประทับใจหลายคน แม้ว่ามันจะเป็นเก่าหลายปีแล้วก็ตาม

     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน
    นิยายแฟร์ 2024

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×