โรคหัวใจในเจ้าตูบ
ไม่สามารถบรรยายได้ นอกจากคุณจะอ่านเอง
ผู้เข้าชมรวม
468
ผู้เข้าชมเดือนนี้
3
ผู้เข้าชมรวม
เนื้อเรื่อง
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
โรคหัวใจในเจ้าตูบ
ผศ.น.สพ.ปานเทพ รัตนากร
หลายๆครั้งที่ท่านเจ้าของหมาทำหน้าฉงนเมื่อได้รับฟังคำวินิจฉัยจากสัตวแพทย์ว่าหมาอันเป็นที่รัก ของท่าน หรือเธอเจ็บป่วยด้วย "โรคหัวใจ" ราวกับไม่เชื่อหูตัวเองว่าหมาจะเป็นโรคหัวใจได้ อย่างคนยังไง ? บ้างก็ว่าหมาส่งไปเลย
จริงๆ แล้ว โรคหัวใจสามารถเกิดขึ้นกับหมาได้เช่นเดียวกับมนุษย์เรานั่นแหละครับ มิหนำซ้ำยังต้องใช้ทั้งเทคนิคการตรวจที่เหมือนกัน เช่น ฟังการเต้น วัดคลื่นหัวใจ (ECG) วัดความดัน ถ่ายเอ็กซเรย์ แม้กระทั่งตรวจด้วยเครื่องอัลตร้าซาวน์ดก็ตามที แค่นี้ไม่พอครับยังใช้ยารักษาโรคหัวใจ เหมือนกับคนซะอีกด้วย จะขาดอยู่ในขณะนี้ก็เพียงการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจอย่างมนุษย์เราเท่านั้นเอง
โรคหัวใจในหมาแบ่งเป็น 2 ประเภทตามสาเหตุของการเกิด คือ ประเภทแรก เป็นโรคหัวใจที่เป็นมาแต่กำเนิด ส่วนประเภทที่สอง เป็นโรคหัวใจที่เกิดขึ้นในภายหลัง ตัวอย่างของโรคหัวใจที่เป็นมาตั้งแต่กำเนิด ได้แก่ ผนังกั้นห้องหัวใจเป็นรู การค้างของหลอดเลือดแดง ฯลฯ สำหรับโรคหัวใจที่เกิดขึ้นในภายหลังมีตัวอย่าง คือ ลิ้นหัวใจอักเสบ เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจตาย หัวใจโต ฯลฯ เยอะแยะมากมายเช่นเดียวกับคนเราดังที่บอกไว้ไหมครับ เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้ท่านเจ้าของหมาคงจะเริ่มปริวิตกกันแล้วว่าเจ้าตูบของท่านจะเป็นโรคหัวใจไหมหนอ ? เขาจะอยู่กับเรานานไหมนี่ ? จะทำอย่างไรต่อไปดี ? ฯลฯ เอาละครับอย่าวิตกจริตเกินควร ลองมาดูว่าอาการเริ่มแรกหรือข้อสังเกตที่เราพอจะตั้งข้อสงสัยว่าหมาตัวนั้นๆ น่าจะมีปัญหาของหัวใจกันดีกว่า เพื่อท่านเจ้าของจะได้พาไปพบสัตวแพทย์ต่อไป
ปัจจัยโน้มนำให้เกิดโรคหัวใจในหมาได้แก่ อายุ หมาอายุมาก หมาชรา ย่อมมีโอกาสเรื่องเป็นโรคหัวใจสูงเช่นเดียวกับหมาอ้วนมากๆ พันธุ์หมา อัตราการออกกำลังกายหรือใช้งานที่หักโหม ปัญหาความเจ็บป่วยด้วยโรคติดเชื้อต่างๆ อย่างรุนแรง โดยเฉพาะโรคติดเชื้อแบคทีเรีย พันธุกรรม ฯลฯ
อาการเบื้องต้นของโรคหัวใจในหมามีดังนี้ เหนื่อยง่ายกว่าที่ควรหรือที่เคยเช่นเดินขึ้นบันได วิ่งเล่นไม่กี่นาทีก็หอบมาก เหงือกซีดเขียวรวดเร็ว มีการไอ หายใจลำบาก ท้องบวมโตขึ้น หรือเรียกว่าท้องมาน เกิดลักษณะบวมน้ำที่ตีนและขาหลัง บางครั้งอาจเกิดขึ้นใต้ผิวหนังทั่วไป หากคลำชีพจรดูจะพบว่ามีการเต้นเร็วมากแต่มักแผ่วเบาหรือบางรายก็เต้นแรงมากเกินปกติ ที่กล่าวมานี้ล้วนเป็นอาการส่อเค้าแห่งโรคหัวใจ ฉะนั้นท่านพึงพาเจ้าตูบไปพบสัตวแพทย์ ได้เลย
การรักษาโรคหัวใจในหมาสามารถกระทำได้ไม่ว่าจะเป็นการใช้หยูกยา หรือการผ่าตัด แต่ส่วนใหญ่แล้วจะใช้การรักษาด้วยยา สิ่งที่เจ้าของต้องช่วยก็คือ ให้ยาอย่างสม่ำเสมอ พาหมาไปพบหมอตามนัด ควบคุมให้เขาออกกำลังแต่พอควร ควบคุมการกินน้ำและอาหาร คุมน้ำหนักตัว
ด้วยการปฏิบัติเช่นนี้ผมเชื่อว่าแม้โรคหัวใจจะไม่หายไปจนสมบูรณ์ก็จริง แต่หมาของท่านก็จะมีความสุข ขึ้นกว่าเดิมและอยู่กับท่านไปได้นานเท่านาน
ข้อมูลจาก ผศ.น.สพ.ปานเทพ รัตนากร
ผลงานอื่นๆ ของ Germet++Zircon ดูทั้งหมด
ผลงานอื่นๆ ของ Germet++Zircon
ความคิดเห็น