ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    คู่มือสุขภาพ ✙ Healthy Guide

    ลำดับตอนที่ #5 : NU :: ค่าปริมาณสารอาหารที่ร่างกายต้องการได้รับ

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 2.66K
      1
      20 ส.ค. 56






    ค่าปริมาณสารอาหารที่ร่างกายต้องการได้รับ

     

    ทุกคนต้องรับประทานอาหารเพื่อยังชีพ  จึงจำเป็นต้องทราบความต้องการปริมาณสารอาหารในแต่ละวันและควรทราบถึงแหล่งของสารอาหารที่มีอยู่ในธรรมชาติ เพื่อหามารับประทานให้เพียงพอกับที่ร่างกายตองการในแต่ละวัน ปัจจุบันมีการศึกษาถึงความต้องการของสารอาหารต่อวันและต่อกิโลกรัมต่อวันของคน และกำหนดตัวเลขเป็นตารางขึ้นเพื่อสามารถนำไปใช้อ้างอิงในชีวิตประจำวัน

    Dietary Reference Intake(DRI) คือ ปริมาณสารอาหารอ้างอิงที่ควรได้รับประจำวัน เป็นคำอ้างอิงโดยมาจากการคาดคะเนของปริมาณสารอาหารต่างๆที่ควรได้รับประจำวันสำหรับคนปรกติเพื่อให้มีสุขภาพดี โดยได้รับสารอาหารเพียงพอไม่มากและไม่น้อยเกินไป

    Estimated Average Requirement(EAR) คือ ค่าประมาณของความต้องการของสารอาหารที่ควรได้รับประจำวัน เป็นค่าปริมาณต่ำสุดของสารอาหารที่ได้รับอย่างต่อเนื่องเพียง พอที่จะทำให้คนมีภาวะโภชนาการปรกติและมีสุขภาพดี ค่า EAR จะครอบคลุมประชากรประมาณ 50% ของประชากรทั้งหมดที่มีสุขภาพดีของแต่ละเพศ อายุและวัย สำหรับค่า EAR เป็นค่าที่จะนำไปคำนวณหาค่า Recommended Dietary Allowance(RDA) ต่อไป จะนำไปใช้เลยโดยตรงไม่ได้

    Adequate Intake (AI) คือ ปริมาณสารอาหารที่เพียงพอในแต่ละวัน ใช้สาหรบกำหนดสารอาหารบางอย่างที่ไม่สามารถหาค่า RDA ได้เพราะยังมีข้อมูลไม่ครบถ้วนแต่มีมากพอที่จะกำหนดค่าปริมาณสารอาหารที่ต้องการได้บ้าง โดยกำหนดเป็นค่าปริมาณสารอาหารที่เพียงพอในแต่ละวัน ซึ่งค่านี้ถือเป็นข้อมูลเบื่องต้นที่จะต้องทำการวิจัยต่อไปเพื่อให้ได้ค่าที่ถูกต้อง

    Tolerable Upper Intake Level (UL) คือ ปริมาณสูงสุดของสารอาหารทสามารถรับได้ในแต่ละวันเป็นค่าสูงสุดของปริมาณสารอาหารที่ประชากรทั่วไปบริโภคประจำวันแล้วไม่มีความเสี่ยงที่จะเกิดผลเสียต่อร่างกายของแต่ละบุคคล แต่เมื่อบริโภคมากกว่า UL จะเกิดความเสี่ยงที่จะเกิดผลเสียขึ้น  ตาราง DRI ของประเทศไทยจะใช้ได้กับการรับประทานอาหารทางปากตามปกติเท่านั้น ห้ามนำไปใช้กับการให้สารอาหารทางหลอดเลือดดำ ค่าตัวเลขเหล่านใช้สำหรับคนปรกติที่มีสุขภาพดี ห้ามนำไปใช้กับคนที่อยู่ในภาวะการขาดสารอาหารหรอมสารอาหารเกิน ทั้งนี้เพื่อเป็นการให้แน่ใจว่าทกๆคนได้รับสารอาหารครบถ้วน

    Recommended Dietary Allowances(RDA) คือ ปริมาณสารอาหารที่แนะนำให้รับในแต่ละวัน เราสามารถพบเห็นค่าเหล่านี้ได้ตามฉลากโภชนาการที่แปะอยู่ตามผลิตภัณฑ์อาหารต่างๆทำให้เราทราบได้ว่าเราได้รับสารอาหารนั้นๆ อย่างเพียงพอในแต่ละวันหรือยัง ซึ่งมีปัจจัยที่ทำให้มนุษย์ต้องการสารอาหารมีดังนี้
                1. ปริมาณสารอาหารต่างๆ ที่ร่างกายมนุษย์กินเข้าไปแล้วยังสามารถดำรงชีวิตอยู่อย่างปกติสุขได้ไม่ได้มีค่าตายตัวอยู่ที่ค่าใดค่าหนึ่ง ทั้งนี้เพราะร่างกายมนุษย์มีความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสภาพที่กำลังเป็นอยู่
                2. ความสามารถในการปรับตัวนี้มีขีดจำกัด ถึงจุดหนึ่ง ถ้าร่างกายได้รับสารอาหารน้อยไปหรือมากไป ระบบของร่างกายก็จะทำงานไม่ปกติ
                3. ปริมาณสารอาหารที่แต่ละคนจำเป็นต้องได้รับหรือสามารถทนได้ แตกต่างกันไปตามอายุ น้ำหนักตัว เพศ สภาพร่างกาย ลักษณะการดำรงชีวิต ฯลฯ
                ได้มีการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับเรื่องนี้เพื่อให้ได้ข้อสรุปเป็นคำแนะนำสำหรับคนทั่วๆ ไปใช้เป็นแนวทางถึงปริมาณสารอาหารต่างๆ ที่ร่างกายควรได้รับในแต่ละวันว่าอย่างน้อยควรจะได้เท่าไหร่ และอย่างมากไม่ควรเกินเท่าไหร่ เพื่อให้ร่างกายดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างปกติสุข การศึกษาเหล่านี้ทำในคนหมู่มากที่มีความหลากหลาย ค่าที่ได้จึงปรากฏออกมาเป็นกราฟดังภาพข้างล่างนี้

             ข้อควรระวัง

               ค่า RDA ที่มีอยู่ใช้สำหรับบุคคลทั่วไปที่แข็งแรงดีและดำรงชีวิตตามปกติเท่านั้น ค่านี้ใช้ไม่ได้สำหรับคนป่วย คนที่เป็นโรคขาดสารอาหาร หรือคนที่ดำรงชีวิตแตกต่างไปจากคนธรรมดามาก นักเพาะกายจัดได้ว่าดำรงชีวิตที่แตกต่างไปจากคนธรรมดามากในแง่ของการใช้พลังงานและการใช้งานกล้ามเนื้อ ดังนั้นค่า RDA สำหรับคนทั่วไปบางค่าเช่นปริมาณพลังงานและโปรตีนที่ต้องการในแต่ละวันจึงใช้ไม่ได้กับนักเพาะกาย เช่น RDA ของโปรตีนในผู้ชายทั่วไป = 0.6 ก/กก. เท่านั้น แต่ในนักเพาะกายแนะนำกันไว้ที่ 2-3 ก/กก./วัน



    ดร.นพ. ประสงค์ เทียนบุญ, http://ods.od.nih.gov/Health_Information/Dietary_Reference_Intakes.aspx  







     





     







    :)  Shalunla

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×