ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ประวัติย่าโม(ท้าวสุรนารี)

    ลำดับตอนที่ #2 : กองทหารเจ้าอนุวงศ์เมืองเวียงจันทน์ รุกราน

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 4.13K
      9
      24 ธ.ค. 48

    ปี พ.ศ.๒๓๖๙ เจ้าอนุวงศ์ เจ้าผู้ครองนครเวียงจันทน์ ซึ่งมีความขุ่นเคืองและคิดแค้น ได้วางแผนทำศึกกับ กรุงเทพฯ ได้ วางแผนแล้ว



    ให้ยกกำลังกองทัพข้ามขงมาตั้งที่บ้านพันพร้าว ฝึกทหารและช้างม้า จนถึงเดือนยี่ แรม ปีจอ พ.ศ.๒๓๖๙ ปลายปี จึงสั่งให้เจ้านครจำปาศักดิ์



    (เจ้าราชบุตร โย้) ยกกองทัพจากนครจำปาศักดิ์ เข้ายึดหัวเมืองตะวันออก (อุบลฯ เดิมชื่อดอนมดแดง ได้ชื่อใหม่จากเมืองเขื่อนขันธ์กาบแก้



    หนองบัวบาน เป็นเมืองอุบล เมื่อพระอนุชา ร.๕ มาปกครอง จึงเป็นอุบลราชธานี)



    สั่งให้เจ้าอุปราชติสสะ (น้องชายเจ้าอนุวงศ์) ยกทัพมายึดหัวเมืองตะวันออกเฉียงเหนือ (ร้อยเอ็ด) เอาไว้ กันหัวเมือง ทางใต้จะต่อสู้



    สั่งให้เจ้าราชวงศ์เหง้า บุตรคนที่ ๒ ยกทัพจากบ้านพันพร้าว เป็นทัพหน้าลงมาทางบ้านเดื่อหมากแข้ง (อุดรธานี) ล่วงหน้า ไปก่อน ๒ วัน



    แล้วเจ้าอนุวงศ์กับเจ้าสุทธิสาร (โป้) บุตรคนโต ยกทัพหลวงตามมา โดย ออกข่าวลวงว่าทางกรุงเทพฯ มีศุภอักษรแจ้งว่า อังกฤษจะยกทัพเรือ



    มาตีกรุงเทพฯ จึงโปรดเกล้าฯ ให้ เจ้าอนุวงศ์เกณฑ์กองทัพจากเวียงจันทน์ไปช่วย เจ้าเมืองกรมการเมืองรายทางไม่รู้เท่าทัน และเห็นว่า



    เจ้าอนุวงศ์ไปกรุงเทพฯ บ่อยๆ ก็เชื่อว่าจริง จึงช่วยจ่ายเสบียงให้



    กองทัพหน้าของเจ้าราชวงศ์เหง้า ได้มาถึงบ้านโคกสูง รายทัพมาถึงบ้านจอหอน (จอหอ) สามแยกทางเกวียน หน้าเมือง นครราชสีมา



    เมื่อวันพุธ เดือน ๓ แรม ๓ ค่ำ ปีจอ ตรงกับวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๓๖๙ เวลาบ่าย ๓ โมง ออกข่าวแพร่ สะพัดไปว่าจะไปช่วยกรุงเทพฯ

    รบกับอังกฤษ



    วันรุ่งขึ้น เจ้าราชวงศ์เหง้าทำหนังสือให้ทหารถือมาขอเบิกเสบียงอาหารจากในเมืองนครราชสีมา ขณะนั้น เจ้าพระยา กำแหงสงคราม



    (ทองอินท์) เจ้าเมืองนครราชสีมา และพระยาสุริยเดช (ทองคำ) ปลัดเมืองไม่อยู่ นำทหารส่วนมากไป ราชการที่เมืองขุขันธ์บุรี



    (เพื่อระงับข้อพิพาทระหว่างพระยาไกรสงครามเจ้าเมืองขุขันธ์ กับหลวงยกกระบัตรผู้น้อง ซึ่ง เกิดวิวาทแย่งสมบัติและความเป็นใหญ่กันในเมืองขุขันธ์บุรี)



    จึงเหลือพระยา พรหมภักดี ยกกระบัตรเมืองนครราชสีมา เป็นผู้รักษาราชการ พระณรงค์สงครามเป็นที่ปรึกษาฝ่ายทหาร คุณหญิงโม



    ภรรยาปลัดทองคำ เป็นผู้ดูแลครอบครัว ผู้ไปราชการ และมีข้าราชการผู้น้อยเป็นผู้ช่วยเหลืออีกบ้าง เมื่อได้รับหนังสือขอเบิกเสบียงอาหาร



    ของเจ้าราชวงศ์เหง้า จึงหันหน้าเข้าปรึกษาหารือกัน มีความเห็นเป็น หลายทาง



    ๑. สงสัยพฤติการณ์ของเจ้าอนุวงศ์ว่าจะหลอดลวง เพราะถ้าเกิดเหตุร้ายจริงๆ ทางกรุงเทพฯ จะต้องบอกเมือง นครราชสีมาก่อน เพราะอยู่ต้นทาง เหตุใดจึงไปบอกเวียงจันทน์ก่อน



    ๒. อาจจะเป็นความจริงตามที่เจ้าอนุวงศ์ให้ออกข่าวมา เพราะเจ้าอนุวงศ์ไปพักในกรุงเทพฯ บ่อยๆ มีความ สนิทชิดเชื้อกับในหลวง (ร.๓)

    ดีอาจจะมีพลนำสารพิเศษโดยตรง ไปแจ้งแก่เจ้าอนุวงศ์ ถ้าเป็นความจริง และ เราไม่ต้อนรับก็จะเป็นความผิดต่อกรุงเทพฯ ด้วย



    ๓. จะเป็นเรื่องจริงหรือไม่ก็ตาม เมืองนครราชสีมาก็ต้องให้การต้อนรับ จะต่อสู้ขัดขืนมิได้ เพราะทหารเมือง นครราชสีมาเหลืออยู่น้อย

    ไม่พอรักษาหน้าที่เชิงเทิน ส่วนทหารเวียงจันทน์ยกมาจำนวนมาก (ความจริงมี ประมาณสามหมื่น แต่เจ้าอนุวงศ์ออกข่าวว่ามีมาเป็นแสน)

    ตกลงดังนั้นแล้วจึงจ่ายเสบียงให้แก่ทหารของเจ้าราชวงศ์เหง้า รับและตักเตือนประชาชนให้อยู่ในความสงบ อย่า ตื่นกลัว และอย่าก่อเหตุร้ายใดขึ้น



    ขณะนั้นกองทัพหลวงของเจ้าอนุวงศ์ถึงลำเซิน พักพลอยู่ใกล้ชัยภูมิ เมื่อได้ข่าวว่าทัพหน้ามาถึงเมือง นครราชสีมาแล้ว ไม่มีใครขัดขวาง



    เจ้าอนุวงศ์ก็เคลื่อนทัพหลวงมาถึงเนินดินทางตะวันออก ข้างเมือง นครราชสีมา (เดี๋ยวนี้เป็นวัด ทุ่งสว่าง) เมื่อวันเสาร์ เดือน ๓ แรม ๖ ค่ำ



    ปีจอ ตรงกับวันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๓๖๙ แล้วใช้ทหารถือหนังสือมาเชิญ



    เจ้าเมืองนครราชสีมาให้ออกไปพบเพื่อปรึกษาราชการในการ จะยกทัพไปช่วยกรุงเทพฯ รบกับอังกฤษ



    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×