ค้างคาว สัตว์ลึกลับ - ค้างคาว สัตว์ลึกลับ นิยาย ค้างคาว สัตว์ลึกลับ : Dek-D.com - Writer

    ค้างคาว สัตว์ลึกลับ

    ค้าวคาวเป็นสัตว์หากินตอนกลางคืน และ.....อ่านเอง

    ผู้เข้าชมรวม

    551

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    1

    ผู้เข้าชมรวม


    551

    ความคิดเห็น


    0

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  18 พ.ย. 49 / 14:41 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

      ค้างคาว เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กมีปีกบินได้ มีฉายา นกมีหูหนูมีปีก เพราะลักษณะคล้ายหนู แต่บินได้เหมือนนก กลุ่มสัตว์ในอันดับค้างคาว (Chiroptora)

        ข้อมูลทั่วไป

        ในประเทศไทยมีจำนวนชนิดของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมประมาณ 285 ชนิดโดยมีจำนวนชนิดของค้างคาว เป็นจำนวนประมาณ 108 ชนิดและคิดเป็น 11 เปอร์เซ็นต์ของทั้งโลก โดยแบ่งเป็นค้างคาวกินผลไม้ 18 ชนิด ค้างคาวกินแมลง 89 ชนิด ส่วนอีก 1 ชนิด เป็นค้างคาวที่กิน สัตว์อื่นเป็นอาหาร โดยมีค้างคาวแม่ไก่ป่าฝน (Pteopus vampyrus) เป็นค้างคาวกินผลไม้ ที่มีน้ำหนักตัว 1 กก. เมื่อกางปีกออกทั้งสองข้างจะ กว้างถึง 2 เมตร และมีค้างคาวที่เล็กที่สุดในโลก คือ ค้างคาวคุณกิตติ (Craseonycteris thonglongyai) เป็นค้างคาวกินแมลง มีน้ำหนักเพียง 2 กรัม ช่วงปีกกว้างเพียง 16 เซนติเมตร

         ลักษณะของค้างคาว

        1. ค้างคาวกินแมลง มักจะมีเยื่อพังผืดบางๆ เชื่อมกันระหว่างขาหลังทั้งสอง และตาจะมีขนาดเล็กมาก จมูกจะตั้ง หูตั้งสูง และมีแผ่นหนังพิเศษช่วยในการรับเสียง 2. ค้างคาวกินผลไม้ จะมีดวงตาที่ใหญ่ ทำให้มองเห็นได้ดีในที่มืด มีจมูกที่ไวในการรับกลิ่นดอกไม้และผลไม้ และจมูกมักมีขอบยื่นออกมาไม่มีพังผืดระหว่างขาหลัง บริเวณปีกด้านหน้ามีเล็บยื่นออกมาเพื่อช่วยในการปีนป่าย

         เสริมความรู้

        • ค้างคาวเป็นสัตว์ที่อายุยืน บางชนิดอาจจะมีอายุได้ถึง 32 ปี
        • ค้างคาวใช้คลื่นแสงที่มีความถี่สูง (sonar) ในการเคลื่อนที่และหาอาหาร
        • ค้างคาวมีความสามารถในการจับแมลงสูงมาก บางชนิดสามารถจับแมลงได้ถึง 600 ตัวต่อ 1 ชั่วโมง
        • มูลค้างคาวเป็นปุ๋ยชั้นดีเนื่องจากมีธาตุไนโตรเจนสูงมาก สามารถนำมาใช้ในการทำดินปืนได้ด้วย

                                                       จาก วิกิพีเดีย

        ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

        loading
        กำลังโหลด...

        ความคิดเห็น

        ×