คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #204 : Ousama Game เกมส์พระราชากับคนโง่เขลา
Ousama Game ผมรู้จักการ์ตูนเรื่องนี้จากเมนหนึ่งเมื่อนานมาแล้ว ว่าเป็นการ์ตูนที่ให้ข้อคิดที่น่าสนใจ หากแต่ตอนแรกผมไม่สนใจการ์ตูนเรื่องนี้มากนัก (เพราะมันไม่ใช่ฮาเร็ม) จนกระทั่งไม่นานมีนอนเบอร์คนหนึ่งชื่อ “หนอน” ซึ่งได้เอ่ยชื่อการ์ตูนเรื่องนี้ขึ้นมา ผมเลยเปิดอ่านเพราะความสนใจ (เพราะหนอนพูดถึงการ์ตูนเรื่องนี้บ่อยมาก) หลังจากที่ผมได้ดูการ์ตูนเรื่องนี้ไปสักพัก ผมแทบรับเนื้อหาของมันไม่ได้ มันเป็นการ์ตูนที่ไม่เหมาะสำเร็จเด็กเลย จริงอยู่ที่การ์ตูนไม่มีฉากเรตลามกหรือรุนแรงอะไรมากมาย แต่เนื้อหา ประเด็นที่สื่อออกมานั้นมันค่อนข้างแรง ขยะแขยง มันไม่เหมาะกับรสนิยมของผมเลยแม้แต่น้อย
ผมเลิกสนใจการ์ตูนเรื่อง Ousama Game ในขณะที่นอนเบอร์ “หนอน” ที่ช่วงนี้มาเม้นประจำในบทความผมบ่อยมากแบบไม่ขาด ซ้ำยังพูดถึงการ์ตูนเรื่องนี้ไม่หยุด แสดงให้เห็นว่าการ์ตูนเรื่องนี้คงสนุกมากตามรสนิยมของเขา ส่วนผมเองทำเป็นไม่สนใจ พยายามเปลี่ยนประเด็นไปเรื่อยๆ เพื่อให้ “หนอน” เลิกพูดถึงการ์ตูนเรื่องนี้เสียที แต่จนบัดนี้ “หนอน” ก็ยังไม่หยุดพูดถึงการ์ตูนเรื่องนี้แม้แต่น้อย จนกระทั่งผมเห็นความมุ่งมั่นอันนี้ เลยแกล้งถามว่า “บทความหน้าที่จริงจะเป็นฮาเร็มน่ะ แต่เห็นแก่หนอนที่ช่วงเม้นไม่มีขาด (แม้จะเรื่อยเปื่อยก็เถอะ) ก็จะพิเศษหน่อยที่ให้หนอนเลือกการ์ตูนสักเรื่อง (เอาเฉพาะที่ผมดู) มาให้ผมเขียนถึง” แน่นอนคำตอบก็ไม่คาดเดา ถ้าซื้อหวยถูกทุกงวด หนอนเลือก Ousama Game แบบไม่ต้องคิดให้มากความ ผมเลยขอพูดการ์ตูนเรื่องนี้สักหน่อยล่ะกัน ว่าทำไมการ์ตูนเรื่องนี้ถึงประทับใจใครหลายคนนัก (โดยเฉพาะ “หนอน”) แต่สำหรับผมแล้วมันช่างเป็นการ์ตูนที่แสนเจ็บปวดใจเสียเหลือเกิน
Ousama Game
โศกนาฏกรรม, สยองขวัญ, ผู้ใหญ่, ลึกลับ, โรงเรียน, เหนือธรรมชาติ และไซเน็น
Ousama Game เป็นการ์ตูนแนว “ต้องรอด” วาดโดย Renda Hitori เนื้อเรื่องโดย Kanazawa Nobuaki (เท่าที่ดู ข้อมูลบอกว่าสร้างจากนวนิยายโทรศัพท์มือถือ) ลงต่อเนื่องในนิตยสาร Manga Action (Futabasha) ในปี 2010 และถูกสร้างเป็นภาพยนตร์ในชื่อเดียวกัน ฉายเมื่อ 17 ธันวาคม 2011 ซึ่งเนื้อหาของการ์ตูนไม่เหมาะสำหรับผู้อ่านที่เป็นเด็ก
Ousama game หรือแปลเป็นไทยว่า “เกมส์พระราชา” เป็นชื่อเกมส์ปาร์ตี้เล่นง่ายๆ ในกลุ่มระหว่างเพื่อนฝูง คล้ายเกมส์จับไม้สั้นไม้ยาว ซึ่งนิยมในหมู่วัยทำงานและวัยรุ่น (ก๊กเหล้า, เข้าค่าย, งานปาร์ตี้) โดยเกมจะมีสลากเหมือนเซียมซี มีไม้จับฉลากที่ปลายไม้มีระบุตัวเลข 1-10 (จำนวนไม้แล้วแต่จำนวนผู้เล่น) และมีไม้หนึ่งจะมีสัญลักษณ์ของพระราชา (เลขพิเศษหรือสัญลักษณ์พิเศษ) โดยเวลาเล่นจะมีการจับฉลากทั้งหมด ผู้โชคดีจับสลากได้เป็น "พระราชา" จะสามารถสั่งให้คนในกลุ่มทำสิ่งใดก็ได้ โดยสุ่มเลข เช่น ให้ผู้จับหมายเลข 6 ถอดเสื้อ, ให้ผู้จับหมายเลข 7 ไปซื้อน้ำผลไม้แก่ผู้จับหมายเลข 12 เป็นต้น หากไม่ทำตามก็จะถูกลงโทษ แต่ถ้าทำได้ก็จะได้รางวัล และเมื่อเสร็จสิ้นภารกิจหนึ่งคำสั่งก็จะจับฉลากใหม่และเล่นแบบเดิมอีกครั้งซ้ำไปซ้ำจนกว่าจะเบื่อหรือเลิกเล่น เรียกว่าเป็นเกมเฮฮาในหมู่วงเหล้าว่างั้น เล่นเอาขำขำ ไม่ได้จริงจังอะไรมากมาย อย่างไรก็ตาม จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อ “เกมส์พระราชา” ได้กลายเป็นเกมแห่งความตาย จิตตก ที่สนุกไปจนตาย!!
“เกมส์พระราชาแห่งความตาย” ได้เริ่มต้น ณ โรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดทามาโอกะ ปี 1 ห้อง B ซึ่งมีจำนวนนักเรียนในห้อง 32 คน (เท่าที่ดูสภาพห้องแล้ว คงเป็นโรงเรียนธรรมดาและเป็นห้องที่มีเด็กมีปัญหาพอสมควร) จู่ๆ วันหนึ่งมีเมล์ไม่ระบุที่มาว่าใครเป็นคนส่ง ส่งไปยังโทรศัพท์มือถือของคนในชั้นทุกคนโดยเนื้อหาเป็นคำสั่งลึกลับจาก “พระราชา” ให้ทุกคนที่ระบุหมายแลขและชื่อในคำสั่งปฏิบัติตามในเวลาที่กำหนด โดยตอนแรกเป็นคำสั่งง่ายๆ หลายคนเห็นว่าเป็นเรื่องสนุกเฮฮ่าเลยปฏิบัติตามตามคำสั่ง หากแต่ต่อมาคำสั่งเริ่มยากขึ้น เช่น ให้จูบกันและกัน หรือเลียรองเท้า คำสั่งเหมือนกลั่นแกล้งกันแต่หลายคนยังไม่ใส่ใจอะไร หากแต่หลังจากนั้นคำสั่งเริ่มรุนแรงขึ้นให้ชายหญิงสองคนที่ระบุมีเพศสัมพันธ์กัน ซึ่งมันคำสั่งที่บ้ามากเพราะชายหญิงดังกล่าวไม่ได้รักกันสักหน่อยจะทำแบบนี้ได้ยังไง แน่นอนว่าสองคนที่ถูกสั่งก็เมินเฉยกับคำสั่งนี้จนเวลาผ่านเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น
พระเอกในการ์ตูนเรื่องนี้คือ คานาซาว่า โนบุอะกิ (ชื่อเดียวกับคนเขียนนิยายเรื่องนี้แหละ) หนึ่งในนักเรียนห้อง B ที่ตอนแรกเขาก็ไม่สนใจกับเกมส์นี้ คิดว่าเป็นคำสั่งที่งี่เง่า หลังจากเขาเห็นข้อความให้ชายหญิงสองคนมีเพศสัมพันธ์กันก็เห็นว่าบ้าไปใหญ่แล้วใครจะทำได้ และเมื่อเวลาผ่านไปหลายชั่วโมงเขาเริ่มสังเกตคำสั่งพระราชาว่ามันมีการกำหนดเวลามาให้ด้วย โดยขู่ว่าหากหมดเวลาจะรับบทลงโทษ และเมื่อหมดเวลาพระราชาก็ตัดสินว่าทั้งสองจะต้องถูกแขวนคอตาย
วันรุ่งขึ้น บางคนในห้อง B เริ่มรู้สึกกังวลกับคำสั่งจากเมลพระราชา ในขณะที่บางคนไม่ใส่ใจ จนกระทั่งถึงชั่งโมงโฮมรูทอาจารย์ประจำชั้นได้แจ้งข่าวที่น่าเศร้าว่าเพื่อนชายหญิงในห้องของเราเสียชีวิตเมื่อคืนจากการถูกแขวนคอตาย
เมื่อทุกคนในห้อง B ได้ยินข่าวดังกล่าวก็ตกตะลึงกันทั่วหน้า เพราะเพื่อนชายหญิงที่เสียชีวิต เป็นคนเดียวกันที่ไม่ทำตามคำสั่งของพระราชาและถูกขู่ว่าจขะถูกลงโทษด้วยการแขวนคอ ทั้งห้องรู้ดีว่าตอนนี้ทุกคนได้ตกเป็นของเล่นของสิ่งที่เรียกว่า “เกมส์พระราชา” เสียแล้ว ที่ใครไม่ทำตามคำสั่ง ทุกคนอาจถูกลงโทษด้วยความตาย และแล้วคำสั่งใหม่ของพระราชาแห่งความตายก็ถูกส่งมาโทรศัพท์มือถือของทุกคนในห้อง B อีกครั้ง เกมส์มรณะได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว!!
สิ่งที่ผมเหลือเชื่อกับการ์ตูนเรื่องนี้ก็คือ ผมพบว่าผู้อ่านเป็นผู้หญิงค่อนข้างเยอะเหมือนกัน ผู้หญิงบางคนรีวิวด้วยซ้ำ ผมก็นึกแปลกใจว่าผู้หญิงชอบการ์ตูนเรื่องนี้ตรงไหน? ทั้งๆ ที่การ์ตูนเรื่องนี้ไม่มีสิ่งไหนที่ผู้หญิงชอบแม้แต่น้อย ลายเส้นและเนื้อหารก็เป็นของผู้ชาย อีกทั้งยังมีเนื้อหาสื่อดูถูกผู้หญิงด้วยซ้ำ (อาจไม่รุนแรงหรือโจ้งแจ้งมากแต่ก็รับไม่ได้อยู่ดี)
ถ้าหากการ์ตูน Another ต้องการสื่อว่าทุกคนในห้องต้องปฏิบัติตามกฎ ซึ่งเป็นกฎบ้าบอคอแตกที่ไม่รู้มันจะถูกต้องหรือเปล่า? กลับกันแล้ว การ์ตูน Ousama Game กลับทำเรื่องโหดเหี้ยมและไร้สาระมากยิ่งกว่านั้น เมื่อทุกคนในห้องถูกบังคับต้องปฏิบัติตามคำสั่ง หากใครไม่ทำบทลงโทษก็คือความตาย ทำให้ไม่ใครกล้าขัดขืนยอมทำตามคำสั่งแม้ว่าจะเป็นคำสั่งบ้าบอก็ตาม
Ousama Game เป็นการ์ตูนแนวสยองขวัญ เกมแห่งความตาย ที่เนื้อหาค่อนข้างจะมีอะไรมากกว่าเน้นมาฆ่ากันเถอะเหมือนการ์ตูนอื่นๆ ทั่วไป เพราะคราวนี้เวทีดำเนินเนื้อเรื่องไม่ใช่บ้านนอก ไม่ใช่เกาะร้าง ไม่ใช่มิตินรกปาตี้โรงเรียนสยองขวัญอีกต่อไป หากแต่สถานที่เกิดเหตุในการ์ตูนเรื่องอยู่ใกล้ตัวเรา นั้นคือโรงเรียนธรรมดา ห้องเรียนธรรมดา และเกิดขึ้นในกลุ่มสังคมเล็กอย่างเด็กมัธยมปลายที่ยังคงต้องเรียนและแบมือขอเงินพ่อแม่อยู่ อีกทั้งสถานที่เปิดกว้างเต็มที่ ทุกคนมีอิสระเต็มที่ ไปไหนมาไหนก็ได้
หากแต่...... หลังจากเริ่มเล่นพระราชาแห่งความตาย โลกของพระเอกอยู่ก็ได้เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง เมื่อโลกกลายเป็นสถานที่ปิดตายอย่างไม่น่าเชื่อ เพราะกลุ่มคนที่ถูกบังคับเล่นเกมส์ไม่สามารถหนี ไม่สามารถขอความช่วยเหลือจากใครได้เลย (เพราะไม่มีใครเชื่อ) นอกจากกลุ่มนักเรียนห้อง B แต่ก็เชื่อใจไม่ได้ทุกคนอยู่ดี
ส่วนมากแล้วการ์ตูนแนวสยองขวัญ เกมแห่งความตาย จะเน้นตรงที่ด้านมืดของตัวละคร บทบาทของตัวละครที่น่าขนหัวลุก เมื่ออยู่สภาวะที่ไร้ทางออก แต่ละคนก็มีวิธีเอาชีวิตรอดแตกต่างกันไป ซึ่งบางคนยอมแม้กระทั้งทิ้งความเป็นมนุษย์เพื่อเอาตัวรอด (และก็ตายเกือบทันที เพราะส่วนมากคนนิสัยไม่ดีมักตายเร็วหรือตายชัวร์ร้อยเปอร์เซ็นต์ในการ์ตูนแนวสยองขวัญ) ส่วนกลุ่มพระเอกนั้นเป็นคนดี มีคุณธรรม ทำอะไรก็ดีไปหมด
ความอึดอัดของการ์ตูนเรื่องนี้ (พร้อมกับเนื้อเรื่องที่เข้มข้นไปด้วย) เริ่มขึ้นในตอนที่ 3 หลังจากที่พระเอกเห็นเพื่อนร่วมห้องที่ตายเพราะเกมพระราชาต่อหน้าต่อตาโดยไม่สามารถช่วยอะไรได้เลย ซึ่งมาคราวนี้พระเอกและเพื่อนร่วมห้องทั้งหมดก็รู้ตัวแล้วว่าเกมพระราชาแห่งความตายเป็นของจริง และทันใดนั้นพระเอกก็ได้คำสั่งจากพระราชา (ซึ่งเป็นครั้งที่ 6) โดยมีคำสั่งว่าให้เพื่อนทั้งหมดในห้อง B ต้องโหวตให้เลือกเพื่อนในห้องคนใดคนหนึ่ง ซึ่งมีตัวเลือก 2 ตัวเลือกคือเพื่อนชายชื่อ “อาชิโมโตะ นาโอบะ” (เพื่อนของพระเอก) และเพื่อนหญิงชื่อ “ยูเอด คานะ” (ต่อไปนี้ขอเรียกสาวร่าน) หากใครได้คะแนนโหวตน้อยกว่าจะถือว่าแพ้และถูกลงโทษ (ด้วยความตาย)
(คำสั่งพระราชานี้มันไม่ได้กำหนดเวลาอะไรเอาไว้ แสดงให้เห็นว่าพระราชาคนนี้คงเป็นคนไม่แน่ไม่นอนและเอาแต่ใจ อย่างไรก็ตาม หากปล่อยเลยแบบไม่ทำอะไร พระราชาจะส่งเมล์กำหนดเวลาไปให้เพื่อเร่งให้ทุกคนทำตามคำสั่ง อย่างไรก็ตาม พวกพระเอกตกลงกันเองว่าจะโหวตวันพรุ่งนี้ตอนบ่าย ซึ่งคิดว่าเป็นเวลาที่เหมาะสมที่สุด)
ตอนแรกมีหลายคน โดยเฉพาะยัยร่าน) ไม่เห็นด้วยกับการโหวต เพราะเหมือนกับเลือกคนใดคนหนึ่งไปตาย หากพระเอกบอกว่าเกมเริ่มขึ้นแล้ว โดยบอกว่าว่าการโหวตจะมีขึ้นพรุ่งนี้บ่ายโมง และผลออกมาเป็นอย่างไรก็จะไม่เกลียดอีกฝ่าย ต้องเล่นแบบแฟร์ๆ ซึ่งเพื่อนพระเอกกับสาวร่านก็ยอมรับข้อตกลงนี้โดยง่าย
แต่เกมการโหวตนี้ไม่ขาวสะอาดอย่างที่คิด เพราะฝ่ายพระเอกอยากให้เพื่อนพระเอกรอด มากกว่าคานะ เลยพยายามล็อบบี้เพื่อนในห้อง (เพื่อนในห้องมี 29 คน แบ่งเป็นชาย 14 คนและหญิง 15 คน) ซึ่งตอนแรกพระเอกเชื่อว่าผู้ชายน่าจะผู้ชายด้วยกันก็น่าจะชนะได้ไม่ยาก
อย่างไรต่อมา เช้าวันต่อมาพระเอกก็พบว่าเขาคิดผิด เมื่อยัยร่านมาแผนเหนือเมฆ เมื่อยัยร่านเอาตัวเข้าแลกกับพวกผู้ชายเกือบครึ่งห้อง (ที่หน้าตาไม่ดี) มีเพศสัมพันธ์กับตนเพื่อแลกคะแนนโหวต พูดง่ายๆ คือเอาเซ็กต์เข้าล่อเพื่อให้ตนเองรอด (เชื่อว่าเมื่อคืนวาน คงมีเซ็กต์หมู่กันอย่างสนุกสนานก็ว่าได้) พระเอกตกตะลึง และผมก็ตกตะลึงเช่นกัน เพราะผมเคยบอกมาหลายบทความแล้วว่าหากการ์ตูนสายสว่างมีเรื่องเพศสัมพันธ์เมื่อใดจะกลายเป็นดราม่าและปวดตับ ยิ่งการมีเพศสัมพันธ์แบบไม่มีความรักแล้วก็ย่อมส่งผลเลวร้ายต่อเนื้อเรื่องแน่นอน
เมื่อตัวละครที่มีพฤติกรรมแบบนี้ย่อมรับบบบทลงโทษททที่โหดร้ายตามมม เพราะผลสุดท้ายสิ่งที่ก็เปล่าประโยชน์ เพราะยัยร่านแพ้ผลคะแนนโหวตแบบฉิวเฉือดแบบน่าเจ็บใจ ยัยร่านนึกว่าจะลงโทษแขวนคอตาย เลยชิงฆ่าตัวตายโดยโดดตึกตายก่อน แต่ปรากฏว่าคำสั่งลงโทษที่ส่งมาเพียงแค่ขอให้เธอสารภาพรักกับคนที่แอบชอบแค่นั้นเอง (สรุปคือยัยร่านซวยสุดๆ)
ดูเหมือนการ์ตูนเรื่องนี้จะสอดแทรกประเด็นเกี่ยวกับปัญหาวัยรุ่นแบบแยบยลเหมือนกัน เพราะประเด็นเรื่อง 3-4 ชัดเจนอยู่แล้วเกี่ยวกับเด็กสาวมัธยมปลายญี่ปุ่นที่มีพฤติกรรมเสนอตัวนอนกับผู้ใหญ่เพื่อแลกเงินค่าตัว (ที่ค่อนข้างมาก) กำลังเป็นปัญหาสำหรับญี่ปุ่น ความจริงแล้วประเด็นดังกล่าวเป็นประเด็นเงียบๆ พวกเพื่อนๆ ในห้องก็ไม่มีใครรู้หรอกว่าใครในห้องมีพฤติกรรมดังกล่าว เหมือนกรณียัยร่าน ที่ภายนอกก็เหมือนเด็กผู้หญิงทั่วไป ซึ่งไม่มีใครรู้หรอกว่าเธอเป็นยัยร่าน (ซึ่งผมเชื่อว่าก่อนหน้านั้นยัยร่านคงมีพฤติกรรมแบบนั้นแน่ๆ ไม่งั้นจะเสนอตัวให้ผู้ชายในห้องอย่างง่ายดายหรอก?) หากแต่เมื่อเล่นเกมโหวต เธอก็เริ่มถอดหน้ากากตนเองออกและเปิดเผยตัวตนจริงๆ แบบไม่กลัวสายตาคนรอบข้าง เพื่อต้องการมีชีวิตรอด หากแต่เมื่อเธอแพ้ เธอก็เลือกที่จะฆ่าตัวตาย ซึ่งใจที่แท้จริงเธอไม่กลัวถูกแขวนคอหรอก หากแต่เธอฆ่าตัวตายเพราะหนีอับอายเพราะคนทั้งห้องรู้แล้วเธอคือยัยร่านที่เอาพวกผู้ชายเกือบทั้งห้องในคืนเดียวมากกว่า
ที่จริงหลายคนไม่ชอบการ์ตูนตรงจุดนี้สักเท่าไหร่ เรื่องมีเพศสัมพันธ์ยังคงเป็นสิ่งที่น่ารังเกียจสำหรับนักอ่านการ์ตูนอยู่ดี แม้ว่าการ์ตูนไม่มีฉากเพศสัมพันธ์โจ่งแจ้ง แต่แค่คำพูดหรือเนื้อเรื่องที่สื่อว่าผู้หญิงคนนี้ไม่บริสุทธิ์แล้วก็เพียงพอที่ทำให้การ์ตูนเรื่องนี้ทวีความปวดตับได้แล้ว บวกกับลายเส้นของการ์ตูนนั้นตัวละครน่ารักพอสมควร ยิ่งทำให้หลายคนแทบรับไม่ได้เลยด้วยซ้ำ (หากลายเส้นจริงจัง สมจริงมากกว่านี้ คนอ่านอาจรับได้ก็ได้)
สิ่งที่น่าตกใจสำหรับการ์ตูนเรื่องนี้ก็คือพระเอกในเรื่อง ซึ่งตามหลักการแนวเอาตัวรอดทั่วๆ ไปกลุ่มพระเอกเป็นคนดี คุณธรรม และพยายามเอาใจช่วยกลุ่มพระเอกให้รอดความตายให้ได้ หากแต่เมื่อการ์ตูนเรื่องนี้ดำเนินเรื่องมาจนถึงตอนที่ 3-4 เป็นต้นมา ผมเริ่มชักรู้สึกอึดอัดกับพระเอก (อาจถึงขั้นเหม็นขี้หน้า) ชนิดว่าพระเอกจะทำอะไรผมก็อคติตลอด
โอเค... โนบุอะกินั้นมีคาแร็คเตอร์สูตรสำเร็จของพระเอกแนวการ์ตูนสยองขวัญต้องรอด กว่าคือเป็นคนธรรมดา ไม่ใช่คนที่สมบูรณ์แบบ เป็นคนมีจิตใจดีงาม (??) มีความพยายามช่วยเหลือให้ทุกคนรอดตายจากเกมพระราชาพระความตายเกือบทุกครั้งที่มีคำสั่งใหม่ หากแต่การกระทำของพระเอกนั้นมีหลายครั้งที่ผมไม่ชื่นชมเลย มองยังไงก็ไม่มีคุณธรรม และยังคงเป็นที่ถกเถียงว่าสิ่งที่พระเอกทำนั้นถูกต้องแล้วหรือไม่?
หนึ่งในเหตุการณ์ที่ชวนอึดอัดกับการกระทำของพระเอกนั้น อยู่ในตอนที่ 5 ซึ่งเป็นช่วงโนบุอะกิเห็นเพื่อนร่วมห้องตายเพราะเกมส์พระราชาแห่งความตายถึงสองคนแบบจะๆ ตา (ซึ่งตอนนี้มีผู้เสียชีวิตแล้วรวม 4 คน) เพื่อนชายของโนบุอะกิได้พาเขามาบ้านของ “ชิเอมิ” ซึ่งแฟนของพระเอกเพื่อผ่อนคลาย หลังจากที่เครียดประสาทแด๊กเพราะเกมส์มาหลายวันติด
ระหว่างที่ทั้งสามกำลังพูดคุยกันอย่างสนุกสนานกันอยู่นั้น ดราม่าก็มาเยือน เมื่อมีเมล์ส่งมาโทรศัพท์มือถือของทั้งสาม เป็นข้อความจากพระราชาที่มีคำสั่งวว่า “ยูเอดะ คานะ ไม่เชื่อฟังคำสั่งพระเอกตายและไม่สามารถปฏิบัติตามคำสั่งได้ เพื่อเป็นการชดเชยอาชิโมโตะ นาโอมะจะต้องมีเซ็กต์ ภายใน 10 นาที หากทำไม่ได้จะต้องถูกลงโทษด้วยการโดนเผาจนตาย
เพราะคราวนี้คำสั่งระบุเวลาทำภารกิจแถมวิธีลงโทษเสร็จสรรพ เมื่ออ่านคำสั่งนี้พระเอกคิดหนัก ในการพยายามหาวิธีการช่วยเหลือเพื่อนรักของเขา
จะเอาอย่างไรดีล่ะ เพียงแค่ 10 นาทีจะทำยังไงให้เพื่อนตรู (เชื่อว่ามันยังเวอร์จิ้นอยู่) จะได้มีเซ็กต์เพื่อรอดตาย ขอร้องผู้หญิงแถวนี้เหรอ? จะข่มขืนดี? แน่นอนว่าทั้งหมดเป็นไปไม่ได้ใน 10 นาทีแน่นอน
ทันใดนั้นพระเอกก็ทำหน้าตาอย่างหน้าตาน่ากลัว แสดงให้เห็นว่าพระเอกคิดแผนเอาตัวรอดที่ชั่วร้ายขึ้นเมื่อ มาเขาร้องร้องให้นาโอยะมีเซ็กต์กับชิเอมิแฟนของเขาเพื่อให้รอดพ้นความตายครั้งนี้
แน่นอนว่านาโอยะปฏิเสธใครจะกล้าทำเรื่องชั่วๆ แบบนี้กับแฟนเพื่อนว่ะ แม้พระเอกจะขอร้องก็เถอะ (ชิเอกิเอ็งจะไม่ออกความเห็นเรอะ ว่าตรูตอบรับหรือเปล่า)
พระเอกก็พยายามหาเหตุผลมากมายเพื่อให้นาโอยะรู้สึกผิดน้อยลง เป็นต้นว่า แค่ครั้งเดียวเองแหละ หรือสถานกาณณ์มันจำเป็น เหตุการณ์มันบังคับ ได้โปรดเถอะเพื่อนมีเซ็กต์กับเพื่อนตรูเถอะ (มันก็ไม่ถามสักคำว่าชิเอกิมันยอมหรือเปล่า?)
ชิเอกิตัวสั่น (ซึ่งผมเชื่อว่าตอนนี้เธอคงสับสนแหละ) ก่อนที่จะพูดเสียงสั่นว่า “นาโอยะเรามาทำกันเถอะ” เมื่อนาโอยะได้ยินก็ร้องไห้ ไม่ทำท่าเดียว ยอมตายดีกว่า ยอมทำแบบนี้ พระเอกได้ฟังก็ก็ต่อยเพื่อนตับๆๆๆๆ ด้วยน้ำตา จนเพื่อนมันเกือบสลับและอ่อนยวบ หลังจากนั้นพระเอกก็ให้ชิเอกิมีเซ็กต์กับนาโอยะ เป็นอันเสร็จสิ้นภารกิจและรอดตายมาได้ (ไม่เห็นฉากอย่างว่าหรอก พระเอกไปรอนอนห้อง รอแค่ข้อความมือถือจากพระราชาทำนั้นว่าภารกิจสำเร็จหรือเปล่า)
พระเอกเมื่อรู้ว่าตอนนี้นาโอยะรอดตายแล้วก็เข้าไปในห้อง ก็เห็นชิเอกิตัวสั่นร้องไห้ ก่อนที่พระเอกจะสวมกอดนางเอกแล้วพูดว่า เขาจะรักชิเอกิจนวันตาย เป็นการรับผิดชอบ
เชื่อเลยว่านักอ่านหลายคนที่อ่านช่วงนี้แทบรับไม่ได้กับอะไรหลายๆ อย่าง ไม่ว่าจะเป็นตัดสินของพระเอกที่เหมือนตบหน้าคนดู เพราะตามความรู้สึกของคนดูพระเอกต้องฉลาด ทำอะไรก็ถูกต้อง หากแต่การการกระทำครั้งนี้ของพระเอกมันช่างทำร้ายจิตใจคนดูเหมือนหักหลังอุตส่าห์เชื่อใจพระเอก เอาใจช่วยมาตลอดอย่างไม่น่าอภัย ส่วนอีกประเด็นหนึ่งคือนางเอกไม่บริสุทธิ์ ซึ่งตรงนี้ถือว่าเป็นจุดตายของเรื่องก็ว่าได้ ที่เป็นสาเหตุทำให้นักอ่านหลายคนเลิกอ่านการ์ตูนเรื่องนี้ทันทีโดยบริยาย (หากลายเส้นสมจริงก็คงอ่านต่อ แต่ลายเส้นนั้นกลับวาดให้นางเอกดูน่ารักทำให้หลายคนสงสารนางเอกและรับไม่ได้กับเรื่องดังกล่าว)
ไม่รู้ว่าคนส่งเมล์พระราชาจะรู้สถานการณ์การตัดสินใจพระเอกหรือเปล่า แต่เหมือนเจ้าคนส่งเมล์นั้นจะรู้ดีเลยว่าตอนนี้พระเอกอยู่ที่ไหน กำลังอยู่กับใคร เหมือนส่งเมล์เพื่อลองใจพระเอกชัดๆว่ามันจะตัดสินใจอย่างไร (เพราะมตอนนี้พระเอกก็เหมือนผู้นำห้อง B แบบกลายๆ แล้ว) ส่วนผู้อ่านก็รอดูว่าเจ้าพระเ เหมาะสมกับเป็นพระเอกที่แสนดีในแนวเอาตัวรอดเกมมรณะหรือเปล่าตามความคาดหวัง หากแต่สุดท้ายพระเอกพระเอกล่ะทิ้งความเป็นมนุษย์ ทำลายความหวังของคนดูจนแทบรับไม่ได้ พร้อมกับเสียงสาปแช่งจากคนดูว่าคนโง่เขลาเบาปัญญา
โอเค......ถ้าเราคิดเป็นกลาง สมมุติว่าเราอยู่ในสถานการณ์เช่นเดียวกับพระเอกจะทำอย่างไร ดังกล่าวมีตัวเลือกเพียง 2 ตัวเลือก คือ ปล่อยให้เพื่อนสนิทตายต่อหน้าต่อตา และบอกแฟนให้มีเพศสัมพันธ์กับเพื่อนสนิท (โดยเพื่อนสนิทไม่เต็มใจสักนิด)
เหมือนคำกล่าวว่า “หากไม่มีสถานการณ์ที่บีบบังคับคนเราก็ไม่แสดงเนื้อแท้ของคน” เราได้เห็นการตัดสินใจของพระเอกที่เป็นการหักหลังคนอ่าน พระเอกทำร้ายจิตใจนางเอกอย่างโหดร้าย เราประณามพระเอกแบบไม่ให้พระเอกแก้ตัว
ถ้ามองแบบไม่อคติกับพระเอก มองแบบโลกสวย พระเอกเป็นคนดี พระเอกมีความจริงใจจริง คือทางเลือกพระเอกนั้นไม่ว่าทางใดก็โดนด่าพระเอกเลวหมด พระเอกจำเป็นต้องเลือกข้อที่ 2 ทำเรื่องผิดศิลธรรมเพื่อช่วยชีวิตคน
นาโอบะเป็นเพื่อนสนิทของพระเอกชนิดแตะก้นกันมาตั้งแต่เด็ก หากเรามีเพื่อนสนิทมาเจอสถานการณ์ที่ต้องเลือกเราจะทำอย่างไร เราจะยอมให้เพื่อนสนิทของเราตายหรือไม่ เราจะยอมเห็นเพื่อนรักของเราตายต่อหน้าต่อตาเลยเหรอ? คำตอบว่าไม่มีทางแน่ สิ่งเดียวที่ทำคือการช่วยเหลือชีวิตของเพื่อน มากกว่าห่วงจิตใจของแฟนที่อาจตกนรกทั้งเป็
การชั่งน้ำหนักของพระเอกในตอนนี้คือ “ชีวิตคนกับจิตใจของแฟน” จะเลือกทางใด?
ไม่รู้ว่าพระเอกโง่หรือวิเคราะห์สถานการณ์หรือหาวิธีแก้ปัญหาไม่ดีหรือเปล่าถึงออกมารูปแบบนี้ แต่หากสมมุติ เราเป็นพระเอกสิ่งที่เราคิดในเวลานั้นยิ่งแล้วใหญ่ ผมเชื่อว่าเราอาจไม่มีจิตใจคุณธรรมเหมือนพระเอกในแนวเดาตัวรอดทั่วๆ ไปด้วยซ้ำ เพราะเราใช้การชั่งน้ำหนักโดยมีผลประโยชน์และสิ่งที่ตามมาเกี่ยวข้อง ซึ่งมันจะช่วยให้หลายคนตัดสินเลือกแบบที่สองเหมือนพระเอก (หากมีเวลามากกว่านี้ บางที่อาจมีตัวเลือกที่สามก็เป็นได้)
ทำไมหลายคนเลือกข้อ 2 ไม่เลือกข้อที่ 1 เหตุผลง่ายๆ ครับ เพราะเรายังไม่รู้ว่าเหตุการณ์ครั้งหน้าจะเป็นอย่างไรอีก บางที่อาจมีคำสั่งอะไรบ้าๆ งี่เง่ามากขึ้น สถานการณ์ดังกล่าวเราควรมีพันธมิตรที่ไว้ใจได้ จะเป็นใครล่ะนอกจากเพื่อนสนิท ที่เราทำทุกอย่างให้เพื่อนสนิทรอด เพื่อช่วยเหลือในวันหน้า ดังนั้นเราจะต้องเก็บเพื่อนสนิทของเราเอาไว้เพื่อนใช้งานมากกว่า
ผมไม่รู้ว่าพระเอกคิดเหมือนพวกเราหรือเปล่าที่มีผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย แต่สิ่งที่ผมคิดคือหน้าตาพระเอกหน้าเหี้ยมขึ้นหลังผ่านตอนนี้ เหมือนกรณีของไลท์ ณ เดธโน็ต ที่ตอนแรกหน้าตาสดใสน่ารัก แต่ตอนหลังหน้าอย่างกับตัวโกงแบบนั้นแหละ) เป็นไปได้ไหมว่าพระเอกมีการชั่งผลประโยชน์แล้วตั้งแต่แรกด้วยซ้ำ พระเอกพยายามอย่างหนักในการทำให้เพื่อนสนิทรอด ทั้งๆ ที่เพื่อนสนิทยอมเผชิญหน้ากับคตความตายเป็นที่เรียบร้อย พระเอกสวมพ่อพระต่อหน้าเพื่อนสนิท แต่อีกด้านหนึ่งก็สวมบทใจยักษ์ขอร้องแกมบังคับนางเอกให้เอากับเพื่อนสนิท (สังเกตว่าหน้าตาของพระเอกเริ่ม ขอร้องให้เพื่อนสนิทมีเซ็กต์กับแฟนของตน โดยไม่ถามใจแฟนแม้แต่น้อย ว่าเธอยอมหรือเปล่า หากแต่ที่พระเอกยอมทำตามพระเอก (ซึ่งผมไม่เชื่อว่าเธอเต็มใจ) เพราะแฟนก็คงห่วงความรู้สึกของพระเอก หากเพื่อนสนิทตาย ทำกับความสัมพันธ์ของทั้งคู่สิ้นสุดลง ดิ่งถึงขั้นเลวร้ายไปด้วย ประกอบกับคำขอร้องแกมบังคับของพระเอก หากเธอปฏิเสธทำกับโดนตราหน้าว่าใจยักษ์ใจมารก็ว่าได้
หลายคนบอกว่าไม่อ่านการ์ตูนเรื่องนี้แล้วล่ะ นางเอกเสียความบริสุทธิ์ แต่ผมขอตอบเต็มปากไปว่านางเอกเสียตัวมานานแล้ว เพราะท่าทีของพระเอกแสดงให้เห็นว่า เขาไม่สนความรู้สึกของนางเอกเลยสักนิด เหมือนกับว่าพวกเขามีเพศสัมพันธ์กันมานานแล้ว ดูแล้วน่าสงสารแทนนางเอก เพราะสิ่งที่พระเอกทำเท่ากับทำลายจิตใจของแฟนให้แตกสลายไปด้วย ความรู้สึกของผู้หญิงมันไม่หายไปง่ายๆ หรอก (ขอบอกว่าตอนต่อไปนางเอกจะยิ่งโครตน่าสงสารมากกว่านี้อีก)
หลังจากมีเพศสัมพันธ์ พระเอกได้เห็นนางเอกตัวสั่นงกๆ ร้องไห้ พระเอกก็เข้ามาสวมกอดและร้องไห้พร้อมสัญญาณว่าจะรักเธอตลอดไป ดูเหมือนโรแมนติก แต่ขอโทษผมมองยังไงเหมือนตบหัวแล้วลูบหลังอย่างบอกไม่ถูก อนาคตวันข้างหน้ายังอีกยาวไกล ยังไม่มีใครรู้ ไม่รู้ว่าเราจะสามารถทำตามคำพูดของเราได้ตรงกับปากของเราหรือเปล่า
การตัดสินใจของพระเอกในเหตุการณ์นี้ ทำให้เพื่อนสนิทของพระเอกกลายเป็นเพื่อนรักร่วมเป็นร่วมตายไปโดยบริยาย อย่างไรก็ตามสิ่งที่ผมคิดต่อมาคือพระเอกและเพื่อนสนิทคงไม่ตายดีแน่นอน ซึ่งก็เป็นเช่นนี้จริงๆ ซึ่งเนื้อหาจะเป็นอย่างไรนี้นผมก็ขอบอกแค่ว่าเพื่อนสนิทของพระเอกน่าจะตายไปพ้นๆ จากเหตุการณ์ลงโทษนั้นแล้ว มากกว่าการมีชีวิตอยู่เหมือนตายทั้งเป็น
สิ่งที่ผมคิดต่อมาคือพระเอกในการ์ตูนเรื่องนี้มีความแตกต่างจากพระเอกในเรื่อง Eden no Ori และ High School of The Dead แม้ว่าพระเอกต้องการให้คนอื่นรอด แต่สุดท้ายพระเอกก็ไม่แตกต่างอะไรจากมนุษย์ธรรมดาที่ต้องการคนในกลุ่มของตนรอดมากกว่า และการกระทำบางครั้งขัดหลักคุณธรรมและความเป็นมนุษย์ ความจริงทั้งพระเอก Eden no Ori และ High School of The Dead ก็ทำเรื่องไม่ดีเหมือนกัน แต่การกระทำนั้นคนดูรับได้เพราะในสถานการณ์ดังกล่าวเราก็ทำเช่นเดียวกับพระเอก แต่ไม่ใช่พระเอกในเกมส์พระราชาแน่ๆ เพราะรายนั้นไม่ว่าพระเอกจะทำอะไรคนดูมีแต่อคติหมด แถมพ่นคำหยาบว่า “โง่” ใส่หน้าพระเอกอีก
หลายคนติดตามการ์ตูนเรื่อวนี้ต่อด้วยความหวังจะเห็นพระเอกเมพ เหมือนการ์ตูนเอาตัวรอดเรื่องอื่นๆ ที่เท่สาด ผมยิ้มมุมปาก (ถ้าเป็นไปได้อยากตบบ่าปลอบใจ) เพราะคิดผิดเสียแล้ว พระเอกเรื่องนี้ไม่มีความเมพหรือความเป็นพระเอกคุณธรรมเหลืออยู่แล้วหลังจากเหตุการณ์แฟนของพระเอกเสียตัว
ผมสังเกตว่าพระเอกเรื่องนี้ชื่อเหมือนคนแต่งนิยาย (คานาซาว่า โนบุอะกิ) เป็นไปได้ไหมว่าคนแต่งนิยายนั้นกำลังสมมุติตนเองที่เข้าไปอยู่สถานการณ์นั้น พระเอกเรื่องนี้คือมนุษย์คนธรรมดาคนหนึ่ง เหมือนกับคนดูอย่างเรา ที่อยู่ในสถานการณ์บีบบังคับ คนธรรมดาก็ต้องมีกลัวตายบ้าง อีกทั้งยังอยู่ในความหวาดกลัวไม่รู้จะเราจะเจอคำสั่งบ้าๆ ที่แทบจะทำไม่ได้อะไรบ้าง พระเอกโมโห ขาดสติ ใช้อารมณ์เป็นตั้ง แม้จะพยายามตั้งสติพระเอกจะพยายามไขปริศนา พยายามช่วยเหลือให้คนอื่นรอด แต่อนิจจาพระเอกก็ไม่สามารถทำได้ เพราะสมองของเรามีแค่นี้ ไม่ได้เป็นอัจฉริยะ ไม่ได้เป็นมนุษย์ มีเพียงเป็นสกิลเป็นพระเอกเท่านั้น ซึ่งเราจะต้องอยู่รอดตั้งแต่ต้นจนจบ (น่าสังเกตคือแทบไม่มีคำสั่งให้พระเอกทำอะไรเลยแม้แต่น้อย) หากแต่กว่าจะเห็นเหตุการณ์นั้น พระเอก (และเรา) ต้องเห็นพยานเห็นคนตายดั่งใบไม้ร่วง ตายอย่างโหดร้าย ไม่สามารถช่วยอะไรตายเหมือนกรณีช่วยเพื่อนสนิท พระเอกทำได้แต่ก้มหน้ารับโชคชะตาแบบสิ้นหวังเท่านั้น (ผมขอพูดเต็มปากอีกว่าเราจะได้เห็นพระเอกสิ้นสภาพความเป็นพระเอกหลายฉากแน่นอน) และไม่รู้ทำไมผมเห็นเพื่อนร่วมห้องของพระเอกหลายคนจิตใจหล่อกว่าพระเอกอีก
อย่างไรก็ตาม นอกเหนือจากการสิ้นสภาพพระเอกแล้ว หลังผ่านเหตุการณ์ตอน 5-6 ดูเหมือนการดำเนินเรื่องของการ์ตูนจะทวีความรุนแรงและสยดสยองเป็นอย่างมาก อารมณ์คล้ายๆ ภาพยนตร์ญี่ปุ่นจำพวกโทรติดตายที่รับโทรศัพท์แล้วตายหัวบิดหัวหมุนนี้แหละครับ ทำให้ขาดอารมณ์ตอนต้นของเรื่องมากพอสมควรโดยไม่สนการเอาตัวรอดด้วยสมองอีกต่อไป เรียกได้ว่าตายกันเกลือน เลือดสาดกระจาย และช่วงหลังออกมาแนว “มาฆ่ากันเถอะ” ซึ่งผมเชื่อว่ายิ่งทำให้หลายคนไม่ชอบอ่านไปใหญ่ ตัวตนของคนส่งเมล์พระราชาดูก็รู้ทันทีว่าอาจไม่ใช่คน บางทีอาจเป็นยมทูตหรือไม่ก็พระเจ้า (แห่งความตาย)ด้วยซ้ำ ตรงจุดนี้น่าเสียดาย ผมอยากให้ตัวการของเรื่องเป็นฝีมือของมนุษย์เสียมากกว่า เพราะมันก็แทบไม่ต่างอะไรกับการ์ตูนแนวสยองขวัญเกรดบีเรื่องอื่นๆ เลย
การ์ตูน Ousama Game เคยถูกนำไปพูดถึงในหนังสือพิมพ์มติชนรายวันวันที่ 11 สิงหาคม 2555, ปีที่ 35, ฉบับที่ 12572, หน้า 14 ซึ่งเนื้อหาไม่ได้พูดถึงเรื่องเพศหรือเรื่องพระเอกหรอก แต่เป็นการพูดถึงภัยร้ายของการสื่อสารในโลกปัจจุบันที่คนเกือบทุกคนต้องมีโทรศัพท์มือถือประจำตัวคนละเครื่องสองเครื่อง และยังมีอีเมล์ประจำตัว สักสองสามอีกเมล์ และนอกจากนั้นยังเป็นสมาชิกเฟซบุ๊คหรือสมาชิกบอร์ดสักสองบอร์ด ซึ่งนำมาซึ่งสะดวกสบายย่างไรก็ตามมีข้อดีก็มีข้อร้าย เมื่อสิ่งเหล่านี้มีภัยแอบแฝงนั้นก็คือ การประทุษร้ายทางโลกออนไลน์ (Cyberbullying)
การประทุษร้ายทางโลกออนไลน์หมายถึงการทำให้คนอื่นอับอายหรือโกรธแค้นผ่านทางการสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ เช่น อีเมล์, บล็อก, เว็บไซต์, การส่งข้อความ, ชุมชนทางออนไลน์, เมสเสจ และโทรศัพท์ ส่วนคนที่ประทษร้ายทางโ,กออนไลน์เรียกว่านักเลงไซเบอร์ สมัยก่อนมีโทรศัพท์โรคจิต แต่สมัยนี้โลกก้าวไกลมากขึ้นมีการสื่อสารมากมายจนเลือกไม่หวาดไม่ไหว แต่ในขณะเดียวกันการกลั่นแกล้งก็ทวีความหลากหลายขึ้นไปด้วย
การกลั่นแกล้งทางโลกออนไลน์นั้นมีหลากหลาย ซึ่งคนส่งนั้นมีความแสดงความเป็นศัตรูหรือแสดงออกในแง่ลบต่ออีกฝ่าย เป็นต้นว่า ส่งข้อความให้ร้ายให้คนอื่น เขียนคอมเมนต์ต่อว่าในเว็บไซต์หรือบล็อกคนอื่น ไปจนถึงเอารูปถ่ายของคนอื่นมาโพสให้อับอาย หรือว่าแรงกวว่านั้นเป็นภาพแอบถ่ายเช่นภาพเปลือยหรือภาพน่าอับอาย ซึ่งหากประทุษร้ายๆ ซ้ำกัน บางครั้งก็ปล่อยข่าวลือด้านลบต่อผู้อื่นหรือต่อเว็บไซต์แห่งนั้นได้เช่นกัน
อารมณ์ส่งเมล์ Ousama Game ก็คล้ายๆ กับพวกนักเลงไซเบอร์ แหละ ตอนแรกๆ แบบขำๆ แต่ต่อมาก็เริ่มแกล้งกันเหมือนถูกกลั่นแกล้ง ต่อมาก็เริ่มแรงขึ้นตามลำดับ ถึงขั้นโหดขึ้น จนคนทั้งห้องที่โดนเมล์นี้ ประสาทแด๊กทั้งห้อง เครียดจนต้องระบายความโกรธออกมา (เหมือนพระเอกทำลายข้าวของในบ้านแหละ) ในขณะที่บางคนถึงขั้นฆ่าตัวตายเพื่อหนีปัญหา
จริงอยู่ว่าชีวิตจริงเราอาจไม่เจอคำสั่งน่ากลัวในเกมพระราชาที่หากไม่ทำจะต้องพบกับความตาย แต่กระนั้น หากประทุนร้ายมากๆ เข้าอาจทำให้คนที่โดนทนไม่ไหว (โดยเฉพาะกลุ่มเด็กหรือวัยรุ่น) ทำให้เกิดอาการซึมเศร้า, หงุดหงิด อาละวาด และทำร้ายตนเอง จากอารมณ์หุนหันพลันแล่นได้ และบางคนถึงขั้นรับไม่ได้จนแก้ทางออกด้วยการฆ่าตัวตายไปก็มี จนถึงปัจจุบันปัญหาเหล่านี้ยิ่งทวีเพิ่มมากขึ้นและรุนแรงมากขึ้น ที่น่ากลัวคือมันเกิดขึ้น ทุกที ทุกเวลา รวมไปถึงสถานที่ปลอดภัยที่สุดในบ้านด้วย
ที่น่าสังเกตคือ ทั้งๆ ที่มีคนตายเกือบยกชั้น แต่ทางตำรวจกลับไม่เชื่อเรื่องที่เด็กชั้น B เล่าสักนิด (สังเกตว่าเด็กเหล่านี้ไม่เคยโชว์ขอความโทรศัพท์เป็นหลักฐานยืนยันสิ่งที่พวกเขาพูดสักนิด) แสดงให้เห็นว่าปัจจุบันกฎหมายโลกไซเบอร์ไม่ค่อยเข้มงวดกับเรื่องเหล่านี้สักเท่าไหร่ หรือไม่ก็กฎหมายอ่อนไปจนแทบไม่อยากจะเอาความ ปรึกษากับครอบครัวก็ไม่ได้เพราะครอบครัวไม่สนใจ และผู้ปกครองไม่อัฟเกรดเรื่องเหล่านี้ ไม่ตะหนักว่าเป้นเรื่องละเอียดอ่อนหรือปัญหาสำหรับเด็กในวัยเดียวกัน
ในตอนจบ Ousama Game ผมก็ไม่รู้น่ะว่าคนส่งเมล์พระราชาเป็นใคร แต่สิ่งที่ผมรู้ก็คือพระเอกพ่ายแพ้ต่อเกมส์นี้อย่างสิ้นเชิง และไม่สามารถลงโทษคนส่งอีเมล์ได้ แสดงให้เห็นว่านักเลงไซเบอร์ นั้นนิสัยชอบแกล้งคน ชอบเห็นความชิบหายของคนอื่น เมื่อสะใจสาแก่ใจตนเองแล้วก็เลิก เงียบหายไป ไม่สามารถตามรอยหรือเอาคืนคนเหล่านี้ได้ (ความจริงการจับนักเลงไซเบอร์ง่ายมาก) และเมื่อเรื่องเงียบหายมันก็กลับมาอีกครั้ง ไม่เคยสำนึกผิดใดๆ ทั้งสิ้นเพราะคนแกล้งนี้แค่ส่งข้อความมา ไม่ได้ฆ่าคนแบบเอามีดแทงหรือเอาค้อนทุบซะหน่อย
สรุปหลังจากที่ผมอ่าน Ousama Game ความรู้สึกคือตอนแรกอารมณ์ของการ์ตูนน่าชื่นชม สอดแทรกปัญหาวัยรุ่นยุคปัจจุบันอย่างน่าสนใจ หากแต่หลังจากตอนที่ 10 ไปแล้วดูเหมือนอารมณ์ของการ์ตูนไม่ค่อยมีพิถีพิถันสักเท่าไหร่ เหมือนการ์ตูนเลือดสาดทั่วๆ ไป (เหมือนคนคิดหมดมุก) อารมณ์เอาตัวรอดในตอนแรกหดหายหมด เอาเป็นว่าลองติดตามการ์ตูนเรื่องนี้ละกันว่าเป็นอย่างที่ผมพูดเอาไว้หรือเปล่า?
ความคิดเห็น