ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    คู่มือสุขภาพ ✙ Healthy Guide

    ลำดับตอนที่ #2 : NU :: ความหมายของอาหารและโภชนาการ

    • อัปเดตล่าสุด 20 ส.ค. 56







    วามหมายของอาหารและโภชนาการ

    อาหาร(Food) หมายถึง สิ่งที่กินได้ และไม่ก่อโทษ, พิษ หรืออันตรายเมื่อบริโภคเข้าไป แต่จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อร่างกาย

    สารอาหาร(Nutrients) หมายถึง สารเคมีที่ประกอบอยู่ในอาหาร และเป็นตัวที่ทำให้อาหารแต่ละชนิดเกิดประโยชน์ในการบำรุงร่างกาย และมีสุขภาพสมบูรณ์ แบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ
               
    1. สารอินทรีย์(Organic)
    เป็นสารเคมีที่ได้มาจากสิ่งมีชีวิต เช่น โปรตีน ไขมัน วิตามิน
               
    2. สารอนินทรีย์(Inorganic) เป็นสารอาหารประเภทเกลือแร่ เช่น ธาตุเหล็ก ไอโอดีน ฯลฯ

    โภชนาการ(Nutrition) หมายถึง สภาวะของร่างกาย ชีวิตของบุคคลที่จะเปลี่ยนแปลงไปอันเนื่องมาจากการบริโภคอาหาร

    นักโภชนาการ(Nutritionist) หมายถึง บุคคลผู้ให้คำแนะนำว่าด้วยสาระของผลกระทบอาหารและสารอาหารต่อสุขภาพ

    นักกำหนดอาหาร(Dietitian) หมายถึง บุคลากรทางการแพทย์ที่มีความรู้เฉพาะทางด้านอาหาร โดยเฉพาะด้านการใช้อาหารในการบำบัดโรคที่เรียกว่า โภชนบำบัด

    โภชนศาสตร์ มีความหมายเดียวกับคำว่า (Nutritional Science) ศาสตร์ที่ศึกษาถึงระบบการเปลี่ยนแปลงของสารอาหาร ทั้งในทางฟิสิกส์เคมีที่เกิดขึ้นในร่างกายของสิ่งมีชีวิต ตลอดจนการเจริญเติบโตของร่างกาย อันเกิดจากกระบวนการที่สารอาหารไปหล่อเลี้ยงเซลล์ ศาสตร์แขนงนี้เป็นวิทยาศาสตร์การแพทย์ ซึ่งในการศึกษาวิชานี้จะต้องมีพื้นฐานทางกายวิภาค สรีรวิทยา และชีวเคมี นอกจากนี้วิชาโภชนศาสตร์ยังครอบคลุมถึงการปรุงแต่อาหารให้เหมาะสมกับความต้องการของร่างกายในสภาพ และวัยต่างๆ

    ภาวะโภชนาการ (Nutritional status) คือภาวะหรือสุขภาพของร่างกายที่เป็นผลจากอาหารที่ร่างกายได้

    ภาวะโภชนาการดี (Good or adequate or optimum nutrition) เป็นภาวะที่ร่างกายได้รับสารอาหารครบถ้วนในสัดส่วนและปริมาณถูกต้องตามความต้องการของร่างกายทำให้มีสุขภาพดี

    ภาวะทุพโภชนาการ (Malntrion) เป็นภาวะที่ร่างกายได้รับอาหารไม่เพียงพอหรือมากเกินความต้องการของร่างกาย ไม่อยู่ในสมดุล

    ภาวะโภชนาการต่ำกว่าปกติ (Undernutrition or nutritional deficiency) คือภาวะที่ร่างกายได้รับอาหารไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกายอาจจะขาดสารอาหารอย่างเดียวหรือมากกว่าหนึ่งอย่างและขาดพลังงานด้วยหรือไม่ขาดก็ได้

    ภาวะโภชนาเกิน (Overnutrition) คือภาวะที่ร่างกายได้รับสารอาหารมากเกินความต้องการของร่างกาย และเก็บสะสมไว้จนเกิดอาการปรากฏ เช่น ได้รับสารอาหารที่ให้พลังงานมากเกินไปจะมีการสะสมพลังงานไว้ในร่างกายในสภาพไขมันเพิ่มขึ้น ทำให้เกิดโรคอ้วน(Obesity)

    เมแทบอลิซึม(Metabolism) หมายถึง ปฏิกิริยาเคมีใด ๆ ที่เกิดในสิ่งมีชีวิตเพื่อค้ำจุนชีวิต กระบวนการเหล่านี้ทำให้สิ่งมีชีวิตเจริญเติบโตและเจริญพันธุ์ คงไว้ซึ่งโครงสร้าง และสนองต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการย่อยและการขนส่งสสารเข้าสู่เซลล์และระหว่างเซลล์

    กระบวนการสังเคราะห์(Anabolism) กระบวนการสร้าง เป็นกระบวนการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์สารอินทรีย์ขนาดใหญ่จากสารโมเลกุลเล็ก และจำเป็นต้องใช้พลังงานที่มีอยู่ภายในเซลล์ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วได้จากการหายใจ เช่น สังเคราะห์เอากรดอะมิโนกับกลูโคส จากคาร์โบไฮเดรต

    กระบวนการสลาย(Catabolism) เป็นกระบวนการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสลายสารอินทรีย์ที่มีขนาดใหญ่ ให้เป็นสารที่มีขนาดเล็ก และจะได้พลังงานออกมาด้วย เพื่อนำไปใช้เป็นพลังงานได้ทันที  พลังงานที่ว่านี้ก็คือเรี่ยวแรงที่นำไปใช้ในการออกกำลังกาย  ยืน เดิน นั่ง ต่างๆนั่นเอง

    ตารางคุณค่าอาหาร(Food Composition Table) เป็นตารางที่แสดงสารอาหารต่างๆ ที่มีในอาหารแต่ละชนิด ในปริมาณและน้ำหนักที่แน่นอน

    สารต้านออกซิเดชัน(Antioxidant) คือ สารที่ช่วยยับยั้งหรือชะลอการเกิดออกซิเดชันซึ่งมีทั้งชนิดที่พบในวัสดุธรรมชาติ และชนิดที่มีการสังเคราะห์มาใช้ ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นสารกันหืน ขจัดโมเลกุลที่ถูกทำลาย และป้องกันการก่อกลายพันธุ์จากโมเลกุลที่ถูกทำลาย  ถ้าแบ่งตามชนิดของปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นจะแบ่งเป็น 2 ชนิดคือ ชนิดแรกจะเป็นสารที่ตัดลูกโซ่ของปฏิกิริยาที่เกิดขึ้น โดยสามารถทำปฏิกิริยากับอนุมูลอิสระ ก่อนที่อนุมูลอิสระนั้นจะเกิดปฏิกิริยากับไขมันที่ไม่อิ่มตัว ส่วนชนิดที่สองจะทำหน้าที่ป้องกันการเกิดปฏิกิริยาเริ่มต้น โดยสามารถจับกับไอออนของโลหะที่เป็นตัวเร่งของการเกิดปฏิกิริยาเริ่มต้น

    สารสังเคราะห์จากพืช(Phytochemical)  สารประกอบทางเคมีที่พืชสร้างขึ้นตามธรรมชาติ แต่ไม่ใช่สารอาหาร ไม่มีคุณค่าทางโภชนาการที่ร่างกายนำไปใช้ประโยชน์โดยตรง มักมีฤทธิ์เฉพาะ ด้านการรักษา หรือป้องกันด้านสุขภาพ

    พรีไบโอติก(Prebiotics) คือ ส่วนประกอบในอาหารบางชนิดที่ไม่ถูกย่อย และดูดซึมในระบบทางเดินอาหารตอนบน และมีผลดีต่อสุขภาพ โดยจะกลายเป็นอาหารของจุลินทรีย์สุขภาพในกลุ่มบิฟิโดแบคทีเรีย(Bifidobacteria) ส่งผลให้สภาวะในลำไส้ใหญ่เป็นกรดมากขึ้น ในขณะเดียวกัน เกิดการลดจำนวนของจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรค เช่น กลุ่มคลอสตริเดียม ส่วนใหญ่เป็นน้ำตาลที่ต่อกันเป็นสายสั้นๆ(Oligosaccharide)

              โพรไบโอติก(Probiotics) คือ กลุ่มของจุลินทรีย์ที่มีชีวิต(กลุ่ม Bifidobacteria และ Lactobacilli )ซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกายของสิ่งมีชีวิตนั้นๆ  โดยจุลินทรีย์นั้นๆทำหน้าที่ช่วยปรับสมดุลของสภาพแวดลอมในระบบลำไส้














     

     





    :)  Shalunla
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×