ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    คู่มือสุขภาพ ✙ Healthy Guide

    ลำดับตอนที่ #4 : NU :: ปัญหาโภชนาการ

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 1.68K
      0
      20 ส.ค. 56










    ปัญหาโภชนาการ



                ประเทศไทยในปัจจุบันได้ปรับเปลี่ยนวิถีจากระบบเกษตรกรรมเข้าสู่ระบบอุสาหกรรม ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจและสังคมของประเทศด้านต่างๆ มากมาย รวมทั้งส่งผลต่อระบบอาหารและโภชนาการ เป็นต้นว่า การผลิตอาหารบางอย่างลดน้อยลง เนื่องจากนโยบายการนำเข้าผลผลิต การเปิดการค้าเสรี และนโยบายการพัฒนาอุสาหกรรมมากขึ้น ทำให้เกิดปัญหาภาวะทางโภชนาการ ซึ่งส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพในการทำงานบุคคลนั้นๆ เป็นอันตรายต่อตัวบุคคล ซึ่งบุคคลเหล่านี้จะเป็นทรัพยากรที่สำคัญการพัฒนาประเทศสืบไป ดังนั้นจึงเกิดความตระหนักต่อปัญหาทางโภชนาการดังกล่าว ซึ่งถือว่าเป็นปัญหาระดับประเทศ และปัญหาที่ทำให้เกิดโรคภัยต่างๆ ตลอดช่วงอายุของมนุษย์ มีปัญหาหลักดังนี้
     

    1. การขาดแคลนสารอาหาร(Undernutrition) ก่อให้เกิดโรคขาดแคลนสารอาหาร(Nutrition deficiency diseases) เช่น โรคขาดโปรตีนและพลังงาน โรคโลหิตจางเนื่องจากการขาดธาตุเหล็ก โคขาดวิตามินบีหนึ่ง เป็นต้น สาเหตุของการขาดสารอาหารเกิดจากความไม่มั่นคงหรือขาดแคลนอาหาร สุขภาพอนามัยสิ่งแวดล้อมไม่ดี และพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ การขาดการดุแลทางด้านอาหารและสุขภาพ ทำให้มีอัตราเสียชีวิตสูง โดยมากป่วยบ่อยและเป็นโรคติดเชื้อซ้ำๆ ทั้งนี้เพราะผู้ที่ขาดสารอาหารจะมีภูมิต้านทานที่ต่ำลง จึงมีโอกาสติดเชื้อบ่อยและรุนแรงกว่าคนทั่วไป
                ภาวะขาดสารอาหารของแม่ขณะตั้งครรภ์ ทำให้ทารกระหว่างอยู่ในครรภ์เกิดสภาพแวดล้อมขาดแคลนอาหาร เมื่อเด็กคลอดออกมาจะมีน้ำหนักตัวต่ำกว่ามาตรฐาน การขาดสารอาหารในระยะแรกเริ่มของชีวิตนอกจากจะมีผลกระทบในระยะสั้น คือ มีความเสื่อมต่อสมรรถภาพทางกายและใจ ยังมีผลกระทบในระยาวต่อเด็กเหล่านี้ เมื่อเติบโตขึ้นจะมีความเสี่ยงสูต่อการเป็นโรคเรื้อรัง เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน และโรคที่เกี่ยวข้องกับหัวใจ เนื่องจากทารกที่อยู่ในครรภ์มาดาจะพยายามปรับตัวเพื่อให้สามารถอยู่รอดได้ในสภาวะที่ขาดอาหาร เมื่อโตขึ้นมาเป็นผู้ใหญ่ สภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไป มีอาหารสำหรับบริโภคสมบูรณ์มากขึ้นแต่ร่างกายและระบบอื่นได้ถูกโปรแกรมไว้แล้ว ให้ทำงานในสภาพที่ขาดแคลน จึงมีความเสี่ยงสูงที่จะอยู่ในภาวะได้รับสารอาหารเกิน หรือโรคเรื้อรังที่เกี่ยวข้องกับอาหารตลอดวงจรชีวิตจนสิ้นอายุไข

     

    2. การได้รับสารอาหารเกิน(Overnutrition) นำไปสู่โรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่เกี่ยวข้องกับอาหาร อันได้แก่ โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคหัวใจ และโรคมะเร็งต่างๆ กลุ่มคนที่มีปัญหานี้มักพบในกลุ่มผู้สูงอายุ ผู้ใหญ่และวัยหนุ่มสาว ที่อาศัยอยู่ในเขตเมือง ทั้งนี้เพราะบริโภคอาหารมากเกินกว่าที่ร่างกายต้องการ และพลังงานที่ได้รับร่างกายนำไปเผาผลาญได้ไม่หมดจึงเก็บสะสมอยู่ในกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะอาหารประเภทไขมันอิ่มตัวสูง เกลือและน้ำตาลในปริมาณมาก ร่วมทั้งปัจจัยอื่นๆ เช่น การดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ และความเครียดเป็นต้น โรคต่างๆ เหล่านี้มีผลทำให้เกิดการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร หรือพิการไร้ความสามารถจากการป่วยเรื้อรัง นอกจากนี้ยังมีค่าใช้จ่ายสูงมากในการรักษา และยังทำให้เข้าสู่วัยสูงอายุอย่างไร้คุณภาพ
     

    3. ปัญหาความปลอดภัยของอาหาร(Food Safety) อาหารที่ก่อให้เกิดปัญหาด้านความลอดภัย ส่วนใหญ่เกิดจากปัจจัยภายนอกตัวอาหาร เช่น จุลินทรีย์ สารปนเปื้อน ทำให้อาหารนั้นไม่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค การปนเปื้อนหรือเจือปนนี้สามารถเกิดขึ้นได้ในทุกขั้นตอนของวงจรการผลิตอาหารนั้นๆ กล่าวคือ ตั้งแต่การเพาะปลูก เก็บเกี่ยว กระจายอาหาร แปรรูป บรรจุหีบห่อ ตลอดจนถึงการขนส่งเป็นต้น
     

    4. การขาดความรู้ทางโภชนาการ เมื่อไม่มีความรู้ทางโภชนาการของอาหารก็จะขาดความเข้าใจ การเอาใจใส่ต่อการบริโภค ดังนั้นจึงก่อให้เกิดความเชื่อผิดๆ เช่น ระยะให้นมบุตร มาดารควรบริโภคอาหารให้มาก แต่มารดากลับบริโภคแค่ข้าวกับเกลือ หรือเมื่อทารกท้องเสีย ถ่ายท้องจะงดให้อาหารแก่เด็ก รวมถึงพฤติกรรมในการบริโภค เช่น การเลือกบริโภค นิสัยการกิที่ไม่ดี กินไม่เป็นเวลา ขาดความรู้เกี่ยวกับสุขาภิบาล เหล่านี้ล้วนส่งผลให้เกิดปัญหาทางโภชนาการทั้งสิ้น




     














    :)  Shalunla

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×