คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #2 : นิยายภาพ CRIME ความรุนแรงในการ์ตูนสมัยก่อน??
ขอเล่าที่มาของตอนนี้ก่อนนะครับ มันเริ่มมาจากตอนที่ผมคิดว่า”เออ.....เราก็เอาแต่เขียน ฆาตกรโหดลูกเดียวมานาน เราน่าจะนำเสนออะไรที่สาระหน่อย ว่าแล้วผมก็ไปห้องสมุดประชาชนในอำเภอ ไปหาหนังสือที่เขียนเข้ากับฆาตกรโหดสะท้านโลกได้ จนกระทั้งไปเจอเรื่องนี้เข้า....เออ............เด็กจะอ่านรู้เรื่องไหมหว่า
ผมเก็บตอนนี้ไว้ประมาณ 4-5 เดือนครับ ยังไม่ได้พิมพ์ เพราะช่วงนั้นกำลังวุ่นกับฆาตกรคนอื่นอยู่ จนกระทั้งถึงวันนี้ปรากฏว่าฆาตกรล่าสุดผมเขียนไม่เสร็จ คือกะว่าจะเขียนสองเรื่องแบบจับปลาสองมือ สุดท้ายก็ไม่ได้สักตัว เลยเอาตอนนี้มาแทนครับ
แนวคิดนี้คนอ่านมาบอกผมให้ดูเรื่อง Shool days และสาวหูแมวโหด ครับ....ผมก็สงสัยทำไมพวกคนอ่านอยากให้ผมดูนักหนา ผมก็ดูตามคลิปที่แปลไทยมาแล้วตามเว็บนั้นแหละครับ ปรากฏว่าสิ่งที่ได้.........พูดไม่ออก มันโหดเหลือเชื่อเลยครับ แถมการนำเสนอชวนให้โดนแบนในไทยแท้ๆ แต่ถามว่าได้ข้อคิดไหม ก็ตอบว่ามีครับ แต่ไม่มากเท่าเรื่องจดหมายจากโลกแห่งความตายที่ผมแนะนำก่อนหน้าเท่านั้นเอง คือว่าข้อคิดมันก็เหมือนการ์ตูนทั่วๆ ไปแหละ
ว่าแล้วน่าคิดญี่ปุ่นนี้ผลิตการ์ตูนหลากหลายจริงๆ มากจนกฎหมายของญี่ปุ่นแบนไม่หวาดไม่ไหว การ์ตูนโป๊หาซื้อง่ายอย่างกับส้มตำ เนื้อหาก็ผิดศีลธรรมมากขึ้น อย่างที่ผมอ่าน มันมีทั้ง ลูกกับแม่, พี่กับน้อง, พ่อกับลูก, หมู่, คนกับหมา ฯลฯ
ส่วนโหดนี้มีเพียบ มีทั้งมีลิขสิทธิ์และไม่มีลิขสิทธิ์
ญี่ปุ่นนี้เป็นแดนอิสระการ์ตูนจริงๆ ตรงนี้ไม่รู้ว่าจะอิจฉาหรือไม่อิจฉาดี แต่มีประเทศหนึ่งก็กำลังมีปัญหาเกี่ยวกับการ์ตูนเหมือนกันคือ
อเมริกา
อเมริกานี้เป็นเจ้าแห่งการเรื่องมากของการ์ตูนต่างประเทศเลยครับ การ์ตูนญี่ปุ่นที่มาขายในอเมริกาจะตรวจเข้มมาก ยิ่งกว่าตรวจหาสารพิษในนมอีก แบบว่าเมืองเครื่องหมายนาซีเครื่องหมายเดียวแบนทันที เอ็งอย่าเอาการ์ตูนของเอ็งมาขายบ้านข้า หรืออยากโชว์นมหน่อยแบนแหลก
แต่ที่น่าขันคือการ์ตูนประเทศของเขานั้นเนื้อหาก็พอๆ กับญี่ปุ่นเลยครับ ดีไม่ดียิ่งกว่าญี่ปุ่นเสียอีก
เป็นไงเหรอ มาดูกัน
............................................................................................
การ์ตูน คือ ศิลปะที่แสดงออกทางภาพหลายๆ แบบ ซึ่งมีความหมายแตกต่างกันจากผู้หนึ่งไปอีกผู้หนึ่ง
ในยุคอดีต การ์ตูนหมายถึงภาพร่างหรือภาพวาดที่ใช้การเรียนการศึกษาแทนการใช้ภาพจริง ในปัจจุบันการ์ตูนมักจะหมายถึงแอนิเมชัน ซึ่งเป็นเทคนิคในการสร้างการ์ตูนในยุคปัจจุบัน ที่มีการฉายทางโทรทัศน์ หรือภาพยนตร์ ในความหมายอื่น การ์ตูนใช้แทนรายการสำหรับเด็กที่มีการใช้สัตว์หรือสิ่งมีชีวิตอย่างอื่นเคลื่อนไหวในลักษณะเหมือนมนุษย์
การ์ตูนปัจจุบันจะพบได้จากหนังสือ, หนังสือพิมพ์ (ซึ่งมักเป็นเรื่องเกี่ยวกับข่าว การเมือง บันเทิง) , โปสเตอร์, ภาพยนตร์ เป็นต้น
นิยายภาพ CRIME
เรายังอยู่กันที่สหรัฐอเมริกา ประเทศซึ่งเป็นต้นกำเนิดการ์ตูนดังๆ หลายเรื่องในโลก และมีการวาดการ์ตูนกันมานานยิ่งกว่าญี่ปุ่นเสียอีก หลายคนคงทราบดีว่าการ์ตูนญี่ปุ่นในยุคแรกๆ นั้นก็ได้รับอิทธิพลมาจากการ์ตูนของอเมริกานั่นเอง
การ์ตูนฝรั่ง โดยทั่วไปเป็นคำที่ใช้เรียกรวมระหว่างการ์ตูนจากทางสหรัฐอเมริกา และการ์ตูนทางฝั่งยุโรป อาจสามารถหมายถึงการ์ตูนคอลัมนิสต์ หนังสือการ์ตูน การ์ตูนทีวี และการ์ตูนจากสื่ออื่น
การ์ตูนฝรั่งเข้ามามีอิทธิพลในประเทศไทยนับตั้งแต่ประเทศมีการติดต่อการค้ากับยุโรปในอดีต โดยผ่านทางสื่อภาษาต่างชาติที่นำเข้ามาเผยแพร่ เป็นรากฐานของการ์ตูนไทยในเวลาต่อมา การ์ตูนทางฝั่งยุโรปที่มีชื่อเสียง อาทิ เช่น บาร์บ้าปาป้า, แตงแตงผจญภัย, แอสเตอริกซ์ ฯลฯ การ์ตูนจากสหรัฐอเมริกาที่มีชื่อเสียง อาทิเช่น การ์ตูนจากบริษัทดิสนีย์, การ์ตูนฮีโร่จากค่ายมาร์เวล(Marvel Comics) เช่น สไปเดอร์แมน หรือค่ายดีซี(DC Comics) เช่น ซูเปอร์แมน หรือแบทแมน, การ์ตูนคอลัมนิสต์เช่น พีนัทส์ หรือการ์ฟิลด์ ฯลฯ อย่างไรก็ตาม การ์ตูนฝรั่งไม่ได้รับความนิยมมากเท่าการ์ตูนญี่ปุ่น อาจเป็นเพราะมีการนำมาแปลและวางจำหน่ายเป็นภาษาไทยน้อยกว่าการ์ตูนญี่ปุ่น
ลืมบอกไป อย่าเรียกว่าการ์ตูนฝรั่งว่าเป็นการ์ตูนล่ะ ต้องเรียกว่านิยายภาพครับไม่งั้นพวกแฟนพันธุ์แท้เขาจะโกรธด้วย
นิยายภาพ คือบทประพันธ์ไม่ว่าจะร้อยเเก้วหรือร้อยกรองอันมีภาพประกอบเหตุการณ์ในเนื้อเรื่อง เเต่จะไม่เน้นการใช้ภาพในการดำเนินเรื่องเป็นหลักเเบบการ์ตูน
ในสหรัฐอเมริกามีนิยายภาพอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งมันมีมานานแล้วเพียงแต่คนอ่านคนสนใจไม่มากนักจำกัดเฉพาะกลุ่มเท่านั้น เนื่องด้วยเนื้อหาของนิยายภาพแนวนี้ไม่เหมาะอย่างยิ่งสำหรับเยาวชนก็ว่าได้
นั้นคือแนวอาชญากรรม
นิยายภาพแนวนี้มีที่มาเหมือนกับนิยายภาพฮีโร่ คือเริ่มจากพัลพ์ฟิคชั่นไปสู่สตริปในรายวัน แล้วถูกนำไปรวมเล่มเป็นคอมิค บุ๊ค เริ่มตั้งปี ค.ศ.1936 ยุคนั้นมีการ์ตูนแนวนี้ไม่กี่เล่ม ได้แก่ วอร์ ออน ไครน์, ไคร์ม บัสเตอร์ส และแก๊ส บัสดตอร์สเป็นต้น
จนถึงปี 1942 ไคร์ม ดัส น็อท เพย์ นิยายภาพ อาชญากรรมที่ทำยอดขายได้สูงกว่าเพื่อนในแนวเดียวกัน เนื่องจากเนื้อหาของมันนำเสนอความรุนแรงมากกว่าแนวเดียวกัน ตีแผ่ชีวิตโจรอย่างหมดเปลือก บรรยายภาพการหักหัลงเข่นฆ่ากันแบบเลือดนองถนน และเรื่องราวการฆ่าข่มขื่น หรือหน่วงเหนี่ยวกักขังไว้เป็นเหยื่อราคะ ฯลฯ เรียกได้ว่ามันรวมอะไรที่ผิดกฎหมายมาไว้ในเรื่องทั้งหมดก็ว่าได้
(ที่น่าหัวเราะคือ บรรณาธิการร่วมของหนังสือเล่มนี้เคยติดคุกมากก่อน ฐานทุบตีแฟนสาวจนตาย)
ไคร์ม เป็นเรื่องที่เสนอความสยดสยองตั้งแต่ปกไปจนถึงเนื้อในทุกหน้าและทุกเรื่อง แถมภายในเรื่องยังมีรายการทายปัฯหาลับสมองด้วยเรื่องราวที่จบคำถาม “ฮู ดัน อิท” หรือ “เทสต์ ยัวร์ วิท ฮาว กู๊ด อะ ดี เทคทีฟ อาร์ ยู” นอกจากนี้แม้ว่าเรื่องราวของโจรชื่อดังจะต้องพบจุดจบในปั้นปลาย แต่หายนะครั้งนั้นดูเหมือนเจตนาให้มีความรุนแรงอย่างจงใจ
และเมื่อนิยายภาพอาชญากรรมแนวนี้ทำยอดขายเกินล้านเล่ม ทำให้สำนักพิมพ์น้อยใหญ่เกิดความสนใจหันมามองนิยายภาพเหล่านี้ และแน่นอนอยากเข้ามาร่วมส่วนแบ่งของตลาดด้วย ในช่วงหนึ่งทศวรรษที่นิยายภาพแนวนี้เบียดอัดแน่นอยู่แผงหนังสือ นักเขียนการ์ตูนต่างหันมาวาดการ์ตูนฆ่ากันอย่างสนุกมือ และหนังสือหลายเล่มพยายามตั้งชื่อให้เหมือนกับอาชญากรที่มีอยู่ในชีวิตจริง อาทิ แก๊ง บัสเตอร์ส, อัลบั้ม ออฟ ไคร์ม, ไคร์ม แคนท์ วิน, ออล ทรู ไคร์ม ฯลฯ
นั้นเองที่ทำให้มีการเรียกนิยายภาพอาชญากรรมแนวนี้อีกชื่อหนึ่งว่า ไคร์ม คอมิคส์
แม้ไคร์ม คอมิคส์ จะเป็นนิยายภาพสำหรับผู้ใหญ่ แต่จากการสำรวจในตลาดเวลานั้นพบว่ายอดหนังสือ 100 ล้านเล่ม มีผู้ใหญ่ซื้อไปอ่านเพียง 40 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ส่วนที่เหลือเด็กซื้อไปอ่าน!
ผลจากการสำรวจทำให้กลุ่มผู้ตรวจสอบสังคมเริ่มหันมาจับตาหนังสือนิยายภาพแนวนี้อย่างจริงจัง แล้วต่อมาก็มีการตราหน้านิยายภาพอาชญากรรมว่า “มันคือความอัปยศของชาติ”,”เรื่องอย่างเลว รูปอย่างเลว และพิมพ์อย่างเลว ปั่นทอนสายตาและปัญญาของเยาวชน” ก่อนจะจบลงมาที่ “กระตุ้นความรุนแรงในเยาวชน
ทางด้านนักเขียน และบรรณาธิการดีๆ ที่ไม่หวังยอดขายก็มองเห็นปัญหาเรื่องนี้ดี จึงพยายามหาสิ่งดีๆ ให้กับเด็กๆ ด้วยการผลิตนิยายภาพที่มีเนื้อหาประโยชน์และมีสาระซึ่งต่อมาเราเรียกนิยายพวกนี้ว่า “คลาสสิก คอมิคส์” ที่โด่งดังก็มีเรื่อง “วีรบุรุษโลก หมายเลข 1 ซึ่งนำเสนอประวัติของเซอร์วินสตัน เชอร์ชิลล์ นายกรัฐมนตรีของอังกฤษ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2” นอกนั้นก็เป็นสารคดีความรู้หลายสาขาวิชาการ หรือนำบทละครมาทำเป็นนิยายภาพเช่นบทละครของเช็คสเปียร์เป็นต้น
แต่น่าเสียดายนิยายภาพนี้มีข้อเสียคือคุณภาพของรูป ลายเส้นและการดัดแปลงย่อเรื่องทำได้ไม่ดีเท่าที่ควร ทำให้ไม่สามารถจับใจคนอ่านทั่วไปได้ แวดวงผู้อ่านเลยไม่กว้างนัก ส่วนใหญ่คนอ่านมักเป็นนักเรียนนักศึกศสที่ต้องการซื้อมาอ่านเพื่อย่อเรื่องทำรายงานวรรณกรรมส่งอาจารย์มากกว่า
เป็นผลให้นิยายอาชญากรรมขายอย่างถล่มถลายอีกครั้งชนิดไม่มีคู่แข่งมาวัดรอยเท้า
และนั้นคือจุดเริ่มต้น ของการเกิดการต่อต่านนิยายภาพอเมริกันอย่างรุนแรงชนิดที่ไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์
....................................................................................................
กระแสต่อต้านความรุนแรงในหนังสือการ์ตูน-นิยายภาพในสหรัฐอเมริกาเริ่มเพิ่มพูนและแพร่หลายขึ้นอย่างผิดหูผิดตาในปลายศตวรรษที่ 12 หรือปี ค.ศ.1948 ซึ่งเป็นที่ที่หนังสือการ์ตูน-นิยายภาพถูกเตะกลิ้งไปกลิ้งมาจนอ่วม
รายที่โดนหนักสุดคือคอมิค บุ๊คส์อเมริกัน ที่ถูกนำเป็นหัวข้อการชุมนุมเพื่ออภิปราย โดยเจ้าภาพจิตแพทย์นาม ดร.เฟรคดริค เวอร์แธม ผู้ที่ทำการศึกษาวิเคราะห์คอมิค บุ๊คส์ มานานสองปีเต็ม ภายใต้หัวจ้อ “สมุฏฐานโรคจิตจากหนังสือการ์ตูน-นิยายภาพ”
ดร.เวอร์แธมกล่าวว่าคอมิค บุ๊คส์คือตัวบ่อนทำลายศีลธรรม ยกย่องความรุนแรง และรุกรานทางเพศด้วยวิธีวิปลาส ซึ่งการชุมนุมครั้งนี้เป็นชุดเริ่มต้นที่ทำให้ พ่อแม่ ผู้ปกครอง นักศึกษา และนักบวชพลอยตื่นตะหนกไปด้วย โดยเฉพาะมีเหตุการณ์จากการศึกษาที่ว่าสาเหตุที่ทำให้เด็กยุคนี้พากันประพฤติเหลวไหลไม่เอาถ่าน เพราะไปอ่านหนังสือการ์ตูน-นิยายภาพ
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองยุติลง กระแสการต่อต้านหนังสือการ์ตูน-นิยายภาพเริ่มทวีความรุนแรงขึ้น เนื่องจากกำลังเข้าสู่ยุคของสงครามเย็นระว่างโลกตะวันตกกับโลกคอมมิวนิสต์ สภาพสังคมระส่ำระสายอย่างหนัก เศรษฐกิจถูกบีบคั้นระบาดไปทั่วโลก ส่งผลให้ความเสื่อมโทรมในสังคมและเยาวชนประพฤติตนเสเพลมากขึ้นอย่างน่าใจหาย
และนี้คือที่มาการกล่าวหาหนังสือการ์ตูน-นิยายภาพ(แพะรับบาป)
การต่อต้านหนังสือการ์ตูน-นิยายภาพนั้นไม่ใช่มีเพียงการชุมนุมสัมมนาประท้วงเท่านั้น หากจะยังมีการโจมตีทางข้อเขียนในสิ่งพิมพ์ชั้นนำ และรายการทางวิทยุในลักษณะประชาพิจารณ์อีกด้วย
ในหนังสือพิมพ์ไทม์ ฉบับวันที่ 4 ตุลาคม 1948 นิยามคอมิค บุ๊คส์ว่าเป็น “ลูกสารเลวขอคอมิคส์ในรายวัน” จากนั้นก็เสนอข่าวว่า
“นายอำเภอลอสแองเจลิส เคาน์ตี้ ได้ควบคุมตัวเด็กชายวัย 14 ปี ผู้หนึ่ง ในข้อหาวางยาพิษหญิงชราอายุ 50 ปี เด็กหนุ่มได้สารภาพว่าเขาได้คิดและสูตรผสมมาจากคอมิค บุ๊ค เล่มหนึ่ง”
“พ่อแม่ของเด็กชายวัย 10 ขวบ กลับมาบ้านพบลูกห้อยต่องแต่งอยู่ในโรงรถ ที่พื้นมีหนังสือไครม์ คอมิคเล่มหนึ่งที่พรรณนาถึงวิธีแขวนคอตาย”
“เด็กชายสองคนอายุ 14 และ 15 ปี ถูกจับขณะย่องเบาขโมยร้านค้า เด็กสองคนมีไคร์ม คอมิคติดตัวมาด้วย พวกเขาบอกว่าได้รับแรงบันดาลใจและวิธีงัดแงะมาจากหนังสือเล่มนี้เอง”
ทางด้านรายการวิทยุก็ไม่น้อยหน้า รายการทาวน์ มีตติ้ง ออฟ ธี แอร์ ได้นำจดหมายการสนับสนุนต่อต้านหนังสือการ์ตูน-นิยายภาพหลายพันฉบับมาออกรายการด้วย
บางจุดถึงขึ้น มีคนเอาหนังสือการ์ตูน-นิยายภาพจากบ้านมากองในสนามแล้วจุดไฟเผาต่อหน้าเด็ก
แต่ที่น่าประหลาดใจ ยิ่งโดนติ โดนด่า แต่ยอดขายของนิยายภาพอาชญากรรมและเรื่องสยองขวัญก็ยังไม่มีตก มิหนำซ้ำยังขายดีอย่างกับแจกฟรีเสียด้วยซ้ำ
ผู้เชี่ยวชาญลงความเห็นว่าความจริงผู้ผลิตก็กลัวหายนะที่กำลังจะเกิดขึ้นกับพวกเขาเหมือนกัน หากแต่ว่าเมื่อมองยอดขายหนังสือพวกนี้ ขอบอกว่ายอดขายต้องมาก่อนอุดมการณ์
เมื่อหยุดการผลิตนิยายภาพอาชญากรรมไม่ได้ สังคมเลยออกกฎเสียเอง มีการสั่ง”แบน”การ์ตูนแนวนี้จากแผงหนังสือจากเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น บางเรื่องห้ามขายทั่วประเทศ
แต่ใช้ว่าคนอื่นจะเห็นด้วยที่มีการต่อต้านนิยายภาพอาชญากรรม คนใหญ่คนโตในเวลานั้นก็ออกมาเถียงเหมือนกันว่า หนังสือคอมิคส์นั้นเป็นแพะรับบาปมากกว่าจะเป็นต้นเหตุ โดยหยิบยกเรื่องความโง่เขลาของผู้ปกครอง การละเลยไม่ใส่ใจเด็ก และก็เปรียบเทียบว่านิทานก่อนนอนบางเรื่องยังนำเสนอเรื่องที่โหดร้ายเลยยกตัวอย่างเช่น เกาะมหาสมบัติ, แจ๊คผู้ฆ่ายักษ์, หนูน้อยหมวกแดง เป็นต้น
นั้นเองที่เป็นส่งผลให้อนุกรรมาธิการตุลาการแห่งสภาสูงสหรัฐลงเอยออกกฎบังคับให้มีเครื่องหมายภายใต้ชื่อ “คอมิคส์ โค้ด” เครื่องหมายที่มีลักษณะเหมือนแสตมป์ให้รู้ว่านิยายเรื่องนี้มีเนื้อหาไม่เหมาะแก่เยาวชนไม่ควรให้เด็กอ่าน
“คอมิคส์ โค้ด”นั้นสร้างปัญหาอย่างใหญ่หลวงแก่สำนักพิมพื-นิยายภาพเป็นอย่างมาก เพราะถ้าหนังสือเล่มไหนไม่ติดเครื่องหมายนี้ก็วางแผนขายไม่ได้ แผงไหนดื้อที่จะขายโดนตำรวจจับนื หลายเล่มหมดสิทธิตีพิมพ์เพราะกฎของ“คอมิคส์ โค้ด”มีดังต่อไปนี้
“ห้ามหนังสือคอมิคเสนอรายละเอียดและวิธีก่ออาชญากรรมอย่างชัดเจน ห้ามนำเสนอความรุนแรงเกินจริง, ภาพการทรมานอย่างโหดเหี้ยใ, การใช้มีดและปืนอย่างไม่จำเป็นและเลยเถิด, ความเจ็บปวดรวดร้าวทางกาย, อาชญากรรมที่น่าขนพองสยองเกล้าและอาบด้วยเลือด และห้ามใช้คำที่น่ากลัวเป็นชื่อเรื่อง รวมถึงภาพน่ากลัวรุนแรงอย่างร้ายกาจขึ้นปก”
นั้นเองที่ทำให้สำนักพิมพ์ต่างๆ พากันตัวลีบ บ้างถอนตัว และเปลี่ยนแนวจนยอดขายลดลง
ปี ค.ศ. 1952 คอมิค บุ๊คส์กว่าห้าร้อยหัวพยายามต่อสู่เพื่อให้เรื่องของเขาวางแผง
ค.ศ. 1954 มีการก่อตั้งองค์กรที่มีมีหน้าที่ดูแลเนื้อหาของหนังสือการ์ตูนโดยเฉพาะ นั่นก็คือ Comics Code Authority (CCA) โดยการรวมตัวของสำนักพิมพ์ชั้นนำทุกค่ายในยุคนั้น อันเนื่องมาจากมีกระแสเรียกร้องให้มีการกลั่นกรองเนื้อหา และภาพที่ปรากฏในหนังสือการ์ตูน ที่ดูจะมีความรุนแรงเกินไปสำหรับเยาวชน องค์กรนี้จึงมีหน้าที่หลักในการตรวจสอบ (Censor) ภาพและเนื้อหาของการ์ตูนทุกเล่มก่อนที่จะวางจำหน่าย แม้ว่าจะไม่มีผลบังคับทางกฎหมายก็ตาม แต่ผู้จัดจำหน่ายหนังสือ (Distributor)ก็มักจะปฏิเสธการวางขายการ์ตูนที่ไม่ได้รับเครื่องหมายรับรองจาก CCA
ในยุคแรก การเซ็นเซอร์ของ CCA นั้นค่อนข้างเข้มงวดโดยมีการห้ามการแสดงภาพที่ลามกอนาจาร การใช้ความรุนแรง รวมถึงเนื้อหาที่เกี่ยวกับ ผีดิบ แวมไพร์ มนุษย์หมาป่า หรือซอมบี้ ก็ถูกห้ามเช่นกัน นอกจากนั้นยังห้ามการโฆษณาเหล้า บุหรี่ มีด และดอกไม้ไฟอีกด้วย ด้วยข้อห้ามที่มีมากเช่นนี้ จึงมีผู้วิจารณ์ในภายหลังว่า CCA นั่นเองคือสาเหตุที่ทำให้ภาพลักษณ์ของการ์ตูนต้องผูกติดอยู่กับเด็กและเยาวชนเสมอ ๆ และการ์ตูนต้องมีเนื้อหาที่เรียบง่ายและไม่มีพิษมีภัย เหตุนี้จึงทำให้การ์ตูนอเมริกาในยุคนั้นไม่สามารถขยายตลาดไปสู่กลุ่มผู้ใหญ่ได้
ในปี ค.ศ. 1971 Stan Lee ซึ่งเป็นหัวหน้าบรรณาธิการของ มาร์เวลในขณะนั้นได้ตัดสินใจทำเรื่อง Spider-Man ในตอนที่มีเนื้อหาเกี่ยวโยงถึงการใช้ยาเสพย์ติด แต่กลับถูก CCA ปฏิเสธที่จะรับรองหนังสือ ทาง Marvel จึงตัดสินใจตีพิมพ์ออกไปโดยไม่สนใจ และได้รับการตอบรับที่ดีจากนักอ่าน เหตุการณ์นี้ทำให้ CCA ต้องหันมาพิจารณาแนวทางการตรวจสอบใหม่โดยยอมผ่อนปรนให้มีเนื้อหาและภาพเกี่ยวกับ “การใช้ยาเสพย์ติดและเครื่องดื่มมึนเมา” ได้ในกรณีที่สิ่งเหล่านี้ชี้นำว่า “เป็นตัวแทนของสิ่งที่ชั่วร้าย” รวมถึงการอนุญาตให้มีการเขียนถึง แวมไพร์ ผีดิบและมนุษย์หมาป่าได้
แม้ว่า CCA จะมีการปรับปรุงกฏเกณฑ์ให้ทันสมัยตามยุคที่เปลี่ยนไป แต่ดูเหมือนว่าทั้ง ดีซี, มาร์เวลรวมถึงสำนักพิมพ์ค่ายอื่นๆ ที่เคยเป็นผู้สนับสนุน CCA ต่างก็ทยอยกันออกหนังสือที่เจาะกลุ่มตลาดผู้ใหญ่มากขึ้น โดยไม่สนใจว่าจะได้รับการรับรองโดย CCA หรือไม่ก็ตาม จนกระทั่งทุกวันนี้ตราเครื่องหมายรับรองนั้นก็ดูจะไม่มีผลในการวางจำหน่ายอีกต่อไป
ปี ค.ศ.1995 นิยายภาพอาชญากรรมเหลือเพียงสามร้อยหัว ยอดขายสำนักพิมพ์อื่นๆ ตกลง ยอดขายรายเดือนของเลฟ กลีสันตกจาก 2 ล้าน 7 แสนเล่มในปี 1952 เหลือเพียงแสนเล่ม, ยอดขายรวมของดีซีตกจาก 10ล่น 5 แสนเล่มในปี 1955 เหลือ 6 ล้าน 2 แสน ในปี 1957. ของมาร์เวลหล่นจาก 15 ล้านเล่มในปี 1953 เหลือ 4 ล้าน 6 แสนในปี 1958
หนึ่งในสาเหตุการเสื่อมถอยนิยายภาพอาชญากรรมคือการเข้ามาของทีวี ซึ่งกำลังอยู่ในช่วงรุ่งเรือง แถมมีชีวิตชีวากว่าคอมิค บุ๊คส์ต่างหาก จึงเป็นสาเหตุทำให้ยุคทองของคอมิค บุ๊คส์จบลง
ในประเทศไทยครั้งหนึ่งก็เคยมีการต่อต้านหนังสือเหมือนกัน เมื่อ 30 ปีก่อนเห็นจะได้ในสมัยสมเด็จพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ในยุคการ์ตูนเล่มละ 1 บาทกำลังมาแรง ได้มีอาจารย์มหาลัยทีเรียกตนเองว่าแอ็คติวิสต์ออกมาแสดงความห่วงใยต่อเยาวชน เพราะวิตกว่าเด็กอาจได้รับผลกระทบอันเลวร้ายจากการ์ตูนเล่มละบาท
มีการจัดงานนิทรรศการประจานต่อต้านความรุนแรงในการ์ตูน โดยเชื่อหรือไม่การ์ตูนที่ประจานในเวลานั้นคือการ์ตูนแนวผี, จักรๆ วงศ์ๆ นิทานพื้นบ้าน ซึ่งถือว่าเนื้อหาเลวร้ายน้อยมากเมื่อเทียบการ์ตูนนำเข้ายุคปัจจุบัน และเมื่อการ์ตูน 1 บาทเสื่อมลงและสูญพันธุ์ นักกิจกรรมต่อต้านการ์ตูนไทยก็สลายตัวไป และไม่มีผลงานอีกเลยนับจากนั้นเป็นต้นมา
http://www.bbznet.com/scripts/view.php?user=myzeon&board=41&id=106&c=1&order=numview
<a href="http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%95%E0%B8%B9%E0%B8%99%E0%B+ +
ความคิดเห็น