ลำดับตอนที่ #17
คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #17 : การเรียงตอนของการ์ตูนคลาสสิกเรื่องTin Tin
การ์ตูนคลาสสิกของนักเขียนสัญชาติเบลเยี่ยมนาม จอร์จ เรมี่(Georges Remi) หรือนามแฝงแอร์เช่(R.G. :Herge) ซึ่งตีพิมพ์ในสำนักพิมพ์ของฝรั่งเศส มีชีวิตร่วมสมัยสงครามโลกครั้งที่2ด้วย
“จอร์จ เรมี่” ศิลปินชาวเบลเยียมผู้เกิดในกรุงบลัสเซลในคศ. 1907
ก้าวแรกของอาชีพนักวาดการ์ตูนเริ่มขึ้นระหว่างวันคืนน่าเบื่อภายในโรงเรียน จนเขาได้ร่วมกิจกรรมลูกเสือ และมีโอกาสสร้างผลงานครั้งแรกลงจุลสารของโรงเรียน
หลังจบการศึกษา เขาสมัครเข้าทำงานวาดภาพประกอบในสำนักพิมพ์ ซึ่งตีพิมพ์หนังสือพิมพ์รายวันเพื่อเผยแพร่ศาสนาคาธอลิคในเบลเยี่ยม ก่อนหน้านี้มีแต่คนวิจารณ์ว่ารูปวาดของเขาเหมือนผลงานของเด็กเล็กๆ แต่บรรณาธิการมองเห็นความแปลกใหม่ และความคิดสร้างสรรค์ จึงให้โอกาสเขียนการ์ตูนหลายตอนจบ
คศ. 1926 เขาวาดตัวการ์ตูนเป็นเด็กลูกเสือชื่อ Totor ซึ่งดัดแปลงจากประสบการณ์สมัยเรียน
สามปีให้หลังตัวการ์ตูนนั้นถูกพัฒนาใหม่ “ตินตินกับสโนวี่” จึงถือกำเนิดขึ้น โดยลงประเดิมตอนแรกในวันที่ 10 มกราคม ค.ศ.1929
คศ. 1930 ตินตินรวมเล่มฉบับแรกวางแผงในตอน “Tintin , reporter, in the land of Soviets” นับจากนั้นเขาก็สร้างผลงานออกมาอย่างสม่ำเสมอ ทั้งในรูปแบบสิ่งพิมพ์รวมถึงอะนิเมชั่น
ปัจจุบันตินตินไม่เพียงถูกยกย่องเป็นการ์ตูนอ่านสนุก แต่ยังถูกจัดชั้นเป็นผลงานทางศิลปะและประวัติศาสตร์อีกด้วย !
ไม่นับต้นฉบับพิมพ์ครั้งแรกที่กลายเป็นของมีค่าราคาสูง ตินตินและผองเพื่อนยังถูกดัดแปลงเป็นสินค้าสารพัด ไม่ว่าเป็นของตกแต่ง ของเล่น เครื่องเขียน ฯลฯ ซึ่งคงทำรายได้ให้กับเบลเยียมไปอีกยาวนาน นอกจากนี้ตินตินกำลังจะกลายเป็นภาพยนตร์โดยฝีมือสตีเว่น สปีลเบิร์กอีกด้วย
ส่วนคุณค่าทางประวัติศาสตร์ของตินตินก็มีมหาศาล เนื่องจากตินตินถือกำเนิดในช่วงสงครามโลก เบลเยียมถูกรุกรานโดยเยอรมัน ซึ่งอาจทำให้จอร์จ เรมี่เริ่มสนใจความเป็นไปของโลก ประกอบกับตัวเขาชอบคบหาชาวต่างชาติ ทั้งที่สมัยนั้นระบบคมนาคมยังลำบาก การติดต่อสื่อสารกับชาวต่างชาติย่อมไม่ใช่เรื่องปกติทั่วไปอย่างปัจจุบัน ปัจจัยเหล่านี้คงมีส่วนในการเปิดจินตนาการของเขาให้แผ่กว้างไร้ขอบเขต
จนอาจเรียกได้ว่าตินตินเป็นตัวการ์ตูนที่หลุดออกจากกรอบของยุคสมัย !
ไม่เชื่อ ลองดูจากเส้นทางการผจญภัยของตินติน
เรียกได้ว่าตะลุยไปแทบทั่วโลกยันอวกาศ !
อีกอย่างอย่าลืมว่าเวลานั้นไม่ใช่เรื่องง่ายที่ใครจะแหวกม่านเหล็กของสหภาพโซเวียตหรือม่านไม้ไผ่ของจีนได้
จอร์จ เรมี่จึงน่าจะเป็นศิลปินคนแรก ๆ ในโลกที่เข้าใจคำว่าโลกาภิวัตน์ !
ดังนั้นความยิ่งใหญ่ของตินตินไม่ได้อยู่ที่จินตนาการและลายเส้นงดงาม แต่รวมถึงเนื้อหาลุ่มลึกจากความอุตสาหะในการวิจัยค้นคว้าข้อมูล
ที่สำคัญตินตินยังแสดงให้เรารู้ว่าบางครั้งการ์ตูนไม่ได้เป็นเพียงสื่อเพื่อความบันเทิง หากยังเป็นกระจกสะท้อนสภาพของยุคสมัย ซึ่งอาจต่างกันแค่ภาพสะท้อนนั้นงดงามหรือเน่าเฟะ
Credit : http://www.bemyshelf.com/cartoon_detail.php?id=30
การ์ตูนเรื่องนี้ ไม่ได้มีเสน่ห์เพียงแค่การสืบสวนคลี่คลายคดีด้วยความรอบคอบเท่านั้น แต่ยังนำผู้อ่านไปยังสถานที่ต่างๆ ทั่วโลก ซึ่งในขณะนั้นหลายประเทศเป็นประเทศปิด ไม่สามารถเดินทางเข้าไปง่ายๆ แต่ผู้เขียนสามารถนำข้อมูล ตลอดจนภาพฉากต่างๆ ที่มีความสมจริง นำเสนอออกมาได้อย่างน่าชม ส่วนหนึ่งเป็นเพราะผู้เขียนเป็นนักหนังสือพิมพ์ ที่คลุกคลีอยู่ท่ามกลางข้อมูลทุกวัน กอรปกับเป็นคนที่เอาใจใส่กับรายละเอียด โดยเขาเก็บภาพถ่ายสถานที่ต่างๆ ไว้ใช้ในการวาดภาพประกอบ ผู้อ่านจึงรู้สึกเหมือนได้ท่องโลกไปพร้อมกับตัวละคร
ไม่เพียงแต่ฉากเท่านั้นที่จำลองมาจากสถานที่จริง แม้แต่ตัวละครก็ยังถูกถอดแบบออกมาจากบุคคลที่มีชีวิตจริงด้วยเช่นกัน โดยตัวเอกของเรื่องคาดว่ามีต้นแบบมาจากน้องชายของผู้เขียน
แรกๆ อ่านแล้วมึน เพราะมันไม่เรียงตอน อ่านตอนนึงแต๋งแต๋งสนิทกับ 2 นักสืบแฝดแล้ว พอตอนใหม่ที่ NED พิมพ์ออกมา แต๋งแต๋งกับ 2 นักสืบฝาแฝดยังไม่สนิทกันเลย มึนมาก อย่างตัวละครสำคัญที่มาบ่อยๆ ก็กัปตันแฮดด็อก กับ ศาสตราจารย์ตูร์เนอซอล
ที่ควรรู้ความสัมพันธ์และการผจญภัย ถ้าอ่านเรียงตอนแล้วจะสนุกกว่า
1. Tin Tin in the land of the soviets (1930) - เล่มนี้ลายเส้นยังเป็นช่วงแรกๆไม่เหมือนลายเส้นตินตินที่เราคุ้นเคย ลายเส้นยังเป็นแบบขาวดำหยาบๆและใช้ช่องหน้ากระดาษเปลือง มุขในบางหน้าดูจะฝืดๆ
เนื้อหาเสียดสีระบอบเผด็จการคอมมิวนิสต์ในรัสเซียเมื่อตอนนั้น ที่พยายามสร้างภาพPropagandaกับฝ่ายต่างชาติว่าระบอบการปกครองของตัวเองมันดีจริงๆ
มุขผจญภัยและเสียดสีตัวละครบางมุข ผมไม่แน่ใจว่าคนยุโรบในปีค.ศ.1930จะคิดยังไงแต่สำหรับผมมองว่ามันฝืดซะส่วนใหญ่ เนื้อหาต้องปรับในหลายส่วน
ตอนแรกผมสงสัยว่าทำไมจอร์จ เรมี่ถึงไม่เอาตอนแรกมาวาดใหม่เป็นภาพสีจัดวางกรอบเล็กลงไม่เปลืองหน้ากระดาษเหมือนตอนต่อมาที่ไปตะลุยคองโก ผมได้คำตอบแล้วว่าเนื้อหามันไม่ผ่านต้องปรับแก้ในหลายจุด อีกทั้งเนื้อหามันกระทบต่อสัมพันธ์ระหว่างประเทศในยุคที่สงครามเย็นกำลังร้อนแรง จึงทำให้จอร์จ เรมี่ไม่ได้เอามาวาดแก้ใหม่เลยตราบจนถึงแก่กรรม
(2.) Tin Tin in the congo (1931) ตินตินตะลุยคองโก - เล่มนี้มีสองเวอร์ชั่นคือขาวดำลายเส้นหยาบๆและใช้กรอบใหญ่ๆเปลืองหน้ากระดาษซึ่งเป้นเวอร์ชั่นแรกเหมือนตอนแรก กับเวอร์ชั่นแก้ไขปรับปรุงเป็นภาพสีจัดวางกรอบเล็กลงไม่เปลืองหน้ากระดาษ เหมือนเวอร์ชั่นที่เราคุ้นเคยกันในตอนทั่วๆไป
(3.) Tin Tin in America (1932) ตินตินบุกอเมริกา - ตีแผ่สังคมของอเมริกาที่มีเจ้าพ่ออิทธิพลประจำในเมืองชิคาโก และการไล่ที่ของคนขาวที่มีต่ออินเดียนแดงท้องถิ่น
(4.) Cigars of the pharaoh (1934) ซิการ์ของฟาโรห์
(5.) The blue lotus (1936) บัวสีน้ำเงิน
(6.) Tin Tin and the broken ear (1937) แกะรอยเทวรูปอารุมบายา
(7.) The black island (1938) มหันตภัยเกาะดำ
[8.] King ottokar's sceptre (1942) คฑาคู่บัลลังก์
(9.) The crab with the golden claws (1942) ก้ามปูทอง - ตอนนี้ฮาดี เจอกับกัปตันแฮดด็อกเป็นครั้งแรก
(10.) The shooting star (1942) ตามล่าอุกกาบาต
(11.) The secret of the unicorn (1943) ความลับของเรือยูนิคอร์น
(12.) Red Rackham's treasure (1944) ขุมทรัพย์โจรสลัด
(13.) The seven crystal balls (1948) ปริศนาเจ็ดลูกแก้ว
(14.) Prisoners of the sun (1949) นักโทษแห่งวิหารสุริยเทพ
(15.) land of black gold (1951) ขุมทรัพย์ทองคำสีดำ - ตอบรับกระแสเศรษฐกิจจากธุรกิจขุดเจาะบ่อน้ำมันในตะวันออกกลางที่กำลังเฟื่องฟู
[16.] Destination Moon (1953) มุ่งสู่ดวงจันทร์
[17.] Explorers on the moon (1954) พิชิตดวงจันทร์
(18.) Calculus Affair (1956) ศึกชิงศาสตราจาร์ยสติเฟื่อง - สะท้อนสังคมโลกที่กำลังแย่งชิงตัวบุคลากรทางวิชาการและการวิจัยทางวิทยาศาสตร์เพื่อสร้างความมั่งคั่งในระยะยาวกับประเทศของตน
[19.] The red sea sharks (1958) ฉลามทะเลแดง
(20.) Tin Tin in tibet (1960) ตินตินย่ำทิเบต
(21.) The castafiore emerald (1963) อัญมณีที่หายไป
[22.] Flight 714 (1968) เที่ยวบินมหาภัยสู่ซิตนีย์
[23.] Tin Tin and the picaros (1976) ตินตินกับกบฏปิกาโร - สะท้อนการเมืองในอเมริกากลางและใต้บางประเทศที่ยังวุ่นวาย แย่งชืงอำนาจกันผ่านทางกองกำลังทหาร
24. Tin Tin and the alpha-art (1986) เล่มนี้ถ้าแปลไม่ผิดเป็นเล่มสุดท้ายที่ยังเขียนไม่จบ เนื้อเรื่องเลยเหมือนฉบับร่างอยู่ เพราะผู้เขียนเสียชีวิตในปี 1983 รวมอายุได้76ปี แถมคนเขียนยังระบุพินัยกรรมไว้ว่าห้ามใครมาสานต่อผลงานของเขาเด็ดขาด(คงห้ามได้ถึงแค่ปี2033เท่านั้นแหละ เพราะเมื่อลิขสิทธิ์กลายเป็นของสาธารณะเมื่อไหร่ ก็คงจะมีคนเอามาเขียนแต่งเพิ่มให้สนุกมือไป ถึงตายก็เอาอะไรไปไม่ได้กระทั่งทรัพย์สินทางปัญญาของตัวเอง)
ปี2009นี้ ตินตินตั้งแต่เล่ม1-19ได้หมดอายุลิขสิทธิ์ทั้งหมด50ปีนับจากปีที่เผยแพร่ผลงานเป็นที่เรียบร้อยแล้ว สามารถพิมพ์ขายแบบไพเรตได้อย่างเสรีโดยไม่ผิดกฏหมายลิขสิทธิ์สากลใดๆ ท่านสามารถหาโหลดในแบบScan E-Bookได้เลย
ตามด้วย Official Website Tin Tin
เล่มที่มีวงเล็บข้างหน้าคือ 16 เล่มที่ NED พิมพ์ออกมาแล้ว หาซื้อได้ตาม B2S หรือ Se-Ed ราคาเล่มละ150บาท ส่วนเล่มที่ใส่ก้ามปูคือเล่มละ195บาท แต่ถ้าตามเก็บในงานหนังสือก็120บาทกับ156บาทตามลำดับครับ
ส่วนเรื่องที่เป็นตอนต่อที่ต้องอ่านต่อๆ กัน ก็ตอน 4+5 11+12 13+14 16+17
ข้อมูลโดยคุณแว่นน้อย@หาดใหญ่ แก้ไขเล็กน้อยตามกาลเวลาโดยผมเองครับ
รูปหน้าตาของผู้เขียน Georges Remi
“จอร์จ เรมี่” ศิลปินชาวเบลเยียมผู้เกิดในกรุงบลัสเซลในคศ. 1907
ก้าวแรกของอาชีพนักวาดการ์ตูนเริ่มขึ้นระหว่างวันคืนน่าเบื่อภายในโรงเรียน จนเขาได้ร่วมกิจกรรมลูกเสือ และมีโอกาสสร้างผลงานครั้งแรกลงจุลสารของโรงเรียน
หลังจบการศึกษา เขาสมัครเข้าทำงานวาดภาพประกอบในสำนักพิมพ์ ซึ่งตีพิมพ์หนังสือพิมพ์รายวันเพื่อเผยแพร่ศาสนาคาธอลิคในเบลเยี่ยม ก่อนหน้านี้มีแต่คนวิจารณ์ว่ารูปวาดของเขาเหมือนผลงานของเด็กเล็กๆ แต่บรรณาธิการมองเห็นความแปลกใหม่ และความคิดสร้างสรรค์ จึงให้โอกาสเขียนการ์ตูนหลายตอนจบ
คศ. 1926 เขาวาดตัวการ์ตูนเป็นเด็กลูกเสือชื่อ Totor ซึ่งดัดแปลงจากประสบการณ์สมัยเรียน
สามปีให้หลังตัวการ์ตูนนั้นถูกพัฒนาใหม่ “ตินตินกับสโนวี่” จึงถือกำเนิดขึ้น โดยลงประเดิมตอนแรกในวันที่ 10 มกราคม ค.ศ.1929
คศ. 1930 ตินตินรวมเล่มฉบับแรกวางแผงในตอน “Tintin , reporter, in the land of Soviets” นับจากนั้นเขาก็สร้างผลงานออกมาอย่างสม่ำเสมอ ทั้งในรูปแบบสิ่งพิมพ์รวมถึงอะนิเมชั่น
ปัจจุบันตินตินไม่เพียงถูกยกย่องเป็นการ์ตูนอ่านสนุก แต่ยังถูกจัดชั้นเป็นผลงานทางศิลปะและประวัติศาสตร์อีกด้วย !
ไม่นับต้นฉบับพิมพ์ครั้งแรกที่กลายเป็นของมีค่าราคาสูง ตินตินและผองเพื่อนยังถูกดัดแปลงเป็นสินค้าสารพัด ไม่ว่าเป็นของตกแต่ง ของเล่น เครื่องเขียน ฯลฯ ซึ่งคงทำรายได้ให้กับเบลเยียมไปอีกยาวนาน นอกจากนี้ตินตินกำลังจะกลายเป็นภาพยนตร์โดยฝีมือสตีเว่น สปีลเบิร์กอีกด้วย
ส่วนคุณค่าทางประวัติศาสตร์ของตินตินก็มีมหาศาล เนื่องจากตินตินถือกำเนิดในช่วงสงครามโลก เบลเยียมถูกรุกรานโดยเยอรมัน ซึ่งอาจทำให้จอร์จ เรมี่เริ่มสนใจความเป็นไปของโลก ประกอบกับตัวเขาชอบคบหาชาวต่างชาติ ทั้งที่สมัยนั้นระบบคมนาคมยังลำบาก การติดต่อสื่อสารกับชาวต่างชาติย่อมไม่ใช่เรื่องปกติทั่วไปอย่างปัจจุบัน ปัจจัยเหล่านี้คงมีส่วนในการเปิดจินตนาการของเขาให้แผ่กว้างไร้ขอบเขต
จนอาจเรียกได้ว่าตินตินเป็นตัวการ์ตูนที่หลุดออกจากกรอบของยุคสมัย !
ไม่เชื่อ ลองดูจากเส้นทางการผจญภัยของตินติน
เรียกได้ว่าตะลุยไปแทบทั่วโลกยันอวกาศ !
อีกอย่างอย่าลืมว่าเวลานั้นไม่ใช่เรื่องง่ายที่ใครจะแหวกม่านเหล็กของสหภาพโซเวียตหรือม่านไม้ไผ่ของจีนได้
จอร์จ เรมี่จึงน่าจะเป็นศิลปินคนแรก ๆ ในโลกที่เข้าใจคำว่าโลกาภิวัตน์ !
ดังนั้นความยิ่งใหญ่ของตินตินไม่ได้อยู่ที่จินตนาการและลายเส้นงดงาม แต่รวมถึงเนื้อหาลุ่มลึกจากความอุตสาหะในการวิจัยค้นคว้าข้อมูล
ที่สำคัญตินตินยังแสดงให้เรารู้ว่าบางครั้งการ์ตูนไม่ได้เป็นเพียงสื่อเพื่อความบันเทิง หากยังเป็นกระจกสะท้อนสภาพของยุคสมัย ซึ่งอาจต่างกันแค่ภาพสะท้อนนั้นงดงามหรือเน่าเฟะ
Credit : http://www.bemyshelf.com/cartoon_detail.php?id=30
การ์ตูนเรื่องนี้ ไม่ได้มีเสน่ห์เพียงแค่การสืบสวนคลี่คลายคดีด้วยความรอบคอบเท่านั้น แต่ยังนำผู้อ่านไปยังสถานที่ต่างๆ ทั่วโลก ซึ่งในขณะนั้นหลายประเทศเป็นประเทศปิด ไม่สามารถเดินทางเข้าไปง่ายๆ แต่ผู้เขียนสามารถนำข้อมูล ตลอดจนภาพฉากต่างๆ ที่มีความสมจริง นำเสนอออกมาได้อย่างน่าชม ส่วนหนึ่งเป็นเพราะผู้เขียนเป็นนักหนังสือพิมพ์ ที่คลุกคลีอยู่ท่ามกลางข้อมูลทุกวัน กอรปกับเป็นคนที่เอาใจใส่กับรายละเอียด โดยเขาเก็บภาพถ่ายสถานที่ต่างๆ ไว้ใช้ในการวาดภาพประกอบ ผู้อ่านจึงรู้สึกเหมือนได้ท่องโลกไปพร้อมกับตัวละคร
ไม่เพียงแต่ฉากเท่านั้นที่จำลองมาจากสถานที่จริง แม้แต่ตัวละครก็ยังถูกถอดแบบออกมาจากบุคคลที่มีชีวิตจริงด้วยเช่นกัน โดยตัวเอกของเรื่องคาดว่ามีต้นแบบมาจากน้องชายของผู้เขียน
แรกๆ อ่านแล้วมึน เพราะมันไม่เรียงตอน อ่านตอนนึงแต๋งแต๋งสนิทกับ 2 นักสืบแฝดแล้ว พอตอนใหม่ที่ NED พิมพ์ออกมา แต๋งแต๋งกับ 2 นักสืบฝาแฝดยังไม่สนิทกันเลย มึนมาก อย่างตัวละครสำคัญที่มาบ่อยๆ ก็กัปตันแฮดด็อก กับ ศาสตราจารย์ตูร์เนอซอล
ที่ควรรู้ความสัมพันธ์และการผจญภัย ถ้าอ่านเรียงตอนแล้วจะสนุกกว่า
1. Tin Tin in the land of the soviets (1930) - เล่มนี้ลายเส้นยังเป็นช่วงแรกๆไม่เหมือนลายเส้นตินตินที่เราคุ้นเคย ลายเส้นยังเป็นแบบขาวดำหยาบๆและใช้ช่องหน้ากระดาษเปลือง มุขในบางหน้าดูจะฝืดๆ
เนื้อหาเสียดสีระบอบเผด็จการคอมมิวนิสต์ในรัสเซียเมื่อตอนนั้น ที่พยายามสร้างภาพPropagandaกับฝ่ายต่างชาติว่าระบอบการปกครองของตัวเองมันดีจริงๆ
มุขผจญภัยและเสียดสีตัวละครบางมุข ผมไม่แน่ใจว่าคนยุโรบในปีค.ศ.1930จะคิดยังไงแต่สำหรับผมมองว่ามันฝืดซะส่วนใหญ่ เนื้อหาต้องปรับในหลายส่วน
ตอนแรกผมสงสัยว่าทำไมจอร์จ เรมี่ถึงไม่เอาตอนแรกมาวาดใหม่เป็นภาพสีจัดวางกรอบเล็กลงไม่เปลืองหน้ากระดาษเหมือนตอนต่อมาที่ไปตะลุยคองโก ผมได้คำตอบแล้วว่าเนื้อหามันไม่ผ่านต้องปรับแก้ในหลายจุด อีกทั้งเนื้อหามันกระทบต่อสัมพันธ์ระหว่างประเทศในยุคที่สงครามเย็นกำลังร้อนแรง จึงทำให้จอร์จ เรมี่ไม่ได้เอามาวาดแก้ใหม่เลยตราบจนถึงแก่กรรม
(2.) Tin Tin in the congo (1931) ตินตินตะลุยคองโก - เล่มนี้มีสองเวอร์ชั่นคือขาวดำลายเส้นหยาบๆและใช้กรอบใหญ่ๆเปลืองหน้ากระดาษซึ่งเป้นเวอร์ชั่นแรกเหมือนตอนแรก กับเวอร์ชั่นแก้ไขปรับปรุงเป็นภาพสีจัดวางกรอบเล็กลงไม่เปลืองหน้ากระดาษ เหมือนเวอร์ชั่นที่เราคุ้นเคยกันในตอนทั่วๆไป
(3.) Tin Tin in America (1932) ตินตินบุกอเมริกา - ตีแผ่สังคมของอเมริกาที่มีเจ้าพ่ออิทธิพลประจำในเมืองชิคาโก และการไล่ที่ของคนขาวที่มีต่ออินเดียนแดงท้องถิ่น
(4.) Cigars of the pharaoh (1934) ซิการ์ของฟาโรห์
(5.) The blue lotus (1936) บัวสีน้ำเงิน
(6.) Tin Tin and the broken ear (1937) แกะรอยเทวรูปอารุมบายา
(7.) The black island (1938) มหันตภัยเกาะดำ
[8.] King ottokar's sceptre (1942) คฑาคู่บัลลังก์
(9.) The crab with the golden claws (1942) ก้ามปูทอง - ตอนนี้ฮาดี เจอกับกัปตันแฮดด็อกเป็นครั้งแรก
(10.) The shooting star (1942) ตามล่าอุกกาบาต
(11.) The secret of the unicorn (1943) ความลับของเรือยูนิคอร์น
(12.) Red Rackham's treasure (1944) ขุมทรัพย์โจรสลัด
(13.) The seven crystal balls (1948) ปริศนาเจ็ดลูกแก้ว
(14.) Prisoners of the sun (1949) นักโทษแห่งวิหารสุริยเทพ
(15.) land of black gold (1951) ขุมทรัพย์ทองคำสีดำ - ตอบรับกระแสเศรษฐกิจจากธุรกิจขุดเจาะบ่อน้ำมันในตะวันออกกลางที่กำลังเฟื่องฟู
[16.] Destination Moon (1953) มุ่งสู่ดวงจันทร์
[17.] Explorers on the moon (1954) พิชิตดวงจันทร์
(18.) Calculus Affair (1956) ศึกชิงศาสตราจาร์ยสติเฟื่อง - สะท้อนสังคมโลกที่กำลังแย่งชิงตัวบุคลากรทางวิชาการและการวิจัยทางวิทยาศาสตร์เพื่อสร้างความมั่งคั่งในระยะยาวกับประเทศของตน
[19.] The red sea sharks (1958) ฉลามทะเลแดง
(20.) Tin Tin in tibet (1960) ตินตินย่ำทิเบต
(21.) The castafiore emerald (1963) อัญมณีที่หายไป
[22.] Flight 714 (1968) เที่ยวบินมหาภัยสู่ซิตนีย์
[23.] Tin Tin and the picaros (1976) ตินตินกับกบฏปิกาโร - สะท้อนการเมืองในอเมริกากลางและใต้บางประเทศที่ยังวุ่นวาย แย่งชืงอำนาจกันผ่านทางกองกำลังทหาร
24. Tin Tin and the alpha-art (1986) เล่มนี้ถ้าแปลไม่ผิดเป็นเล่มสุดท้ายที่ยังเขียนไม่จบ เนื้อเรื่องเลยเหมือนฉบับร่างอยู่ เพราะผู้เขียนเสียชีวิตในปี 1983 รวมอายุได้76ปี แถมคนเขียนยังระบุพินัยกรรมไว้ว่าห้ามใครมาสานต่อผลงานของเขาเด็ดขาด(คงห้ามได้ถึงแค่ปี2033เท่านั้นแหละ เพราะเมื่อลิขสิทธิ์กลายเป็นของสาธารณะเมื่อไหร่ ก็คงจะมีคนเอามาเขียนแต่งเพิ่มให้สนุกมือไป ถึงตายก็เอาอะไรไปไม่ได้กระทั่งทรัพย์สินทางปัญญาของตัวเอง)
ปี2009นี้ ตินตินตั้งแต่เล่ม1-19ได้หมดอายุลิขสิทธิ์ทั้งหมด50ปีนับจากปีที่เผยแพร่ผลงานเป็นที่เรียบร้อยแล้ว สามารถพิมพ์ขายแบบไพเรตได้อย่างเสรีโดยไม่ผิดกฏหมายลิขสิทธิ์สากลใดๆ ท่านสามารถหาโหลดในแบบScan E-Bookได้เลย
ตามด้วย Official Website Tin Tin
เล่มที่มีวงเล็บข้างหน้าคือ 16 เล่มที่ NED พิมพ์ออกมาแล้ว หาซื้อได้ตาม B2S หรือ Se-Ed ราคาเล่มละ150บาท ส่วนเล่มที่ใส่ก้ามปูคือเล่มละ195บาท แต่ถ้าตามเก็บในงานหนังสือก็120บาทกับ156บาทตามลำดับครับ
ส่วนเรื่องที่เป็นตอนต่อที่ต้องอ่านต่อๆ กัน ก็ตอน 4+5 11+12 13+14 16+17
ข้อมูลโดยคุณแว่นน้อย@หาดใหญ่ แก้ไขเล็กน้อยตามกาลเวลาโดยผมเองครับ
รูปหน้าตาของผู้เขียน Georges Remi
เก็บเข้าคอลเล็กชัน
ความคิดเห็น