ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    คู่มือสุขภาพ ✙ Healthy Guide

    ลำดับตอนที่ #8 : NU :: หลักการจัดอาหาร ตอนที่2

    • อัปเดตล่าสุด 20 ส.ค. 56






    ลักการจัดอาหาร(ตอนที่2)

     

    หลักการจัดอาหารที่ให้คุณค่าทางโภชนาการ

    1.   ให้พลังงานและความอบอุ่นแก่ร่างกาย

    2.   เสริมสร้างอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายให้เจริญเติบโต

    3.   ซ่อมแซมอวัยวะของร่างกายที่สึกหรอหรือทรุดโทรมให้กลับสภาพดีเหมือนเดิม

    4.   ช่วยควบคุมและกระตุ้นอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายให้ทำหน้าที่ปกติ

    5.   ช่วยป้องกันและต้านทานโรค

    การจัดอาหารให้ได้สารอาหารครบ 5 หมู่

    เมื่อเราทราบแล้วว่าอาหารมีคุณค่าทางโภชนาการอย่างไร ลำดับต่อไปก็ต้องศึกษาว่าทำไมมนุษย์ต้องกินอาหารหลากหลาย ที่คนเราจำเป็นต้องกินอาหารให้มีความหลากหลายก็เพราะอาหารทุกประเภทที่เรากินเข้าไปนั้น ไม่ได้มีแม้แต่อย่างเดียวที่จะรวมสารอาหารที่ร่างกายต้องการไว้ครบหมดทุกอย่าง ฉะนั้นเพื่อสนองความต้องการของร่างกาย อาหารประจำวันจึงต้องประกอบด้วยอาหารหลายอย่าง เพื่อจะได้สารอาหารที่ขาดในอาหารอย่างหนึ่ง ชดเชยจากอาหารอีกอย่างหนึ่ง และเมื่อคิดรวมจากอาหารทั้งมื้อแล้ว ให้ได้สารอาหารครบทุกชนิดตามที่ร่างกายต้องการ ดังคำว่า กินอาหารสมดุล ได้ส่วนสัด ขจัดโรคภัยและต้องกินให้ได้ปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย สารอาหารที่ร่างกายต้องการ ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน เกลือแร่ วิตามิน และน้ำซึ่งสารอาหารเหล่านี้จะอยู่ในอาหารหลัก 5 หมู่ ดังนี้

    อาหารหมู่ที่1 ได้แก่ เนื้อสัตว์ต่าง ๆ ไข่ นม และถั่วต่าง ๆ
                                    
    § เนื้อสัตว์ ในที่นี้หมายถึง เนื้อสัตว์ทุกชนิดรวมทั้งสัตว์บก และสัตว์น้ำ เช่น เนื้อหมู ไก่ เป็ด ปลา กุ้ง หอย ฯลฯ
                                     § นม น้ำนมทุกชนิดที่เราใช้เป็นอาหาร ไม่ว่าจะเป็นในรูปของนมสด นมผง หรือผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ จากนม
                                     § ไข่ ได้แก่ ไข่เป็ด ไข่ไก่ ไข่นกกระทา ไข่จาระเม็ด ไข่นกพิราบ ฯลฯ
                                     § ถั่วต่าง ๆ และผลิตภัณฑ์ที่ได้จากถั่ว ได้แก่ ถั่วเหลือง ถั่วลิสง ถั่วเขียว ถั่วแระ ถั่วดำ ผลผลิตที่ได้จากถั่ว เช่น เต้าหู้ น้ำเต้าหู ฯลฯ

    อาหารหมู่ที่ 2 ได้แก่ อาหาจำพวก ข้าว แป้ง น้ำตาล พืชจำพวกหัว เช่น เผือก มัน
                                    
    § อาหารจำพวกข้าว เช่น ข้าวเจ้า ข้าวเหนียว ข้าวโพด ข้าวสาลี ข้าวฟ่าง
                             
    § อาหารจำพวกแป้ง เช่น แป้งข้าวเจ้า แป้งข้าวเหนียว แป้งข้าวโพด แป้งสาลี แป้งมัน-สำปะหลัง
                             
    § อาหารจำพวกข้าวและแป้งแปรรูป เช่น ขนมจีน ก๋วยเตี๋ยว เส้นหมี่ เม็ดสาคู
                                    
    § อาหารจำพวกน้ำตาล เช่น น้ำตาลสด น้ำตาลทราย น้ำตาลมะพร้าว น้ำตาลอ้อย

    อาหารหมู่ที่ 3 ได้แก่ ผักสีเขียว ผักสีเหลือง และผักชนิดต่าง ๆ ที่เราบริโภคอยู่เป็นประจำ มีทั้งส่วนใบ ดอก ผล ต้น หัว

    อาหารหมู่ที่ 4 ได้แก่ ผลไม้ ผลไม้ให้สารอาหารคล้ายกับพวกผัก คือให้เกลือแร่และวิตามินต่าง ๆ แต่มีคาร์โบไฮเดรตสูงกว่าผัก ผลไม้แทบทุกชนิดให้วิตามินซีมากน้อยต่างกันไป ตามชนิดของผลไม้ ส่วนวิตามินเอ จะมีอยู่ในผลไม้ที่มีสีเหลือง และสีแสด เช่น มะละกอสุก มะม่วงสุก

    อาหารหมู่ที่ 5 ได้แก่ พวกไขมันสัตว์ และน้ำมันพืชต่าง ๆ เช่น น้ำมันหมู น้ำมันมะพร้าว น้ำมันรำ นอกจากนี้ยังแทรกอยู่ในอาหารอื่น ๆ เช่น ถั่วลิสงแห้ง มีไขมันมาก เนื้อสัตว์แทบทุกชนิดมีไขมันแทรกอยู่ ไขมันและน้ำมันทุกชนิดให้คุณค่าทางโภชนาการเหมือนกัน เราใช้ไขมันประกอบอาหารหลายอย่างเพื่อช่วยให้อาหารมีรสดีขึ้น

     

    จากที่กล่าวมาจึงสรุปได้ว่า หากต้องการให้ร่างกายไดพลังงานและสารอาหารที่เพียงพอควรบริโภคอาหารให้ครบ 5 หมู่ แต่ก็มีคําถามต่ออีกว่า หากบริโภคอาหารครบ 5 หมู แล้วจะเป็นโรคหรือไมซึ่งคงตอบได้ว่าโรคที่เกิดจากการบริโภคอาหารมีทั้ง 2 ประการ คือ

    การบริโภคอาหารน้อยเกินไปคือ ทุพโภชนาการ หรือการบริโภคอาหารมากเกิน ไปคือ โรคโภชนาการเกิน ดังนั้นกระทรวงสาธารณสุขโดย กองโภชนาการ กรมอนามัย จึงได้รวบรวมข้อมูลจากนักวิชาการต่างๆ สรุปเป็นข้อแนะนําในการบริโภคอาหาร เพื่อสุขภาพที่ดีของคนไทยหรือโภชนบัญญัติ 9 ประการ
     

    โภชนบัญญัติ 9 ประการ ได้แก่

    1. บริโภคอาหารให้ครบ 5 หมู่  โดยบริโภคให้หลากหลาย และหมั่นควบคุมดูแลน้ำหนักอยู่เสมอ

    2. บริโภคข้าวเป็นอาหารหลัก และสลับกับอาหารประเภทแป้งบ้างเป็นบางมื้อ และข้าวที่บริโภคควรเป็นข้าวไม่ขัดสี เช่น ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ เพราะมีเส้นใยสูงและยังมีสารอาหารหลายชนิด อาทิ วิตามินบี 1 บี 2

    3. กินพืชผักให้มาก และกินผลไม้เป็นประจํา ผักและผลไม้มีเส้นใยช่วยให้ถ่ายคล่องไม่อ้วน ลดระดับไขมันในเส้นเลือด อาหารที่มีเส้นใยสูง ได้แก่ ข้าวกล้อง ฝรั่ง มะม่วง มะขาม ผักสด ผลไม้างๆ นอกจากนี้ยังได้วิตามิน และแร่ธาตุอีกด้วย

    4. บริโภคปลาหรือเนื้อสัตว์ที่ไม่ติดมัน ไข่ และถั่วเมล็ดแห้งเป็นประจํา เนื่องจากเนื้อสัตว์มักมียาปฏิชวนะตกค้างอยู่มากทําให้ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ และเนื้อสัตว์ที่ติดมันยังเป็นไขมันอิ่มตัวเป็นอันตรายต่อร่างกายได้

    5. ดื่มนมให้เหมาะสมตามวัย และควรตรวจดูแหล่งผลิตให้แน่ใจ

    6. บริโภคอาหารที่มีไขมันแต่พอควร งดไขมันจากสัตว์ และหลีกเลี่ยงการใช้ไขมันที่ผ่านกระบวนการที่ใช้ความร้อนสูง เพราะกรดไขมัน จะเปลี่ยนรูปเป็นไขมันที่ร่างกายไม่ใช้ เช่น การใช้น้ำมันในการทอดไม่ควรใช้ไฟแรงจนควันขึ้น นอกจากนี้หากบริโภคอาหารที่มีไขมันสูงนอกจากจะทําให้อ้วนแล้ว ยังเพิ่มอัตราเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูงได้อีกด้วย

    7. หลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารรสจัด เช่น เค็มจัด หรือหวานจัด การบริโภคอาหารที่มีรสจัดต่างๆ จะสร้างพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่ดี จะนําไปสู่การเป็นโรคต่างๆ ได้ง่าย

    8. บริโภคอาหารที่สะอาด และปราศจากสารปนเปื้อน ควรบริโภคอาหารจากธรรมชาติ เพราะร่างกายต้องการสารอาหารที่บริสุทธิ์และปราศจากสารปรุงแต่งอาหารสังเคราะห์ต่างๆ เช่น อาหารที่ผ่านการฟอกสี หรือขัดให้ขาว เช่น แป้ง หรือข้าวจะขาดเส้นใยและวิตามิน เป็นต้น

    9. ไม่ควรดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เพราะแอลกอฮอล์จะกระตุ้นหัวใจให้ทํางานมากขึ้นทําให้ลอดเลือดขยายการไหลเวียนของโลหิตแรงขึ้นและกดสมอง ทําให้สมองส่วนควบคุมการทํางานขาดประสิทธิภาพในการทํางาน
     

    โภชนบัญญัติทั้ง 9 ประการ นี้จะทําให้ผู้ปฏิบัติมีสุขภาพที่ดี นอกจากนี้ยังมีข้อควรคํานึงในการบริโภคอาหารว่า ควรกินพอ กินดี และกินหลากหลาย

    กินพอ คือ กินอาหารให้ครบทุกหมู่ มากน้อยตามความพอดีของร่างกาย เพศและวัย

    กินดี คือ กินอาหารที่ดีมีประโยชน์ต่อร่างกาย

    กินหลากหลาย คือ กินอาหาร 5 หมู่สับเปลี่ยนหมุนกันให้ครบ
     

    นอกจากนี้ควรคํานึงถึงคุณค่าของการบริโภคอาหาร จากข้อมูลในนิตยสารใกล้หมอเรื่อง กินเพื่อสุขภาพ ได้แสดงตารางเปรียบเทียบคุณค่าอาหารไทยและคุณค่าอาหารจานด่วน เพื่อแสดงถึงคุณค่าของอาหารเพื่อให้ผู้บริโภคได้พิจารณาถึงประโยชน์ของสารอาหารที่ได้รับ และเป็นข้อมูลในการตัดสินใจการบริโภคอาหารอย่างมีคุณค่า



           -  ประหยัด สายวิเชียร. (2547). รายงานการวิจัย เรื่อง อาหารวัฒนธรรมและสุขภาพ. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, คณะศึกษาศาสตร์.,  
                                   -  สมศรี เจริญเกียรติกุล, วัชรี ดิษยบุตร, เย็นใจ ฐิตะฐาน, อาทิตดา บุญประเดิม และมัณฑนา ร่วมรักษ์. (2547). โครงการวิจัยย่อย เรื่อง การพัฒนาชุดสำรับอาหารไทยเพื่อสุขภาพ. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหิดล, สถาบันวิจัยโภชนการ.










     

     


     

     












     

    :)  Shalunla
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×