ตลับหมึกเอชพีใช้วัสดุรีไซเคิลลดขยะฝังกลบ - ตลับหมึกเอชพีใช้วัสดุรีไซเคิลลดขยะฝังกลบ นิยาย ตลับหมึกเอชพีใช้วัสดุรีไซเคิลลดขยะฝังกลบ : Dek-D.com - Writer

    ตลับหมึกเอชพีใช้วัสดุรีไซเคิลลดขยะฝังกลบ

    เอชพีเก็บคืนซากตลับหมึกพิมพ์อิงค์เจ็ต นำเข้ากระบวนการรีไซเคิลกลับมาเป็นตลับหมึกใหม่ใสปิ๊ง ช่วยประหยัดพลังงานและระงับการกลบฝังพลาสติกที่ใช้แล้วลงดิน ฮิวเลตต์-แพคการ์ด หรือเอชพี บริษัทผู้ผลิตและจำหน่ายอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ดำเนินโครงการรีไซเคิลพลาสติกจาก

    ผู้เข้าชมรวม

    584

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    2

    ผู้เข้าชมรวม


    584

    ความคิดเห็น


    0

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  15 ก.ค. 51 / 15:05 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ
      เอชพีเก็บคืนซากตลับหมึกพิมพ์อิงค์เจ็ต นำเข้ากระบวนการรีไซเคิลกลับมาเป็นตลับหมึกใหม่ใสปิ๊ง ช่วยประหยัดพลังงานและระงับการกลบฝังพลาสติกที่ใช้แล้วลงดิน

      ฮิวเลตต์-แพคการ์ด หรือเอชพี บริษัทผู้ผลิตและจำหน่ายอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ดำเนินโครงการรีไซเคิลพลาสติกจากขยะขวดน้ำธรรมดาและถุงใสทั่วไป เพื่อนำพลาสติกที่ได้มาผลิตเป็นตลับหมึกพิมพ์ โดยปีที่ผ่านมาใช้พลาสติกรีไซเคิลหนักถึง 5 ล้านปอนด์ หรือประมาณ 2.27 ล้านกิโลกรัม ในการผลิตตลับหมึกพิมพ์กว่า 200 ล้านตลับ และตั้งใจจะใช้วัสดุรีไซเคิลเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าในปีนี้

       ในการผลิตตลับหมึกจากพลาสติกรีไซเคิลนี้ ทีมวิจัยของเอชพีมุ่งศึกษาหาเทคโนโลยีที่เหมาะสม รวมทั้งคำนวณหาสูตรผสมที่เหมาะสม ระหว่างวัสดุรีไซเคิลกับยางสนและสารเติมแต่ง เพื่อให้แน่ใจว่าตลับหมึกพิมพ์ที่ผลิตขึ้นมาใหม่นั้น ตรงตามมาตรฐานการผลิตชั้นสูงของเอชพี

       ส่วนประกอบวัสดุรีไซเคิลในตลับหมึกอาจมีปริมาณแตกต่างกันไปตั้งแต่ 70-100% ของพลาสติกทั้งหมดที่ใช้ ผลิตภัณฑ์ทั้งหมดได้รับการยอมรับ เนื่องจากผ่านการทดสอบคุณภาพอย่างสม่ำเสมอ ต่างจากบริษัทอื่นๆ ที่เพียงแต่นำตลับหมึกเก่ากลับมาผลิตใหม่

       ขณะที่เอชพีพบเทคนิคหล่อส่วนประกอบพลาสติกรีไซเคิลเหล่านี้เข้ากับตลับหมึกพิมพ์อิงค์เจ็ต เทคนิคนี้ก็เป็นที่ยอมรับของสมาคมวิศวกรพลาสติกในสหรัฐ

       นายกฤษณ์ กิตติทัตต์ ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาการตลาดผลิตภัณฑ์ซัพพลาย บริษัท ฮิวเลตต์-แพคการ์ด (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า การนำวัสดุพลาสติกมารีไซเคิลเพื่อผลิตตลับหมึกใหม่ โดยผ่านขั้นตอนการผลิตชั้นสูงของเอชพี แสดงถึงนวัตกรรมทางวิศวกรรมระดับสูง ที่ทีมวิจัยใช้เวลาหลายปีในการคิดค้น

       ทั้งนี้ เอชพีได้จัดทำโครงการรับคืนตลับหมึกพิมพ์ ทั้งในประเทศและระดับภูมิภาค เช่น ไทย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย รวม 45 ประเทศ โดยมีจุดรับทิ้งตามสำนักงาน จากนั้นก็รวบรวมไปรีไซเคิลตามขั้นตอนการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม ลูกค้าสามารถมั่นใจในการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม เพราะตลับหมึกที่รับคืนผ่านโครงการ จะ "ไม่" ถูกนำไปเติมหมึกขายต่อ หรือส่งไปฝังกลบลงดิน

      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×