ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ดูการ์ตูนอย่างแมว ๆ

    ลำดับตอนที่ #154 : Boku wa Tomodachi ga Sukunai การ์ตูนฮาเร็มที่ดีเป็นอย่างไร? (2)

    • อัปเดตล่าสุด 29 พ.ย. 54



    รีวิวอนิเมชั่นใหม่เดือนตุลาคม 2011
    http://www.dek-d.com/board/view.php?id=2285300

     

    มีคนถามมาว่าการ์ตูนแนวฮาเร็มที่ดีสำหรับสายตาผมนั้นเป็นอย่างไร หากตอบตามแนวความคิดของผมนั้นค่อนข้างจะแปลกและไม่เหมือนคนอื่นสักหน่อย(ค่อนข้างเป็นแกะดำพอสมควร) ก่อนที่จะพูดถึงนั้น

    ความจริงแล้วคนเรานั้นมีรสนิยมการดูการ์ตูนไม่เหมือนกัน การ์ตูนแนวฮาเร็มก็เช่นกันที่มีหลายรสหลายชาติ ทั้งดราม่า คอมมาดี้ เหนือธรรมชาติ หรือธรรมดาทั่วไป ฯลฯ แต่เชื่อเปล่าครับหลายคนไม่เข้าใจความจำกัดความของฮาเร็ม ผมไปดูมาแล้วการจัด 10 การ์ตูนฮาเร็มที่ดีที่สุด เกือบครึ่งในอันดับไม่ใช่การ์ตูนฮาเร็ม เช่น Lum (ลามูไม่ใช้ฮาเร็มเพราะมีตัวละครหลักผู้ชายประกอบมากเกินไป และผู้หญิงในเรื่องไม่ชอบพระเอกเลยยกเว้นลามู) , Ranma 1/2 อีกเรื่องก็รันม่า1/2(รันม่าไม่เรียกฮาเร็มเพราะว่ามีตัวละครหลักชายเยอะเหมือนกัน), Bakuretsu Tenshi Final Project (ฮาเร็มไม่ใช่ยูรินะครับ) แค่การ์ตูนสามเรื่องก็รู้แล้วว่าคนจัดไม่รู้สึกนิดว่าฮาเร็มคืออะไร

    ฮาเร็ม Harem (genre) นั้นไม่ใช่ว่าเห็นการ์ตูนเรื่องไหนที่ตัวละครหลักหญิงเด่นกว่าตัวละครผู้ชาย หรือมีตัวละครผู้หญิงมากกว่าตัวละครชายจะเป็นฮาเร็มหมด ฮาเร็มในที่นี้หมายถึงหมวดหมู่ของการ์ตูนญี่ปุ่น โดยหมายความว่ามีตัวละครหลักเป็นผู้หญิงหลายๆคน แต่ตัวละครหลักที่เป็นผู้ชายจะมีน้อยคน หรือมีเพียงคนเดียว ส่วนมากตัวละครผู้หญิงจะสวยหรือน่ารัก โดยแต่ละเรื่องจะมีผู้หญิงเป็นตัวยืน(ตัวหลักหนึ่งคน) และตัวละครผู้หญิงต่างๆ ในเรื่องจะชอบผู้ชายคนเดียวกัน(ตรงนี้แหละที่สำคัญ) สถานการณ์รายรอบไปด้วยผู้หญิงจนน่าอิจฉา

    นอกจากนี้ฮาเร็มยังมีการแตกแขนงไปต่างๆ มากมาย เช่น ยูริฮาเร็ม(ผู้หญิงตัวหลักเป็นที่ชอบของเหล่าผู้หญิง) และยาโอย นอกจากนี้ยังมีฮาเร็มหนุ่มอีก เป็นตัวเพิ่มอรรถรสและความแปลกใหม่มากขึ้น

    การ์ตูนแนวฮาเร็มนั้นเป็นที่นิยมมากในปัจจุบัน สาเหตุก็คือตัวเอกการ์ตูนฮาเร็มนั้นเข้าถึงคนดูชาวญี่ปุ่นง่าย คือเป็นบุคคลธรรมดา ไม่มีความสามารถพิเศษ หรือมีปมปัญหาซึ่งถือว่าเป็นตัวแทนคนดูทั้งหลาย(โดยเฉพาะคนญี่ปุ่น) แต่กับมีความสามารถทำให้เหล่าผู้หญิงเกิดความสนใจ ส่วนตัวเอกผู้หญิงที่ชอบตัวเอกนั้นแต่ละคนต้องมีบุคลิกและจุดเด่นแตกต่างกันซึ่งส่วนมากไม่มีในชีวิตจริง เช่น สาวทวินเทนซึน, ประธานสาวสวยเงียบขรึม, สาวทอมบอยร่าเริง, เพื่อนสมัยเด็กขี้งอน เป็นต้น อย่างไรก็ตามก็มีตัวละครหญิงที่อาจผิดศิลธรรมไปบ้าง อย่าง เช่น น้องสาว ญาติพี่น้อง เป็นต้น และตัวละครสาวควรมากกว่าสองคน เพราะมิฉะนั้นจะกลายเป็นการ์ตูนรักสามเศร้า แต่กระนั้นหากผู้ชายคนเดียวทำให้สาวสองคนมีความสุขได้ก็ถือว่าเป็นฮาเร็มที่ดี

    การ์ตูนฮาเร็มนั้นค่อนข้างเป็นประเด็นที่ดุเดือดวิพากษ์วิจารณ์กันมาก โดยเฉพาะอเมริกาหรือประเทศที่มีประเพณีที่เคร่งครัด อีกทั้งยังบางฉากไม่เหมาะต่อเยาวชนหรือเด็ก เช่น ฉากเซอร์วิส ฉากรุนแรง เป็นต้น

    ปัจจุบันการ์ตูนฮาเร็มนั้นมีมากมายจนกลายเป็นเรื่องปกติของญี่ปุ่นไปแล้ว เมื่อมีโปรแกรมการ์ตูนญี่ปุ่นเรื่องออกใหม่มาเมื่อไหร่ จะมีการ์ตูนฮาเร็มมาให้ดูสัก 2-3 เรื่องเป็นอย่างต่ำ(มีทั้งแนวในโรงเรียนกับแอ็คชั่นแฟนตาซี) อย่างเช่นการ์ตูนในอนิเมชั่นใหม่เดือนตุลาคม 2011 ก็มีการ์ตูนฮาเร็มหลายเรื่อง ซึ่งตอนนี้ผมก็ได้ดูอนิเมชั่นที่ออกใหม่หลายเรื่องแล้ว ที่ติดใจมีเรื่องเดียวคือ C³ ~ Cube x Cursed x Curious ส่วนเรื่องที่หลายคนที่คิดว่าเป็นฮาเร็มอย่าง  Kyokai Senjou no Horizon  และ Maji de Watashi ni Koi Shinasai!!นั้นผมไม่นับว่าเป็นฮาเร็มเพราะฮาเร็มนั้นจะต้องมีตัวละครชายเป็นตัวหลักคนเดียว(มีเพื่อนพระเอกเป็นอย่างต่ำสักสองคนหากมากนั้นก็ไม่ใช่) แต่ทั้งสองเรื่องที่กล่าวมาไม่ใช่อย่างสิ้นเชิง และทั้งสองเรื่องก็ไม่ใช่ฮาเร็มที่ดีนักเป็นสายตาของผมเพราะเน้นสู้เป็นหลัก (ความจริงแล้วทั้งสองเรื่องไม่ใช่ฮาเร็มเลย หากดูที่วิกิพีเดีย)

    และฮาเร็มที่สำหรับผมเป็นอย่างไร?

    ความจริงแล้วฮาเร็มที่ดีสำหรับผมนั้นอยู่ที่ตอนจบของการ์ตูนมากกว่า อย่างไรก็ตาม ก็มีอนิเมชั่นฮาเร็มเรื่องใหม่ในเดือนตุลาคม 2011 เรื่องหนึ่ง ที่ผมตั้งหน้าตารอว่าจะสร้างความชุ่มชื่นและจะกลายเป็นอนิเมชั่นฮาเร็มที่ดีสำหรับผมหรือไม่ ซึ่งเรื่องนี้ก็คือ Boku wa Tomodachi ga Sukunai หรือชมรมคนไร้เพื่อนที่สร้างความประทับใจผมในไลน์โนเวลนี้เอง

     

       

    Boku wa Tomodachi ga Sukunai

     

    Boku wa Tomodachi ga Sukunai เป็นการ์ตูนญี่ปุ่นแนวตลกโรแมนติก ฮาเร็ม(ในวิกิพีเดียไม่ได้บอกว่าเป็นฮาเร็ม แต่ผมจะเรียกมันว่าฮาเร็ม เนื่องจากมีตัวละครหลักเป็นชายคนเดียว และมีผู้หญิงหลายคนต่างชอบพระเอก)

    Boku wa Tomodachi ga Sukunai แปลเป็นไทย “ฉันไม่ได้มีเพื่อนหลายคน” ส่วนไทยเรารู้จักในชื่อ “ชมรมคนไร้เพื่อน” โดยครั้งแรกออกมาในนิยายไลน์โนเวล เขียนโดย Yomi Hirasaka (ภาพโดย Buriki) ตั้งแต่ปี 2009 ต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน และได้รับความนิยมพอสมควร จนดัดแปลงเป็นมังงะ 2รูปแบบ โดยแบบตรงต้นฉบับเป็นของคนเขียน Hirasaka Yomi (2010 ) และภาค Boku wa Tomodachi ga Sukunai+  (เป็นโลกคู่ขนานที่โน้นอวยเซนะเป็นหลัก) และเกมของเครื่อง PSP และอนิเมชั่นปี 2011

    Boku wa Tomodachi ga Sukunai เป็นเรื่องราวของ “ฮาเซกาว่า โคดากะ” นักเรียนใหม่ที่พึ่งย้ายมาในโรงเรียนเซนต์โครนิก้า ซึ่งเป็นเรื่องโรงเรียนมัธยมแบบคริสเตียน แต่เขาก็ประสบปัญหาเหมือนโรงเรียนอื่นๆ ก่อนหน้า ตรงที่รูปลักษณ์ของเขาเหมือนนักเลง ด้วยผมสีบลอนด์ทองชา และตาดุเหมือนแยงกี้(ความจริงแล้วผมสีทองดังกล่าวถ่ายทอดพันธุกรรมจากแม่ที่เป็นคนอังกฤษ) ทำให้ไม่มีใครในห้องกล้าคบหาสมาคมด้วย

    แต่แล้ววันหนึ่ง(ผ่านไปหนึ่งเดือน) โคดากะบังเอิญผ่านมาในห้องเรียนหลังเลิกเรียน เขาก็ได้พบผู้หญิงหน้าตาดีที่อยู่ห้องเดียวกันเชื่อ “มิคาซึกิ โยโซระ” ในขณะที่เธอกำลังพูดคุยกับเพื่อนในจินตนาการที่ไม่มีตัวตนอย่างออกรสชาติ และเมื่อทั้งสองรู้จักกัน ก็รับรู้ว่าพวกเขามีปัญหาในการคบเพื่อนเหลือเกิน และเพื่อการแก้ปัญหาโยโซระจึงได้จัดตั้งชมรมที่เรียกว่า “ชมรมเพื่อนบ้าน” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหาเพื่อน และฝึกทักษะต่างๆ เพื่อเข้าสังคม

    หลังจากที่ตั้งโคดากะและโยโซระตั้งชมรม ก็มีสมาชิกห้าคนเข้าชมรม เริ่มต้นด้วยไอดอลของโรงเรียน “คาชิวาซากิ เซนะ” ที่มีนิสัยหยิ่งที่มีปัญหาการคบเพื่อนหญิง(เพราะหลายคนอิจฉาเธอที่เก่งเกินไป) ถัดมาก็รุ่นน้องผู้ชาย(??)หน้าสวย “คุสุโนกิ ยูคิมูระที่นับถือโคดากะเป็นไอดอล(ถึงขั้นอยากจะวายด้วย) ต่อมาก็เป็นแม่ชี “ทาคายามะ มาเรีย” คุณครูโลลิอัจฉริยะแต่จิตใจยังเป็นเด็กและติดโคดากะมากๆ ต่อมาก็รุ่นน้อง “ชิกุมะ ริกะ” สาวแว่นอัจฉริยะที่โคดากะช่วยไว้ในห้องวิทยาศาสตร์ สุดท้ายน้องสาวแท้ๆ ของโคดากะ “ฮาเซกาว่า โคบาดะ” ที่มีนิสัยเพี้ยนๆ แต่ติดพี่ชายมากจนต้องขอมาเป็นสมาชิกชมรมแม้ว่าตัวเธอจะอยู่มัธยมต้นก็ตาม และชมรมนี้จะไปรอดไหมก็ติดตามต่อไป!!

       

    ฮาเซกาว่า โคดากะ ตัวเอกของการ์ตูนเรื่องนี้ เป็นเด็กที่พึ่งย้ายมาและมีปัญหากับการคบเพื่อน เพราะภายนอกเขาเหมือนแยงกี้นักเลงที่ชอบใช้ความรุนแรง แต่ความจริงแล้วเขาเป็นคนอ่อนโยน ขี้เป็นห่วงคนอื่น และค่อนข้างคิดมากด้วย หากแต่เมื่อรู้จักกับมิคาซึกิ โยโซระและตั้งชมรมขึ้นมาและมีสมาชิกชมรมครบ 7 คน เขาก็เริ่มสนุกสนานชีวิตในโรงเรียนบ้างแม้ว่าจะมีข่าวลือไม่ดีเกี่ยวกับตัวเขาแพร่กระจายไปทั่วโณงเรียนก็เถอะ  สภาพครอบครัวตอนนี้อยู่กับน้องสาวกันแค่สองคน ส่วนพ่อไปทำงานในอเมริกา(ส่วนแม่ตายตั้งแต่เขาเป็นเด็ก)

      

    มิคาซึกิ โยโซระสาวสวยผมยาวดำนิสัยโหดร้ายและเห็นแก่ตัว(เธอคงแกล้งทำมากกว่า) และบุคลิกน่ากลัวทำให้หลายคนไม่กล้าเข้าใกล้ จนเธอไม่มีเพื่อน และเป็นคนตั้งชมรมเพื่อหาเพื่อน นิสัยชอบแกล้งคนอื่น เช่น เอาชุดเมดให้ยูคิมูระใส่ ดีดหน้าผากมาเรีย แต่ชอบแกล้งที่สุดคือเซนะ และเธอเป็นคนตั้งฉายาเซนะว่า “เนื้อ” โดยในอดีตและโยโซระเคยรู้จักโคดากะมาก่อน(เป็นเพื่อนสมัยเด็ก) แต่โคดากะจำเธอไม่ได้เพราะตอนที่เขายังเด็กนั้นโยโซระแต่งตัวเป็นเด็กผู้ชาย แต่กระนั้นโยโซระยังหวังให้โคดากะจำเธอได้เสียที  

     
                คาชิวาซากิ เซนะ
    ลูกสาวของผู้อำนวยการโรงเรียนที่โคดากะเรียนอยู่  เป็นสาวสวยผมยาวสีบลอนด์ รูปร่างอวบอัน เก่งไปทุกอย่างไม่ว่าการเรียนหรือกีฬา แต่ด้วยความหยิ่งทำให้เป็นเหตุทำให้เธอไม่เป็นที่ชื่นชอบของเพื่อนหญิงในชั้น แม้ว่าเธอจะถูกรายล้อมด้วยผู้ชายแต่เธอคิดว่าผู้ชายคือคนรับใช้มากกว่าเพื่อน ทำให้เธอเข้าชมรม “เพื่อนบ้าน” เพื่อหาเพื่อน แต่กลายเป็นว่าเธอกลายเป็นคนติดเกม แถมเกมที่ชอบดันเป็นเกมจีบสาวและเกมโป๊ แถมยังคิดเป็นตุเป็นต๊ะว่าผู้หญิงในเกมเป็นเพื่อนเธออีก นอกจากนี้เธอยังเป็นคู่กัดโยโซระ มักเถียงดุเดือดประจำ(แต่ส่วนใหญ่เซนะจะแพ้ และชอบร้องไห้ขี้แย จนต้องออกจากห้องชมรมไป) โดยโยโซระตั้งชื่อเล่นเธอว่า “เนื้อ” หรือไม่ก็ “วัว” ซึ่งความจริงแล้วเซนะแอบชอบชื่อเล่นนี้เหมือนกัน และแอบชอบโคดากะแบบลับๆ

                     

    คุสุโนกิ ยูคิมูระ รุ่นน้องของโคดากะ ที่โคดากะเจอเธอ(เขา?) ในช่วงแอบติดตามโคดากะอย่างลับๆ ตอนแรกโอดากะเห็นยูคิมูระในสภาพแต่งชุดนักเรียนชาย แต่หากดูจากรูปร่างหน้าตากลับเป็นสาวน้อยน่ารักคนหนึ่ง อีกทั้งเจ้าตัวบอกว่าเป็นผู้ชายทำให้หลายคนเชื่อว่ายูคิมูระเป็นสาวดุ้น โดยเขาแอบติดตามโคดากะเพราะคิดว่าเขาเป็นนักเลงน่ากลัว และอยากเรียนรู้เพื่อจะได้เป็นผู้ชายเข้มแข็งเพื่อสามารถปกป้องตนเองจากการกลั่นแกล้งของคนในชั้นเรียนได้ (ซึ่งความเข้าใจผิดของยูคิมูระล้วนๆ) ต่อมาก็เข้าชมรมเพื่อนบ้านเพราะหลงใหลโคดากะมาก(และโยโซระชวน) นิสัยทั่วไปชอบทำหน้าเหม่อลอยเหมือนสาวเงียบ ชอบแต่งชุดเมด(โยโซระบอกให้แต่งโดยบอกว่าฝึกเป็นชาย) ชอบเรื่องขุนพลโบราณและนักเลง

       

    ทากายามะ มาเรีย อาจารย์ที่ปรึกษาชมรมเพื่อนบ้าน อายุ 10 ขวบแต่เป็นเด็กอัจฉริยะ แต่นิสัยยังเป็นเด็กน้อยร่าเริงอยู่ ถูกโยโซระบังคับให้มาเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาและยกห้องสัมมนาที่เธอใช้แอบนอนกลางวันมาเป็นห้องชมรมเพื่อนบ้าน ชอบกินมันฝรั่ง และชอบโคดากะเอาอาหารกลางวันมาให้ (จนคนอื่นมองโคดากะว่าเป็นพวกโลลิคอน) มักเป็นคู่กัดกับโคบาตะน้องสาวของโคดากะอยู่บ่อยๆ

      

    ชิกุมะ ริกะ เด็กสาวรุ่นน้องของโคดากะเป็นนักวิทยาศาสตร์เพี้ยนอัจฉริยะแต่ทักษะการคบเพื่อนต่ำ ที่โคดากะไปเจอในขณะสลบเพราะผลการทดลองทางเคมีในห้องวิทยาศาสตร์ และต่อมาริกะเกิดสนใจในตัวโคดากะเลยขอเข้าชมรมเพื่อนบ้านเพื่อใกล้ชิดกับเขา นิสัยบ้าๆ บอๆ ถนัดเรื่องเสื่อม โดยเฉพาะโดจินบอยเลิฟ(แนวหุ่นยนต์) นอกจากนั้นยังชอบมักจิ้นวายโคดากะกับยูคิมูระ และเธอมักพูดชื่อตนเองแทนฉันเวลาพูดกับคนอื่น

      

    ฮาเซกาว่า โคบาโตะ น้องสาวแท้ๆ ของโคดากะ ภายนอกเป็นสาวสวยมัธยมต้น ผมสีบอลนด์หน้าตาชาวต่างชาติ แต่กลับมีนิสัยเพี้ยนๆ ชอบเพ้อเจ้อ หลงใหลอนิเมชั่นแนวแวมไพร์ เลยมักแต่งตัวโกธิคสีดำ กอดกระต่วยประหลาดไว้กับตัวเสมอ ชอบมักสมมุติตนเองเป็นแวมไพร์ และชอบเรียกพี่ชายว่าเป็นทาสรับใช้อยู่บ่อยๆ ซึ่งความจริงแล้วโคโบโตะติดพี่ชายมาก เวลาตกใจหรือเจอเหตุไม่คาดฝันมักหลุดปากว่าพี่จ๋าอยู่บ่อยๆ เป็นสมาชิกคนสุดท้ายที่เข้ามาชมรมเพื่อนบ้านที่มักเป็นคู่กัดกับมาเรียอยู่บ่อยๆ


     เนื้อหาต่อไปนี้จะเป็นการสปอยไลน์โวล 1 และ 2 เท่านั้นจะไม่สปอยนอกเหนือจากนี้เด็ดขาด
    และคนเขียนบทความก็จะไม่อ่านสปอยจากที่ใดทั้งสั้นเพื่อมีอรรถรสในการติดตามการ์ตูนเรื่องนี้

                    เชื่อหรือไม่ว่านี้คือหนึ่งในอนิเมชั่นที่ผมตั้งหน้าตั้งตาคอยที่จะดูในซีซั่นนี้ สาเหตุคือผมอ่านไลน์โนเวลแล้วรู้สึกชอบ

    ตอนแรกผมไม่คิดที่จะดูการ์ตูนเรื่องนี้เลยสักนิด เนื่องจากครั้งแรกที่ผมเห็นเป็นการ์ตูนมังงะวาดโดย Yomi Hirasaka ผมดูแล้วไม่ค่อยชอบเท่าไหร่ แต่เมื่อเห็นหลายคนอวยการ์ตูนเรื่องนี้จากหลายเว็บมากเข้าและเริ่มสนใจ จนต้องสั่งซื้อไลน์โนเวลจากสำนักพิมพ์มาดู(มังงะรักพิมพ์ก็ได้ลิขสิทธิมาเหมือนกัน) หลังจากที่ผมได้ดู ผมก็เกิดความรู้สึกชอบอกชอบใจในความเป็นฮาเร็มของการ์ตูนเรื่องนี้

    ก่อนที่จะพูดถึงการ์ตูนก็ขอกลับมาที่ฮาเร็มที่ดีสำหรับผมต่อ ความจริงแล้วมันก็เป็นสูตรใครสูตรมัน แล้วแต่รสนิยมของคนดู และสิ่งที่ผมจะดูหรือติดตามฮาเร็มเรื่องอื่นๆ นั้นผมจะเริ่มที่พระเอกก่อนเป็นอันดับแรก

    แปลกไหมครับ ถ้าเป็นคนปกติจะดูการ์ตูนฮาเร็มเรื่องอื่นๆ ต้องดูคาแร็กเตอร์ตัวผู้หญิง ลายเส้น หรือตัวผู้วาดการ์ตูนเรื่องนี้เสียก่อน แต่ผมดูตรงที่พระเอก สาเหตุเพราะผมวางมาตรฐานไว้คือพระเอกฮาเร็มจะต้องเป็นคนธรรมดา สามัญชน อ่อนแอ เป็นลูกไล่ผู้หญิง มากกว่าพวกสมบูรณ์แบบบู๊เถื่อนเหมือนการ์ตูนตาหวานของผู้หญิงครับ เนื่องจากพระเอกธรรมดาก็เสมือนหนึ่งตัวแทนของคนอ่านที่สามารถเข้าถึงเรื่องได้เสมือนกับเรานั้นอยู่ในการ์ตูนเรื่องนี้จริงๆ แต่อย่างไรก็ตามก็อยากให้พระเอกไม่กากหรือออกแบบน่าเบื่อมากเกินไปนัก อยากให้มหาเมพให้ผู้หญิงทั้งหลายมีความสุข หรือจำพวกพระเอกในเรื่อง School Day ก็รับไม่ได้เหมือนกัน เพราะพระเอกรายดังกล่าวไม่ทำให้ผู้หญิงสองคนมีความสุขได้(ก็สมควรที่ถูกลงโทษ) ดังนั้นหากการ์ตูนฮาเร็มเรื่องไหนที่พระเอกบู๊เถื่อนเพอร์เฟคนี้ผมไม่ดูเลย

    Boku wa Tomodachi ga Sukunai ผมก็ชอบพระเอกโคดากะ แม้ภายนอกจะเหมือนพระเอกสายบู๊ แต่นิสัยไม่ใช่เลย ตอนผมอ่านนิยายไลน์โนเวลครั้งแรกนี้พระแอกบรรยายเหมือนเจ้าเคียวน์ในเรื่องฮารุฮิ มีทั้งบ่น แต่กรณีของโคนาดะนี้มีหลายประโยคที่สื่อถึงความรู้สึกคิดมากและความเป็นห่วงเป็นใยผู้อื่นด้วย แสดงให้เห็นว่าโคดากะเป็นคนเรียบร้อย คนดีที่หนึ่ง และเป็นตัวตัดมุกได้ฮ่าอีกตัว

      

    อย่างที่สอง ที่ผมติดสินใจที่ชอบการ์ตูนฮาเร็มเรื่องหนึ่ง ก็คือฉากจบครับ ก็แปลกอีกแหละว่าทำไมต้องฉากจบมาเป็นอันดับต้นๆ สำหรับผมแล้วฉากจบฮาเร็มที่ดีคือการทำให้ผู้หญิงทั้งหมดมีความสุขสมหวังในความรักในตัวผู้ชาย(ตัวเอก)ในเรื่องเพียงคนเดียว แต่ทั้งนี้ไม่ใช่การแต่งงานหรือมีฉากบนเตียงนะครับ(ยกเว้นจะแต่งงานหมู่ระหว่างเจ้าบ่าวชายและตัวละครผู้หญิงทั้งหมดในเรื่อง อย่างการ์ตูนเรื่อง Guardian Hearts)

    ปกติไม่มีหลายคนชอบหรอกครับที่นางเอกหรือตัวละครสาวคนใดเสียความบริสุทธิ์มีลูกมีผัว ส่วนมากการ์ตูนฮาเร็มควรจบแบบว่าความรักระหว่างพระเอกและเหล่าตัวละครผู้หญิงทั้งหลายค้างๆคาๆ เสียมากกว่า เพื่อสื่อว่ามันเป็นเรื่องของอนาคต เอาแน่เอานอนไม่ได้ ต้องติดตามต่อไป หรือให้ผู้อ่านจิ้นกันสะดวก

    เรื่องของพระเอกจับปลาหลายมือ(สองมือนี้น้อยไป) สำหรับคนไทยแล้วอาจไม่ชอบ แต่อย่าลืมมันเป็นแค่เรื่องสมมุติที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อคนหัวใจโสดหรือให้อ่านได้เก็บไปฝันหวาน ในสิ่งที่ไม่มีทางเป็นจริงได้ อย่างเช่นอุ้ยเสียวป้อหนังจีนกำลังภายในของกิมย้งที่ไม่เหมือนใคร เพราะที่แล้วมาหนังจีนกำลังภายในจะมีแต่คู่พระเอกและนางเอกแบบรักแท้ แต่อุ้ยเสียวป้อกับมีเมียถึง 7 คน แถมเมียแต่ละคนก็เป็นตัวละครในฝันของชายหนุ่มทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็น รุ่นพี่ รุ่นน้อง จอมมาร จอมยุทธ์ โจรสาว เมด ไปจนถึงเจ้าหญิง แบบนี้จะไม่ให้เรียกฮาเร็มในฝันได้อย่างไร ทั้งๆ ที่พระเอกไม่ได้เก่งกล้าสามารถอะไรเลยแต่ทำให้ผู้หญิงทั้งหมดมีความสุขได้(ความจริงแล้วเคยมีคนดัดแปลงเปลี่ยนนิยายให้อุ้ยเสียวป้อมีเมียเหลือไม่กี่คน แต่ต่อมาถูกคัดค้านเพราะไม่อยากทำลายความใฝ่ฝันของชายหนุ่ม)

    ดังนั้นผมมักให้ความสำคัญของฉากจบในการ์ตูนฮาเร็มมากครับ ผมจึงไม่ชอบการ์ตูนที่มีฉากจบจำพวกพระเอกเลือกผู้หญิงในกลุ่มเพียงคนเดียวสักเท่าไหร่ ต่อให้หลายคนชมยังไง ผมก็รับไม่ค่อยได้อยู่ดี

      

    สิ่งที่ชอบรองถัดมาก็คือคาแร็คเตอร์ของตัวละครผู้หญิงทั้งหมดในการ์ตูนเรื่องนั้นๆ ว่าสามารถเข้ากับเรื่องและการออกแบบที่เด็ดดวงได้หรือเปล่า โดยคาแรคเตอร์ผู้หญิงในฮาเร็มส่วนใหญ่นั้นมักออกแบบตัวที่ไม่มีอยู่จริงหรือเกิดขึ้นยาก เช่น เพื่อนสมัยเด็ก ประธานสาวสวยมาดเฉียบ หัวหน้าห้องเจ้าระเบียบ สาวทวินเทลซึนเดระ สาวแว่นซุ่มซ่าม รุ่นพี่ตัวสูงเก่งกีฬา เป็นต้น สิ่งเหล่านี้แทบไม่มีทางพบเห็นในโลกแห่งความจริง แต่ในโลกการ์ตูนนั้นถือว่าเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งเลยทีเดียว อย่างไรก็ตามตัวละครเหล่านั้นจะมีพื้นฐานเหมือนกันคือเป็นผู้หญิงสวยน่ารัก เป็นที่หมายปองของชายหลายคน แต่ทั้งหมดกลับหลงรักผู้ชายคนเดียวที่แสนไม่ได้เรื่องนั้นคือตัวเอก

                    การ์ตูนฮาเร็มส่วนใหญ่มักมีส่วนผสมตัวละครหญิงไม่เหมือนกัน บางเรื่องมี 3 คน 3 แบบ(ซึ่งเป็นแบบที่ได้รับความนิยมมากที่สุด) บางเรื่องมีผู้หญิง 9 คน หรือบางเรื่องมี 19 คน หรือบางเรื่องผู้หญิงยกชั้น!! แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นมันไม่ได้อยู่ที่จำนวนหากแต่อยู่ที่คุณภาพคาแร็คเตอร์ว่าจะมีตัวละครตัวใดบ้างที่สามารถครองใจผู้อ่าน ซึ่งแน่นอนการทำแบบนี้ก็ต้องดูที่บทของตัวละครนั้นๆ ด้วยว่าจะมีบทส่งทำให้ตัวละครผู้หญิงนั้นมีสเน่ห์หรือทำให้ผู้ดูอุทานว่า “โมอะ” มากขนาดไหนด้วย

    สำหรับ Boku wa Tomodachi ga Sukunai ทั้งเรื่องมีตัวละครหลักเพียง 7 คนเท่านั้น และคาแร็คเตอร์ผู้หญิงนั้นต่างมีความโดดเด่นกว่าฮาเร็มเรื่องอื่นๆ พอสมควร ไม่ว่าจะเป็นรูปร่างหรือนิสัยที่ทำได้เด็ดดวง ไม่ว่าจะเป็น สาวนักวิทย์ศาสตร์บ้าวาย  แม่ชีโลลิ คุณหนูอกใหญ่  น้องสาวแวมไพร์ ที่เข้ากันอย่างลงตัว เข้าใจนิสัยอย่างชัดเจน สามารถนำมาต่อยอดได้หลากหลาย นอกจากนี้ยังมีส่วนการเพิ่มคาแร็คเตอร์สาวดุ้น(??)เข้าไปอีก ซึ่งปัจจุบันคาแร็คเตอร์สาวดุ้นเริ่มเป็นทิ่ยมมากกว่าสาวเงียบเสียอีก(แต่ยูคิมูระนี้ทั้งดุ้นทั้งสาวเงียบโมเอะว่ะ)

    ที่น่าแปลกใจคือ Boku wa Tomodachi ga Sukunai นั้นหลายคนชื่นชอบ “เซนะ” มากกว่า “โยโซระ” มาก ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่นางรองได้รับความนิยมมากกว่าเหมือนการ์ตูนเรื่องอื่นๆ สาเหตุก็เพราะบทการ์ตูนส่วนใหญ่จะส่งให้เซนะโดดเด่นกว่าตัวละครหญิงคนอื่นๆ อีกทั้งยังมีคาแร็คเตอร์ในฝันของผุ้ชาย อย่าง ไอดอล คุณหนู หน้าอกใหญ่ บ้าเกม ผมทอง ขี้แย น่าปกป้อง เข้าไป ส่วนโยโซระแม้ว่าจะเป็นนางเอกแต่ช่วงแรกนั้นเหมือนไปทางนางอิจฉา เกรียน ชอบแกล้งคนอื่น และมักด่าคำหยาบซนะจนร้องไห้บ่อยๆ ซึ่งกลายเป็นว่าคนอ่านยิ่งอวยเซนะมากเข้าไปอีก

     แต่ความจริงในไลน์โนเวลนั้นอวยตัวละครเท่าๆ กัน ตอนไหนอวยตัวละครไหนเป็นพิเศษก็จัดไป(หากดูจากมุมมองผม) อีกทั้งแต่ละคนต่างปล่อยมุกได้อย่างมีเอกลักษณ์และทำให้ผมฮ่ากับฮาเร็มเรื่องนี้อย่างเต็มเปลี่ยม เห็นได้ชัดเลยคือตอนแต่งนิยายเวียนที่แต่ละคนเขียนนิยายของตนเองจนดูออกทันทีว่าตัวละครนั้นมีนิสัยอย่างไรบ้าง

                    
                   สุดท้ายแนวที่ผมชอบที่สุดก็คือฮาเร็มคอมมาดี้ครับ ผมชอบการ์ตูนแนว เบาสมอง เบิกบานใจ เนื้อเรื่องขำขัน ความเพี้ยน คลายเครียด เน้นโมเอะหรือฉากเด็ดไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องเป็นราวก็ได้ ซึ่งผมชอบเลือกดูมากกว่าที่ตจะเลือกฮาเร็มโรแมนติกดราม่า

                    และนี้คือเหตุผลทั้งหมดที่ผมจะชอบการ์ตูนฮาเร็มเรื่องหนึ่งๆ ซึ่งสำหรับ  Boku wa Tomodachi ga Sukunai ก็มีเหตุผลที่ทำให้ผมชอบเกือบครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็นตัวละคร การดำเนินเรื่อง หรือช็อตเด็ดอีกมากมาย

                    สิ่งที่ทำให้ผมชอบ Boku wa Tomodachi ga Sukunai ก็มีหลายเหตุผล แม้เนื้อหาแรกๆ จะเหมือนฮารุฮิตั้งชมรมก็ตาม แต่เมื่อดำเนินเรื่องหลายๆ ตอน ผมก็เริ่มยิ่งสนุก ดูแล้วสบายๆ ไม่คิดมาก สามารถกลับมาอ่านหลายรอบ(ในฉากที่ชอบ) การผสมผสานตัวละครที่ไม่น่าจะเข้ากัน ไม่ว่าคาแร็คเตอร์ นิสัย หรืออายุ  แต่สามารถทำได้ลงตัว มีลักษณะเฉพาะที่ชัดเจน ยกตัวอย่างเช่น ตอนแต่งนิยายเวียน แสดงให้ลักษณะของตัวละครนั้นๆ ได้เป็นเอกลักษณ์จริงๆ จนผมหัวเราะไม่หยุด อีกทั้งสิ่งที่น่าติดตามคือกิจกรรมที่ชมรมทำว่าแต่ละตอนสมาชิกทั้งหลายจะทำอะไร และจะอนาถขนาดไหน หรือจะแสดงเอกลักษณ์ขนาดไหน

    ในส่วนข้อคิดของการ์ตูนการ์ตูนที่ต้องการสื่อความหมายแท้จริงของคำว่า “เพื่อน” ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ตัวละครทั้งหลายที่ไม่รู้จักมักจี่มาก่อนมาทำกิจกรรมร่วมกัน สาเหตุหลักๆ ที่ทำให้คนในชมรมหาเพื่อนไม่ได้ ก็เช่น ถูกคนคนรอบข้างมองรูปลักษณ์ภายนอกมากกว่าภายใน ตัวละครที่เด่นชัดก็คือโคดากะที่ในโรงเรียนตั้งแง่เลยว่าเป็นแยงกี้ย้อมผมทองทั้งๆ ที่จริงแล้วเป็นแค่คนดีที่ผมทองก็เพราะกรรมพันธุ์ แม้เขาพยายามทำดีมากแค่ไหนคนอื่นก็มองด้านลบตลอด เป็นขี้ปากข่าวลือไปโรงเรียน อ่านดูแล้วจี้ใจดำสังคมญี่ปุ่น(ไทย)ได้ดีจริงๆ  อย่างที่สองคือบุคลิกของคนในชมรมที่ไม่น่าคบ เช่น โยโซระทำตัวหงุดหงิด(อีกทั้งพูดไม่เก่ง)จนไม่มีใครกล้าเข้าใจ, เซนะหยิ่งเลิศจนผู้หญิงไม่อยากคบ

    แม้ว่าเมื่อสมาชิกทั้งหลายมารวมตัวกันทำกิจกรรมที่ส่วนใหญ่จะล้มเหลวอย่างอนาถ อย่างไรก็ตามผมกลับพบว่าโคดากะนั้นได้เพื่อนแล้ว นั้นก็คือสมาชิกในชมรมนั้นเอง เพราะความหมายแท้จริงของคนว่าเพื่อนคือ คนที่เข้าใจกันและกัน สามารถคบกับเราได้โดยไม่ต้องสวมหน้ากากเข้าหากัน และเป็นคนที่รักเรา มีสุขร่วมกันมีทุกข์ร่วมกัน แม้ว่าสังคมเพื่อนของโคดากะจะเป็นสังคมเล็กๆ แต่ก็เป็นนิมิตหมายอันดีที่จะฝึกสร้างมนุษยสัมพันธ์ที่ดีในอนาคต(หรือเปล่า?) นอกจากนั้นการ์ตูนยังแอบมีแดกดันกับคำนิยามของว่า “เพื่อน” ด้วย ทัศนคติโยโซระมองคำว่าเพื่อนว่าเพื่อนจินตนาการคือเพื่อนแท้เพราะไม่มีการหักหลัง เพื่อนคือกลุ่มบุคคลที่เราจำเป็นต้องเข้าเพื่อไม่ให้คนอื่นมองเราว่าคบยาก เพื่อนคือกลุ่มบุคคลที่เราต้องเข้าเพราะต้องทำงานกลุ่มหรือกิจกรรม(สำหรับคนไร้เพื่อนแล้วถือว่าเป็นปัญหาใหญ่เลยแหละ) ก่อนที่ตบท้ายก็พูดประโยคว่า “ถ้ามีเพื่อนให้เช่าก็ดีสิ?” ใครที่มีเพื่อนกินนี้คงถูกอกถูกใจกับทัศนคติของโยโซระเหมือนกัน

    แต่ใช่ว่า Boku wa Tomodachi ga Sukunai จะไม่มีข้อเสีย ข้อเสียก็เหมือนการ์ตูนฮาเร็มเรื่องอื่นๆ ก็คือเนื้อหาไม่ค่อนข้างหยุดกับที่ จบในตอน อาจไม่มีจุดต้องติดตามมากนัก แต่ผมเชื่อว่าใครชอบฮาเร็มเซอร์วิสไม่สนเรื่องนี้อยู่แล้ว นอกจากนั้นในมังงะโยโซระค่อนข้างพูดคำหยาบคายกับเซนะเยอะมาก นอกจากคำว่าเนื้อแล้ว โยโซระก็พูดว่า แรด, ข่มขืน, วัว,  ส่วนมุกเสื่อมของริกะนั้นก็เกือบเรต +18 แต่กระนั้นผมกลับมองว่านี้แหละคือการสนทนาของเพื่อนแท้ ที่เราสามารถเล่นหัวกันได้ (โหยในโลกแห่งความจริง บทสนทนาประชดประชันระหว่างเรากับเพื่อนแรงกว่านี้อีก) บางมุกก็แรงพอสมควรเช่นมุกศาสนาคริสต์ที่ตอนที่โยโซระพูดกับมาเรีย  และข้อเสียสุดท้ายการ์ตูนอาจมีศัพท์และมุกเฉพาะ เช่น มุกเกม หรือมุกโดจิน ใครที่ไม่มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้อาจจะ งง  หลายอย่าง แต่ผมเชื่อว่ามันไม่ยากนักสำหรับคนคิดจะอ่านไลน์โนเวลเรื่องนี้แน่นอน

      

    หลังจากที่มีการประกาศ Boku wa Tomodachi ga Sukunai ว่าจะทำเป็นอนิเมชั่น ผมก็กังวลพอสมควรว่าจะทำออกมารูปแบบไหน และทำได้ถูกใจผมหรือเปล่า? เนื่องจากดูจากกระแสเรตติ้งจากเว็บต่างๆ ค่อนข้างน้อยความคาดหวังเหลือเกิน(เรตติ้งความน่าสนใจ 10 เปอร์เซ็นต์) และผมกลัวอีกอย่างคือมันจะทำออกมาแบบอนิเมชั่น MM! หรือเปล่า?

                    ก่อนอื่นก็ขอบอกอะไรก่อน ปกติการ์ตูนสร้างจากไลน์โนเวล(หรือมังงะ)จะมี 2 อย่าง คือ ตรงต้นฉบับแบบทุกประการหรืออาจมาการปรับเล็กน้อยเพื่อความเหมาะสม ส่วนอย่างที่ 2 คือไม่ตรงกับต้นฉบับ อาจมีการเปลี่ยนแปลงให้เหมาะกับอนิเมชั่นจนแทบรับไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็น เปลี่ยนฉาก ตัดบทตัวละคร หรือเพิ่มบทเพิ่มฉากด้วยไม่จำเป็น ซึ่งอย่างที่สองนั้นค่อนข้างเสี่ยงต่อคำด่าจากคนที่อ่านไลน์โนเวล(สำหรับคนที่ไม่ได้ไลน์โนเวลอาจรับได้) ตัวอย่างเช่น MM! ที่เป็นแบบที่สองที่ตัดบทตัวละคร สลับตอน ผลคือได้เสียงตอบรับในทางลบ (ยกเว้นเรื่อง สาวหูแมวโหดเท่านั้นที่ดีกว่าต้นฉบับ)

                    ก็ขออกตัวว่าผมชอบดูการ์ตูนที่ตรงต้นฉบับมากกว่าจะเปลี่ยนเนื้อหามันมากจนรับไม่ได้ และขอบอกว่าตอนแรก ตอนที่ผมดู Boku wa Tomodachi ga Sukunai ตอนที่ 0 ผมค่อนข้างกังวลพอสมควร เพราะเนื้อหาตอนต้นไม่ตรงต้นฉบับ กลัวมันจะซ้ำรอยการ์ตูนเรื่อง MM!

    ในตอนที่ 0 พระเอกจิ้นไปไกล ในฉบับไลน์โนเวลพระเอกจินตนาการไปทะเลอย่างเดียว  และโยโซระใส่ชุดว่ายน้ำแบบมิดชิด แต่ในเวอร์ชั่นอนิเมชั่นโยโซระกลับใส่ชุดว่ายน้ำปกติและสีแดงไป และพระเอกยังจิ้นต่อไล่ตั้งแต่งานเทศกาล ไปจนถึงบ้านพัก คาราโอเกะ ซึ่งเป็นบรรยากาศชื่นมื่น เท่ากับเป็นการสปอยเลยว่าเรื่องนี้จะถึงช่วงไหน ซึ่งในไลน์โนเวล มังงะไม่มีฉากดังกล่าว (แน่นอนว่าของจริงไม่ชื่นมื่นอย่างงั้นแน่ๆ) แต่กรณีผมกลับชอบดีน่ะ ชอบตอนพระเอกควบสาวสองคนแนบกันดี อารมณ์ฮาเร็มคนโสดพรุ่งปริ๊ด โอ้เยสจริงๆ (แน่นอนว่ามันแค่จินตนาการของพระเอก ของจริงมันไม่งดงามแบบนี้แน่ๆ)

    แต่เมื่อตอนที่ 1 ผมก็รู้สึกโล่งใจที่ไม่ได้ปรับบทในไลน์โนเวลมาก และรู้สึกชอบด้วยซ้ำกับการนำเสนอในเรื่อง พระเอกที่จริงตามนิยายจะออกมารูปลักษณ์เป็นนักเลงอย่างมาก แต่ในอนิเมชั่นได้ใช้รูปลักษณ์พระเอกแบบแนวกากๆ ฮาเร็มไปหน่อย แต่กรณีนี้ผมชอบเพราะจะได้สื่อเป็นตัวตบมุกได้ดี หากทำภาลักษณะพระเอกหน้าตาดุๆ นี้ เอามาตบมุกนี้ไม่ไหว) และตอนต้นผมก็ยังสงสารพระเอกเลยที่ไม่มีเพื่อนและถูกคนรอบข้างมองว่าเป็นคนไม่ดี เห็นแล้วนึกถึงตัวผมในอดีต กว่าจะได้เพื่อนนี้ปาเกือบเทอม ส่วนที่ผมคาดไม่ถึงคือเสียงโยโซระเป็นเสียงออกทอมบอยอันนี้ผมรู้สึกแปลกๆ ไปนิด จริงอยู่ในอดีตนางเอกเคยเป็นแต่งเป็นชายมาก่อน (คงเพื่อมีฉากที่โยโซระปลอมเป็นชายเพื่อให้โคดากะจำได้ด้วย) lทำให้ผมกังวลว่า คนพากย์จะแสดงอารมณ์ปากจัดเหมือนในนิยายมากแค่ไหน แต่เมื่อดูตอนด่าเนื้อกับทำได้ดี ซึ่งคงต้องรอดูอีกยาวว่าจะทำได้ดีขนาดไหน แต่ตอนแรกผมดู ผมให้ผ่านครับ ทำได้ดีมากเลย(ดูไปสองรอบ)

     
                      สรุป
    Boku wa Tomodachi ga Sukunai เป็นการ์ตูนตลกที่ใช้หัวข้อคำว่า “หาเพื่อน” มาทำกิจกรรมต่างๆ ที่สนุกเบาสมอง ตลกแบบเซอร์วิสซาบซ่า ไม่ต้องเคร่งเครียดอะไรมาก และผมยกให้การ์ตูนเรื่องนี้ฮาเร็มเด็ดดวงในดวงใจอีกเรื่องหนึ่ง ส่วนใครถามว่าผมอวยตัวละครใดในเรื่องนี้ ก็ตอบยากพอๆ กับ To Love Ru เพราะเลือกยาก แต่ถ้าส่วนตัว ผมอวยเท่าๆ กัน เพราะขาดไปคนหนึ่งชีวิตมันขาดสีสัน ผมยังเชียร์โคดากะจับปลาสองมือเอาทั้งโยโซระและเซนะเลย ขนาดโดจิน H ผมยังดูแต่ที่โคดากะควบสองคน (ในโดจิน H ส่วนมากมีแต่เซนะเป็นนางเอกเยอะ)

     

    “เพื่อน 100 คนไม่มีค่าเท่า เพื่อนแท้เพียงคนเดียว”

     

    ส่วนคำถามที่ว่าอนิเมชั่นเดือนตุลาคม ผมติดตามเรื่องใด หลังจากที่ผมไปดูการ์ตูนจนเกือบครบทุกเรื่อง  พบว่ามีเรื่องน่าติดตามมากกว่าซีซั่นที่แล้ว โดยรวมมี 4 เรื่องนอกเหนือชมรมไร้เพื่อน ก็คือ Cube x Cursed x Curious (ฮาเร็มแอ็คชั่นแฟนตาซี แม้เนื้อหาน้ำเน่า ดำเนินเรื่องเร็ว แต่ผมชอบในเนื้อหามันอยู่) , Persona 4 (ดูเพราะพระเอกหล่อ), เซกิหุ่นยนต์โมเอะ(ดูตอนแรกติดใจ), Maken-Ki! (กำลังติดสินใจว่าจะดูอีกไหม) ส่วนที่เหลือผมไม่มีความคิดที่จะดู ดังนั้นไม่จำเป็นต้องแนะนำหรือถามความคิดผมว่าเรื่องนี้เป็นยังไง (ตอนที่ผมเขียน Guilty Crown  ยังไม่มา)

     + +

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×