คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #217 : การ์ตูนแนวฮาเร็มในจัมป์ไม่รุ่งจริงหรือ?
ตอนที่เขียนบทความนี้กระแสเรื่องตอนจบของรีบอร์นก็เริ่มจางหายแล้วครับ หลังจากช่วงแรกๆ หลายคนถกเถียงเรื่องตอนจบรีบอร์นว่าจบสมกับสิ่งที่เขารอคอยหรือไม่ ซึ่งผมก็ให้ความคิดเห็นไปแล้วในกระทู้อื่นๆ ซึ่งผมเขียนไปว่า “ผมเลิกอ่านรีบอร์นกลางคันก็จริง ไม่ได้ติดตามต่อ ตอนจบก็ฟังมาจากหลายเว็บ ผมก็ไม่เห็นแปลกแต่อย่างใดที่จบแบบนั้น เพราะนั่นคือการ์ตูนจัมป์ จบก็จบแบบจัมป์ ที่ส่วนใหญ่การ์ตูนจัมป์ก็จบแบบนี้อยู่แล้ว คนไม่รู้นี้สิแปลก”
เอาเถอะไม่ว่ารีบอร์นจบดีหรือจบไม่ดียังไง ก็ไม่เกี่ยวกับเนื้อหาในบทความที่จะเขียนต่อไปนี้สักนิดเลยแม้แต่น้อย แต่ก็ใช่ว่าจะไม่กล่าวถึง เพราะตอนแรกๆ การ์ตูนเรื่องนี้ออกแนวคอเมดี้ฮาเร็มก่อนที่จะกลายเป็นการ์ตูนบ้าพลังสไตล์จัมป์ในตอนหลังก็ตาม
หลายคนคงเซ็งฉากจบรีบอร์น แต่ผมบอกว่ารีบอร์นจบดีแล้ว เพราะไม่ได้ทำให้เจ็บปวดใจแต่อย่างใด ผิดกับการ์ตูนสองเรื่องที่จบไล่เลื่ยงกันคือ Koisome Momiji และ Pajama na Kanojo ที่ผมอุตสาห์ติดตามเพราะมันติดยี่ห้อแนวว่าฮาเร็ม แต่อนิจจาตอนจบมันโครตเจ็บปวดสิ้นดี เจ็บถึงขั้นหลอกหลอนเลยทีเดียว
To Love Ru ในจัมป์
โชเน็งจัมป์รายสัปดาห์ (Shukan Shonen Janpu) หรือ Weekly Shonen Jump หรือไทยเรารู้จักคือ “จัมป์” ซึ่งผมเชื่อว่าคนที่อ่านการ์ตูนญี่ปุ่นทุกคนจะต้องรู้จักนิตยสารหมดทุกคน เพราะว่าการ์ตูนที่ดังๆ ในบ้านเรา ไม่ว่าจะเป็น นารูโตะ, บลิซ, รีบอร์น และวันพีช ล้วนเป็นการ์ตูนจากนิตยสารจัมป์ทั้งสิ้น (ที่แปลกคือบ้านเรา ติ่งรีบอร์นและติ่งวัชพีชชอบทะเลาะเถียงกัน ทั้งๆ ที่การ์ตูนสองเรื่องนี้มีที่มาจากจัมป์เหมือนกันแท้ๆ)
โชเน็งจัมป์ฉบับแรกนั้นถูกวางจำหน่ายครั้งแรกเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 1968 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งตอนนี้จัมป์ก็ได้กลายเป็นการ์ตูนที่มียอดขายกว่า 2.8 ล้านเล่ม (2009) และยอดขายก็เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ในอนาคต อีกทั้งการ์ตูนหลายเรื่องในจัมป์ก็มีการแปลและจำหน่ายในหลายประเทศทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็น ฮ่องกง ไต้หวัน ไทย นอร์เวย์ หรือแม้แต่อเมริกา
ซึ่งไทยเรานั้นได้รับวัฒนธรรมจากจัมป์เข้าไปเต็มๆ เป็นต้นว่าวลี “ปาหมอน” ก็มาจากการ์ตูนชาแมนที่ลงในจัมป์, วลี “พลัง K” ก็มาจากคินนิคุแมนหรือฤทธิ์หมดเทพเจ้าดาวเหนือที่ลงในจัมป์เหมือนกัน
อย่างที่หลายคนรู้ตลาดเป้าหมายของโซเน็งจัมป์รายสัปดาห์ส่วนใหญ่จะเป็นเด็กผู้ชาย (โชเน็ง แปลว่าเด็กชายหรือผู้ชาย) การ์ตูนส่วนใหญ่มักเป็นแนวต่อสู้ มิตรภาพ และการผจญภัย ไม่ก็กีฬา สอดแทรกมุกตลกต่างๆ
แม้การ์ตูนในนิตยสารจัมป์ส่วนใหญ่จะเป็นแนวต่อสู้ก็ตาม แต่ก็มีแนวแปลกๆ ให้ได้อ่านเหมือนกัน เป็นต้นเรื่อง เช่นเรื่อง Bakuman ที่เป็นแนวเจาะลึกชีวิตนักเขียนการ์ตูน (ไปจนถึงกัดจัมป์) หรือ Yu-Gi-Oh! การ์ตูนแนวการ์ดเกม เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ก็มีการ์ตูนแนวรัก ๆ คอเมดี้ฮาเร็มในจัมป์เหมือนกัน ที่ดังๆ เท่าที่ผมจอได้ก็เช่น Ichigo 100% การ์ตูนที่หักตอนจบสุด (ซึ่งตอนนี้ผมก็ไม่รู้น่ะว่าการ์ตูนประสบผลสำเร็จหรือเปล่า แต่ผมยังรอเรื่อง (G) Edition อยู่น่ะครับ) หรือจะเป็นการ์ตูนมหาเทพในตำนาน To Love Ru (ที่คนเขียนบทความนี้อวยชิบหายวายวอด)
นิตยสารจัมป์นั้นเป็นนิตยสารที่การกำหนดแนวทางการดำเนินเรื่องอยู่ที่เรตติ้งการ์ตูนในแต่ละสัปดาห์ ซึ่งจัมป์แต่ละเล่มจะมีไปรษณียบัตร (ซึ่งแนบมากับนิตยสารอยู่แล้ว) ให้คนอ่านส่งมาโหวตเรื่องที่ชอบ โดยกำหนดว่าที่ 1 จะได้ 3 คะแนน ที่ 2 ได้ 2 คะแนน และที่ 3 ได้ 1 คะแนน แล้วก็มานับรวมคะแนนทั้งหมด ส่วนผลจัดอันดับนั้นสามารถดูได้จากสารบัญของจัมป์สัปดาห์นั้นๆ (แต่ไม่รู้เหมือนกันว่าผลโหวตนั้นเป็นของย้อนสัปดาห์ที่เท่าไหร่เหมือนกัน) ซึ่งเรื่องไหนได้อันดับ 1 ก็จะเป็นตัวเปิดเรื่องในนิตยสารจัมป์สัปดาห์นั้นๆ
ตรงเรตติ้งนี้แหละครับคือตัวตัดสินการ์ตูนเรื่องนั้นๆ ว่าจะเป็นอย่างไรต่อไป มันอาจเป็นสิ่งที่ดีหรือไม่ดีก็ได้ ผลดีคือผู้เกี่ยวข้องกับการ์ตูนเรื่องนั้นๆ จะได้เป็นนำไปปรับปรุงให้เนื้อหาดีขึ้นในสัปดาห์ต่อไป หากเรตติ้งดีการ์ตูนก็สามารถไปต่อโดยไม่มีตัดจับให้เสียอารมณ์แต่อย่างใด แต่กลับกันผลเรตติ้งก็เป็นตัวเร่งให้คนเขียนเครียดง่ายๆ ในการวางแผนเนื้อหาสัปดาห์ต่อสัปดาห์รักษาอันดับ ยิ่งอันดับต่ำคนเขียนก็ต้องปรับเนื้อหาใส่อะไรให้คนดูชอบแต่มาเรื่องยิ่งปรับยิ่งอันดับตกต่ำลง ส่งผลถึงขั้นโดนตัดจบลงในที่สุด
ไม่แปลกแต่อย่างใดครับที่คุณเห็นการ์ตูนหลายเรื่องจัมป์จู่ๆ ก็เปลี่ยนแนว, ออกทะเล และตัดจบ เหตุผลส่วนหนึ่งก็เพราะเรตติ้งและกระแสของผู้อ่าน
อย่างไรก็ตาม บางครั้งเรตติ้งการ์ตูนก็ไม่ส่งผลต่อการดำเนินเรื่องของการ์ตูนเหมือนกันครับ ยกตัวอย่างคนเขียนโจโจ้ ล่าข้ามศตวรรษพี่แกวาดการ์ตูนลายเส้นงานฮาร์ตแบบไม่สนฐานคนดู อีกทั้งมันสมควรจบก็จบไม่สนว่ามันจะนิยมเพียงใดก็ตาม
คราวนี้พูดขอพูดการ์ตูนแนวฮาเร็มในจัมป์บ้าง ก็อย่างที่บอกว่านานๆ ครั้งจัมป์ก็มีการ์ตูนรักคอเมดี้เหมือนกัน บางครั้งก็พ่วงด้วยฮาเร็ม แต่อิจจา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันการ์ตูนแนวฮาเร็มจัมป์ที่ประสบผลสำเร็จจริงๆ มีไม่กี่เรื่อง ในขณะที่หลายเรื่องนี้ไม่ตัดจบ ก็ถูกเปลี่ยนแนวเพื่อเรียกผู้อ่านสายจัมป์ไป
ถ้าจะให้ยกตัวอย่างนี้ก็ยากเหมือนกัน เพราะอย่างที่รู้คำว่า “ฮาเร็ม” เป็นความหมายที่ค่อนข้างกว้าง ขนาดฝรั่งยังแยกการ์ตูนไม่ได้เลยว่าเรื่องไหนฮาเร็มหรือไม่ฮาเร็ม ดังนั้นผมขอยกความหมายที่ว่าการ์ตูนที่มีตัวละครสาวๆ ชอบพระเอกมากกว่าสองคนขึ้นไป (ซึ่งไม่สนด้วยว่าเป็นตัวประกอบหรือตัวหลัก) และใช้รายชื่อการ์ตูนจากwww.mangaupdates.com/ มาอธิบาย ซึ่งผลปรากฏว่าการ์ตูนแนวฮาเร็มจัมป์ตจั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันมีแทบนับเรื่องได้ และส่วนมากถูกตัดจบ ไม่ก็เปลี่ยนแนวให้เหมาะกับฐานคนดูจัมป์ ยกตัวอย่างเช่น (ความจริงตัวอย่างที่ผมเอามาลงบทความนี้แทบครบเลยครับ)
Anedoki :2009 (อันนี้ถือว่าจบดีอยู่), Bastard!! :1998 (หลายคนบอกว่าออกทะเล?), Rosario to Vampire : 2004 (ออกทะเลและเปลี่ยนแนว แต่หลายคนบอกว่าสนุกอยู่?), Kagami no Kuni no Harisugawa (อันนี้ไม่นับฮาเร็ม เพราะเป็นแนวรักสามเศร้าแต่ผมก็นับเพราะมันซาบซ่าดี จบก็ดีน่ะสำหรับผมแม้ว่าจะตัดจบก็ตาม) ส่วน I"s เท่าที่ดูในเว็บนั้นไม่ใช่แนวฮาเร็มดังนั้นขอไม่นับล่ะกัน
(ส่วนทางด้าน Ichigo 100% อันนี้ผมไม่รู้สักเท่าไหร่ ว่ากระแสตอนจบนั้นคนอ่าน (ญี่ปุ่น) ให้ความเห็นอย่างไร ออกมาด้านบวกและด้านลบ ใครรู้ก็ช่วยบอกผมหน่อยน่ะครับ)
อย่างไรก็ตามก็มีการ์ตูนบางเรื่องเหมือนกันที่เรตติ้งไม่ส่งผลใดๆ หากเป็นกรณีที่ การ์ตูนเรื่องนี้ดังมากแต่จู่ๆ คนเขียนป่วยยาว (ฮันเตอร์Xฮันเตอร์) หรืออีกกรณีแม้ว่าเรตติ้งจะต่ำติดดินแต่ว่ายอดรวมเล่มนั้นสูงมากเป็นประวัติการณ์ นั่นคือการ์ตูนฮาเร็มในตำนาน To Love-Ru ก่อนที่คนเขียนจะตัดจบเอง
แปลกไหมครับทำไม To Love-Ru เรตติ้งต่ำติดดิน แต่ยอดขายรวมเร็วฮิตถล่มทลาย สาเหตุนั้นอ้างอิงจากการ์ตูน Bakuman ตอนที่ 24 ซึ่งก็รู้ๆ กันว่าการ์ตูนเรื่องนี้ชอบจิกกัดจัมป์ประจำ
ซึ่งในเรื่อง Bakuman มีตัวละครหนึ่งเปิดประเด็นว่า “ในจัมป์นั้นฉันชอบ To Love Ru มากที่สุด แต่ใครจะอยากให้คนอื่นรู้ว่าตัวเลือกใน 3 ข้อน่ะเป็นเรื่องที่สนุกแต่ติดทะลึ่งด้วย จริงๆ แล้วเรื่องที่ฉันส่งแบบสอบถามน่ะไม่กล้าเขียนหมายเลขของเรื่อง “I’s” หรือ “อิจิโกะ 100%” ที่ตนเองชอบลงไป”
“แถมชั้นว่าต้องมีเด็กประถมที่ฝากไปรษณีย์ให้พ่อแม่ช่วยติดแสตมป์ส่งให้หน่อยใช่มั้ยล่ะ....แล้วเด็กคนไหนจะกล้าเลือก To Love Ru ให้พ่อแม่รู้ว่ะ”
นี่คือสาเหตุหนึ่งครับที่จัมป์ที่ไม่มีการ์ตูนฮาเร็มหื่นๆ สักเท่าไหร่ หน้าสีในต้นเล่มก็ไม่มี เพราะมันจะทำให้ภาพพจน์ของนิตยสารอีกด้วย ส่วนใหญ่แล้วการ์ตูนจัมป์จะเน้นรักคอเมดี้เสียมากกว่า ฮาเร็มจ๋าๆ นี้ไม่มีสักเท่าไหร่
เมื่อช่วงปี 2011-2012 ที่ผ่านมาจัมป์ได้ออกการ์ตูนรักคอเมดี้ที่โดดเด่นออกมา 3 เรื่องในเวลาไล่เลี่ยกัน คือ Nisekoi ซึ่งออกในปี 2011 และ Koisome Momiji และ Pajama na Kanojo ออกในปี 2012
Nisekoi เป็นการ์ตูนฮาเร็มจ๋า ผสมเซอร์วิส และสูตรสำเร็จนิดๆ หน่อย (พอดีผมไม่ค่อยได้อ่านสักเท่าไหร่นัก) ส่วน Koisome Momiji และ Pajama na Kanojo นั้นจะออกมาแนวคอเมดี้โรแมนติกมากกว่า ในด้านความเป็นฮาเร็มนั้นอาจมีนิดๆ หน่อย แต่ไม่ได้เน้นมากนัก (สองเรื่องนี้ดูไปครึ่งตอนที่เหลืออาศัยในการสปอยจากเว็บอื่นๆ )
ตามความเห็นของผมในตอนแรกนั้น Nisekoi (ลิขสิทธิ์โดยสยาม ชื่อไทย ลวงรักลวงใจ) ตอนแรกผมมีความคิดว่าเป็นการ์ตูนสูตรสำเร็จชัดๆ ขอเกริ่นเรื่องย่อสักหน่อยละกัน เป็นเรื่องของพระเอกอิจิโจ ราคุ กับ คิริซากิ จิโตเกะ (นางเอก?) ที่ไม่ถูกกัน แต่ทั้งคู่ต้องแกล้งหมั่นเพราะครอบครัวของทั้งคู่เป็นยากูซ่า แต่มันเป็นจุดเริ่มต้นมากมายเพราะมีตัวละครหญิงอื่นๆ ที่ชอบพระเอกเหมือนกัน ถ้าจำไม่ผิดผมเขียนเม้นความคิดเห็นนิดๆ หน่อยในบทความนี้ ผมเม้นว่า ตัวละครก็ธรรมดา ลายเส้นธณรมดา เนื้อหาก็ไม่ได้แปลกใหม่อะไร ไม่น่าจะยาว ดีไม่ดีก็อาจเปลี่ยนแนวบู๊ล้างผลาญก็ได้ (ก็พระเอกอยู่แก๊งยากูซ่าอาจซ้ำรอยเหมือนรีบอร์นก็ได้) แต่กลายเป็นว่าการ์ตูนเรื่องนี้กลับฮิตอันดับต้น แบบไม่มีท่าจะจบ (และไม่ออกทะเลด้วย ยังคงอารมณ์รักคอเมดี้เหมือนเดิม) เล่นซะหักแป้นคอม (ความหมายเดียวกับ หักปากกา)ผมสุด
ในขณะที่การ์ตูนสองเรื่อง Koisome Momiji (รักไอดอล) และ Pajama na Kanojo (ผีชุดนอน) ที่ออกมาในเวลาไล่เลี่ยกัน ตอนแรกผมอวยสุดๆ ให้กำลังใจสุด เพราะว่าลายเส้นสวย วาดตัวละครน่ารัก แต่อนิจาการ์ตูนสองเรื่องนี้ยิ่งตอนใหม่มาเมื่อไหร่อันดับรูดตกเอา ตกเอา ยิ่งการ์ตูน Pajama na Kanojo คนเขียนพยายามใส่อะไรมากมายให้ถูกใจคนอ่าน คะแนนก็ไม่กระเดี้ยงเลยแม้แต่น้อย ส่งผลทำให้อันดับตกอยู่อันดับท้ายๆ ในที่สุด
ผมคิดอยู่นานเลยแหละครับ ว่าทำไมการ์ตูนเรื่อง Koisome Momiji และ Pajama na Kanojo ทั้งๆ ที่ลายเส้นสวยงาม วาดผู้หญิงน่ารักถึงอันดับล่วงเอาล่วงเอาและโดนตัดจบอย่างเจ็บปวด ในขณะที่ Nisekoi หากแป้นคอม (หักปากกา) ของผมติดอันดับต้นๆ
(ปล. ผมไม่ขอเล่าเรื่องย่อ Koisome Momiji และ Pajama na Kanojo น่ะครับ เพราะมันไม่อยากนึกถึงมันสักเท่าไหร่)
มีหลายคนให้ความเห็นว่าหาก Koisome Momiji และ Pajama na Kanojo ไปอยู่นิตยสารการ์ตูนอื่นๆ มีกลุ่มเป้าหมายชอบแนวรักคอเมดี้อาจดีกว่านี้ บางทีอาจอยู่ได้นานกว่าลงในจัมป์ก็ได้
อย่างไรก็ตามแต่ คำตอบของผมตรงกันข้ามครับ!! ผมพูดเต็มปากเลย ต่อให้ Koisome Momiji และ Pajama na Kanojo ไปอยู่นิตยสารใดก็คงจบไม่กี่เล่ม ไม่ก็ตัดจบอยู่ดีครับ (แต่อย่างน้อยหากไม่เป็นจัมป์ เนื้อหาจะลงตัวกว่า คนเขียนมีอิสระกว่า เนียกว่า ส่วนตัดจบหรือไม่ตัดจบนั้นก็ขึ้นกับตัวผู้เขียนแหละว่ามีฝีมือหรือไม่) เพราะมันไม่ได้อยู่ที่ลายเส้น ไม่ได้อยู่ที่ตัวละคร แต่มันอยู่ที่การดำเนินเรื่อง และอารมณ์ของการ์ตูนครับ
ที่ผ่านมาผมก็อ่านการ์ตูนมาหลายเรื่อง การ์ตูนที่ดำเนินเรื่องแบบ Koisome Momiji และ Pajama na Kanojo ก็มักจะจบแบบสั้นๆ แบบนี้แหละครับ เพราะมันไม่มีอะไรให้เล่นอีกแล้ว เขียนยาวหลายเล่มคนอ่านก็ว่าอีก ถ้าพูดตามตรงคือเป็นการ์ตูนสูตรสำเร็จรักคอเมดี้ธรรมดา บวกกับการ์ตูนฮาเร็มหลอกๆ อีกทั้งมันเป็นแนวรักสามเศร้า แม้เนื้อหาการ์ตูน เหมือนกับว่าผู้หญิงหลายคนชอบพระเอก แต่เอาเข้าจริงมีนางเอกตัวหลักตัวยืนโดดเด่นแค่คนเดียว ชนิดคนอ่านเห็นก็รู้ทันที่ว่าการ์ตูนเรื่องนี้จบแบบเข้าวินแน่นอน แถมการดำเนินเรื่องสูตรสำเร็จสุดๆ ครับ เช่น Koisome Momiji นางเอกประทับใจพระเอกมานานแล้ว ตรงที่พระเอกใจดี ช่วยเหลือผู้อื่น มุกแบบนี้เห็นบ่อย คนอื่นใช้เยอะจนผุพังหมด สิ่งเหล่านี้คนอ่านรู้ทัน ว่าการ์ตูนจะดำเนินเรื่องแบบใด
ยิ่งเรื่อง Koisome Momiji เคยเป็นเรื่องสั้นมาก่อน พอเป็นเรื่องยาวของอ่านก็รู้ไต๋หมดเลยครับ เพราะคนเขียนแกดำเนินเรื่องเหมือนกันแปะๆ
เมื่อรู้ว่านางเอกหลักเข้าวิน มันก็ส่งผลผู้อ่านใหญ่หลวงเลยแหละ เพราะมันไม่มีอะไรให้ลุ้นเลย อีกทั้งส่วนใหญ่คนอ่านเหล่านั้นชอบตัวละครรอง เพราะตัวละครรองน่ารักกว่านางเอกหลัก อย่าง Pajama na Kanojo หลายคนอวยรุ่นพี่ผมดังยิ่งกว่าเพื่อนสมัยเด็กที่เป็นนางเอกหลักเสียอีก หรือ Koisome Momiji หลายคนชอบนานะเพื่อนสมัยเด็กมากกว่า แม้การ์ตูนจะอวยนางรองก็ตาม แต่มันกลับทำให้หลายคนเจ็บปวดอยู่ดีครับ เพราะผลสุดท้ายพวกเธอก็รักคุด เซ็ง ไม่อ่านจะดีกว่าจะได้ไม่เจ็บปวด
ในขณะที่ผมยัง งง ว่า Nisekoi ถึงได้ดังติดอันดับต้นๆ ของจัมป์ ทั้งๆ ที่เป็นการ์ตูนสูตรสำเร็จสุดๆ แต่สิ่งที่ผมพูดเต็มปากที่การ์ตูนเรื่องนี้แตกต่างจาก Koisome Momiji และ Pajama na Kanojo อยู่การดำเนินเรื่องครับ สองเรื่องหลักดำเนินเรื่องรู้ทันทีว่านางเอกหลักเข้าวินและเป็นแนวรักคอเมดี้สมัยเก่า ในขณะที่ Nisekoi ดำเนินเรื่องแบบฮาเร็มที่เดาไม่ออกว่าสุดท้ายผู้หญิงคนใดจะเข้าวินพระเอก (หรืออาจจะจบฮาเร็มก็ได้ ใครจะไปรู้) อารมณ์ของการ์ตูนและการลุ้นมันแตกต่างกันเป็นโยกครับ ได้ลุ้นกันยาว น่าติดตามกว่า
อย่างไรก็ตาม ผมก็สงสัยอยู่ดีว่า Nisekoi มันดังได้ไง ? เพราะพูดตามตรงคือมันสูตรสำเร็จจริงๆ จะพูดว่าสมัยนี้เขาชอบฮาเร็มสูตรสำเร็จก็ไม่ใช่ บางทีอาจแสดงให้เห็นว่าคนอ่านสมัยนี้ชอบแนวฮาเร็ม ซึ่งในจัมป์มีเรื่องเดียว เลยโฮโลกันโหวตหรือเปล่า? หรือว่าช่วงหลังการ์ตูนจัมป์หลายเรื่องมันน่าเบื่อ? (เห็นได้จากการ์ตูนอันดับต้นๆ จะเป็นการ์ตูนใหม่มากกว่าการ์ตูนเก่า) อันนี้ก็ไม่ทราบได้
พูดตามตรงนี้คือการ์ตูนที่เหนื่อยที่สุดในซีซั่นนี้ทีเดียว (ผู้กำกับกรุณาทำภาค OVA มาด่วนเลย)
เอาที่ผมอ่านความคิดเห็นของคนอื่นที่มีความรู้สึกเกี่ยวกับ Nisekoi เขาบอกว่าแม้การ์ตูนเรื่องนี้จะเป็นการ์ตูนที่ลายเส้นง่ายๆ กล่าวคือลายเส้นไม่ละเอียดมาก ไม่หวาน แต่กลายเป็นว่าเพราะลายเส้นแบบนี้ทำให้ประสบความสำเร็จ เพราะสามารถสื่อท่าทางของตัวละครได้โดดเด่นกว่า เข้าถึงอารมณ์ของตัวละครมากกว่าของ koisome momiji (จะว่าไป To Love Ru เองก็ลายเส้นแบบนี้เหมือนกันนี้หว่า)
ต่อมาคือเทคนิคการดำเนินเรื่อง ถึงแม้ว่า Nisekoi จะดูเป็นสูตรสำเร็จ (ในเรื่องความรัก) มากกว่าก็ตาม แต่ถ้าเป็นการวางเรื่องให้น่าติดตามในตอนต่อไป หรือเขียนเรื่องให้สนุกและประทับใจภายในหนึ่งตอน
หลายคนบอกว่าว่าสูตรสำเร็จเป็นเรื่องน่าเบื่อ แต่บางครั้งสูตรสำเร็จก็สามารถทำให้น่าสนใจได้ หากรู้จักใช้ ไม่ทำให้น่าเบื่อมากเกินไป จนหลายคนเดาทางได้ กลับกันหากทำแหวกมากเกินไป อาจเกิดความเสี่ยงเยอะและหลายคนรับไม่ได้ไปด้วย (ยิ่งเปลี่ยนแนวยิ่งรับไม่ได้)
นอกเหนือจากการดำเนินเรื่องแล้ว สิ่งที่สำคัญที่สุดคือตัวละคร จะต้องเข้ากับเนื้อเรื่องและอารมณ์ของเรื่องด้วยว่าเหมาะสมเพียงใด จะอวยตัวละครจะอวยยังไง พระเอกจะเมพหรือทำให้คนอ่านมีอารมณ์ขนาดไหน นี้แหละคือความสำเร็จด้านการ์ตูนฮาเร็ม ความจำเจใช่ว่าจะไม่ประสบผลสำเร็จเสมอไป หากรู้จักปรุงและรู้จักดัดแปลงให้ออกมาดี
การ์ตูนในจัมป์สามารถรุ่งได้ คำตอบก็มีให้เห็นแล้วใน To Love Ru และ Nisekoi แต่ปัญหาอย่างที่ผมว่าไว้ที่แล้วมา จัมป์ไม่ได้มีการ์ตูนฮาเร็มจ๋าสักเท่าไหร่ มีแต่คอเมดี้รัก ไม่ก็สามเศร้า ซึ่งทำออกมาไม่ได้รับการตอบรับที่ดีนัก บางเรื่องก็ฮาเร็มก็จริงแต่เปลี่ยนแนวจนแทบไม่เชื่อว่าเป็นเรื่องเดียวกันกับที่อ่านตอนแรก
สิ่งสำคัญของการ์ตูนคอเมดี้และการ์ตูนฮาเร็มก็เหมือนการ์ตูนทั่วๆ ไปก็คือจะจบอย่างไรให้เหมาะสมกับที่คนอ่านได้ติดตามมาตั้งแต่ต้นจนจบ การ์ตูนฮาเร็มไม่ควรจบแบบจัมป์ทั่วๆ ไป หรือจบหักหลังคนดู หรือจบแบบปาหมอน เพราะยิ่งจบไม่เหมาะสมเมื่อไหร่มันจะกลายเป็นตราบาปที่จะตามคนเขียนต่อไป ซึ่งก็มีตัวอย่างให้เห็นอยู่แล้ว ซึ่งผมก็ไม่อธิบายให้มากความ
ความคิดเห็น