ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เวียงวัง

    ลำดับตอนที่ #86 : เจ้าสาย

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 1.1K
      2
      9 เม.ย. 53

    ในหลวงรัชกาลที่ ๕ ท่านทรงเรียกพระอัครชายาเธอของท่านว่า เจ้าสายเห็นในพระราชนิพนธ์บางแห่ง ทรงเรียกเจ้านายบางองค์ว่า เจ้าสายเช่นกัน เจ้าสายองค์หลังนี้เป็นใคร-

                คือพระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์ เดิมท่านเป็น หม่อมเจ้าพระนามท่านว่า หม่อมเจ้าสาย ในสมัยนั้นยังไม่มีการใช้นามสกุล ท่านเป็นพระโอรสในกรมหลวง วงศาธิราชสนิท (พระองค์เจ้านวม พระราชโอรสในรัชกาลที่ ๒)

                เจ้านายพระยศ หม่อมเจ้านั้น พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงรับสั่งเรียกว่า เจ้าทุกพระองค์ ซึ่งสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศฯ ก็รับสั่งเรียกตามสมเด็จพระบรมชนกนาถด้วย เช่น เจ้าสาย เจ้าบัว เจ้าต๋ง เจ้าเข่ง ฯลฯ

                แต่บรรดาเจ้านายพระองค์อื่นๆ รวมทั้งชาววังและทั่วๆ ไป เรียกบรรดาหม่อมเจ้าว่า ท่านอย่างที่เรียก ท่านมุ้ยกันทุกวันนี้ ดังเช่น ท่านนิตยากร ท่านต๋งท่านขาว ฯลฯ อีกมากมาย

                เว้นแต่บางองค์ ซึ่งชาววังเรียกอย่างยกย่องเป็นพิเศษ ว่า ท่านองค์มี องค์ตามหลัง ท่านเพราะทรงมีพระอิสริยยศสูงขึ้น หรือมีอาวุโสเป็นพิเศษ

                เช่น หม่อมเจ้าสาย ซึ่งได้รับสถาปนาเป็นพระอัครชายาเธอ พระองค์เจ้า ชาววังจึงพากันเรียกว่า ท่านพระองค์เล็กหรือย่อคำลงเป็น ท่านองค์เล็กเพราะท่านเป็นพระอัครชายาเธอพระองค์เล็ก (ท่านมีด้วยกันสามองค์พี่น้อง เป็นพระอัครชายาเธอทั้ง ๓ พระองค์ หม่อมเจ้าสายเป็นองค์สุดท้อง)

                แต่ถ้าจะว่าไปแล้ว ในแผ่นดินกรุงธนบุรี ถึงในรัชกาลที่ ๑ ดูเหมือนจะยังไม่มีกฎเกณฑ์การเรียกเจ้านายสมัยครั้งกระโน้นว่าหากเป็นลูกเจ้านายแล้วคนทั่วไปก็มักเรียกว่า เจ้าทั้งนั้น ลูกพระองค์เจ้าก็เรียกว่า เจ้าลูกหม่อมเจ้าก็เรียกว่า เจ้าท่านยกตัวอย่าง หม่อมราโชทัย หรือหม่อมราชวงศ์กระต่าย ผู้คนก็เรียกกันว่า เจ้ากระต่ายเพราะยังไม่มียศหม่อมราชวงศ์ หม่อมหลวง

                (ยศหม่อมราชวงศ์ มีขึ้นในรัชกาลที่ ๔ ส่วนหม่อมหลวงเพิ่งมีในรัชกาลที่ ๕)

                กรมหลวงวงศาธิราชสนิท พระบิดาของหม่อมเจ้าสาย หรือพระองค์เจ้าสาย นั้น

                หากออกพระนามให้ถูกต้องตามพระบรมราชโองการว่าด้วยการออกพระนามพระบรมวงศ์ ก็ต้องเป็น พระเจ้าบรมวงศ์เธอชั้น ๒ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท

                ทรงเป็นพระอนุชาในรัชกาลที่ ๘ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ทรงพระกรุณาโปรดปรานสนิทสนมด้วยเป็นอันมาก เมื่อโปรดฯให้ทรงกรม จึงพระราชทานพระนามกรมว่า วงศาธิราชสนิทถึงรัชกาลที่ ๖ เมื่อพระราชทานนามสกุลราชสกุลนี้ จึงพระราชทานว่า สนิทวงศ์

                ส่วนหม่อมเจ้าสายพระโอรส ทรงได้รับพระราชทานเลื่อนเป็นพระองค์เจ้าในรัชกาลที่ ๕ เดิมใช้ว่า พระวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์ ในสมัยก่อนรัชกาลที่ ๖ พระองค์เจ้าชั้นพระราชนัดดา มีคำนำพระนามว่า พระวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทั้งสิ้นเว้นแต่ พระพี่พระน้องในสมเด็จพระเทพศิรินทรามาตย์ (ม.จ.รำเพย หรือ พระนางเธอ พระองค์เจ้ารำเพยภมราภิรมย์ ต่อมาคือ สมเด็จพระนางเจ้ารำเพยภมราภิรมย์ พระราชนัดดา ในรัชกาลที่ ๓) ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง โปรดฯให้ใช้คำนำพระนามว่า พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทุกพระองค์

                ต่อมาในรัชกาลที่ ๖ โปรดฯ ให้ใช้คำนำพระนาม พระองค์เจ้าแบ่งชั้นกัน เป็น พระเจ้าวรวงศ์เธอและ พระวรวงศ์เธอดังที่เคยเล่ามาแล้ว

                พระวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์ จึงเป็น พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์

                ฯพระองค์เจ้าสายฯ ท่านทรงเป็นหมอ พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงจึงรับสั่งเรียกว่า หมอสาย

                แต่ถ้าเป็นพระราชหัตถเลขา ทรงเขียนว่า หมอสายบ้าง พระองค์สาย’ “พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์บ้าง

                ฯพระองค์เจ้าสายฯ ทรงมีโอรสธิดา ด้วยหม่อมเขียน สนิทวงศ์ ณ อยุธยา หม่อมเอก ๗ ท่าน ที่นับว่าสำคัญ คือ

                ๑. หม่อมราชวงศ์สุวพันธ์ สนิทวงศ์ เหลน (ทวด) ของท่าน คือ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ

                ๒. เจ้าจอมมารดา หม่อมราชวงศ์เนื่อง ในรัชกาลที่ ๕ ท่านมีพระองค์เจ้า ๒ พระองค์ คือ

                ๑. พระองค์เจ้า (หญิง) เยาวภาพงศ์สนิท

                ๒. พระองค์เจ้ารังสิตประยุรศักดิ์ (สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร)

                ๓. หม่อมราชวงศ์สท้าน (กลาง) สนิทวงศ์ ต่อมาได้เป็น เจ้าพระยาวงศานุประพัทธ์ ท่านเป็นบิดาของหม่อมหลวงบัว กิติยากร ในพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ (หม่อมเจ้านักขัตมงคล กิติยากร แล้วได้รับพระราชทานเลื่อนขึ้นเป็นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้านักขัตมงคล) ม.ล.บัว เป็นพระราชชนนี สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ

                ในปลายสมัยรัชกาลที่ ๕ ฯพระองค์สายฯ ทรงมีพระชันษาสูงแล้ว ทั้งการแพทย์สมัยใหม่ในสมัยนั้นก็เป็นที่น่าเชื่อถือ จึงส่งห่างๆ การเป็นหมอไป แม้กระนั้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงทรงพระประชวรหนัก สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ ก็ทรงปรึกษาหารือกันตงลงพระทัยให้เชิญเสด็จเข้ามารักษาพระอาการดูด้วย

                ดังที่พระยาบุรุษรัตนราชพัลลภ บันทึกเอาไว้ว่า

                 พวกหมอฝรั่งประชุมกันเขียนรายงานพระอาการยื่นต่อเจ้านายเสนาบดีว่า พระอาการมากเหลือกำลังของหมอที่จะถวายการรักษาแล้ว สมเด็จพระบรมโอรสธิราชฯ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนพิษณุโลกประชานารถ และพระบรมวงศานุวงศ์เสด็จมาแต่เช้าได้ทอดพระเนตรรายงานอาการที่หมอทำไว้ ทรงปรึกษาหารือเห็นพร้อมกันว่าควรให้ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์ มาเฝ้าตรวจพระอาการดูด้วย ข้าพเจ้าจึงให้นายฉันหุ้มแพร (ทิตย์ ณ สงขลา) รีบเอารถยนต์ไปรับมาทันที ฯพระองค์เจ้าสายฯ ขึ้นไปเฝ้าตรวจพระอาการ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวน้ำพระเนตรไหลแต่ไม่ตรัสว่าอะไร ฯพระองค์เจ้าสายฯ กลับลงมายืนยันว่าพระอาการยังไม่เป็นไร เชื่อว่าที่บรรทมหลับเชื่อมซึมอยู่นั้นเป็นด้วยฤทธิ์พระโอสถต่างๆ พอฤทธิ์พระโอสถหมดแล้วก็คงจะทรงสบายขึ้น เพราะพระชีพจรยังเต้นเป็นปกติดี ฯพระองค์เจ้าสายฯ กลับไปนำพระโอสถมาตั้งถวายแก้ทางพระศอแห้งขึ้นไปเฝ้าตรวจพระอาการอีกครั้งหนึ่ง ครั้งนี้ตรัสทักว่า หมอมาหรือได้เท่านั้นแล้วก็ไม่รับสั่งอะไรอีกต่อไป

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×