บทความ 30 ปีโซเวียตบุกอัฟกานิสถาน - กับมุมมองที่เปลียนไป - บทความ 30 ปีโซเวียตบุกอัฟกานิสถาน - กับมุมมองที่เปลียนไป นิยาย บทความ 30 ปีโซเวียตบุกอัฟกานิสถาน - กับมุมมองที่เปลียนไป : Dek-D.com - Writer

    บทความ 30 ปีโซเวียตบุกอัฟกานิสถาน - กับมุมมองที่เปลียนไป

    สงคราม นองเลือดแห่ง อัฟกานิสถาน และ การ ต่อกร กับ อำนาจ หญาหมี แห่ง รัชเชีย

    ผู้เข้าชมรวม

    1,573

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    7

    ผู้เข้าชมรวม


    1.57K

    ความคิดเห็น


    6

    คนติดตาม


    2
    หมวด :  สงคราม
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  9 ก.ย. 53 / 22:17 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น

    battle for afghanistan
     










    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ
      วันนี้ เมื่อ 30 ปีพอดี๊พอดี โซเวียตส่งกองทหารบุกเข้าไปในอัฟกานิสถาน พวกเขายึดครองประเทศยากจนนี้อยู่ 9 ปี เสียทหารไปราว 15,000 นาย และกลับออกมาในสภาพเดียวกับสหรัฐที่ส่งทหารไปรบในเวียดนาม 

      หลัง กลับออกมาได้ไม่ช้าไม่นาน โซเวียตก็เกิดล่มสลายไปซะอีก นักวิเคราะห์ในยุคนั้นบางคนก็เลยมองว่า เป็นเพราะโซเวียตขุดเอาทรัพยากรธรมชาติ (น้ำมัน + ก๊าซธรรมชาติ) ไปขายมากมายเพื่อหาเงินมาทำสงคราม พอทรัพยากรพวกนี้หมด ประเทศก็เลยพัง

      ปรากฏว่าปัจจุบัน รัสเซียกลายเป็นผู้ผลิตน้ำมันดิบรายใหญ่ของโลก แซงหน้าซาอุดิอาระเบียไปเรียบร้อยแล้ว 555555



      สงครามครั้งนั้น ฝรั่งเรียกว่า Soviet War in Afghanistan บางตำราก็เรียกว่า Soviet–Afghan War และบางคนก็เรียกว่าสงครามเวียดนามของโซเวียต 

      ย้อนความหลังกันนิดนึงถึงความเป็นมาของสงครามครั้งนั้น 

      ปี 1978 พวกนิยมลัทธิมาร์กซ์ ก่อรัฐประหารล้มล้างรัฐบาลอัฟกานิสถาน ผู้นำกลุ่มที่ชื่อ นูร์ มูฮัมหมัด ตารากี ได้ขึ้นมาเป็นประธานาธิบดีและนายกรัฐมนตรี ขณะที่ฮาฟิซุลลาห์ อามิน เป็นรองนายกรัฐมนตรี 

      รัฐบาล ใหม่ดำเนินนโยบายปฏิรูปเป็นการใหญ่ เพื่อให้ประเทศที่ล้าหลังมีความทันสมัย โดยยึดรูปแบบของโซเวียตเป็นหลัก แต่หลายฝ่ายก็ไม่พอใจ จึงมีการลุกฮือของประชาชนต่อต้านรัฐบาลใหม่ และลุกลามไปทั่วประเทศ ซึ่งทางการก็ปราบปรามอย่างหนัก แต่ไม่ค่อยสำเร็จ ระหว่างนั้น อามินก็สังหาร ประธานาธิบดีและขึ้นเป็นผู้นำเสียเอง ตามที่ผู้นำโซเวียตได้เคยเตือนตารากีไว้ก่อนแล้วให้ระวัง



      ระหว่าง โซเวียตกับอัฟกานิสถาน มีข้อตกลงทางการทหารร่วมกัน ซึ่งเปิดทางให้อัฟกานิสถานสามารถขอให้โซเวียตส่งทหารมาช่วยได้ และระหว่างที่เกิดปัญหาการจลาจลนี้ อัฟกานิสถานก็ขอให้โซเวียตส่งทหารมาช่วยหลายต่อหลายครั้ง แต่ละครั้งก็ขอมากขึ้นเรื่อยๆ แต่โซเวียตไม่ค่อยอยากส่งมาสักเท่าไหร่

      แต่ การที่สหรัฐให้การสนับสนุนกลุ่มต่อต้านมากขึ้น และการที่ผู้นำโซเวียตรู้สึกว่า อามิน จะทำให้สถานการณ์ต่างๆแย่ลง ตามมาด้วยการลอบสังหารตารากีโดยอามิน การส่งทหารมาช่วยของโซเวียตเมื่อ 24 ธันวาคมของเมื่อ 30 ปีก่อนจึงเป็นการส่งทหารมายึดครองประเทศ ส่วนอามินก็ถูกเคจีบีกำจัดไป 



      มีข้อมูลส่วนหนึ่งที่คิดว่าน่าสนใจนำมาฝากกันครับ

      โร เบิร์ต เกตส์ รัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐคนปัจจุบัน ซึ่งเคยเป็น ผอ. ซีไอเอ ได้เขียนไว้ในหนังสือบันทึกความทรงจำของเขาที่ชื่อ From the Shadows ว่าหน่วยข่าวกรองสหรัฐให้การสนับสนุนกลุ่มต่อต้านในอัฟกานิสถาน 6 เดือนก่อนที่โซเวียตจะบุกอัฟกานิสถาน ( 3 กรกฏาคม 1979 )

      สบิ กเนียฟ เบรซีซินสกี้ ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงของประธานาธิบดีจิมมี่ คาร์เตอร์ก็ย้ำถึงเรื่องนี้ว่า เอกสารอย่างเป็นทางการบอกว่าซีไอเอให้การช่วยเหลือพวกมูจาฮีดีนในปี 1980 หรือหลังโซเวียตบุกแล้ว แต่ความเป็นจริงแล้ว มันเป็นคนละเรื่องกันเลย

      เบร ซีซินสกี้เองก็มีบทบาทอย่างมากในการวางนโยบายเรื่องนี้ของสหรัฐ ที่บางเรื่อง แม้กระทั่งพวกมูจาฮีดีนเองก็ยังไม่รู้ อย่างการผลักดันให้โซเวียตเข้ามาแทรกแซงในอัฟกานิสถาน

      เมื่อ ปี 1998 ในการให้สัมภาษณ์กับทาง Le Nouvel Observateur เขาบอกว่า สหรัฐไม่ได้ผลักดันให้โซเวียตเข้าแทรกแซง แต่ก็รู้ว่ามีความเป็นไปได้มากที่โซเวียตจะเข้าแทรกแซง เรื่องปฏิบัติการณ์ลับ (การสนับสนุนกลุ่มต่อต้าน ) เป็นแนวคิดที่ดีเยี่ยม มันก่อให้เกิดผลกระทบที่ทำให้โซเวียตเข้าไปติดอยู่ในกับดัก และวันที่โซเวียตข้ามพรมแดนเข้าไปอย่างเป็นทางการ เขาก็เขียนจดหมายถึงคาร์เตอร์ว่าตอนนี้ เรามีโอกาสที่จะให้สงครามเวียดนามกับสหภาพโซเวียตแล้ว

      โนคอมเม้นต์ครับ 555555555 (แค่อยากจะบอกว่าตอนนี้สหรัฐก็เหยียบกับดักท่ตัวเองวางเอาไว้เอง )



      พอดีไปเจอบทความของสำนักข่าว DPA ของเยอรมัน เลยแปลมาให้อ่านกัน เพราะเห็นว่าน่าสนใจดี ก็แปลมาทั้งหมดเลยครับ ไม่มีการตัดทอนใดๆ

      ประจักษ์ พยานที่นิ่งเงียบแห่งความปราชัยของโซเวียตในอัฟกานิสถาน ยังคงส่งเสียงของความวังเวงอยู่แม้กระทั่งในปัจจุบัน รถถังกองทัพแดงที่สนิมจับเขรอะจอดนิ่งสนิทยังอยู่ในคู ในรถบางคน เด็กๆก็ลงไปเล่น

      การ รุกรานอัฟกานิสถานของโซเวียตเมื่อ 30 ปีก่อน เป็นการเริ่มต้นของสงครามที่ดำเนินมาถึงทุกวันนี้ ด้วยความรุนแรงและฝ่ายที่ลงไปทำสงครามที่หลายหลาก

      ต้องใช้เวลากว่า 9 ปี ทหารของมหาอำนาจในสมัยนั้นจึงจะถอนออกไปได้ ชาวอัฟกันราว 1,200,000 รายเสียชีวิตระหว่างการยึดครอง



      แต่ ในทุกวันนี้ มีชาวอัฟกันจำนวนมากขึ้น ที่มีทัศนะคติที่ดีต่อการยึดครองของโซเวียต ในฐานะของการวิจารณ์กองกำลังชาติตะวันตกที่เข้ามาอยู่ในประเทศ 8 ปีแล้ว

      นู รุล ฮัค อูโลมี ประธานคณะกรรมาธิการความมั่นคงรัฐสภาเคยมียศเป็นถึงนายพลในกองทัพอัฟกันสมัย โซเวียตปกครองประเทศ เขาบอกว่าเขาเชื่อว่าทหารต่างชาติในวันนี้แค่เสแสร้งว่ากำลังสู้รบกับการก่อ การร้าย 

      " พวกเขาต้องการขยายอิทธิพลไปยังประเทศเพื่อนบ้านของเขา ไปยังรัฐในเอเชียกลางในทางเหนือ หรือทางตะวันตก (ตรงไปยังอิหร่าน ) " สมาชิกสภานิติบัญญัติจากจังหวัดกันดาฮาร์ทางภาคใต้บอก "  พวกเขาทำภายใต้การอ้างเรื่องเศรษฐกิจและประชาธิปไตย "

      เขาบอกว่า ชีวิตในยุคโซเวียตนั้นดีกว่าสถานการณ์ในปัจจุบัน



      อดีตนายพล ไม่ใช่แค่คนเดียวที่เลือกฝ่ายโซเวียต

      แม้ กระทั่งบางคนในกลุ่มมูจาฮีดีน ซึ่งก็คือนักรบใต้ดินมุสลิมที่ขับไล่พวกรัสเซียออกไป ก็ยังให้คะแนนกองทัพแดงดีกว่านาโต้ ที่ในปีหน้าจะส่งทหารมาประจำการณ์ในอัฟกานิสถานมากกว่าโซเวียตเป็นครั้งแรก
       
      โดย เมื่อการเสริมกำลังตามแผนเดินทางมาถึง ทหารต่างชาติราว 150,000 นายจะอยู่ในอัฟกานิสถาน เทียบกับกองทัพแดงที่มีมากที่สุดแค่ 120,000 นาย

      และพอถึงปี 2011 ทหารตะวันตก ก็จะอยู่ที่นี่นานกว่าโซเวียตด้วย



      วาฮีด มุซห์ดา นักวิเคราะห์และนักเขียนเคยสู้รบกับกองทัพแดง และต่อมาในสมัยตาลีบัน ก็เคยดูแลหน่วยงานในกระทรวงต่างประเทศ

      เขาบอกว่า " พฤติกรรมของพวกรัสเซียดีกว่าของพวกอเมริกันและชาติตะวันตกอื่นๆ

      ยก ตัวอย่างเช่นไม่เคยมีใครจำได้ว่า ทหารโซเวียตเคยตรวจค้นร่างกายผู้หญิง เขาเสริมว่าแม้กระทั่งเมื่อรถถังรัสเซียเข้ามาในหมู่บ้านเพื่อที่จะสู้รบ ทหารก็ยังมีขนมหวานมาแจกเด็กๆ พวกโซเวียตยังให้ความเคารพกับผู้อาวุโส ขณะที่พวกตะวันตกขังคุกแม้กระทั่งเด็กที่ค่ายเชลยศึกอ่าวกวนตานาโม

      เขาบอกว่า นอกจากนั้น พวกรัสเซียยังติดต่อสื่อสารกับพวกมุสลิมมากกว่าที่พวกทหารตะวันตกทำ

      มาซห์ดา บอกว่า การขาดแคลนความเคารพต่อวัฒนธรรมของชาวอัฟกัน นำไปสู่การสนับสนุนต่อตาลีบันที่เพิ่มขึ้นครั้งใหม่

      ยุทธวิธี ที่โหดร้ายของกองทัพแดงถูกหลงลืมมากขึ้น มุซห์ดาบ่นว่าผู้หญิงและเด็กตายในปฏิบัติการณ์ทางทหารมากขึ้นในทุกวันนี้ และผู้เคราะห์ร้ายที่เป็นพลเรือน ก็ก่อให้เกิดความเป็นเดือดเป็นแค้นมากขึ้นในหมู่ชาวอัฟกัน



      แต่ในสมัยโซเวียต มีพลเรือนตายมากกว่านี้มาก และตัวเลขดังกล่าวก็ได้ชี้ให้เห็นว่ามีความเมตตาน้อยแค่ไหนในกรณีพิพาทครั้งนั้น

      ปัจจุบัน ยังไม่ชัดเจนว่า ชาวอัฟกันมากแค่ไหน ทั้งกลุ่มต่อต้าน ตำรวจ ทหาร และพลเรือน ที่เสียชีวิตนับตั้งแต่ที่มีการขับไล่รัฐบาลตาลีบันในปี 2001 แต่เชื่อว่าตัวเลขน่าจะอยู่ระดับ 5 หลัก ส่วนในยุคโซเวียต ชาวอัฟกันตายไปมากกว่าล้าน
       
      ใน สงคราม 9 ปี ทหารกองทัพแดงตายไปราว 15,000 นาย แต่ใน 8 ปีแรกของกรณีพิพาทครั้งใหม่ ทหารตะวันตกตายไปมากกว่า 1,500 นาย แต่ตัวเลขดังกล่าวเพิ่มขึ้นทุกปี และการเปลี่ยนแปลงของแนวโน้มก็ยังไม่สามารถคาดการณ์ได้

      แม้ จะมีความแตกต่างกันมากของระดับต่างๆ มุซห์ดา ก็มองเห็นการคู่ขนานกันไปของกรณีพิพาททั้งสอง พวกรัสเซียเจอกับพวกต่อต้านในเขตชนบท และเรื่องเดียวกันนั้นก็กำลังเกิดขึ้นตอนนี้

      ทุก วันนี้ ทหารต่างชาติยังล้มเหลวในการที่จะต้องตระหนักว่าพวกเขาควรต้องร่วมมือกับคน ในชนบท และการที่กลุ่มต่อต้านก็ได้ประโยชน์จากประสบการณ์ของการสู้รบต่อต้านการ ปกครองของโซเวียต   

      ดังนั้น สถานการณ์ทุกวันนี้ จึงอันตรายมากกว่าสมัยต่อต้านพวกรัสเซีย



      มู นีร์ อัคเหม็ด คนงานก่อสร้างและอดีตทหาร มีเรื่องดีๆเกี่ยวกับโซเวียตมาพูดแค่ไม่กี่เรื่อง เขาบอกว่าพวกคอมมิวนิสต์ และรัสเซีย เป็นผู้รับผิดชอบต่อการที่อัฟกานิสถานกำลังถูกทำลายในทุกวันนี้

      อย่าง ไรก็ตาม เขาบอกว่าภายใต้การยึดครองของโซเวียต ไม่มีระเบิดพลีชีพ และที่ไม่เหมือนพวกอเมริกันคือ โซเวียตช่วยเหลือคนจน ดังนั้นเมื่อเทียบกับพวกอเมริกันแล้ว พวกรัสเซียก็ยังคงดีกว่า

      ****หมาย เหตุ ภาพประกอบทั้งหมด วาดโดยอดีตทหารกองทัพแดงคนในภาพข้างบนนั่นแหละครับ เขาเคยถูกส่งเข้าไปรบในอัฟกานิสถาน และอุปกรณ์ในการวาดภาพของเขาก็คือ ปากกาลูกลื่นธรรมดาๆนี่เอง

      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×