ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    คลังสรุปมหากาพย์ข้อสอบTU : by. BiwTigerPisces

    ลำดับตอนที่ #21 : [For1เทอม2] สรุป อยู่กับก๋ง

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 77.19K
      420
      3 พ.ย. 57

    สรุปหนังสืออ่านนอกเวลา : อยู่กับก๋ง

    By.BiwTigerPisces

     


         สวัสดีเพื่อนๆ ที่น่ารักทุกท่าน มาพบกันอีกรอบกับหนังสือนอกเวลาที่มีคนรีเควสอันดับต้นๆ อีกตามเคย รอบนี้คือ 'อยู่กับก๋ง' ที่จะสอบใน for ที่จะถึงนี้แล้วล่ะ ดังนั้นก็เลยสรุปมาให้อ่านกัน ก่อนที่จะเข้าสู่ภาวะไฟล้นก้นนะจ๊ะ

    *การสรุปนี้เป็นการย่อเนื้อเรื่อง ถ้าอยากติดตามความดุเด็ดเผ็นมันส์ของเนื้อเรื่อง(ที่เกิดจากความติสต์แตกของตัวละคร) และอยากเก็บรายละเอียดพวกสาระแนวคิดมากกว่านี้ แนะนำให้อ่านเนื้อเรื่องเต็มๆ แล้วมาอ่านอันนี้ซ้ำอีกทีเพื่อความชัวร์จ้า


    ตัวละคร

    ก๋ง
         อากงวัยย่าง70ปี ผู้เป็นปู่ของหยก เป็นคนจีนเชื้อชาติจีนโดยกำเนิด แต่อพยพเข้ามาอาศัยในไทย ก๋งเคารพกฎบ้านเมืองของไทย ไม่แอนตี้วัฒนธรรมใดๆ แต่ก็ไม่ทิ้งวัฒนธรรมที่ควรอนุรักษ์ในฝั่งจีนเหมือนกัน ก๋งเป็นผู้ที่เหมือนจะผ่านอะไรหลายๆ อย่างในชีวิตมาเยอะ ทำให้มีทัศนคติที่กว้างไกล ส่งผลให้ก๋งเป็นผู้อาวุโสที่คนในชุมชนให้ความเคารพ สะดวกใจจะมาขอคำแนะนำปรึกษาด้วยเสมอ

    หยก
         เด็กชายวัยประมาณ 13 ปี เป็นตัวหลักในการดำเนินเรื่อง ทุกสถานการณ์จะบรรยายผ่านความนึกคิดและทัศนคติของหยก ฮีมีนิสัยขยันแบบขยันสุดๆ รักก๋งมาก นับถือครูบรรยงค์สุดๆ (เพื่อความชัดเจนก็คิดซะว่าเป็นร่างแยกของวันเฉลิมก็ได้)

     

     

    ป้าสำเนียง
         ป้าร้านขายหมากพลูที่ตลาด รู้จักกับหยกและก๋งดี เพราะก๋งติดหมากพลูมากฝ่ายก๋งเลยมาแวะซื้อบ่อยๆ จิตวิญญาณแห่งแม่ค้าจีนเต็มเปี่ยม (พร้อมจะเก็งกำไรทุกทาง แต่ถ้าคนรู้จักก็จะลดจะแถมให้อย่างน่าอัศจรรย์) ในช่วงฤดูผลไม้ออก ป้าจะเหมารถเข้าไปรับทุเรียนมาขายเป็นรายได้เสริมอีกทางหนึ่งเป็นประจำทุกปี

     

    คุณนายทองห่อ (ฉายา คุณนายสุดเสียงสังข์)
         ศรีภรรยาปลัดประจำอำเภอ เรือนร่างอวบอัด ประทินโฉมจัดเต็มแฟชั่นตลอดเว นางเป็นคนที่อีโก้สูงมากๆ เรื่องสร้างภาพลักษณ์นี่แหละงานถนัด นางมีข้อดีคือเป็นคนมีน้ำใจและความเมตตาในระดับหนึ่ง มักจะมาเรียกหยกไปใช้และให้ค่าขนมบ่อยๆ

     

    คุณ/ไอ้ป้อม
         ลูกชายของคุณนายทองห่อและปลัดอำเภอ ไหวพริบสูง เล่ห์เหลี่ยมเยอะ แอ๊บดีต่อหน้าพ่อแม่ แต่ในห้องก็มาแนวหัวโจกอีกแก๊งหนึ่ง ด้วยความที่พ่อแม่เลี้ยงแบบสปอยล์ให้ท้ายแต่เด็ก เลยเป็นประเภทหนักไม่เอาเบาไม่สู้ มีชีวิตแบบคุณชายยยยย ตลอดมา

     

    เฮียกวง

         คนเลี้ยงหมูประจำชุมชนนี้ ขยันขันแข็ง ใจดี สนิทกับบ้านก๋งเหมือนกัน

     

    เฮียเหล็ง
         คนเชือดสัตว์หลักประจำชุมชน แม้จะดูโหด แต่ฮีก็ทำเพื่อครอบครัวฮีนะ

     

    ครูบรรยงค์
         ครูวัยอายุเพิ่งขึ้นหลัก4 เป็นครูในโรงเรียนประถมประจำอำเภอ โสดสนิท มุ่งแต่งาน สนิทกับบ้านก๋งมาก รวมถึงเอ็นดูและเมตตากรุณาหยกดีเลิศ ตอนจบครูเลือกที่จะอุปการะการศึกษาของหยกด้วยเพราะเห็นว่าการศึกษาเท่านั้นที่จะฉุดให้หยกได้มีทางเลือกชีวิตที่ดีกว่านี้ได้

     

    ครูนิล
         ครูพละประจำโรงเรียนประถม มือหลักแห่งควงไม้เรียวหวดเด็ก

     

    ลำดวน
          เด็กหญิงที่นั่งติดกับหยก นางเป็นคนไทยแท้ลูกชาวนา มีน้ำใจกับหยกมากมาย

    พี่หาญ + พี่จำเรียง
          สามีภรรเมียข้าวใหม่ปลามันที่หอบผ้าหอบผ่อนหนีตามกันมาชนิดวิวาห์เหาะ แรกๆ ก็อยู่กันอย่างอัตคัด แต่ด้วยความรักจริงก็จับมือกัดก้อนเกลือกินกระทั่งตั้งหลักสร้างครอบครัวที่มีความสุขได้ในที่สุด

     

    สมเกียรติ (ลูกศึกษาธิการ)
           ผู้สร้างความหลังฝังใจของหยก ฮีมาแนวตัวร้ายในนิยายเด๊ะๆ ว่า เป็นลูกของคนมีเส้น แล้วทำตัวกร่าง ไปแกล้งลำดวน พอหยกมาปกป้องเลยมีเรื่องชกต่อยกัน ปรากฏว่าฮีต่อยแพ้เลยแงๆ ไปฟ้องพ่อ ทำให้หยกโดนเล่นงานตามระเบียบทั้งๆ ที่หยกไม่ผิด

     

    ศึกษาธิการอำเภอ
            ตัวร้ายในนิยายสำเร็จรูป เป็นผู้ใหญ่ผู้มีอิทธิพล ลูกกูผิดถือว่าไม่ผิด ใครๆ ในโรงเรียนก็เกรงกลัวเลยใช้อำนาจกร่างไปในทางที่ผิด

     

    คุณนิกร นายอำเภอ
         นายอำเภอแสนดีที่ทุกคนรักใคร่เคารพนับถือ มีบทแค่ว่าเป็นช่วงที่กำลังจะย้ายออกไปลงงานที่ใหม่ที่ดีกว่าเดิม

     

    ป้าเง็กจู
          อาซิ้มวัยใกล้หมดวัยทองเต็มแก่ เป็นโทรโข่งประจำตลาด-ห้องแถว ไปนั่งแปะที่ไหนต้องมีเรื่องเม้าท์มอยแสบๆ คันๆ ออกจากปากซิ้มแก เป็นผู้ที่ยึดมั่นในขนบธรรมเนียมจีนมาก มีอคติกับคนไทยแท้หลายอย่าง ซึ่งจากการที่ถือคติมากเกินไป กลายเป็นว่าขนบที่ถืออยู่ตลอดนั่นแหละเป็นสิ่งที่สร้างบ่วงทุกข์ให้กับตัวซิ้มแกเอง แต่ยังดีที่ตอนสุดท้ายป้าเง็กจูเลือกที่จะผ่อนปรนคลายทิฐิลง ทำให้ชีวิตมีความสุขขึ้น

     

    เฮียเพ้ง
         หนุ่มจีนเพื่อนข้างบ้านหยก เป็นพี่ชายข้างบ้านที่มาเลี้ยงและเป็นเพื่อนเล่นกับหยกตั้งแต่ตอนเด็กๆ เฮียแกทำงานโรงวุ้นเส้นเป็นฝ่ายเครื่องยนต์ ขาวตี๋ล่ำ (เดี๋ยวๆๆ...) เป็นตัวอย่างหนุ่มห้องแถวที่ก่อร่างสร้างตัวตั้งแต่ไปเป็นลูกจ้างเขา ขยันทำงานให้มีวิชาติดตัวและพัฒนาตัวเองขึ้นเรื่อยๆ เฮียเพ้งได้ตกหลุมรักสาวไทยนางหนึ่ง ทำให้มีเรื่องกับแม่ผู้เคร่งครัดว่าคนจีนได้กับคนไทย ไม่เอานะเฟร้ย แทบจะบ้านแตก กลายเป็นฉากเปิดของนิยายเรื่องสั้นเรื่อง ลิขิตรักขัดใจแม่/แม่ผัว

    พี่นวล
          สาวชาวไทยแท้ อาชีพหาบข้าวแกงขนมจีนมาขายหน้าโรงงานวุ้นเส้น เป็นคนหนักเอาเบาสู้ ขยันขันแข็ง ปิ๊งรักมีใจให้กับเฮียเพ้ง แต่ต้องต่อสู้กับอุปสรรคความรักนั่นคือ แม่ผัวตัวดีที่ไม่ยอมลูกสะใภ้คนไทยเด็ดขาด แต่ด้วยความดีสม่ำเสมอของนาง เมื่อแต่งงานเข้าบ้านสามีไปแล้ว แม่ผัวจึงเปลี่ยนจากที่ด่านินทาได้เช้าเย็น กลายเป็นอวยลูกสะใภ้ทุกที่ที่ป้าเง็กจูไปเม้าท์มอย


    เฮียกุ่ย
          พ่อครัวฝีมือขึ้นชื่อประจำตลาด-ห้องแถว




    บทที่ 1 รุ่งอรุณ

     

    อารัมภบทชีวิตและกิจวัตรยามเช้าของก๋งและหยก (แค่มันจะตื่นบรรยายซะยาวกินไป2หน้า) โดยก๋งจะตื่นมาก่อนเพื่อทำซาลอนจัดแต่งหนวดเครา แล้วพอตะวันขึ้นแยงตูดหยกจะค่อยตื่นมาพับเก็บที่นอน จัดน้ำชา ออกไปจ่ายตลาด ซึ่งของที่ซื้อบ่อยและมีดีเทลมากที่สุดเห็นจะเป็น หมากพลู เพราะว่าก๋งติด&เสี้ยนหมากพลูมาก ขนาดหน้าไหนที่แล้งหมากพลู ก๋งจะกินสิ่งที่เรียกว่า หมากอีแปะ แก้ขัดแทน และพอหลังจากไปตลาด หยกก็จะกลับมาทำข้าวเช้า กินข้าวเช้า แล้วค่อยไปเรียน (แมร่งไปเรียนทันได้ไงวะ หรือโรงเรียนมันเข้า9โมง...)

    ของเด็ดประจำบท :

    1. ชายจีนสมัยโบราณ ถ้าเป็นโสดจะเริ่มไว้หนวดตอนอายุ 40 ปี+ แต่ถ้ามีครอบครัวให้มีลูกคนแรกก่อนก็ไว้ได้เลย

    2. 'คนที่ไม่เป็นระเบียบชีวิตจะยุ่งเหยิง คนที่ไม่รักความสะอาดจะหาความสดชื่นแจ่มใสไม่ได้ และคนที่ไม่รักความสุจริตชีวิตจะมีมลทิน’ ก๋งกล่าวเบาๆ

    3. 'ไม่ต้องอายที่เป็นคนจน แต่ควรอายที่เป็นคนเลว เพราะความจนความรวยเราเลือกไม่ได้ แต่ความดีความเลวเราเลือกทำเลือกเว้นได้

     

    บทที่2 พบกันที่ตลาด

    เริ่มต้นหัววันด้วยการที่หยกไปช็อปปิ้งตรีนเปล่าที่ตลาด นามว่า ตลาดกลาง เวลาเดินในตลาดก็จะพบคนนั่งรอแถวหน้าบ้านกันอยู่ถมเถไป พวกนี้จะเป็นประเภทรับจ้าง เขาจะไม่ออกแรดไกลจากบ้าน เผื่อจะมีคนมากวักมือเรียกจ้างไปทำโน่นนี่ตามประสา และหยกไปซื้อพวกหมูเล็กๆ น้อยๆ ผัก เครื่องปรุง แล้วก็หมากพลูของสำคัญ ทำให้ได้เจอกับป้าสำเนียงที่ขายหมากพลูอยู่ ป้าสำเนียงก็เลยแถมให้เสร็จสรรพ

    ของเด็ดประจำบท :

    1. ความสุขของคนร่ำรวยคือการนั่งเก็บเกี่ยวผลจากงานที่ทำสำเร็จไปแล้วในอดีต แต่คนจนจะมีความสุขกับการได้เริ่มทำงาน

    2. ‘คนที่เขารวยได้น่ะเพราะเขามีโอกาสและมีความสามารถ... ไม่ใช่ว่าดวงดีแล้วจะร่ำรวยได้ ก่อนจะสร้างตัวได้สำเร็จเขาจะต้องผ่านการทำงานอย่างหนักมาแล้วด้วย รู้จักหาเงิน รู้จักเก็บงำ รู้จักคิดหาช่องทางต่อทุน ฐานะของเขาจึงเป็นปึกแผ่นขึ้นมาได้...ไม่มีใครโชคดีถึงกับนอนขี้เกียจอยู่บ้านข้างถนนแล้วเทวดาจะโยนถุงเงินลงมาให้ถึงหน้าตัก...

    3. ผู้ซื้อเป็นนาย ผู้ขายเป็นทาส

    4. แสดงแนวคิดการค้าแบบจีนๆ คือ ทำยังไงก็ได้ให้กำไรได้มากที่สุด และจะตั้งขายอยู่จนกว่าจะหมดโดยราคาเดิมนับว่าอดทนยิ่ง นับถือลูกค้าเป็นพระเจ้า แต่ขายแบบไทยคือ ลดแถมๆให้มันหมดๆจบๆไปละกันแหละ ลูกค้าคนไหนเรื่องมากเดี๋ยวปั๊ดตบทิ่ม

     

    บทที่3 ควันไฟกับชีวิต

    ระหว่างที่หยกเดินกลับบ้าน ก็ได้เจอกับคุณนายทองห่อเมียปลัดอำเภอ เลยถูกชวนคุยนิดๆ หน่อยๆ ซึ่งในตัวหนังสือจะเล่าย้อนภูมิหลังของคุณนายทองห่อว่า แกมีลูกชายหัวแก้วหัวแหวนคนนึง ชื่อ ป้อม เป็นเพื่อนกับหยก จึงได้รู้จักมักจี่กับหยกดี ...ตัดกลับมาสถานการณ์ปัจจุบัน คุณนายแกก็บอกว่าเย็นนี้จะมีงานให้ทำ เดี๋ยวมาเจอตอนเย็นละกัน เมื่อกลับไปถึง (ยังตอนเช้าอยู่นะเออ) หยกก็เริ่มเปิดครัวเชฟกระทะเหล็ก ก่อเตาเตรียมตัวทำกับข้าวละ

    ของเด็ดประจำบท :

    1.ควันไฟทำให้รู้ว่าครอบครัวนั้นยังไม่ถึงวิกฤติการณ์ความอดอยาก

    2.เกียรติ ยศ สรรเสริญ และลาภ เป็นสิ่งที่ไขว่คว้าหาเมื่อท้องอิ่มแล้วต่างหาก

     

    บทที่4 ในสำรับคนยาก

    หยกเริ่มลงมือทำกับข้าวอย่างโปร เสร็จแล้วก็เตรียมตัวจะล้างจาน ก๋งเลยปรามให้ไปโรงเรียน เดี๋ยวก๋งจัดการเอง หยกก็มาแนวโคตรจะพ่อบ้านพ่อศรีเรือนงาม หวีดร้องกับอากงตัวเองว่า ไม่เป็นไรรรรร ขอล้างก่อน เดี๋ยวค่อยไปเรียนก็ได้ ไม่เป็นไรครับ
    พอถึงจุดนี้ ตัวหนังสือจึงบรรยายย้อนไปเรื่องเกี่ยวกับการศึกษาของหยกว่า ความจริงหยกอยากจะเลิกเรียนมาช่วยงานหาเงินเข้าบ้านเต็มที่ แต่ก๋งเห็นความสำคัญการศึกษา จึงยังคงให้หลานคนเดียวเรียนต่อไม่ว่าฐานะทางบ้านจะเป็นยังไงก็ตาม

    ของเด็ดประจำบท

    1. คนจีนไม่ชอบอาหารคาว ไม่ว้อนท์รสจัด เน้น ผัด ต้ม นึ่ง

    2. พ่อแม่บางบ้าน ตัวเองกินครึ่งช้อนดีกว่าให้ลูกได้กินเพียงครึ่งท้อง

    3. บอกวัฒนธรรมง่ายๆ ของจีน เขาจะทักกันว่า ‘กินข้าวหรือยัง’ มีความหมายโดยนัยว่า ‘วันนี้พร้อมทำงานแล้วสินะ

    4. คนจีนให้ความสำคัญกับลูกชายมากกว่าลูกสาว

    5. คนจีนส่วนใหญ่เน้นให้ลูกหลานทำงาน มาก่อนการเรียนเสมอ

     

    บทที่5 จากคอกหมูถึงโรงฆ่า

    มีการเล่าถึงที่มาของหมูในกับข้าวมื้อนี้ให้ฟังว่า ก่อนจะมาเป็นอาหารผ่านอะไรมาบ้าง

    ขั้นแรก ต้องผ่านการเลี้ยงหมู ซึ่งในแถบนี้คนที่เลี้ยงหมูเป็นงานเป็นการคือ เฮียกวง เป็นมิตรกับทางบ้านดี

    ขั้นสอง ต้องเอาหมูไปเชือด และคนทำก็คือ เฮียเหล็ง เฮียแกจะเป็นคนเชือดหมูก่อนจะส่งต่อให้พ่อค้าแม่ขายมาซื้อไปขายต่อที่ตลาด

    ส่วนหยกก็มาแนวดัดจริตว่า ไม่นะ ฆ่าหมูได้ยังไง เลือดเย็น เลือดเย็นจริงๆ ว่าพลางตักหมูบะช่อเข้าปากกิน

     

    บทที่6 นักเรียนตีนเปล่า

    ย้อนกลับมา หยกยังคงล้างจานอยู่อย่างสบายใจเฉิบ(เหมือนจะไม่พะวงเรื่องไปรร.สายเลยเนอะ) ตัวหนังสือก็บรรยายเล่าถึงสิ่งที่เอามาล้างคือน้ำขี้เถ้า แต่บางครั้งถ้าสกปรกมากก็จะใช้สบู่ที่ทำเอง สบู่นี้ทำจากน้ำมันมะพร้าวเป็นหลัก กลิ่นหืน ใช้ได้ทั้งอาบ และซักล้าง (สโลแกนประมาณว่า ใช้ล้างจานก็ดี ใช้ล้าง...ี.ก็ได้ วรั้ย ฉันไม่ได้ตั้งใจพิมพ์อันนี้นะ) เสร็จแล้วจึงแต่งตัวไปโรงเรียน และตามชื่อบท หยกไม่มีถุงเท้าและรองเท้า ฮีย่ำเท้าเปล่าไปเรียนตลอดเว ระหว่างเดินทางไปก็เล่าสถานที่ต่างๆ ในอำเภอ เดินไปดราม่าไปว่า ชาวบ้านมีรถตุ๊กตุ๊ก สามล้อ จักรยาน ขับแซงหน้า ตัวเองเท้าเปล่า ใช่สิ เด็กห้องแถวแบบนี้แหละดีแล้ว

    //ดราม่าอะไรของมันเนี่ย....

     

    บทที่7 ครูบรรยงค์

    ตามชื่อบท ครูบรรยงค์ที่ปั่นจักรยานมา เห็นสภาพหยกที่ยังเดินนวยนาดว่าพลางทางชมคณานกโผนผกจับไม้อึ่งมี่มิไหว เลยอาสาบอกให้หยกซ้อนท้ายไปที่โรงเรียนด้วยกัน

    บทนี้ก็จะเป็นบทเล่าข้อมูลภูมิหลังครูบรรยงค์ มีใจความสรุปว่า ครูแกเป็นครูที่ดีดีกรีวิหารโอลิมปัสมาโปรด สนิทสนมกับทางบ้านหยกเป็นพิเศษ อีกทั้งเป็นคนที่คอยผลักดันให้หยกเรียนต่อ

    ความรู้สึกดีๆ เหล่านี้ที่ครูบรรยงค์มอบให้ ทำให้หยกอยากเรียกครูบรรยงค์ว่า พ่อ เลยแหละ

     

    บทที่8 โรงเรียนริมวัด

    ครั้นถึงโรงเรียน หยกก็เข้าไปในห้องเรียนเพื่อวางกระเป๋าตามกิจปกติ ก็จะเป็นบทบรรยายห้องเรียน บรรยายถึงข้อมูลทั่วไปของโรงเรียน ฉากสำคัญคือการเปิดตัวของ ลำดวน เป็นเด็กหญิงที่นั่งติดกับหยก นางเป็นคนไทยแท้ ลูกชาวนา หนักเอาเบาสู้ เรียนเก่ง มีน้ำใจต่อหยกมากมาย เม้าท์กันได้แป๊บเดียว เสียงกริ่งให้ไปเข้าแถวเคารพธงชาติก็ดังขึ้น

    เมื่อร้องเพลงชาติ ก็นึกถึงก๋งขึ้นมา ก๋งเคยกล่าวไว้ว่า ‘ก๋งอยู่นี่สบายกว่าอยู่เมืองจีนมาก...

     

    บทที่9 อยู่อย่างเจ้านาย

    กล่าวถึงเพื่อนในห้องของหยกอีกรอบที่ทุกคนอาจจะเคยได้ยินชื่อมาตั้งแต่บทก่อนหน้า นั่นคือ ไอ้/คุณป้อม ลูกปลัดอำเภอ with หม่อมแม่คุณนายทองห่อ ฮีมาแนวหัวโจกกะโปกกะลาครอบแต่พอต่อหน้าพ่อแม่เจือกแอ๊บว่าใสๆ ไม่รู้ประสีประสา แต่เดิมเพราะ พ่อแม่ให้ท้ายเสียมากก็เลยมีนิสัยเสียอยู่ซะเยอะ หยกเองก็มักจะดราม่าเป็นประจำจากการที่โดนคุณป้อมถามว่า พ่อแม่เอ็งอ่ะอยู่ไหนวะ? ฮ่าฮ่าฮ่าบวก 
    ตกเย็น สองคนก็กลับไปบ้านคุณนายทองห่อ ทำให้หยกบรรยายบ้านของ คนมีอันจะกิน ว่าโอ่อ่าขนาดไหน แค่นั้นแหละ

     

    บทที่10 เหงื่อคือเงิน

    คุณนายทองห่อมอบภารกิจให้หยก สืบเนื่องจากที่จะมีนายอำเภอคนใหม่ย้ายเข้ามา สวนหน้าบ้านของปลัดอำเภอจะดูไพร่มิได้ หยกจ๊ะ ช่วยหาดอกไม้อะไรมาประดับสวนหน้าบ้านหน่อยจะได้เป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดี ถ้าทำได้จะมีค่าจ้างอย่างงาม ด้านหยกก็รับงานด้วยความปลื้มปริ่ม ด้วยความขยันนี้นี่เอง ทำให้คุณนายทองห่อเอ็นดูหยกมากมาย เพราะหยกถือคติตามก๋งว่า ขนาดขอทานยังร้องเพลง สีซอตีฉิ่งแลกเศษเงิน คนมีเรี่ยวแรงกำลังก็ต้องสู้ชีวิตต่อไป

    กลับบ้านไปหยกก็ทำตัวโคตรเด็กดี ปัดกวาดเช็ดถูบ้านเสร็จ ก็เตรียมตัวทำอาหารเย็น เป็นกิจวัตรปกติ
    //วงแหวนผุดปีกงอกแล้วค่ะอิหยก

     

    บทที่11 เพื่อนบ้านของเรา

    จะอธิบายถึงสภาพแวดล้อมรอบๆ ห้องแถวที่เป็นบ้านของหยกและก๋ง ที่ถูกเรียกรวมว่า ‘ตลาดเก่าที่ที่คนฐานะระดับเดียวกันคือ ปากกัดตีนถีบ อาศัยอยู่ด้วยกัน ตัวหนังสือก็บรรยายบอกไปอีกว่า เรื่องคติด้านที่อยู่ของไทยกับจีนไม่เหมือนกัน คนจีนจะยอมอยู่ในที่แคบแออัดเท่าไหร่ก็ได้ ขอแค่สามารถใช้ซุกหัวนอนได้เป็นพอใจใช่เลย ถึงจะดำรงชีพลำบากหน่อยก็ทนได้ แตกต่างจากคนไทยที่ไม่นานก็จะย้ายไปหาที่ที่กว้างๆ ดูมีอิสระ มีความสันโดษกว่า เลยเป็นประเด็นดราม่าที่เพื่อนคนจีนของก๋งจะมานินทาคนไทยบ่อยๆ ว่าแบบ 'คงไทยนี่มังไร้น้ำยา ม่ะมีควางอกทงเลย ไอ้หยาาาา' แต่ก๋งไม่ใช่พวกเออออตามน้ำ ก๋งเพียงรับฟังไว้ ไม่คอมเม้นท์อะไร ทำให้เห็นว่า ก๋งรักเมืองไทยและคนไทยมาก เผลอๆ อีคนจีน(หัวรุนแรง)ที่เป็นฝ่ายนินทาเสียอีกที่ถูกก๋งเปิดอัลติ ตอกหน้ากลับไปเป็นแถว

    ถัดไปจะเล่าถึงกิจวัตรประจำวันของคนท้องถิ่นนี้ ซึ่งตรงแถบนี้จะมีลานกลางแจ้งสาธารณะมาตากผ้ากันตามปกติ จากนั้นก็ไปทำงาน ทำหน้าที่ของตนกันหลังขดหลังแข็ง ไม่มีใครนอนขี้เกียจไม่ทำงานเลย ทุกคนต่างดิ้นรนในการดำรงชีวิตทั้งนั้น

    ของเด็ดประจำบท :

    1. ถ้ารู้จักเพียงแต่รับคำสั่ง ก็ต้องเป็นลูกจ้างของคนอื่นเขาตลอดไป

     

    บทที่12 ริมฝั่งคลอง

    กล่าวถึงคลองในท้องถิ่น ที่คนในพื้นที่จะใช้สำหรับกินดื่มใช้กัน ผู้หญิงก็หอบผ้ามาซักตั้งวงเม้าท์มอยเฮฮาพาเพลิน ส่วนผู้ชายก็เปิดสภากาแฟเวอร์ชั่นริมน้ำ บางคนก็ทำอาชีพกับน้ำตรงนี้ไม่ว่าจะจับหอยปูปลา หรือรับจ้างงมหาของ เหมือนชีวิตทุกคนจะผูกพันกับสายน้ำดี แต่คลองแห่งนี้ก็มีโสกนาฏกรรมทางน้ำทุกปี อย่างน้อย 1 ศพที่ต้องสังเวยต่อปีตลอดมา พอเกริ่นขนาดนี้ ก็จะเล่าถึงเคสการตกน้ำของเด็ก และการช่วยชีวิตเด็กตกน้ำ รอดบ้าง ยื้อชีวิตต่อไม่ได้บ้าง เป็นเรื่องปกติระคนกันไป

     

    บทที่13 อาถรรพณ์แห่งน้ำ

    ก้าวเข้าสู่ช่วงล่าท้าเรื่องลี้ลับ หยกก็นึกไปถึงเหตุการณ์ที่เป็นข้อบ่งชี้ว่าคลองแห่งนี้มีอาถรรพณ์จริง ไม่ว่าจะผีประจำคลอง โศกนาฏกรรมทางน้ำที่เกิดขึ้นทุกปี เคสที่ช็อกที่สุดเห็นจะเป็นเคสของครอบครัวคนขายก๋วยเตี๋ยวที่ตั้งเพิงร้านอยู่ริมคลอง แม้จะมีคนมีทรงมาทักว่าให้ระวังจะเสียคนรักไปทางน้ำ ฝ่ายพ่อเองก็ต่อเติมบ้านกั้นทุกส่วนของบ้านไม่ให้ลูกวัยเล็กเด็กแดงลงไปเล่นน้ำได้แน่นอน ซึ่งวันนั้นก็เป็นวันที่ยุ่งมาก เพราะมีงานงิ้วลูกค้าเยอะเป็นพิเศษ แม่จึงเอาข้าวต้มมาให้ลูกกินแล้วก็ออกไปทำงานต่อ

    แต่พอกลับมา ก็เห็นลูกหน้าคว่ำหมดลมหายใจอยู่กับชามข้าวต้มที่มีน้ำอยู่แค่แอ่งเดียวแค่นั้นเอง

     

    บทที่14 เมื่อราตรีมาเยือน

    หยกเดินไป คิดเรื่องลำคลองนี้ไปเรื่อยๆ ก็ถึงตลาดตั้งแต่เมื่อไหร่ก็ไม่รู้ (ที่มาตลาดรอบนี้ เพราะฮีจะเอาเชือกกล้วยมาฝากป้าสำเนียง) ป้าสำเนียงก็ฝากหยกไปตามคนรับจ้างที่นั่งรองานอยู่มาช่วยยกของที ระหว่างที่กำลังไปหาคนมายกของ ก็เจอพี่หาญและจำเรียง คู่สามีภรรยาข้าวใหม่ปลามันที่เหมือนจะวิวาห์เหาะหนีตามกันมาตั้งหลักปักฐานที่นี่ ชวนคุยกันนิดหน่อย กลับบ้านไปจัดตารางสอน นอน รอวันใหม่

    //ทั้งบทมีแค่นี้แหละ ...จริงๆ

     

    บทที่15 ลำดวนและน้ำตาของหยก

    แค่ชื่อบทก็เดาได้แล้วว่า ต้องมีเรื่องเอี่ยวเกี่ยวข้องกับสาวน้อยหน้าไทยนาม ลำดวน แน่ๆ ใช่ละ หยกมีเรื่องฝังใจอยู่ ซึ่งเกี่ยวกับลำดวนด้วย ก็จะมาเล่าในบทนี้แหละ

    ย้อนไปเมื่อปีที่แล้ว ในห้องเรียนจะมีแก๊งเด็กหัวโจกมะเหรกเกเรขนานแท้(ถ้าให้เทียบล่ะก็ คุณป้อมแค่ประมาณซูเนโอะ แต่อินี่ไจแอ้นท์เลยเหอะ) ชื่อ สมเกียรติ เป็นลูกศึกษาธิการอำเภอ เลยกร่าง ไปแกล้งลำดวนระหว่างที่นางกำลังทำการบ้าน หยกเลยเข้าไปช่วย จากนั้นก็เปิด PVP Guild war ต่อยกัน มีคนอัพคลิปขึ้นกระทรวงแรงเงา เอ้ย ไม่ใช่ เรื่องมันมาถึงจุดไคลแมกส์ในฉากที่หยกทำ counter attack ด้วยการเอาแปรงลบกระดานหวดแมร่งแสกหน้าอีกฝ่ายด้วยความแรงประสานของหมัดซันโวของบัวขาวfeat.อรอุมาตบลูกวอลเล่ย์มาจุติ(อีกแล้ว) เลือดตกยางออกเป็นก๊อกน้ำซันว่า กลายเป็นเรื่องเป็นราวใหญ่โตในที่สุด

    ศึกษาธิการตัวพ่อแทบจะเอาเรื่องหยกให้ไม่ได้ผุดได้เกิด แต่ตามเนื้อความคดีหยกไม่ผิด แต่ทำไงได้ คนใหญ่คนโตต้องรักษาหน้า เรื่องจบที่หยกต้องยอมก้มกราบขอขมาศึกษาธิการอำเภอ ด้วความกล้ำกลืนฝืนใจเป็นที่สุด

    ครูบรรยงค์ได้แต่ปลอบว่า นี่ล่ะหนา เกิดมาเป็นคนจน บางทีก็ต้องกัดฟันทำใจ แต่เชื่อว่ายังไงความดีก็ชนะความชั่วเสมอนะเออ

     

    บทที่16 นายอำเภอ

    ข่าวใหม่ส่งตรงมาว่า คุณนิกร หรือนายอำเภอคนปัจจุบันจะย้ายที่ทำงานออกจากถิ่นนี้ไปกำลังแพร่สะพัดเป็นวงกว้าง ครูบรรยงค์เองก็พลอยรู้ไปด้วยว่าหยกรับจ้างทำสวนให้คุณนายทองห่อต้อนรับนายอำเภออยู่ เลยช่วยหาดอกไม้มาให้หยกเสร็จครบจบปิ๊ง เตรียมตัวจะลงต้นไม้เลย แต่ทว่า อินายอำเภอคนปัจจุบัน(ที่กำลังจะกลายเป็นคนเก่าในอีกไม่ช้า)ดันมาเห็นพอดี คุณนายทองห่อผู้รักษาหน้ายิ่งชีพชีวาวาสจึงเกิดแกทเชื่อมโยงขึ้นมาในใจว่า ถ้าหากจะปลูกตอนนี้เดี๋ยวเขาจับได้ว่าคุณนายแกเป็นพวกได้หน้าลืมหลังซารังเฮโยว แหมมมมม คนเก่ายังไม่ทันไป ก็เห่อนายอำเภอคนใหม่ซะงั้นแน่ะ 
    นางจึงบึ่งเข้าไปหาหยก ออกมติให้เลื่อนการทำสวนไปก่อน หยกนอยด์ หยกไม่เข้าใจ หยกdon’t understand หยกจิไม่ทลลลลล์

    //ทั้งบทมีแค่นี้

     

    บทที่17 ในแสงตะเกียงลาน

    หยกกลับมาบ้านด้วยอารมณ์หน้าบูดเป็นตรูดส้วม (เห็นก๋งกำลังนั่งรับลมก็บรรยายย้อนการแต่งตัวของก๋งซะยาว) ก๋งเลยปลอบว่า เขาแค่เลื่อนนะ ไม่ใช่ยกเลิก ยังไงก็ยังได้ทำงานล่ะน่า ส่วนดอกไม้ที่จะไปเอามาปักชำถ้ายังไม่ได้ไปรับก็ไปบอกเขาว่า ยังไม่ต้องขุดขึ้นมา รอคุณนายกลับมาคอนเฟิร์มให้ทำต่อก็ค่อยทำต่อ แค่นี้ก็พอ หยกก็เลยปูเสื่อ นอนทำใจแป๊บนึงก็ผล็อยหลับไป

    ของเด็ดประจำบท :

    1. งานที่มีเวลาคิดมากๆ เวลาลงมือเข้าจริงๆ แล้วงานจะง่ายขึ้น

    2. ความยากจนไม่ใช่ของคู่กับความสกปรกมอมแมม การทำตัวให้สะอาดสะอ้านและทำจิตใจให้โปร่งก่อนนอน จะทำให้หลับสนิท

     

    บทที่18 วิมานสวนผัก

    เล่าถึงสวนผักกลางชุมชนแห่งหนึ่ง จะเป็นที่ที่ปลูกผักไปขาย และจะมีบ่อสำหรับเสร็จธุระหนัก ซึ่งเจ้าของไม่ว่าอะไรเพราะจะเอาของเสียพวกนั้นไปทำเป็นปุ๋ยผักก็งอกงามดี หยกเลยเกิดความสงสัยว่า ปลูกผัก กับปลูกผลไม้ยืนต้น แบบไหนดีกว่ากัน ก๋งตอบว่า มันดีคนละแบบ ผักเหมือนค่อยๆ เก็บรายได้ไปทั้งปี ทุนต่ำ กำไรเบาๆ แต่สะสมไปเรื่อยๆ ส่วนผลไม้ยืนต้นทุนสูง กำไรก็สูงตาม แล้วแต่จะชอบแบบไหนก็เท่านั้น

    ของเด็ดประจำบท :

    1. สิ่งที่เราทำด้วยใจรักที่สุดคือสิ่งที่ดีที่สุด ซึ่งอาจจะไม่ใช่งานที่ให้ผลประโยชน์กับเรามากที่สุด

     

    บทที่19 งานของก๋ง

    เป็นบทเล่ากิจวัตรของก๋ง ก๋งจะทำงานด้านงานจักสานทุกวัน ไม่ว่าจะทำพัด ทำตะกร้า สานกระบุง ตามแต่ออเดอร์ที่คนมาจ้างไว้ งานก๋งละเอียดมาก หยกก็ช่วยไปทำอยู่บ่อยๆ ระหว่างที่เห็นก๋งทำงานก็นึกถึงช่วงที่มีคนมาคุยกับก๋ง เรื่องเปรียบเทียบว่า เนี่ย หยกนี่ดีเหมือนวันเฉลิม (ไม่ใช่ๆ) เลยเนอะ ดีกว่าเด็กตั้งหลายคน แต่ก๋งก็ปรามว่าอย่าเอาไปเปรียบเทียบ ชีวิตใครชีวิตมัน ไม่เหมือนกัน เลยโยงมาประเด็นพี่หาญกับพี่จำเรียงที่กำลังเป็นหัวข้อก็อซซิปประจำวงตลาดว่า หนีตามกันมา ว้าย งามหน้าอนาคอนด้าบุทช์ที่สุดเลยค่า

    โดยแกนนำต่อต้านพรบ.วิวาห์เหาะจะเป็นใครมิได้นอกเสียจาก ป้าเง็กจู อาซิ้มวัยใกล้หมดวัยทอง ผู้ตีกรอบจารีตประเพณียิ่งชีพ นางจะชอบหิ้วร่างตุ๊ต๊ะของนางมานั่งแหมะนินทาสาดเสียใส่ไข่ผงชูรสเล็กหนึ่งแห้งสองเกี่ยวกับความงามหน้าของหาญและจำเรียงให้ก๋งฟังบ่อยๆ แล้วก็จะลงเอยด้วยการ ถูกก๋งเปิดอัลติสยบกลับทุกครั้งไป

     

    บทที่20 ห้องรับแขกกลางดิน

    ระหว่างที่ก๋งกำลังทำงานอยู่ ครูบรรยงค์ก็แวะมาเยี่ยมพอดี พร้อมเอางานมาบอกว่า เนื่องจากจะมีรับนายอำเภอคนใหม่ (ไม่ใช่ผอ.นะคะ) เลยจ้างให้ทำธงชาติกระดาษสำหรับขบวนต้อนรับ ก๋งจึงสอนหยกว่าถ้ามีโอกาสตอบแทนครูบรรยงค์ก็ทำซะ เพราะเขาดีกับเรามากๆ เลยรู้มั้ย

     

    บทที่21 สโมสรกลางคืน

    เล่าถึงกิจวัตรสุดเพลินของคนในชุมชนตอนกลางคืน บ้างก็ดูหนังกลางแปลง บ้างก็สภากาแฟ เฮฮาตั้งวงกันตามประสา มีคนตั้งร้านขายของตอนนี้ก็เยอะแยะ หนึ่งในนั้นคือร้านทุเรียนของป้าสำเนียง(ที่ปกติเป็นร้านหมากพลู) ช่วงที่เป็นฤดูทุเรียน นางจะเข้ากรุงเทพฯ ไปเหมาทุเรียนงามๆ มาขายเป็นอีกหนึ่งช่องทางแสวงรายได้ กำไรก็ดีมิใช่น้อย ว่างๆ ก็เอามาฝากบ้านก๋งด้วย แล้วก็มีค่านิยมอวดฐานะกันผ่านการมีขยะผลไม้เป็นเปลือกทุเรียนด้วยนะจ๊ะ แหม่ ถ้าจะประชันอวดกันขนาดนี้นะ...

     

    บทที่22 งานเลี้ยงส่ง

    เป็นบทกล่าวถึงค่านิยมของราชการ ทั้งระบบการทำงาน การต้อนรับของประชาชน และความ ‘เยอะ’ ในอีโก้ของราชการบางราย กระทั่งถึงวันงานเลี้ยงส่งนายอำเภอจริงๆ หยกรับหน้าที่เป็นเด็กเสิร์ฟน้ำ ฮีมองคนที่ครื้นเครงอยู่ตรงโต๊ะจีนก็แอบฝันว่าวันหนึ่งจะได้มีโอกาสมานั่งแบบนี้ แต่พอตื่นจากภวังค์ก็ดราม่าว่า ใช่สิ ก็แค่เด็กห้องแถวนี่!!

    //ดราม่าอีกแล้วนะหยก

     

    บทที่23 หนุ่มห้องแถว

    บทเปิดตัว เฮียเพ้ง หนุ่มพี่ข้างบ้านหยกลูกป้าเง็กจู หล่อล่ำตี๋ขาวน่าแทะน่ากินเป็นที่สุด ชนิดที่ว่าถ้าเฮียแกขึ้น BTS คงจะถูกถ่ายลงเพจ BTS C*** Gu** เป็นแน่แท้ (เดี๋ยวนะ) when หยก was just a little boy เฮียแกจะคอยมาดูแลเป็นเพื่อนเล่นกับหยกเสมอ ปัจจุบันเฮียแกทำงานอยู่ที่โรงงานวุ้นเส้น เป็นคนจัดการส่วนเครื่องยนต์ ก็เลยเล่าระบบถึงการหางานทำแบบสร้างเนื้อสร้างตัวตามฉบับคนจีนคือ จะไปเป็นลูกจ้างครูพักลักจำวิชาเฉพาะด้านมา แล้วก็ขยับให้เลื่อนตำแหน่ง แล้วพอวิชาอยู่ตัวเงินทุนมีก็ออกมาก่อตั้งกิจการตัวเอง เริ่มจากกิจการทุนต่ำก่อน แล้วกระเตื้องไปเรื่อยๆ กระทั่งได้เป็นเถ้าแก่ในที่สุด

    ประเด็นสุดแซ่บเริ่มตรงที่ เฮียเพ้งเกิดปิ๊งรักกับสาวขายข้าวแกงที่งามขนาดแบบสาวชาวไทยแท้คนหนึ่ง หากครั้นอาม๊าคือ ป้าเง็กจู รู้เข้าเลยโวยวายบ้านแทบแตกตามขนบว่า คนจีนต้องแต่งกับคนจีนเพื่อรักษาสกุลเชื้อชาติไว้เท่านั้น ซึ่งซิ้มแกก็อคติรุนแรงอย่างมาก โวยวายต่อหน้าลูกยังไม่สาแก่ใจ ต้องเร่มาโวยวายให้ก๋งฟัง(อีกละ) แต่ก๋งก็เปิดอัลติ ดวลวาทะไปว่า ไม่เห็นด้วยกับป้าเง็กจู เด็กมันรักกันก็เรื่องของมันสิ ซิ้มแกเลยสะบัดตูดตุปัดตุป่องกลับไป

     

    บทที่24 กำแพงแห่งความรัก

    มาทางฝั่งสาวเจ้าที่เฮียเพ้งไปพบรักมาบ้าง นางชื่อ นวล สาวไทยสวยแบบไทยแท้ๆ นางเป็นคนขยันขันแข็ง ติดดิน เป็นคนหาเงินเข้าบ้านเลี้ยงน้องเลี้ยงพ่อเลี้ยงแม่ด้วยการหาบข้าวแกงมาขายหน้าโรงงานทุกวัน สาวเจ้าพูดน้อยคำ แต่เสียงนุ่มน่าฟังที่สุด และหล่อนก็มีใจให้เฮียเพ้งเช่นกัน ทุกคนต่างอวยคู่นี้ ยกเว้นฝ่ายแม่ผัวคนเดียวที่อคติว่า มีเมียเป็นคนไทย ไม่ด๊ายยยยยยย.... เลยย้อนไปเรื่องค่านิยมการหาคู่ครองของจีนว่า เมื่อก่อนส่วนใหญ่จะคลุมถุงชนกัน คนจีนต้องได้กับคนจีน ฝ่ายลูกสาวที่ไม่ใช่คนรักษาสกุลก็จะถูกเมินไม่ได้รับการอุ้มชูเท่าลูกชาย มีหน้าที่เพียงรอวันมีคนมาขอไปแต่งก็พอพ้นภาระ (เกิดเป็นหญิงแท้จริงแสนลำบาก) รวมถึงการดูชะตาว่าสมพงษ์กันรึไม่ ค่อยแต่งกัน และเรื่องพวกนี้ก็ตกมาถึงเฮียเพ้งอีกทีว่า คนจีนได้กับคนไทย ไม่ด๊ายยยยยยยยย...............

     

    บทที่25 ม่านประเพณี

    ระหว่างที่กำลังนั่งทำธงกระดาษอยู่ เฮียเพ้งก็เข้ามาปรึกษากับก๋งเรื่องจะทำยังไงให้แม่เข้าใจ จะพากันหนีเลยคิดว่าไงดี ก๋งก็ได้แต่ปรามว่าต้องใจเย็นๆ รอให้แต่ละฝ่ายเย็นลงค่อยหาวิธี แล้วเฮียเพ้งก็ลาไปทำงานแล้วก็นอนที่โรงงานแทบไม่ได้กลับมาห้องแถวเลย กลายเป็นว่าฝ่ายแม่ หรือป้าเง็กจูต้องมาขอคำปรึกษาจากก๋งอีกว่าจะทำยังไงให้ลูกกลับมา ก๋งเลยพยายามแนะให้ทำใจยอมรับ แต่ซิ้มก็ยังยืนกรานในความคิดเดิม เลยถูกก๋งจัดคอมโบดวลวาทะเดอะอารีน่าใส่ไปชุดใหญ่ ให้กลับไปคิดเอาเองว่าจะทำยังไง

    เลยสะท้อนให้เห็นถึงข้อกังขาของวัฒนธรรมว่าบางอย่างถือมากไปก็ไม่ดีนะเออ

    ของเด็ดประจำบท :

    1. ท้องฟ้ากำลังมืดครึ้ม ลมโหมแรง อย่าเพิ่งหักหาญทำอะไรรุนแรงลงไป มันเสี่ยงและมีแต่ทางเสียหาย หลังฝนตกแล้วท้องฟ้าจะจ้าสว่างเอง

     

    บทที่26 ขี้ข้า-ขี้ปาก

    ถึงวันงานต้อนรับนายอำเภอคนใหม่ เหล่านักเรียนก็ไปยืนโบกธงกระดาษต้อนรับด้วยสีหน้าเซ็งสุดขีดตามสเต็ปเด็กที่ยังไม่รู้เลยว่า กรูจะมาโบกทำไมเนี่ย แต่หยกกลับดีใจที่จะได้รีบไปเตรียมต้นไม้ที่จะลงประดับสวยบ้านคุณนายทองห่อ จะได้ดำเนินงานที่เคยพักไว้ต่อเสียที ทำให้หยกสะท้อนใจว่า ซักวันต้องก้าวหน้าให้พ้นจากการเป็นขี้ข้านี้ให้จงได้

     

    บทที่27 อยู่กับดิน

    วันอาทิตย์ หยกรีบไปเอาต้นไม้ที่เตรียมไว้มาลงตกแต่งสวนคุณนายทองห่อ โดยมีลำดวนมาช่วย คุณนายก็ฝากงานไว้ทิ้งไว้ว่าจะไปจังหวัด เด็กสองคนเลยเม้าท์กันเรื่องไปจังหวัด ซึ่งหยกเคยเข้าเมืองหนึ่งครั้งโดยครูบรรยงค์อีกตามเคยที่พาไป เป็นประสบการณ์ที่ดีมากมาย ส่วนกรุงเทพฯ รึ ไม่เคยน่ะ...

     

    บทที่28 ความรักไม่เคยผิด

    ด้วยสองแรงมือและสกิลชาวไร่ชาวนาของลำดวนทำให้นางสามารถทำงานนี้ได้อย่างคล่องแคล่ว งานเดินเร็วมากและเสร็จพอดีในตอนเย็น ได้ค่าจ้างมางามๆ หยกเลยชวนลำดวนไปกินข้าวที่บ้านเป็นการตอบแทน เพราะจะแบ่งตังค์ให้ลำดวนก็คงไม่เอา คืนนั้น อยู่ๆ ป้าเง็กจูก็ตาลีตาเหลือกมาหาก๋ง และระบายใส่ก๋งราวกับก๋งเป็นดีเจพี่อ้อยพี่ฉอดว่าตอนนี้ลูกชายตัวดีส่งข่าวมาว่า จะหนีไปอยู่กับผู้หญิงที่กรุงเทพฯ แล้ว จะทำยังไงดีๆๆๆ สุดท้าย ด้วยคำแนะนำของก๋ง ทำให้ป้าเง็กจูกลับไปคิดใหม่รอบสุดท้าย ก่อนที่จะไม่มีโอกาสได้ตัดสินใจอีกต่อไป

    เพราะความรัก ไม่เคยผิด

    //เหยดดดดด

     

    บทที่29 ตลาดชีวิต

    บรรยายบรรยากาศในตลาดที่กลับมาดำเนินปกติอีกครั้ง แต่บัดนี้มีเรื่องน่ายินดี พี่หาญกับพี่จำเรียงกำลังจะมีลูก จากคู่หนุ่มสาวที่หนีตามกันมาไร้ความมั่นคง ตอนนี้ก็ลงหลักปักฐานชีวิตได้เรียบร้อยดีแล้ว เช่นเดียวกับคู่เฮียเพ้งและพี่นวล ตอนนี้ก็กำลังจะมีลูกเช่นกัน

    เบื้องหลังนิยายเรื่อง ลิขิตรักขัดใจแม่ผัว ฉากจบที่HappyEndingได้ต้องเครดิตให้ ก๋ง ผู้นี้เลยครัช

    จำได้มั้ยว่า ข่าวที่เฮียเพ้งเคยบอกว่าจะหนีกันไปอยู่ที่กรุงเทพฯ เรื่องนั้นน่ะ ความจริงมันเมคปั้นขึ้นมาเป็นอุบายใส่ป้าเง็กจูให้ได้คิดทวนอีกรอบก็เท่านั้นแหละ!!

    เอาดิ อยากให้ลูกหนีเพราะแค่จะมีเมียดีๆ คนนึง ก็ตามสบาย!!

    เรื่องราวทั้งหมดจบลงที่ป้าเง็กจูยกธงขาวยอมให้เฮียเพ้งสานรักต่อได้ แต่นางก็ไม่วายจ้องจับผิดลูกสะใภ้ไทยแท้คนนี้ต่อไป

    ...ตอนนั้นกับตอนนี้ชนิดหน้ามือเป็นหลังมือ
     ป้าเง็กจูกำลังอยู่ในสเตตัสเห่อลูกสะใภ้มาก เพราะพี่นวลปฏิบัติตัวเอาชนะใจแม่ผัวได้เรียบร้อย ทีนี้เวลาไปไหนจากเมื่อก่อนก่นด่าอีสาวไทยคนนี้มันไม่ดีงู้นงี้สารพัด กลายเป็นมีแต่อวยลูกสะใภ้ตัวเองแทน และยิ่งตื่นเต้นนับวันรอจะเป็นอาม่า หรือ ย่าคนในเร็ววัน

    จบบทที่ครูบรรยงค์มาหาก๋ง คุยเรื่องเรียนต่อของหยกและได้ข้อสรุปว่า ครูบรรยงค์จะรับอุปถัมภ์การศึกษาของหยกเอง ยิ่งกว่าพ่อดูแลลูก หยกซึ้งใจชนิดบรรยายออกมาไม่ได้เลยทีเดียว...

     

    บทที่30 แซยิด-ปิดตลาด

    วันแซยิดหรือก็คือวันเกิดสำหรับผู้อาวุโส แต่แซยิดใหญ่จะจัดทุกๆ สิบปี หลังจากอายุ 50/51 ไปเรื่อยๆ ซึ่งก๋งได้แซยิดใหญ่รอบนี้คือรอบที่3 เพราะก๋งอายุ 70 ปีแล้ว แม่งานพิธีก็ป้าเง็กจูมาคุมเพราะซิ้มแกรู้พิธีรีตรองดีที่สุด ส่วนพ่อครัวหลักคือเฮียกุ่ย ทุกคนในตลาดจัดงานเลี้ยงให้ก๋งกันอย่างเต็มใจ เพราะก๋งคือผู้อาวุโสในตลาดที่ทุกคนวางใจนับถือเคารพดั่งญาติผู้ใหญ่แท้ๆ นี่เอง ที่เป็นบำเหน็จจากการทำความดี ตั้งตนอยู่ในธรรมของชีวิตเรื่อยมาของก๋ง ก๋งผู้รักคนไทย ผืนดินไทย...

     

    จบเรื่องจ้ะ

     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×