Schindler of Nanjing - Schindler of Nanjing นิยาย Schindler of Nanjing : Dek-D.com - Writer

    Schindler of Nanjing

    จอห์น ราเบ้ (John Rabe) นาซีใจดีแห่งนานกิง

    ผู้เข้าชมรวม

    780

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    4

    ผู้เข้าชมรวม


    780

    ความคิดเห็น


    0

    คนติดตาม


    1
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  24 ม.ค. 53 / 01:26 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น
    คนๆ หนึ่งผู้ช้วยชืวิต ชาวนานกิงโดยแท้จริงทามกลางสงคราม
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

      จอห์น ราเบ้ (John Rabe) นาซีใจดีแห่งนานกิง

      เกิด 23 พฤศจิกายน 1882 (ฮัมบรูก, เยอรมัน)

      ตาย 5 มกราคม 1950 (รวมอายุได้ 67 ปี)

       

      ปลายปี 1937เกิดเหตุการณ์อำมหิตสะท้อนโลก

      นั้นคือการสังหารหมู่นานกิง ในสงครามโลกครั้งที่ 2

      เหตุการณ์ครั้งนั้น ทหารญี่ปุ่นทำเรื่องโหดร้ายกับชาวนานกิงหลายอย่าง เช่นฝังทั้งเป็น โดยจะขุดหลุม และฝังเชลยให้โผล่ขึ้นมาแค่เพียงหน้าอกหรือแค่คอ เพื่อจะได้รับทุกข์ทรมานต่างอีกหลายอย่าง เช่น ฉีกเป็นชิ้นๆ ทหารญี่ปุ่นคว้านตับไตไส้พุง ตัดหัวหรือสับเหยื่อเป็นชิ้นๆ ตอกเชลยไว้กับแผ่นไม้แล้วให้รถถังแล่นทับ ใช้เป็นที่ซ้อมเสียบดาบปลายปืน ควักลูกตา หั่นจมูกและใบหูก่อนเผาทั้งเป็น ยิงผู้คนตามท้องถนนอย่างไม่เลือกหน้า โดยใช้ทั้งปืนพก ปืนกล ปืนเล็กยาว ยิงเข้าไปในฝูงคนที่มีทั้งทหารที่บาดเจ็บ หญิงชรา และเด็กๆ โดยทหารญี่ปุ่นฆ่าพลเรือนทุกมุมเมือง ไม่ว่าจะตามตรอกเล็กๆ หรือถนนสายใหญ่ ในสนามเพลาะ หรือแม้แต่ในอาคารที่ทำการรัฐบาล


                    ท่ามกลางความโหดร้ายของสังหารหมู่ของทหารญี่ปุ่นที่กินเวลายาวนานถึงหกสัปดาห์นั้น กลับมีบุคคลๆ หนึ่งพยายามช่วยเหลือชาวบ้านนานกิงตาดำๆ นี้ และคุณเชื่อหรือไม่ว่าคนนั้นคือนาซี ใส่บ่าสลักด้วยนะ ว่าเป็นนาซี เขาได้เข้ามาช่วยชีวิตชาวจีนไว้เป็นจำนวนมาก จนได้ชื่อว่าเป็น
      Schindler of Nanjing หรือพระโพธิสัตว์แห่งนานกิงครับ

      เรื่องนี้ได้ข้อคิดเลยว่า นาซีทุกคนใช่ว่าจะเป็นคนเลวเสมอไป

      จอห์น ราเบ้เป็นลูกชายของกัปตันเรือ เขาเกิดในฮัมบรูก เยอรมัน ปี 1882 และเดินทางมาถึงเมืองจีนในปี 1908 และได้เข้าทำงานให้กับบริษัทซีเมนส์สองปีต่อมา ทำงานในกรุงปักกิ่งจนถึงเดือนธันวาคม ปี 1931 เมื่อบริษัทได้ย้ายเขาไปยังสำนักงานในเมืองนานกิง

      ในฐานะเป็นตัวแทนอาวุโสประจำประเทศจีนของบริษัท เขาได้ขายโทรศัพท์, กังหันน้ำและเครื่องใช้ไฟฟ้าให้กับรัฐบาล

      ในปี 1937 เป็นที่ชัดเจนว่า กองทัพญี่ปุ่นกำลังเคลื่อนเข้ามา และชุมชนต่างชาติและประชากรชาวจีนจำนวนมากของเมืองนานกิงรวมไปถึงรัฐบาลได้หลบหนีออกจากเมืองตั้งแต่พฤศจิกายน

      ราเบ้ได้ส่งครอบครัวของตนกลับเยอรมันแต่เขายังคงอยู่เบื้องหลังพร้อมด้วยชาวต่างชาติจำนวนหนึ่งในการสร้างเขตปลอดภัย ไม่ช้าหลังจากกองทัพญี่ปุ่นมาถึง ราเบ้ได้รับเลือกให้เป็นประธานของคณะกรรมการที่มีสมาชิกสิบห้าคนของเขตปลอดภัยนานาชาติ

      "ในครั้งแรก เขาลังเลใจและกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยของครอบครัวตัวเอง แต่แล้วเขาก็เข้ารับตำแหน่ง และแบกรับความรับผิดชอบไว้ ไม่โยนให้ใคร "ผู้อยู่ในเหตุการณ์กล่าว

      แน่นอนเมื่อกองทัพญี่ปุ่นบุกเมือง นานกิงก็เกิดความโกลาหลขึ้นบนท้องถนน

      เดือนธันวาคมปี 1937 เมื่อกองทัพญี่ปุ่นโจมตีกำแพงที่สร้างในสมัยราชวงศ์หมิงที่โอบล้อมเมืองหลวงของจีนในขณะนั้น สิ่งนี้ทำให้เกิดการสังหารหมู่จนกลายเป็นชื่อที่รู้จักกันว่า "การข่มขืนเมืองนานกิง"

      ชาวเมืองหลายพันหลายหมื่นคนถูกสังหารโดยกองทัพญี่ปุ่น แต่สำหรับใครหลายคน มีคนมาช่วยชีวิตเขาไว้ได้ทัน คนๆ นั้นคือสมาชิกพรรคนาซีผู้ซึ่งให้ชาวจีนได้พักพิงในสวนของบ้านที่สร้างจากอิฐสีเทาอันหรูหราใกล้ๆ กับมหาวิทยาลัย ทำให้สามารถช่วยชีวิตคนได้มากว่าสองแสนห้าหมื่นคน

      จอห์น ราเบ้ นั้นเอง

      ราเบ้ได้นำกลุ่มมิชชันนารี ,นักธุรกิจและนักวิชาการชาวตะวันตกในการติดตรากาชาดที่เขียนไว้บนผ้าปูเตียงไว้รอบ ๆ พื้นที่สองหรือสามตารางกิโลเมตร คนกว่าสองแสนห้าหมื่นคนที่สามารถเข้าไปข้างในเขตปลอดภัยสามารถรอดมาได้ แต่สามแสนคนที่ข้างนอกเขตปลอดภัยของนานาชาติกลายเป็นเหยื่อของการสังหารหมู่อันโหดร้ายแห่งเมืองนานกิง

      แม้เขาจะสวมปลอกแขนรูปสวัสดิกะ ทำให้ดูแล้วราเบ้ไม่น่าจะเป็นวีรบุรุษ แต่เขามีความกล้าหาญ เพราะเหตุนี้เขาเลือกที่จะช่วยเหลือมนุษย์โดยไม่คำนึงถึงตัวเองที่เขาในการสร้างเขตปลอดภัยสำหรับชาวเมือง

      ด้วยเหตุนี้ ในเวลาต่อมาชาวเมืองนานกิงได้ยกเขาเป็น "พระโพธิสัตว์ในร่างมนุษย์แห่งเมืองนานกิง" แถมเรื่องนี้ก็เอาไปสร้างหนังฮอลลีวู๊ด และมหาวิทยาลัยนานกิงได้เปลี่ยนบ้านของราเบ้ให้กลายเป็นพิพิธภัณฑ์ จากความช่วยเหลือของบริษัทเก่าของเขาคือซีเมนส์


                       ทางด้านกองทัพญี่ปุ่นได้โจมตีภาคพื้นดินในวันที่สิบ ธันวาคมและเมืองก็ถูกยึดได้ในสามวันหลังจากนั้น และเป็นจุดเริ่มต้นของการข่มขืนเมืองนานกิงที่กินเวลากว่าหกอาทิตย์ ทางจีนบอกว่าชาวจีนสามแสนต้องเสียชีวิต ถึงแม้ทางญี่ปุ่นจะยืนยันว่าจำนวนต่ำกว่านั้น พยานกล่าวว่าเชลยชาวจีนถูกทรมาน เผาและฝังทั้งเป็น ตัดคอ ถูกดาบปลายปืนเสียบและถูกกราดยิงหมู่ ผู้หญิงและเด็กสาวชาวจีนกว่าแปดหมื่นคนถูกข่มขืน และมากกว่านั้นถูกสังหารและถูกบังคับให้เป็นทาสบำเรอกาม เหตุการณ์เช่นนี้ได้สร้างรอยแผลทางใจรอยใหญ่ไว้กับจีนและยังคงเป็นอุปสรรค์สำคัญสำหรับความสัมพันธ์ระหว่างกรุงปักกิ่งและกรุงโตเกียวจนถึงทุกวันนี้

      การบรรยายของเรเบ้ต่อการสังหารหมู่ครั้งนี้ในไดอารี่กว่าพันสองร้อยหน้านั้นดูน่าสะเทือนใจและเต็มไปด้วยรายละเอียด และถึงแม้จะหายไปเป็นเวลาหลายปี มันกลายเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญยิ่งนัก

      "หากผมไม่เห็นมันด้วยสายตาของตัวเอง ผมก็จะไม่เชื่อเป็นอันขาด" พวกเขา (ทหารญี่ปุ่น)พังหน้าต่างและประตูเข้ามายึดฉวยเอาสิ่งที่ตนอยากได้ ผมเห็นด้วยสายตาตัวเองว่าพวกเขาปล้นสะดมร้านกาแฟของคุณ Kiessling นายธนาคารเยอรมันของเรา"

      ญี่ปุ่นเป็นพันธมิตรของเยอรมันและราเบ้มักจะใช้ประโยชน์จากการโบกผ้ารัดแขนรูปสวัสดิกะเมื่อเผชิญหน้ากับทหารญี่ปุ่นที่พยายามเข้ามาวุ่นวายกับการช่วยเหลือของเขา ตอนนั้นสหรัฐฯ ก็ยังไม่เข้าร่วมสงคราม ถึงแม้ความตึงเครียดจะทวีมากขึ้นและราเบ้ได้บรรยายว่ามันเป็นงานที่เสี่ยงภัยอย่างไรและชาวต่างชาติก็หวุดหวิดจะโดนฆ่าหลายครั้งต่อหลายครั้งอย่างไร ในครั้งหนึ่งที่ทหารญี่ปุ่นบางกลุ่มบุกเข้ามาในเขตต่างชาติเพื่อมาข่มขืนผู้หญิง

      "พวกเราแค่ชาวต่างชาติหยิบมือเดียวไม่สามารถอยู่ได้ในทุกที่ในเวลาเดียวกันในการปกป้องความหายนะเช่นนั้น ไม่มีใครทรงอำนาจในการต่อกรกับอสูรกายเหล่านั้นที่ติดอาวุธไว้ที่ฟันและจะยิงใครก็ตามที่พยายามปกป้องตัวเอง" ราเบ้เขียนไว้

      มีทหารจีนท่ามกลางผู้อพยพและญี่ปุ่นบุกเข้ามาเพื่อจับกุมคนเหล่านั้น และญี่ปุ่นพยายามบุกเข้ามาเพื่อจับกุมพวกเขา

      "ประมาณว่ามีทหารจีนที่ไร้อาวุธหนึ่งพันคนที่เราให้ที่พักพิงในกระทรวงยุติธรรม ราวๆ สี่ร้อยถึงห้าร้อยคนถูกไล่ให้ออกไปพร้อมมือที่ถูกมัด เราคิดว่าพวกเขาคงถูกยิงเพราะหลังจากนั้นได้ยินเสียงปืนกลดังหลายชุดติดต่อกัน เหตุการณ์เหล่านี้ทำให้เราแข็งทื่อด้วยความกลัว"ราเบ้ได้เขียนไว้

      Fu Bin จากสาขาประวัติศาสตร์ของมหาวิทยาลัยได้แสดงให้ราเบ้เห็นถึงสวนที่ล้อมรอบด้วยกำแพงซึ่งคนหกร้อยห้าสิบคนอาศัยอยู่แออัดกันในฐานะผู้อพยพในเมืองของตัวเอง ซึ่งราเบ้ได้มอบข้าวและถั่วเหลืองให้

      ห้าครอบครัวอาศัยอยู่ในบ้านและมากกว่านั้นอาศัยอยู่ข้างนอก" เขาบอก

      ซึ่งในเวลาต่อมาฟู่ก็กลายเป็นนักประวัติศาสตร์หนึ่งในสามคนที่ไปเยอรมันเมื่อปีนี้เพื่อพบกับหลานของราเบ้และคนอื่นๆ เพื่อแสดงความขอบคุณและมอบของที่ระลึกให้กับเขา

      สิ่งของบางชิ้นที่ถือครองโดยหลานๆของเขาซึ่งอาศัยอยู่ที่เมือง Heidelberg และ Berlin นั้นน่าตื่นตาตื่นใจมาก มันคือสร้อยคอที่ทำจากหยกอันสวยงามและตุ๊กตาจีน มันมีคุณค่ามาก

      ปัจจุบันของที่ระลึกนั้นลูกหลานของราเบ้ยังเก็บรักษาไว้เป็นอย่างดี


                      Tang Daoluan ผู้อำนวยการสถาบันหอจดหมายเหตุของมหาวิทยาลัยนานกิง เล่าถึงราเบ้ว่า แท้จริงแล้วราเบ้ไม่สนใจการเมืองและเข้าร่วมกับพรรคเพียงเพื่อจะได้รับการสนับสนุนในการตั้งโรงเรียนสอนภาษาเยอรมันที่เขาสร้างขึ้นในนานกิงเท่านั้น เขาใจดีต่อชาวนานกิงมาก

      "เขานั้นเป็นเพียงนักธุรกิจ ไม่ใช่พระหรือคนขององค์กรเพื่อสิทธิมนุษยชน สิ่งที่เขาทำที่นี่คือการปกป้องพลเมืองของประเทศอื่นโดยไม่สนใจความปลอดภัยของตัวเองซึ่งได้พ้นไปจากหน้าที่ของตน เขาเป็นคนดีที่เข้าใจศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ "ถังกล่าวไว้

      "ราเบ้ได้รับการยกย่องว่าเป็นพระโพธิสัตว์หรือผู้มาไถ่ในร่างของมนุษย์โดยผู้รอดชีวิต สิ่งนี้นับได้ว่าเป็นการยกย่องในระดับสูงตามวัฒนธรรมของจีน" หล่อนว่าไว้

      ต่อมาราเบ้ถูกบังคับให้ออกไปจากเมืองในปี 1938 ว่ากันว่าผู้หญิงจากมหาวิทยาลัยสตรีจิงหลิงจำนวนสามพันคนได้คุกเข่าตามข้างถนนด้วยความกตัญญูเป็นการเสียใจเมื่อเขากลับเยอรมัน

      หลังจากกลับไปนครเบอร์ลิน ราเบ้ได้ไปเล็คเชอร์เกี่ยวกับการสังหารหมู่และพยายามติดต่อกับฮิตเลอร์เพื่อเข้ายับยั้ง แต่เขาถูกจับกุมและถูกสอบสวนโดยเกสตาโปเป็นเวลาสามวัน แต่ด้วยเส้นสายของบริษัทซีเมนท์เขาได้รับการปล่อยตัวและถูกสั่งให้หุบปาก ต่อมาเขาเดินทางไปอัฟกานิสถานและกลับมาเบอร์ลินเพื่อทำงานให้กับซีเมนท์

      ภายหลังหมดสงคราม ราเบ้ถูก"ปลดความเป็นนาซี"จากฝ่ายสัมพันธมิตร

      และช่วยท้ายของชีวิตราเบ้ตกอับมากๆ แต่กระนั้นเขาก็ยังเลี้ยงชีพด้วยห่ออาหารและเงินที่ส่งมาจากชาวจีนที่รู้สึกกตัญญูต่อวีรกรรมของเขา

      ราเบ้เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจในปี 1950 แต่ถึงกระนั้นวีรกรรมของเขายังอยู่ในความทรงจำของชาวนานกิงต่อไป

      หน้าหนึ่งของไดอารี่ของเขาที่ถูกบันทึกในช่วงคริสต์มาส ปี 1937 ได้สรุปแรงจูงใจของเขาได้อย่างดี ว่าทำไมเขาถึงช่วยชาวนานกิง

      "ของขวัญวันคริสต์มาสที่ดีที่สุดที่ผมเคยได้รับคือการช่วยเหลือชีวิตของคนมากกว่าหกร้อยคน"

      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×