ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ประวัติย่าโม(ท้าวสุรนารี)

    ลำดับตอนที่ #3 : กองทหารเจ้าอนุวงศ์เมืองเวียงจันทน์ รุกราน 2

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 2.84K
      3
      24 ธ.ค. 48

    พระยาพรหมภักดี ยกกระบัตรเมืองนครราชสีมา จึงออกไปแทนเข้าพบเจ้าอนุวงศ์ทำความเคารพโดยอ่อนน้อม แล้วแจ้งว่าเจ้าเมือง



    นครราชสีมาและพระยาปลัดเมืองฯ ไม่อยู่ ไปราชการเมืองขุขันธ์บุรี เหลือแต่ข้าราชการ ผู้น้อย กับทหารเล็กน้อยอยู่รักษาเมือง



    เจ้าอนุวงศ์ได้ฟังดังนั้นก็ดีใจเพราะจะเข้าเมืองโดยง่าย ไม่ต้องรบ จึงพูดจาเกลี้ยกล่อม พระยาพรหมยกกระบัตร ให้เชื่อฟังคำบอกเล่า



    และขอเข้าพักในเมืองด้วย พระยาพรหม ยกกระบัตรเห็นจวนตัว ไม่อาจ ปฏิเสธได้จำเป็นต้องเชื้อเชิญเจ้าอนุวงศ์เข้าเมือง



    เจ้าอนุวงศ์เข้าเมืองนครราชสีมาแล้ว เห็นว่าเมืองนครราชสีมามั่นคง แข็งแรก มีกำแพง คู ประตู หอรบ และเสบียง อาหารพร้อม



    ตั้งเป็นฐานทัพได้ ถ้าหากทัพหน้าแตกมา ก็จะตั้งรับที่เมืองนครราชสีมา ยึดเอา เมืองนครราชสีมาไว้ จะได้ปกครองดินแดนแถบนี้ทั้งหมด



    วันรุ่งขึ้นเจ้าอนุวงศ์ จึงไม่ยอมออกจากเมือง ได้สั่งให้ทัพหน้าโดยเจ้าราชวงศ์เหง้า ยกไปปากเพรียว (สระบุรี) เพื่อ เตรียมการเข้าตีกรุงเทพฯ



    และกวาดต้อนครอบครัวเวียงจันทร์ (สมัยก่อน) เอาคืนไปเวียงจันทร์ และสั่งให้ทัพหลวง ทั้งหมดตั้งค่ายชักปีกกาทางทิศเหนือ



    เมืองจากสามแยกทางเกวียน (จอหอ) มาประชิดกำแพงเมืองด้านเหนือ และตั้ง กำแพงเมืองด้านใต้ออกไปทางทิศอาคเนย์



    ตะวันออกทุ่งทะเลหญ้า ทำค่าย คู ประตู หอรบ รวม ๗ ค่าย ทำมูลดินสูงขึ้น



    (เดียวนี้ยังอยู่ เรียกว่าบ้านหัวถนน บ้านดอนขวาง และบ้านโนนฝรั่ง)



    ชาวเมืองนครราชสีมา เห็นกองทัพลาวไม่ยอมออก และตั้งค่ายประชิดเมืองดังนั้น ก็รู้ว่าเจ้าอนุวงศ์ทรยศแล้ว ไม่เหมือนที่



    บอกว่าจะไปช่วยกรุงเทพฯ รบกับอังกฤษ ก็แสดงอาการกระด้างกระเดื่องด่าว่าทหารลาว รุ่งขึ้น อีกวันหนึ่ง เจ้าอนุวงศ์รู้สึก ไม่ไว้วางใจ



    เกรงชาวเมืองจะลุกฮือขึ้นทำร้าย จึงสั่งทหารลาวออกตรวจค้นริบอาวุธ ต่างๆ ทุกบ้านเรือน เป็นการแน่ชัดว่า เจ้าอนุวงศ์เป็นกบฎ เป็นศัตรู



    รุ่งขึ้นอีก ๒ วัน เจ้าอนุวงศ์สั่งให้คณะกรมการเมืองนครราชสีมาเข้ามาอยู่ในกองบัญชาการเพื่อเป็นที่ปรึกษา แต่ความจริง



    เพื่อเอาเป็นตัวประกันไว้ แล้วสั่งให้ชาวเมืองออกไปอยู่นอกเมืองให้หมด ขุนโอฐ กรมการเมืองจึงอพยพชาวเมืองนครราชสีมาออกไป



    อยู่บ้านหมื่นไวย ทางเหนือเมืองนครราชสีมา ตั้งแต่วันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๓๖๙ (ปลายปี)



    ฝ่ายเจ้าพระยานครราชสีมา และพระยาปลัดทองคำ ได้ทราบข่าวว่าเจ้าอนุวงศ์ยกทัพมายึดเมืองนครราชสีมาไว้แล้วจึงได้วางอุบายผละ



    จากเมืองขุขันธ์บุรี โดยให้เจ้าพระยานครราชสีมานำกำลังส่วนมากไปรายงาน เรื่องราวในกรุงเทพฯ และขอให้ยกทัพไปช่วยกู้เมือง



    นครราชสีมา ส่วนพระยาปลัดทองคำจะนำกำลังส่วนน้อย เข้าไปในเมืองนครราชสีมา เพื่อคิดการ แก้ไขต่อไป



    ฝ่ายเจ้าอนุวงศ์ยึดเมืองนครราชสีมาอยู่จนปลายเดือนกุมภาพันธ์ สะดุ้งใจได้คิดว่าชาวเมืองนครราชสีมาไปรวมกลุ่มอยู่นอกเมืองอาจจะ



    ก่อความวุ่นวายทำอันตรายได้ และถ้ากองทัพจากกรุงเทพฯ ยกมาได้รบพุ่งกัน ชาวเมืองนครราชสีมาก็จะช่วยกองทัพกรุงเทพฯ



    เข้าตีกระหนาบ กองทัพลาวก็จะเป็นอันตรายได้ง่าย ครั้นวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๓๖๙ เจ้าอนุวงศ์ก็ให้เชิญคณะกรมการเมืองนครราชสีมา



    ที่มีอยู่ทั้งหมดมาประชุม แล้วบอกว่า เกรงจะเกิดสงครามใหญ่ สงสารพวกครอบครัวชาวนครราชสีมาจะเป็นอันตราย จึงคิดจะอพยพ



    ครอบครัวในเมืองนี้ ไปอยู่เมืองเวียงจันทน์ให้พ้นภัย จึงให้พระยาพรหมยกกระบัตรนำคณะกรมการเมือง สำรวจทำบัญชีครอบครัง



    ที่จะไปอนุญาตให้อยู่เฉพาะคนแก่ คนป่วย คนแม่ลูกอ่อนที่ลูกยังไม่หย่านม และพระสงฆ์สามเณร พระยาพรหมยกกระบัตรและคณะฯ



    ก็ไปดำเนินการตามสั่ง ดำเนินการเสร็จแล้วก็เอา บัญชีจำนวนคนมาเสนอ เจ้าอนุวงศ์เห็นบัญชีคนจำนวนมากมีผู้ชาย ๘,๐๐๐ เศษ



    ผู้หญิงหมื่น เศษ ถ้าอพยพ ไปพร้อมกันจะลำบากควบคุมดูแลไม่ทั่วถึง จึงสั่งแยกเป็น ๔ ขบวนเดินทาง ให้เดินขบวนละวันตาม คือ



    ขบวนที่ ๑ นำโดยคุณหญิงโม ออกเดินทางวันที่ ๑ มีนาคม ๒๓๖๙



    ขบวนที่ ๒ นำโดยพระพิทักษ์โยธา ออกเดินทางวันที่ ๒ มีนาคม ๒๓๖๙



    ขบวนที่ ๓ นำโดยพระณรงค์สงคราม ออกเดินทางวันที่ ๓ มีนาคม ๒๓๖๙



    ขบวนที่ ๔ นำโดยพระยาพรหมยกกระบัตร ออกเดินทางวันที่ ๔ มีนาคม ๒๓๖๙



    มีทหารลาวชั้นนายฮ้อยเป็นผู้ควบคุมแต่ละขบวน มีทหารลาวคุมไปขบวนละ ๕๐๐ คน รวมทหารลาวมี ๒,๐๐๐ คน ให้ เพี้ยรามพิชัย

    เป็นแม่กองควบคุมการกวาดต้อนทั้งหมด ซึ่งเพี้ยรามพิชัยไปพร้อมขบวนหน้า



    ฝ่ายพระยาปลัดทองคำ เร่งรีบเดินทางทั้งกลางวันกลางคืนหลายวัน จึงถึงเมืองนครราชสีมาเมื่อวันที่ ๔ มีนาคม ๒๓๖๙ ตอนกลางวัน

    ขบวนกวาดต้อนไปหมดแล้ว จึงพักทหารไทย ๕๐ ไว้นอกเมือง แล้วเข้าไปหาเจ้าอนุวงศ์ ด้วยมือเปล่า



    ขณะนั้นเจ้าอนุวงศ์กำลังตรวจค่ายและสั่งงานอยู่ที่ค่ายบึงทะเลหญ้า พระยาปลัดฯ ก็เข้าไปกราบกราน อย่างอ่อนน้อม และ กราบทูลว่า



    ข้าพระพุทธเจ้ากับเจ้าเมืองนครราชสีมาไปราชการที่เมืองขุขันธ์ยังไม่เสร็จธุระ พอได้ทราบว่าเจ้าย่ำ กระหม่อมเหยียบเมืองนครราชสีมา



    เจ้าเมืองนครราชสีมามีความเกรงกลัวพระบารมี จึงพอทหารจำนวนมากหลบหนี ไปทางสวายจีก คงจะไปพึ่งดินแดนเขมร ส่วนข้าพระพุทธเจ้า



    ห่วงใยครอบครัว และเกรงว่าพระยาพรหมยกกระบัตร จะต้อนรับเจ้าย่ำกระหม่อมไม่สมพระเกียรติจึงรีบมาเฝ้า เพื่อรับใช้



    เจ้าย่ำกระหม่อมตามแต่จะมีบัญชาใช้ และขอฝากเนื้อ ฝากตัวไปรับใช้รับราชการในเวียงจันทน์จนกว่า ชีวิตจะหาไม่



    เจ้าอนุวงศ์เห็นกิริยาพระยาปลัดทองคำแสดงความนอบน้อม พูดจาน่าฟังก็ยินไต่ถามทุกข์สุขตามสมควร รับปากจะให้ ไปอยู่รับราชการ



    ในเวียงจันทน์ด้วยกัน \"ตอนนี้ครอบครัวชาวเมืองได้อพยพไปแล้ว ให้ลุงติดตาม ไปเถิด\" แล้วเจ้าอนุวงศ์ ก็ทำหนังสืออนุญาตเข้าขบวน



    ให้พระยาปลัดทองคำถือไปด้วย พระยาปลัดฯ ออกมาสั่ง ให้ทหารของตน ๕๐ คน แยกย้าย กันไปตามบ้านนอก ให้บอกแก่คนทั้งหลาย



    ที่พบเห็นว่าจะช่วยกันกู้อิสรภาพ ของเมืองเราเร็วๆ นี้ ให้คอยฟังข่าว และมา ร่วมมือกับคุณหญิงโม ส่วนตัวพระยาปลัดหาม้าได้ตัวหนึ่ง



    ก็รีบติดตามขบวนอพยพไปโดยด่วน



    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×