คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #239 : (สปอย Kakumeiki Valvrave 9) กดไลค์พ่อตาย!???
เมื่อคืนวานผมได้โหลดดูอนิเมะเรื่อง Kakumeiki Valvrave ตอนที่ 10 ซึ่งเนื้อหาเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ แต่อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ผมสนใจในตอนที่ 10 นี้ดันไม่ใช่การต่อสู้รบบนอวกาศเสียงดังตูมตาม หุ่นเทพ ดราม่าปวดตับปวดไข่ พระเอกวายกับพระรอง หรือพวกเธอเป็นปีกคู่ของฉันหรอก แต่สิ่งที่สนใจคือการกดไลท์ไว้อาลัยน้องแว่น “ไอนะจัง” ต่างหาก คือสิ่งที่ผลักดันให้คนสองคนต้องล่ะทิ้งความเป็นมนุษย์เพื่อขับหุ่นเพื่อคนที่เรารัก
ปัจจุบันอิทธิพลของสื่ออินเทอร์เน็ตนั้นมีอิทธิพลต่อโลกของเรามากกว่าที่คิด อินเทอร์เน็ตเป็นช่องทางการติดต่อสื่อสารที่รวดเร็ว การสนทนา การหาเพื่อน การทำธุรกิจสามารถทำได้อย่างง่ายดายเพียงแค่กดปลายนิ้ว รวมไปถึงการนำเสนอข่าวสารมากมายที่ทำได้รวดเร็ว ทันเหตุการณ์
นอกจากนี้ อินเทอร์เน็ตยังเป็นช่องทางในการเผยแพร่อุดมการณ์ ความคิดของเรา สิ่งที่เราอยากบอกกับคนทั่วไป ซึ่งคนธรรมดาสามารถโดดดังไปทั่วโลกได้หากพวกเขามีอะไรให้คนในโลกอินเทอร์เน็ตหันมาสนใจเราได้ ยกตัวอย่างเช่น “น้องเนยรักโลก”, เว็บจ่า, เอกเล่นเกม ล้วนเป็นคนดังประจำในอินเทอร์ของแต่ละที่ ไม่ว่าจะเป็นในเว็บไซต์ส่วนตัว, เฟซบุ๊ค และยูทูปที่หลายคนต่างรู้จักในเวลานี้ (Cammy ณ. เด็กดี นับหรือเปล่าว่ะ?)
นอกจากนี้อินเทอร์เน็ตยังเป็นสื่อในการต่อต้านอิทธิมืด เกมทางการเมือง การแฉความทุจริตของคนหรือองค์กร แม้ว่าข้อมูลที่ว่าจะจริงหรือไม่ก็ตาม เพื่อให้สังคมประณามในสิ่งที่เกิดขึ้น
สมัยก่อนเวลาเราไม่ได้รับการเป็นธรรมอะไร เราก็แจ้งตำรวจ ไม่ก็สื่อมวลชน (ครั้งหนึ่งถึงกับมีวลีเด็ดว่า “กรูจะพร้อมไอทีวี” เลยทีเดียว) อย่างในการ์ตูนเรื่อง HARU no KUNI ปิดเกาะปฏิวัติ (มี 4 เล่มจบ ผลงานของวิบูลย์กิจพวกพระเอกต้องสูญเสียเพื่อนรักสมัยเด็กไปเพราะรัฐบาลฆ่าปิดปาก พระเอกนั้นเลือกที่จะแก้แค้น โดยการปิดเกาะ (ที่อยู่พื้นที่ใจกลางเมืองโตเกียว) ทำการปฏิวัติตั้งเป็นประเทศ เพื่อล้อให้สื่อมวลชนสนใจ มาทำข่าว ก่อนที่พระเอกจะแฉสิ่งที่เลวร้ายที่รัฐบาลทำเอาไว้จนพวกพระเอกก็ชนะอิทธิพลมืดของรัฐบาลในที่สุด สิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าแม้เราจะเป็นคนตัวเล็กๆ ก็สามารถงัดข้อกับอิทธิมืดที่ยิ่งใหญ่ได้เหมือนกัน หากได้รับความช่วยเหลือของสื่อ
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันอำนาจสื่อมวลชน การรอให้คนมาทำข่าว มันไม่ทันกินแล้ว ดังนั้นสื่ออินเทอร์เน็ต พวกเว็บเฟซบุ๊ค ยูทูปจึงกลายเป็นแหล่งชั้นดีในการเผยแพร่อุดมการณ์ สิ่งที่เราอยากให้โลกรับรู้ ไม่เว้นแม้แต่พวกพระเอกในการ์ตูนเรื่อง Kakumeiki Valvrave
ไอนะจังสาวแว่น
Kakumeiki Valvrave เป็นเรื่องของยุคอวกาศที่ประชากร 70% ของมนุษย์ เลือกที่จะอาศัยอยู่ในอวกาศ มีการแบ่งฝ่ายออกเป็น 2 ฝ่าย คือ Dorushia Military Pact Federation (ผมขอเขียนว่าดอลเชียร์) และ Atlantic Ring United States (ARUS) โดยมีประเทศที่เป็นกลาง Jiouru ที่มีความรุ่งเรืองด้านเศรษฐกิจ และเป็นประเทศที่พระเอกอยู่
วันหนึ่งฝ่ายดอลเชียร์ได้มารุกรานประเทศของพระเอก ชนิดที่ประเทศพระเอกไม่สามารถทำอะไรได้เลย ประเทศของพระเอกนั้นเหมือนเป็นไซด์เหมือนเรื่องกัมดั้มหลายไซด์ลอยในอวกาศ ซึ่งศัตรูยึดไซด์ทีละไซด์มจนหมดเหลือแต่โดมที่พระเอกอยู่
วัตถุประสงค์ ที่ศัตรูยึดไซด์นั้นก็คล้ายๆ กัมดั้มอีก คือต้องการหุ่นที่เรียกว่า “Valvrave” เพื่อนำมาเสริมให้ประเทศตนเก่งกาจเพื่อทำการรุกราน ARUS ต่อไปในอนาคตได้ง่ายดายมากขึ้น (และ ARUS ก็ต้องการหุ่นนี้เช่นกัน) ดังนั้นเพื่อให้มีชีวิตรอดพวกพระเอกจึงใช้วิธีทำให้ไซต์แยกออกจากกัน (ซึ่งไซต์ดังกล่าวเป็นพื้นที่ของโรงเรียนและเมืองเล็กๆ) และตั้งไซต์ที่ตนอยู่เป็นประเทศใหม่ไม่ขึ้นกับใคร เพื่อให้มีสิทธิทางการเมืองขึ้น ซึ่งหากดอลเชียร์แตะต้องครอบครัวหรือประเทศ Jiouru ของตน ตนจะเผาหนังสือน้องสาว.....เอ้ย.... ทำลายหุ่นยนต์ที่พวกดอลเชียร์ต้องการซะ!! และนั้นเองทำให้ดอลเชียร์และประเทศ ARUS ทำได้แค่มอง ดูสถานการณ์ และไม่กล้าส่งกำลังมากๆ ไปยึดครอง (ดอลเชียร์เลยส่งพลเล็กๆ ไปยึดประเทศพระเอกแทน และประเทศพระเอกก็ตอบโต้โดยการขึ้นหุ่นทำลายทัพย่อยศัตรู)
ปัจจุบันไอนะจังเป็นวิญญาณไปแล้ว (ทำอย่างกับลาล่ากัมดั้มไปได้)
แน่นอนหลังจากที่พระเอกก่อตั้งประเทศ พวกพระเอกก็ต้องปรับตัวสภาพแวดล้อมที่ถูกห้อมล้อมประเทศศัตรู และที่น่าสนใจคือประเทศพระเอกมีการส่งอัฟคลิปและบันทึกประจำวันลงในเว็บไซต์ (ต่อไปนี้ขอเรียกว่าเฟซบุ๊คละกัน) เพื่ออัฟเกรดข่าวสารสถานการณ์ในประเทศพระเอกมาสู่โลกภายนอกเป็นระยะ โดยข่าวสารที่ว่า ก็เช่นอัฟเกรดว่าคนที่รอดชีวิตมีใครบ้าง ชีวิตครอบครัวเป็นอย่างไร ข้อความถึงคนที่คุณรัก ภาพกิจกรรม ไปจนถึงฉากการต่อสู้ในอวกาศของพวกพระเอกที่ต่อสู้กับพวกดอลเชียร์อย่างกล้าหาญ
การที่พระเอกอัฟเกรดข่าวสารลงในอินเทอร์เน็ตนั้นนอกเหนือจากเป็นการส่งสารถึงคนรักที่อยู่ที่ห่างไกลแล้ว ยังเป็นการสื่อให้โลกภายนอกได้เห็นว่าสิ่งที่พวกตนทำอยู่นั้นไม่ผิด พวกเขาเป็นฝ่ายที่ถูกต้องดอลเชียร์นั้นเป็นประเทศเลวทราม หมาไม่เมิน ไปรังแกประเทศที่สงบสุข และนั้นก็ได้ผล เพราะทั่วโลก (ทั่วอวกาศ) ต่างประณามพวกดอลเชียร์ว่าเป็นพวกลูกหมา ไม่ควรให้อภัย เสมือนกดดันประเทศดอลเชียร์ในอีกทางด้วย
แต่ที่น่าสนใจคือพวกดอลเชียร์หาได้สนใจเสียงประณามจากทั่วโลกไม่ ไม่หน้าด้านก็คงอุดมการณ์สูงส่งน่าดู และพวกเขาก็ไม่มาแก้ตัวหรืออัฟข่าวสารดราม่าตอบโต้ด้วย สงสัยดอลเชียร์คงไม่รู้จักอินเทอร์เน็ตเป็นแน่แท้
มีตอนหนึ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต ซึ่งตอนนี้ก็เป็นวัฒนธรรมแล้ว นั้นคือการกดปุ่ม “ไลค์” โดยเรื่องของเรื่องคือเป็นตอนที่ 11 ที่พวกพระเอกได้อัฟเกรดข่าวสารประมาณว่าประเทศพวกเขาได้สูญเสียเพื่อนไปคนหนึ่ง ชื่อน้องแว่น “ไอนะจัง” น้องแว่นคนนี้เป็นคนดี ไม่เคยเป็นศัตรูกับใคร ชอบช่วยเหลือผู้อื่น คนอื่นก็รักใคร่ แต่เธอกลับมาตายเพราะประเทศลูกหมาดอลเชียร์
ไอนะจังตาย
และเมื่อมีการอัฟเกรดข่าวสาร คนทั่วโลก (ทั่วอวกาศ) ก็รู้สึกสงสารเธอ แหมเด็กสาวน่ารักแบบนี้ไม่น่าตายเลย ไอ้พวกดอลเชียร์ไม่น่าให้อภัย และเมื่อพวกคนดูบ่นจบ (ตั้งกระทู้ด่า) พวกเขาก็กดปุ่มหนึ่งที่เรียกว่าปุ่ม “ไว้อาลัย” แล้วพูดว่าไปสู่สุขคติน่ะไอนะจัง (อารมณ์ของผู้กดก็อารมณ์ประมาณกดปุ่มไลค์เฟซบุ๊คแหละครับ)
ดูคนกดไลค์น้องแว่นแล้วนึกถุึงพฤติกรรมกดไลค์ของไทย ที่ชอบดราม่าเป็นประจำ ประมาณว่าทำไมถึงต้องกดปุ่มไลค์!?
ทุกคนนี้เวลาที่เราเล่นเฟซบุ๊ค หรือยูทูป เราจะเห็นปุ่มไลค์ ซึ่งปุ่มดังกล่าวหลายคนสงสัยว่ามันเป็นปุ่มอะไร และยังสงสัยอีกว่าทำไมบางเฟซ แค่เอารูปเด็กป่วย หมาป่วย วัวมีห้าขา ถึงกดไลค์ด้วย อีกทั้งคนยังกดไลค์มากมาย และเมื่อถามว่าทำไมถึงกด บางคนบอกว่ากดเพราะสงสาร ในขณะที่บางเฟซเอารูปหมาน่ารักมา คนกดไลค์มากมาย และเหตุผลคือกดไลค์เพราะมันน่ารัก
สรุปคือปุ่มไลค์มีไว้ทำอะไรแน่!?
ครั้งหนึ่งเคยมีดราม่ากดไลค์พ่อมิ่งตาย!? ที่มีเพื่อนของชายคนหนึ่งเล่าว่าพ่อของเขาเสียไปเมื่อนานมานี้เอง และเมื่อคนอ่านเรื่องนี้ก็ต่างกดไลค์ ชายคนนั้นก็โมโหด่าว่า “กดไลค์หาพ่อมิ่ง” กดไลค์แสดงว่ามิ่งชอบใช่เปล่า สะใจเพราะพ่อเพื่อนกรูตายใช่เปล่า?
คนที่กดไลค์ก็เถียงกลับว่า กดไลค์น่ะเพราะว่ากรูรับทราบแล้วและเสียใจต่างหาก
กดไลค์ไอนะจังตายเพราะชอบ?
ความจริงแล้วปุ่มไลค์ในเฟซบุ๊คนั้นมีความหมายมากมาย ไม่ใช่มีแค่ว่าชอบจริงๆ แต่มีความหมายซ่อนอยู่ โดยปกติแล้วคนทั่วไปที่กดปุ่มไลค์นั้นมีหลายความหมาย แตกต่างกันไปแล้วแต่สถานการณ์ โดยความหมายหลักๆ มีคือชอบ (เช่นภาพน่ารัก สวย), เห็นด้วย (แนวคิดของเราโดยใจคนอื่น), คลั่งไคล้ (เห็นชอบการกระทำของเจ้าของเฟซ) และยกย่อง นอกเหนือจากนี้ยังมีความรู้สึกต่างๆ มากมายนั้นคือรับทราบแล้ว หรือไม่ก็ตลกดี
ดังนั้นการกดไลค์ไอนะจังนั้นไม่ใช่ว่าสะใจไอนะจังตาย หรืออะไร แต่คนดูข่าวสารเกิดความคิดว่าการกดไลค์นั้นเหมือนเป็นการไว้อาลัยไอนะจังทางอ้อม สมัยก่อนเวลาจะไว้อาลัยใครเราก็เอาดอกไม้ไปเคารพศพ หากเหยื่อตายโหงก็เอาดอกไม้ไปอาลัยในจุดเกิดเหตุ แต่พอดีไอนะจังนั้นตายในที่ห่างไกล คนไม่สามารถไปเคารพศพไอนะจังได้ เลยต้องกดไลค์เพื่อสงสารว่าพวกเขาได้รับทราบเรื่องและอยากเป็นกำลังใจให้แก่พวกพระเอกให้มีชีวิตรอดต่อไป
ในกรณีไอนะจังตายก็เป็นคำตอบอย่างดีว่าทำไมพวกเขากดไลค์พ่อตาย กดไลค์นั้นเป็นมีความหมายไม่ชัดเจนมากมาย นั้นเองทำให้เกิดดราม่า เพราะหลายคนเข้าใจความหมายที่ต่างกัน
ไม่ว่าการกดไลค์จะมีความหมายอย่างไร แต่สุดท้ายแล้วหลายคนที่กดไลค์นั้นเป็นการแสดงการรับรู้ที่ผิวเผิน การแสดงออกที่ไม่ได้จริงจังมากนัก แค่เห็นน่าสงสารแล้วกดไลค์ โดยพวกเขาไม่กระทำอะไรเลย และนั้นเองที่ทำให้ตัวละครหนึ่งที่ชื่อยามาดะ (ชื่อเล่นชื่อธันเดอร์) เกิดอาการไม่พอใจ ซึ่งตัวละครที่ชื่อธันเดอร์นั้นแม้นิสัยเหมือนนักเลง แต่ก็เป็นคนตรง รักเพื่อน แถมครั้งหนึ่งก็เคยโดนไอนะจังช่วยเหลือ พอไอนะจังตายก็รู้สึกโกรธแค้นดอลเชียร์ มีฉากหนึ่งธันเดอร์พูดการกดไลค์ต่อหน้ารุ่นพี่ “อินุซึกะ” ว่า
“พวกแกน่ะแกล้งเห็นใจในเน็ตเถอะ ส่วนกรูน่ะแก้แค้นพวกดอลเชียร์ด้วยมือข้างนี้เองเฟ้ย!!” และนั้นเองทำให้ธันเดอร์ต้องสละความเป็นมนุษย์ (เสียสละ) ขับหุ่นต่อสู้กับศัตรูเพื่อหวังว่าการกระทำของตนจะเกิดอะไรสักอย่างเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น
จะไปมีประโยชน์อะไรที่กดไลค์แล้วไม่ทำอะไรเลย สู้ทำเลยดีกว่าไหม? การแสดงความสงสารโดยไม่ทำอะไรเลยนะ มันไม่ได้ช่วยอะไรขึ้นมาเลย แถมมองเป็นแค่เสแสร้งมากกว่า สุดท้ายคนที่กดไลค์ไอนะจังก็กลับไปใช้ชีวิตปกติประจำวันของตนเอง อารมณ์เหมือนเรื่องของเขาไม่ใช่เรื่องของเรา ทำไมไม่ลุกขึ้นมาแสดงความไม่พอใจอะไรบางอย่างให้โลกรับรู้ว่าฉันอยากให้สงครามนี้ยุติ อยากสู้แทนพวกเขาล่ะ แค่กดไลค์แค่นั้นเหรอ?
แล้วคุณล่ะทุกวันนี้กดไลท์พ่อตายเหรอเปล่า?
ถ้าชอบบทความนี้ก็กดไลค์ให้หน่อย..................
ความคิดเห็น