ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    คู่มือสุขภาพ ✙ Healthy Guide

    ลำดับตอนที่ #7 : NU :: หลักการจัดอาหาร ตอนที่1

    • อัปเดตล่าสุด 20 ส.ค. 56








    ลักการจัดอาหาร(ตอนที่1)

    สุขภาพร่างกายแข็งแรงและมีชีวิตอยู่ได้ยืนยาว การศึกษาเรื่องอาหารและโภชนาการจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นมาก โดยเฉพาะยุคปัจจุบันมีการผลิตอาหารในรูปแบบต่าง ๆ มากมาย บางอย่างไม่มีประโยชน์ต่อร่างกาย หรือบางอย่างก็มีประโยชน์น้อย แต่กินสะดวก การมีความรู้ทางโภชนาการจะช่วยให้เรารู้จักเลือกรับประทานอาหารที่มีคุณค่าต่อร่างกาย หรือดัดแปลงอาหารที่กินสะดวกแต่คุณค่าน้อย ให้เป็นอาหารที่มีคุณค่ามากขึ้นได้ ดังนั้นการจัดอาหารให้เหมาะกับแต่ละบุคคลจึงเป็นเรื่องที่สำคัญต่อชีวิต

    หลักเกณฑ์ในการจัดอาหาร
                  
    1. คุณภาพและปริมาณ
    คุณภาพในที่นี้ หมายถึงคุณค่างทางโภชนาการ คือมีสารอาหารครบถ้วนตามที่ร่างกายต้องการ ปริมาณ หมายถึง อาหารที่นำมาประกอบเป็นอาหารับประทานในแต่ละมื้อ ต้องมีปริมาณพอเหมาะกับความต้องการของสมาชิกในครอบครัว คือเพียงพอกับจำนวนสมาชิก และเหมาะสมกับความต้องการของสมาชิกแต่ละวัยด้วย นอกจากนี้จะต้องคำนึงถึงอาหารหรือกิจกรรมที่ต่างกันด้วย ซึ่งเป็นปัจจัยที่จะทำให้ความต้องการอาหารต่างกันออกไป ดังนี้
                           
    วัยและภาวะของร่างกาย
                           ทารก หมายถึงเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 1 ปี อาหารที่ดีที่สุดคือนมแม่ แต่นมแม่จะดีได้นั้น หมายถึงแม่ต้องรับประทานอาหารที่มีคุณค่าและสร้างน้ำนมได้มาก อาหารที่เหมาะกับทารกต้องเป็นอาหารที่ย่อยง่าย เพราะระบบทางเดินอาหารของทารกยังไม่พัฒนาเต็มที่
                           วัยก่อนเรียน วัยก่อนเรียนจะเจริญเติบโตช้ากว่าวัยทารก และอยู่ในระยะที่กำลังปรับตัว ควรฝึกนิสัยการกินที่ดีในวัยนี้ แต่ยังควรเป็นอาหารรสอ่อนและย่อยง่าย
                           วัยเรียนและวัยรุ่น วัยนี้ต้องการอาหารมากขึ้น เพราะร่างกายกำลังเจริญเติบโตและต้องการใช้แรงงานมาก
                           หญิงมีครรภ์และหญิงให้นมลูก อยู่ในภาวะพิเศษต้องการอาหารมากกว่าบุคคลทั่วไป เพราะต้องเผื่อแผ่ไปยังลูกด้วย โดยเฉพาะช่วงให้นมลูก แม่ต้องการอาหารไปสร้างน้ำนม และช่วยซ่อมแซมร่างกายมารดาที่ทรุดโทรมเนื่องจากคลอดบุตรด้วย
                           ผู้สูงอายุ มีความต้องการอาหารน้อยกว่าคนในวัยหนุ่มสาว เพราะร่างกายหยุดการเจริญเติบโต และใช้แรงงานน้อยลง
                            อาชีพและการใช้แรงงาน มีผลต่อความต้องการอาหารเช่นกัน ทำงานหนัก ออกกำลังกาย หรือเล่นกีฬามาก ก็ต้องการอาหารมาก

                       2. งบประมาณและการประหยัด งบประมาณ หมายถึง การจัดอาหารภายในวงเงินที่กะไว้ โดยพยายามเลือกซื้ออาหารที่มีคุณค่าสูงแต่ราคาถูก เช่น ซื้ออาหารตามฤดูกาล ซื้ออาหารที่มีในท้องถิ่น หรือ ผลิตขึ้นเอง เช่น การปลูกผักสวนครัว เป็นต้น ส่วนการประหยัด หมายถึง การประหยัดเงิน แรงงาน เวลา และเชื้อเพลิงในการประกอบอาหาร
                            การประหยัดเงินค่าอาหาร
                                เลือกซื้ออาหารและกะปริมาณอาหารให้ถูกต้อง และเป็นรายการอาหารที่สามารถรับประทานได้ทั้งครอบครัว
                               
    ประหยัดการสูญเสียอาหารและคุณค่าของอาหารในทุกขั้นตอน ตั้งแต่ เตรียม ปรุง เช่น ไม่หั่นส่วนที่กินได้ออกไปมากนัก หุงข้าวไม่เช็ดน้ำ ใช้เกลือแทนน้ำปลา
                               
    ประหยัดการสูญเสียอาหารในการรับประทาน ไม่กินทิ้งกินขว้าง ตักอาหารแต่พอควร ไม่กินเหลือทิ้งในจาน ถ้าอาหารเหลือรู้จักดัดแปลงให้เป็นกับข้าวชนิดใหม่
                               
    ไม่ใช้เงินค่าอาหารอย่างไม่คุ้มค่า เช่น ไม่หลงเชื่อคำโฆษณา ไม่กินอาหารสำเร็จรูปที่ใส่สารปนเปื้อน
                           
    การประหยัดเวลาและแรงงาน คือการจัดอาหารที่มีคุณค่าสูง ทำง่าย สะดวกและรวดเร็ว เหมาะแก่ความต้องการของสมาชิกทุกคนและทุกวัย เวลาปรุงก็จัดวางเครื่องใช้ที่หยิบง่าย ไม่ต้องเสียเวลา ใช้เทคโนโลยีหาเครื่องปรุงที่นำมาประกอบอาหารได้ทันที
                            การประหยัดเชื้อเพลิง การจัดทำอาหารที่ง่ายและเสร็จเร็วก็ถือว่าเป็นการประหยัดเชื้อเพลิงไปในตัว

                       3. ความอร่อยหรือนำบริโภค คนเราไม่ได้กินอาหารเพื่อบำบัดความหิวเท่านั้น แต่ยังสนองความต้องการด้านจิตใจด้วย นั่นคือการจัดอาหารอย่างสวยงามน่ารับประทาน เช่น จัดอาหารที่มีสี กลิ่น รส และเนื้อสัมผัสต่าง ๆ กันในอาหารแต่ละมื้อเพื่อกระตุ้นความอยากอาหาร คนไทยมีวัฒนธรรมในการกินอาหารที่เลือกเฟ้นและประณีตมาก ใช้เวลาในการประดิษฐ์อาหารให้สวยงามนาน อาหารแต่ละมื้อก็จัดเป็นชุดหรือสำรับ มีทั้งคาว หวาน

                       4. เวลาหรือมื้ออาหาร เวลาหรือมื้ออาหารนั้น จะต้องทราบว่าอาหารชนิดใดเหมาะสำหรับมื้อใด จะได้กำหนดรายการให้แน่นอนไว้ล่วงหน้า เช่น อาหารมื้อเช้า ควรเป็นอาหารที่ปรุงง่าย เสร็จไว ได้แก่ ข้าวต้มกุ๊ย ข้าวต้มเครื่อง ข้าวสวย แกงจืด ข้าวผัด ขนมปัง เป็นต้น เพราะสะดวกในการปรุง และประหยัดเวลา มื้อกลางวันส่วนใหญ่เป็นอาหารจานเดียว ปรุงง่าย รวดเร็ว ส่วนมื้อเย็นมักเป็นอาหารหนัก มีหลายอย่าง ถือว่าเป็นอาหารมื้อหลัก มีการปรุงสลับซับซ้อนกว่ามื้ออื่น ๆ เพราะมีเวลามาก ไม่ต้องรีบร้อนไปไหน เป็นต้น



                     www.health.kapook.com, www.yimwhan.com/board/show.php%3...opic%3D5, www.kbusociety.eduzones.com/th/archives/5430




























    :)  Shalunla
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×