คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #20 : พระนามพระบรมวงศานุวงศ์
เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงทรงมีพระบรมราชวินิจฉัยเรื่อง “สมเด็จ” แล้ว ในแผ่นดินรัชกาลที่ ๕ จึงออกพระนามพระบรมวงศ์ชั้นสูงตั้งแต่สมเด็จพระพี่นางสองพระองค์ในรัชกาลที่ ๑ ลงมาถึงพระราชโอรสในรัชกาลที่ ๑ และรัชกาลที่ ๒ ซึ่งทรงกรมเป็น “กรมสมเด็จพระ” (เปลี่ยนเป็น “สมเด็จกรมพระยา” ในรัชกาลที่ ๕ นี้เอง) โดยมี “สมเด็จ” น่าพระนามที่ทรงเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับพระเจ้าแผ่นดิน รวมด้วยกัน ๑๑ พระองค์ คือ ปัยยิกา - ย่าทวด ยาย
พระองค์ลำดับที่ ๑ และ ๒ นั้น เป็นสมเด็จพระเจ้าพี่นางในรัชกาลที่ ๑ ตามศัพท์ชาวบ้านจึงทรงเป็น “ย่าเทียด”ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง แต่ศัพท์ที่ใช้กันอยู่สิ้นสุดเพียง “ทวด” ราชาศัพท์ก็สุดแค่ “ปัยยิกา” พระองค์ท่านจึงทรงศักดิ์เป็น “สมเด็จพระเจ้าบรมปัยยิกาเธอ” เป็น “สมเด็จพระเจ้า” อยู่ ๓ พระองค์ในชั้น ปัยยิกา และอัยยิกา พระองค์ (๗) เป็นพระราชธิดาในรัชกาลที่ ๓ เป็นพระขนิษฐา ร่วมเจ้าจอมมารดาเดียวกับ สมเด็จพระบรมราชมาตามหัยกาเธอ กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์ ผู้ทรงเป็น “ตา” แท้ๆ ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง สมเด็จพระเจ้าบรมอัยยิกาเธอ กรมพระยาสุดารัตน์ราชประยูร ทรงอุปการะอภิบาลทั้งสมเด็จพระราชชนนี และพระองค์พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง ตลอดจนพระราชอนุชา มาแต่ยังทรงพระเยาว์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงจึงทรงเคารพนับถือ ตรัสเรียกว่า “เสด็จยาย” และทรงยกย่องอย่างเป็นพระอัยยิกาแท้ๆ เมื่อสิ้นพระชนม์ชีพ โปรดฯให้ใช้ว่า “สวรรคต” พระโกศกั้นฉัตรเจ็ดชั้น เสมอกับสมเด็จพระราชชนนี พระอัครมเหสี (พระราชินี) และพระยุพราช พระองค์ลำดับ (๔) สมเด็จพระบรมราชอัยยิกา กรมพระศรีสุริเยนทรามาตย์ เป็น “ย่า” แท้ๆ ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง ส่วนพระองค์ลำดับ (๓) กับ ลำดับ (๕) ลำดับ (๓) คำนำพระนามสัมพันธ์ ว่า “สมเด็จพระบรมราชปัยยิกา กรมพระอมรินทรามาตย์” ลำดับ (๕) คำนำพระนามว่า “สมเด็จพระราชมหาปัยยิกา กรมพระศรีสุลาลัย” คือเป็น “ปัยยิกา” (ทวด) ทั้งสองพระองค์ สมเด็จพระบรมราชปัยยิกา (๓) ทรงเป็นย่าทวด คือ เป็นย่าของพ่อ (พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ) ส่วน สมเด็จพระราชมหาปัยยิกา (๕) ทรงเป็นย่าของแม่ (สมเด็จพระบรมราชชนนี กรมพระเทพศิรินทรามาตย์ หรือสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี) เมื่อถวายคำนำพระนาม แตกต่างกันตรงคำว่า “บรม” และ “มหา” คำว่า “บรมราช” ใหญ่กว่า “ราชมหา” ทวดทางพระบรมราชชนกเป็น “บรมราช” ทวดทางพระราชชนนีเป็น “ราชมหา” ไม่ทราบว่า ท่านผู้ใดเป็นผู้คิดคำนำพระนามเหล่านี้ถวาย จึงได้ลงตัวสมพระเกียรติยศ และพระราชสัมพันธ์อย่างเหมาะสมงดงามดังนี้ หรือจะเป็นพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงเองก็เป็นได้ ตั้งแต่ลำดับ (๘)-(๑๑) ลำดับ (๘) สมเด็จพระเจ้าอัยกาเธอกรมพระปรมานุชิตชิโนรสเป็นพระราชโอรสในรัชกาลที่ ๑ และเป็นสมเด็จพระสังฆราช ลำดับ (๑๐) สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาปวเรศวริยาวงกรณ์ เป็นพระราชโอรสใน สมเด็จพระบวราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์ “วังหน้า” ในรัชกาลที่ ๒ และเป็นสมเด็จพระสังฆราช ลำดับ (๑๑) สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยาบำราบปรปักษ์ เป็นสมเด็จเจ้าฟ้าพระราชโอรสในรัชกาลที่ ๒ ประสูติแต่พระราชชายานารีเจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดีลำดับ (๘) (๑๐) (๑๑) ล้วนเป็นสมเด็จ ซึ่งมีพระเกียรติยศพิเศษ เป็น สมเด็จพระสังฆราช ๒ องค์ เป็นเจ้าฟ้า ๑ องค์ทว่า ลำดับ (๙) นั้น ท่านเป็นเพียงพระราชโอรสในรัชกาลที่ ๒ ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเท่านั้น แต่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ก็โปรดฯ ให้ทรงกรมเป็นถึง “กรมสมเด็จพระ” (ในรัชกาลที่ ๔ ซึ่งเปลี่ยนเป็นสมเด็จกรมพระยา ในรัชกาลที่ ๕) ปรากฏว่าลำดับ (๙) สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเดชาดิศร พระนามเดิมว่า “มั่ง” หากนับ ตามศักดิ์ท่านก็เป็น “น้องชาย” ของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ เป็น “พี่ชาย” ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ทว่า พระเจ้าแผ่นดินทั้งสองพระองค์ทรงนับถือ และทรงเกรงพระทัยท่านมาก ตั้งแต่รัชกาลที่ ๓ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ ก็ทรงถือว่าท่านเป็น “เชฐปัตตัญญู” (ผู้ใหญ่ผู้รู้ประมาณการพอเหมาะพอดี) เมื่อใกล้จะสวรรคต พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ ทรงพระราชกังวลพระทัยเรื่องพระสงฆ์ธรรมยุติกา ห่มผ้าแหวกอย่างพระสงฆ์มอญ ครั้นจะทรงห้ามก็ทรงเกรงพระทัย สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้ามงกุฎ ผู้ทรงตั้งนิกายธรรมยุติ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ จึงโปรดฯให้ พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าอรรณพ (กรมหมื่นอุดมรัตนราษี) เชิญกระแสพระบรมราชโองการ พระราชทานไปยังสมเด็จฯ การพระยาเดชาดิศร (ขณะนั้นทรงกรมเป็นกรมขุนเดชดิศร) กระแสพระบรมราชโองการนั้นทรงเรียกอย่างอ่อนหวานว่า “พ่อมั่ง” ดังนี้ “พ่อมั่งขา พ่อจงเป็นเชฐมัตตัญญู พ่อจงรู้วารน้ำจิตและอธิบายของข้าผู้พี่ อันขันธะทุพลภาพมากอยู่แล้ว ด้วยแผ่นดินศรีอยุธยา ทรงพระเจ้าแผ่นดินมา ๒ พระองค์แล้ว กับพี่ด้วยอีกคนหนึ่งเป็น ๓ ตั้งแต่แผ่นดินล้นเกล้าล้นกระหม่อม สมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ท่านได้ปราบดาภิเษกปีขาลนั้นมาได้ ๕ ปี ถึงปีมะแม พี่จึงเกิด ตั้งแต่จำความได้มา จนอายุได้ ๒๒ ปี ได้บวชในแผ่นดินนั้น ต่ออายุได้ ๒๓ จึงสิ้นแผ่นดินไป มาเป็นแผ่นดินของล้นเกล้าล้นกระหม่อมอีก ๑๖ ปี จึงมาเป็นแผ่นดินของพี่ พระภิกษุผู้เป็นสงฆรัตน์ในกรุงศรีอยุธยาก็เห็นนุ่งสะบงทรงวีจรเป็นลูกบวบทั้งสิ้นด้วยกัน แต่พม่ารามัญที่เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารอยู่นั้นและ เห็นครองผ้าผิดกับพระภิกษุของเรา จึงเรียกกันว่าพระมอญ เดี๋ยวนี้พระไทยก็ห่มผ้าเป็นมอญ โดยอัตตโนมัติปัญญาของพี่เห็นว่า ถ้าล้นเกล้าล้นกระหม่อมยังเสด็จอยู่ ก็เห็นจะให้ประชุมพระราชาคณะได้ว่ากล่าวกันให้เห็นว่าควรไม่ควรนานแล้ว นี่พี่กลัวจะเป็นบาปเป็นบุญ เป็นคุณเป็นโทษ พระสงฆ์จะแตกร้าวกันไป จึงมิได้ว่ากล่าว แต่ใจนั้นรักอย่างบุราณอย่างเดียวนั้น และสืบไปเบื้องหน้าพระภิกษุไทยซึ่งห่มผ้าเป็นมอญนั้นศูนย์ไป พี่เห็นว่าจะควรกับศรีอยุธยา ก็ถ้าแม้นกลับมากขึ้นอีก ด้วยเหตุอันใดอันหนึ่ง ชื่อของพี่ผู้ได้เป็นเจ้าแผ่นดินก็มีแต่จะเสียไป เขาจะว่าเป็นเมืองมอญเมืองพม่าไปเสียมาแต่ครั้งแผ่นดินนั้น นี่แลเป็นความวิตกของพี่มากนักหนา ให้พ่อเห็นแก่พี่ ช่วยเอาขึ้นแจ้งกับกรมหมื่นนุชิตชิโนรส เธอเป็นบรมญาติอันใหญ่ทรงไว้ซึ่งผ้ากาสาวพัสตร ทั้งรู้พระสัทธรรมของพระเจ้าเป็นอันมาก แล้วก็เป็นพระภิกษุศรีอยุธยา พี่มีจีวรอยู่ผืนหนึ่งให้พ่อช่วยถวายกรมหมื่นนุชิต ถ้าเธอจะรับเอาไว้ครองได้ ก็ให้ถวายเธอเถิด ถ้าเธอมิรับไว้ครองแล้ว ก็ให้เอาคืนมาเสีย” กระแสพระบรมราชโองการนี้ หากอ่านหลายๆ ครั้งจะเห็นว่า พระวาจาพรรณนานั้นน่าสงสารพระองค์ท่านนัก เล่ากันในหมู่เจ้านายเชื้อสายพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ ต่อๆ กันมาว่า จีวรที่พระราชทานออกไปนั้น สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระปรมานุชิตนิโนรส ซึ่งก็มิได้เคยทรงจีวรแหวกอย่างพระมอญอยู่แล้ว ท่านทรงรับแล้วก็ทรงครองทันที พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯก็ทรงพระราชโสมนัสปิติ ทรงคลายพระราชวิตกกังวล ฝ่ายสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้ามงกุฎ เมื่อทรงทราบถึงพระราบวิตกกังวลในพระทัยสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช ดังนั้นก็ทรงสั่งพระภิกษุธรรมยุติกา ให้กลับครองจีวรเป็นลูกบวบอย่างเดิม สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาปวเรศวริยลงกรณ์ ท่านไม่เคยห่มจีวรแบบมอญที่เรียกกันว่า ห่มแหวก เลย ตั้งแต่แรกจนกระทั่งสิ้นพระชนม์ สมเด็จฯ กรมพระยาเดชาดิศร “พ่อมั่ง” ของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ เป็นเจ้านายพระองค์หนึ่งซึ่งทรงมีความเห็นเมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ทรงปรึกษาด้วยขณะสิ้นรัชกาลที่ ๒ ว่า “เวลานี้ หาใช่เวลาที่ควรหวงราชสมบัติไม่” เมื่อสิ้นรัชกาลที่ ๓ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าน เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ คงจะทรงพระราชดำริว่าเป็นการถูกต้องแล้วที่ทรงรอคอยจนกระทั่งโอกาสมาถึงอย่างงดงาม ทั้งการปกครองแผ่นดินก็ราบรื่นด้วยสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราชทรงเตรียมไว้ให้พร้อมสรรพ ไม่ว่าจะเป็นความเข็มแข็งของแผ่นดินเรื่องศึกเสือเหนือใต้ โดยเฉพาะเรื่องเศรษฐกิจ “พ่อมั่ง” ผู้ทรงเป็น “เชฐมัตตัญญู” จึงได้รับพระราชทานเกียรติยศยิ่งกว่า “พี่ชาย” องค์ใดๆ ในชั้นพระองค์เจ้าลูกยาเธอในรัชกาลที่ ๒ องค์ใดๆ ในชั้นพระองค์เจ้าลูกยาเธอในรัชกาลที่ ๒ ด้วยกัน | ||
ความคิดเห็น