ทิวลิป (Tulip) เป็นชื่อสามัญของพันธุ์ไม้หัว ที่ออกดอกในฤดูใบไม้ผลิ ถ้าเราจะกล่าวกันถึง ต้นหรือดอก “ทิวลิป” ก็จะเหมือนๆ กับการพูดถึง “กล้วยไม้” หรือ “กุหลาบ” อย่างนั้นเอง เพราะชื่อของทิวลิป กล้วยไม้ และกุหลาบ เป็นคำสามัญนามที่ไม่ได้มีจัดแยกประเภทกันว่า เป็นต้นไม้หรือดอกไม้อย่างไหน พันธุ์ไหน หรือชนิดไหน พันธุ์พืชแต่ละอย่าง หรือแต่ละนามนี้ ต่างก็มีสายพันธุ์ต่างๆ ที่แตกแขนงออกไปเป็นพันธุ์ (Species) เป็นชนิด (Variety) มีมากมายเหลือเกิน ในปัจจุบันนี้ เชื่อกันว่า ได้มีนักผสมพันธุ์ทิวลิปต่างๆ ทำให้มีทิวลิปเกิดขึ้นในโลกมากกว่า 1,000 ชนิด แต่อย่างไรก็ตาม ในอดีตนั้น นักพฤกษาวิทยาได้เคยมีรายงานบันทึกไว้ว่า ทิวลิปพันธุ์พื้นเมือง ซึ่งเป็นของดั้งเดิมของโลกเก่าจริงๆ นั้น มีกระจายพันธุ์ขึ้นอยู่ในแถบถิ่นต่างๆ ของโลกราว 100 พันธุ์ หรือ 100 สปีชี่ ส่วนทิวลิปที่โด่งดังของโลก ซึ่งมีนักปลูกดอกไม,้ ต้นไม้ นิยมปลูกกันอย่างกว้างขวางในโลก มากกว่าทิวลิปพันธุ์อื่นๆ คือ ทิวลิปพันธุ์ที่พระอาจารย์ลินเนียส ได้ตั้งชื่อไว้ให้ ในปีพ.ศ. 2280 ว่า ทิวลิปา กีสนีเรียนา (Tulipa gesneriana) ซึ่งเป็นทิวลิปที่เป็นที่นิยมมากที่สุด มาตั้งแต่ในสมัยกลางคริสต์ศตวรรษที่ 16 มาจนถึงในปัจจุบัน ทิวลิปพันธุ์ที่ว่านี้ เป็นพืชพื้นเมือง มีทำเลถิ่นเกิดอยู่ในประเทศตุรกี และในละแวกเอเชียไมเนอร์บางท้องที่ แต่ต่อมาภายหลัง ก็เกิดมีการกระจายพันธุ์เข้าไปเป็นพืชพื้นเมืองอยู่ในยุโรปตอนใต้อีกหลายท้องที่ บุคคลแรกที่นำทิวลิปสู่ยุโรปคือ “บุสเบค” ราชทูตอาณาจักรโรมันในราชสำนักตุรกี ในช่วงปี ค.ศ. 1572 ทำให้ผู้คนรุ่นหลังๆ เกิดไขว้เขว คิดว่าทิวลิปพันธุ์นี้เป็นต้นไม้พื้นเมืองของทวีปยุโรป ทิวลิปพันธุ์กีสนีเรียนาเป็นพืชของโลกเก่า ที่นักพฤกษาวิทยาพบเป็นครั้งแรกจากประเทศตุรกี และชาวตุรกีก็เป็นหมู่ชน กลุ่มแรกที่รู้จักนำต้นทิวลิปพันธุ์นี้จากทุ่งนาป่าเขา นำเข้าไปปลูกดูเล่นในสวนดอกไม้ ตั้งแต่ในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 16 และทิวลิปถูกนำเข้าสู่ยุโรปตะวันตก จากกรุงคอนสแตนติโนเปิล และเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะที่ประเทศฮอลแลนด์ |
| คำว่า "ทิวลิป" หรือ Tulip นี้ เชื่อกันว่ามาจากชื่อที่เรียกผ้าโพกศีรษะของชาวสลาฟ (คือชนชาวรัสเซียน,บัลกาเรียน, โบฮีเมียน และชาวโพล) ซึ่งชาวตุรกีเรียกผ้าโพกศีรษะนี้ ว่า tulbend และในภาษาเปอร์เซียว่า tulipant อังกฤษว่า turban ส่วนผ้าโพกศีรษะที่เขียน ว่า toliban เมื่อเปลี่ยนเป็นภาษาละตินก็กลายเป็น tulipa ใช้จินตนาการนิดหน่อย ดอกทิวลิปก็ดูลักษณะคล้ายผ้าโพกศีรษะ แต่ที่มาของคำจริงๆ นั้นไม่มีใครทราบ ราวศตวรรษที่ 18 ทิวลิปมีชื่อประจำตัวมากมาย ตามบุคคลที่มียศถาบรรดาศักดิ์ เช่น อเล็กซานเดอร์มหาราช, ดยุคแห่งวองโดม, จักรพรรดิแห่งเยอรมนี หรือดยุคแห่งคาร์ลโบโรห์ ไม่มีดอกไม้ชนิดใดมีประวัติผาดโผนเช่นทิวลิปอีกแล้ว |
ในประเทศเปอร์เซียนั้น นักพฤกษาวิทยาได้เคยพบต้นทิวลิปป่าขึ้นอยู่มาก และในละแวกใกล้ๆ กับเมืองคาบูลในอัฟกานิสถาน ก็พบว่ามีต้นทิวลิปต่างๆ ขึ้นอยู่ในพื้นที่มากมายถึง 33 พันธุ์ ด้วยเหตุนี้ชาวเปอร์เซียนจึงมีเรื่องตำนานอันเก่าแก่ ที่เกี่ยวข้องอยู่กับเรื่องของทิวลิปมากกว่าชนชาติใดๆ ในโลก ทิวลิปดอกแรกที่ปรากฏอยู่ในตำนานนั้น ได้แก่ ดอกทิวลิปสีแดงสด ซึ่งชนชาวเปอร์เซียนโบราณเชื่อกันว่า เป็นสัญลักษณ์ของหยดเลือดและความรักอันจิรังกาล ที่พบอยู่เสมอในบทกวี บทเพลงพื้นบ้าน หรือในภาพเขียนลายเส้น หรือภาพสีน้ำมันของชาวเปอร์เซียนในยุคโบราณ ราชอาณาจักรตุรกียุคโบราณ (Ottoman Empire) ก็เคยใช้ดอกทิวลิปสีแดง เป็นสัญลักษณ์มาก่อนเช่นเดียวกัน ต่อมาความเชื่อนี้จึงค่อยแพร่ขยายเข้าไปสู่ในยุโรป แม้ในจักรวรรดิ์โรมัน ก็มีการใช้ดอกทิวลิปเป็นสัญลักษณ์ ขององค์จักรพรรดิหลายพระองค์อีกด้วย ประวัติและตำนานของดอกทิวลิปนั้นจึงมีอยู่มากมาย เพราะก่อนที่ทิวลิปจะเข้ามาสู่ในโลกของพฤกษศาสตร์ ชนหลายชาติก็เคยรู้จัก และเคยปลูกทิวลิปด้วยกันมาก่อนแล้วทั้งนั้น ใน Encyclopedia จึงอ้างว่า มนุษย์เรียกชื่อของทิวลิปแตกกันอยู่นั้นมีมากกว่า 4,000 ชื่อ แต่สำหรับทิวลิปพันธุ์ที่เรียกกันว่า “ทิวลิปา กีสนีเรียนา” นี้ ได้เริ่มเป็นที่รู้จักกันในยุโรปเมื่อ อาจารย์คอนแรดเกสเนอร์ (Conrad Gesner) นักพฤกษาวิทยาแห่งสวนพฤกษศาสตร์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ได้เขียนเรื่องและรูปของทิวลิปพันธุ์นี้พิมพ์เผยแพร่ขึ้นในปีพ.ศ.2104 โดยที่พระอาจารย์เกสเนอร์ ใช้แผ่นทองแดงเป็นแม่พิมพ์ ครั้นต่อมาภายหลังพระอาจารย์ลินเนียส ก็ได้นำทิวลิปนี้ไปขึ้นทำเนียบไว้ในหนังสือ Systema Naturae ของท่านในพ.ศ. 2280 ทิวลิปต้นนี้ จึงได้นามว่าเป็นทิวลิปา กีสนีเรียนา มาตั้งแต่ในพุทธศกนั้น |
ข้อความที่โพสจะต้องไม่น้อยกว่า {{min_t_comment}} ตัวอักษรและไม่เกิน {{max_t_comment}} ตัวอักษร
กรอกชื่อด้วยนะ
_________
กรอกข้อมูลในช่องต่อไปนี้ไม่ครบ
หรือข้อมูลผิดพลาดครับ :
_____________________________
ช่วยกรอกอีกครั้งนะครับ
กรุณากรอกรหัสความปลอดภัย
ความคิดเห็น