มางู ๆ ปลา ๆ กะเจ๊กอล์ฟกันต่อนะคะ
สอนภาษาอังกฤษเหมือนเคยค่ะ
ผู้เข้าชมรวม
426
ผู้เข้าชมเดือนนี้
1
ผู้เข้าชมรวม
เนื้อเรื่อง
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
สวัสดีค่ะ หายไปน้านนนนนนนนนนนนนนนนนนนนน... นาน เลยนะ เพราะอิชั้นไม่ค่อยจะว่างน่ะค่ะ เลยไม่ค่อยได้เขียนบทความ แต่วันนี้คงเป็นเรื่องที่ถูกอกถูกใจใครบางคนนะคะ เพราะ เราจะมาเม้าท์กันในเรื่องของคำกริยา หรือ verbในภาษาอังกฤษค่ะ บางคนเรียนภาษาอังกฤษมาจนจะไปเกิดใหม่แล้วก็ยังมึนตึ้บกับไอ้เจ้าพระเอกของเราในบทนี้ค่ะ แต่ถึงอย่างไรก้อตามคำกริยามีความสำคัญเป็นอย่างมากในภาษาอังกฤษ เพราะอะไรเหรอคะ ก็เพราะเจ้ากริยาเนี่ยนะคะมันเป็นตัวที่ทำให้หน่วยความคิดของเรากลายเป็นประโยคขึ้นมา แม้จะมีมันเพียงตัวเดียว เราก็ถือว่าเป็นประโยคแล้วละค่ะ เช่น แค่เราบอกว่า Go! กับนักวิ่งแข่ง พี่แกก็คงโกยกันสุดชีวิตเลยนะคะ หรือไม่ก็ Stop! กับคนที่กำลังทะเลาะกันอยู่ พวกเค้าก็คงเลิกทะเลาะกัน (ถ้าไม่เลิกก็เอาน้ำสาดจะได้แยกกัน)
อ้อ! ลืมไปเลยว่า เจ้อยากจะแบ่ง verb เป็น 2 กลุ่มก่อนนะคะ ลองดูตามภาพค่ะ
คือ กลุ่มที่เป็นกริยาแท้ (Main Verb) และกริยานุเคราะห์หรือกริยาช่วย (Helping verb) และไอ้เจ้าพวกนี้ก้อดันแยกย่อยได้มากมายเสียเหลือเกิน
เรามาดูที่ main verb กันก่อนดีกว่านะคะ เพราะภาษาปะกิดเค้าเนี่ยดันต่างจากภาษาไทยของเราตรงที่เค้าต้องแปลงร่างให้เจ้า verb มันสอดคล้องกับประธานและช่วงเวลาเสียด้วย ภาษากะเทยวิชาการเค้าเรียกว่าภาษาอังกฤษเป็น Inflectional Language หรือ ภาษาที่มีวิภัติปัจจัยน่ะสิคะ ลองเทียบดูเอาเอง
ภาษาไทย à เมื่อวานกูตบอีหมวย
ภาษาอังกฤษ à Yesterday I slapped Muay.
เห็นไหมคะว่าไม่ว่าจะวันไหนเวลาไหน เจ้ากริยาในภาษาไทยก็ยังคงไม่เปลี่ยนแปลง แต่เจ้า verb ในภาษาปะกิดสิคะ มันดันเปลี่ยนไป เราเลยต้องมานั่งท่องนั่งจำกริยาสามช่องกันตั้งแต่สมัยพระเจ้าเหาเป่าหอยจนบัดป่านนี้ก็ยังได้แต่นั่งเป่าหอย เพราะยังจำไม่ได้หมด (อิอิ) ใคร ๆ เค้าสอนให้เราจำว่ากริยามี 3 ช่อง แต่เจ๊จะบันดาลให้มันมี 5 ช่อง มีใครจะว่าไรมะคะ (อิอิ)
ช่องแรกบางตำราเค้าเรียกกันว่า Infinitive แต่เจ๊เรียกว่า Base form เพราะว่ามันเป็นกริยาที่ยังไม่ได้ผัน สมัยก่อนเจ๊จำเอาเองว่ามันเป็น verb พรหมจรรย์ที่ยังเหมือนเจ๊ คือ ยังบริสุทธิ์ผุดผ่องไม่เสียตัวให้กับชายใด อิอิ พูดง่าย ๆ นะคะ ก็คือมันเป็น verb ที่ยังไม่ผันนั่นเอง ดูจากตัวอย่างคำว่า BREAK ในแผนภูมิสิคะ จะได้ไม่มึน
ส่วนช่องที่สองก็คือ past form พูดง่าย ก็คือ v.2 นั่นเองค่ะ และ ช่องที่ 3 ก็คือ v.3 ที่เราท่องกันมาแต่สมัยพ่อขุนรามคำแหงกันแล้วน่ะค่ะ
ช่องที่สี่เป็นช่องที่เราก็คุ้นเคยกันดี แต่เราไม่รู้จักเรียกชื่อมันค่ะ เราเรียกมันว่า Present Participle บางครั้งเจ๊จะเรียกมันว่า "verb สะอิ้งศรี" แต่อย่าไปจำสลับกับ Gerund นะคะ เพราะเจ้านั้นเค้าเปลี่ยนรูปแล้วจะกลายเป็นคำนาม แต่เจ้า Present participle เค้ายังเป็น verb อยู่เหมือนเดิมค่ะ
ส่วนช่องที่ 5 ช่องสุดท้ายเจ๊เรียกว่า singular verb เนื่องจากว่าเค้ามีไว้ใช้คู่กับสรรพนามที่เป็นประธานเอกพจน์บุรุษที่ 3 ใน Present simple tense ค่ะ อย่างงนะคะ เดี๋ยวจะบอกทีหลัง
ส่วนเจ้ากริยานุเคราะห์ หรือ Helping verb นะคะสามารถแบ่งเป็นสองกลุ่ม คือ Auxiliary verb และ Modal verb ค่ะ
Auxiliary verb เป็นกริยาช่วยที่สามารถผันหรือเปลี่ยนรูปแบบกริยาแท้ได้ มี 3 ตัว คือ BE, DO และ HAVE ค่ะ เราลองมาผันกันนะคะ
BE à is, am, are, was, were, been, being, be
DO à do, does, did, done, doing
HAVE à have, has, had, having
เจ้าพวกนี้จะเอาไว้ใช้ประกอบกับกริยาแท้ใน tense ต่าง ๆ ค่ะ โปรดติดตามชม
ส่วนเจ้า Modal verb เป็นกริยาช่วยที่เสริมความหมายให้มีดีกรีมากขึ้น เจ้าพวกนี้มีอยู่หลายตัวด้วยกันนะคะ อาทิ can, could, may, might, shall, should, will, would, ought to, dare, must, have to, need เจ้าพวกนี้นะคะเค้าจะต้องตามด้วย base form เท่านั้นค่ะ ... ไว้แค่นี้ก่อนนะคะ จะมาเพิ่มเติมให้ใหม่
ผลงานอื่นๆ ของ No one on earth ดูทั้งหมด
ผลงานอื่นๆ ของ No one on earth
ความคิดเห็น