ศัพท์พุทธศาสนา (เพื่อนๆ 2.1 มาสูบด่วนนนนนน) - ศัพท์พุทธศาสนา (เพื่อนๆ 2.1 มาสูบด่วนนนนนน) นิยาย ศัพท์พุทธศาสนา (เพื่อนๆ 2.1 มาสูบด่วนนนนนน) : Dek-D.com - Writer

    ศัพท์พุทธศาสนา (เพื่อนๆ 2.1 มาสูบด่วนนนนนน)

    ศัพท์พุทธศาสนา ใครยังไม่เข้าใจ ไม่รู้เรื่องเข้ามาสูบเร็วๆๆๆๆๆๆ

    ผู้เข้าชมรวม

    2,463

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    14

    ผู้เข้าชมรวม


    2.46K

    ความคิดเห็น


    0

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  29 ธ.ค. 50 / 20:58 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

      กฐิน แปลตามศัพท์ว่า ไม้สะดึง คือกรอบไม้หรือไม้แบบสำหรับขึงผ้าที่จะเย็บเป็นจีวร ผ้าที่เย็บสำเร็จจากกฐินหรือไม้สะดึงแบบนี้เรียกว่า ผ้ากฐินความกตัญญู คือ ความรู้คุณ หมายถึงความเป็นผู้มีใจกระจ่าง มีสติ มีปัญญาบริบูรณ์ รู้อุปการคุณที่ผู้อื่นกระทำแล้วแก่ตน ผู้ใดก็ตามที่ทำคุณแก่ตนแล้ว ไม่ว่าจะมากก็ตาม น้อยก็ตามแล้วก็ตามระลึกนึกถึงด้วยความซาบซึ้งไม่ลืมเลย

      กตัญญู

      กตัตตากรรม (อ่านว่า กะตัดตากำ) แปลว่า กรรมสักว่าทำ เป็นชื่อกรรมอย่างหนึ่งที่เรียกตามการให้ผลหนักเบา


      กตัตตากรรม ได้แก่ กรรมทั้งฝ่ายดีและไม่ดีที่ทำไปโดยไม่ได้ตั้งใจ ไม่มีเจตนาจะให้เป็นอย่างนั้น ภาษาวินัยว่าเป็นอจิตตกะ ทำไปก็สักแต่ว่าทำ แม้มีโทษก็ไม่รุนแรง ถือว่าเป็นกรรมที่มีโทษเบาที่สุดในบรรดากรรมทั้งหลาย ถ้าไม่มีกรรมที่หนักกว่าเช่นพหุลกรรม กรรมนี้จึงจะให้ผล

      เปรียบเหมือนลูกศรที่คนบ้าเสียสติยิงออกไปย่อมขาดความแม่นยำ ถูกเป้าบ้าง ไม่ถูกเป้าบ้าง หนักบ้าง เบาบ้าง เพราะคนยิงไม่ได้ตั้งใจแน่วแน่ อย่างเช่นคนที่ขับรถชนคนตายโดยประมาท แม้จะมีโทษ แต่ก็เบากว่าโทษที่ให้คนตายโดยเจตนา หรืออย่างเช่นมีเจตนาจะลงโทษจึงเฆี่ยนตีเพื่อให้เข็ดหลาบ แต่ผู้ถูกเฆี่ยนเกิดตายลง แม้อย่างนี้ก็มีโทษไม่รุนแรง เพราะเจตนาในการฆ่าไม่มี

      กตเวที หมายถึง การทดแทนพระคุณของท่าน แบ่งงานที่ต้องทำ 2 ประการคือ

      1. ประกาศคุณท่าน
      2. การตอบแทนคุณของท่าน 

      กถา แปลว่า ถ้อยคำ, คำพูด, เรื่อง, การกล่าว, การพูด, การอธิบาย


      กถา หมายถึง ถ้อยคำที่กล่าวหรือเรื่องแต่งขึ้นเพื่อสื่อความ เพื่ออธิบายความ หรือเพื่อชี้แจงรายละเอียด เป็นต้น เป็นสำนวนร้อยแก้ว คือมีสำนวนภาษาไพเราะสละสลวย เหมาะเจาะด้วยเสียงและความหมาย เช่น บทเทศน์ บทความ คำปรารภ

      กถา นิยมใช้ตามหลังคำอื่น ๆ เช่น

      กัปปิยการก (อ่านว่า กับปิยะกา-รก) แปลว่า ผู้ทำให้เป็นกัปปิยะ ผู้ทำสิ่งที่สมควรให้แก่สมณะ


      กัปปิยการก หมายถึงผู้ปฏิบัติภิกษุในเรื่องปัจจัย ๔ หรือหมายถึงลูกศิษย์ของภิกษุ ผู้จัดของที่สมควรถวายแก่ภิกษุ ผู้ทำหน้าที่ปฏิบัติดูแลภิกษุในเรื่องการขบฉัน เป็นต้น

      กัปปิยการก ทำหน้าที่ช่วยเหลือภิกษุมิให้ต้องอาบัติหรือความผิดทางพระวินัย เช่น ทำสิ่งที่เป็นอกัปปิยะอันไม่สมควรแก่สมณะให้เป็นกัปปิยะก่อนถวาย เป็นต้นว่า ปอกผลไม้ที่มีเปลือกหนาก่อนถวาย

      กัปปิยะ – กัปปิยภัณฑ์

      กัปปิยะ แปลว่า เหมาะสม, สมควร

      กัปปิยะ หมายถึงสิ่งของเครื่องใช้ที่สมควรแก่สมณะคือภิกษุสามเณร เป็นสิ่งของที่ภิกษุสามเณรบริโภคใช้สอยได้ ไม่ผิดพระวินัย เรียกเต็มว่า กัปปิยภัณฑ์ ได้แก่ ปัจจัย ๔ คือ ผ้า อาหาร ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค

      สิ่งของที่ภิกษุสามเณรไม่ควรจะบริโภคใช้สอยหรือบริโภคใช้สอยไม่ได้ เช่น เสื้อ กางเกง เครื่องประดับ เป็นต้น เรียกว่า อกัปปิยะ หรือ อกัปปิยภัณฑ์

      ปัจจัยบางอย่างที่เป็นอกัปปิยะนิยมทำให้เป็นกัปปิยะเสียก่อนจึงถวายพระ เช่น ผลไม้ที่มีเปลือกหนา นิยมปอกหรือใช้มีดใช้เล็บกรีดให้เป็นรอยเสียก่อน ทำดังนี้เรียกว่า ทำกัปปิยะ เรียกผู้ทำกัปปิยะนั้นว่า กัปปิยการก

      กัลปนา (อ่านว่า กัน-ละ-ปะ-นา) แปลว่า เจาะจงให้ เป็นคำศัพท์ภาษาบาลี นำมาใช้ในภาษาไทย ในปริบททางพุทธศาสนา

      กัลปนา ใช้ในความหมาย ๒ อย่าง คือหมายถึงส่วนบุญที่ผู้ทำบุญอุทิศไปให้ผู้ตาย เรียกว่าอุทิศกัลปนาไปให้ อีกอย่างหนึ่งหมายถึงที่ดินที่เจ้าของถวายเฉพาะผลประโยชน์ที่เกิดจากที่ดินนั้นให้แก่วัด กรรมสิทธิ์ที่ดินยังเป็นของเจ้าของ เช่น นา สวนมะพร้าวที่ดินมีตึกแถว เรียกชื่อเต็มว่า ที่กัลปนา

      "ข้าพเจ้าขออุทิศกัลปนานี้ไปให้บิดา เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย" อย่างนี้เป็นความหมายแรก

      "ปีนี้ที่กัลปนาของวัดเราได้ผลตอบแทนไม่มากเพราะฝนแล้ง" อย่างนี้เป็นความหมายหลัง

      กายิกสุข (อ่านว่า กายิกะสุก) แปลว่า สุขทางกาย, สุขที่เป็นไปในกาย หมายถึงความสบายกาย ความอิ่มเอิบซาบซ่านแห่งกาย กายิกสุขเกิดจากการที่กายสัมผัสกับอารมณ์ภายนอกที่ดี แล้วเกิดความรู้สึกทางกายว่าสบาย อิ่มเอิบ เป็นต้น เช่น ตาได้เห็นคนหรือสิ่งที่ตนชอบ ทำให้เกิดความรู้สึกซาบซ่าน ลิ้นได้ลิ้มรสอาหารที่อร่อย ทำให้เกิดความอิ่ม หายหิว กายได้สัมผัสกับน้ำทำให้กายเย็นสบาย

      กายิกสุข เป็นคู่กับเจตสิกสุขหรือสุขทางใจอันเกิดจากการที่ใจได้สัมผัสกับอารมณ์ที่ดีภายนอกแล้วเกิดความสบายใจ เช่น ดีใจ ชอบใจ

      กาสาวพัสตร์ (อ่านว่า กาสาวะพัด) แปลว่า ผ้าที่ย้อมด้วยน้ำฝาด เป็นคำเรียกผ้าที่พระสงฆ์ใช้นุ่งห่ม ผ้านุ่งห่มของพระสงฆ์ไม่ว่าจะเป็นสีเหลือง สีแก่นขนุนหรือสีกรัก ก็เรียกว่าเป็นผ้ากาสวพัสตร์ทั้งสิ้น


      กาสาวพัสตร์ ถือว่าเป็นของสูง เป็นของพระอริยะ เป็นเครื่องนุ่งห่มของพระพุทธเจ้าที่ทรงประทานอนุญาตให้พระสาวกใช้ได้ จัดเป็นสัญลักษณ์ของพระพุทธศาสนาอย่างหนึ่ง

      กาสาวพัสตร์ ในความหมายรวมๆ ก็คือผ้าเหลืองซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นภิกษุสามเณรในพระพุทธศาสนา เช่น แม่พูดกับลูกว่า

      “ลูกเอ๋ย บวชให้แม่ได้เห็นชายผ้าเหลืองสักพรรษานะลูก”

      คำว่า ผ้าเหลือง ในที่นี้ก็คือผ้ากาสาวพัสตร์ นั่นเอง

      กิเลส แปลว่า สิ่งเกาะติด สิ่งเปรอะเปื้อน สิ่งสกปรก

      กิเลส คือ สิ่งที่แฝงติดอยู่ในใจแล้วทำให้ใจเศร้าหมองขุ่นมัว มีอุปมาเหมือนสีที่ใส่ลงไปในน้ำทำให้น้ำมีสีเหมือนสีที่ใส่ลงไป ใจก็เช่นกัน ปกติก็ใสสะอาด แต่กลายเป็นใจดำ ใจง่าย ใจร้ายก็เพราะมีกิเลสเข้าไปอิงอาศัยผสมปนเปอยู่

      กิเลสที่ชอบซุกหมักหมมอยู่ในใจคนมากที่สุด คือ ราคะ โลภะ โทสะ โมหะ เพราะกิเลสชอบซุกหมักหมมอยู่ในใจของคน จึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า กิเลสาสวะ หรือ อาสวกิเลส แปลว่า กิเลสที่หมักดองอยู่ในจิต

      *เดี๋ยวพรุ่งนี้เอามาลงต่อ มันมีอีกเยอะ เน็ตบ้านเค้าช้าอ่ะ รอหน่อยนะ อย่าเอาแต่หมวด ก.ไก่ เดี๋ยวอาจารย์สงสัย

      กฐิน เป็นภาษาพระวินัย เป็นชื่อเรียกผ้าพิเศษที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้ภิกษุผู้อยู่จำพรรษาครบ 3 เดือนแล้วรับมานุ่งห่มได้

      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×