สวิต^^ - สวิต^^ นิยาย สวิต^^ : Dek-D.com - Writer

    สวิต^^

    -*-

    ผู้เข้าชมรวม

    505

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    3

    ผู้เข้าชมรวม


    505

    ความคิดเห็น


    0

    คนติดตาม


    0
    หมวด :  รักอื่น ๆ
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  4 ก.พ. 52 / 23:37 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

       

       

       

      สวิตเซอร์แลนด์ดินแดนในฝัน

      ด้วยความงดงามของธรรมชาติ      ความหลากหลายของวัฒนธรรม      แสงสว่างยามเช้า

      พร้อมกับลายลมที่โชยไป    เพียงได้ย่ำเท้าเข้าสัมผัส     รับรู้ได้ถึงความสุข

      ...สวิตเซอร์แลนด์

      หนึ่งคนสำหรับทุกคน  ทุกคนสำหรับหนึ่งคน  (คำขวัญประจำชาติ)

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       


      ***ปฐมบท***

      ดินแดนแห่งความฝัน...สวิตเซอร์แลนด์

      ประวัติศาสตร์

      ยุคก่อนประวัติศาสตร์

      เมื่อ 10,000 ปีก่อนคริตสกาล พวกกลุ่มนักล่าสัตว์และกลุ่มคนเร่ร่อนได้ย้ายถิ่นฐานเข้ามาอยู่อาศัยในเขตทางตอนเหนือของเทือกเขาแอลป์ (Alp) ซึ่งในปัจจุบันก็คือพื้นที่บริเวณ Graubünden ใจกลางประเทศสวิสเซอร์แลนด์เป็นครั้งแรก ต่อมาก็ได้มีการขยายอาณาเขตออกไปเรื่อยๆ ตามพื้นที่บริเวณลุ่มทะเลสาบต่างๆ จนกระมั่งเมื่อประมาณ 400 ปีก่อนคริสตกาลชนเผ่าเซลท์ (Celt คือกลุ่มชนชาติที่พูดภาษาเซลติก) ได้เริ่มย้ายถิ่นฐานจากทางเยอรมันตอนใต้ เข้าไปสู่พื้นที่ลุ่มทะเลสาบในตอนกลางของประเทศสวิตเซอร์แลนด์เพิ่มมากขึ้น โดยทางด้านตะวันออกของสวิตเซอร์แลนด์เป็นที่อยู่อาศัยของพวก Raetia ส่วนทางด้านตะวันตกถูกครอบครองโดยชาว Helvetii นอกจากนั้นก็ยังมีชนเผ่าอื่นๆ ที่กระจัดกระจายไปตามส่วนต่างๆ ของประเทศสวิสเซอร์แลนด์อีกเป็นจำนวนมาก คือ ชนเผ่า Lepontier ทางแคว้น Tessin ชนเผ่า Seduner ในเขต Wallis และทะเลสาบเจนีวา

      ต่อมาเมื่อเข้าสู่ยุครุ่งเรืองของอาณาจักรโรมันในประมาณ 58 ปีก่อนคริสตกาล ชนเผ่าโรมันภายใต้การนำของจูเลียส ซีซาร์ (Julius Caesar) ได้เข้าโจมตีและยึดดินแดนของชนเผ่า Helvetii และดินแดนส่วนอื่นๆ เข้าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรโรมัน ช่วงนี้เองที่ได้เริ่มที่การก่อสร้างถนนหนทางและระบบผังเมืองขึ้นในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ขึ้นเป็นครั้งแรก เช่น ในบริเวณเมือง Basel, Chur, Geneve, Zurich ในปัจจุบัน โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่เมือง Avenches

      ในช่วงปลายของยุคสมัยโรมัน ประมาณปีคริตศตวรรษที่ 4 ถึง 6 ศาสนาคริสต์ได้เผยแผ่เข้ามาในเขตประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ทำให้ได้มีการตั้งตำแหน่ง Bishop ขึ้นตามเมืองต่างๆ และเชื่อกันว่าอาณาจักรโรมันก็ล่มสลายลงในช่วงนี้เอง

      หลังจากที่อาณาจักรโรมันค่อยๆเริ่มเสื่อมลง พวกชาวเยอรมันเผ่าต่างๆ ก็อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานเข้ามาในเขตนี้แทน โดยชนเผ่า Burgundian เข้ามายึดครองบริเวณทางแถบ Jura ทางตอนเหนือของเทือกเขาแอลป์ บริเวณแม่น้ำ Rhðne และทะเลสาบเจนีวา ส่วนพวก Alamannic ได้ตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำไรน์ (Rhein) ส่วนการเผยแผ่ศาสนาก็ยังคงมีอยู่เรื่อยๆ โดยพระนักสอนศาสนาเข้ามามีบทบาทสำคัญในเขตเมืองต่างๆ รวมทั้งยังมีการสร้างวัดขึ้นเป็นครั้งแรกที่เมือง St. Gallen และ Zurich เมื่อเริ่มเข้าสู่ยุคโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (Holy Roman Empire ซึ่งอาณาจักรนี้เป็นอาณาจักรของจักรรรดิชาร์ลมาญแห่งเยอรมันหรือเรียกว่าเป็นอาณาจักรโรมันอันศักดิ์สิทธิ์แห่งชนชาติเยอรมัน ซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องกับอาณาจักรโรมันในสมัยยุคก่อนประวัติศาสตร์แต่อย่างใด) ก็ได้มีการนำระบบกฎหมายต่างๆ เข้ามาใช้ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โดยมีการร่างสนธิสัญญา Verdun ขึ้นในปี ค.ศ. 834 โดยพื้นที่บริเวณตะวันตกของสวิตเซอร์แลนด์ (Burgundain) ตกอยู่ภายใต้การปกครองของกษัตริย์ Lothair ที่ 1 และทางด้านตะวันออก (Alamannic) อยู่ภายใต้การปกครองของกษัตริย์ Louis the German ในศตวรรษที่ 10 เมื่อระบบการปกครองแบบใช้กฎหมายเสื่อมลง พวกชนเผ่าแมกยาร์ (Magyar) ก็เข้ามาทำลายเมืองใหญ่ต่างๆ ของเผ่า Burgundian และ Alamannic แต่ต่อมาเมื่อกษัตริย์ Otto ที่ 1 ทำสงครามชนะพวกชนเผ่าแมกยาร์ในปี ค.ศ. 955 ก็มีการรวมพื้นที่บริเวณของ 2 ชนเผ่าเข้าด้วยกันเป็นส่วนหนึ่งของ Holy Roman Empire อีกครั้ง และยังได้มีการรวบรวมแคว้นต่างๆเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ อาณาจักรนี้ถูกปกครองโดยราชวงศ์ฮับสบวร์ก (Habsburg dynasty) ไปจนกระทั่งกษัตริย์ Rudolph ที่ 1 แห่งราชวงศ์ฮับสบวร์กสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 1291

      การเมือง

      แต่ละ Canton มีรัฐธรรมนูญและ Cantonal Government ของตนเองโดยมีอิสระจากการบริหารราชการของส่วนกลาง อำนาจนิติบัญญัติของสมาพันธ์ฯ อยู่ที่รัฐสภาแห่งสมาพันธ์ (Federal Assembly) ซึ่งประกอบด้วยสภาแห่งชาติ (National Council) และสภาแห่งรัฐ (Council of States) ทั้งสองสภามีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกัน National Council ได้รับเลือกตั้งจากประชาชนโดยตรงมีจำนวน 200 คน แต่ละ Canton จะมีจำนวน ผู้แทนของตนมากน้อยตามจำนวนประชากร (1:34,000) แต่อย่างน้อยที่สุด แต่ละ Canton จะมีผู้แทน 1 คน Council of States มีจำนวนสมาชิก 46 คน โดยแต่ละ Canton มีผู้แทน 2 คน การดำเนินงานที่สำคัญของรัฐสภาแห่งสมาพันธ์ กระทำผ่าน standing committees ด้าน ต่าง ๆ อาทิ การคลัง การต่างประเทศ เศรษฐกิจ วิทยาศาสตร์และการวิจัย การทหาร สุขภาพและสิ่งแวดล้อม การคมนาคม พลังงาน ฯลฯ ในการบริหารราชการส่วนกลาง อำนาจบริหารจะอยู่ที่คณะรัฐมนตรีเรียกว่า the Federal Council ซึ่งมีสมาชิกเรียกว่า Federal Councillor (มนตรีแห่งสมาพันธ์) มีทั้งหมด 7 คน ทำหน้าที่ควบคุมบริหารงานในหน่วยงานระดับกระทรวง 7 แห่ง รัฐสภาแห่งสมาพันธ์เป็นผู้เลือกมนตรีแห่งสมาพันธ์ มีวาระดำรงตำแหน่ง 4 ปี และในจำนวนมนตรีแห่งสมาพันธ์ทั้ง 7 คน จะได้รับเลือกจากรัฐสภาแห่งสมาพันธ์ผลัดเปลี่ยนกันครั้งละหนึ่งคน เพื่อดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีซึ่งมีวาระการดำรงตำแหน่ง 1 ปี โดยมีสถานะเป็น “the first among equals” ดังนั้น ประธานาธิบดีสวิสจึงไม่มีการเยือนต่างประเทศในฐานะ State Visit นับตั้งแต่ ค.ศ. 1959 เป็นต้นมา สวิตเซอร์แลนด์ได้ปกครองและบริหารโดยพรรคการเมืองหลัก 4 พรรค ได้แก่ พรรค Radical Democratic (RDP) พรรค Social Democratic Party (SDP) พรรค Christian Democratic People’s Party (CDP) และพรรค Swiss People’s Party (SVP) ซึ่งเป็นธรรมเนียมปฏิบัติว่า แต่ละพรรคจะได้รับจัดสรรตำแหน่งมนตรีของสมาพันธ์พรรคละ 2 คน ยกเว้น Swiss People’s Party ได้ 1 คน นอกจากนั้น ผู้จะดำรงตำแหน่งมนตรีแห่งสมาพันธ์จะมาจาก Canton เดียวกันเกิน 1 คนไม่ได้ และเป็น ธรรมเนียมว่าจะต้องมีผู้แทนจาก 3 Canton หลัก ได้แก่ Zurich, Berne และ Vaud แห่งละ 1 คน ลักษณะพิเศษของระบบประชาธิปไตยแบบสวิสคือ อำนาจสูงสุดในทางนิติบัญญัติมิได้อยู่ที่สภาแต่อยู่ที่ประชาชนโดยตรง เพราะตามรัฐธรรมนูญประชาชนมีสิทธิในการออกเสียงประชามติ (referendum) และการริเริ่ม (initiative) กล่าวคือ กฎหมายทุกฉบับที่ผ่านสภาแห่งสมาพันธ์แล้ว จะยังไม่มีผลบังคับใช้ เป็นกฎหมาย จะต้องรอให้ครบ 90 วันเสียก่อน ในระหว่างนั้นประชาชนจะมีสิทธิคัดค้านโดยจะต้องเข้าชื่อร่วมกัน ไม่น้อยกว่า 50,000 คน เพื่อให้มีการจัด referendum ส่วนอำนาจในการริเริ่มของประชาชนจะสามารถใช้ในการ แก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยประชาชนต้องเข้าชื่อร่วมกันไม่น้อยกว่า 100,000 คน เพื่อให้ประชาชนทั้งประเทศลงประชามติ ด้านอำนาจตุลาการ ศาลชั้นต้นและศาลชั้นกลางจะเป็นศาลของมณฑล โดยใช้กฎหมาย สมาพันธ์ร่วมด้วย และประชาชนเป็นผู้เลือกตั้งผู้พิพากษาโดยตรง แม้แต่ผู้พิพากษาสมทบก็อาจเป็นบุคคลที่ประกอบอาชีพอื่น ๆ ที่ได้รับเลือกจากคนในท้องถิ่น ส่วนศาลฎีกาแห่งสมาพันธ์ (Federal Supreme Court) มี ที่ตั้งอยู่ที่เมืองโลซานน์ เพื่อเน้นการแบ่งแยกอำนาจจากรัฐบาลกลางที่กรุงเบิร์น ศาลฎีกาเป็นทั้งศาลแพ่งและศาลอาญา ประกอบด้วยผู้พิพากษาประมาณ 30 คน ที่ได้รับเลือกตั้งจากรัฐสภาแห่งสมาพันธ์

      การแบ่งเขตการปกครอง

      นับตั้งแต่ พ.ศ. 2391 (ค.ศ. 1848) สวิตเซอร์แลนด์ได้เริ่มใช้ระบบการปกครองประชาธิปไตยแบบรัฐสภา แต่มีลักษณะการรวมตัวของรัฐต่าง ๆ อยู่ภายใต้รัฐบาลกลาง เรียกว่า สมาพันธรัฐ

      สมาพันธรัฐสวิสประกอบด้วย 26 รัฐ (cantons) ได้แก่

      รัฐเหล่านี้มีประชากรเป็นจำนวนระหว่าง 15,000 คน (รัฐอัพเพนเซลล์อินเนอร์-โรเดิน) และ 1,253,500 คน (รัฐซือริค) และมีขนาดพื้นที่ระหว่าง 37 ตารางกิโลเมตร (รัฐบาเซิล-ชตัดท์) และ 7,105 ตารางกิโลเมตร (รัฐเกราบึนเดิน) รัฐแต่ละแห่งจะมี เทศบาล (municipalities) รวมทั้งหมด 2,889 เขตเทศบาล

      ชื่อต่อไปนี้เป็นเขตปกครองที่มีดินแดนของสวิตเซอร์แลนด์โอบล้อมอยู่: บือซิงเงิน (Büsingen) เป็นดินแดนของประเทศเยอรมนี และกัมปีโอเนดีตาเลีย (Campione d'Italia) เป็นดินแดนของประเทศอิตาลี

       

       

       

      ภูมิศาสตร์

                      ภาวะเศรษฐกิจสวิตเซอร์แลนด์

                      ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 - 20 ได้มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจครั้งใหญ่ของสวิตเซอร์แลนด์ การจ้างงานในภาคเกษตรกรรมลดลงจากร้อยละ 60 ของปี พ.ศ. 2393 (ค.ศ. 1850) เหลือเพียงร้อยละ 30 ในปี พ.ศ. 2454 (ค.ศ. 1911) และตั้งแต่ปี พ.ศ. 2533 (ค.ศ. 1990) เป็นต้นมา มีแรงงานเพียงร้อยละ 5 ที่อยู่ในภาคเกษตรกรรม

      ภาคอุตสาหกรรมเริ่มมีบทบาทตั้งแต่ปี พ.ศ. 2423 (ค.ศ. 1880) และภาคบริการเริ่มเข้ามาตั้งแต่ช่วงทศวรรษแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 20 ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำในช่วงปี พ.ศ. 2534 - 2539 (ค.ศ. 1991 - 1996) เป็นผลจากมาตรการทางการเงินที่เข้มงวด ของสวิตเซอร์แลนด์เองแ ละการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าหลักของสวิตเซอร์แลนด์

      ในช่วงปี พ.ศ. 2540 - 2542 (ค.ศ. 1997 - 1999) สภาวะเศรษฐกิจสวิตเริ่มฟื้นตัวต่อเนื่องในอัตราร้อยละ 1.8 ต่อปี มาตรการต่างๆ เพื่อกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ธนาคารชาติสวิสนำมาใช้ทำให้ค่าของเงินฟรังก์สวิตลดลงเกือบร้อยละ 10 รวมทั้งสภาวะการเติบโตของเศรษฐกิจโลก เป็นปัจจัยที่เอื้อให้การส่งออกของสวิตเซอร์แลนด์เพิ่มขึ้น ในขณะเดียวกันภาวะการจ้างงานภายในประเทศที่เพิ่มขึ้นก็ช่วยให้การบริโภคภายในประเทศสูงขึ้นด้วย

      แม้ว่าสวิตเซอร์แลนด์จะมีค่าจ้างแรงงานสูงเป็นอันดับสามของประเทศอุตสาหกรรมรองจากเดนมาร์กและนอร์เวย์ แต่เมื่อเทียบกับอัตราเงินเฟ้อที่ค่อนข้างต่ำ แรงงานที่มีคุณภาพสูง บวกกับต้นทุนทางสังคมที่ค่อนข้างต่ำ ทำให้สวิตเซอร์แลนด์ได้รับการจัดอันดับเป็นประเทศที่มีความสามารถทางการแข่งขันสูงสุดเป็นอันดับที่ 9 ของโลก ในปี พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000)

      ภาคบริการของสวิตเซอร์แลนด์มีการจ้างงานกว่าสองในสามของการจ้างงานทั้งหมด รายได้ประชาชาติกว่าสองในสามมาจากภาคบริการ ที่สำคัญได้แก่ ภาคบริการผู้ผลิต อาทิ บริการด้านการเงิน การประกันภัย ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องซึ่งทำรายได้ถึงหนึ่งในสาม

      • ภาคบริการการจำหน่าย เช่น การค้า การขนส่ง การสื่อสารโทรคมนาคม
      • ภาคบริการสังคม เช่น สุขภาพ การศึกษา ภาคราชการ บริการด้านวัฒนธรรม และการพักผ่อน และ
      • ภาคบริการบุคคล (personal services) อาทิ การท่องเที่ยว บริการต่าง ๆ สำหรับครัวเรือน และบริการรายบุคคลอื่น ๆ

      ภาคอุตสาหกรรมของสวิตเซอร์แลนด์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง แม้ประเทศจะมีขนาดเล็กแต่มีบริษัทข้ามชาติมากมายที่ตั้งอยู่ในสวิตเซอร์แลนด์ อาทิ ด้านอาหาร (Nestle) เวชภัณฑ์ (Novartis, Roche) วิศวกรรม (ABB) อุตสาหกรรมเครื่องจักรกล เคมีภัณฑ์ และเวชภัณฑ์ ทำรายได้จากการส่งออกสูงสุดของสวิตเซอร์แลนด์ การจ้างงานภาคอุตสาหกรรมกว่าครึ่งหนึ่งอยู่ในภาคการผลิตสินค้าพวกเครื่องจักรกล เครื่องไฟฟ้าและเครื่องเหล็ก การแข็งค่าของเงินฟรังก์ทำให้ภาคอุตสาหกรรมพยายามลดค่าใช้จ่ายโดยการพัฒนาผลผลิตให้มีคุณภาพสูงมากขึ้น อุตสาหกรรมเครื่องจักรกลของสวิตเซอร์แลนด์เป็นอุตสาหกรรมที่ดีที่สุดในโลก ปัจจุบันสวิตเซอร์แลนด์เป็นประเทศที่มั่งคั่งที่สุดประเทศหนึ่ง ในปี 2543 GDP ต่อหัว สูงถึง 33,464 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งสูงเป็นที่สามของโลกรองจากญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา การเติบโตทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 1.5 ในปีก่อน เป็นร้อยละ 3.4 ใน2 543 ซึ่งเป็นอัตราสูงสุดในรอบสิบปี

      ปี พ.ศ. 2543 เศรษฐกิจสวิสเติบโตสูงสุดนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989) เป็นต้นมาเนื่องจากการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก อัตราดอกเบี้ยที่ต่ำ และการอ่อนค่าเงินฟรังก์สวิส GDP ในปี 2543 มีอัตราร้อยละ 3.4 การส่งออกเพิ่มเป็นสองเท่าในขณะที่การนำเข้าก็เพิ่มสูงขึ้น การลงทุนเพิ่มเป็นร้อยละ 10.3 (เทียบกับร้อยละ 9 ของปี 2542) ส่วนอัตราการว่างงานลดลงจากร้อยละ 2.7 เป็นร้อยละ 2 อัตราเงินเฟ้อร้อยละ 1.6

      กระทรวงการคลังรายงานว่า ในช่วงแปดเดือนแรกของปี ค.ศ. 2001 การส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 5 คิดเป็นมูลค่า 88,533 ล้านฟรังก์ และนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 คิดเป็นมูลค่า 88,719 ฟรังก์ ขาดดุลการค้า 90.5 ล้านฟรังก์ อัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 1.7 ซึ่งถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา

                                        

       

       

       

       

       


      ***ภาษาและศาสนา***

      ชาวสวิสประมาณ 48% นับถือศาสนาคริสต์ นิกายคาทอลิก และประมาณ 44% นับถือนิกาย โปรเตสแตนต์   ที่เหลือนับถือศาสนา ยิวและอื่นๆ สวิตเซอร์แลนด์มีภาษาราชการ 4 ภาษากล่าวคือ 65% ของประชาชนใช้เยอรมัน 18%    ใช้ฝรั่งเศส 10% ใช้อิตาเลียน และน้อยกว่า 1% ใช้ ภาษาโรมานซ์ (Romansch) แม้ภาษาเยอรมันที่ใช้สื่อสารกันอยู่  ในสวิตเซอร์แลนด์จะป็น Schwy-zertutsch ซึ่งเป็นภาษาถิ่นสายหนึ่งของเยอรมันที่มี ความแตกต่างอย่างมากจากภาษาเยอรมันมาตรฐาน แต่สิ่งตีพิมพ์ ละคร ภาพยนตร์ และรายการโทรทัศน์ส่วนใหญ่โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคข่าวใช้ภาษา เยอรมันมาตรฐานภาษาฝรั่งเศสมีที่ใช้อยู่ในพันธรัฐไฟรบูร์ก โวด์ วาเลส์ เนอชาแตล และเจนีวา พันธรัฐทิซิโนใช้ภาษาอิตาเลียน และภาษาโรมานซ์มีที่ใช้ อยู่ในพื้นที่ส่วนหนึ่งของพันธรัฐราวบึนเดน

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

      ***ขึ้นชื่อว่าดอกไม้***

      ดอกไม้ในนามของราชินีแห่งสวิตเซอร์แลนด์

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       


                                                                                        **Edelweiss**
                                                                                      **ดอกเอเด้นไว้ส์**

      ดอกEDELWEISS กล่าวกันว่าถ้าใครชอบดอกไม้พันธ์นี้จะเป็นคนที่น่าเชื่อถือ   จัดว่าเป็นดอกไม้ที่สวยที่สุดเหมือนราชินีของดอกไม้ทั้งหลาย  พันธ์จะเป็นหัวหอมฝังอยู่ในดิน   ลำต้นเล็กสูงประมาณ2,5 ถึง 10 ซม.  
      ใบจะเรียวยาวและทั้งดอกและใบจะมีขนปุยเล็กๆสัมผัสได้ สีเหลืองนวลออกขาว   ไม่อยู่รวมกันจะอยู่เป็นกลุ่มเล็กๆ   ดอกไม้พันธ์นี้ชอบแสงแดดมาก และจะหาเจอบนเขาสูง ถึง2500เมตร   ดอกไม้พันธ์นี้จัดว่าเป็นดอกไม้ที่หายากและสงวนมาก    จะมีดอกเปราะบางมากต้องคอยระวังและจัดว่าเป็นดอกไม้Top Ten ที่คนคอยจ้องจะเก็บทุกเวลาถ้าหาเจอ  เพราะความสวยงามและมีเสน่ห์    คนสวิสเลยเอาภาพของดอกไม้พันธ์นี้มาทำเป็นพวกของชำร่วย  ไม่ว่าจะเป็นรูปภาพ ของชำร่วย  แก้วน้ำฯลฯ  ให้นักท่องเที่ยวซื้อติดมือกลับบ้าน  
      ถ้าใครมาที่สวิตเซอร์แลนด์จะเห็นภาพดอกไม้ชนิดนี้จนชินตา   ด้วยความสวยละเอียดอ่อน นุ่มนวล....
      มีเสน่ห์จับตาของดอก EDELWEISS   คนสวิสเลยนำมันมาประดับใส่ปกเสื้อคลุมแขนสั้น ที่คนที่นี่เรียกว่าTracten (เสื้อประจำพื้นเมือง) ของชายสวิส และแถบหน้าอกเสื้อเชิ้ตที่จะใช้แต่งไปในงาน สวยงามมาก  
      ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมาเลยถือว่าเป็นดอกไม้ประจำชาติของสวิตเซอร์แลนด์ ถึงแม้จะไม่ยอมรับเป็นทางการก็ตาม

       

       

       

      ***นี่คือสวิตเซอร์แลนด์***

       

      เอกลักษณ์ที่ไม่มีใครเหมือน

      คงไว้ซึ่งความเป็นธรรมชาติ




       

       

       

       

       

       

       

       

       

      **ชอกโกแลทของบริษัทSuchard**
      **ทำชอกโกแลทเป็นรูปวัวสีม่วงใช้ชื่อว่าMilka**
        
      นอกจากดอกไม้ที่เอ่ยชื่อมาข้างบนนี้จะทำเป็นของที่ระลึกสำหรับนักท่องเที่ยวแล้ว..
      ยังมีของที่ระลึกอื่นๆที่ทำขึ้นมาที่นักท่องเที่ยวทุกคนจะเห็นคือรูปวัว
      และแม้กระทั่งSchokolade..รสอร่อย ของบริษัทSuchardที่มีชื่อเสียงก็ผลิตออกมาเป็นรูปวัว
      ภาพยนตร์ที่ถ่ายทำในประเทศสวิตฯจะมีฝูงวัวปรากฏในหนังที่ถ่ายออกมา เสมอ
      หรือศิลปะต่างๆจะประดิษฐ์หรือทำรูปวัวออกมาเช่นกัน
        
      ถ้ามีคำถามที่ถามถามนักท่องเที่ยวเกี่ยวกับประเทศสวิตเซอร์แลนด์
      ว่ามีอะไรที่เกี่ยวข้องกับประเทศนี้ จะได้รับคำตอบที่ตอบออกมาจากความรู้สึกจากหัวใจ..และความคิดคือ...
       Schokolade...
       ภูเขาแอลป์ที่มีชื่อก้องโลกและธรรมชาติอันสวยงาม..
       ธนาคาร...............
       เพลงjodelnde(ย๊อทเดิ้ล..เพลงประจำพื้นเมืองร้องในลำคอ)อันมีชื่อเสียง
       และสิ่งที่ขาดไม่ได้คือ.......วัวสวิส.....
        
      วัว ถึงแม้จะมีรูปร่างใหญ่โตน่าเกรงขาม แต่ธรรมชาติที่แท้จริงเป็นสัตว์ที่สงบเงียบ...
      คนที่มาเที่ยวที่นี่จะเห็นภาพวัว..ที่ผูกกระดิ่งคอใบใหญ่ ส่งเสียงกรุ๋งกริ๋งกังวานสะท้อนก้องในหุบเขาใหญ่
       และส่งเสียงร้องคำราม.... "Muuuuhh".........
      ...มูๆๆๆๆๆๆๆๆๆ...........สะบัดคอไปมา... มองดูเหมือนวัวเป็นสัตว์ไม่ฉลาดเฉลียว...โง่...
      ภาพที่เห็นนี้คนสวิสที่นี่จะนำมาใช้เป็นคำสบถที่ใช้ว่าผู้หญิงว่า... "dumme Kuh" **ตุ้มเม่อะคู***
      ซึ่งหมายถึงวัวโง่....คนที่อยู่ที่นี่จะรู้จักกันดี และจะใช้กันบ่อยๆไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่...........
      แม้กระทั่งคนไทยเราบางคนอาจจะเคยใช้คำนี้มาแล้ว ถ้าเราจะพูดกันจริงๆแล้วไม่ควรจะนำคำนี้มาใช้
      หรือพาดพิงเกี่ยวกับวัวเลย....ถ้าพูดกันจริงๆวัวไม่ใช้สัตว์โง่
      วเป็นสัตว์ที่ฉลาดมีความจำและตรงเวลามาก.ถ้าคนที่เคยสัมผัสใกล้ชิดกับชาวนาและวัวจะเห็นถึงสิ่งเหล่านี้ได้อย่างชัดเจน...
        
      ประเทศสวิตฯสมัยก่อนร่วม200กว่าปีที่ผ่านมา ยังเป็นประเทศที่ยากจนคนสวิสอยู่กันอย่างอดออมมัธยัสถ์
      ส่วนมากจะมีอาชีพการทำนาและเลี้ยงสัตว์ เป็นการหารายได้เลี้ยงชีพเพื่อความอยู่รอด
      สัตว์ที่มีค่าสูงมากสำหรับคนยุคนั้นคือวัว    วัวยุคนั้นมีค่ามากเทียบเท่ารถเปอร์เช่สมัยนี้เลย
      วัวให้น้ำนม..และใช้ทำเนยแข็ง...และเนยแข็งของสวิสนี้ ในปัจจุบันมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันดีทั่วโลก
      ส่วนที่มีคุณค่ามหาศาลคือทุ่งหญ้าอันเขียวขจี ทุ่งหญ้าเปรียบเสมือนหัวใจของคนสวิส..สำหรับการเลี้ยงดูวัว
      คนที่นี่จะทะนุบำรุงทุ่งหญ้า...จะเห็นได้ว่าจะพากัน ใส่ปุ๋ยธรรมชาติที่นำมาจากเยี่ยวและขี้วัว
      ที่หมักไว้แล้วนำมาฉีดบนทุ่งหญ้าส่งกลิ่นเหม็นคลุ้ง ที่คนที่นี่เรียกว่า....Guelle(กลืลเล่ะ)
      ทำให้ทุ่งหญ้างดงามเขียวขจีและพวกพืชสมุนไพร ขึ้นงดงามทำให้วัวได้รับพวกอาหารคุณค่าสูง
      นี่คือเหตุผลที่ทำไมวัวสวิสให้น้ำนมที่มีคุณค่ามาก

      ปัจจุบันนี้น่าเสียดายมากที่อาชีพการทำนาและความหมายของวัวเปลี่ยนไปมาก
      อาชีพชาวนาในปัจจุบันเหลือไม่ถึง30% และการเลี้ยงดูวัวเพื่อให้น้ำนมก็ลดลงไปจะเหลือน้อยมาก
      การเลี้ยงวัวในปัจจุบันจะเป็นการเลี้ยงวัวเนื้อเป็นส่วนมาก
      สมัยเมื่อ30ปีที่ผ่านมา....เมื่อครั้งที่เข้ามาพำนักอาศัยอยู่ที่สวิตฯใหม่ๆ
      ตามทุ่งกว้างอันเขียวขจีจะเห็นพันธ์วัวที่เล็มหญ้าอยู่ไม่กี่พันธ์ และไม่เคยเห็นฝูงแกะเลย..
      แต่ปัจจุบันจะเห็นฝูงแกะพันธ์สีขาวและดำเต็มไปหมด
      เมื่อ10กว่าปีที่ผ่านมา...การเลี้ยงแกะเพื่อขายขนเป็นที่นิยมมาก
      ราคาของขนแกะแพง..จนคนต่างหันมาเลี้ยงกันอย่างเป็นล่ำเป็นสัน
      ต่อมาความนิยมของขนแกะลดลง ในขณะที่การเลี้ยงแกะยังมีปริมาณมากเท่าเดิม
      ราคาของขนแกะที่ขายได้ในราคาถูกมาก... เคยคุยกับคนเลี้ยงแกะเลยได้รับความรู้เพิ่ม
      ราคาขนแกะเหลือเพียงไม่กี่สตางค์(รับเพิ่ล) แต่เขาเลี้ยงแกะเพื่อขายเนื้อ
      ปัจจุบันเนื้อแกะที่ขายตามท้องตลาดจะมาจากประเทศต่างๆ
      สมัยแรกจะมีขายเนื้อแกะที่นำมาจากประเทศนิวซีแลนด์เป็นส่วนมาก

       

       

       

       

       

      ***ซูริก เมืองแห่งอารยธรรม***

      เมืองที่ขึ้นชื่อว่าเป็นเมืองที่มี  คุณภาพชีวิตที่ดีที่สุดในโลก

       

       

       

      บ้านหลังงามที่คลาคล่ำด้วยกลิ่นของความเป็นคลาสสิค  ถนนที่มากมายไปด้วยผู้คน

      พร้อมกับบรรยากาศที่จะทำให้ทุกคนหลงใหล ที่ซูริก

      ถ้ายังคิดไม่ออกว่าสถานที่ท่องเที่ยวดีดีนั้นคือที่ไหน  ให้ซูริกเป็นที่หนึ่งที่คุณคิดถึง

       

       

       

       

                                                                                 ซูริก   สวิตเซอร์แลนด์ เมืองโรแมนติกริมทะเลสาบ


                   





       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

      สวิตเซอร์แลนด์ขึ้นช่อว่าเป็นประเทศที่มีภูมิทัศน์อันงดงามและซูริก...ก็เป็น 1 ในเมืองที่สวยที่สุดของสวิตเซอร์แลนด์ นอกเหนือไปจากเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดและเป็นศูนย์กลางทางการเงินของสวิตเซอร์แลนด์

      ซูริกยังมีอะไรดีๆ ไว้รอต้อนรับนักท่องเที่ยวอีกมากมาย


       

       

       

       

       

       

       

       

       


                                                                                   ล่องแม่น้ำ...ล่องทะเลสาบ
      นี่เป็น 1 ในวิธีที่ดีที่สุดในการเที่ยวชมเมืองซูริก เพราะแม่น้ำ Limmat แม่น้ำสายสำคัญของซูริก ไหลผ่านย่านใจกลางเมืองและแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของเมือง ก่อนจะไปออกที่ทะเลสาบซูริกอันงดงามและในช่วงที่อากาศอบอุ่นระหว่างเดือน มี.ค.-ต.ค. ทุกวัน (ทุกวันยกเว้นวันอาทิตย์) ก็จะมีเรือเมล์ที่ล่องไปตามแม่น้ำ เริ่มต้นจากพิพิธภัณฑ์ Landesmuseum  และไปสิ้นสุดยัง Zurichhorn Casino ที่ริมทะเลสาบ นอกจากนี้ยังมีบริการเรือสำราญที่ท่า Buerkliplatz ซึ่งจะพานักท่องเที่ยวล่องไปตามทะเลสาบซูริก ที่รายรอบด้วยเทือกเขาน้อยใหญ่ การล่องเรือมีทั้งแบบ 1.30 ช.ม.และ 2.30 ช.ม.

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

      ***ของหวานพร้อมเสริฟที่ สวิตเซอร์แลนด์***

       

       

       

       

       

      ไม่ว่าจะไปเที่ยวที่ไหนขาดไม่ได้คือต้องชิม

       

       

       

       

       

       

      ใครเคยไปสวิตเซอร์แลนด์คงเคยเห็นหรือได้ลิ้มลองไอศกรีมยี่ห้อ Movenpick อยู่บ้าง  เป็นไอศกรีมรสชาติพรีเมี่ยมแต่มีขายแทบทุกหัวระแหงของสวิตเซอร์แลนด์ โดยเฉพาะในเมืองใหญ่ๆ อย่างซูริก เจนีวา

                      มูลเหตุแห่งความอร่อยก็มาจากการเป็นไอศกรีมรสแท้จากธรรมชาติ ใช้วัตถุดิบที่ดีที่สุดจากทุกมุมโลก เป็นต้นว่า ไอศกรีมรสวานิลลา ก็ไปเอาฝักวานิลลามาจากมาดากัสการ์ ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นแหล่งปลูกวานิลลาที่ดีที่สุด แล้วก็เอาฝักมารูดเอาเมล็ดออกเพื่อผสมลงไปในเนื้อไอศกรีม (เขาว่าเป็นเจ้าเดียวที่เมล็ดวานิลลาปนในไอศกรีม) จนส่งกลิ่นหอมและให้รสชาติวานิลลาอร่อยเกินห้ามใจ หรือไอศกรีมรสสตรอว์เบอร์รี่ ก็เอาผลสตรอว์เบอร์รี่ที่เก็บในตอนเช้าขณะที่แดดยังไม่โลมไล้ ได้กินแล้วรู้สึกถึงรสชาติของผลไม้และเนื้อไอศกรีมในคำเดียว เช่น-กันกับรสสวิสส์ช็อกโกแลต ซึ่งใช้โกโก้จากเวเนซุเอลา แหล่งผลิตโกโก้ชั้นเยี่ยม ทุกคำที่กินเข้าไปก็จะมีเนื้อช็อกโกแลตบางๆ อยู่ในไอศกรีม หรือรสเมเปิ้ลวอลนัต ที่ให้ความสดชื่นถึงฤดูหนาวของยุโรป ก็ใช้วอลนัตของสวิสส์และเมเปิ้ลไซรัปจากแคนาดา ผสานรสชาติกันกลมกล่อมหอมหวานจนแทบจะต้องไปเอาแพนเค้กมากินคู่ไอศกรีมเมเปิ้ลโดยด่วนทีเดียว
                      คุณภาพและรสชาติของไอศกรีม Movenpick ที่กินเข้าไปจึงบอกให้รู้เลยว่าเป็นความอร่อยจากธรรมชาติล้วนๆ แต่อย่าเพิ่งคิดว่าเราไปกินที่สวิสส์มาล่ะ นั่นมันหลายเดือนมาแล้ว หนล่าสุดที่กินเข้าไปหลายสกู๊ปหลากรสชาติคือที่ Movenpick Resort & Spa Karon Beach Phuket บนหาดกะรน ภูเก็ต ไทยแลนด์นี่เอง ทาง Movenpick Ice Cream เพิ่งนำเข้ามาจำหน่ายในเมืองไทยเป็นครั้งแรกที่นี่ เราเลือกไปนั่งกินที่ Cafe Studio ใกล้ๆ ชายหาด แต่จะสะดวกเลือกไปกินที่สระว่ายน้ำ หรือสั่งรูมเซอร์วิสก็ได้ อร่อยทั้งนั้น จะให้ดีอย่าลืมรับประทานอาหารหลักด้วย
                      ที่โรงแรมนี้มีห้องอาหารหลายห้อง อาหารบราซิลก็มี กริลล์บาร์ก็มี โฮมเมดพิซซ่าที่อบจากเตาไม้ก็อร่อยมาก สลัดร็อกเก็ตคลุกน้ำสลัดบัลซามิกก็อร่อยขนาด แต่แทนที่จะตบท้ายด้วยกาแฟเอสเปรสโซ่เหมือนเคย เราก็ขอตบรสชาติประมาณกัน ด้วยไอศกรีมรสเอสเปรสโซ่ โอ้ อร่อยเลิศค่ะ สนนราคาสกู๊ปละ 140 บาท 2 สกู๊ป 230 บาท 3 สกู๊ป 300 บาท (มาดามช่างกินกระซิบว่าสามสกู๊ปคุ้มสุด!) ชนิดกล่อง (175 ml) 220 บาท ในเบื้องต้นมีให้ลิ้มลอง 10 รสชาติ Vanilla Dream, Swiss Chocolate, Strawberry, Espresso Croquant, Maple Walnut, Caramelita, Stracciatella, Passion Fruit & Mango, Lemon & Lime และ Raspberry หากไปรับลมทะเลกินถึงภูเก็ตไม่ไหว เขาเพิ่งนำมาที่กรุงเทพฯ ที่ห้อง Vertigo โรงแรมบันยันทรี และที่โรงแรมพลาซ่า แอทธินี ทั้งอาจจะหาได้ที่ซูเปอร์มาร์เก็ตของสยามพารากอน และเซ็นทรัล ฟู้ดฮอลล์

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       


      ***เก็บตกภาพของดินแดนในฝัน  สวิตฯ***

       

       

       

       

       

       

       

       

       


       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       


      สวิตเซอร์แลนด์  1  ประเทศที่ทุกคนใฝ่ฝันอยากจะไป   ไปสัมผัส

       กลิ่นไอของอารยธรรมร่วมสมัยที่ไม่ได้จางหายไปตามยุคสมัย  

      ฝันที่อยากจะมุ่งไปสู่ ประเทศที่มีที่สุดของโลกไม่แพ้ที่ใด 

      มนต์ขลังที่จะตรึงตาตรึงใจทุกคนไว้ 

      ไม่ให้พลาดที่จะเก็บความทรงจำให้ดีที่สุดเพียงแค่เหยียบย่ำฝีเท้า เข้าสู่  สวิตเซอร์แลนด์

       

      เก็บเงินซะ

       

      1 วิธีที่ดีที่สุดที่สามารถแนะนำได้  *-*

       

       

      ความเลื่องชื่อของหิมะสีขาวบนยอดเขาแอลป์

      ทะเลสาบสีครามนามเจนีวา

      สกีกลางลานหิมะที่แซงต์มอริตซ์

      รถไฟสายธารน้ำแข็ง Glacier Express

      ช็อกโกแลตของสปรุ๊งลี่ ยี่ห้อดังระดับแนวหน้าของโลก..

       

       

       

       

       

       

       

       

      เด็กหญิงชญานี  พรหมรินทร์      ม.3/3  เลขที่  29 

       

       

       

      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×