ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    คลังสรุปมหากาพย์ข้อสอบTU : by. BiwTigerPisces

    ลำดับตอนที่ #24 : [For1เทอม2] สังคม : หน้าที่พลเมือง การเมือง

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 1.66K
      1
      9 ธ.ค. 56

    บทที่1 ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับรัฐ

    รัฐ คือ กลุ่มประชากรที่อาศัยอยู่ในอาณาเขตเดียวกัน มีระบบรัฐบาลปกครองชัดเจนเพื่อการดำเนินการกิจการประเทศ

    องค์ประกอบ = เงื่อนไขการเป็นรัฐ
    1.มีกลุ่มประชากร
    2.มีอาณาเขตดินแดนที่ตั้ง เป็นถิ่นฐาน
    3.มีรัฐบาล หรือองค์กรที่ทำหน้าปกครองบริหารประเทศ
    4.มีอำนาจอธิปไตย (แต่อำนาจนี้จะตกไปอยู่ที่ใคร ก็แล้วแต่ระบบการปกครองของแต่ละประเทศ)

    รูปแบบของรัฐ
    เกณฑ์ที่ใช้ : จำนวนพรรคพลหน่วยงานในการปกครอง

    1.รัฐเดี่ยว

    ถัดจากประมุขก็จะมีรัฐบาลแค่ 1 พรรคคุมหลักๆ ที่เหลือจะเป็นองค์กรย่อยๆ แทน
    นึกสภาพก็คงคล้ายๆ หัวหน้าจอมทัพ
    1 คน ส่วนที่เหลือก็เป็นทหารแต่ละฝ่ายไปเลย
    *ประเทศที่เป็นรัฐเดี่ยว
    - อาเซียนไม่กินมาม่า = อาเซียน(รวม8) ยกเว้นประเทศ มาเลเซีย และพม่า
    - ญี่ปุ่น , อังกฤษ , สเปน

    2.รัฐรวม (สหพันธรัฐ)

    ถัดจากประมุขก็จะมีรัฐบาลกลาง 1 พรรค ที่เหลือจะเป็นรัฐบาลท้องถิ่น นับตามแต่ละรัฐไป แล้วในรัฐบาลท้องถิ่นค่อยมีองค์กรย่อยๆ แตกแขนงไปอีก

    หน้าที่รัฐบาลกลาง
    การต่างประเทศ (ทูต) + ความมั่นคง (ทหาร) + การคลัง (สมาพันธ์พ่อค้า)

    หน้าที่รัฐบาลท้องถิ่น
    การศึกษา
    + สาธารณูปโภคและสาธารณสุข

    นึกสภาพก็คงคล้าย หัวหน้าจอมทัพ 1 คน มีขุนพลอีกหลายสิบ แล้วขุนพลก็มีทีมทหารประจำตัวแยกแตกต่อไปอีกน่ะ
    *ประเทศที่เป็นรัฐรวม
    -อาเซียนกินมาม่า = พม่า มาเลเซีย
    -USA เยอรมัณ แคนาดา ออสเตเรีย รัสเซีย อินเดีย จีน สวิตเซอร์แลนด์

    ประเภทของรัฐ
    เกณฑ์ที่ใช้ : อำนาจการปกครองของรัฐ รูปแบบพลเมือง

    1.รัฐนคร หรือนครรัฐ
    อาณาเขตทั้งประเทศมีขนาดเท่ากับ
    1 จังหวัด/เมือง
    เช่น นครรัฐวาติกัน สิงคโปร์

    2.รัฐประชาชาติ
    เกิดจากหลายๆ นครรัฐมารวมกัน (แหงล่ะ ก็เอาจังหวัดมารวมกันเป็นประเทศหนิ) เป็นได้ทั้งรัฐเดี่ยว รัฐรวม และในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาไม่ใช่ประเทศมหาอำนาจที่บุกยึดอาณานิคมได้กระจุยกระจายในช่วงสงครามโลก
    หมายเหตุ
    : นิยมแบบนี้มากที่สุด มีจำนวนเยอะที่สุด

    3.รัฐจักรวรรดิ
    พวกประเทศมหาอำนาจที่มีอาณานิคมไปทั่วในช่วงสมัยสงครามโลก แม้ปัจจุบันจะปล่อยหรือยังไม่ปล่อยให้พวกอาณานิคมเป็นอิสระแล้ว ก็ถือว่ายังได้ยศนี้อยู่
    เช่น สเปน โปรตุเกส อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน เนเธอแลนด์

     

    บทที่3 ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชน

    เป็นบทที่ใช้คอมมอนเซนส์มากๆ ค่ะความยาวไม่มีอะไรมาก แต่ความน่ากลัวจะอยู่ที่ ถ้าข้อสอบไม่เมตตาเรา เขาจะเอาจุดที่ไม่สำคัญอะไรเลยแต่มีปริมาณเยอะๆ มาออกในข้อเขียนน่ะสิ ดังนั้น เราจะเน้นส่วนนั้นแทน

    1.ระบอบประชาธิปไตย

    ระบบรู้ๆ กันอยู่ คือให้ใช้ สส. ที่เลือกตั้งมาเป็นตัวแทนความต้องการของประชาชน เอานโยบายเสนอกับรัฐบาล ถ้าผ่าน ก็เอาไปเสนอต่อกระทรวง แล้วก็จัดทำเป็นโครงการซะ

    แล้วถึงเวลาจริงถามว่า สส. รัฐบาล ทำตามที่ประชาชนต้องการมั้ย ไม่ค่ะ

    *หน้าที่ของประชาชนในประชาธิปไตย

    1.        ปฏิบัติตามกฎหมาย

    2.        อย่าวางวาย ไปเสียภาษี

    3.        บุรุษหนีการเป็นทหาร/รด.มิได้

    4.        มีอะไรก็ช่วยๆ ทางราชการเขาให้ชุมชนพัฒนา

    5.        รับการศึกษาตามที่กำหนดไว้

    6.        สนับสนุนรัฐบาลให้รักษาประชาธิปไตย โดยการรักษาประชาธิปไตยเป็นตัวอย่างที่ดี (อาทิ ไม่พอใจอะไร ข้าวราคาตก น้ำมันขึ้น พืชผักไม่ขึ้นตามฤดูกาล ถนนหน้าบ้านเดินไม่ลื่นTeenก็.. ประท้วงแมร่งเลยค่ะ ถือว่าใช้สิทธิประชาธิปไตยเนอะ)

    7.        มีเลือกตั้งก็ไปเลือกสักนิด

    8.        จับผิดรัฐบาลเข้าไว้เป็นยอดดี

    9.        ต้องมีดีกรีรักษ์โลก รักษ์สิ่งแวดล้อม

    (//มาเป็นคำขวัญ)

    หน้าที่ของรัฐบาลในประชาธิปไตย

    ถ้าข้อสอบถามก็ ทำไงก็ได้วิธีไหนก็ได้ให้ชาติมันก้าวหน้าอ้ะ นึกวิธีโลกสวยอะไรให้มันได้ก็เขียนไปนะ
    (แม้ที่เขียนมา รัฐบาลในความจริงจะไม่มีทางสำนึกแล้วปฏิบัติก็ตามที
    //อรุ๊บส์)

     

    2.ระบอบเผด็จการ

    ระบบง่ายมาก รัฐบาลว้อนท์อะไร ก็กระดิกนิ้วเบาๆ ให้ตัวแทนไปบอกประชาชนที่เป็นดั่งอีแจ๋วมาทำตามที่บอก ง่ายดี

    หน้าที่ของประชาชนในเผด็จการ >>> ทำตาม อย่าบ่น นังบ่าวในเรือนเบี้ย

    หน้าที่ของรัฐบาลในเผด็จการ >>> นึกอะไรก็ได้ที่พัฒนาชาติมาให้ประชาชน(อีแจ๋ว)มาช่วยทำ

     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×