ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    คลังสรุปมหากาพย์ข้อสอบTU : by. BiwTigerPisces

    ลำดับตอนที่ #18 : [Final] ม.4เทอม1 ไทย(หลัก) Part2/2 : วรรณคดี

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 3.77K
      5
      4 ก.ย. 57

    [Final] ไทย(หลัก) Part2/2 : วรรณคดี

    By.BiwTigerPisces

     วรรณคดีสุโขทัย

     

    ชื่อเรื่อง

    ปีแต่ง (พ.ศ.)

    ผู้แต่ง

    ลักษณะการแต่ง

    เน้นเรื่อง...

    หลักศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง

    (คาดว่า) 1826

    พ่อขุนรามคำแหง
    (+นักปราชญ์ในวัง)

    ร้อยแก้ว

    ชีวประวัติ + เหตุการณ์บ้านเมือง + ยอพระเกียรติกษัตริย์

    สุภาษิตพระร่วง / บัญญัติพระร่วง

    -

    (อาจเป็นพ่อขุนรามคำแหง / นักปราชญ์ในวัง)

    ร่ายสุภาพ
    ,โคลงสองสุภาพ,
    โคลงสี่สุภาพ

    สอนสั่งมารยาทการปฏิบัติให้อยู่ร่วมในสังคมได้อย่างปกติชน

    ไตรภูมิพระร่วง /
    เตภูมิกถา / ไตรภูมิกถา

    1896

    พระยาลิไท

    ร้อยแก้ว

    สอนเรื่องบาปบุญคุณโทษ ภูมิทั้งสามจากการกระทำของมนุษย์

    ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ / นางนพมาศ /
    เรวดีนพมาศ

    -

    ท้าวศรีจุฬาลักษณ์
    (นางนพมาศ)

    ร้อยแก้ว +
    ร้อยกรอง

    การปฏิบัติตนตามวิถีสตรี +
    พระราชพิธีในสมัยนั้น

    จุดพิเศษอื่นๆ ของแต่ละเรื่อง

    1. หลักศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ถ้าถามเกี่ยวกับด้านว่าด้านไหนจารึกอะไรบ้าง อัตราส่วนจะเป็นแบบนี้
















    2.










    2. สุภาษิตพระร่วง

    มีอิทธิพลต่อวรรณคดีอื่น

    - ร่ายยาวมหาเวสสันดร กัณฑ์ชูชก

    - เพลงยาวถวายโอวาท

    - ขุนช้างขุนแผน ตอน กำเนิดพลายงาม

    - สุภาษิตพระร่วงคำโคลง (พระราชนิพนธ์ใน ร.6)

     

    3. ไตรภูมิพระร่วง

    มีอิทธิพลต่อวรรณคดีอื่น

    - ลิลิตโองการแช่งน้ำ

    - มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์ทานกัณฑ์

    - รามเกียรติ์พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 1 และ 2

    - กากีคำกลอน

    - ขุนช้างขุนแผน

     

    4.ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์

    ประวัติผู้แต่ง : ชื่อเดิมคือ นางนพมาศ เป็นธิดาของ ท้าวศรีมโหสถ กับ นางเรวดี ได้รับการอบรมเป็นนางในแต่เด็ก เมื่อเจริญวัยได้ปฏิบัติหน้าที่อย่างดีงามและได้ตำแหน่งเป็นสนมเอกตำแหน่ง ท้าวศรีจุฬาลักษณ์

    อิทธิพลต่อวรรณคดีอื่น : พระราชพิธีสิบสองเดือน (พระราชนิพนธ์ใน ร.5)

    *มีการกล่าวถึง โคมลอย

     

     

    นิทานเวตาล

    ประวัติไทม์ไลน์ของเรื่อง

    เวอร์ชั่น#1

    เวอร์ชั่น#2

    ประเทศ : อินเดีย

    ผู้แต่ง : ศิวทาส

    ชื่อเรื่อง : เวตาลปัญจวิงศติ

    จำนวนบท : 25

    ภาษา : สันสกฤต 

    ประเทศ : อินเดีย

    ผู้รวบรวม : โสมเทวะ

    ชื่อเรื่อง : เวตาลปัญจวิงศติ ในหนังสือ กถาสริตสาคร

    จำนวนบท : 25 (ตอนที่ 75 - 99)

    ภาษา : สันสกฤต  ฮินดี 

    เวอร์ชั่น#3

    เวอร์ชั่น#4

    ประเทศ : อังกฤษ

    ผู้แต่ง : เซอร์ ริชาร์ด เอฟ เบอร์ตัน

    ชื่อเรื่อง : Vikarm and the Vampire or Tales of Hindu Devilry

    จำนวนบท : 25

    ภาษา : อังกฤษ 

    ประเทศ : ไทย

    ผู้แต่ง : น.ม.ส. (พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ)

    ปี : พ.ศ.2461

    ชื่อเรื่อง : นิทานเวตาล

    จำนวนบท : 10

    ภาษา : ไทย (ที่แปลมาจากฉบับอังกฤษ) 

     **นิทานเรื่องที่ 10 ปัญหาเกิดจากการ ขาดสติ (ไม่คิดให้ดีก่อนว่าไซส์Teenไม่ได้เกี่ยวกับอายุ)

    ว่าด้วย Character พระวิกรมาทิตย์

    จุดแข็ง

    จุดอ่อน

    - ฉลาดหลักแหลม

    - ไม่ละความเพียร

    - อดทนต่อความยากลำบาก

    - ถือว่าตนเป็นพระมหากษัตริย์

    - หยิ่งทะนงในสติปัญญา

    - แต่ไม่ทนเมื่อมีคนมาดูถูกดูแคลน(ซะงั้น)

     
    ข้อคิดที่ได้รับ 
    การใช้สติและปัญญาควบคู่กันไปจะนำสู่ความสำเร็จ

     

    *Tips ครูเฉลยมา จำไปเถอะ

    1.) นิทาน 10 เรื่อง ตัวละครมักเป็น วรรณะกษัตริย์(นักรบ) กับ วรรณแพศย์(พ่อค้า)


    2.) มูลเทวะบัณฑิต ได้กล่าววลีเด็ดที่เอามาอ้างอิงในเนื้อเรื่องไว้ว่า

      2.1 ชายผู้ไม่ใช่คนโง่ไม่ยอมคืนสู่เรือนซึ่งไม่มีนางที่รักผู้มีรูปงามคอยรับรองในขณะที่กลับถึงเรือนนั้น

      2.2 ความสุขแห่งพ่อบ้านซึ่งอยู่เดี่ยวโดดนั้นมีไม่ได้ในบ้าน แลมีไม่ได้นอกบ้านเพราะไม่มีหวังจะได้ความสุขเมื่อกลับมาสู่เรือนแห่งตน

    3.) เวตาล กล่าววลีเด็ดไว้ว่า

      3.1 ลิ้นคนนั้นตัดคอคนเสียมากต่อมากแล้วพูดกับพระวิกรมาทิตย์

      3.2 ปราชญ์ผู้มีความรู้ย่อมใช้เวลาของตนในเรื่องหนังสือพูดกับพระวิกรมาทิตย์

      3.3 ข้าพเจ้าให้เกิดกระเหม่นตาซ้าย หัวใจเต้นแรง แลก็มืดมัวเป็นลางไม่ดีเสียแล้วบ่นคนเดียว สะท้อนเรื่องการถือเรื่องลางสังหรณ์

      3.4 รับสั่งตอบปัญหาแล้วไม่ใช่หรือ” = ตอบกรูมาสิ เป็นถ้อยคำประเภทยั่วยุ


     

    ทุกข์ของชาวนาในบทกวี

    ผู้รวบรวมและแปล : สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

    รวมในหนังสือ : มณีร้อยพลอยแสง

    หมู่ : ชวนคิดพิจิตรภาษา

    ความหมายที่สื่อมากที่สุดของบทนี้คือ วิถีชีวิตของชาวนาที่ไม่ได้รับการดูแล

    ต้นฉบับ ที่ใช้ในการเรียบเรียงทำเป็นเรื่อง ทุกข์ของชาวนา มาจาก2ที่

     

      1.จิตร ภูมิศักดิ์

    - รูปแบบเป็นการบรรยายความทุกข์ของชาวนาให้ผู้อ่านฟัง

    - ฉันทลักษณ์ : กาพย์ยานี 11

    บทกวีของ จิตร ภูมิศักดิ์

    เปิบข้าวทุกคราวคำ          จงสูจำเป็นอาจินต์
    เหงื่อกูที่สูกิน                              จึงก่อเกิดมาเป็นคน
    ข้าวนี้นะมีรส                              ให้ชนชิมทุกชั้นชน
    เบื้องหลังสิทุกข์ทน                      และขมขื่นจนเขียวคาว
    จากแรงมาเป็นรวง                       ระยะทางนั้นเหยียดยาว
    จากรวงเป็นเม็ดพราว                   ล้วนทุกข์ยากลำบากเข็ญ
    เหงื่อหยดสักกี่หยาด                    ทุกหยดหยาดล้วนยากเย็น
    ปูดโปนกี่เส้นเอ็น                         จึงแปรรวงมาเป็นกิน
    น้ำเหงื่อที่เรื่อแดง                        และน้ำแรงอันหลั่งริน
    สายเลือดกูทั้งสิ้น ที่สูซดกำซาบฟัน

    สีแดง วรรคที่สะท้อนถึงความเหนื่อยยากลำบากของชาวนา

    สีเขียว = วรรคที่มีความหมายเกี่ยวกับ ข้าว

      2.หลี่เชิน

    - มีชื่อบทประพันธ์อีกอย่างว่า ประเพณีดั้งเดิม

    - รูปแบบเป็นการบรรยายภาพเหมือนจิตรกรวาดภาพให้คนชม

    บทกวีของ หลี่เชิน

    หว่านข้าวในฤดูใบไม้ผลิ ข้าวเมล็ดหนึ่ง

    จะกลายเป็นหมื่นเมล็ดในฤดูใบไม้ร่วง

    รอบข้างไม่มีนาที่ไหนทิ้งว่าง

    แต่ชาวนาก็ยังอดตาย

    อาทิตย์เที่ยงวัน ชาวนายังพรวนดิน

    เหงื่อหยดบนดินภายใต้ต้นข้าว

    ใครจะรู้บ้างว่าในจานใบนั้น

    ข้าวแต่ละเม็ดคือความยากแค้นแสนสาหัส

    สีแดง วรรคที่สะท้อนถึงความเหนื่อยยากลำบากของชาวนา

    สีเขียว = วรรคที่มีความหมายเกี่ยวกับ ข้าว
     

    ข้อคิดที่ได้รับ   

    1. ทำให้เข้าใจความรู้สึกของชาวนาที่ต้องประสบปัญหาต่างๆ

    2. ทำให้ได้รู้ถึงความทุกข์ยากความลำบากของชาวนาในการปลูกข้าว

    3. ทำให้ได้เห็นถึงคุณค่าของข้าวที่ได้รับประทานเป็นอาหารหลักในการดำรงชีวิตอยู่ของมนุษย์
     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×