คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #215 : 10 สุดยอดสิ่งที่เซ็งที่สุดในการดูการ์ตูนญี่ปุ่น (ทั้งมังงะและอนิเมะ)
ความจริงว่าจะตั้งบอร์ดนักเขียน แต่เปลี่ยนใจเพราะมาคิดๆ ดูเนื้อหามันยาวมาก แถมตั้งวาดรูปเองอีก เอาเป็นว่าตั้งบทความแบบเดิมนี้แหละ
อันดับ 1 ไม่ต้องเดาก็คงรู้ใช่เปล่า!!
“เซ็ง” แม้เป็นศัพท์ที่เริ่มมาจากคำแสลงของไทย ที่ได้รับความนิยมติดปากของไทยมาจากนาน เพราะมันสะท้อนเห็นภาพได้ชัด เหมาะสมกะทัดรัด ใครได้ยินก็ลึกซึ้ง ไม่ต้องอธิบายมากความ
“เซ็ง” นั้นหมายถึง จืดชืด หมดรส หมดความตื่นต้น ขาดแรงบันดาลใจ เป็นความรู้สึกทางจิตใจ ที่ทำให้เกิดความเบื่อหน่าย เบื่อโลก บางทีก็แทรกด้วยความขับข้องใจอึดอัด มองอะไรไม่มีชีวิตชีวา เบื่อหน่ายทุกสิ่งทุกอย่าง ทำให้เกิดความอ่อนเพลีย และละเหี่ยใจ เครียด วิตกกังวล บางครั้งถึงขั้นกินอะไรไม่ลง นอนไม่หลับเพราะหลอน
คุณเคยมีอารมณ์รู้สึกเซ็งในการอ่านการ์ตูนบ้างไหมครับ ผมคนหนึ่งที่มีประสบการณ์เซ็งในการดูการ์ตูนเหมือนกัน เยอะด้วย เพราะผมเป็นคนหนึ่งที่ชอบดูมังงะและอนิเมะเป็นชีวิตจริงใจ แม้ว่าตอนนี้อายุจะเข้าไป 30 แล้ว แต่ชีวิตนี้ก็ยังชอบการ์ตูนญี่ปุ่นอยู่ เพียงแต่ประเภทของการ์ตูนเริ่มเปลี่ยนไป เพราะเน้นการ์ตูนแนวผู้ใหญ่มากขึ้น และเฉพาะทาง (แนว) มากยิ่งขึ้น
ผมเป็นคนหนึ่งที่มักหมดเงินจำนวนมากไปกับการซื้อการ์ตูน (ส่วนมากเป็นมังงะ) ในช่วงทุก 2 สัปดาห์ หมดมักหมดเงินเกิน 1,000 บาทเพื่อซื้อมังงะจำนวนมาก (เดี๋ยวนี้เอาเงินจากการส่งงานต่วยตูนไปซื้อมังงะแล้ว) ยิ่งช่วงนี้ราคามังงะลิขสิทธิ์ไทยเราแพงเอาแพงเอาเรื่อง (คุณภาพก็เท่าเดิม) ทำให้จำนวนหนังสือที่สั่งซื้อน้อยลงกว่าเดิม ไม่เหมือนเมื่อก่อนซื้อสนุกมือสุดๆ (เพราะซื้อทั้งการ์ตูนตาหวานบงกตด้วย แต่เดี๋ยวนี้ต้องตัดแล้วเพราะเงินไม่อำนวยให้ซื้อ)
ในหลายปีที่ผ่านมา ผมดูการ์ตูนมังงะหลายเรื่อง (แต่ไม่ใช่ระดับแฟนพันธุ์แท้หรอก) แน่นอนว่าผ่านประสบการณ์มาเยอะ ทั้งสุข เศร้า เสียใจ หนังสือหายไปก็เยอะ
เมื่อหนังสือที่สั่งซื้อมาแล้ว ผมจะรวมเป็นกองมังงะ จากนั้นก็ขัดแยกกองใหม่ ซึ่งผมจะแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ 1. เรื่องที่รอคอยจะถูกนำไปไว้ห้องนอนเพื่ออ่านหลายรอบ (กินข้าว, เข้าห้องนอน, ก่อนนอน), 2. เรื่องที่เก็บเอาไว้เพราะคิดว่าจะอ่านที่หลัง, 3. ซื้อมาประดับบารมีไม่คิดจะอ่านแต่อย่างใด (และขอบอกว่าจำนวนหนังสือประเภทนี้มากกว่า 1 และ 2 รวมกันเสียอีก สาเหตุเพราะตอนแรกเราซื้อเล่มที่หนึ่งมาแล้วแต่ปรากฏว่าอ่านแล้วไม่ชอบ แต่จำเป็นต้องซื้อให้ครบชุดมันจะได้สวยๆ ประมาณนั้น (ส่วนอนเมะก็คล้ายกัน)
และเจ้าประเภท 1 นี้แหละคือปัญหาแหละครับ เพราะบางครั้งการเป็นนักอ่านการ์ตูนจะต้องทำใจกับสิ่งที่ไม่คาดฝันเหมือนกันโดยเฉพาะมันเกิดขึ้นการ์ตูนที่เราชอบเนี้ย ซึ่งเจ้าสิ่งมีคาดฝันที่ว่ามันอาจเป็นเรื่องดีและไม่ดี โดยเฉพาะเรื่องไม่ดีนี้สิ ถือว่ารับไม่ได้เหมือนกัน บางเรื่องนี้ทำใจแทบไม่ได้จนเกิดอารมณ์เซ็งเบื่อโลกก็ได้ ยิ่งหากมันเกิดในกรณีการ์ตูนที่เราอวยสุดๆ และขอบอกว่าใครที่ไม่มีอารมณ์เซ็งหลังการอ่านการ์ตูนถือว่าไม่ใช่นักดูการ์ตูนญี่ปุ่นครับ หรือไม่ก็ประสบการณ์น้อยเกินไป เพราะในการ์ตูน 1,000 เรื่องนั้นก็ต้องมีสักเรื่องบ้างครับที่ให้ความรู้สึกดังกล่าว
แน่นอนว่าอารมณ์เซ็งของผมมันมีหลายระดับ สาเหตุความเซ็งจากการอ่านการ์ตูนก็แตกต่างกันออกไป ซึ่งอาการ “เซ็ง” นั้นเกิดจากหลายสาเหตุ และบางความเซ็งได้แปรเปลี่ยนเป็นความหลอนที่ยังความฝังอยู่ในสมองจนถึงปัจจุบัน ซึ่งวันนี้ผมก็จะมาเล่าประสบการณ์ความเซ็งของผมในบทความนี้ ในหัวข้อ 10 สิ่งที่เซ็งที่สุดในการดูการ์ตูนญี่ปุ่น (ทั้งมังงะและอนิเมะ) ให้ฟัง
อันดับ 10. ตัดจบและปาหมอน
หากใครที่ชอบอ่านการ์ตูนไม่ดัง (หรือดังเงียบๆ ) ก็ต้องพบกับเหตุการ์ตูนตัดจบแน่นอนครับ ใครไม่เคยเจอ ไม่ใช่นักอ่านการ์ตูนมังงะแล้วครับ
ตัดจบ หมายถึงการ์ตูน (ส่วนมากเป็นมังงะ) ญี่ปุ่น ที่จู่ๆ ตัดจบลง ทั้งๆ ที่คนเขียนยังสามารถเขียนต่อได้ ยังมีเนื้อหามากมายที่ยังไม่ได้เฉลย หรือเนื้อเรื่องที่จะนำมาใส่ อีกทั้งยังมีความคาใจ อารมณ์ค้าง ชนิดว่าเสียดายมาก (ในกรณีที่เราติดตามการ์ตูนเรื่องนั้น) แต่ก็ได้แต่ทำใจเพราะว่ามันจบไปแล้ว ไม่สามารถเรียกคืนกลับได้
ประโยคคลาสสิกสุดๆ ที่พวกตัวเอกพูดตอนจบก็คือ “การต่อสู้เพิ่มเริ่มต้น” ไม่ก็ “มาผจญภัยกันอีกครั้งเถอะ” (ทั้งนี้ก็ต้องดูเนื้อหาด้วยว่าเนื้อหามันจะสามารถไปยาวได้หรือเปล่า)
ส่วนสาเหตุตัดจบนั้นมีหลากหลาย เบสิคสุดๆ คือเรตติ้งไม่ดี พล็อตธรรมดาไม่มีแรงจูงใจในการเขียนต่อ (พวกแนวต่อสู้มักอายุสั้นกว่าใครเพื่อน) โดนสั่งให้ตัดจบจากสำนักพิมพ์ต้นสังกัด รองลงมาปัญหาส่วนตัวของคนเขียน (ทะเลาะกับสำนักพิมพ์ต้นสังกัด หรือไม่ก็ปัญหาส่วนตัวอื่นๆ) และแบบแปลกๆ เช่น โดนฟ้องร้อง (กรณีเอาสถานที่หรือตัวบุคคลมาใส่ในตัวละครโดยไม่รับอนุญาต)
อย่างไรก็ตาม อารมณ์ของฉากจบของผมแบ่งอออกเป็น 2 ประเภท ประเภทแรกคือตัดจบที่ยังยอมรับได้ คือมันสามารถสนุกได้ลงตัว แม้จะมีประเด็นมากมายที่ยังค้างๆ คาๆ หรือมีหลายอย่างที่ขัดใจ แต่อารมณ์ที่อ่านจบยังให้ความรู้สึกดีๆ สามารถจิ้นต่อได้ ไม่ได้ทำให้เสียอารมณ์แต่อย่างใด (ตัดจบที่ดีที่สุด ผมยกให้ Katte ni Kaizo ตามใจนายไคโซครับ แม้มันจะตัดจบ แต่เนื้อหาสรุปได้ลงตัว และประทับใจมาก จนบัดนี้ยังไม่ลืมฉากจบรอยยิ้มของประธานที่ยิ้มกับให้พระเอกและนางเอกอยู่เลย ใจจริงอยากให้คนเขียน เขียนตามใจนายไคโซอีกครั้งจัง) จบแบบนี้ขึ้นอยู่กับความสามารถของคนเขียนด้วยนะครับ
การตัดจบบางครั้งใช่ว่าจะเลวร้ายไปทุกเรื่อง อย่างเช่นการ์ตูนบางเรื่องที่ออกทะเล (ซึ่งจะกล่าวในอันดับต่อไป) ไปจนหาฝั่งไม่เจอ การตัดจบก็ช่วยให้นักอ่านบางคนรับได้บ้าง เพราะขืนมีต่อไปมีหวังกู่ไม่กลับ
แต่อย่างไรก็ตาม ส่วนมากการ์ตูนมังงะส่วนมากมักจบแบบฮาเร็มเซ็งจิตสุดๆ และประเภทที่สองคือตัดจบสุดเลวร้าย อารมณ์ค้างสุดๆ แบบอะไรของมันหว้า!? การ์ตูนกำลังสนุก เนื้อหาน่าติดตาม แต่จู่ๆ เล่มหน้าก็ตัดจบซะงั้น แบบ งง ชนิดว่าประเด็นๆ สงสัย หรือมีอะไรมากมายให้เล่น แต่จู่ๆ มันเฉลยแบบรวบรัดอย่างง่ายดาย บางเรื่องตัดจบสุดเซ็งจิตสุดๆ
ตัดจบได้เซ็งที่สุด ผมยกให้ Re:BIRTH ตัดจบได้สุดๆ เลยสำหรับผม แถมยังเสียหน้าด้วย เพราะตอนแรกผมอวยเรื่องนี้สุดๆ ถึงขั้นตั้งบทความวิเคราะห์อย่างเจาะลึก ชอบตัวพระเอก พี่สาว เพื่อนสมัยเด็ก เนื่องเรื่องก็น่าติดตาม ถึงขั้นผมออกประกาศว่าเรื่องนี้ต้องถูกนำไปสร้างเป็นอนิเมะชั่นด้วยซ้ำ!!
แต่อนิจจาจู่ๆ Re:BIRTH ตัดจบ ก็ถูกตัดจบครับ ในเล่ม 7 อย่าง งงๆสุด ชนิดตอนจบผมอุทานว่า เฮ้ยจบแบบนี้เลยเรอะ แล้วพระเอกทำไมผิดหลักการเฉยๆ เลย ส่วนปริศนาในเรื่องก็เฉลยแบบห้วนๆ จบลงแบบอารมณ์ค้าง คาสุดๆ แถมผลงานใหม่ของคนเขียนก็ยังอุตสาห์เอาเรื่อง Re:BIRTH มาสานต่อเป็นเรื่องใหม่อีก เล่นซะผมเสียศูนย์สุดๆ เลยครับ ดังที่หลายคนเห็นภาพข้างบนแหละ ถึงขั้นฟุปคาคอมหลังดูมังงะในคอมเสร็จ เอาเป็นว่าไม่ขอสปอยละกันว่าตัดจบยังไง (แต่ก็ยังดีที่เพื่อนสมัยเด็กไม่ตาย) รอรักพิมพ์วางแผงเล่ม 7 ล่ะกัน (รู้สึกจะมีทำอีกภาคน่ะ แต่ผมไม่มั่นใจเท่าไหร่)
ส่วนเรื่องฉากจบที่ทำให้ผมเกิดเซ็งจิตแบบสุดๆ จะกล่าวในอันดับต่อไปครับ
อันดับ 9. สปอยล์
สปอยล์ (Spoil) ความจริงแล้วมีความหมายหลายหลาย ซึ่งผมก็ไม่ได้เก่งภาษาอังกฤษสักเท่าไหร่ ซึ่งคำว่าสปอยล์ในที่นี้หมายถึงการบอกเนื้อหา (เฉลยเนื้อหา หรือเล่าเนื้อเรื่อง) ในสื่อ (ภาพยนตร์, อนิเมะ, มังงะ ฯลฯ) ให้แก่คนที่ไม่เคยดูเรื่องนี้มาก่อน และมีความคิดที่จะดู หรืออยู่ระหว่างการดู (ถ้าเป็นมังงะหลายเล่มก็อ่านมากลางเรื่องแล้ว แต่ตอนล่าสุดไม่ได้อ่าน)
การสปอยล์นั้นเริ่มโด่งดังมาจากเว็บพันทิปที่คนชอบถามหรือวิจารณ์หนังใหม่ ซึ่งบ่อยครั้งคนมักเข้ามาตอบโดยเล่าเกือบทั้งเรื่องโดยเฉพาะจุดไคลเม็กซ์กำลังลุ้น ใครตายบ้าง จบยังไง สรุปเนื้อเรื่องเสร็จสรรพ แน่นอนว่าคนที่ (หลง) เข้ามา (บางที่อยากรู้ว่าเป็นภาพยนตร์เกี่ยวกับอะไร) แต่พอมาเจอแบบนี้เข้าไปหมดอารมณ์ที่จะดูเรื่องนี้โดยบรรยาย
มนุษย์เรานั้นเป็นสัตว์ที่ชอบทำตัวเหนือกว่าผู้อื่นเสมอ แม้จะเป็นเรื่องเล็กๆ ก็ตาม ส่วนใหญ่คนที่จะสปอยล์ ก็แสดงให้เห็นว่าฉันเหนือกว่าใคร ฉันได้ดูก่อนคนอื่น และรู้ทุกอย่าง (ดังนั้นไม่แปลกหรอกครับ ว่าผมชอบสปอยล์ แต่ในขณะเดียวกันไม่ชอบคนอื่นสปอยล์ก่อนผมซะเท่าไหร่ เพราะเจ็บใจว่างั้นเถอะ ฮ่า)
ส่วนในวงการการ์ตูน (และไลท์โนเวล) นั้นตอนนี้นิยมมาก เพราะว่าเดี๋ยวนี้เน็ตบ้านเราแรง (สมัยก่อนข่าวสารการ์ตูนช้ามาก) ตามข่าวการ์ตูนเร็วมาก หากเป็นมังงะตอนให่หรือไลท์โนเวลใหม่ ก็จะมีคนโพสลงในเว็บแล้ว และคนไทยก็เอามาสปอยอีกต่อหนึ่ง (และที่แปลกคือเว็บนี้ส่วนใหญ่เป็นเว็บจีนแดงและญี่ปุ่นเสียด้วย คนไทยเก่งขนาดไหน!!)
การสปอยล์ไม่ใช่สิ่งที่เลวร้ายเสมอไปครับ เพราะบางคนขี้เกียจตามอ่านการ์ตูน หรือใจสั่งอยากรู้เนื้อเรื่องต่อจากนี้ ก็มักจะไปอ่านกระทู้สปอยล์อย่างล้นหลานเหมือนกัน
อย่างไรก็ตาม การที่ทำให้หลายคน(รวมถึงผม) เซ็งกับสปอยล์นั้นเกิดขึ้น 5 กรณีครับ
หลงเข้าไป – คือจะมีคนจำพวกตั้งกระทู้โดยไม่คำว่าสปอยล์หัวเรื่องกระทู้ หรือไม่ก็ย่อ หรือเรียกการ์ตูนซะผม งง ว่ามันเรื่องอะไร เช่น Onii-chan Dakedo Ai Sae Areba Kankeinai yo ne! ย่อเป็น Onii ใครจะรู้ละครับท่าน เพราะการ์ตูนเข้าข่ายชื่อย่อแบบนี้เยอะด้วย แล้วเมื่อเข้าไปดันไปรู้เนื้อหาการ์ตูนเข้า ทั้งๆ ที่ไม่อยากรู้สักนิด พอไปอ่านแล้วเซ็งจัดมาก
สปอยล์แบบไม่มีใครขอ – บางกระทู้ หรือในขณะที่ผมตั้งบทความเขียนเรื่องที่ชอบ กำลังพูดถึงการ์ตูนเรื่องนี้พอดี จู่ๆ ก็มีใครไม่รู้มาสปอยการ์ตูนซะละเอียดยิบเซ็งจิตมากๆ ตัวอย่าง Mirai Nikki (ในบทความนี้) ซึ่งผมก็ไม่อยากรู้สักนิดแถมยังลดความอยากติดตามไปอีก สิ่งผลทำให้ผมประชดด้วยการไม่ดูอนิเมะมันซะเลย !?
สปอยล์เนื้อหาผิด – นอกจากสปอยล์ให้เซ็งอารมณ์แล้ว เนื้อหาสปอยล์ยังผิดจนทำให้เสียอารมณ์อีก สำหรับผมสปอยล์ผิดสุดเลวร้ายก็คือ Boku wa Tomodachi ga Sukunai (ในบทความนี้แหละ) ไม่ใช่ยูคิมูระเป็นผู้หญิง หากแต่เป็นเรื่องโยโซระตัดผมสั้นต่างหาก โดยมีคนเข้ามาสปอยล์ว่าโยโซระตัดผมสั้นเพื่อปลอมตัวให้โคดากะจำได้ว่าโยโซระก็คือเพื่อนสมัยเด็กที่ไม่เจอกัน 10 ปี พูดตามตรงว่าเซ็งสุดๆ เลยกับการสปอยล์อันนี้ (ความจริงแล้วโยโซระตัดผมเพราะผมเปื้อนน้ำขี้เถ้าดอกไม้ไฟต่างหาก)
สปอยล์ตอนจบ แถมจบไม่ดีอีก – ประมาณว่าอยากรู้ตอนจบการ์ตูนเรื่องนี้ เลยไปอ่านสปอย แต่พอดีการสปอยเรื่องนี้ดันจบไม่ถูกใจเรา แม้จะเป็นประโยคสั้นๆ แค่ว่า “ตอนสุดท้ายนางเอกตาย” แค่นี้ไม่ต้องดูต่อแล้วครับ ต่อให้การ์ตูนจะวางเนื้อหาสุดยอดเพียงใด ประทับใจก็ตาม เพราะเรารู้อยู่แล้วว่าตอนจบมันเป็นแบบนี้ไม่ต้องอธิบายให้มากความ
และกรณีสุดท้าย สปอยล์ผิดที่ผิดเวลา จะว่ายังไงดีคือนานาจิตตัง บางเรื่องที่เรามองว่าไม่สปอย ในขณะที่บางเรื่องเห็นว่าสปอยล์ก็ได้ เช่น ในเว็บพันทิปเคยเกิดดราม่าสปอยดราก้อนบอล Z ว่าคุริรินตายแล้ว หงอคง (โกคู) โกรธจนกลายเป็นซุปเปอร์ไซย่า ซึ่งผลคือทำให้หลายคนโกรธ จนคนที่เขียนก็ งง กันใหญ่เพราะว่าดราก้อนบอลมันการ์ตูนมานานแล้ว
ส่วนตัวแล้วเซ็งสุดๆ คือกรณีสปอยล์ตอนจบ แล้วปรากฏว่าเป็นตอนจบไม่ดีครับ คือมันทำใจดูต่อไปได้จริงๆ ต่อให้การ์ตูนจะวางเนื้อเรื่องอะไรก็ตาม ถ้าเป็นการสปอยล์ตอนจบแล้วจบดี จบมีความสุขก็ว่าไปอย่าง กำลังใจอยากอ่านขึ้นเยอะ (เอาเป็นว่าจะพูดเรื่องตอนจบในอันดับต่อไปละกัน)
ล้างไพ่
ล้างไพ่นั้นเป็นศัพท์ในขณะเล่นไพ่ หมายถึงการละเลงไพ่ทั้งกองให้คละกันคนให้ทั่วๆ หลายๆ หนแล้วรวบเข้าเป็นกองใหม่ ซึ่งการล้างไพ่จะเกิดขึ้นในกรณีเริ่มเล่นใหม่หรือจับได้ว่าโกง (เลยต้องเริ่มเล่นใหม่)
นอกจากนี้คำวาล้างไพ่ยังหมายถึง “การตั้งต้นใหม่” ซึ่งใช้ในหลายวงการ เช่นวงการเมือง หมายถึงการเปลี่ยนคณะรัฐมนตรี หรือองค์กรยกทีม ซึ่งอาจมีสาเหตุล้างไพ่แตกต่างกัน เช่นทำงานด้วยกันไม่ได้ งานออกมาไม่มีประสิทธิภาพ หรือเกิดเรื่องอื้อฉาว ไม่ดีขึ้นมา หรือไพ่โลกใบนี้ซะเพราะปัจจุบันมีแต่ปัญหาเน่าเหม็นสมควรล้างโลกไปซะประมาณนั้น
ในวงการการ์ตูน, เกม และภาพยนตร์ ล้างไพ่มักใช้กับพวกที่มีต่อเป็นซีรีย์ หลายภาค หลายตอน ซึ่งส่วนใหญ่มักพบเห็นนิยายกำลังภายในครับ พวกจอมยุทธ์ ยุทธภพ ที่มีตัวละครออกมามากมายหลายตัว ที่ เนื้อหากำลังดำเนินเรื่องตื่นเต้นน่าติดตาม แต่จู่ๆ จะมีฉากหนึ่งตัวละครจะตายเป็นเบือ เหลือไม่กี่คนรอดตาย จาก จากนั้นก็มาแบบผ่านไป 5-10 ปี เนื้อเรื่องก็ตั้งต้นใหม่ คราวนี้ตัวเอกเปลี่ยนเป็นลูกหลานบ้าง ตัวละครใหม่ เนื้อเรื่องใหม่ (ไม่เชื่อก็ลองดูการ์ตูนหมึกจีนกำลังภายในของบูรพัฒน์สิครับ เช่น เซียวฮื้อยี้, วีรบุรุษไร้น้ำตา)
สมัยนี้การล้างไพ่แบบนี้ไม่ค่อยมีแล้วครับ แต่สมัยก่อนมีเยอะมาก จำพวกที่มีซีรีย์ยาวๆ หรือตอนยาวๆ ผมจำการ์ตูนเรื่องหนึ่ง เออ...ชื่อจำไม่ได้ แต่ช่อง 9 เคยมาออก คือเนื้อหาที่ตัวเอกเป็นผู้กล้าขนมปัง และพระรองมีหาง ออกตามหาหุ่นยนต์ยักษ์(ที่มีคนขับ) เพื่อไปปราบจอมมาร เนื้อหาแสนจะเชยมาก และเมื่อถึงกลางเรื่อง จอมมารก็ปรากฏตัวออกมา พวกพระเอกช่วยไม่ได้เลย จากนั้นจอมมารก็ใช้ท่าไม้ตายสุดยอด จนพวกพระเอกกระเด็นคนละทิ้งคนละทาง และเนื้อหาต่อมาคือ 5-10 ปีต่อมา พระเอกเหลืออยู่ตัวคนเดียว โลกเปลี่ยนไป จากนั้นก็มาตามหาเพื่อนพระเอกเข้ากลุ่มอีกครั้ง หากแต่เพื่อนที่ว่านั้นคาแร็คเตอร์เปลี่ยนไปซะจำไม่ได้ว่าเป็นตัวเดียวกัน
ข้อดีของล้างไพ่คือมันทำให้เนื้อหายืดยาวต่อไปได้ ส่วนข้อเสียคือออกทะเล เบี่ยงประเด็น หรือว่าเปลี่ยนอารมณ์แทบไม่ทัน เพราะเล่นเปลี่ยนตัวละครเกือบยกชุด แถมตัวละครเก่าคาแร็คเตอร์ยังเปลี่ยนไปจนแทบจำไม่ได้อีกต่างหาก (ตัวบึกขึ้น, นิสัยเปลี่ยนไป เป็นต้น) จุดประสงค์ที่ดำเนินเรื่องก็เปลี่ยนไป (เช่น ประมาณว่าเกิดอะไรขึ้นเป็นต้น) และบางครั้งจากตลกอยู่ดีๆ ก็กลายเป็นดราม่าก็ดี จนคนดูยัง งง ว่านี้ฉันดูการ์ตูนเรื่องเดียวกันหรือเปล่าเนี้ย!?
ผมพูดตามตรงว่าปัจจุบันการ์ตูนที่ทำออกมาแนวๆ นี้ เชยระเบิดครับ คือจะว่ายังไงดีละ สมัยนี้การทำอนิเมะหรือมังงะเขาไม่ได้แต่จะยืดได้ยืดดีมีชัยไปกว่าครึ่งแล้วครับ (จัมป์ก็ปล่อยมันไปเถอะ) ไม่ใช่มามุกแบบว่า พระเอกเป็นผู้กล้า ตามหาพรรคพวก จอมมาปรากฏตัวกลางเรื่อง จอมมารใช้ท่าไม้ตาย พระเอกสู้ไม่ได้ พรรคพวกกระจายคนละทิ้งละทาง สิบต่อมา พระเอกฝึกวิชาเก่งขึ้น รวมพรรคพวกใหม่ สู้กับจอมมารอีกครั้ง เห็นใหม่ครับเชยระเบิดจริงๆ เพราะมันสำเร็จรูปนี้หว่า!?
อย่างไรก็ตาม การล้างไพ่ก็ไม่ใช่เลวร้ายเสมอไป หารู้จักพลิกแพลง หรือมีชั้นเชิง แต่อนิจาพอดีผมไม่เคยเห็นคนเขียนทำแนวนี้สักเท่าไหร่นี้สิ เพราะการล้างไพ่ก็เหมือนถึงการเริ่มต้นใหม่หมดอีกครั้ง และหมายถึงการเปลี่ยนอารมณ์ไปด้วย ส่วนใหญ่หลายคนรับไม่ค่อยได้หรอกครับ
แต่ถึงอย่างไร มันก็มีจนได้ครับ!! แม้อาจไม่มากมายอะไร แต่เจอถึงขั้นเซ็งเหมือนกัน เพราะบางเรื่องเปลี่ยนอารมณ์แทบไม่ทัน อ้าปากค้างไปเลยทีเดียว
โอเคเราจะไม่พูดการ์ตูนหมึกจีนของฮ่องกงละกัน เอาเฉพาะการ์ตูนญี่ปุ่น ตัวอย่างก็เช่น Karakuri Dôji Ultimo ผู้วาด Shaman King (แต่เนื้อเรื่องเป็นของ Stan Lee) เนื้อหาไม่ขออธิบายมากแต่ขอย่อๆว่า เนื้อหาต่อสู้บ้าพลัง ความดีและความชั่ว โดยพระเอกเป็นมาสเตอร์ของหุ่นต่อสู้กับฝ่ายผู้ร้าย เนื้อหาสูตรสำเร็จ อีกทั้งยังช่วงกลางเรื่องฝ่ายพระเอกโดนฝ่ายผู้ร้ายฆ่าตายเกือบหมด (คือฝ่ายพระเอกออกมาเป็นตัวประกอบอยู่แล้วอ่ะนะ) ล้างไพ่และแต่ยังอุตสาห์มีการวนลูปเริ่มต้นใหม่อีก สรุปคุณเล่นมุกอะไรเนี้ย!?
อย่างไรก็ตาม การ์ตูนที่ล้างไพ่เซ็งที่สุด ผมยกให้การ์ตูนเรื่อง The Legend of Maian หรือตำนานแม่มดสุดซ่า สำนักพิมพ์รักพิมพ์ครับ เป็นการ์ตูนสัญชาติเกาหลี (แต่ลายเส้นมังงะญี่ปุ่น) โอเครักพิมพ์ยังวางแผงเล่มที่ 4 แต่ผมดูไปจนเกือบถึงตอนล่าสุดเป็นที่เรียบร้อย ถ้าพูดตามตรงแฟนตาซีสำเร็จรูปครับ โดยมีนางเอกทรงโตและเซ็กซี่มาให้น่าติดตามบ้าง แต่ที่แปลกสุดๆ คือมุกล้างไพ่นี้แหละ เชยสุดๆ เลย คืองี้ประมาณว่าตอนแรกพระเอกกับนางเอกออกผจญภัยเพื่อตามหาพรรคพวก เนื้อหาก็ไม่ได้จริงจังสักเท่าไหร่ (อาจมีดราม่าเล็กน้อย) จนกระทั่งมาเจอบอสใหญ่ บอสใหญ่ใช้ท่าไม้ตายสุดยอดใส่พระเอก จนพระเอกกระจัดกระจายไปทิศละทาง และจากนั้นหลายปีต่อมา พระเอกก็เปลี่ยนไป บทนางเอกหาย ตัวละครใหม่หมด พูดง่ายๆ ฮาเร็มอยู่ดีๆ มากลายเป็นดราม่าแฟนตาซีสูตรสำเร็จไปเสียได้ เล่นซะผมเซ็งการ์ตูนแฟนตาซีสัญชาติเกาหลีไปพักใหญ่เลยทีเดียว
อันดับ 7 ไม่จบ ตอนใหม่มาช้า และดอง
ทั้ง 3 อย่างค่อนข้างมีความสัมพันธ์กัน แม้ลักษณะไม่เหมือนแต่ทั้งหมดเกี่ยวข้องกับการรอคอย การรอคอยอะไรบางอย่าง โดยไม่รู้ผลลัพท์จะเป็นอย่างไรมันช่างทรมานสิ้นดี การรอคอยมาพร้อมกับความสิ้นหวัง เซ็งกับชีวิต
ขอเริ่มจากไม่จบก่อน ไม่จบหมายถึงว่าการ์ตูนที่เขียนไม่จบ คือหยุดไปดื้อๆ ซึ่งจะต่างจากตัดจบ เพราะมันเขียนไม่จบ คงค้างอยู่อย่างนั้น ไม่เขียนต่อประการใด ซึ่งแน่นอนพูดถึงการ์ตูนไม่จบก็ต้องนึกถึง โดเรมอน ชินจัง หรือไลท์โนเวลเรื่อง MM! สาเหตุเนื่องจากคนเขียนเสียชีวิตเสียก่อน ซึ่งแน่นอนว่าการ์ตูนเรื่องนั้นจะไม่มีการเขียนต่อแน่นอน แต่ก็มีบางคนเหมือนกันที่พยายามรอคอยตอนจบการ์ตูนอย่างงั้นทั้งๆ ที่ไม่มีทางเป็นไปได้แน่นอน
พูดถึงชินจัง ก็มีเรื่องการรอคอยเข้ามาเกี่ยวข้อง เพราะก่อนที่คนเขียนจะเสียชีวิตนั้น กว่าตอนใหม่จะมานั้นยาวนานมากๆ นานจนคนเขียนแทบลืม ซึ่งหากปกติการ์ตูนธรรมดา คนเขียนไม่ดัง สำนักพิมพ์ไม่ง้อแล้ว แต่พอดีชินจังนั้นดัง คนอ่านก็ตั้งตารอคอย แน่นอนการ์ตูนเรื่องอื่นๆ ก็คล้ายๆ ชินจัง ทำให้การรอคอยเป็นธรรมดาของคนอ่านการ์ตูนอยู่แล้ว ที่การ์ตูนที่ชอบจู่ๆก็ขาดช่วงลง กว่าตอนใหม่จะมาก็แสนจะนานมากๆ บางคนก็อดทนรอคอย ในขณะที่บางคนเซ็งหรือสิ้นหวังไปแล้ว ในขณะที่คนเขียนก็ไม่วาดสักทีด้วยเหตุผลส่วนตัว เป็นต้นว่า ทะเลาะกับสำนักพิมพ์, ไม่มีอารมณ์ศิลปิน, ป่วย หรือติดเกม ซึ่งส่วนมากข่าวดังกล่าวเป็นข่าวลือที่จริงบ้างหรือไม่จริงบ้าง ตัวอย่างที่ดังๆ นอกเหนือชินจังก็มี เบอร์เซิร์ก (คนเขียนติดเกมไอดอท) และ ฮันเตอร์Xฮันเตอร์ (คนเขียนป่วย?) หรืออีกกรณีคือค้างคาๆ อยู่อย่างนั้น คือไม่ตัดจบ แต่คนเขียนไม่วาดต่อตลอดกาล (หรือเปล่า?) ปล่อยเอาไว้อย่างนั้น กรณีนี้ไม่ค่อยเห็นสักเท่าไหร่ แต่ให้เห็นเหมือนกัน อย่าง Chaosic Rune มังกรหายนะ ที่ภาค 2 ไม่เขียนต่อดื้อๆ ส่วนสาเหตุไม่ทราบ บางเรื่องรอเป็นชาติแต่พอออกมาก็ตัดจบไปเลยก็มี
พูดถึงการรอคอย สิ่งที่คนนักอ่านคนไทยตาดำๆ ที่ต้องเผชิญแน่นอนก็คือดอง พบมากในวงการมังงะลิขสิทธิไทย ซึ่งหมายถึงสำนักพิมพ์เก็บหมกไว้นานเกินควร เช่น เอาหนังสือไปดองไม่ยอมตีพิมพ์วางแผงไทยสักที หรือการวางแผงนั้นนานมากๆ บางเรื่องสามเดือน บางเรื่องปีหนึ่งก็มี ทีเรื่องดังๆ นั้นรอไม่กี่อึดใจก็วางแผงแล้ว ซึ่งสาเหตุการดองนั้นอาจมีสาเหตุมากมาย เช่น เนชั่นดอง Saikano อาวุธสุดท้ายคือเธอ เล่ม 7 เอาไว้ไม่ตีพิมพ์มาเพราะมันมีฉากเรตจนกลายเป็นการ์ตูนโป๊, เนชั่นดอง Elfen Lied ไว้เล่มที่ 2 เพราะมีเนื้อหารุนแรง (แล้วเอ็งจะลิขสิทธิ์ทำไมว่ะ) พูดง่ายๆ นึกถึงดองต้องนึกถึงเนชั่นเป็นอันดับแรก
ส่วนตัวผมแล้วการรอคอยนั้นกลายเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับผมซะแล้ว ยิ่งพวกการ์ตูนไม่ดังยิ่งทำใจ โดยเฉพาะเนชั่นนี้มีรายชื่อการ์ตูนดองที่ผมชอบมากมายหลายเรื่อง (ของสยามและวิบูลย์กิจไม่เท่าไหร่) ในขณะที่ต้นฉบับญี่ปุ่นปาไปเล่มที่เท่าไหร่ก็ไม่รู้หรือจบไปนานแล้ว และพอคนอ่านไปถามว่าทำไมไม่ออกมาเสียทีสำนักพิมพ์จะออกมาบอกว่ากำลังเจรจาสำนักพิมพ์ของญี่ปุ่นอยู่ (มันเจรจาอีท่าไหนของมัน ปาไป 3 ปีแล้ว)
ไม่แปลกหรอกครับที่คนไทยบางคนหันมาพึ่งเว็บอ่านมังงะในเน็ต แม้ตะภาษาจีนหรือญี่ปุ่นก็ตาม
นอกจากนี้การรอคอยยังรวมไปถึงการลุ้นการ์ตูนที่อยากให้มีลิขสิทธ์ในไทย หรือมังงะสร้างเป็นอนิเมะ แต่ที่แปลกคือไม่มีใครลุ้นลิขสิทธิอนิเมะไทยสักนิด (ฮ่า)
อย่างไรก็ตาม แม้การรอคอยจะเป็นเรื่องเซ็งของคนอ่าน แต่บางครั้งการรอคอยก็กลายเป็นสิ่งที่รู้สึกสุดยอดสำหรับนักอ่านเหมือนกัน หากในกรณีที่หนังสือที่เรารอคอยได้รับการวางแผง เวลานั้นถือว่าเป็นการสิ้นสุดการรอคอย ดีใจ มีคุ้นค่า เหมือนเช่นตอนนี้ผมก็รอ KONO BUSHITU HA KITAKUSHINAI BU GA SENKYO SHIMASHITA รวมพลคน(?)ไม่กลับบ้านอย่างจดใจจดจ่อและได้แล้วหนุนหัวนอนผมแน่นอน!!
อันดับ 6 ดัดแปลงไม่เหมือนต้นฉบับเดิมและเผา
อันดับนี้ค่อนข้างนานาจิตตัง เอาเป็นว่าผมจะอธิบายแยกเป็นส่วนๆ ครับ
ก่อนอื่นก็คือการดัดแปลง หมายถึงทำซ้ำโดยเปลี่ยนรูปใหม่ ปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติม เปลี่ยนแปลงให้เหมาะสม ตัวอย่างเช่น การ์ตูนอนิเมะดัดแปลงจากมังงะ, ภาพยนตร์ที่ดัดแปลงสร้างจากวีดีโอเกม, ภาพยนตร์ที่ดัดแปลงมาจากการ์ตูนคอมมิค เป็นต้น
ปกติเรามักเห็นเหล่าแฟน ที่เป็นพวกติดตามผลงานชิ้นนั้นมาตั้งแต่ต้นฉบับ) ที่มักออกมาบ่นสื่ออะไรที่ดัดแปลงจากต้นฉบับใดๆ ที่ทำแล้วไม่ตรงต้นฉบับเดิม ซึ่งพบมากที่สุดคืออนิเมะที่ดัดแปลงจากมังงะ และไลท์โนเวล ที่มักออกมาวิจารณ์ว่าไม่สามารถถ่ายทอดอารมณ์ของต้นฉบับได้ และดัดแปลงเนื้อหาจนน่าเกลียด
หากรวบรวมสิ่งที่ไม่เหมือนตรงต้นฉบับนั้น จะประกอบไปด้วย เปลี่ยนเนื้อหาบทตัวละครไม่ตรงต้นฉบับ, ฉากจบเปลี่ยนไม่เหมือนต้นฉบับ, ตัวละครใหม่ที่ไม่มีต้นฉบับ, ตัดทอนเนื้อหา, ดำเนินเรื่องเร็ว, เพิ่มตอนที่ไม่มีต้นฉบับเข้ามา ฯลฯ พูดง่ายๆ หากการ์ตูนที่ดัดแปลงต้นฉบับมีสิ่งเหล่านี้ยิ่งมากเท่าไหร่ คนอ่านจะเซ็งทันทีครับ
ความจริงแล้วผมมาตระหนักถึงความเซ็ง “ไม่เหมือนต้นฉบับเดิม” ไม่นานนี้เองครับ เรื่องของเรื่องคือผมได้ดูเคเบิลช่องการ์ตูนโรส (Rose) ผมได้ดูอนิเมะการ์ตูนเรื่องเจ้าหนูปรมาณู (Shin Tetsuwan Atomu), Black Jack, เจ้าหนูสามตา พูดง่ายๆผลงานของเท็ตซึกะ โอซามุ บิดาแห่งวงการการ์ตูนของญี่ปุ่น ผมก็พบว่าอนิเมะเหล่านั้นช่างไม่ตรงต้นฉบับมังงะของโอซามุเสียเลย เพราะของโอซามุนั้นดิบ มืดมนกว่า (แม้จะมีมุกตลกสอดแทรก แต่อารมณ์ของโอซามุนั้นเน้นมืดมน น่ากลัว โหดร้าย สูญเสีย) ในขณะที่อนิเมะที่สร้างจากผลงานของโอซามุนั้นอารมณ์ค่อนข้างสดใส ไม่โหดร้าย เพราะกลุ่มเป้าหมายเป็นกลุ่มเด็กเล็กครับ เลยตัดเรื่องพวกนี้ออก
ส่วนมากแล้วอนิเมะที่ดัดแปลงจากต้นฉบับนั้น เหล่าแฟนๆ ต้องการอยากให้อนิเมะนั้นต้องตรงกับต้นฉบับให้ได้มากที่สุดครับ ตรงที่ว่าคือ ไม่ว่าจะเป็นเนื้อหา อารมณ์ ความรู้สึก ต้องให้ตรงกับต้นฉบับมากที่สุด หากดัดแปลงก็ขอให้ทำได้ดีกว่าต้นฉบับ (ผมยกให้ Elfen lied เป็นการดัดแปลงที่ดีกว่าต้นฉบับเสียอีก) แต่หากดัดแปลงเนื้อหาเละ ไม่เหมือนต้นฉบับ มีสิทธิด่าจากเหล่าแฟนๆ ทันทีครับ
ความจริงแล้วการดัดแปลงไม่เตรงต้นฉบับ นั้นถือว่าเป็นปัญหาปกติที่ต้องทำใจไว้ก่อนที่เวลาจะดูการ์ตูนญี่ปุ่นแต่ละครั้ง หากทำใจไม่ได้ก็ถือได้ว่าคุณเข้าใจการ์ตูนญี่ปุ่นดีพอ เพราะว่าคุณต้องเข้าใจว่าหากทำตามต้นฉบับแป๊ะก็ไม่น่าติดตามเสียเท่าไหร่ (เช่น คุโรมาตี้ ดันทำต้นฉบับแป๊ะเลยไม่สนุกเท่าไหร่ ) หรือจะต้องมีการดัดแปลงให้เหมาะสมกับจำนวนตอนที่มีจำกัด (เป็นเหตุทำให้เกิดเม้นว่า “เนื้อหาอนิเมะนั้นเร็วไปไหม” ก็จะไม่ให้เร็วได้ไงเพราะพี่แกตัดเนื้อหารายละเอียดจากต้นฉบับเดิมออกไปเยอะนี้หน่า)
อนิเมชั่นดังๆ ที่เนื้อหาไม่เหมือนต้นฉบับนั้นอยู่คู่กับการ์ตูนญี่ปุ่น อย่างการ์ตูนของโอซามุนั้นในอนิเมชั่นได้ลดความโหดลงเพื่อให้เหมาะสำหรับเด็ก เช่นเรื่อง เจ้าหนูอะตอม เลโอ หรือแบล็คแจ๊ค เป็นต้น หากแต่เสียงตอบรับเป็นด้านบวก แต่สมัยนี้คงไม่ได้แล้วครับ หากไปเปลี่ยนอารมณ์ต่างจากต้นฉบับเดิม หลายคนจะด่าทันทีว่า “โดจินว่ะเรื่องนี้”
บางเรื่องก็ยากเหมือนกันที่จะคงอารมณ์ต้นฉบับ อย่าง โจโจ้ ล่าข้ามศตวรรษไงครับ เห็นอนิเมะซีซั่นนี้แทบกุมหัว (ในขณะที่หลายคนรับได้น่ะ) เพราะโจเป็นผลงานเฉพาะไม่เหมือนใครจริงๆ ดูที่มังงะสิครับที่เต็มไปด้วยมุมกล้อง การออกแบบตัวละคร ตัวละครโพสท่าเหนือธรรมชาติ ยากจะหาผู้กำกับใดที่ทำโจโจ้ได้ตรงกับต้นฉบับ
บางครั้งอนิเมชั่นอาจมีการเพิ่มตอนใหม่ที่ไม่มีต้นฉบับเหมือนกัน เช่น การ์ตูนโคนัน นิวโร คินดะอิจิ นารูโตะ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการ์ตูนที่มีจำนวนหลายตอน
แต่บางกรณีที่อนิเมชั่นเหล่านี้มีเนื้อหาไม่เหมือนต้นฉบับก็มี คือต้นฉบับการ์ตูนที่เรื่องนั้นตอนจบของเรื่องยังมาไม่ถึง ดังนั้นผู้สร้างจำเป็นต้องสร้างการดำเนินเรื่องขึ้นมาใหม่เพื่อให้เกิดลงตัว เช่น กันซึ ที่ต้นฉบับมังงะยังไม่มีตอนจบ แต่อนิเมชั่นจำเป็นต้องจบ เลยสร้างเนื้อเรื่องขึ้นมาใหม่ขึ้นมาเข้ามา
นอกจากนี้สิ่งที่ตามมาของเสียงบ่นไม่ตรงต้นฉบับก็คือ “เผา” ซึ่งตามหาภาษาอนิเมะแล้ว คือการทำให้คุณภาพของภาพอนิเมะ ลดลงแบบตั้งใจ เช่นสัดส่วนตัวละครเพี้ยน สีของภาพไม่ดีไม่เหมาะสมในเทคโนโลยีการสร้าง(ในสมัยที่สร้าง) แต่ทั้งนี้เผานั้นแบ่งออกเป็น 3 แบบ
เผาแบบจุดเล็กๆ ซึ่งหมายถึงมีจุดผิดพลาดที่ผู้ดูไม่ได้ให้ความสนใจสักเท่าไหร่ปรากฏมายังภาพนั้น เช่นตัวละครในภาพมี 6 นิ้วเป็นต้น
เผาแบบที่สองคือคุณภาพอลังการแต่จะมาเผาในช่วงกลางตอนหรือช่วงท้ายทำให้การ์ตูนออกมาไม่ถูกใจผู้ดูและไม่เกิดอินกับเรื่องในที่สุด
และเผาแบบที่สามนั้นน่ากลัวที่สุดคือเผาตั้งแต่ต้นยันจบ เผาชนิดเห็นได้ชัดว่าตั้งใจทำ ไม่ว่าจะเป็นด้านภาพหรือการดำเนินเรื่องที่ออกมาด้านลบไม่สมกับคุณภาพ
สาเหตุที่เผาก็มีมากมาย หลักๆ คือ ทุนไม่สูงไม่สามารถสร้างภาพดีกว่านี้ได้ หรือเนื่องจากให้ทันต่อกำหนดในการฉายหรือไม่ก็อนิเมะนั้นเป็นงานที่ยากและใช้ความละเอียดสูงทำให้คนทำเกิดอารมณ์อยากมักง่ายบ้างเพราะคิดว่าผู้ดูไม่สังเกต(อันนี้เป็นกรณีจุดเล็กๆ) ส่วนในภาษามังงะคือการวาดแบบขอไปทีเพื่อให้ทันต่อการปิดต้นฉบับ ส่งผลทำให้สัดส่วนตัวการ์ตูนอาจแปลกลงไปบ้าง เช่น หน้าตาตัวละครบิดเบี้ยว ผอมเกินไป สูงเกินไป หรือมือมีหกนิ้ว เป็นต้น อย่างไรก็ตามก็มีเผาแบบหนึ่งคือเผาแบบมีศิลปะ ซึ่งเป็นเผาแบบชาญชาติคนดู ดูแล้วกับชอบมากกว่าตำหนิ
อนิเมชั่นที่ได้รับขนานนามว่าเผาได้สุดยอดที่สุดคือ Akikan! ได้รับผลโหวตว่าเป็นอนิเมะเผาเกรียมที่สุดแห่งปี(อย่างไม่เป็นทางการ) ไม่ว่าจะเป็นทำไม่ตรงต้นฉบับและเผาอย่างรับไม่ได้เลยก็ว่าได้
สำหรับผมเซ็งที่สุดก็คือเป็นอนิเมะที่ดัดแปลงจากเกมจีบสาว ซึ่งไม่ว่าจะเป็นเรื่องใดที่ผ่านมาไม่มีเรื่องใดที่ผมประทับใจเลยแม้แต่น้อย เพราะหลายเรื่องไม่สามารถคงความอารมณ์ต้นฉบับของการ์ตูนเลย บางเรื่องไม่สามารถเรียบเรียงเนื้อหาเส้นทางเนื้อเรื่องตัวละครเป็นเนื้อเรื่องเดียวกันได้ และที่สำคัญตอนจบที่ทำออกมาไม่เคยให้ผมประทับใจเลย กลับทำให้เซ็งหนักกว่าเดิม (ซึ่งตอนจบจะอธิบายอย่างละเอียดในอันดับ 1)
พูดถึงไม่เหมือนต้นฉบับก็ต้องนึกถึงการ รีเมคด้วยน่ะครับ รีเมค หมายถึงการทำใหม่ มักพบมากในภาพยนตร์ ละครไทย ที่รีเมคเรื่องดังๆ มาซ้ำหลายรอบ (เช่นบ้านทรายทอง, คู่กำ, นางนาก) อย่างไรก็ตามอย่างที่หลายคนรู้กันการรีเมคนั้นส่วนใหญ่ไม่ค่อยประสบผลสำเร็จนัก เพราะเหล่าแฟนๆ ยุคเก่ามักบอกว่าความสนุกไม่เท่ากับของเดิม ซึ่งในการ์ตูนญี่ปุ่นเท่าที่เห็นก็ไม่ค่อยเห็นสักเท่าไหร่ แต่ผมเห็นการ์ตูนรีเมคเรื่องหนึ่งสุดรับไม่ได้ที่ต้นฉบับเดิมมันคอเมดี้แฟนตาซีพอมารีเมคกลายเป็นดราม่าสงครามซะงั้น เป็นต้น
อันดับ 5การเปลี่ยนแปลง
มนุษย์เรามักหวาดกลัวต่อการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอครับ การเปลี่ยนแปลงคือการที่สิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือ เหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งมีสภาพแตกต่างไปจากเดิม ซึ่งตลอดชีวิตเรานั้นต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงเสมอ ไม่ว่าจะเป็น การเปลี่ยนแปลงสภาพร่างกายของเรา, บ้านเรือนเปลี่ยนแปลง, สภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลง หรือแม้กระทั่งการ์ตูนญี่ปุ่นก็มีการเปลี่ยนแปลงเช่นกันคือเปลี่ยนแปลงโดยรวมหรือเรื่องใดเรื่องหนึ่งเกิดมีการเปลี่ยนแปลงเช่นกัน
ขออธิบายการเปลี่ยนแปลงโดยรวมของการ์ตูนโดยรวมกัน นั่นคือการเปลี่ยนแปลงฐานผู้บริโภคในแต่ละยุคสมัย สมัยก่อนอนิเมะลายเส้นของการ์ตูนจะไม่มีความโมเอะ เน้นบู๊ สายพลัง K ผู้ชายบ้ากล้าม มิตรภาพลูกผู้ชาย พอมาสมัยนี้ก็มีการเปลี่ยนแปลงเน้นตัวละครหญิงน่าตาน่ารัก แนวเรื่องก็เริ่มหลากหลายมากขึ้น มีการเพิ่มคาแร็คเตอร์ เทคนิคการดำเนินเรื่องแปลกใหม่ขึ้นไม่ใช่เป็นเส้นตรงแบบสมัยก่อน ทำให้การ์ตูนญี่ปุ่นมีการพัฒนาไม่ได้หยุดอยู่กับที่เหมือนแต่ก่อน
นี้คือการเปลี่ยนแปลงที่ดีด้านบวก อาจจะมีเสียงเก่าๆ ของวัยกลางคนที่โหยหาอดีตบ้าง แต่ก็ไม่มากมายเท่าไหร่ เพราะเข้าใจกระแสโลกเปลี่ยนแปลงอยู่แล้ว
อย่างไรก็ตาม ด้านลบของการเปลี่ยนแปลงของการ์ตูนนั้นค่อนข้างมีมาก โดยเฉพาะเกี่ยวกับผลงานการ์ตูนชิ้นนั้นๆ ที่เราอวยกัน โดยเฉพาะเรื่องที่ดัง หลายเล่ม หลายตอน ย่อมมีการเปลี่ยนแปลงไปบ้าง ซึ่งบางครั้งการเปลี่ยนแปลงนั้นอาจทำให้คนอ่านจิตตกถึงขั้นเลิกอ่านกลางคันทั้งๆ ที่อวยมาตั้งแต่แรกก็ได้ ยกตัวอย่าง เช่น
เปลี่ยนลายเส้น-เป็นเรื่องปกติธรรมดาที่คนเขียนการ์ตูนหน้าใหม่ ที่ยังไม่สามารถหารูปแบบการวาดลายเส้นลักษณะของตนเองได้ ทำให้ผลงานแรกๆ ลายเส้นเหมือนไม่สมบูรณ์แบบ ขาดความเป็นเอกลักษณะ (ตัวอย่างการ์ตูนจัมป์ทั้งหลายแหล) หากแต่เมื่อวาดการ์ตูนหลายตอน ฝีมือก็เริ่มพัฒนา ลายเส้นก็เริ่มเปลี่ยนไปจนมีลักษณะเฉพาะๆ ของคนเขียนคนนั้นมากขึ้น (ตัวอย่างเช่น โจโจ้ล่าข้ามศตวรรษ JoJo's Bizarre Adventure ที่ลายเส้นตอนแรกเหมือนหมัดเพชฌฆาตดาวเหนือ หากแต่เมื่อวาดหลายภาคก็มีลายเส้นลักษณะเฉพาะตัวเป็นต้น)
โอเคนี้คือด้านบวก อย่างไรก็ตามหากเป็นด้านลบบ้างล่ะมันจะเกิดอะไรขึ้น เมื่อการเปลี่ยนลายเส้นเกิดขัดหูขัดตาคนอ่านหน้าเก่าเข้าล่ะ! บางกรณีเช่นคนอ่านอย่างผมเกิดรู้จักขัดใจลายเส้นของผู้ช่วย (ที่มักวาดตัวประกอบหลังฉาก ประมาณนั้น) เปลี่ยนกะทันหัน มันช่างขัดตาขัดใจไม่เข้ากับลายเส้นคนเขียนหลักสุดๆ บางกรณีก็ออกแนวแปลกๆ ก็เช่นที่จู่ๆ ลายเส้นเปลี่ยนกระทันหันคนเขียนเกิดป่วย ลายเส้นเกิดไก่เขี่ยไม่มีความสวยงามแม้แต่น้อย แต่นั้นก็เป็นบางครั้งบางคราว หากแต่ถวารล่ะ เกิดลายเส้นเปลี่ยนไปทางลบ คือตอนแรกๆ ลายเส้นสวยงามเลิศมากแต่พอจบภาคจู่ๆ ลายเส้นเกิดเผาสุดๆ หรือไม่ก็ลายเส้นเปลี่ยนอย่างกับคนล่ะคนเหมือนคนวาดเป็นคนอื่นจนขาดอารมณ์ของการ์ตูนที่ดูตั้งแต่แรกๆ ไปโดยสิ้นเชิง บางคนถึงขั้นเซ็งจัดและเลิกอ่านกลางคันเลยทีเดียว
ตอนแรกเรารู้สึกชอบการ์ตูนเรื่องนั้นเพราะเป็นแนวที่เราชอบ ติดตามตั้งแต่ต้น หากแต่เมื่อการ์ตูนเปลี่ยนแนว กลายเป็นการ์ตูนอะไรที่เราไม่รู้จัก คนอ่านอย่างเราก็รู้สึกเคียงเหมือนชอบคนเขียนหักหลังยังไงอย่างงั้น แม้ว่ามันได้ใจกับหลายใครหลายคน อีกทั้งแนวที่เปลี่ยนไม่ชอบเอาเสียเลย ดูแล้วสูตรสำเร็จ ออกทะเล ตอนนี้กลายเป็นการ์ตูนที่เขาไม่รู้จักแล้ว ทำร้ายจิตใจอย่างมาก ส่งผลทำให้คนอ่านส่วนหนึ่งเกิดอาการเซ็ง จนไม่อยากจะพูดถึง คับแค้นใจ ไม่อยากเผาผีเลยทีเดียว
เปลี่ยนลุค – บางครั้งเรามักรับไม่ได้กับการเปลี่ยนลุคของตัวละคร การเปลี่ยนลุคหมายถึงการเปลี่ยนแปลงตัวเองให้แตกต่างจากที่เป็นอยู่ เช่น เปลี่ยนเครื่องแต่งกาย, ทรงผม ไปจนถึงการทำศัลยกรรม ส่วนในกรณีของตัวละครในการ์ตูนญี่ปุ่นนอกเหนือจะเปลี่ยนแต่งกายหรือทรงผมแล้ว ยังลืมไปถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มอายุ (ตัวละครจากวัยเด็กสู่วัยผู้หญิง) หรือไม่ก็สูญเสียอวัยวะ (แขนขาขาด, ตาซ้ายบอด เป็นต้น) ซึ่งสำหรับบางคนแล้วการที่ตัวละครที่ชอบเปลี่ยนลุคไปจากเดิมถือว่าเป็นสิ่งที่รับไม่ได้ เช่นตอนแรกนางเอกผมยาว ตอนหลังมาตัดผมสั้นอย่างกับผู้ชาย (แต่ผมคิดว่าโยโซระจากชมรมไร้เพื่อนเข้ากับทรงผมทอมบอยแบบนี้น่ะครับ) ถ้าทำชั่วคราวก็ไม่เท่าไหร่หรอก หากแต่ถ้าทำเป็นถวารล่ะก็หลายคนมีเคืองแน่นอน นอกจากนี้เปลี่ยนลุคไม่พอยังมีการเปลี่ยนคาแร็คเตอร์ให้คนอ่านรู้สึกว่านี้ไม่ใช่ตัวละครที่ฉันเคยชอบในอดีตนี้หว่า หรือไม่ก็ไปทำอะไรมาถึงได้ถึกขนาดนั้นเมื่อก่อนยังแคะแท้ๆ เป็นต้น
อันดับ 4 ออกทะเล
ออกทะเลมีหลายความหมาย หากแปลตามตัวก็แปลว่าการออกท้องทะเลอันกว่างใหญ่ไพศาล หากในกระทู้โลกออนไลน์แล้ว มันหมายถึงการตอบโดยเบี่ยงประเด็นไปเรื่องอื่นๆ (หรือไม่ก็เป็นการปั๊มกระทู้) ทำให้คนตอบต่อๆ มาเริ่มหลงประเด็น สุดท้ายกระทู้นั้นก็จะไม่ได้รับการสนใจต่อเนื้อหาและ ประเด็นที่เจ้าของกระทู้ได้ตั้งไว้แม้แต่นิดเดียว หากเป็นอนิเมะหรือการ์ตูน ออกทะเลหมายถึงการดำเนินเรื่องเปลี่ยนไปจนไม่สามารถกลับเข้าประเด็นหลักของเรื่องได้ ส่งผลทำให้การ์ตูนเรื่องนั้นไม่รู้จะจบยังไง เพราะคนเขียนปูเนื้อเรื่องเหมือนไปเรื่อย จนยากที่จับความสำคัญของเนื้อเรื่องได้
การ์ตูนที่ได้รับขนานนามว่าออกทะเลได้ถูกอกถูกใจคนดูมากที่สุดคือ Berserk ชนิดที่เรียกว่ากู่ไม่กลับ อีกเรื่องที่กู่ไม่กลับพอๆ กัน คือ เกาะกระหายเลือดที่ตอนแรกเน้นหนีจากเกาะโรคจิตแท้ๆ แต่หลังๆ กลายเป็นพระเอกยอดมนุษย์ฆ่าอสูรยักษ์ไปเสียแล้ว และการ์ตูนจัมฟ์เกือบทั้งหมด ล้วนมีเนื้อเรื่องออกทะเลที่ไม่สามารถหาจุดลงตัวได้
ออกทะเลยังคงเป็นสิ่งน่ากลัวอันดับต้นๆ ของความเซ็งที่สุดในการดูการ์ตูนมังงะญี่ปุ่น ที่หลายคนจะต้องเจอ เพราะส่วนใหญ่การ์ตูนที่ออกทะเลคือการ์ตูนดัง หลายคนชอบติดตามตั้งแต่ต้น และด้วยความดังนั้นเอง ทำให้คนเขียนพยายามที่จะเพิ่มหรือขยายความเนื้อเรื่องให้กว้างขึ้นเพื่อให้เรื่องยืดยาวขึ้น (ดังนั้นจงทำใจหากการ์ตูนที่เราชอบขึ้นมา มีสิทธิออกทะเลสูง) จนบางครั้งการขยายเนื้อหาให้กว้างขึ้น หากดีน่าติดตามก็ดีไป หากแต่ส่วนมากมักออกเป็นด้านลบมากกว่า หากใจไม่รักจริงคงไม่ติดตามตั้งแต่ต้นตนจบ เป็นเหตุทำให้เกิดนานาจิตตังถกเถียงกันว่าการ์ตูนไหนออกทะเลและไม่ออกทะเล เพราะบางเรื่องออกทะเลก็ยังสนุกอยู่
อย่างไรก็ตาม ออกทะเลใช่ว่าจะเป็นการ์ตูนดังเสมอไป อาจเป็นการ์ตูนที่มีเนื้อหาเรื่อยเปือยไม่เน้นเนื้อเรื่องมากนัก เช่น แอ็คชั่นต่อสู้ไปเรื่อย ๆ ศัตรูเก่งขึ้นตามลำดับ หรือบู๊จนจบภาคแล้วแต่ภาคใหม่ไม่รู้จะเอาอะไรมาเล่นดี (หรือหมดมุก เลยแก้ปัญหาเฉพาะหน้าไปก่อน แต่พอดีการแก้ปัญหาไม่เนียนพอ เลยโดนตัดจบไป) หรือเป็นการ์ตูนแนวรักๆ ที่ไม่เนื้อเรื่อง หรือจะเป็นการ์ตูนที่หาจุดลงตัวไม่ได้พยายามลองผิดลองถูกแต่กลายเป็นว่ายิ่งทำยิ่งมั่วยิ่งรับไม่ได้ส่งผลโดนตัดจบในที่สุด
ปกติแล้วการออกทะเลนั้นจะออกเป็นภาคๆ เช่นภาคอนาคต, ภาคชิงแหวน, ภาคอสูร อะไรประมาณนี้ หมายถึงการจบช่วงหนึ่ง และไปต่ออีกช่วง พร้อมการผจญภัยครั้งใหม่ เปลี่ยนอารมณ์ใหม่หมด ตัวละครใหม่เยอะมากมายเข้ามา ไม่ว่าจะเป็นมิตรใหม่ ศัตรูใหม่ ซึ่งเพราะตัวละครเยอะจนจดจำไม่ไหวนี้เองทำให้การกระจายบทตัวละครไม่ดีนัก บางคนเกลียดตัวละครใหม่ๆ ด้วยซ้ำ ส่วนตัวละครเก่าๆ บทมักจะถูกลืม หากไม่สำคัญจริง
การออกทะเลบางครั้งอาจเกิดการเปลี่ยนแนว เปลี่ยนอารมณ์ไปด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งแนวคอเมดี้นั้นกลายพันธุ์บ่อยมาก (ไม่ใช่เฉพาะจัมมป์เท่านั้น สำนักพิมพ์อื่นๆ ก็มีเช่นกัน) และมักกลายพันธุ์เป็นการ์ตูนบู๊เพราะมันสามารถทำต่อไปได้เรื่อยๆ มีองค์กร มีสี่เทพ มีดาบเทพ เปลี่ยนกฎไปมา จนหลายคนรับไม่ได้เลิกอ่านในที่สุด
อันดับ 3 ไม่ตรงใจเรา
อันนี้เกี่ยวกับรสนิยมของคนอ่านของแต่ละคน ซึ่งเป็นเรื่องปกติอยู่แล้วครับ ที่บางครั้งความคิดของเรานั้นไม่ตรงกับคนเขียน บางครั้งการ์ตูนก็ดำเนินเรื่องไม่ตรงกับใจของเรา นอกจากนี้การ์ตูนบางเรื่องหลายคนอวยหนักหนาบอกว่าสุดยอด แต่สำหรับบางคนแล้วกลับตรงกันข้าม บางคนถึงขั้นเกลียดกาณ์ตูนเรื่องนี้ยิ่งกว่าตัวกินไข่เสียอีก
นอกเหนือจากออกทะเลและการเปลี่ยนแปลงแบบรับไม่ได้แล้ว ก็มีการ์ตูนหลายเรื่องที่ผมดร็อปกลางคันมากมายหลายเรื่องเหมือน ตอนแรกติดตามอยู่หรอก แต่ตอนหลังๆ ดันมีสิ่งหลายอย่างที่ขัดใจรสนิยมของผมพอสมควร ไม่ว่าจะเป็นการดำเนินเรื่อง หรือพฤติกรรมของตัวละคร แม้บางอย่างเหมือนจะเล็กน้อย หรือเป็นเรื่องใหญ่มาก ทั้งหมดก็ทำให้หลายคนเซ็งเหมือนกัน
เป็นต้นว่า มีตัวละครหนึ่งที่เป็นนางเอกน่ารักแต่ดันมีลูกมีเต้าแล้ว (แน่ใจว่าเล็กน้อย?) แค่นี้ก็ทำให้หลายคนด่าว่าคนเขียนดราม่าเหมือนกัน หลายคนถึงขั้นไม่เผาผี เกลียดการ์ตูนเรื่องนั้น จนคนเขียนไม่สามารถแก้ตัว แน่นอนว่าสำหรับผู้อ่านคนอื่นที่ไม่ได้ติดตามการ์ตูนเรื่องนั้นและไม่ใช่ฐานคนดูของการ์ตูนเรื่องนั้นเกิด งง ไม่เข้าใจว่า “มันดราม่า” ได้อย่างไร เมื่อความรู้สึกสองฝ่ายขัดแย้งกัน ก็เกิดดราม่าขึ้นว่า “เรื่องแค่นี้มันใหญ่อะไรหนักหนา”
บางครั้งการอ่านการ์ตูนไม่จำเป็นต้องมีตรรกะอะไรมากมาย มันอยู่ที่ความชอบส่วนตัว เราชอบตัวละครนี้ เราชอบการดำเนินเรื่องฉากนี้ เราดูฉากนี้ซ้ำไปซ้ำมา เพราะว่าชอบ ไม่ใช่ดูแล้วจบไป ยิ่งแก่มากยิ่งอายุมากก็เสพอะไรที่ไม่เหมือนคนอื่น พร้อมกับความเรื่องมาก เห็นอะไรผิดอะไรนิดหน่อยพลางเซ็งหมดอารมณ์ ถึงขั้นดร็อปและเลิกอ่านแม้ว่าเราจะติดตามมากลางเรื่อง หรือหลายตอนแล้วก็ตาม
ยังมีปัจจัยเล็กๆที่ถึงขั้นคนเลิกอ่านได้อย่างง่ายดาย ซึ่งส่วนใหญ่เกี่ยวกับพฤติกรรมของตัวละครที่ขัดแย้งกับจิตใจของคน ยกตัวอย่าง เช่น
ตัวละครที่ชอบตาย ชีวิตนี้ตัวละครตายและผมรับไม่ได้ที่สุดคืออาเระ (Guilty Crown) มันเป็นอะไรที่รับไม่ได้สุดๆ ในชีวิตที่ดูการ์ตูนมาหลายร้อยเรื่อง โอเคการตายของตัวละครนั้นมักพบเห็นเป็นประจำในการ์ตูนญี่ปุ่นแล้ว หากแต่ตัวละครหลายเรื่องมีการวางบทโครงเรื่องดี การดำเนินเรื่องไปถึงบทการตายของตัวละครนั้นๆ อย่างเช่นทวินเทลจากเรื่อง Another แม้ผมจะเสียใจกับการตายของตัวละครนี้ แต่โชคดีที่ตายในตอนท้เยเรื่องและบทการตายก็ไม่ได้โหดร้ายอะไร (แต่หลายคนสิ้นหวังกับแว่นตายตอนต้นเรื่องมากกว่าน่ะ) ก็ทำให้ผมประทับใจการตายของทวินเทลได้ (เจ็บปวดจังทำไมแนวสยองขวัญทวินเทลชอบตายจังฟ่ะ) แต่กรณีของอาเระนั้นจู่ๆ ถึงบทตายก็ตาย ตายโหดร้าย เศร้า แถมตัวละครที่หลายคนอยากให้ตายก็ดันไม่ตายอีก แบบนี้ไม่เซ็งจะให้พูดอย่างไร
เชื่อเถอะหลายคนที่เลิกอ่านการ์ตูนนั้นๆ บางส่วนรับไม่ได้ที่ตัวละครที่ชอบตาย นอกเหนือจากพระเอกหรือนางเอก บางตัวละครถึงขั้นหลอนก็มี แม้บางเรื่องมีการวางบทยังไงก็ตาม เออ....ตอนที่ผมเขียนบทความผมได้ยินข่าวเด็กคนหนึ่ง (รัสเซีย??) ฆ่าตัวตายด้วยการกระโดดตึกตายเพราะตัวละครตัวหนึ่งจากเรื่องนารูโตะตาย แสดงให้เห็นว่าบางครั้งการสร้างการ์ตูนวางบทดราม่าสมจริงก็ทำให้หลายคนอินจังถึงขั้นกระโดดตึกตายได้เหมือนกัน
ตัวละครที่ชอบบทน้อย หนึ่งในความเซ็งที่คุณต้องเจอ (หรือไม่ค่อยเจอก็ไม่รู้) เมื่อตัวละครที่คุณชอบเกิดบทน้อย ซึ่งบางครั้งบทมีเพียงแค่นี้ แต่บางกรณีการ์ตูนบางเรื่องตัวละครเยอะเกินไปไม่สามารถจัดสรรบทตัวละครได้เพียงพอ บางเรื่องอวยขโมยซีนกันวุ่นวาย จนบางเรื่องนางเอกแทบไม่มีบทก็มี
เกลียดตัวละคร คราวนี้จากชอบเป็นเกลียด บางคนอาจเกลียดตัวละครขึ้นมากะทันหัน (หากเกลียดตัวละครตั้งแต่แรกเห็นเช่นพระเอกและนางเอกก็เลิกอ่านไปแล้ว แต่ปัญหาอยู่ที่ตัวละครรอง (ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายพระเอกหรือผู้ร้าย) ที่ปรากฏตอนกลางเรื่อง ซึ่งสาเหตุที่เกลียดก็มีเหตุผลและไม่มีเหตุผล หากมีเหตุผลหลายคนตามต่อ ยิ่งเป็นแอ็คชั่นตัวละครตัวที่เราเกลียดตายเราจะสะใจมาก (หากมันไม่ตายนี้สิเซ็งเข้าไปใหญ่) แต่ปัญหาก็คือเกลียดตัวละครไม่มีเหตุผล อธิบายง่ายๆ จู่ๆ ขึ้นเกิดเหม็นขี้หน้าตัวละครตัวนี้ ไม่ชอบการออกแบบ เกิดข้อสงสัยว่าจะมีตัวละครตัวนี้ทำไม มันรกเรื่องชัดๆ เป็นต้น
อย่างไรก็ตามทั้งหมดทั้งมวลสิ่งที่เราเกลียดอะไรที่ขัดใจในการ์ตูนก็คือ “ความอคติ” ของคนเรา ความอคติก็คือความลำเอียง ผ่าเหล่า ในขณะที่คนอื่นชอบ แต่เราไม่ชอบซะอย่าง ต่อให้มีเหตุผลร้อยแปด การ์ตูนสุดยอดได้รับรางวัลมากมายเพียงใดก็ตาม เราก็ไม่ชอบอยู่ดี
ลำเอียงนั้นเกิดขึ้นได้หลายอย่าง หลักๆ คือ ลำเอียงเพราะรัก, เกลียด, กลัว และไม่รู้ อคตินั้นมีอยู่ตัวเราทุกคนและมุมมองการดูการ์ตูนต่างกัน เช่นมีฉากหนึ่งพระเอกฆ่าผุ้ร้าย หลายคนชอบฉากนี้มาก ในขณะที่คนหนึ่งเกลียดฉากนี้มาก ด้วยเหตุผลร้อยแปดมีทั้งสมเหตุสมผลและไม่สมเหตุสมผล เพราะไม่ชอบเสียอย่าง ไม่จะเป็นเหม็นขี้หน้าตัวละครอย่างบอกไม่ถูก, ไม่ชอบลายเส้น, ไม่ชอบแนว ดำเนินเรื่องไม่ถูกใจ บางครั้งก็เปรียบเทียบกับการ์ตูนที่เราดูอดีตทำให้เกิดความไม่พอใจ ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ทำให้หลายคนเซ็งและเลิกอ่านการ์ตูนกลางคันในที่สุด
อันดับ 2 ตัวละครหญิงเสียความบริสุทธิ์
ต่อเนื่องมาจากอันดับ 3 สมัยก่อนตัวละครโดยเฉพาะนางเอก (สายสว่าง) แต่งงานกับพระเอกถือว่าเป็นฉากจบดีประทับใจ แต่สมัยนี้ไม่สามารถใช้ฉากใช้ได้กับตรรกะของใครบางคน หลายคนเห็นว่าเป็นตรรกะป่วยๆ แต่ขอบอกว่าสำหรับใครบางคนถือว่าเป็นเรื่องใหญ่มาก ยอมความได้ ถึงขั้นไม่เผาผีเลยทีเดียว
“รักกันได้ แต่อย่าให้เสียความบริสุทธิ์”
ตรรกะแปลกๆ ของคนดูบางกลุ่ม เอาเป็นว่าผมคนหนึ่งที่มีตรรกะนี้เหมือนกัน กล่าวคือผมชอบตัวละครหญิง (สายสว่าง) ที่มีความรักเดียวใจเดียว มีความเป็นพรหมจันทร์ ซึ่งในชีวิตจริงพรหมจันทร์หาได้ยากแล้วในปัจจุบัน (แน่นอนใครชอบยัยร่านแบบแพนตี้กับสตองกิ้งบ้างก็ขอให้ยกมือละกัน) ดังนั้นการ์ตูนถือว่าเป็นอีกหนึ่งที่สามารถหลีกหนีความจริงนี้เพื่อดูเสพตัวละครหญิงบริสุทธิ์ รักแบบซาบซ่าได้
ทำไมบางคนถึงเกลียด (จิตตก) โดจินที่เอาตัวละครหญิงที่เราชอบมาบู้ยี้บูยำ (ยกตัวอย่างตัวละครจากเรื่องฮารุฮิ) สาเหตุเพราะทำให้ตัวละครของพวกเขาไม่บริสุทธิ์ ทำอย่างกับพวกเธอเป็นยัยร่าน สนองพวกชอบอะไรป่วยๆ แบบนั้น มันรับไม่ได้ (ส่วนใหญ่ผมชอบสายมืดแบบออริจินอลน่ะครับ และต้องเป็นทำกันคนที่ชอบหรือพระเอกเท่านั้น) ทำไมไอดอทถึงห้ามมีแฟน นี้แหละครับตรรกะเดี๋ยวกัน โอตากุ หรือคนดูให้ความสำคัญมากกับความบริสุทธิ์ยิ่งกว่าใดๆ
โอเค ปกติหากตอนแรกเราพบว่านางเอกไม่บริสุทธิ์ก็ถือว่าเลิกอ่าน ไม่ต้องตามดู แต่ปัญหาก็คือหากมันเกิดขึ้นตอนกลางเรื่องล่ะ หรือเกิดตอนจบล่ะ ที่คนเขียนเกิดทำให้นางเอกไม่บริสุทธิ์ นี้สิถึงเรียกว่าหักหลังอย่างแท้จริง เพราะ เราไม่รู้ว่านางเอก (หรือตัวละครหญิง) ที่เราชอบนั้นพวกเธอยังคงความบริสุทธิ์หรือเปล่า (นอกจากตัวผู้เขียนเท่านั้นที่รู้) ตอนแรกเนื้อเหมือนคอเมดี้ธรรมดา น่ารัก แบบวัยรุ่น แต่มากลางเรื่องนางเอก (หรือตัวละครหญิงตัวอื่น) กับเสียตัว ไม่บริสุทธิ์ (หรือมีเหตุการณ์) สิ่งเหล่านี้คนดูบางคนถือว่าเป็นการหักหลัง อีกทั้งยังเปลี่ยนแนวให้การ์ตูนดราม่าขึ้นทันใด (ใครชอบดราม่า ปวดตับว่าไปอย่าง)
ตัวอย่างเคยมีแล้วครับ อย่าง คนเขียนนาม Eri Takenashi ผู้วาดมังงะ Kannagi: Crazy Shrine Maidens การ์ตูนดังแบบเงียบๆ ที่จู่ๆ ผลงานก็เงียบหายไป (มังะออกตั้งแต่ 2006 และหยุดลงในปี 2009) เนื่องจากคนเขียนป่วย ซึ่งก่อนที่คนเขียนจะป่วยนั้น คนเขียนเกิดการโต้เถียงกับแฟนผลงานคนหนึ่ง (ต่อมาลุกลามลามกลายเป็นกลุ่มใหญ่) ที่เขาไม่พอใจเนื้อหาในมังงะย้อนอดีต ที่นางเอกชาติที่แล้วมีลูกแล้วรับไม่ได้ โดยชาติที่แล้วไม่ได้รักพระเอกไม่ใช่คนอื่น ดังนั้นโอตากุคนนั้นรับไม่ได้จึงฉีกหนังสือทิ้งในที่สาธารณะ เป็นเหตุให้คนเขียนเลิกเขียนต่อเพราะถูกกดดัน หลังจากนั้นคนเขียนก็ป่วยเป็นมะเร็งและทำให้หยุดเขียนไป จนบัดนี้ก็
แน่นอนว่าคนธรรมดาบางกลุ่มรับไม่ได้หรือสงสัยการกระทำของโอตากุคนนั้นจึงเกิดดราม่าขึ้น อย่างไรก็ตามผมเข้าใจความรู้สึกโอตากุคนนั้นเพราะเขารู้สึกเหมือนโดนหักหลัง รับไม่ได้ เพราะโอตากุจะเปรียบพระเอกในการ์ตูนเรื่องนั้นคือตนเอง การที่ตัวละครที่เราชอบมีคนรักคนอื่นอยู่แล้ว ไม่บริสุทธิ์ เกิด NTR และอีกสาเหตุหนึ่งคนเขียนอ่านบรรยากาศไม่ออกเอง ว่ากลุ่มที่ติดตามการ์ตูนเรื่องนี้เป็นกลุ่มแบบไหน และพวกเขาต้องการให้เรื่องไปในทิศทางใด ชอบอะไร ฯลฯ
นี่คือตรรกะที่เราพบเห็นบ่อยๆ ในโอตากุ แม้ว่าเราจะเห็นเป็นเรื่องไร้สาระหรือไม่เหตุผล แต่ผมเชื่อทุกคนย่อมมีตรรกะไร้เหตุผลไม่ก็ทางใดทางหนึ่งในมุมองการอ่านการ์ตูนเป็นแน่แท้ เพียงแต่คุณไม่รู้ตัวเท่านั้นเอง
อันดับ 1 จบไม่ฮาเร็ม (เข้าวิน)
และแล้วก็มาถึงอันดับ 1 ซึ่งผมเชื่อว่าใครที่ติดตามผมมานานก็น่าจะเดาถูกกับอันดับนี้ไม่มากก็ไม่น้อย และเพราะเซ็งฉากจบแบบไม่ฮาเร็มนี้เองทำให้ผมได้เปลี่ยนแนวทางการของบทความในช่วงหลังเน้นการสนับสนุนฮาเร็มและจบฮาเร็มมากยิ่งขึ้นกว่าแต่ก่อน
เข้าวินนั้นหมายถึงการเข้าเส้นชัย หากเป็นกางเกงในเข้าวินหมายถึงกางเกงในเข้าร่องก้นนั้นเอง หากเป็นศัพท์การ์ตูนคอมเมดี้โดยเฉพาะแนวฮาเร็มที่ผู้หญิงรักพระเอกหมดทุกคน เข้าวินจะหมายถึง การที่ผู้หญิงในนั้นสมหวังได้พระเอกมาครอบครอง ซึ่งพระเอกเลือกเธอคนนั้นเป็นคู่รักของตน ส่วนคนอื่นแห้วกินหมด
สำหรับผมแล้วผมเกลียดตอนจบแบบเข้าวินเข้ากระดูกดำ เกลียดยิ่งอะไรทั้งหมด เกลียดเม้นที่ว่าใครเข้าวิน ทำไมผมถึงเกลียดการเข้าวินนั้น อันนี้ผมก็จำไม่ค่อยได้แล้วว่าจุดเริ่มต้นมาจากไหน อาจดูอนิเมะเรื่องหนึ่งที่สร้างจากเกมจีบสาวที่ทำออกมาแย่จัดอวยตัวละครไม่เต็มอิ่มแถมตอนจบเข้าวินปล่อยให้ตัวละครสาวคนอื่นๆ ร้องไห้ก็เป็นได้ เมื่อเห็นฉากนี้ผมอารมณ์ขึ้นทันที เป็นเหตุทำให้เกลียดการเข้าวินในการ์ตูนฮาเร็มจนถึงทุกวันนี้
โดยเฉพาะ Zero no Tsukaima F ผมโมโหในตอนจบมาก ซึ่งผมเขียนวิจารณ์ติลูกเดียวไว้ที่ลิงค์ด้านล่างแล้ว และยิ่งอารมณ์เสียหนักอีกที่หลายคนบอกว่าการ์ตูนเรื่องนี้จบดี (มันดีตรงไหนว่ะ?)
http://www.dek-d.com/board/view.php?id=2431490
ทำไมผมให้ความสำคัญกับตอนจบฮาเร็มนัก ก่อนอื่นขอออกตัวว่าผมเป็นคนหนึ่งที่ชอบการ์ตูนฮาเร็มเป็นชีวิตจริงใจ และการ์ตูนที่จุดเริ่มต้นที่ผมชอบคือ Maburaho (ผมยังไม่ได้พูดถึงในบทความนี้) โดยเนื้อหาของการ์ตูนได้เป็นบรรทัดฐานที่ผมมองการ์ตูนฮาเร็มในยุคปัจจุบันเลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นความซาบซ่าของฮาเร็ม ที่เหล่าผู้หญิงที่เพียบพร้อมหลงรักพระเอก ที่พระเอกแทบไม่มีอะไรดีเลิศสักอย่าง แต่มีความเมพอยู่ในตัว เป็นคนดีที่หนึ่ง ตอนจบก็ทำได้ประทับใจ ตัวละครอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข (ความจริงตัวนิยายไลท์โนเวลยังไม่จบ) สมกับที่ทั้งพระเอกและสาวๆ ผ่าฟันอุปสวรรค์กันมา
มันเหมือนหักหลังยังไงไม่รู้ เพราะการ์ตูนฮาเร็มก็คือการ์ตูนที่ผู้หญิงแต่ล่ะคนต่างชอบพระเอก เนื้อหาก็จะเป็นการอวยผู้หญิงแต่ละคน ไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน ดำเนินเรื่องซาบซ่ามีความสุข แต่พอตอนจบมันดันจบตัวละครตัวใดตัวหนึ่งเข้าวิน ตัวละครหญิงอื่นๆ กินแห้วหมด มันรับไม่ได้สุดๆ ประมาณว่า ในเมื่อเอ็งเลือกตัวละครหนึ่งเข้าวิน แล้วเอ็งจะอวยตัวละครที่ไม่ใช่ตัวเข้าวินทำไมว่ะ ให้ตรูลุ้นเล่นๆ หรืออยากรังแกตัวละครให้สูญเปล่าเหรอ มันรับไม่ได้ว่ะ ดูแล้วตอนที่ผ่านมาทั้งหมดดูจืิดไม่อร่อยเลยสักนิด นอกจากนี้ยังเซ็งจัดอีกเมื่อฉากจบเป็นแบบนี้
เซ็งสุดๆ เข้าวินx2-ตัวละครตัวประกอบ (ไม่ใช่นางเอกหลัก) เข้าวิน ทั้งๆ ที่บทน้อยและจืดจางมาก
เซ็งสุดๆ เข้าวินx2-ทวินเทลร้องไห้ เห็นแล้วอยากแช่งและนางเอกนางเอกไปจนถึงคนเขียน
ฟอร์เรสท์ กัมพ์ เคยกล่าวไว้ว่า “ชีวิตก็เหมือนกล่องช็อกโกแลต เราไม่รู้ว่าเปิดมาจะได้เจอกับอะไร” การ์ตูนฮาเร็มก็เหมือนกัน ที่เราไม่รู้ว่าเปิดมาจะได้เจอกับอะไร นี้แหละคือความกังวลใจในการอ่านการ์ตูนฮาเร็มแต่ละครั้ง แต่ล่ะเรื่อง ที่เราเดาใจไม่ถูกว่าตอนจบจะเป็นอย่างไร จะเป็นเข้าวินหรือฮาเร็ม ซึ่งถ้าจบแบบเข้าวินนี้ผมจะเซ็งสุดๆ เสียแรงที่ติดตามกันมา (ถ้าเป็นไปได้อยากให้คนเขียนช่วยบอกหน่อยว่าคุณจะจบยังไง จะได้ไม่เสียเวลาอ่าน)
ไม่แปลกหรอกครับที่ผมชอบเข้าหาการ์ตูนสายมืดมากกว่าสายสว่าง เพราะการ์ตูนสายมืดโอกาสจบแบบฮาเร็มมันง่ายกว่าสายสว่าง
ไม่รู้ทำไมสายสว่างจบฮาเร็มมันยากหรือยังไง ไม่จำเป็นต้องจบแบบรักใครๆ ชายหญิงก็ได้ ไม่จำเป็นต้องจบแบบแต่งงานหมู่ (แต่ก็อยากเห็นอ่ะ) จบแบบไม่มีใครได้ใครเสีย สามารถจิ้นได้ต่อไป แบบนี้ก็ถือว่าจบงดงามเหมือนกัน ซึ่งผมรับไม่ได้่หรอกที่จะเห็นเพื่อนสมัยเด็กหรือทวินเทลร้องไห้เสียใจเพราะรักคุดหรอกน่ะ
ก็จบลงไปเพียงเท่านี้กับ 10 สุดยอดสิ่งที่เซ็งที่สุดในการดูการ์ตูนญี่ปุ่น (ทั้งมังงะและอนิเมะ) ใครจะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยก็ช่วยไม่ได้ เพราะว่านี้คือความคิดเห็นของผมคนเดียว โดยไม่เกี่ยวกับทฤษฏีหรืออะไรทั้งสิ้น
ส่วนภาพประกอบก็เป็นฝีมือวาดผมเองแหละ ซึ่งความจริงแล้วภาพประกอบนี้เป็นภาพที่จะใช้บทความ “10 สิ่งที่ผมพบว่าการแต่งนิยายยากกว่าที่คิด” (อย่างภาพที่ 1 นั้นผมว่าจะใช้หัวข้อการเลือกตัวละครในนิยายมันยุ่งยากเป็นบ้า สองจิตสองใจไม่รู้จะเลือกใครเป็นนางเอกดี ประมาณนั้นแหละ) แต่ช่างเถอะ เอาไว้คิดใหม่ วาดใหม่ก็ได้
ทุกวันนี้การ์ตูนญี่ปุ่นไม่ว่าจะเป็นมังงะและอนิเมะออกมาวางแผงหลายร้อยเรื่องมากครับ แน่นอนครับว่าส่วนใหญ่จะเน้นผิดหวัง (จากเหตุผลที่ยกมา) แต่อย่างไรก็ตามในความผิดหวังมากมายหลายเรื่องนั้นก็ยังมีเรื่องที่มีสนุกกับรสนิยมของเรา แม้จะเป็นจำนวนน้อยนิดแต่ก็มีคุณค่าต่อจิตใจของเราได้เหมือนกัน
ความคิดเห็น