บาสเกตบอล - บาสเกตบอล นิยาย บาสเกตบอล : Dek-D.com - Writer

    บาสเกตบอล

    รู้ไว้ใช่ว่าใส่บ่าแบกหาม

    ผู้เข้าชมรวม

    7,175

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    6

    ผู้เข้าชมรวม


    7.17K

    ความคิดเห็น


    11

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  2 ธ.ค. 49 / 13:35 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

             

      ประวัติกีฬาบาสเกตบอลต่างประเทศ

      กีฬาบาสเกตบอลเป็นกีฬาประเภททีม มีผู้เล่นฝ่ายละ ๕ คน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อนำ
      ลูกบาสเกตบอลไปโยนลงห่วงประตูของฝ่ายตรงกันข้ามให้ได้มากที่สุด โดยมีทักษะการ
      เล่น ได้แก่ การส่ง – รับลูกการเลี้ยงลูกและการยิงประต กีฬาบาสเกตบอลมีกำเนิดขึ้น
      เป็นครั้งแรกที่ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยเริ่มจาก ดร. เจมส์ เอ เนสมิท
      (JamesA. Naismith) ได้คิดขึ้นเพื่อเล่นในโรงพลศึกษาของโรงเรียนฝึกอบรม
      ของสมาคมวายเอ็มซีเอนานาชาติ (International Young Men’s Christian
      Association Training School) ที่เมือง สปริงฟีลด์ มลรัฐแมสซาซูเซตส์
      ในช่วงที่มีหิมะตก เมื่อ ค.ศ. ๑๘๙๑ (พ.ศ. ๒๔๓๔) โดยใช้ตะกร้าลูกพีช ๒ ใบ
      แขวนเป็นประตู จึงทำให้กีฬานี้ได้ชื่อว่าบาสเกตบอล (Basketball) การเล่นครั้งนั้นใช้
      ลูกฟุตบอลเป็นลูกบอล มีผู้เล่นทั้งหมด ๑๘ คน แบ่งออกเป็น ๒ ฝ่าย ฝ่ายละ ๙ คน
      มีกฎการเล่น ๔ ข้อ คือ
                ๑. ห้ามถือลูกเคลื่อนที่
                ๒. ห้ามมิให้ผู้เล่นปะทะตัวกัน
                ๓. ประตูอยู่ระดับศีรษะและขนานพื้น
                ๔. ผู้เล่นจะถือลูกบอลนานเท่าใดก็ได้ และผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามจะต้องไม่ถูกตัวผู้เล่น
      ต่อมามีการปรับปรุงการเล่นโดยลดผู้เล่นเหลือฝ่ายละ ๕ คน เนื่องจากในการเล่น
      เกิดการปะทะกันเพราะสนามแคบ กติกานี้ใช้มาจนถึง ค.ศ. ๑๙๓๗ (พ.ศ. ๒๔๘๐) จึงได้ปรับปรุงแก้ไขครั้งใหญ่เพื่อใช้ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกครั้งที่ ๑๑ ที่กรุงเบอร์ลิน ประเทศสเยอรมนี และใน ค.ศ. ๑๙๓๙ (พ.ศ. ๒๔๘๒) ดร.เจมส์ เอ. เนสมิท ก็เสียชีวิตลง
      ก่อน จะได้เห็นความสำเร็จ และความยิ่งใหญ่ในกีฬาบาสเกตบอลที่เขาคิดค้นขึ้น ต่อมาจากนั้นกีฬาบาสเกตบอลก็แพร่หลายพัฒนาการเล่นเป็นที่นิยมอย่างรวดเร็วเป็นที่รู้
      ้จักกันทั่วโลก องค์กรที่เกี่ยวข้องกับกีฬาบาสเกตบอลในระดับนานาชาติ ได้แก่ สหพันธ์บาสเกตบอลนานาชาติ (ชื่อภาษาอังกฤษ International Amateur Basketball
      Federation ชื่อภาษาฝรั่งเศส Fe’de’ration International de Basketball Amateur ใช้ชื่อย่อว่า FIBA) นอกจากนี้ยังมีองค์กรในระดับทวีป เช่น สมาพันธ์บาสเกตบอลเอเชีย
      (Asian Basketball Confederation หรือ ABC) เป็นต้น


      ประวัติกีฬาบาสเกตบอลในประเทศ


      ประเทศไทยเริ่มเล่นกีฬาบาสเกตบอลกันตั้งแต่เมื่อใด สมัยใด ยังไม่มีหลักฐานยืนยัน
      อย่างแน่ชัด แต่เท่าที่ค้นคว้าได้ปรากฏว่า นายนพคุณ พงษ์สุวรรณได้แปลกติกา
      การเล่นบาสเกตบอลจากภาษา อังกฤษ เป็นภาษาไทยขึ้นเป็นครั้งแรก ในปี พ.ศ. ๒๔๗๗
      และในปีเดียวกันนี้กรมพลศึกษา ได้จัดการแข่งขันบาสเกตบอลระดับนักเรียนขึ้น
      เป็นครั้งแรก พ.ศ. ๒๔๙๖ ได้มีการจัดตั้งสมาคม บาสเกตบอลแห่งประเทศไทย และได้เป็นสมาชิก สมาคมบาสเกตบอลระหว่างประเทศตั้งแต่ วันที่ ๑๐ กรกฎาคม ๒๔๙๖
      ปัจจุบันกีฬาบาสเกตบอลถูกบรรจุในหลักสูตรการเรียนการสอนแทบ ทุกระดับการศึกษา
      คือตั้งแต่ระดับประถม มัธยม และอุดมศึกษา นอกจากนี้ยังม การแข่งขัน อยู่ตลอดเวลา
      องค์กรสำคัญที่ส่งเสริมและจัดการแข่งขันกีฬาบาสเกตบอล ในประเทศไทย ได้แก่
      สมาคมบาเกตบอลแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ กรมพลศึกษา กรุงเทพมหานคร
      การกีฬาแห่งประเทศไทย ทบวงมหาวิทยาลัย (กีฬามหาวิททยาลัย) กองทัพ (กีฬาเหล่าทัพ) กองทัพอากาศ (กีฬานักเรียน) สถาบันการศึกษาทั่วไป



      ประโยชน์ของการเล่นบาสเกตบอล

      กีฬาบาสเกตบอลเป็นกีฬาที่ทำให้ผู้เล่นได้รับประโยชน์ดังนี้
      ๑. ช่วยพัฒนาส่งเสริมสมรรถภาพด้านต่าง ๆ ได้แก่ ร่างกาย จิตใจ สติปัญญา
             อารมณ์และสังคมแก่บุคคล
      ๒. ช่วยพัฒนาส่งเสริมกลไกการเคลื่อนไหวของร่างกาย (motor skills) ให้ทำงานประสาน
             กันดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นมือ เท้า สายตาให้เคลื่อนไหวได้อย่างถูกต้อง
      ๓. เป็นกิจกรรมนันทนาการสำหรับพักผ่อน คลายความตึงเครียด แก่ผู้เล่นและผู้ชม
      ๔. ช่วยฝึกการตัดสินใจ และรู้จักคิดแก้ปัญหา ตลอดจนมีสมาธิที่ดี
      ๕. ช่วยฝึกให้มีน้ำใจเป็นนักกีฬา รู้จักแพ้ รู้จักชนะ และรู้จักให้อภัย
      ๖. ใช้เป็นสื่อนำในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและส่วนรวม
      ๗. ใช้เป็นสื่อนำในการจัดการกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาพลศึกษา
      ๘. ผู้เล่นที่มีความสามารถจะทำชื่อเสียงให้แก่ตัวเอง วงศ์ตระกูล และประเทศชาติ
      ๙. เป็นวิชาชีพด้านหนึ่งสำหรับงานกีฬา เช่น การแข่งขันกีฬาบาสเกตบอลอาชีพ
            เป็นต้น


      การดูแลรักษาอุปกรณ์กีฬาบาสเกตบอล

      การดูแลรักษาอุปกรณ์
      ๑. ไม่นำลูกบาสเกตบอลมาใช้เป็นที่รองนั่งจะทำให้ลูกบาสเกตบอลผิดรูปทรง
             ถ้าเปียกน้ำหรือเปรอะเปื้อนให้เช็ดทำความสะอาด ผึ่งให้แห้งก่อนเก็บ
      ๒. อุปกรณ์การเล่นเมื่อเลิกเล่นแล้วต้องสำรวจดูให้ครบถ้วน
      ๓. ห้ามกระโดดเกาะหรือห้อยโหนห่วงประตูเล่น
      ๔. จัดเวรนำอุปกรณ์ และเก็บอุปกรณ์ไปไว้ในที่เก็บอุปกรณ์ให้เป็นระเบียบ


      มารยาทของผู้เล่นและผู้ดูกีฬาบาสเกตบอลที่ดี

      มารยาทผู้เล่นที่ด
      ๑. มีความรู้เรื่องระเบียบและกฎกติกาการเล่น
      ๒. แต่งกายด้วยชุดที่เหมาะสมต่อการเล่นหรือการแข่งขันกีฬาบาสเกตบอล
      ๓. สุภาพทั้งกิริยาท่าทางตลอดจนคำพูด
      ๔. ให้เกียรติและเชื่อฟัง ยอมรับคำตัดสินของผู้ตัดสิน
      ๕. มีน้ำใจนักกีฬา รู้จักแพ้ รู้จักชนะ รู้จักให้อภัย
      ๖. เป็นผู้ที่ตรงต่อเวลา
      ๗. ไม่ควรดูถูกความสามารถผู้อื่น จะด้วยวาจาหรือท่าทาง
      ๘. ควรแสดงความยินดีและชมเชยเมื่อผู้เล่น เล่นได้ดี
      ๙. ควรเปิดโอกาสให้ผู้อื่นได้เล่นบ้างเมื่ออุปกรณ์มีจำกัด
      ๑๐. ไม่กระทำการใดๆ อันเป็นการยั่วยุหรือกลั่นแกล้งผู้เล่นฝ่ายตรงข้าม

      มารยาทผู้ชมที่ดี
      ๑. แสดงความยินดีแก่ผู้เล่นที่ดีเช่นปรบมือ
      ๒. ไม่แสดงอาการหรือส่งเสียงยั่วยุจนทำให้ผู้เล่นหรือกองเชียร์ฝ่ายตรงข้ามเกิดโทสะ
      ๓. ไม่กระทำตัวเป็นผู้ตัดสินเสียเอง เช่น ตะโกนด่า หรือคัดค้านการตัดสิน
      ๔. ไม่ควรสูบบุหรี่หรือเสพเครื่องดื่มมึนเมาขณะชมการแข่งขัน
      ๕. ไม่กระทำการใดๆอันเป็นอุปสรรคต่อการเล่นของผู้เล่น และผู้ตัดสิน

      วิธีการเล่นและกติกาการเล่นที่ถูกวิธี


      การเล่น

              บาสเก็ตบอลเป็นการเล่นที่แบ่งผู้เล่นออกเป็น 2 ฝ่าย ฝ่ายละ 5 คน ผู้เล่นแต่ละฝ่ายต้องพยายามนำบอลไปโยนลงในห่วงประตูของ คู่ต่อสู้และป้องกันไม่ให้คู่
      ต่อสู้ครอบครองบอล หรือทำคะแนนได้ผู้เล่นอาจส่งโยน ตี กลิ้ง หรือเลี้ยงบอลไปทิศทางใด
      ก็ได้ให้ถูกต้อง ตามกติกาที่กำหนดไว้

      ระยะเวลาการเล่น

              ระยะเวลาแบ่งเป็น 2 ครึ่ง ครึ่งละ 20 นาที และให้หยุดพักระหว่างครึ่ง 10 นาที และจะสามารถขอเวลานอกได้ระหว่างครึ่งเวลาเล่นได้ 2 ครั้ง และระหว่างเวลาพิเศษได้ 1 ครั้ง

      การผิดระเบียบและการทำฟาวล ์

              การทำผิดระเบียบเป็นการละเมิดกติกา การลงโทษให้เสียสิทธิ์ในการครอบครองบอล
      เมื่อการละเมิดเป็นการถูกต้องตัวผู้เล่น ของฝ่ายคู่ต่อสู้ หรือการกระทำ อันผิดมารยาท
      นิสัยนักกีฬาการผิดระเบียบนี้ถือ เป็นการฟาวล์ ซึ่งจะต้องบันทึกฟาวล์ผู้กระทำผิด
      และลงโทษตามที่กำหนดใว้ในกติกา

      ผู้เล่นกระทำผิดเทคนิคเคิลฟาวล์

              ผู้เล่นต้องไม่ฝ่าฝืนคำสั่งของผู้ติดสินและคำเตือนของเจ้าหน้าที่ และไม่ใช้วิธีการต่างๆอันผิดวิสัย ของนักกีฬาเช่น
                ก. ใช้วาจาไม่สุภาพหรือถูกต้องตัวผู้ตัดสินโดยปราศจากการคารวะ
                ข. ใช้คำพูดไม่เหมาะสม แสดงอากัปกิริยาก้าวร้าว
                ค. ยั่วเย้าคู่ต่อสู้ หรือใช้มือแกว่งบังสายตาในที่อยู่ใกล้หน้าคู่ต่อสู้
                ง. ถ่วงเวลาการเล่น โดยหน่วงเหนียวการส่งลูกเข้าเล่น
                จ. ไม่ชูมือของตนขึ้นโดยดีเมื่อผู้ตัดสินชี้ตนเป็นผู้กระทำฟาลว์
                ฉ. จับยึดขอบห่วง นานเกินไป(อยู่ที่การพิจารณาของผู้ตัดสิน)
              บทลงโทษ จะให้ลงโยนโทษ 2 ครั้ง ต่อความผิด 1 ครั้ง หากเกิดการทำฟาวล์
               เทคนิคเคิล2 ครั้ง จะถูกให้ออกจากสนามทันที การถูกต้องตัวซึ่งกันและกัน
                   ถ้าเกิดการถูกต้องตัวกันขึ้นโดยสุจริตใจ เพื่อเข้าครอบครองบอล ซึ่งผู้เล่นต่างฝ่าย
      ต่างก็อยู่ใน ระยะที่จะเข้าครอบครองบอล ได้เช่นกัน ให้ถือว่าเป็นการถูกต้องตัวโดยบังเอิญ
      ไม่ควรลงโทษฟาวล์ แต่ถ้าเกิดการถูกต้องตัวโดนเจตนา ให้ถือว่ากระทำฟาวล์

      ฟาวล์บุคคล

              ฟาวล์บุคคล คือการที่ผู้เล่นได้ถูกต้องตัวฝ่ายคู่ต่อสู้
                - การสกัดกั้น ถือว่าเป็นการถูกต้องตัวในเมื่อเข้าไปกีดกั้นคู่ต่อสู้ที่ไม่มีบอลไม่ให้
                   ก้าวไป
                - การจับหรือยึด ถืดว่าเป็นการถูกต้องตัว เพราะเป็นการกีดกั้นไม่ให้คู่ต่อสู้เคลื่อนที่
                   ไปตามปกติ
                - การเข้าป้องกันข้างหลัง
      ผู้เล่นฝ่ายป้องกันที่พยายามเข้าครอบครองลูกบอลต้องไม่ถูกต้องตัวผู้เล่น ถ้าผู้เล่นป้องกันถูกตัวผู้เล่นฝ่ายหนึ่ง โดยการพยายามเข้าครอบครองบอลจากระยะ
      หรือฐานะที่ตนไม่อยู่ ในเกณฑ์ที่จำกระทำได้ก่อน จะถูกลงโทษ
                - ผู้เล่นต้องไม่จับ ยึด ชน ขัดขา กีดกันการเคลื่อนที่ของคู่ต่อสู้ โดยใช้แขนกางออก
      ใช้ไหล่ สะโพก เข่า หรือโดยการก้มตัวลงอย่างผิดธรรมดา และต้องไม่ใช้มือแตะต้อง
      คู่ต่อสู้
                - ผู้เลี้ยงลูก ต้องไม่ชนหรือถูกต้องตัวคู่ต่อสู้ระหว่างเลี้ยงลูกเข้าไป หรือต้องไม่พยายามเลี้ยงลูกเข้าไปในระหว่างผู้เล่นฝ่ายป้องกัน 2 คน หรือ ระหว่างคู่ต่อสู้กับเส้นเขตสนาม เว้นแต่จะมีที่พอแล้วหลบหลีกไป
                - ผู้เล่นกีดกัน คือพยายามขวางคู่ต่อสู้มิให้ผ่านไปสู่จุดหมายและผู้ที่ไม่พยายาม
      เล่นลูก ถ้าเกิดถูกต้อง ตัวกันขึ้น ตนเองต้องเป็นฝ่ายรับผิดชอบ
                บทลงโทษ ปรับโทษฟาวล์บุคคลต่อผู้กระทำผิด 1 ครั้ง ทุกกรณี ถ้าทำฟาวล์แก่
      ผู้เล่น ในขณะที่ไม่อยู่ ในลักษณะกำลังยิงประตู ให้ผู้เล่นคนใดคนหนึ่ง ของฝ่ายที่ถูกทำฟาวล์ส่งบอลเข้าเล่นทางเส้นข้างใกล็ที่เกิดเหตุ ถ้าฟาวล์ในขณะโยน
      ประตู ถ้าบอลลงห่วงให้นับคะแนนเหมือนยิงประตูธรรมดาและให้โยน โทษอีก 1 ครั้ง แต่ถ้าบอลไม่ลงห่วงประตูให้มีการโยนโทษ 2 ครั้ง

      การฟาวล์เจตนา

              ฟาวล์เจตนาเป็นฟาวล์บุคคลที่ทำผิดโดยเจตนา เป็นลักษณะของการฟาวล์ระหว่างการฟาวล์บุคคลกับการฟาวล์อย่างร้ายแรงต้องออกจากการ
      แข่งขัน ผู้เล่นที่ ทำฟาวล์เจตนาซ้ำ ๆ อาจให้ออกจากการแข่งขันได้ ผู้เล่นที่ไม่ตั้งใจเล่นลูกแต่ทำให้เกิดการถูกต้องตัวคู่ต่อสู้ ถือเป็นการฟาวล์เจตนา
               บทลงโทษ บันทึกฟาวล์บุคคล 1 ครั้ง แล้วให้โยนประตูโทษ 2 ครั้ง แต่ถ้าฟาวล์ขณะโยนประตูและลูกลงห่วงให้นับได้คะแนนและโยนโทษอีก 1 ครั้ง

      การฟาวล์คู่

              ฟาวล์คู่ คือ การที่ผู้เล่นสองคนของทั้งสองฝ่ายทำฟาวล์ซึ่งกันและกันหรือเวลาใกล้กัน เมื่อมีการฟาวล์คู่เกิดขึ้น ไม่มีการโยนโทษ แต่ให้บันทึกฟาวล์ทั้งคู่ ให้เริ่มเล่นต่อไป
      ด้วยลูกกระโดดที่วงกลมใกล้กับที่เกิดเหตุ เว้นแต่ได้มีการยิงประตูเข้าห่วง ในขณะเดียวกับการฟาวล์คู่ก็ให้ส่งลูกเข้าเล่นจากเส้นหลัง ตามกติกาการ
      ส่งลูกเข้าเล่นจากเส้นหลัง

      การฟาวล์ซ้อน

              ฟาวล์ซ้อน คือ การที่ผู้เล่นสองคน หรือมากกว่าของอีกฝ่ายหนึ่ง ทำฟาวล์แก่ผู้เล่น
      คนเดียว ในเวลา เดียวกันหรือใกล้เคียงกัน กรณีนี้ให้ปรับบันทึกฟาวล์ แต่ละคนที่ทำฟาวล์และให้ฝ่ายที่ถูกทำฟาวล์นั้นโยน โทษ 2 ครั้ง
      ไม่คำนึงว่าจะฟาวล์กี่ครั้งถ้าทำฟาวล์คู่ต่อสู้ขณะโยนประตูและลูกลงห่วง ก็ให้นับคะแนน
      ได้และ ทำ การโยนลูกโทษอีก 1 ครั้ง

      การฟาวล์ 5 ครั้ง

              ผู้เล่นใดกระทำฟาวล์ 5 ครั้ง จะเป็นฟาวล์บุคคลหรือฟาวล์เทคนิค ต้องออกจากการแข่งขัน

      การฟาวล์ 7 ครั้งของฝ่าย

              ภายหลังจากฝ่ายหนึ่งได้กระทำฟาวล์โดยผู้เล่นถึง 7 ครั้งไม่ว่าจะเป็นฟาวล์บุคคลหรือ
      ฟาวล์เทคนิคก็่ตาม ในแต่ละครึ่ง (การเพิ่มเวลาพิเศษให้ถือว่าเป็นส่วนหนึ่ง-
      ของครึ่งเวลาหลัง) เมื่อมีการฟาวล์โดยผู้เล่นครั้งต่อไป ให้มีการโยนโทษ 2 ครั้ง

      การฟาวล์ในขณะที่ฝ่ายของตนกำลังครองบอล

              ผู้เล่นของฝ่ายที่ครอบครองบอลกระทำฟาวล์ในขณะที่ลูกบอลกำลังอยู่ฝ่ายของตน
      จะถูกบันทึกฟาวล์ 1 ครั้ง แล้วให้ฝ่ายตรงข้ามส่งลูกเข้าเล่นจากเส้นข้าง แนวเดียวกับ
      จุดที่เกิดเหตุ


      1

       


      ความรู้ดีๆจากhttp://school.obec.go.th/volley/histhory_Bas.html

      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×