คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #10 : NU :: สรีรวิทยาของระบบทางเดินอาหาร
สรีรวิทยาของระบบทางเดินอาหาร
ระบบทางเดินอาหาร (Gastrointestinal tract, GI tract) ระบบทางเดินอาหารเป็นระบบที่ซับซ้อน มีการทำงานหลายอย่าง เช่น การเคลื่อนไหว (motility) การคัดหลั่ง (secretion) การย่อย การดูดซึมสารอาหารผ่านผนังของท่อทางเดินอาหารเข้ากระแสโลหิต และการกำ จัดและผลิตสารอาหาร (nutrient production) ขบวนการเหล่านี้เป็นการทำ งานโดยอัตโนมัติ อยู่นอกเหนืออำนาจจิตใจ
ส่วนต่างๆ ของระบบทางเดินอาหารเรียงตามลำดับจากปลายบนไปล่าง ดังนี้
· ปาก (mouth)
· หลอดอาหาร (esophagus)
· กระเพาะอาหาร (stomach)
· ลำไส้เล็ก (small intestine)
· ลำไส้ใหญ่ (large intestine)
จากลักษณะทางกายวิภาคของระบบทางเดินอาหารโดยทั่วไป จะมีลักษณtแตกต่างกัน เนื่องจากแต่ละส่วนได้มีการปรับตัวตามหน้าที่เฉพาะอย่าง เช่น เป็นช่องทางธรรมดา เพื่อให้อาหารผ่านจากแห่งหนึ่งไปยังอีกแห่งหนึ่ง เป็นที่เก็บอาหาร หรือกาก เช่นกระเพาะอาหารหรือลำไส้ใหญ่ เป็นที่ย่อย เช่นกระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็ก เป็นที่ดูดซึมอาหารที่ย่อยแล้ว
การย่อยอาหารของคน (Digestion)
คือ กระบวนการแปรสภาพสารอาหารโมเลกุลใหญ่ให้มีขนาดเล็กลง เพื่อการดูดซึมเข้าสู่เซลล์ คนมีระบบทางเดินอาหารแบบสมบูรณ์ มีอวัยวะทำหน้าที่พิเศษหลายอย่างอยู่ระหว่างช่องเปิดทั้ง 2 ช่อง มีเนื้อเยื่อบุผิวปกคลุมด้วยเมือกบุพื้นผิวด้านใน อาหารที่กินเข้าไปเคลื่อนที่ไปในทิศทางเดียว คือจากปาก ผ่านคอหอย หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ และไปสิ้นสุดที่ทวารหนัก นอกจากนี้ยังมีต่อมน้ำลาย ถุงน้ำดี ตับ ตับอ่อน เป็นอวัยวะพิเศษทำหน้าที่หลั่งเอนไซม์และสารอื่นเข้าสู่บริเวณเฉพาะแห่งของทางเดินอาหาร
จุดประสงค์ของการเคลื่อนไหวของระบบทางเดินอาหาร
• ช่วยขับไล่อาหารไปสู่ส่วนถัดไปเพื่อการย่อยขั้นต่อไป
• ช่วยให้อาหารที่ย่อยแล้วสัมผัสกับผนังของระบบทางเดินอาหาร เพื่อดูดซึม
• ช่วยคลุกเคล้าอาหารกับน้ำย่อย
ลักษณะทั่วไปของผนังทางเดินอาหาร
ผนังทางเดินอาหารตั้งแต่หลอดอาหารจนถึงลำไส้ใหญ่ มีลักษณะทั่วๆไปคลายคลึงกัน เมื่อตัดตามขวาง (transverse section) โดยทั่วไปจะประกอบด้วยชั้นต่างๆ เรียงจากด้านในไปยังด้านนอก ดังต่อไปนี้
1. ชั้นในสุดเป็นชั้นของเยื่อเมือกเรียก มิวโคซา
2. ชั้นใต้เยื่อเมือกเรียก ซับมิวโคซา
3. ชั้นกล้ามเนื้อ เรียก กล้ามเนื้อยาว และกล้ามเนื้อวงกลม
4. ชั้นนอกสุด เรียก เซอโรซา
ส่วนต่างๆ ของระบบทางเดินอาหาร
1. ปาก (Mouth)
§ ฟัน ทำหน้าที่บดย่อยอาหารให้เป็นส่วนที่เล็กที่สุด
§ ลิ้น ทำหน้าที่รับรสชาติของอาหาร เกลี่ยอาหารให้ฟันบท และตะล่อมอาหารที่บดแล้วให้เป็นก้อนเพื่อสะดวกในการกลืนอาหาร
2. หลอดอาหาร (Esophagus) ทำหน้าที่ส่งอาหาร
3. กระเพาะอาหาร (Stomach) ทำหน้าที่สำคัญ คือ เก็บสำรองอาหารจำนวนมากไว้เพื่อทยอยปล่อยให้ลำไส้, คลุกเคล้าอาหารกับน้ำย่อย, หลั่งน้ำย่อยที่ใช้ในการย่อยโปรตีน และไขมัน, ย่อยอาหารโดยน้ำย่อยที่ผลิตขึ้นที่ผนังกระเพาะ, ปล่อยอาหารอย่างช้าๆ ไปสู่ลำไส้เล็ก, ฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ที่ติดปนมากับอาหาร
4. ลำไส้เล็ก (Small intestine) อยู่ต่อจากกระเพาะอาหารส่วนล่าง อาหารจะอยู่ในลำไส้เล็กประมาณ 3 - 10 ชั่วโมง ลำไส้เล็กนี้เป็นท่อเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 นิ้ว ขดไปมาอยู่ ภายในช่องท้องส่วนบน ยาวประมาณ 10 ฟุต แบ่งได้เป็น 3 ส่วน คือ
§ ลำไส้เล็กตอนต้น (duodenum) ทำหน้าที่ย่อยอาหารเป็นส่วนใหญ่ จะดูดซึมอาหารบางชนิดเท่านั้น
§ ลำไส้เล็กตอนกลาง (jejunum) ทำหน้าที่ดูดซึมสารอาหาร
§ ลำไส้เล็กตอนปลาย (ileum) ทำหน้าที่ดูดซึมสารอาหาร
5. ลำไส้ใหญ่ (large intestine) ทำหน้าที่สำคัญ คือ ดูดน้ำและเกลือแร่คืนจากอาหารที่ร่างกายไม่ดูดซึม, เก็บกักและขับถ่ายกากอาหารต่างๆ ออกจากร่างกาย, ควบคุมความชื้นของกากอาหารเพื่อให้ถ่ายสะดวก, เป็นที่อยู่ของจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์และก่อให้เกิดโรค
ระบบน้ำย่อยและการย่อยอาหาร (digestive system)
ร่างกายของคนเราต้องมีระบบย่อยอาหาร เพราะอาหารที่กินเข้าไปนั้นส่วนมากเป็นสารที่มีโมเลกุลใหญ่ ร่างกายไม่สามารถนำไปใช้ได้ทันที ต้องมีการย่อยให้โมเลกุลเล็กลงเพื่อดูดซึมเข้าไปใช้ภายในร่างกายได้ อาหารที่บริโภคเข้าไปจะมีวิธีการย่อย 2 วิธี คือ
1. การย่อยอาหารเชิงกล
2. การย่อยอาหารทางเคมี
การย่อยอาหารเชิงกล (mechanical process) เกิดจากการเคลื่อนไหวของอวัยวะในระบบทางเดินอาหาร แบ่งออกเป็น 5 ระยะ คือ การเคี้ยวบดอาหาร การกลืน การรีดอาหารลงไปในหลอดอาหาร การเคลื่อนไหวของกระเพาะอาหาร การเคลื่อนไหวของลำไส้
การย่อยอาหารทางเคมี (chemical process) เป็นการย่อยที่อาศัยน้ำย่อย (enzyme) จากอวัยวะต่างๆ ของระบบการย่อย อาหารที่รับประทานเข้าไป ให้เป็นโมเลกุลที่เล็ก เพื่อที่จะได้ดูดซึมเข้าไปในโลหิต ทำให้เนื้อเยื่อในร่างกายใช้เป็นประโยชน์ได้
§ การย่อยอาหารในปาก ในปากมีต่อมน้ำลาย ทำหน้าที่ผลิตน้ำลายแล้วขับเข้าไปในปากทางท่อน้ำลาย น้ำลายจะหลั่งออกมาประมาณวันละ 1200-1500 มิลลิลิตร น้ำลายที่ต่อมน้ำลายผลิตออกมามี 2 ชนิด คือ
1. น้ำลายชนิดใส : น้ำย่อยอะมิเลส สำหรับย่อยแป้ง
2. น้ำลายชนิดเหนียว : สร้างเมือกทำให้กลืนอาหารได้สะดวก
§ การย่อยอาหารในกระเพาะ น้ำย่อยจากกระเพาะอาหารจะมีส่วนประกอบสำคัญ คือ
1. มิวซิน (mucin) มีหน้าที่เคลือบกระเพาะทำให้ความเป็นกรดลดลง
2. เพปซิโนเจน (pepsinogen) เป็นน้ำย่อยไม่มีฤทธิ์
3. แกสทริกไลเปส (gastric lipase) เป็นน้ำย่อยสำหรับย่อยไขมัน
4. เรนนิน (rennin) เป็นน้ำย่อยสำหรับย่อยโปรตีนของนม
5. อินทรินสิกแฟคเตอร์ (intrinsic factor) ดูดซึมวิตามินบี 12
6. กรดเกลือ (hydrochloric acid)
เพิ่มเติม
กรดเกลือ (hydrochloric acid) ทำหน้าที่ให้กระเพาะมีสภาพเป็นกรดเหมาะแก่การทำงานของน้ำย่อย, ทำให้อาหารอ่อนตัว, ช่วยในการดูดซึมเหล็ก, ฆ่าแบคทีเรียที่ปนมากับอาหารทำให้อาหารไม่บูดเน่า, เปลี่ยน เพปซิโนเจน ให้เป็น เพปซิน, ช่วยละลาย แคลเซียม แมกนีเซียม เหล็ก
ระบบการย่อยสารอาหาร
§ การย่อยคาร์โบไฮเดรต การย่อยคาร์โบไฮเดรตที่ร่างกายได้รับประทานเข้าไป ส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปแป้งและน้ำตาล (ปาก ใช้น้ำย่อยอะมิเลส, กระเพาะ ไม่มีการย่อยแป้ง, ลำไส้เล็ก ใช้น้ำย่อยแลคเทส ซูเครส มอลเทส)
§ การย่อยไขมัน อาหารพวกไขมันที่ร่างกายได้รับประทานเข้าไป จะประกอบด้วย ไตรกลีเซอไรด์ (triglyceride) เป็นส่วนใหญ่ ที่เหลือเป็นคอเลสเทอรอล และฟอสลิปิด (ลำไส้เล็ก ใช้น้ำย่อยคอเลสเทอรอลเอสเทอเรส และน้ำย่อยเลซิติเนส)
§ การย่อยโปรตีน หมายถึงปฏิกิริยาการสลายโปรตีนด้วยน้ำ โดยอาศัยน้ำย่อยที่ย่อยโปรตีนชนิดต่างๆ เพื่อให้ได้กรดอมิโน (ปาก ไม่มีน้ำย่อย ย่อยโปรตีน, ลำไส้เล็ก น้ำย่อยอมิโนเพปทิเดส และไดเพปทิเดส)
การดูดซึม (absorption)
การดูดซึม (absorption) ของอาหาร หมายถึง การที่สารอาหารที่ผ่านการย่อยแล้วในทางเดินอาหารถูกดูดซึมผ่านผนังลำ ไส้เล็ก เข้าสู่เซลล์ผนังของหลอดเลือดและหลอดน้ำเหลือง เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ตำแหน่งที่มีการซึมของอาหารมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับ
1. คุณสมบัติและลักษณะของเยื่อบุผิว
2. บริเวณพื้นที่สำหรับการดูดซึม
3. ระยะเวลาที่อาหารอยู่
4. ประสิทธิภาพในการย่อยอาหาร
5. ความผิดปกติของอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการย่อย
6. ขนาดของโมเลกุลของสารที่จะถูกดูดซึม
7. ความดันออสโมติค
8. ความสามารถในการซึมผ่านของสาร
กลไกการดูดซึมอาหาร
อาหารที่ย่อยแล้วจะถูกดูดซึมจากลำไส้เล็กเข้าสู่กระแสโลหิตได้ 2 ทาง คือ
1. ระบบเส้นเลือด โดยผ่านเข้าทางหลอดเลือดฝอยของวิลไล โดยตรงเข้าสู่เส้นเลือดดำไปยังตับที่เรียกว่า portal vein
2. ระบบน้ำเหลือง โดยผ่านเข้าทางหลอดน้ำเหลืองฝอยที่เรียกว่า lacteal ซึ่งอยู่ตรงกลางของวิลไล แล้วถูกนำไปยังท่อน้ำเหลืองใหญ่ และเข้าสู่กระแสเลือดที่เส้นเลือดดำ
การดูดซึมในกระเพาะ เป็นตำแหน่งในระบบทางเดินอาหารที่มีการดูดซึมน้อยมาก กระเพาะอาหารจะมีการดูดซึมสารที่ละลายในลิพิดได้ดี เช่น แอลกอฮอล์ และยาบางชนิด แต่การดูดซึมได้ไม่เกินร้อยละ 30 ส่วน ที่เหลือจะถูกดูดซึมที่ลำไส้เล็ก
การดูดซึมในลำไส้เล็ก เป็นบริเวณที่มีการดูดซึมสารอาหารต่าง ๆ ได้ดีที่สุด การดูดซึมส่วนใหญ่เกิดขึ้นที่ลำไส้เล็กตอนกลาง และตอนปลาย ลำไส้เล็กมีโครงสร้างพิเศษ เพื่อช่วยเพิ่มพื้นที่ผิวในการดูดซึมอาหาร โดยมีส่วนที่ยื่นขึ้นมาในท่อของลำไส้มีลักษณะคล้ายนิ้วมือประมาณ4 – 5 ล้านอัน เรียกว่า วิลไล (Villi) ผิวด้านนอกของวิลไลยื่นออกไปเรียกว่าไมโครวิลไล (Microvilli) ทำหน้าที่เป็นผิวหน้าเปิดออกดูดซึมอาหารผ่านเข้าไปยังหลอดเลือดฝอยและหลอดน้ำเหลือง
การดูดซึมในลำไส้ใหญ่ จะมีกากอาหารส่วนที่เหลือจากการย่อยและการดูดซึมของลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่จะมีหน้าที่จะทำหน้าที่ดูดซึมน้ำ และอีเล็กโทรไลต์กลับเข้าสู่ร่างกาย เป็นส่วนใหญ่ เหลือของเหลวไว้ประมาณ 150 มล. ที่จะขับถ่ายออกทางอุจจาระ
:) Shalunla
ความคิดเห็น