คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #11 : LAO I : ลาวหนึ่งจิงแท้หวะ? ตัวะยัวะกันคักๆ!
LAO I ภาษาลาว 1
รหัส 2245101
**ข้อมูลจาก เทอม 1 ปีการศึกษา 2561**
จำนวนเซค |
1
เซค |
||
ความยากในการลง |
Normal
|
||
เทอมที่เปิด |
เทอม
1 |
เทอม
2 |
Summer |
เปิด |
- |
- |
|
เวลาที่มักจะได้ |
มักจะเป็น บ่าย (13.00
- 16.00) |
||
สถานที่เรียน |
คณะอักษรศาสตร์ มักจะเป็นตึก BRK
(บรมราชกุมารี) |
||
อาจารย์ผู้สอน |
อ.ชัยรัตน์ พลมุข (ครูส้ม) |
||
เงื่อนไขวิชา |
- |
||
เงื่อนไขคุณสมบัติผู้เรียน |
ไม่มี จะปีไหน
จะคณะไหนก็ลงได้ค่ะ ตามสบายจ้า |
||
ประเภทกลุ่มวิชา |
เมื่อลงทะเบียนวิชานี้แล้วจะนับเป็น Gen
Lang / วิชาเลือกในเอกภาษาไทย (อักษร) /
เสรี อย่างใดอย่างหนึ่ง |
||
การตัดเกรด |
(น่าจะ)อิงเกณฑ์และกลุ่ม |
||
การสอบ |
Midterm |
Final |
Quiz
/ สอบย่อยทั่วไป |
มี |
มี |
มี |
Q: ภาษาลาวยากมั้ย ถ้าไม่ใช่คนอีสานแล้วมาเรียนแล้วจะรอดมั้ย
?
A: คำถามประเภทนี้ตอบยากจังค่ะซิส …คือมันก็มีส่วนที่ง่าย(โคตรๆๆๆๆ)กับยากรวมๆ กัน
ความง่ายก็คือ
ตัวอักษรทั้งสระ พยัญชนะ แทบจะเหมือนไทยทุกอย่าง ต่างกันแค่ไม่กี่ตัว
ไวยากรณ์ก็เหมือนกันแบบ เออ ก็คล้าย(เน้นว่า คล้าย ไม่ใช่เหมือน)ภาษาอีสานของไทยอะแก
คำไทยเรียงแบบไหน ระบบคำลาวก็เรียงแบบนั้น
ส่วนความยากก็คือ
คำศัพท์บางคำก็ต้องเรียนรู้ใหม่ หรือคำที่ใช้ตรงกับไทย แต่รูปเขียนกลับไม่เหมือนกัน
(เช่น ไทยเขียน แน่นแฟ้น ที่นั่นเขียน แหน้นแฟ้น)
และด้วยความที่มันคล้ายกับไทยมากๆ นี่แหละที่เป็นดาบสองคม
เพราะบางทีเราก็จะเผลอเขียนตัวอักษรหรือสระแบบไทยไปโดยไม่รู้ตัว หรือแก๊งคนอีสานทั้งหลาย
ก็มักจะติดการใช้คำศัพท์แบบอีสานแล้วคิดว่าน่าจะแทนกันได้
แต่บางคำอีสานกับลาวมันก็ไม่ได้ใช้เหมือนกันไง โดนหักคะแนนจากจุดนี้กันกระจุยกระจายเลยจ้า
พูดจริง
และจุดที่ยากที่สุดของภาษาลาวเท่าที่ดิฉันเผชิญมา
ก็คื้ออออ การออกเสียงวรรณยุกต์
ต้องอธิบายไว้ก่อนว่าภาษาลาว
ไม่ใช่ภาษาถิ่น ไม่ใช่ภาษาทำนองเสียงแบบอังกฤษ ทุกคำมีวรรณยุกต์กำกับ
มีกฎในการออกเสียง จะออกเสียงสูงต่ำมั่วๆ ไม่ได้ เพราะคำที่ออกเสียงผิดโทนแล้วความหมายเปลี่ยนก็มีถมไป
แล้วความวายป่วงก็คือ เขาใช้ ไม้เอก ไม้โท เหมือนเราเด๊ะ …แต่พออยู่กับคำนี้ ออกเสียงแบบนึง อยู่กับตัวนั้น ออกเสียงอีกแบบนึง เช่น
บ่ ไม่ออกว่า /บ่อ/ แต่ออกเสียงว่า /บอ/ หรือคำว่า น้อย ไม่ออกว่า /น๊อย/ แต่ออกเสียงว่า /หน้อย/ ระยะแรกนี่ทรมานมาก ตีกับภาษาไทยสำเนียงกลางในหัวไปหมด แต่เรียนๆ
ไปสักพัก อ่านไปบ่อยๆ เดี๋ยวสมองมันก็จะชินแล้วออกได้ถูกเสียงเองตามธรรมชาติล่ะนะ
(มั้ง)
Q: เรียนอะไรกันบ้าง ?
A: ครบทุกแขนงเท่าที่เธอจะนึกได้
ไวยากรณ์ :
เพราะว่าเหมือนภาษาไทยทุกกระเบียดนิ้ว
เลยจะสอนพวกคำเชื่อมแทนมากกว่า
ศัพท์ :
ราวๆ 500 คำได้ มีทั้งเก็บศัพท์จากชีทเสริมที่อ.แจกและให้แปลไปพร้อมกันในห้อง + ท่องผ่านหนังสือ
“ฝึกทักษะภาษาลาวเวียงจันทร์” ซึ่งมักจะมีหน้าศัพท์แยกไว้
รวมถึงมีหน้าดัชนีศัพท์ด้วย ทำให้เราสามารถค้นศัพท์ได้ไม่ยากเท่าไหร่นัก
ฟัง :
ฝึกจากการดูหนังลาว และฟังข่าวลาว
พูด :
ฝึกจากคอนเวอร์เซชั่นในหนังสือ ให้แสดงละคร มีสอบอ่านออกเสียง
อ่าน : นอกจากอ่านในหนังสือ บางทีก็มีวรรณกรรมแปลลาว
กับวรรณคดีมาให้อ่านเล่น(?)ในคาบด้วย
เขียน : มีให้เขียน Dictation เขียนบทละครลาวเอง
เขียนเรียงความ
วัฒนธรรม :
สอดแทรกไว้ตามคอนเวอร์เซชั่นเป็นระยะ และมีงานพรีเซนท์ความรู้เกี่ยวกับประเทศลาว
Q: หนู ask real นี่ตัว 1 จริงเหรอคะ ทำไมมันดูไปลึกมาก…
A: นั่นสิ…
แต่ว่าทุกคนก็ทำได้อะ เพราะภาษาลาวอะ มันก็คือแฝดคนละฝาของภาษาไทยไง คิดดูเถอะ
มาคาบสอง อ.เปิดหนังลาวแบบ without subtitle ให้ดู ทุกคนก็ยังดู(พอ)รู้เรื่องเลย เอาเป็นว่า ถ้าแกเป็นคนไทย
แกก็น่าจะทำความเข้าใจ รอดจากวิชานี้ได้ไม่ยาก
และถ้ามองโลกในแง่ดี
มันเข้มข้นครบวงจรขนาดนี้ เรียนจบตัวนี้ปุ๊บ ก็คือไปเที่ยวลาวได้สบายหายห่วงแน่นอนค่า
คอนเฟิร์ม
Q: สอบย่อยที่ว่ามีอะไรบ้าง
?
A: 1.
เขียนทวย (Dictation) ทำประมาณ 4 ครั้งในเทอม มักไม่แจ้งล่วงหน้า
เพื่อให้นิสิตดึงสัญชาตญาณความรู้ที่แท้จริงในตัวออกมาให้ประจักษ์ เป็นการบอกคำลาว
แล้วเราก็เขียนให้ถูกตามอักขระ
2.
เล่นละครภาษาลาว 1 ครั้ง
ให้จับกลุ่มเขียนบทกันเอง ต้องส่งบทที่เขียนเป็นภาษาลาว พร้อมกับแสดงหน้าชั้น
(ความจริงในซีรีบัสเขียนไว้ว่าให้เล่น 3 ครั้ง
แต่ดูจากสภาพนิสิตที่กรีดร้องไม่ไหวแล้วกับการเล่นละครมาก อ.จึงปรับลดเหลือแค่ครั้งเดียวไปในที่สุด)
3.
สอบฟัง มีแค่ 1 ครั้ง อ.จะเปิดข่าวลาวให้ฟัง
แล้วเอาข้อมูลนั้นไปตอบคำถามในข้อสอบ
4.
สอบพูด(ความจริงคือ สอบอ่านออกเสียง) มีแค่ 1 ครั้ง
อ.ให้จับคู่แล้วนัดเวลาไปสอบต่อหน้าอ. โดยอ.จะให้เท็กส์วิชาการกับวรรณกรรมมา แล้วต้องอ่านออกเสียงให้ถูกต้อง ชัดเจน
สำเนียงได้ วรรณยุกต์ไม่เพี้ยน
Q: มีการบ้าน/เปเปอร์เยอะมากมั้ย ?
A: รู้สึกจะแทบไม่มีเลยนะ
การบ้านที่เคยได้ก็คือให้จับกลุ่ม เตรียมพรีเซนท์เกร็ดความรู้เกี่ยวกับประเทศลาว
(ด้วยภาษาไทย)แล้วก็ไปเขียนเรียงความ กับเขียนความคิดเห็นหลังจากดูหนังลาวจบ
มีแค่นี้จริงๆ เรียกว่าการบ้าน นอกเหนือจากนั้นก็คือจะเป็นสอบย่อย
ไม่ก็กิจกรรมในชั่วโมงทั้งหมด
Q: โดดได้มั้ย ?
A: อาจารย์ส้มแกซีเรียสกับเรื่องกฎการสายการขาดมากๆ
นะจ๊ะ มีคะแนน Attendance 5 คะแนนไว้ปาดคออิเจ้าพวกนิสิตขาโดดอยู่
หรือต่อให้โดดเพราะมีเหตุอย่างกิจกรรม ถ้าไม่ส่งใบอนุญาตก่อน อ.ก็ไม่ค่อยโอเคเท่าไหร่ เพราะงั้น อย่าโดดเลยเหอะ
ความคิดเห็น