รสในวรรณคดี (เรื่องรามเกียรติ์ ตอนหนุนามเผาเมืองลงกา) - รสในวรรณคดี (เรื่องรามเกียรติ์ ตอนหนุนามเผาเมืองลงกา) นิยาย รสในวรรณคดี (เรื่องรามเกียรติ์ ตอนหนุนามเผาเมืองลงกา) : Dek-D.com - Writer

    รสในวรรณคดี (เรื่องรามเกียรติ์ ตอนหนุนามเผาเมืองลงกา)

    รสในวรรณคดี ในรื่องรามเกียรติ์ ตอนหนุนามเผาเมืองลงกา

    ผู้เข้าชมรวม

    7,955

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    20

    ผู้เข้าชมรวม


    7.95K

    ความคิดเห็น


    0

    คนติดตาม


    2
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  14 ส.ค. 57 / 12:59 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

                     พิโรธวาทัง เป็นการบรรยายแสดงถึงความโกระแค้น แสดงออกทางคำพูดด่า เสียดสี  และแสดงออกผ่านการกระทำที่รุนแรง ใช้อารมณ์ฉุนเฉียว สำหรับบทประพันธ์ที่ยกมาเป็นตัวอย่างนี้ ได้แสดงออกถึงอารมณ์โกรธ ถ้อยคำที่หยาบคาย และความรุนแรงอย่างชัดเจน ดั่งคำประพันธ์ว่า

             เมื่อนั้น                                    อินทรชิตสิทธิศักดิ์ยักษา

      ได้ฟังวานรเจรจา                                   โกรธาดั่งไฟบรรลัยกัลป์

      ขบเขี้นวเคี้ยวกรามกระทืบบาท           ร้องตวาดผาดเสียงดั่งฟ้าลั่น

      เหม่อ้ายลิงไพรใจฉกรรจ์                       กูจะหั่นให้ยับลงกับกร

                      เมื่ออ่านบทประพันธ์นี้แล้ว ทำให้เรารู้สึกถึงความโกรธเกรี้ยวของอินทรชิตที่มีต่อหนุมาน หวังจะฟาดฟัน และฆ่าเสียให้สิ้น ร้องตวาดด้วยถ้อยคำที่รุนแรงและการแสดงอาการของความโกรธ

                     

                      สัลลาปังคพิไสย คือการโอดคร่ำครวญ น้อยเนื้อต่ำใจ ปราศจากความหวัง เศร้าโศกเสียใจ สำหรับคำประพันธ์ที่ยกมาเป็นตัวอย่างนี้ ได้แสดงออกถึงความน้อยเนื้อ ต่ำใจ ผ่านการรำพึงรำพัน ดั่งคำประพันธ์ว่า

                      ทั้งนี้เพราะวาสนาตัว            ดีชั่วทะทาผู้ใดได้

      เสียทีที่มีฤทธิ์ไกร                                   น้อยใจเป็นพันคณนาฯ

                      เมื่ออ่านบทประพัน์ข้างต้นนี้แล้ว ทำให้เรารู้สึกถึงความน้อยเนื้อต่ำใจ ในตัวเอง รู้สึกผิดหวัง และหดหู่ รำพึงรำพันออกมาเป็นคำพูดที่เศร้าสลดเสียใจยิ่งนัก

       

                     เสาวรจนี  คือการชมความงามของผู้หญิง  ชมความงามของธรรมชาติหรือความกล้าหาญของกษัตริย์ สำหรับคำประพันธ์ที่ยกมาเป็นตัวอย่างนี้ ได้พูดถึงความกล้าหาญ ของหนุมานที่ต่อกรกับเหล่ายักษ์โดยไม่กลัวเกรง ดั่งคำประพันธ์ว่า

                      บัดนั้น                     หนุมานฤทธิแรงแข็งขัน

      หลีกหลบรบชิดติดพัน           ยืนยันเหยียบเข่าอสุรีฯ

                      เมื่อได้อ่านบทประพันธ์ข้างต้นนี้แล้ว เราได้รับรู้ถึงความกล้าหาญของหนุมาน ที่ยืนหยัดสู้กับเหล่ายักษ์ด้วยความกล้าหาญชาญชัย

                      เสาวรจนี  คือการชมความงามของผู้หญิง  ชมความงามของธรรมชาติหรือความกล้าหาญของกษัตริย์ สำหรับคำประพันธ์ที่ยกมาเป็นตัวอย่างนี้ ได้บรรยายเกี่ยวกับความงามของธรรมชาติ นักกวีใช้ภาษาที่สละสลวย ทำให้ผู้อ่านเกิดความเพลิดเพลินและเคลิ้มตามราวกับอยู่ในสถานที่นั้นๆ ดั่งคำประพันธ์ว่า

              สองกษัตริย์ชำระสระสนาน                 ในท้องธารแทบเชิงคีรีศรี

      น้ำใสเย็นอาบอินทรีย์                                           ดั่งนทีในสีทันดร

      พื้นทรายพรายแสงเนสวรัตน์                                ลื่อมเลื่อมจำรัสประภัสสร

      ปทุมมาลย์ชูก้านอรชร                                          ฝักแก่ฝักอ่อนแกมกัน

                      เมื่ออ่านบทประพันธ์ข้างต้นนี้แล้ว ทำให้เรารู้สึกราวกับได้ลงแช่น้ำอยุ่ในสระนั้นด้วย เหมือนได้สำผัสกับน้ำเย็นๆ เห็นดอกบัวที่ลอยอยู่เหนือน้ำ ทำให้ผู้อ่านเกิดความเพลิดเพลินและรู้สึกผ่อนคลาย

                                     

       *ในตอนหนุนามเผาเมืองลงกานี้หานารีปราโมทไม่เจอ เกรงว่าจะไม่มี อิอิ ><

      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×