ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    คลังสรุปมหากาพย์ข้อสอบTU : by. BiwTigerPisces

    ลำดับตอนที่ #19 : [Final] ม.4เทอม1 ประวัติวรรณคดี สมัยอยุธยาตอนปลาย

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 11.39K
      10
      24 ก.พ. 58

    [ม.4 Finalเทอม1] ประวัติวรรณคดี สมัยอยุธยาตอนปลาย

    By.BiwTigerPisces

    ความโดดเด่น

             - เป็นจุดกำเนิดของ นาฏวรรณคดี (วรรณคดีแนวบทละคร)

              - ร้อยกรองเป็นวันรวมญาติมีครบทั้ง กาพย์ กลอน โคลง ฉันท์ และ ร่าย

              - แต่ในบรรดาทั้งหมดที่ว่ามานั่น กาพย์ และกลอน เป็นที่นิยมในการแต่งมากที่สุด

              - วรรณคดีรุ่งเรือง เพราะบ้านเมืองสงบสุข(จากศึกนอกนะ ศึกในอีกเรื่องนึง)

              - มีกวีทั้งชายและหญิง

              - เกิดฉันทลักษณ์ลูกเล่นการประพันธ์ใหม่ๆ เช่น กลบท กลอนเพลงยาว

     

    ผังตระกูลราชวงศ์โดยรวม (คนที่มีดาวคือ ผู้ที่เป็นกวีมีผลงานด้วย)

     

    *คนที่ได้ขึ้นครองราชย์จริงๆ*
        สมเด็จพระศรีสรรเพชญ์ที่ 8 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ , สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ (เป็นพระองค์เดียวที่ได้เป็นทั้งกษัตริย์ และเป็นกวีมีผลงาน) และ พระเจ้าเอกทัศน์

    กวีทั่วไป

    พระมหานาค วัดท่าทราย x 2            และ           หลวงศรีปรีชา (เซ่ง) x 1

         มาดูกันว่า ผู้ที่มีผลงานทั้งหมด แต่ละคนจะมีผลงานอะไรบ้าง

          สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ

    เรื่องเดียว     โคลงชะลอพระพุทธไสยาสน์
    *ความจริงแต่งตั้งแต่ในสมัยยังเป็น กรมพระราชวังบวรสถานมงคล หรือ พระบัณฑูรน้อย (ในสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระยังครองราชย์)

    จุดมุ่งหมายการแต่ง เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ

    ลักษณะการแต่ง โคลงสี่สุภาพ 69 บท

    เป็นชีวประวัติอิงเรื่องจริง เกี่ยวกับภารกิจการชะลอ ขึ้นต้นด้วยข้อความยอเกียรติกษัตริย์
    กล่าวถึงการชะลอพระพุทธไสยาสน์ที่วัดป่าโมกข์ ซึ่งก่อนที่จะได้มีการพระราชนิพนธ์ เรื่องนี้ พระอธิการวัดป่าโมกข์ได้เข้ามาหาพระราชสงครามแจ้งความว่า น้ำกัดเซาะตลิ่งพัง เข้ามาจวนถึงพระวิหารของพุทธไสยาสน์ พระเจ้าอยู่หัวท้ายสระจึงทรงกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระราชสงครามคิดทำการชะลอพุทธไสยาสน์ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษฐ์ซึ่งในขณะนั้นยังเป็นพระมหาอุปราชได้ทัดทานไว้ด้วยทรงคิดว่าจะทำไม่สำเร็จ แต่พระราชสงครามก็สามารถทำได้สำเร็จ พระองค์จึงได้ทรงพระราชนิพนธ์เรื่องนี้ไว้ เพื่อยกพระเกียรติเป็นพื้นนับว่าเป็นที่น่าอัศจรรย์ เลื่องลือในบุญญาธิการพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระมาก

     

    คุณค่าของวรรณคดี

    1.) ด้านภาษา การใช้คำเด่นชัด โคลงเรื่องนี้นับว่ามีสำนวนโวหารเชิงกวีดี เรื่องหนึ่ง 

     

    2.) ด้านอารมณ์ พระองค์ทรงใช้คำพรรณนาให้มองเห็นภาพพจน์ เช่น

      ขอพรพระพุทธห้าม             สมุทรไทย

      ห้ามชลลัยไหล                     ขาดค้าง

      ขอจงองค์ภูวไนย                  ทุกทวีไป

      ห้ามหายมลายล้าง             นอกเนื้อในขันธ์

      เชือกใหญ่ใส่รอกร้อย          เรียงกระสัน

      กว้านช่อชลอผันขัน             ยึดยื้อ

      ลวดหนังรั้งพัลวัน                พวนเพิ่ม

      โห่โหมประโคมอึงอื้อ          จากเจ้าประโคมไป

     

    3.) ด้านศาสนา เกี่ยวกับการนับถือพระพุทธศาสนา เช่น

    ขอพรพระพุทธรูปเรื้อง          จอมตริย์

    ขอจงภุดาธาร                        ทรงทวีป

    อันผจญพลมารดาล             พ่ายแพ้

    เรืองฤทธิปลิดไปล่แปล้         ปราบท้าวทุกสถาน

     

    เชือกใหญ่ใส่รอกร้อย            เรียงกระสัน

    กว้านช่อชลอผันขัน               ยึดยื้อ

    ลวดหนังรั้งพัลวัน                  พวนเพิ่ม

    โห่โหมประโคมอึงอื้อ   ลากเล้าประโคมไป

     ขอขอบคุณ : http://spermrung.wordpress.com/

     

    4.) นับเป็นเรื่องที่มีการยอพระเกียรติของกษัตริย์ ในที่นี้คือ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ

    5.) ภายหลังนั้น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ รวบรวมบทประพันธ์นี้ แล้วให้ชาวอิตาลีสลักบนหินอ่อน ที่พระวิหารพระพุทธไสยาสน์

    6.) เป็นเรื่องที่แต่ง เพียงเรื่องเดียวของพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ

     

     

    เจ้าฟ้าอภัย

    เรื่องเดียว โคลงนิราศเจ้าฟ้าอภัย

    จุดมุ่งหมายการแต่ง เสน่หาถึงนางผู้เป็นที่รัก

    ลักษณะการแต่ง โคลงสี่สุภาพ(เหลือแค่) 25 บท
         เนื้อหาเกี่ยวกับ การนิราศทอดเสน่หา จากนางผู้เป็นที่รักไปลพบุรี

    คุณค่าของวรรณคดี

    1.) ให้ความรู้ทางด้าน ประวัติศาสตร์ และบรรยายสภาพบ้านเมือง รวมถึงด้านพิธีการบวงสรวงเทพารักษ์
    2.) ภายหลังนั้น
     พระยาตรัง รวบรวมไว้ใน หนังสือโคลงกวีโบราณ

    3.) เป็นเรื่องที่แต่ง เพียงเรื่องเดียวของเรื่องเดียวของเจ้าฟ้าอภัย

     

     

          เจ้าฟ้ากุ้ง สิริปาโลภิกขุ (พระนามสมัยเมื่อยังบวชอยู่วัดโคกแสง)

    เรื่องที่ 1 นันโทปนันทสูตรคำหลวง

    ผู้แต่ง สิริปาโลภิกขุ (พระนามของเจ้าฟ้ากุ้ง สมัยเมื่อยังบวชอยู่วัดโคกแสง)

    จุดมุ่งหมายการแต่ง แต่งเพื่อเป็นอานิสงส์ต่อตัวกวีเอง สังเกตได้จาก การเริ่มด้วยคำว่า อันว่าข้าพระพุทธบาทยุคลกพ้นจากอันตรายยึปัททวาสรรพาพาธ ด้วยอำนาจ

    ลักษณะการแต่ง ร่ายยาววางคาถา จบด้วยโคลงสี่สุภาพ บท

    คุณค่า+ข้อควรรู้ของวรรณคดี

    1.) จัดอยู่ใน ทีฆนิกาย

    2.) เรื่องนี้ใช้สอนผู้มีความรู้ ให้เลิกทะนงตัว ทำบุญตักบาตรทำทาน ศีลธรรม งดต่อความโกรธ ละต่อมิจฉาทิฐิ

    3.) ภาษาที่โดดเด่น คือ ภาษาบาลี (แหงล่ะ พระพุทธมาซะขนาดนี้แล้ว)

    4.) เด่นเรื่อง พุทธประวัติ และพุทธสาวก

    5.) มีการกล่าวถึง พระยานาค

    6.) อีกทั้ง ยังให้ความรู้ด้านภูมิศาสตร์ประเทศไทยในสมัยอดีตอีกด้วย

     

    เรื่องที่ 2 พระมาลัยคำหลวง

    จุดมุ่งหมายการแต่ง คาดว่า อาจจะแข่งแต่งกับเรื่อง กาพย์มหาชาติ + เพื่อเป็นวรรณคดีศาสนา

    ลักษณะการแต่ง : เดินคาถา กาพย์ยานี โคลงสี่สุภาพ บท

    คุณค่า+ข้อควรรู้ของวรรณคดี

    1.) จัดอยู่ใน มาเลยยฺสูตร

    2.) ภิกษุชาวล้านนา ชื่อพุทธวิลาส เอามาแต่งต่อให้จบ

    3.) สวดสอนความประพฤติ ตอนแรกในงานแต่ง ตอนหลังในงานศพ (เรียกว่า สวดหนังสือใหญ่)

    4.) ภาษาที่โดดเด่น คือ ภาษาบาลี (แหงล่ะ พระพุทธมาซะขนาดนี้แล้ว)

    5.) มีประเด็นการฟังเทศน์คาถาพันจบ เป็นที่มาของ การกรวดน้ำ

     

    เจ้าฟ้ากุ้ง (ในสมัย)เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร

    เรื่องที่ 1 กาพย์เห่เรือ

    จุดมุ่งหมาย เพื่อความเพลิดเพลิน

    ลักษณะการแต่ง : โคลงสี่สุภาพ + กาพย์ยานีไม่จำกัด (กาพย์ห่อโคลงแบบที่3)

    คุณค่า+ข้อควรรู้ของวรรณคดี

    1.) เป็นเรื่องแรกที่แต่งในสมัยที่กลับมารับตำแหน่งเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร

    2.) เป็นที่มาของ จังหวะการพายเรือ

    3.) มีอิทธิพลต่อสมัยรัตนโกสินทร์ เช่น รัชกาลที่2 ในพระราชพิธีลอยประทีป ร.4 ร.5 ร.6 ฯลฯ

    4.) กล่าวถึงเรื่องกากีด้วย
    5.) ให้ความรู้ด้านธรรมชาติวิทยา (ล่องเรือไป ดูนกเขาลำเนาไพรไป)

     

    เรื่องที่ 2      กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง

    จุดมุ่งหมาย เพื่อความเพลิดเพลิน

    ลักษณะการแต่ง : กาพย์ห่อโคลง เวอร์ชั่น ขึ้นต้นด้วยกาพย์ยานี + โคลงสี่สุภาพ สลับกันไปเรื่อยๆ

    คุณค่า+ข้อควรรู้ของวรรณคดี

    1.) สถานที่ที่ปรากฏตามเนื้อเรื่อง คือ ตั้งแต่ท่าเจ้าสนุกถึงธารทองแดง

    (ท่าเจ้าสนุก ขึ้นมาสกลมารค(ทรงช้าง) พักที่พระตำนักธารเกษม ไปถึง พระพุทธบาทสระบุรี)

    2.) ให้ความรู้เกี่ยวกับขบวนพยุหยาตรา เครื่องสูง นางกำนัน(การแต่งกายของราชการฝ่ายใน)

    3.) ให้ความรู้เรื่อง ธรรมชาติวิทยา

     

    เรื่องที่ 3 กาพย์ห่อโคลงนิราศ

    จุดมุ่งหมาย ไม่ทราบแน่ชัด แต่คาดว่า อาจเป็นการลองวิถีการประพันธ์ใหม่ๆ และเสน่หาถึงนางบ้างนิดๆ แต่มาเฉลยตอนหลังว่า นางที่ว่า มโนทั้งนั้น = นิราศสมมติ น่ะเอง
    ลักษณะการแต่ง
     : กาพย์ห่อโคลงประเภทนิราศ เป็นเรื่องแรกที่ใช้รูปแบบนี้ 152 บท

    คุณค่า+ข้อควรรู้ของวรรณคดี
    1.) มีอีกชื่อว่า กาพย์ห่อโคลงนิราศพระบาท กาพย์ห่อโคลงนิราศธารโศก

    2.) ให้ความรู้การแบ่งเวลา ธรรมชาติวิทยา พรรณไม้พันธุ์สัตว์ การเรือนสตรีไทยโบราณ

    3.) มีอิทธิพลต่อผลงานรุ่นหลัง คือ นิราศภูเขาทอง

     

    เรื่องที่ 4 เพลงยาวเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร

    จุดมุ่งหมาย คร่ำครวญถึงนางอันเป็นที่รัก (เจ้าฟ้านิ่ม และ เจ้าฟ้าสังวาล)

    ลักษณะการแต่ง กลอนเพลงยาว 40 คำกลอน

    คุณค่า+ข้อควรรู้ของวรรณคดี

    1.) เรื่องสุดท้ายของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร

    2.) มีกล่าวถึงภูเขาในป่าหิมพานต์ เห็นได้ชัดจาก เหลี่ยมสัตภัณฑ์ยุคุนธร

    3.) สื่อถึงเรื่อง บุพเพสันนิวาส การทำบุญร่วมขัน การแบนไม่ให้ผู้หญิงเล่นเพลงยาว

    4.) อิทธิพลต่อผลงานรุ่นหลัง คือ เพลงยาวว่าความครั้งราชกาลที่ 1 , เพลงยาวพระมหามนตรี(ทรัพย์) 
    เพลงยาวหม่อมเป็ดสวรรค์ (แะได้ จมื่นราชามาตย์)นิทานคำกลอนพระอภัยมณี โคบุตร

       

     

      เจ้าฟ้ากุณฑล                       เจ้าฟ้ามงกุฎ

    ดาหลัง                                                อิเหนา

    จุดมุ่งหมาย ใช้เล่นละครใน

    ลักษณะการแต่ง เป็นกลอนบทละคร

    คุณค่า+ข้อควรรู้ของวรรณคดี

    1.) ที่มาไอเดียของเรื่อง คือมีเชลยศึกจากทางใต้มาเล่าให้ฟังเหมือนกัน

    2.) มีอิทธิพลถึง รัชกาลที่2 ได้รับการยกย่องเป็นยอดกลอนบทละครรำ

     

     

    พระมหานาค วัดท่าทราย

    เรื่องที่ 1 ปุณโณวาทคำฉันท์

    ลักษณะการแต่ง ฉันท์และกาพย์

    คุณค่า+ข้อควรรู้ของวรรณคดี

    1.) ปรากฏใน ปุณโณวาทสูตร ในสุตตันปิฎก

    2.) มีการอ้างถึงผู้มีตำแหน่งในสมัยนั้น 3 ท่าน

          2.1 ) สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ

         2.2 ) พระสัจจพันธเถระ

          2.3 ) พระเจ้าทรงธรรม

    3.) กล่าวถึง พิธีสมโภชพระพุทธบาท การมหรสพ เช่น ละครใน โขน หนัง หุ่น โมงครุ่ม ระบำ มวยปล้ำ
    การจุดดอกไม้ไฟ


    เรื่องที่ 2 โคลงนิราศพระบาท

    ลักษณะการแต่ง โคลงสี่สุภาพ(เหลือแค่) 25 บท (แบบเดียวกับโคลงนิราศเจ้าฟ้าอภัย)

    คุณค่า+ข้อควรรู้ของวรรณคดี

    1.) มีเค้าและแนวทางการแต่งคล้ายๆ กาพย์ห่อโคลงนิราศพระบาท

    2.) ในภายหลัง พระยาตรัง รวบรวมไว้ในหนังสือโคลงกวีโบราณ (แบบเดียวกับโคลงนิราศเจ้าฟ้าอภัย)

    3.) มีการพรรณนาความรู้สึกระหว่างการ เดินทางจากกรุงศรีอยุธยาไปยังพระพุทธบาทสระบุรี โดยแอบครวญถึงนางอันเป็นที่รักอยู่บ้าง ซึ่งเป็นแบบเดียวกับโคลงประพาสธารทองแดง

    4.) เด่นมาก เกี่ยวกับการบทชมความงามนางเปรียบกับ ศรสามเล่มของพระราม

    5.) ให้ความรู้ภูมิศาสตร์ของชาวมอญ การเวียนเทียนประทักษิณรอบพระพุทธบาท

    6.) มีอิทธิพลต่อผลงานรุ่นหลัง คือ โคลงดั้นนิราศเสด็จลำน้ำน้อย นำบท ศร เล่ม จากเรื่องนี้ไปใช้อีกที



     

    หลวงศรีปรีชา (เซ่ง)

    เรื่องเดียว กลบทสิริวิบุลกิติ

    ลักษณะการแต่ง กลบท 86 ชนิด มีบทที่เด่น ชนิด นั่นคือ

    คุณค่า+ข้อควรรู้ของวรรณคดี

    1.) เป็นกลบทเรื่องแรก ที่แต่งเป็นเรื่องยาว และเหลือครบสมบูรณ์

    2.) มีที่มาจาก ปัญญาสชาดก (ชาดกนอกนิบาต ใน 50)

    3.) ทริคการเล่นสำนวนแพรวพราวมากๆ สังเกตได้จาก

                3.1) กลบทกบเต้นต่อยหอย (สัมผัสกับ 4 , 2 สัมผัสกับ 5 , 3 สัมผัสกับ 6)

    เด่นโวหารด้าน ดุลเสียงดุลความหมาย สัมผัสพยัญชนะ

    3.2 ) กลบทอักษรล้วน

    สัมผัสพยัญชนะ รุนแรงมาก

    3.3 ) กลบทตะเข็บไต่ขอน 

    สระสั้นยาวสลับกัน ครุ-ลหุ สลับกัน

    4.) ในภายหลัง พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.3) โปรดให้ชำระแล้วจารึกไว้ในวัดโพธิ์(วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม)


    สรุปรวบยอด(อีกที) เรื่องที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับ พระพุทธบาท
      1. กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง
      2. กาพย์ห่อโคลงนิราศ พระบาท/ธารโศก
      3. โคลงนิราศพระบาท
      4. ปุณโณวาทคำฉันท์


     

    ++++++++++++++++++++++++++++++++++

    บทละคร

              หรือมีให้เรียกอีกอย่างว่า นาฏวรรณคดี จะเด่นฮ็อตป๊อปปูล่าร์มากในสมัยอยุธยาตอนปลาย แบ่งได้ถึง 3 แบบ 3 สไตล์แล้วแต่สูเจ้าจักโปรดปราน

             

    1.ละครชาตรี

    - ตัวละครจะมีตำแหน่งหลักๆ คือ ตัวพระ , ตัวนาง , ยักษ์ , ตัวจำอวด(ตัวตบมุขประจำเรื่อง)

    - เนื้อเรื่องส่วนใหญ่ จะเป็นพระเอกไปปราบยักษ์

    - ใช้ไม้ตะขาบ หรือกรับ บรรเลงจังหวะ

    - เป็นที่นิยมในทางภาคใต้

    - ขุนศรีสัทธา ครูละครแห่งกรุงศรีอยุธยาเอาไปประยุกต์ เกิดเป็นละครมโนห์รา เกิดฮ็อตฮิต เป็นที่กล่าวขานว่า มโนห์ราชาตรี หรือ โนราชาตรี

     

    2.ละครนอก

    - คนเล่น ชายล้วนครับ

    - เน้นความฮา ไว สนุกสนาน  ไม่ต้องพิธีรีตองมากนัก

    - เล่นเรื่องนิทานพื้นบ้านบ้าง ชาดกบ้าง

    - ในสมัยสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.4) (**แก้ไขแล้ว**) อนุญาตให้หญิงมาร่วมเล่นด้วยได้ (เหมือนปรับชายล้วนเป็นสห. บ้างในบางรร.)

     

    *พิเศษ สุดยอดละครนอก มี 14 เรื่อง อิทธิพลแรง 6 เรื่อง

            เพราะอะไรถึงแรง เพราะมีผู้ที่เอาไปรีเมคน่ะสิ!

     

    ร.2 แต่งใหม่ 5 เรื่อง คือ
      • สังข์ทอง
     
     • คาวี
     
     • ไกรทอง
     
     • ไชยเชษฐ์
     
     • มณีพิชัย

    ร.3 แต่งใหม่ 1 เรื่อง คือ สังข์ศิลป์ไชย ตอนตกเหว

     

    *พิเศษ สำนวนจากละครนอกเบาๆ

     

    ๑. กระต่ายแก่แม่ปลาช่อน 
    ๒. กินที่ลับไขที่แจ้ง
    ๓. กิ้งก่าได้ทอง
    ๔. แก้เกี้ยว
    ๕. แก้มือ
    ๖. กอดเข่าเจ่าจุก
    ๗. กรรมตามทัน
    ๘. ขว้างงูไม่พ้นคอ
    ๙. ข่มเขาโคขืนให้กินหญ้า
    ๑๐. เขียนเสือให้วัวกลัว
    ๑๑. ความวัวไม่ทันหาย ความความเข้ามาแทรก
    ๑๒. คอเป็นเอ็น
    ๑๓. คางเหลือง
    ๑๔. งามหน้าห้าไร่
    ๑๕. จองหองพองขน
    ๑๖. กินแหนงแคลงใจ
    ๑๗. ใจเสาะเหมือนปลาซิว
    ๑๘. ใจเบา
    ๑ ๙. ช้างสารงูเห่า ข้าเก่าเมียรัก
    ๒๐. ดับไฟหัวลม  + ดอกพิกุลจะร่วงจากปาก
    ๒๑. ตาขาว

    ๒๒. ตีงูให้หลังหัก
    ๒๓. ตีวัวกระทบคราด
    ๒๔. ตีอกชกหัว
    ๒๕. เต้นแร้งเต้นกา
    ๒๖. ถ่านไฟเก่า
    ๒๗. บั้งแบว (บ้องแบ๊ว)
    ๒๘. บ้านนอกขอกนา
    ๒๙. บุกป่าฝ่าหนาม
    ๓๐. บุญหนักศักดิ์ใหญ่
    ๓๑. ปั้นน้ำเป็นตัว
    ๓๒. ปากโป้ง
    ๓๓. ปลูกเรือนตามใจผู้อยู่
    ๓๔. ปึ่งปั้น (ปั้นปึ่ง)
    ๓๕. พระอินทร์มาเขียว ๆ
    ๓๖. พาลรีพาลขวาง
    ๓๗. ฟื้นฝอยหาตะเข็บ
    ๓๘. มิตรจิตมิตรใจ
    ๓๙. ไม่เข้ายา
    ๔๐. รักพี่เสียดายน้อง

    ๔๑. ราพูเข้าพระเสาร์แทรก
    ๔๒. ลางเนื้อชอบลางยา
    ๔๓. ลูกไก่ในกำมือ
    ๔๔. แล่เนื้อเกลือทา
    ๔๕. ลดเลี้ยวเกี้ยวพาน
    ๔๖. ล้มลุกคลุกคลาน
    ๔๗. วัวสันหลังขาด (วัวสันหลังหวะ)
    ๔๘. สาวใส้ให้กากิน
    ๔๙. เส้นผมบังภูเขา
    ๕๐.หนามยอกเอาหนามบ่ง
    ๕๑. หยิกเล็บจะเจ็บเนื้อ
    ๕๒. หัวเหาเต่าเล็น
    ๕๓. อกหัก
    ๕๔. อกไหม้ไส้ขม
    ๕๕. อาภัพเหมือนปูน
    ๕๖. เอาทองไปรู่กระเบื้อง

     

    3.ละครใน

    - คนเล่น หญิงล้วนค่ะ (เป็นข้อสังเกตว่าทำไมรูปพรรณสัณฐานตัวพระแต่ละเรื่องช่างเคะเสียจริง เพราะถ้าหากว่า
    เกิดบรรยายให้พระเอกถึกทึนบึกบึน หน้าตาคมสัน เข้มสะระดี่ จะไปหาสาวกล้ามที่ไหนมาเล่นล่ะคะคุณ...)

    - เน้นความอ่อนช้อย งดงาม ไพเราะ ท่วงท่าลีลา ความคมคายของบทละคร

    - เล่นในพระราชวัง only

    - เรื่องที่นิยมใช้เล่นละครใน คือ รามเกียรติ์ อุณรุท ดาหลัง และอิเหนา

    *พิเศษ สำนวนจากละครในเบาๆ : งอมพระราม วัดรอยเท้า , ว่าแต่เขาอิเหนาเป็นเอง

     

    เท่าที่สรุปได้ก็จะมีเท่านี้แหละจ้ะ ในส่วนอื่นๆ แนะนำให้น้องๆ
    เปิดอ่านในหนังสือประวัติวรรณโดยละเอียดถี่ถ้วนอีกครั้ง ก็จะทำให้ทำข้อสอบได้แน่นอนจ้ะ จุ๊บๆ
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×