เสียง - เสียง นิยาย เสียง : Dek-D.com - Writer

    เสียง

    โดย MR.DENTAKAME

    เสียง

    ผู้เข้าชมรวม

    224

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    0

    ผู้เข้าชมรวม


    224

    ความคิดเห็น


    1

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  31 ต.ค. 50 / 14:52 น.


    ข้อมูลเบื้องต้นของเรื่องนี้
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ
      เสียงคือ เสียงเป็นพลังงานชนิดหนึ่ง และเป็นสิ่งเร้ากระตุ้นระบบประสาทของคนและสัตว์ให้เกิดปฏิกิริยาตอบสนองมากมาย เสียงยังช่วยกระตุ้นพัฒนาการและการเรียนรู้ในเด็กวัยต่างๆ เช่น เด็กเล็กเราใช้เสียงกระตุ้นให้เกิดการหันมองหา ไขว่คว้า หยิบยื่นตามเสียง ในเด็กโตเสียงระดับต่างๆ จะช่วยกระตุ้นพฤติกรรม อารมณ์ สามารถใช้ทั้งเพื่อให้เกิดความสงบ ความกลัว และสร้างให้เกิดพฤติกรรมความรุนแรง
      หู มีหน้าที่ที่สำคัญในการรับเสียงเพื่อส่งผ่านไปยังสมอง หูประกอบด้วยใบหู ช่องหูซึ่งทำงานเหมือนท่อนำเสียง เยื่อแก้วหู และประสาทหู โดยทั่วไปหากการได้ยินเกิดการบกพร่อง สาเหตุหลักจะมาจากการนำเสียงผิดปกติ เช่น มีขี้หู มีน้ำขังในหูชั้นกลาง เป็นต้น อีกสาเหตุหนึ่งคือโสตประสาทหรือประสาทการได้ยินผิดปกติ

      เสียงจัดเป็นคลื่นตามยาว ที่ต้องอาศัยตัวกลางในการเคลื่อนที่ สามารถแผ่ไปได้ทั้งในตัวกลางที่เป็น ของแข็ง ของเหลว และก๊าช การแผ่ของคลื่นเสียงเกิดจากการอัดตัวและขยายของโมเลกุลของตัวกลาง ดังนั้นจึงทำให้เสียงแผ่ในตัวกลางที่มีความหนาแน่นมากได้เร็วมากกว่าในตัวกลางที่มีความหนาแน่นน้อย หรืออาจกล่าวได้ว่า

                    อัตราเร็วของเสียงในตัวกลางที่เป็นของแข็งมีค่ามากกว่าในตัวกลางที่เป็้นของเหลว ในขณะเดียวกันอัตราเร็วของเสียงในของเหลวก็มีค่ามากกว่าในตัวกลางที่เป็้นก๊าช
                    ถ้าแหล่งกำเนิดเสียงสั่นอยู่ในบริเวณที่เป็นสุญญากาศจะไม่มีเสียงเกิดขึ้น เพราะในบริเวณนั้นไม่มีโมเลกุลของตัวกลางที่จะอัดหรือขยาย เสียงจึงแผ่ออกมาจากแหล่งกำเนิดไม่ได้



      เสียง เกิดจากการสั่นสะเทือนของวัตถุ เมื่อวัตถุสั่นสะเทือน ก็จะทำให้เกิดการอัดตัวและขยายตัวของคลื่นเสียง และถูกส่งผ่านตัวกลาง เช่น อากาศ ไปยังหู แต่เสียงสามารถเดินทางผ่านก๊าซ ของเหลว และของแข็งก็ได้ แต่ไม่สามารถเดินทางผ่าน สุญญากาศ เช่น ในอวกาศ ได้

      เมื่อการสั่นสะเทือนนั้นมาถึงหูของเรา มันจะถูกแปลงเป็นพัลส์ประสาท ซึ่งจะถูกส่งไปยังสมอง ทำให้เรารับรู้และจำแนกเสียงต่างๆ ได้


      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×