คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #311 : รีวิวนิยาย My Boss Lover ท่านผู้นำของผมไม่ได้น่ารัก + ทำไมหลายคนชอบแนวฮาเร็ม
ยังจำ (รีวิวไลท์โนเวลแบบแมวๆ) My Boss Lover ท่านผู้นำของผมไม่ได้น่ารักขนาดนี้ ซึ่งเป็นนิยายในเว็บเด็กดี ได้หรือเปล่าครับ
http://writer.dek-d.com/cammy/writer/viewlongc.php?id=125456&chapter=242
หลังจากที่ผมสับนิยายแบบไม่ไว้หน้า Dark Princess หรือ Seberjung r ผู้แต่งนิยายเรื่องนี้ก็รับคำแนะนำผม (ที่ไม่เหมือนคำแนะนำสักเท่าไหร่) ไปรีไรท์ใหม่เพื่อลองส่งไปสำนักพิมพ์ แต่ถูกปฏิเสธหมด (อาจเป็นเพราะเป็นแนวที่ไม่เหมาะสำนักพิมพ์ สักเท่าไหร่ละมั้ง) และนั้นทำให้ผู้แต่งนิยายตัดสินใจที่จะรีไทน์นิยายใหม่อีกครั้ง ด้วยความร่วมมือโดยคุณ Mister American ผู้เป็นพี่ชาย และทำเป็นไลท์โนเวลานิยายทำเอง โปรโมทเอง ขายเอง (ยกเว้นกินเอง)
หน้กปกไลท์โนเวล My Boss Lover ท่านผู้นำของผมไม่ได้น่ารักขนาดนี้
รายละเอียดและสามารถสั่งซื้อได้ที่ https://www.facebook.com/MyBossLover
พูดถึง “หนังสือพิมพ์เอง” (ผมขอเรียกว่า “หนังสือทำมือ” นะครับ เพราะ เขียนเอง พิมพ์เอง จัดรูปเล่มเอง มันทำด้วยมิและมันสมองของตนเองนี้น่า) ถือว่าเป็นทางเลือกอีกทางเลือกหนึ่งที่ดีสำหรับคนเขียนนิยาย และเขียนการ์ตูน ที่ไม่สามารถฝ่าด่านระบบทุนนิยมอันแข็งแกร่งได้ อาจเป็นเพราะเราเป็นนักเขียนอินดี้ โนเนม ผลงานของเราไม่เหมาะกับตลาด ไม่ถูกสเป็กสำนักพิมพ์ ไม่สามารถปรับเปลี่ยนเนื้อหาที่สำนักพิมพ์แนะนำได้ หรือไม่ก็กลัวโดนโกงรายได้ ถูกจำกัดต่างๆ มากมาย แต่เราเชื่อว่านิยายเรานั้นมีเนื้อหาสนุก น่าจะเหมาะสำหรับคนบางกลุ่ม เราอยากให้ส่งสารทัศนคติและมุมมองของตนให้คนอื่นรับรู้ ในเมื่อสำนักพิมพ์ไม่ตอบรับ เราก็พิมพ์นิยายขายแทนเสียเลย
(แน่นอน รวมถึงฝีมือเรามือไม่ถึง กาก แต่คิดว่านิยายของเราขายได้ หรือไม่ก็อยากพิมพ์หนังสือออกมาสักเล่ม แบบมืออาชีพด้วย ซึ่งกรณีนี้ไม่ค่อยเห็นสักเท่าไหร่ เพราะนักเขียนทุกคนรู้ตัวดีว่าผลงานเราเหมาะหรือไม่เหมาะ และการทำหนังสือพิมพ์เอง)
ปัจจุบันเราเห็น “หนังสือพิมพ์เอง ขายเอง” เยอะขึ้น โดยเฉพาะวงการโดจิน ฟิค ซึ่งแน่นอนว่าการ์ตูนเหล่านี้ไม่เหมาะพิมพ์ขายเอารายได้อยู่แล้ว (ยกเว้นที่ญีปุ่นที่วงการโดจินสร้างมูลค่ามหาศาลมาก) พวกโดจินที่ไม่เหมาะแก่การตีพิมพ์วงกว้างอย่าง พวก วาย และหื่น (+18) ซึ่งโดจินหื่น +18 นี้ผมขอบอกว่าลายเส้นนักเขียนการ์ตูนไทยนั้นนับวันวาดเก่งทุกวัน จนเหมือนมืออาชีพญี่ปุ่นแล้ว และภาคภูมิใจ (หรือเปล่า?) เพราะวงการโดจินทำให้ผมได้เห็นนักเขียนหลายคนมีทัศนคติเกี่ยวกับฮาเร็มที่ตรงใจผม ทั้งๆ ที่ผ่านมาผมก็นึกว่ามีตัวผมคนเดียวในประเทศที่มีทัศนคติฮาเร็มไม่เหมือนคนอื่นแท้ๆ (เอาไว้พูดถึงไลท์โนเวล +18 คราวหน้านะครับ)
แน่นอนว่าข้อดีของ “หนังสือทำมือ” มีข้อดีมากมาย แม้ข้อเสียของมันคือมันเป็นสื่อที่ไม่สามารถแพร่หลายเป็นวงกว้างมากนัก เพราะคนทำก็ไม่ได้มีเงินทุนมากมาย แต่หนังสือทำมือก็เป็นสิ่งที่พิสูจน์แล้วว่า เป็นสื่อที่เปิดกว้างให้ผู้เขียนมีอิสระการนำเสนอ สามารถเสนอเรื่องราวต่างๆ โดยไม่กังวลเนื้อหา
นอกจากนี้จุดประสงค์การทำ “หนังสือทำมือ” ก็คือการเรียนรู้ความยากลำบากในการทำหนังสือสักเล่มว่ามันเป็นยังไง ปกติการกระบวนการพิมพ์หนังสือเล่มหนึ่งของสำนักพิมพ์หนึ่งจะมีหลายฝ่ายหลายชีวิตเข้ามาเกี่ยวข้องกว่าจะพิมพ์หนังสือออกมาขายได้ หากแต่เมื่อเราตัดสินใจจะพิมพ์เอง เราก็ต้องทำหน้าที่ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น การเขียนเอง, วาดเอง (หรือจ้างคนวาด), พิสูจน์อักษร, หาคำผิด, เข้ารูปเล่ม, ติดต่อสำนักพิมพ์, ขายหนังสือ, จัดส่งหนังสือ สิ่งเหล่านี้เราต้องทำทั้งหมด ซึ่งยากลำบากและใช้เวลานานมาก แต่อย่างไรก็ตาม ผลลัพท์ที่ออกมานั้นคุ้มค่า เพราะทำให้เราได้ประสบการณ์ ที่จะสามารถพัฒนางานเขียนในอนาคตได้
ยอมรับว่าครั้งหนึ่งผมเคยคิดจะทำหนังสือทำมือนะครับ แต่ไม่ใช่แบบนิยายไลท์โนเวลหรอก แบบอยากพิมพ์เรื่องฆาตกรดู ผมคิดว่าน่าจะขายได้ แต่พอดีสำนักพิมพ์ต่วยตูนติดต่อเสียก่อน และผลงานก็ได้รับการตีพิมพ์เรื่อยๆ ทำให้ผมยังรอว่าต่วยตูนจะเอาผลงานผมไปรวมเล่มฆาตกรโหดสะท้านโลก 2 อีกหรือเปล่า (เล่มแรกจำหน่ายไปแล้ว ไม่ตรวจพิสูจน์อักษรเลยพับผ่า)
ผมชอบภาพประกอบในเล่มนะ
กลับมาเรื่องนิยายที่ผมจะพูดต่อ แน่นอนครับสำหรับหลายคนที่ไม่ได้อ่านนิยายเรื่องนี้ หรืออ่านนิดหน่อย หรืออะไรก็ตามเถอะ ตรงจุดนี้ไม่สำคัญครับ เพราะประเด็นต่อไปนี้ผมจะเน้นเรื่องการแต่งนิยายแนวฮาเร็มสักเรื่องหนึ่งว่าต้องมีอะไรบ้างมากกว่า โดยมีเรื่องนี้เป็นตัวอย่างเฉยๆ
My Boss Lover เป็นเรื่องราวของเด็กหนุ่มชาวไทยดวงซวยคนหนึ่งชื่อ อาโออิ ที่มาศึกษาต่อในประเทศญี่ปุ่นด้วยเหตุผลว่า อยากจะเนื้อหอมแบบเหมือนในการ์ตูนที่อ่านมาก่อน แต่ปรากฏว่ามันไม่ง่ายอย่างที่คิด
จนกระทั่งวันหนึ่ง เขากลับได้เก็บเด็กสาวคนหนึ่งมาจากถังขยะ เธอคนนั้นไม่ใช่เด็กสาวธรรมดา แต่เธอนั้นคือ ลอร่า เอริ์ล เบเนวิกต์ อดีตผู้นำเผด็จการแห่งสาธารณรัฐเซมิฟาเลียที่พึ่งถูกรัฐประหารไปเมื่อไม่นานมานี้ และเพื่อตอบแทนที่อาโออิช่วยเธอไว้ เธอจึงทำสัญญาณทาสแก่อาโออิให้เป็นทาสของเธอจนกว่าชีวิตจะหาไม่ และนั่นเป็นจุดเริ่มต้นของเรื่องปวดหัววุ่นวายในเวลาต่อมา
ก่อนอื่นสิ่งที่ผมอยากจะชมคือการทำรูปเล่มนั้น ทำออกมาดีและสวยมากครับ มองเผินๆ นึกว่าไลท์โนเวลของสำนักพิมพ์ดังๆ เสียอีก (ซึ่งก็น่าเสียดายที่ไม่มีภาพสี และหน้าแนะนำผมอยากแนะนำเป็นภาพร่างต้นแบบมากกว่า ผมว่าจะออกมาดูดีมาก) และราคาของนิยายนั้นถือว่ารับได้ระดับหนึ่ง เพราะไม่ได้ถูกมากหรือแพงมาก ถ้าเทียบจำนวนหน้าถือว่าถูกด้วยซ้ำ
ส่วนตัวผมชอบภาพประกอบเรื่องนี้ครับ ดูภาพแล้ว ผมก็นึกว่าภาพวาดเป็นฝีมือของคนญี่ปุ่นเสียอีก ก็น่าชื่นชมครับ ที่คนวาดการ์ตูน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราว หรือภาพประกอบ ฝีมือทัดเทียมเท่ากับญี่ปุ่นทุกวี่ทุกวัน ผมชอบภาพคาแร็คเตอร์ของพระเอกนะครับ (ฮ่า)
ผู้วาดประกอบนิยายท่านนี่คือ Kannovaku Baku มีผลงานการ์ตูนสั้น North Blade by Kannovaku Baku เล่ม 4 (สำนักพิมพ์สยาม เหมือนผมจะเคยอ่านนะ )
อย่างไรก็ตามสิ่งที่ตำหนิคือ การพิสูจน์อักษรครับ คำผิดถือว่าเยอะพอสมควร แถมบางคำผมก็ไม่เชื่อว่าจะเขียนผิด ปกติผมก็ไม่ได้เรื่องมากเรื่องคำผิดสักเท่าไหร่ แต่พอดีจุดคำผิดนั้นดันทำให้ชวนอารมณ์เสีย อ่านแล้วสะดุดพอสมควรครับ (คือมันไม่ควรเป็นคำผิดอย่างงั้นแหละ)
ส่วนที่ขอตินิดหน่อยคือตัวอักษรในนิยายครับ คือตัวหนังสือเล็กเกินไปครับ อ่านค่อนข้างยากพอสมควร คำแนะนำผมคืออยากให้คนเขียนลองเอาตัวอักษรไปเปรียบเทียบตัวหนังสือนิยายไลท์โนเวลของสำนักพิมพ์อื่นๆ ดู จะพบว่าตัวอักษรจะแตกต่างพอสมควร เพราะตัวอักษรของนิยายท่านตัวเล็กกว่า และเว้นบรรทัดเยอะกว่า ทำให้พื้นที่กระดาษเยอะขึ้นโดยไม่จำเป็น ทางทีดีคือพยายามทำตัวหนังสือให้มีขนาดเท่ากับนิยายไลท์โนเวลจะดีกว่า ขนาดตัวหนังสือคงประมาณ 17 มั้ง ผมก็ไม่แน่ใจสักเท่าไหร่ (เป็นการแนะนำที่ขอไปที่มากๆ)
และคำแนะนำพิเศษผมคือการเพิ่มลูกเล่นตัวอักษรครับ อย่างนิยายรักพิมพ์ หลายเล่ม มีการเล่นลูกเล่นตัวอักษรให้น่าตื่นตาตื่นใจเช่น เสียงปืนมีเพียงเสียง “ปัง ปัง” ลองเพิ่มลูกเล่นหน่อยเช่น “ปัง ปัง” (ตัวอย่างนิยายชมรมคนไร้เพื่อน) เพราะผมเห็นว่าเรื่องนี้มีฉากยิง ฉากต่อสู้ หรือฉากตื่นเต้น หลายฉากเหมือนกัน การเพิ่มลูกเล่นตัวอักษรก็น่าจะช่วยให้ดูแล้วมีสีสันขึ้นด้วยครับ
ส่วนต่อมาคือเชิงอรรถ คือการใส่เชิงอธิบายเชิงอรรถน่าจะใส่ตรงด้านล่างหน้าของเชิงอรรถไปเลยครับ ไม่ต้องใส่ตรงหน้าจบบท เพราะมันขี้เกียจในการค้นหาเชิงอรรถมากๆ ครับ
วางขายในงานหนังสือด้วยล่ะ
ส่วนต่อมาคือเชิงอรรถ คือการใส่เชิงอธิบายเชิงอรรถน่าจะใส่ตรงด้านล่างหน้าของเชิงอรรถไปเลยครับ ไม่ต้องใส่ตรงหน้าจบบท เพราะมันขี้เกียจในการค้นหาเชิงอรรถมากๆ ครับ
My Boss Lover เป็นนิยายแนวฮาเร็ม คอเมดี้ โรแมนติก ซึ่งคนแต่งเป็นคนไทย จะว่าไปผมก็ไม่ค่อยเห็นนิยายแนวฮาเร็มที่คนไทยแต่งสักเท่าไหร่มากนัก
แน่นอนหลายคนอาจเถียงผมว่าใครบอกว่าแนวฮาเร็มไม่ค่อยมี นิยายสมัยนี้มีเยอะจะตายแนวในเว็บเด็กดีอย่างไรนิยายเหล่านั้นผมมองว่ามันเป็นนิยายที่ไม่ใช่ฮาเร็มแท้ๆ มากนัก
คำถามครับ ทำไมหลายคนถึงชอบฮาเร็ม ทั้งๆ ที่แนวฮาเร็มเป็นอีกแนวที่โครตสูตรสำเร็จ บางคนออกมาด่าว่าแนวฮาเร็มทำให้วงการการ์ตูนญี่ปุ่นตกต่ำลง (ปานนั้น) โดยไม่เคยบ่นแนวจัมป์ แอ็คชั่นเลยแม้แต่น้อย ทั้งๆ ที่สูตรสำเร็จเหมือนกัน (เยอะกว่าด้วย) แนวฮาเร็มมักเห็นบ่อยๆ ที่พระเอกหน้าตาธรรมดา ที่ไม่มีดวงผู้หญิงเลย แต่จู่ๆ ดวงผู้หญิงขึ้น พล็อตพระเอกไปเรียนโรงเรียนหญิงล้วน. อยู่บ้านพักกับผู้หญิงหลายคน, สาวมาอยู่บ้านพระเอก ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ พล็อตเหล่านี้เราพบเห็นในแนวนี้อยู่แล้ว
พูดถึงแนวฮาเร็ม คุณมักจะพูดถึงนิยายที่พวกผู้หญิงรักพระเอกใช่เปล่าครับ ทั้งๆ ที่พระเอกไม่เห็นอะไรดี ไม่เห็นหล่อ ทำอะไรก็ไม่ได้เรื่องแต่ทำไมพวกผู้หญิงถึงชอบพระเอกคนเดียวกัน และแย่งชิงพระเอกคนนี้ อย่างไรก็ตาม นั้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งขององค์กรประกอบแนวฮาเร็มเท่านั้น มันเป็นของตายอยู่แล้ว ที่แนวฮาเร็มจะต้องมีตัวละครหลักผู้หญิงที่ชอบคนเดียวกัน 2-3-4 คน
อย่างไรก็ตาม ใช่ว่าเรื่องไหนที่มีตัวละครหลักผู้หญิงเยอะๆ และแอบชอบผู้ชายคนเดียวกัน จะเรียกฮาเร็มที่ดี และเป็นแนวฮาเร็มแล้วละ นั้นเป็นสิ่งที่ผิดครับ เพราะองค์ประกอบที่จะเรียกฮาเร็ม นอกเหนือตัวละครหญิงหลักชอบผู้ชายคนเดียวกันแล้ว สิ่งสำคัญที่สุดคือ
-การกระจายบทตัวละคร
-ฉากปักธงตัวละครหญิงทุกคน (ไม่ใช่แค่ผู้หญิงคนเดียว)
-พระเอกธรรมดาสร้างคนดูให้น่าอิจฉามากเพียงไหน
สิ่งเหล่านี้สำคัญมาก หากแต่นิยายบางเรื่องพระเอกสนแต่บ้าพลังปล่อยพลังไม่สนที่จะทำอีเวนท์สาวๆ และสาวๆ บทน้อย เบาบางจนเหมือนตัวประกอบ อันนั้นไม่ใช่ฮาเร็มที่ดีแล้วละ และไม่ใช่แนวฮาเร็มด้วยซ้ำ
การกระจายบทตัวละคร สำคัญครับใครว่าไม่สำคัญ สมมุติการ์ตูนเรื่องหนึ่ง สมมุติฮาเร็มมีสาว 31 คน ทุกคนต่างมีคาแร็คเตอร์เป็นของตัวเอง และทุกคนต่างชอบพระเอกคนเดียวกัน แต่ บทของสาวแต่ละคนน้อยนิดยิ่งกว่าตัวประกอบ ตัวละครเด่นๆ กับเป็นพวกผู้ชาย กับผู้หญิงหลักไม่กี่คน คนที่หลายอวยไม่ค่อยมีบท เน้นฉากต่อสู้แอ็คชั่นท่าเดียว พระเอกไม่สนทำอีเวนท์อะไรเลย แบบนี้ไม่เรียกฮาเร็มแล้วครับ เรียกแนวผู้หญิงเยอะมากกว่า และกลายเป็นฮาเร็มที่มีน้ำแต่ไม่เนื้อ ไม่มีคุณภาพ ฮาเร็มไม่จำเป็นต้องตัวละครหญิงชอบพระเอกเยอะครับ บางครั้งแค่ 3 คนก็ทำให้เรื่องมันกลมกล่อมก็ได้แล้ว
นี่คือสิ่งที่เป็นปัญหามากในนิยายในเว็บเด็กดีหลายเรื่องครับ เราเน้นการขับเคลื่อนเนื้อเรื่อง มากกว่าสนใจฉากอีเวนท์ของตัวละคร ฉากรู้จักตัวละครหลักในเรื่อง การพูดคุยกับตัวละคร การสร้างบทอวยตัวละคร
ทำไมหลายคนถึงอวยตัวละครหญิง 2D ออกหน้าออกตา นั้นไม่ใช่เพราะตัวละครหญิงนั้นมีหน้าตาน่ารัก หรือสาวสวย นมโต ทวินเทล อย่างเดียว แต่เพราะบทของตัวละครที่ทำออกมาน่าอวย กินใจ หลายคนเทใจให้หรือไม่ ไปจนถึงฉากรักๆ ระหว่างเธอที่มีต่อพระเอกนั้นมันโรแมนติกซาบซ่าหัวใจมากขนาดไหน สิ่งเหล่านี้ทำให้หลายคนมองตัวละครหญิงเหล่านี้ว่า เป็นตัวละครหญิงในอุดมคติ เป็นผู้หญิงที่ดี น่าหลงใหล
ผมย้ำอยู่บ่อยๆ ครั้ง ยุคนี้มันยุคขายคาแร็คเตอร์ คนเขาจะดูบทของตัวละคร รูปร่างหน้าตา (คิโม่ยหน่อยก็ดูนม ดูชุดการแต่งตัว) ค่อยตัดสินใจดูเนื้อเรื่องอีกที ว่ามันเข้ากลับความชอบหรือเปล่า
ทำไมพระเอกในแนวฮาเร็มมักจะกากธรรมดา หรือบื้อเรื่องความรัก เหตุผลก็พูดบ่อยๆ คือเป็นพระเอกที่จับต้องได้ และเป็นคนดูสามารถสมมุติว่าคุณเป็นพระเอกคนนี้ได้ แม้เนื้อหาจะสร้างให้พระเอกน่าอิจฉาเพียงใด แต่คนดูก็สามารถสมมุติตนเองว่าเป็นพระเอกฮาเร็มได้ นี่คือสาเหตุสำคัญที่หลายคนอินกับแนวนี้ นอกจากนี้เรายังสนุกการพัฒนาการของพระเอกด้วยครับ
ส่วนพระเอกเก่ง เทพทรู นั้นผมมองว่าเป็นพระเอกที่ไม่ค่อยจับต้องได้สักเท่าไหร่ แต่เป็นตัวละครที่สร้างขึ้นเพื่อสนองความต้องการของผู้เขียน กับคนอ่านกลุ่มหนึ่งที่มีรสนิยมที่ต้องการความทันใจ และคิดว่าพลัง ความสามารถนั้นเหมาะแล้วที่จะมีคนชอบ สาวๆ หลง (แต่นิสัยก็ยังบื้อความรักเหมือนเดิม) ตรงจุดนี้ผมไม่ค่อยได้อ่านพระเอกแบบนี้สักเท่าไหร่ (แต่ถ้าพระเอกมีพลังแฝงก็พอได้อยู่)
สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่แนวอื่นๆ ไม่มี แน่นอนว่าแนวแอ็คชั่น ต่อสู้ก็มีฉากอวยนางเอก แต่นั้นบทของตัวละครก็มักกลบด้วยฉากต่อสู้ และการเพิ่มตัวละครใหม่ๆ อยู่ตลอด แต่แนวฮาเร็มไม่ได้เน้นเรื่องพวกนี้มากนัก ((หากมีฉากต่อสู้ มันก็เพียงแค่ส่วนประกอบ ไม่ใช่เนื้อหาหลัก)
ฮาเร็มส่วนมากที่ไม่มีฉากต่อสู้ แต่สิ่งที่ทดแทนคือการแก้ปมพระเอกที่มีต่อสาวๆ ตัวหลักในเรื่องครับ ที่พระเอกทำอะไรหลายอย่างที่ทำให้สาวๆ นั้นหลงรักพระอก หลายคนมักบอกว่าพวกผู้หญิงรักพระเอกง่ายไป แค่ไปช่วยชีวิตพระเอก พระเอกบอกสาวๆ ว่ารัก แค่นี้ก็ชอบแล้ว อันนี้ผมไม่เถียงครับ เพราะแนวฮาเร็มเดี๋ยวนี้มันเยอะจริงๆ นิยายเด็กดีก็ง่ายด้วย มีเรื่องหนึ่งแนวแฟนตาซี ตอนแรกสาวซึนเดเระจจอมเวทย์ตอนแรกเกลียดพระเอก ตอนหลังชอบพระเอก (เพราะพระเอกช่วยเธอไว้) แล้วจบด้วยการนอนเตียง ขอบอกว่าเรื่องราวเหล่านี้จบในตอนเดียวครับ และความยาวไม่กี่หน้าด้วย!! จะไปเรอะ แค่ไม่กี่หน้าก็เอาแล้วเรอะ
ฮาเร็มที่ดีควรใส่เหตุผลที่พวกสาวๆ รักพระเอก ไม่เพียงแค่พระเอกช่วยชีวิตแล้วจะตกหลุมรักในทันที แต่มันต้องมีเหตุผลที่ผุ้หญิงคนนั้นรักชายคนนั้นชนิดไม่สามารถรักชายคนอื่นอีก พระเอกเท่านั้นที่เธอจะรัก ยิ่งมีเหตุผลแบบนี้เท่าไหร่ ฮาเร็มก็มีค่ามากขึ้น
คำถามต่อมา ทำไมผมถึงพล่ามเรื่องพวกนี้ ไม่เห็นเกี่ยวกับการรีวิวผู้นำไม่น่ารักตรงไหนเลย สรุปว่าสนุกหรือไม่สนุกว่ะ คนเขียนเมากาวหรือเปล่า?
คำตอบคือสิ่งที่ผมพล่านเหล่านี้ ผมเคยพูดในบทความก่อนๆ ที่เป็นจุดให้คนเขียนนิยาย ฯ ไปปรับปรุงครับ รวมไปถึงการเพิ่มเติมเนื้อหา และบางอย่างคนแต่งนิยายก็รู้ตัวดีอยู่แล้ว (และไม่รู้ว่าเป็นอีกคนหรือเปล่าที่โดนผมล้างสมอง นี้ถ้าผมไปตั้งเพจ คงได้ลูกหาบเป็นหมื่นๆ คนเลยนะเนี้ย)
ตอนแรกๆ ที่ผมรีวิวนิยายเรื่องนี้ ผมวิจารณ์เรื่องการให้ความสำคัญบทตัวละครให้มากกว่านี้ /ไม่ว่าจะเป็นการเน้นเสน่ห์ของฮาเร็ม มีบทอวยตัวละคร แสดงสเน่ห์ละคร ไม่ใช่ให้เนื้อเรื่องดำเนินอย่างเดียว ซึ่งผู้เขียนก็รับคำวิจารณ์นี้ไปปรับปรุงแก้ไข เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นเสน่ห์ของฮาเร็ม ซึ่งหลังจากที่ไปปรับปรุง นิยายก็ทำออกมาดีระดับหนึ่ง ที่คุ้มค่าเงินที่เสียไประดับหนึ่ง
นอกจากนี้ ผมก็ยังเห็นศักยภาพของคนเขียนที่น่าจะพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นได้ เพราะหา ค่อนข้างยากครับที่จะหาคนไทยที่เขียนนิยายแนวฮาเร็มพระเอกมนุษย์เดินดินธรรมดา และที่สำคัญนิยายที่ผมรีวิวนั้นเป็นนักเขียนโนเนมที่ตั้งใจที่จะเขียนนิยายแนวฮาเร็มแบบญี่ปุ่นในฝันดู ตั้งใจถึงขั้นทำหนังสือทำเองด้วย
แน่นอนว่านิยายจะต้องมีจุดที่ต้องปรับปรุงอยู่บ้าง และต่อไปนี้ผมคิดว่าควรปรับปรุงในนิยายเรื่องนี้ ซึ่งมีทั้งหมด 2 ข้อหลักใหญ่
ประโยค การที่หลายคนจะอ่านนิยายเรื่องหนึ่ง ทักษะของคนเขียนถือว่าสำคัญมากๆ ครับ ว่าภาษาที่ใช้จะทำให้คนอ่านรู้สึกสนุก และอยากติดตามมากขนาดไหน
รูปประโยค ผมเห็นหลายประโยคที่คนแต่งเขียนติด ๆ กัน ทั้งๆ ที่เราสามารถแยกประโยคขึ้นบรรทัดใหม่ได้ ยกตัวอย่างหน้า 50
ที่สำคัญสำหรับผมก็คือ เธอเป็นผู้หญิงที่ผมหลงใหลเธอมาโดนตลอดนับตั้งแต่มาประเทศนี้ แน่ล่ะว่า รายละเอียดของสาเหตุที่ผมหลงใหลในตัวของรุ่นพี่นั้นเอาไว้มีโอกาสเล่าให้ฟังที่หลัง เพราะสำหรับตอนนี้แล้วการเฝ้ามองรุ่นที่กำลังฟาดไม้เคนโด้ไปมาในโรงฝึกนั้นสำคัญกว่าการเล่าเรื่องอดีตพวกนั้นเสยเชียว ขณะที่กำลังชื่นชมชื่นชนกับความงดงามของรุ่นพี่เสมือนหมู่มวลแมลงที่ต่อมหมู่มวลพฤกษานั้น เสียงกระดิ่งเข้าเรียนของโรงเรียนก็ดังขึ้นทำลายความสุขยามเช้าของผมไปจนหมดสิ้น
นี่เป็นเพียงรูปประโยคหลายประโยคที่บรรยายในลักษณะนี้ ซึ่งมีหลายๆ อย่างยังต้องปรับปรุงแก้ไขครับ อย่างแรกคือมันยังไม่กลมกล่อมครับเพราะการใช้ภาษายังติดขัดหลายๆ จุด และบางประโยคไม่ควรติดกันครับ เพราะมันสามารถแยกออกมา ไว้บรรทัดใหม่ได้
ทำไมต้องแยกบรรทัดใหม่ เพราะประโยคมันคนละอารมณ์ โครงสร้างคนละอย่างกันคือส่วนมากประโยคจะประกอบด้วยใคร ทำอะไรที่ไหน และหากเกิดสองประโยคเอามารวมๆประโยคเดียวกันจะเกิดอาการอ่านแล้วรู้สึกแปลกๆ อธิบายยาก ดังนั้นผมลองแก้ไขรูปประโยคที่ยกตัวอย่างมา ผลก็ออกมาเช่นนี้
สำหรับผมก็คือรุ่นพี่เป็นผู้หญิงที่ผมหลงใหลเธอมาโดนตลอดนับตั้งแต่มาประเทศนี้ ส่วนรายละเอียดที่มานั้นไว้จะเล่าให้ฟังคราวหน้าหากมีโอกาส เพราะสำหรับตอนนี้แล้วการเฝ้ามองรุ่นที่กำลังฟาดไม้เคนโด้ไปมาในโรงฝึกอย่างจดใจจ่อ (สาบานได้ว่าผมไม่ใช่พวกสโตรกเกอร์โรคจิตตามติดชีวิตรุ่นพี่นะครับ)
แต่มันเป็นช่วงเวลาสั้นๆ ขณะที่ผมกำลังชื่นชมชื่นชนกับความงดงามของรุ่นพี่ที่หลงไหลอยู่นั้น เสียงกระดิ่งเข้าเรียนของโรงเรียนก็ดังขึ้นทำลายความสุขยามเช้าของผมไปจนหมดสิ้น
ผมลองเขียนตามแบบผมดู ผมก็พบว่ามีหลายประโยคไม่ต้องบรรยายให้เข้าใจยาก จนประโยคยาวเกินความจำเป็น เพียงแค่สร้างประโยคที่คนอื่นเข้าใจง่าย สื่อให้ชัดเจน
ตรงจุดนี้สำคัญมากครับ เพราะมันมีผลต่ออารมณ์การอ่านของผู้อ่านหลายคน บางประโยคดูแล้วสับสน ใช้คำซ้ำไปซ้ำมา ผมเห็นหลายประโยคในนิยายเรื่องนี้บรรยายในลักษณะเดียวกัน เช่นฉากเปิดเรื่อง
ท่าเรือขนส่งสินค้า สาธารณรัฐเซมิฟาเลีย
ท่ามกลางความมืดมิดของท้องฟ้ายามราตรีอันไร้ซึ่งแสงจันทร์ที่สาดส่องลงมาของคืนเดือนมืด ในฤดูเหมันต์ อันแสบ (น่าจะเป็น “แสน”) หนาวเหน็บ ในบรรยากาศอันแสนเงียบงั้น ณ บริเวณท่าเรืออันเสียบสงัดไร้ซึ่งสุ่มเสียงใดๆ นั้นก็บังเกิดเหตุการณ์หนึ่งขึ้นทำลายความเงียบงันนั้นไปเสียสิ้น
คือประโยคนี้ใช้คำว่า “มืด” เยอะไปครับ ไม่ว่าจะเป็น มืดมิด ราตรี เดือนมืด คือบางอย่างพูดไปแล้วไม่ต้องเอามาทำซ้ำครับ ไร้ซึ่งแสงจันทร์ เราก็ไม่จำเป็นต้องใช้คำว่าเดือนมืดก็ได้ครับ รวมไปถึงใช้คำว่า “เงียบ” ซ้ำด้วย ไม่ว่าจะเป็น “เงียบงัน”, “เงียบสงัด” , ไร้ซึ่งสุ่มเสียงใดๆ นอกจากนี้ท่าเรือไม่ต้องบรรยายก็ได้ครับ เพราะขึ้นต้องมีคำว่าท่าเรือขึ้นต้นอยู่แล้ว
ถ้าผมเขียนใหม่จะเป็นแบบนี้
คืนวันหนึ่ง ณ บริเวณท่าเรือขนส่งสินค้า สาธารณรัฐเซมิฟาเลีย
แค่นี้จริงๆ ครับ และบรรทัดถัดมาก็เล่าเพียง เป็นเดือนมืด ฤดูหนาว และสถานไร้ผู้คน ยกเว้นว่าอีกไม่กี่หน้าที่ข้างหน้าจะมีเหตุการณ์วุ่นวายเกิดขึ้น สรุปคือเราไม่จำเป็นต้องอะไรให้คนอ่านสับสนเกินความจำเป็น
การดำเนินเรื่อง สิ่งที่ผมพูดต่อไปนี้ มันอาจแรงสำหรับคนแต่งนิยายเรื่องนี้สักหน่อย แต่ผมอยากให้คนแต่ง หรือคนที่จะแต่งนิยาย (ไม่ว่าแนวไหนก็ตาม) อ่านให้จบ และลองพิจารณาดู ว่าสิ่งที่ผมเขียนต่อไปนี้เห็นด้วยหรือไม่
ในเรื่องพล็อตนิยายนั้นผมไม่ติครับ เพราะมันเป็นแนวขายฮาเร็มตามสูตรอยู่แล้ว แต่มีสิ่งหนึ่งที่ผมอยากตินั้นคือนิยายเรื่องนี้มีฉากที่ไม่จำเป็นเยอะไปหน่อย!
ฉากไม่จำเป็นที่ว่าหมายถึงอะไร หมายถึงฉากที่ไม่จำเป็นต้องใส่ก็ได้ มันเป็นฉากที่ไม่ได้สำคัญต่อเนื้อเรื่องแต่อย่างใด ไม่ใช่ฉากอวย ไม่ใช่ส่งผลต่อเนื้อเรื่อง หรือฉากนี้สามารถย่อให้จบเพียงไม่กี่บรรทัดโดยไม่ต้องยืดก็ได้
ปกติแนวฮาเร็ม ฉากที่ใส่ก็มีอีเวนท์พระเอกพูดคุยกับสาว, ฉากเซอร์วิต, อวยตัวละคร, ปมปัญหา, การปักธง ฉากเหล่านี้จะทำให้หลายคนรู้สึกอินและอิจฉาพระเอกใช่เปล่าครับ แต่อนิจจาคนเขียนเหมือนจะตีความฉากเหล่านี้ผิด คิดว่าเป็นฉากแนะนำตัวละคร ฉากเพิ่มรายละเอียดตัวละคร โดยหารู้ไม่ว่านั้นทำให้น่าเบื่อ และทำให้นิยายยาวเกินความจำเป็น
ยกตัวอย่างครับ ฉากโซระปรากฏตัวครั้งแรกความจริงไม่จำเป็นต้องใช้เลยแม้แต่น้อย เพราะเป็นฉากที่แทบไม่มีอะไรเลย มันไม่ใช่อีเวนท์ หรือมีความสำคัญต่อเนื้อเรื่องมากนัก บทสนทนาเพียงแค่บอกว่าเป็นห่วงพระเอก หรือไปต่างจังหวัดนั้นไม่ได้มีอะไรพิเศษอะไร พูดง่ายๆ ถือว่าเป็นฉากที่น่าเบื่อ และเกิดความรู้สึกไม่จำเป็น
หากย่อๆ นี้เพียงแค่พระเอกกลับมาที่ห้องพักและบรรยายว่าตอนนี้เขาอยู่ลำพึง เพราะโซระเพื่อนร่วมห้องของเขาไม่อยู่เพราะไปต่างจังหวัด ก็เพียงพอครับ อย่างแรกคือเป็นการโปรยตัวละครที่ตอนแรกไม่สนใจ เพื่อที่ตอนหลังโผล่ออกมากลับกลายเป็นตัวละครที่สำคัญต่อเนื้อเรื่องซะงั้น
อีกสักตัวอย่างหนึ่ง ฉากที่ลอร่าอยู่ห้องพักตามลำพัง และพยายามทำงานบ้าน แต่กลายเป็นว่าทำไปทำมาเละกว่าเดิม ฉากนี้ผมยอมรับว่าน่าเบื่อมาก เพราะมันไม่จำเป็นเลย โอเคคนเขียนต้องการฉากนี้เพื่อแสดงถึงทักษะงานบ้าน 0 ของลอร่า และต้องการตลก แต่ปัญหาคือมันบรรยายหลายหน้าอีกต่างหาก คนอ่านเดาทางได้ มันจึงน่าเบื่อซะงั้น
หากผมเขียนผมจะย่อเพียงแค่ว่า
“ทันทีที่ผมเข้าห้องพัก ผมก็พบภายในห้องพักพังพินาศราวกับที่แห่งนี้เคยเกิดวันโลกาวินาศ ไม่ว่าจะเป็นขยะ เศษจานแตก หนังสือตกเกลือนกลาดบนพื้นเต็มไปหมด และตรงกลางห้องผมก็เห็นตัวการที่ก่อเรื่อง.....”
การ์ตูนวาดเอง เป็นเรื่องสมมุติขึ้นไม่ใช่เรื่องจริงแต่อย่างใด
คำถามต่อว่าเราจะพิจารณายังไงว่าฉากนี้จำเป็นหรือไม่จำเป็น ผมก็ตอบว่าฉากที่สามารถเชื่อมโยงไปข้างหน้าโดยไม่มีอาการสะดุด รวมไปถึงฉากดังกล่าวสำคัญต่อเนื้อเรื่อง พร้อมกับอวยตัวละครไปด้วย
ยกตัวอย่าง รักของนายคุราตะ เล่ม 4 ฉากที่พระเอกกับพวกสาวๆ ทำงานร้านคาเฟ่ และพระเอกกลับบ้านกับโซระ ซึ่งมองเผินๆ เหมือนน่าเบื่อ แต่ความจริงเป็นฉากที่สนุกของนิยาย ไม่ว่าจะเป็นการแสดงจุดเด่นของตัวละคร การอวยตัวละคร รวมไปถึงประเด็นสำคัญโซระเผยความในใจว่าทำไมถึงชอบคุราตะ จนไม่สามารถรักกับชายคนอื่นได้เลย
ในเมื่อนิยายเน้นการบรรยายมุมมองของพระเอกคนเดียว ก็พยายามเน้นจุดนี้นะครับ หากเป็นการบรรยายของคนอื่นก็พยายามที่จะเป็นเหตุการณ์สำคัญต่อเนื้อเรื่อง ทำให้คนอ่านรู้สึกว่าเนื้อเรื่องน่าสนใจขึ้น
แต่นิยายเรื่องนี้ยังขาดส่วนนี้ครับ ความจริงผมก็เข้าใจความรู้สึกของคนแต่งครับ ว่ารักพี่เสียดายน้อง ไม่อยากตัดฉากนี้เพราะเรารู้สึกชอบ อุตส่าห์เขียน แต่อย่างไรก็ตาม บางครั้งเราจำเป็นต้องใจหินในการตัดฉากที่อุตส่าห์คิดมาเดือนกว่าๆ เพื่อให้เนื้อหากลมกลืน ไม่มีน่าเบื่อด้วย
ถ้าสมมุติผมแต่งนิยายเรื่องนี้ ความยาวของนิยายจะลดเหลือเพียง 200 หน้าเท่านั้นครับ!! (เนื้อหานิยายอยู่ที่ 350 หน้า)
ปกติเวลาผมอ่านนิยายแนวฮาเร็ม ผมจะเปิดฉากโรแมนติก, ฉากซาบซ่า, ฉากปักธงของพระเอกก่อนเลยครับ แต่นิยายเรื่องนี้ยังขาดฉากที่ว่านี้ไปนิด พยายามเพิ่มฉากสำคัญต่อเนื้อเรื่อง และเพิ่มฉากสนุกยิ่งกว่านี้ก็จะดีมากครับ
สิ่งที่ผมพูดถึงนิยายเรื่องนี้ก็มีเพียงเท่านี้แหละครับ สรุปคือแม้ว่านิยายเรื่องนี้อาจมีจุดติค่อนข้างเยอะพอสมควร แต่ผมยังคิดว่าผมคุ้มกับเงินที่เสียไปครับ เพระมันเป็นตัวอย่างได้อย่างดีสำหรับคนที่คิดจะลองทำนิยายทำมือว่ามันลำบากขนาดไหน กว่าที่หนังสือแต่ละเล่มออกมาวางแผง
สำหรับคนแต่ง ผมก็ชมจากใจจริงมีอสองอย่างคือพล็อตเรื่องแม้จะเป็นแนวธรรมดา แต่ท่านสร้างเรื่องได้สนุกดีครับ ตััวละครที่ดูธรรมดา ก็ทำให้ดูแล้วเด่นดูน่าอวยดี และสองคือท่านกล้าที่จะทำหนังสือทำเองครับ แม้ว่าจะมีอุปสรรค์มากมาย รวมไปถึงความคิดเห็นที่หลากหลาย แต่ท่านก็จิตใจที่เข้มแข็งมาก ถ้าเป็นผมเองก็คือจิตตกไปพักใหญ่แน่นอน
และผมก็เชื่อว่าคนแต่งจะสามารถพัฒนาให้ดีขึ้นได้ในงานชิ้นต่อไปครับ ซึ่งปัจจุบันคนแต่งก็ยังผลิตผลงานนิยายออกมาเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งผมก็ติดตามเอาใจช่วยอยู่ห่างๆ น่ะครับ
สำหรับหลายคนที่อยากให้ผมรีวิวนิยาย แบบสับละเอียดเละ มีข้อแม้ข้อเดียวคือ นิยายนั้นต้องแนวฮาเร็ม และต้องจบฮาเร็มครับ หากไม่ฮาเร็ม ก็คือแนวสัตว์ประหลาดสยองโลก ผมไม่เสียเวลาอ่านนิยายลัทธิวิน หรือแนวนอกเหนือจากนี้หรอก
ความคิดเห็น