ม้าน้ำ - ม้าน้ำ นิยาย ม้าน้ำ : Dek-D.com - Writer

    ม้าน้ำ

    ชีวิตของม้าน้ำ

    ผู้เข้าชมรวม

    3,176

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    2

    ผู้เข้าชมรวม


    3.17K

    ความคิดเห็น


    0

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  18 พ.ย. 49 / 11:32 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

      ม้าน้ำ จากงานวิจัย สู่การเพาะเลี้ยงเชิงพาณิชย์  
              ม้าน้ำเป็นปลาที่มีรูปร่างไม่เหมือนปลาทั่วไป ทำให้คนส่วนใหญ่คิดว่าม้าน้ำไม่ใช่ปลา แต่เป็นสัตว์น้ำชนิดหนึ่งที่มีรูปร่างส่วนหัวคล้ายกับม้าแต่อาศัยอยู่ในน้ำ จึงพากันเรียกว่าม้าน้ำ หรือ Seahorse แม้ในปัจจุบันจะเริ่มมีหลายๆ คนรู้ว่าม้าน้ำเป็นปลาแต่ก็ยังมีคำถามว่า ทำไมจึงจัดว่าม้าน้ำเป็นปลา ในทางวิชาการนั้น ม้าน้ำเป็นสัตว์น้ำที่หายใจด้วยเหงือกและเคลื่อนที่ไปมาในน้ำด้วยครีบ ซึ่งถ้าลองสังเกตจะมองเห็นครีบหลังและครีบหูโบกพัดอยู่ตลอดเวลาซึ่งเป็นลักษณะของปลา ส่วนลำตัวบริเวณส่วนล่างจะมีการวิวัฒนาการให้เป็นลักษณะเหมือนหางที่ม้วนงอ เพื่อเกาะกับวัสดุหรือสาหร่ายรวมทั้งเป็นส่วนที่ใช้สำหรับทรงตัวและบังคับทิศทางในการเคลื่อนที่ในน้ำ

        ชนิดของม้าน้ำ  
             ม้าน้ำทั่วโลกที่นักวิจัยจัดจำแนกไว้มีประมาณ 32 ชนิด แต่สำหรับประเทศไทยในปัจจุบัน จากการสำรวจในปี 2546-2547 ของโครงการธุรกิจปลาสวยงามในประเทศไทยและการอนุกรมวิธานม้าน้ำของประเทศไทย ของสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบรูพา พบว่ามีหกชนิด ได้แก่ ม้าน้ำดำ (Hippocampus kuda) จัดเป็นพันธุ์ที่มีขนาดใหญ่ที่ สุดในน่านน้ำไทย ปัจจุบันพบตัวที่ใหญ่ที่สุดยาวเท่าฝ่ามือเท่านั้น ลำตัวสีดำสนิท ผิวค่อนข้างเรียบ ไม่มีหนามยาวแหลม อาศัยตามชายฝั่งบริเวณที่มีน้ำค่อนข้างขุ่น เมื่อนำมาเลี้ยงสามารถเปลี่ยนสีได้ ส่วนใหญ่มักเป็นสีครีม สีเหลือง และน้ำตาลแดง  ม้าน้ำหนาม (H. spinosisimus) อาศัยอยู่ในบริเวณน้ำค่อนข้างลึก  ใสสะอาด เป็นม้าน้ำที่มีสีสันสวยงาม  สีออกน้ำตาลแดง มีลายจุดสีออกขาวเป็นแถบกว้างคาดบริเวณลำตัวมีหนามมากค่อนข้างแหลมและยาว เป็นที่ชื่นชอบของนัก ดำน้ำและนักสะสมของที่ระลึก ม้าน้ำสามจุด (H. trimaculatus) พบได้ตามเขตชายฝั่ง โดยพวกมันจะอพยพเข้ามาในตอนฤดูหนาว บริเวณส่วนบนของลำตัวม้าน้ำพันธุ์นี้ จะปรากฏเป็น จุดดำประมาณสามจุด ม้าน้ำแคระ (H. mohnikei) มีขนาดเล็กที่สุดพบเห็นไม่บ่อยนัก ตัวสีดำ อาศัยอยู่บริเวณ ชายฝั่ง เกาะอยู่ตามสาหร่าย บริเวณที่เป็นพื้นทราย ส่วนม้าน้ำอีกสองชนิด คือ ม้าน้ำหนามขอ (H. histrix) และม้าน้ำยักษ์ (H. kelloggi) เราสามารถพบได้ทั่วไปตามบริเวณชายฝั่งทะเลทั้งทางด้านฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน และมีอยู่สองชนิดที่พบในทุกๆ ที่ที่ไปสำรวจ ได้แก่ ม้าน้ำหนามและม้าน้ำสามจุด ส่วนชนิดอื่นจะพบในบางแห่งเท่านั้น

       

        คุณประโยชน์  
              ม้าน้ำเป็นสัตว์น้ำที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจชนิดหนึ่ง มีการนำมาใช้ประโยชน์อย่างมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในแถบเอเชีย ซึ่งเชื่อกันว่าม้าน้ำมีคุณสมบัติเป็นยา จึงนำมาใช้เป็นองค์ประกอบของยาในการรักษาโรคต่างๆ เช่น โรคหืด เส้นโลหิตแดงตีบ กระดูกแตกหัก คอพอก ภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ โรคเสมหะในจมูกหรือทางเดินอาหาร โรคสะเก็ดเงิน และรักษาสุขภาพทั่วๆ ไป นอกจากการนำม้าน้ำมาใช้ปรtโยชน์ในแง่ของยาและอาหารแล้ว ยังมีการนำม้าน้ำมาเลี้ยงเป็นปลาตู้น้ำเค็มด้วย

        สู่ความคุ้มครอง  
              ในปัจจุบันม้าน้ำที่มีการซื้อขายกันทั้งเพื่อใช้เป็นยา และเพื่อใช้ในธุรกิจปลาตู้สวยงามน้ำเค็ม เป็นม้าน้ำที่ได้จากธรรมชาติเกือบทั้งหมด และเนื่องจากความต้องการใช้ประโยชน์ม้าน้ำเพิ่มขึ้น ทำให้ประเทศต่างๆ ทั่วโลกมีความวิตกว่าม้าน้ำอาจจะสูญพันธุ์ได้ จึงได้มีการทำข้อตกลงระหว่างประเทศจัดม้าน้ำเข้าสู่อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ หรือไซเตส (Convention on lnternational Trade in Endangered Species of Wild Fauna and Flora, CITES) บัญชี 2 (Appendix II) ที่ว่าด้วยชนิดพันธุ์ที่มีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ คือการทำการค้าต้องอยู่ในความควบคุมหรือจำกัดปริมาณ เพื่อไม่ให้มีผลเสียหายหรือจำนวนประชากรลดลงอย่างรวดเร็วจนใกล้สูญพันธุ์

        การเพาะเลี้ยง  
              ในด้านการเพาะเลี้ยงม้าน้ำได้มีหลายหน่วยงานในหลายประเทศทั่วโลก เช่น สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และประเทศไทย เป็นต้น พยายามที่จะทำการศึกษาและพัฒนาเทคนิคการเพาะเลี้ยงม้าน้ำ ซึ่งมีหลายๆ หน่วยงานสามารถทำได้ในระดับหนึ่ง และมีฟาร์มเกิดขึ้นในหลายแห่ง แต่ส่วนใหญ่จะเป็นฟาร์มเพาะม้าน้ำสำหรับใช้ในธุรกิจปลาตู้สวยงามน้ำเค็ม แต่เป็นที่น่าสังเกตว่า ทุกฟาร์มจะมีลักษณะการทำฟาร์มที่เปิดให้คนเข้าชมกิจการและเก็บค่าธรรมเนียมเข้าชม และมีการขายของที่ระลึกเหมือนกับเป็นสถานเลี้ยงสัตว์น้ำเค็ม แต่กลับมีเฉพาะม้าน้ำเท่านั้น จึงเป็นที่น่าคิดว่ารายได้หลักของฟาร์มน่าจะได้มาจากการขายม้าน้ำหรือการท่องเที่ยวและขายของที่ระลึก
              สำหรับการเพาะเลี้ยงม้าน้ำในประเทศไทย สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา ได้มีการศึกษาวิจัยมาโดยตลอดตั้งแต่ปี 2526 ซึ่งเป็นการศึกษาเพื่อหาเทคนิคในการเพาะเลี้ยงม้าน้ำในระดับห้องปฏิบัติการ ซึ่งในปัจจุบันสามารถทำการเพาะเลี้ยงได้ในระดับหนึ่ง แต่ยังมีอัตราการรอดที่ไม่สูงเพียงพอที่จะนำมาใช้สำหรับการพัฒนาเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงม้าน้ำในเชิงพาณิชย์ได้ แต่อย่างไรก็ตาม ผลของการศึกษาวิจัยทำให้ทีมนักวิทยาศาสตร์มองเห็นปัญหาและแนวทางในการเพิ่มอัตราการรอดของลูกม้าน้ำ
             ม้าน้ำที่ทำการเพาะเลี้ยงอยู่ที่สถาบันฯมีทั้งหมดสี่ชนิด ได้แก่ ม้าน้ำหนาม ม้าน้ำดำ ม้าน้ำสามจุด และม้าน้ำ แคระ ซึ่งจากการศึกษาและสังเกตในห้องปฏิบัติการพบว่า สามารถสืบพันธุ์ได้ตลอดปี แต่จะมีช่วงสูงสุดประมาณเดือนตุลาคมถึงมีนาคม

        งานวิจัยในปัจจุบัน  
              ในปัจจุบันหน่วยวิจัยเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา กำลังทำการวิจัยเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงม้าน้ำ โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ให้ทำงานวิจัยเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงม้าน้ำเป็นระยะเวลาสามปี (ปี 2546-2548) เป็นจำนวนเงิน 5.8 ล้านบาท ซึ่งมีทั้งหมดหกโครงการ เพื่อศึกษาวิจัยทั้งในด้านชีววิทยาพื้นฐานและการเพาะเลี้ยงม้าน้ำ ได้แก่

      • อนุกรมวิธานของม้าน้ำในน่านน้ำไทย
      • การจำแนกชนิดของม้าน้ำสกุล Hippocampus ด้วยข้อมูลทางพันธุกรรมจากเครื่องหมายดีเอ็นเอ
      • การอนุบาลและการเลี้ยงม้าน้ำด้วยอาร์ทีเมีย (Artemia salina) และโรติเฟอร์ (Brachionus plicatilis) ที่เสริมด้วยสารที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูง
      • การศึกษาพฤติกรรมการจับคู่ผสมพันธุ์ของม้าน้ำและระดับความลึกและอุณหภูมิที่มีผล ต่อการผสมพันธุ์ของม้าน้ำ
      • การตรวจแยกเชื้อแบคทีเรีย และปรสิตที่ก่อให้เกิดโรคในม้าน้ำ
      • ลักษณะทางจุลกายวิภาค และจุลกายวิภาคของเนื้อเยื่อที่เป็นโรคของทางเดินอาหาร ระบบสืบพันธุ์ และระบบขับถ่ายของม้าน้ำ

                                                     โดย... ดร.เสาวภา สวัสดิ์พีระ

       

      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×