พุทธศานสุภาษิต(เพื่อนๆ2.1 เข้ามาสูบด่วน!!) - พุทธศานสุภาษิต(เพื่อนๆ2.1 เข้ามาสูบด่วน!!) นิยาย พุทธศานสุภาษิต(เพื่อนๆ2.1 เข้ามาสูบด่วน!!) : Dek-D.com - Writer

    พุทธศานสุภาษิต(เพื่อนๆ2.1 เข้ามาสูบด่วน!!)

    เพื่อนๆ ห้อง ม.2/1 รีบเข้ามาสูบด่วนโว้ยยยยย อยากมีงานส่งก็เข้ามา

    ผู้เข้าชมรวม

    2,768

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    58

    ผู้เข้าชมรวม


    2.76K

    ความคิดเห็น


    0

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  29 ธ.ค. 50 / 20:48 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น

    *หมายเหตุ ใครเอาอันไหนเม้นท์ไว้นะ เดี๋ยวเพื่อนคนอื่นเอาซ้ำไม่รู้ด้วย!!!!

    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ



      ปุคคลวรรค
      - หมวดบุคคล
      สาธุ โข ปณฺฑิโต นาม ชื่อว่าบัณฑิตย่อมทำประโยชน์ให้สำเร็จได้แล
      ปฌฺฑิโต สีลสมฺปนฺโน ชลํ อคฺคีว ภาสติ
      บัณฑิตผู้สมบูรณ์ด้วยศีล ย่อมรุ่งเรืองเหมือนไฟสว่าง
      อนตฺถํ ปริวชฺเชติ อตฺถํ คณฺหาติ ปณฺฑิโต
      บัณฑิตย่อมเว้นสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ถึงเอาแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์
      ทนฺโต เสฎฺโฐ มนุสฺเสสุ ในหมู่มนุษย์ ผู้ฝึกตนแล้วเป็นผู้ประเสริฐสุด
      มหากรุณิโก นาโถ ท่านผู้เป็นที่พึ่ง ประกอบด้วยกรุณายิ่งใหญ่
      กุสโล จ ชหาติ ปาปกํ คนฉลาดย่อมละบาป
      นยํ นยติ เมธาวี คนมีปัญญา ย่อมแนะนำทางที่ควรแนะนำ
      สนฺโต น เต เย น วทนฺติ ธมฺมํ ผู้ใดไม่ผูดเป็นธรรม ผู้นั้นไม่ใช่สัตบุรุษ
      สนฺโต สตฺตหิเต รตา สัตบุรุษยินดีในการเกื้อกูลสัตว์
      สนฺโต สคฺคปรายนา สัตบุรุษมีสวรรค์เป็นที่ไปในเบื้องหน้า
      สตญจ คนฺโธ ปฏิวาตเมติ กลิ่นของสัตบุรุษย่อมหอนทวนลมได้
      โย พาโล มญฺญติ พาลฺยํ ปณฺฑิโต วาปิ เตน โส
      คนซึ่งรู้สึกตนว่าโง่ จะเป็นผู้ฉลาดเพราะเหตุนั้นได้บ้าง
      อสนฺโต นิรยํ ยนฺติ อสัตบุรุษย่อมไปนรก
      สุวิชาโน ภวํ โหติ ผู้รู้ดีเป็นผู้เจริญ
      ครุ โหติ สคารโว ผู้เคารพย่อมมีผู้เคารพตอบ
      วนฺทโก ปฎิวนฺทนํ ผู้ไหว้ย่อมได้รับไหว้ตอบ
      เนกาสี ลภเต สุขํ ผู้กินคนเดียวไม่ได้ความสุข
      นตฺถิ โลเก อนินฺทิโต คนไม่ถูกนินทาไม่มีในโลก
      อติติกฺโข จ เวรวา คนแข็งกระด้างก็มีเวร
      น อุชุภูตา วิตถํ ภณนฺติ คนตรงไม่พูดคลาดความจริง
      อาหุเนยฺยา จ ปุตฺตานํ มารดาบิดาเป็นที่นับถือของบุตร
      ปุพพาจริยาติ วุจฺจเร มารดาบิดาท่านว่าเป็นบูรพาจารย์ (ของบุตร)
      ภตฺตา ปญฺญาณมิตฺถิยา สามีเป็นเครื่องปรากฏของสตรี
      สุสฺสูสา เสฏฺฐา ภริยานํ บรรดาภริยาทั้งหลาย ภริยาผู้เชื่อฟัง เป็นผู้ประเสริฐ
      โย จ ปุตฺตา นมสฺสโว บรรดาบุตรทั้งหลาย บุตรผู้เชื่อฟังเป็นผู้ประเสริฐ
      คุณวา จาตฺตโน คุณ ผู้มีความดี จงรักษาความดีของตนไว้
      อจฺจยํ เทสยนฺตีนํ โย เจ น ปฎิคณฺหติ
      โกปนฺตโร โทสครุ ส เวรํ ปฎิมจฺจติ
      เมื่อเขาขอโทษ ถ้าผู้ใดมีความขุ่นเคือง
      โกรธจัด ไม่ยอมรับ ผู้นั้นชื่อว่า หมกเวรไว้
      เอวํ กิจฺฉาภโต โปโส ปิตุ อปริจารโก
      ปิตริมิจฺฉาจริตฺวาน นิรยํ โส อุปปชฺชติ
      ผู้ที่มีมารดาบิดาเลี้ยงมาได้โดยยากอย่างนี้
      ไม่บำรุงมารดาบิดา ประพฤติผิดในมารดาบิดา ย่อมเข้าถึงนรก
      เตชวาปิ หิ นโร วิจกฺขโณ สกฺกโต พหุชนสฺส ปูชิโต
      นารีนํ วสงฺคโต น ภาสติ ราหุนา อุปหโตว จนฺทิมา
      ถีงเป็นคนมีเดช มีปัญหาเฉียบแหลม อันคนเป็นอันมากสักการบูชา
      อยู่ในอำนาจสตรีเสียแล้วย่อมไม่รุ่งเรือง เหมือนพระจันทร์ถูกพระราหูบังฉะนั้น
      ทูเร สนฺโต ปกาเสนฺติ หิมวนฺโตว ปพฺพโต
      อสนฺเตตฺถ น ทิสฺสนฺติ รตฺติขิตฺตา ยถา สรา
      สัตบุรุษทั้งหลายย่อมปรากฎได้ในที่ใกล เหมือนภูเขาหิมวันต์
      อสัตบุรุษทั้งหลายถึงในที่นี้ก็ไม่ปรากฎ เหมือนลูกศรที่ยิงไปกลางคืน ฉะนั้น
      ธีโร โภเค อธิคมฺม สงฺคณฺหาติ จ ญาตเก
      เตน โส กิตฺตึ ปปฺโปติ เปจฺจ สคฺเค ปโมทติ
      ผู้มีปรีชาได้โภคะแล้ว ย่อมสงเคราะห์หมู่ญาติ
      เพราะการสงเคราะห์นั้น เขาย่อมได้เกียรติ ละไปแล้วย่อมบันเทิงในสวรรค์
      มธุวา มญฺญตี พาโล ยาว ปาปํ น ปจฺจติ
      ยทา จ ปจฺจตี ปาปํ อถ ทุกฺขํ นิคจฺฉติ
      ตราบเท่าที่บาปยังไม่ให้ผล คนเขลายังเข้าใจว่ามีรสหวาน
      แต่บาปให้ผลเมื่อใด คนเขลาย่อมประสบทุกข์เมื่อนั้น
      ยสฺส ปาปํ กตํ กมฺมํ กุสเลน ปิถียติ
      โสมํ โลกํ ปภาเสติ อพฺภา มุตฺโตว จนฺทิมา
      ผู้ใดทำกรรมชั่วแล้ว ละเสียได้ด้วยกรรมดี
      ผู้นั้นย่อมยังโลกให้สว่าง เหมือนพระจันทร์พ้นจากเมฆ
      ยสฺส รุกฺขสฺส ฉายาย นิสีเทยฺย สเยยฺย วา
      น ตสฺส สาขํ ภญฺเชยฺย มิตฺตทุพฺโพ หิ ปาปโก
      บุคคลนั่งหรือนอน (อาศัย) ที่ร่มเงาตันไม้ใด
      ไม่ควรรานกิ่งต้นไม้นั้น เพราะผู้ประทุษร้ายมิตร เป็นคนเลวทราม
      โย มาตรํ ปิตรํ วา มจฺโจ ธมฺเมน โปสติ
      อิเธว นํ ปสํสนฺติ เปจฺจ สคฺเค ปโมทติ
      ผู้ใดย่อมเลี้ยงมารดาบิดาโดยธรรม
      บัณฑิตย่อมสรรเสริญผู้นั้นในโลกนี้ เขาละไปแล้ว ย่อมบันเทิงในสวรรค์
       
      ปัญญาวรรค - หมวดปัญญา
      ปญฺญา โลกสฺมิ ปชฺโชโต ปัญญาเป็นแสงสว่างในโลก
      ปญฺญา นรานํ รตนํ ปัญญาเป็นรัตนะของนรชน
      ปญฺญาว ธเนน เสยฺโย ปัญญาเทียวประเสริฐกว่าทรัพย์
      ปญฺญาชีวีชีวิตมาหุ เสฏฺฐํ
      ปราชญ์กล่าวชีวิตของผู้เป็นอยู่ด้วยปัญญาว่าประเสริฐสุด
      ปญฺญายตฺถํ วิปสฺสติ คนย่อมเห็นเนื้อความด้วยปัญญา
      ปญฺญา หิ เสฏฺฐา กุสลา วทนฺติ นกฺขตฺตราชาริว ตารกานํ
      สีลํ สิรึ จาปิ สตญฺจ ธมฺโม อนฺวายิกา ปญฺญวโด ภวนฺติ
      คนฉลาดกล่าวว่าปัญญาประเสริฐ เหมือนพระจันทร์ประเสริฐ
      กว่าดาวทั้งหลาย แม้ศีลสิริและธรรมของสัตบุรุษ ย่อมไปตามผู้มีปัญญา
      ยสํ ลทฺธาน ทุมฺเมโธ อนตฺถํ จรติ อตฺตโน
      อตฺตโน จ ปเรสญฺจ หึสาย ปฏิปชฺชติ
      คนมีปัญญาทราม ได้ยศแล้วย่อมประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่ตน
      ย่อมปฏิบัติเพื่อเบียดเบียน ทั้งตนและผู้อื่น
      มตฺตาสุขปริจฺจาคา ปสฺเส เจ วิปุลํ สุข
      จเช มตฺตาสุขํ ธีโร สมฺปสฺสํ วิปุลํ สุขํ
      ถ้าพึงเห็นสุขอันไพบูลย์ เพราะยอมเสียสละสุขส่วนน้อย
      ผู้มีปัญญาเล็งเห็นสุขอันไพบูลย์ ก็ควรสละสุขส่วนน้อยเสีย
      ปญฺญวนฺตํ ตถาวาทึ สีเลสุ สุสมาหิตํ
      เจโตสมถมนุยุตฺตํ ตํ เว วิญฺญู ปสํสเร
      ผู้รู้ย่อมสรรเสริญคนมีปัญญา พูดจริง ตั้งมั่นในศีล
      ประกอบความสงบใจนั้นแล

      ปาปวรรค - หมวดบาป
      อิธ โสจติ เปจฺจ โสจติ ปาปการี อุภยตฺถ โสจติ
      โส โสจติ โส วิหญฺญติ ทิสฺวา กมฺมกิลิฏฺฐมตฺตโน
      ผู้ทำบาป ย่อมเศร้าโศกในโลกนี้ ละไปแล้วก็เศร้าโศก ชื่อว่าเศร้าโศกในโลกทั้งสอง
      เขาเห็นกรรมอันเศร้าหมองของตน จึงเศร้าโศกและเดือดร้อน
      อุทพินทุนิปาเตน อุทกุมฺโภปิ ปูรติ
      อาปูรติ พาโล ปาปสฺส โถกํ โถกํปิ อาจินํ
      แม้หม้อน้ำยังเต็มด้วยหยาดน้ำฉันใด
      คนเขลาสั่งสมบาปแม้ทีละน้อย ๆ ก็เต็มด้วยบาปฉันนั้น
      ปาณิมฺหิ เจ วโณ นาสฺส หเรยฺย ปาณินา วิสํ
      นาพฺพณํ วิสมนฺเวติ นตฺถิ ปาปํ อกุพฺพโต
      ถ้าฝ่ามือไม่มีแผล ก็พึงนำยาพิษไปด้วยฝ่ามือได้
      ยาพิษซึมเข้าฝ่ามือไม่มีแผลไม่ได้ฉันใด บาปย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่ทำฉันนั้น
      วาณิโชว ภยํ มคฺคํ อปฺปสตฺโถ มหทฺธโน
      วิสํ ชีวิตุกาโมว ปาปานิ ปริวชฺชเย
      ควรงดเว้นบาปเสีย เหมือนพ่อค้ามีพวกน้อยมีทรัพย์มาก
      เว้นหนทางที่มีภัย และเหมือนผู้รักชีวิตเว้นยาพิษเสียฉะนั้น

      ปุญญวรรค - หมวดบุญ
      ปุญฺญํ โจเรหิ ทูหรํ บุญอันโจรนำไปไม่ได้
      ปญฺญํ สุขํ ชีวิตสงฺขยมฺหิ บุญนำสุขมาให้ในเวลาสิ้นชีวิต
      สุโข ปุญฺญสฺส อุจฺจโย ความสั่งสมบุญ นำสุขมาให้
      ปุญฺญานิ ปรโลกสฺมึ ปติฏฺฐา โหนฺติ ปาณินํ
      บุญเป็นที่พึ่งของสัตว์ในโลกหน้า
      อิธ นนฺทติ เปจฺจ นนฺทติ กตปุญโญฺ อุภยตฺถ นนฺทติ
      ปุญฺญํ เม กตนุติ นนฺทติ ภิยฺโย นนฺทุติ สุคตึ คโต
      ผู้ทำบุญแล้วย่อมยินดีในโลกนี้
      ตายแล้วย่อมยินดีชื่อว่ายินดีในโลกทั้งสอง
      เขาย่อมยินดีว่าเราทำบุญไว้แล้ว ไปสู่สุคติย่อมยินดียิ่งขึ้น
      ปญฺญญฺ ปริโส กยิรา กยิราถนํ ปุนปฺปุนํ
      ตมฺหิ ฉนฺทํ กยิราถ สุโข ปุญฺญสฺส อุจฺจโย
      ถ้าบุรุษจะพึ่งทำบุญ ควรทำบุญนั้นบ่อย ๆ
      ควรทำความพอใจในบุญนั้น การสั่งสมบุญนำความสุขมาให้
      มาวมญฺเญถ ปุญฺญสฺส น มตฺตํ อาคมิสฺสติ
      อุทพินฺทุนิปาเตน อุทกุมฺโภปิ ปูรติ
      อาปูรติ ธีโร บุญฺญสฺส โถกํ โถกํปิ อาจินํ
      ไม่ควรดูหมิ่นต่อบุญว่ามีประมาณน้อยจักไม่มีมาถึง
      แม้หม้อน้ำย่อมเต็มได้ด้วยหยาดน้ำที่ตกลงมาฉันใด
      ผู้มีปัญญาสั่งสมบูญแม้ทีละน้อยๆ ย่อมเต็มได้ด้วยบุญ ฉันนั้น
      สหาโย อตฺถชาตสฺส โหติ มิตฺตํ ปุนปฺปุนํ
      สยํ กตานิ ปุญฺญานิ ตํ มิตฺตํ สมฺปรายิกํ
      สหายเป็นมิตรของคนผู้มีความต้องการเกิดขึ้นบ่อย ๆ
      บุญทั้งหลายที่ตนทำเองนั้น จะเป็นมิตรในสัมปรายภพ
      ขันติวรรค - หมวดอดทน
      อตฺตโนปิ ปเรสญฺจ อตฺถาวโห ว ขนฺติโก
      สคฺคโมกฺขคมํ มคฺคํ อารุฬฺโห โหติ ขนฺติโก
      ผู้มีขันติ ชื่อว่านำประโยชน์มาให้ ทั้งแก่ตนทั้งแก่ผู้อื่น
      ผู้มีขันติ ชื่อว่าเป็นผู้ขึ้นสู่ทางไปสวรรค์และนิพพาน
      เกวลานํปิ ปาปานํ ขนฺติ มูลํ นิกนฺตติ
      ครหกลหาทีนํ มูลํ ขนฺติ ขนฺติโก
      ขันติ ย่อมตัดรากแห่งบาปทั้งสิ้น
      ผู้มีขันติชื่อว่าย่อมขุดรากแห่งความติเตียนและการทะเลาะกันได
      ขนฺติโก เมตฺตวา ลาภี ยสสฺสี สุขสีลวา
      ปิโย เทวมนุสฺสานํ มนาโป โหติ ขนฺติโก
      ผู้มีขันตินับว่ามีเมตตา มีลาภ มียศ และมีสุขเสมอ
      ผู้มีขันติเป็นที่รักที่ชอบใจของเทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย
      สตฺถุโน วจโนวาทํ กโรติเยว ขนฺติโก
      ปรมาย จ ปูชาย ชินํ ปูเชติ ขนฺติโก
      ผู้มีขันติ ชื่อว่าทำตามคำสอนของพระศาสดา
      และผู้มีขันติ ชื่อว่าบูชาพระชินเจ้าด้วยบูชาอันยิ่ง
      สีลสมาธิคุณานํ ขนฺติ ปธานการณํ
      สพฺเพปิ กุสลา ธมฺมา ขนฺตฺยาเยว วฑฺฒนฺติ เต
      ขันติเป็นประธาน เป็นเหตุ แห่งคุณคือศีลและสมาธิ
      กุศลธรรมทั้งปวงย่อมเจริญเพราะขันติเท่านั้น
      ขนฺติ ธีรสฺส ลงฺกาโร ขนฺติ ตโป ตปสฺสิโน
      ขนฺติ พลํ ว ยตีนํ ขนฺติ หิตสุขาวหา
      ขันติเป็นเครื่องประดับของนักปราชญ์ ขันติเป็นตบะของผู้พากเพียร
      ขันติเป็นกำลังของนักพรต ขันตินำประโยชน์สุขมาให้
      น สุทฺธิ เสจเนน อตฺถิ นปิ เกวลี พฺราหฺมโณ
      น เจว ขนฺติ โสรจฺจํ นปิ โส ปรินิพฺพุโต
      ความบริสุทธิ์ก็ดี ผู้ที่จะประเสริฐล้วนก็ดี ขันติและโสรัจจะก็ดี
      จะเป็นผู้เย็นสนิทก็ดี ย่อมไม่มีเพราะการชำระล้าง (ด้วยน้ำ)
      นเหตมตฺถํ มหตีปิ เสนา สราชิกา ยุชฺฌมานา ลเภถ
      ยํ ขนฺติมา สปฺปุริโส ลเภถ ขนฺติพลสฺสูปสมนฺติ เวรา
      เสนาแม้หมู่ใหญ่ พร้อมด้วยพระราชารบอยู่ ไม่พึงได้ประโยชน์ที่สัตบุรุษผู้มีขันติพึงได้
      (เพราะ) เวรทั้งหลายของผู้มีขันติเป็นกำลังนั้น ย่อมสงบระงับ

      จิตตวรรค - หมวดจิต
      จิตฺตํ ทนฺตํ สุขาวหํ จิตที่ฝึกแล้วนำสุขมาให้
      จิตฺตํ คุตฺตํ สุขาวหํ จิตที่คุ้มครองแล้วนำสุขมาให้
      วิหญฺญตี จิตฺตวสานุวตฺตี ผู้ประพฤติตามอำนาจจิตย่อมลำบาก
      เตลปตฺตํ ยถา ปริหเรยฺย เอวํ สจิตฺตมนุรกฺเข
      พึงรักษาจิตของตน เหมือนคนประคองบาตรที่เต็มด้วยน้ำมัน
      ยโต ยโต จ ปาปกํ ตโต ตโต มโน นิวารเย
      ก็บาปเกิดจากอารมณ์ใด ๆ พึงห้ามใจจากอารมณ์นั้น ๆ
      ยโต ยโต จ ปาปกํ ตโต ตโต มโน นิวารเย
      ก็บาปเกิดจากอารมณ์ใด ๆ พึงห้ามใจจากอารมณ์นั้น ๆ
      อนวัฏฺจิต จิตฺตสฺส สทฺธมฺมํ อวิชานโต
      ปริปฺวลปสาทสฺสุ ปญฺญา น ปริปูรติ
      เมื่อจิตไม่มั่นคง ไม่รู้พระสัทธรรม
      มีความเลื่อมใสเลื่อนลอย ปัญญาย่อมไม่บริบูรณ์
      ทิโส ทิสํ ยนฺตํ กยิรา เวริ วา ปน เวรินํ
      มิจฺ ฉา ปณิหิตํ จิตตํ ปาปิโย นํ ตโต กเร
      โจรกับโจรหรือไพรีกับไพรี พึงทำความพินาศให้แก่กัน
      ส่วนจิตตั้งไว้ผิด พึงทำให้เขาเสียหายยิ่งกว่านั้น
      อานาปานสฺสติ ยสฺส อปริปุณฺณา อภาวิตา
      กาโยปิ อิญฺชิโต โหติ จิตฺตมฺปิ โหติ อิญฺชิตํ
      สติกำหนดลมหายใจเข้าออก
      อันผู้ใดไม่อบรมให้บริบูรณ์ ทั้งกายทั้งจิตของผู้นั้นก็หวั่นไหว
      น ตํ มาตา ปิตา กยิรา อญฺเญ วาปิจ ญาตกา
      สมฺมาปณิหิตํ จิตฺตํ เสยฺยโส นํ ตโต กเร
      มารดาบิดาหรือญาติเหล่าอื่น ไม่พึงทำเหตุนั้นให้ได้
      ส่วนจิตที่ตั้งไว้ดีแล้ว พึงทำเขาให้ดีกว่านั้น
      ยถา อคารํ ทุจฺฉนฺนํ วุฏฐี สมติวิชฺฌต
      เอวํ อภาวิตํ จิตฺตํ ราโค สมติวิชฺฌติ
      ฝนย่อมรั่วรดเรือนที่มุงไม่ดีฉันใด
      ราคะย่อมรั่วรดจิตที่ไม่ได้อบรมฉันนั้น
      เสโล ยถา เอกฆโน วาเตน น สมีรติ
      เอวํ นินฺทาปสํสาสุ น สมิญฺชนฺติ ปณฺฑิตา
      ภูเขาหินแท่งทึบ ไม่สั่นสะเทือนเพราะลมฉันใด
      บัณฑิตย่อมไม่หวั่นไหวในนินทาและสรรเสริญฉันนั้น
      จิตฺเตน นียติ โลโก จิตฺเตน ปริกสฺสต
      จิตฺตสฺส เอกธมฺมสฺส สพฺเพว วสมนฺวคู
      โลกถูกจิตนำไป ถูกจิตชักไป
      สัตว์ทั้งปวงไปสู่อำนาจแห่งจิตอย่างเดียว
      ปทุฏฺฐจิตฺตสฺส น ผาติ โหต น จาปิ นํ เทวตา ปูชยนฺติ
      โย ภาตรํ เปตฺติกํ สาปเตยฺย อวญฺจยี ทุกฺกฏกมฺมการี
      ผู้ใดทำกรรมชั่ว ล่อลวงเอาทรัพย์สมบัติพี่น้องพ่อแม่
      ผู้นั้นมีจิตชั่วร้าย ย่อมไม่มีความเจริญ แม้เทวดาก็ไม่บูชาเขา

      ชยวรรค - หมวดชนะ
      ชยํ เวรํ ปสวติ ผู้ชนะย่อมก่อเวร
      สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ การให้ธรรมย่อมชนะการให้ทั้งปวง
      สพฺพรสํ ธมฺมรโส ชินาติ รสแห่งธรรมย่อมชนะรสทั้งปวง
      สพฺพรตึ ธมฺมรติ ชินาติ ความยินดีในธรรมย่อมชนะความยินดีทั้งปวง
      ตณฺหกฺขโย สพฺพทุกฺขํ ชินาติ ความสิ้นตัณหาย่อมชนะทุกข์ทั้งปวง
      น ตํ ชิตํ สาธุ ชิตํ ย ํ ชิตํ อวชิยฺยติ ความชนะใดที่ชนะแล้วกลับแพ้ได้ ความชนะนั้นไม่ดี
      อกฺโกเธน ชิเน โกธํ พึงชนะความโกรธด้วยความไม่โกรธ
      อสาธุํ สาธุนา ชิเน พึงชนะคนไม่ดีด้วยความดี
      ชิเน กทริยํ ทาเนน พึงชนะคนตระหนี่ด้วยการให้
      สจฺเจนาลิกวาทินํ พึงชนะคนพูดปดด้วยคำจริง
       
       

      *อย่าลืมเม้นท์ว่าใครเอาอันไหนแล้ว หลงกับเพื่อน ซ้ำกับเพื่อนไม่รู้ด้วยนะเฟ้ย! 

      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×