Internet...อินเตอร์เน็ต - Internet...อินเตอร์เน็ต นิยาย Internet...อินเตอร์เน็ต : Dek-D.com - Writer

    Internet...อินเตอร์เน็ต

    โดย Babilone_City

    เราเอาไว้เรียน .....แค่นี้แหละ

    ผู้เข้าชมรวม

    5,858

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    4

    ผู้เข้าชมรวม


    5.85K

    ความคิดเห็น


    12

    คนติดตาม


    1
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  19 ก.ย. 48 / 18:15 น.


    ข้อมูลเบื้องต้นของเรื่องนี้
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ
      ความหมายของอินเทอร์เน็ต
      อินเทอร์เน็ต (Internet) คือ เครือข่ายของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ระบบต่าง ๆ ที่เชื่อมโยงกัน มาจากคำว่า Inter Connection Network
      อินเทอร์เน็ต (Internet) เป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่มีขนาดใหญ่ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องทั่วโลก สามารถติดต่อสื่อสารถึงกัน ได้โดยใช้มาตรฐาน ในการรับส่งข้อมูลที่เป็นหนึ่งเดียว หรือที่เรียกว่าโปรโตคอล (Protocol) ซึ่งโปรโตคอล ที่ใช้บนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีชื่อว่า ทีซีพี/ไอพี (TCP/IP : Transmission Control Protocol/Internet Protocol)
      ลักษณะของระบบอินเทอร์เน็ต เป็นเสมือนใยแมงมุม ที่ครอบคลุมทั่วโลก ในแต่ละจุดที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตนั้น สามารถสื่อสารกันได้หลายเส้นทาง ตามความต้องการ โดยไม่กำหนดตายตัว และไม่จำเป็นต้องไปตามเส้นทางโดยตรง อาจจะผ่านจุดอื่น ๆ หรือ เลือกไปเส้นทางอื่นได้หลาย ๆ เส้นทาง การติดต่อสื่อสาร ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต นั้นอาจเรียกว่า การติดต่อสื่อสารแบบไร้มิติ หรือ Cyberspace

      คำเกี่ยวข้องที่ควรทราบ
      •    Cyberspace เป็นคำที่ William Gibson นักเขียนนวนิยายวิทยาศาสตร์ เป็นผู้บัญญัติ เพื่อใช้ในเรื่องที่แต่ง ปัจจุบันหมายถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์หลายเครือข่าย ที่แยกกัน แต่สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ แม้จะใช้กฎเกณฑ์ หรือมาตรฐาน ที่แตกต่างกันก็ตาม ดังนั้น Internet เป็นเพียงเครือข่ายหนึ่งของ Cyberspace เท่านั้น
      •    Information Superhighway หรือทางด่วนข้อมูล เป็นโครงสร้างของระบบโทรคมนาคมพื้นฐาน (Infrastructure) ในการรับส่งข้อมูลดิจิทอล ที่มีความเร็วสูง เชื่อถือได้ มีความปลอดภัย Internet เป็นเพียงต้นแบบหนึ่งของ I-Way นี้เช่นกัน

      ความสำคัญของอินเทอร์เน็ต
      ปัจจุบันอินเทอร์เน็ต มีความสำคัญต่อชีวิตประจำวันของคนเรา หลายๆ ด้าน ทั้งการศึกษา พาณิชย์ ธุรกรรม วรรณกรรม และอื่นๆ ดังนี้
      ด้านการศึกษา
      •    สามารถใช้เป็นแหล่งค้นคว้าหาข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลทางวิชาการ ข้อมูลด้านการบันเทิง ด้านการแพทย์ และอื่นๆ ที่น่าสนใจ
      •    ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต จะทำหน้าที่เสมือนเป็นห้องสมุดขนาดใหญ่
      •    นักศึกษาในมหาวิทยาลัย สามารถใช้อินเทอร์เน็ต ติดต่อกับมหาวิทยาลัยอื่น ๆ เพื่อค้นหาข้อมูลที่กำลังศึกษาอยู่ได้ ทั้งที่ข้อมูลที่เป็น ข้อความ เสียง ภาพเคลื่อนไหวต่างๆ เป็นต้น
      ด้านธุรกิจและการพาณิชย์
      •    ค้นหาข้อมูลต่าง ๆ เพื่อช่วยในการตัดสินใจทางธุรกิจ
      •    สามารถซื้อขายสินค้า ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
      •    ผู้ใช้ที่เป็นบริษัท หรือองค์กรต่าง ๆ ก็สามารถเปิดให้บริการ และสนับสนุนลูกค้าของตน ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ เช่น การให้คำแนะนำ สอบถามปัญหาต่าง ๆ ให้แก่ลูกค้า แจกจ่ายตัวโปรแกรมทดลองใช้ (Shareware) หรือโปรแกรมแจกฟรี (Freeware) เป็นต้น
      ด้านการบันเทิง
      •    การพักผ่อนหย่อนใจ สันทนาการ เช่น การค้นหาวารสารต่าง ๆ ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ที่เรียกว่า Magazine Online รวมทั้งหนังสือพิมพ์และข่าวสารอื่นๆ โดยมีภาพประกอบ ที่จอคอมพิวเตอร์เหมือนกับวารสาร ตามร้านหนังสือทั่วๆ ไป
      •    สามารถฟังวิทยุผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้
      •    สามารถดึงข้อมูล (Download) ภาพยนตร์ตัวอย่างทั้งภาพยนตร์ใหม่ และเก่า มาดูได้
      จากเหตุผลดังกล่าว พอจะสรุปได้ว่า อินเทอร์เน็ต มีความสำคัญ ในรูปแบบ ดังนี้
      •    การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัย
      •    การติดต่อสื่อสารที่สะดวก และรวดเร็ว
      •    แหล่งรวบรวมข้อมูลแหล่งใหญ่ที่สุดของโลก
      โดยสรุปอินเทอร์เน็ต ได้นำมาใช้เป็นเครื่องมือที่จำเป็นสำหรับงานไอที ทำให้เกิดช่องทางในการเข้าถึงข้อมูลที่รวดเร็ว ช่วยในการตัดสินใจ และบริหารงานทั้งระดับบุคคลและองค์กร

      พัฒนาการของ Internet
      ปี พ.ศ. 2500 (1957) โซเวียดได้ปล่อยดาวเทียม Sputnik ทำให้สหรัฐอเมริกาได้ตระหนักถึงปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น ดังนั้น ค..ศ. 2512 (1969) กองทัพสหรัฐต้องเผชิญหน้ากับความเสี่ยงทางการทหาร และความเป็นไปได้ในการถูกโจมตี ด้วยอาวุธปรมาณู หรือนิวเคลียร์ การถูกทำลายล้าง ศูนย์คอมพิวเตอร์ และระบบการสื่อสารข้อมูล อาจทำให้เกิดปัญหาทางการรบ และในยุคนี้ ระบบคอมพิวเตอร์ ที่มีหลากหลายมากมายหลายแบบ ทำให้ไม่สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร และโปรแกรมกันได้ จึงมีแนวความคิด ในการวิจัยระบบที่สามารถ เชื่อมโยงเครื่องคอมพิวเตอร์ และแลกเปลี่ยนข้อมูล ระหว่างระบบที่แตกต่างกันได้ ตลอดจนสามารถรับส่งข้อมูลระหว่างกัน ได้อย่างไม่ผิดพลาด แม้ว่าคอมพิวเตอร์บางเครื่อง หรือสายรับส่งสัญญาณ เสียดายหรือถูกทำลาย กระทรวงกลาโหมอเมริกัน (DoD = Department of Defense) ได้ให้ทุนที่มีชื่อว่า DARPA (Defense Advanced Research Project Agency) ภายใต้การควบคุมของ Dr. J.C.R. Licklider ได้ทำการทดลอง ระบบเครือข่ายที่มีชื่อว่า DARPA Network และต่อมาได้กลายสภาพเป็น ARPANet (Advanced Research Projects Agency Network) และต่อได้มาพัฒนาเป็น INTERNET ในที่สุด
      การเริ่มต้นของเครือข่ายนี้ เริ่มในเดือน ธันวาคม 2512 (1969) จำนวน 4 มหาวิทยาลัย ได้แก่
      •    มหาวิทยาลัยยูทาห์
      •    มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ซานตาบาบารา
      •    มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ลอสแองเจลิส
      •    สถาบันวิจัยของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด
      และขยายต่อไปเรื่อยๆ เป็น 50 จุดในปี พ.ศ. 2515 จนเป็นหลายล้านแห่งทั่วโลกทีเดียว
      งานหลักของเครือข่ายนี้ คือ การค้นคว้าและวิจัยทางทหาร ซึ่งอาศัยมาตรฐานการรับส่งข้อมูลเดียวกัน ที่เรียกว่า Network Control Protocol (NCP) ทำหน้าที่ควบคุมการรับส่งข้อมูล การตรวจสอบความผิดพลาดในการส่งข้อมูล และตัวกลางที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องเข้าด้วยกัน และมาตรฐานนี้ก็มีจุดอ่อนในการขยายระบบ จนต้องมีการพัฒนามาตรฐานใหม่
      พ.ศ. 2525 ได้มีมาตรฐานใหม่ออกมา คือ Transmission Control Protocol/Internet Protocol (TCP/IP) อันเป็นก้าวสำคัญของอินเทอร์เน็ต เนื่องจากมาตรฐานนี้ทำให้คอมพิวเตอร์ต่างชนิดกัน สามารถรับส่งข้อมูลไปมาระหว่างกันได้ เปรียบเสมือนเป็นหัวใจของอินเทอร์เน็ตเลยก็ว่าได้

      จากระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ที่มีอยู่ในยุคนั้น ไม่สามารถตอบสนองการสื่อสารได้ บริษัทเบลล์ (Bell) ได้ให้ทุนการศึกษาแก่ ห้องทดลองที่มีชื่อเสียงที่สุดแห่งหนึ่ง ในสมัยต่อมา คือ Bell\'s Lab ให้ทดลองสร้าง ระบบปฏิบัติการแห่งอนาคต (ของคนในยุคนั้น) เดนนิส ริสซี และ เคเน็ต ทอมสัน ได้ออกแบบ และพัฒนาระบบที่มีชื่อว่า UNIX ขึ้น และแพร่หลายอย่างรวดเร็ว พร้อมๆ กับการแพร่หลายของระบบ Internet เนื่องจากความสามารถ ในการสื่อสารของ UNIX และมีการนำ TCP/IP มาเป็นส่วนหนึ่งของระบบปฏิบัติการนี้ด้วย
      พ.ศ. 2529 มูลนิธิวิทยาลัยศาสตร์แห่งชาติ สหรัฐอเมริกา (National Science Foundation - NSF) ได้วางระบบเครือข่ายขึ้นมาอีกระบบหนึ่ง เรียกว่า NSFNet ซึ่งประกอบด้วยซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ 5 เครื่องใน 5 รัฐ เชื่อมต่อเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา และค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ และมีการใช้มาตรฐาน TCP/IP เป็นมาตรฐานหลักในการรับส่งข้อมูล ส่งผลให้การใช้งานเครือข่ายเป็นไปอย่างรวดเร็ว
      หลังจากนั้นก็มีเครือข่ายอื่นๆ เกิดขึ้นมาเช่น UUNET, UUCP, BitNet, CSNet เป็นต้น และต่อมาได้เชื่อมต่อกัน โดยมี NSFNet เป็นเครือข่ายหลัก ซึ่งเปรียบเสมือนกระดูกสันหลังของเครือข่าย (Backbone)
      ในปี พ.ศ. 2530 เครือข่าย ARPANET ได้รวมกับ NSFNET และลดบทบาทตัวเองลงมา เปลี่ยนไปใช้บทบาทของ NSFNet แทน และเลิกระบบ ARPANET ในปีพ.ศ. 2534
      ในปัจจุบัน Internet เป็นการต่อโยงทางตรรกะ (Logic) ของระบบคอมพิวเตอร์นับล้าน ๆ เครื่อง และโยงกับระบบ Wide Area Network (WAN) ต่างๆ เช่น MILNET, NSFNET, CSNET, BITNET หรือแม้แต่ เครือข่ายทางธุรกิจ เช่น IBMNET, Compuserve Net และอื่น ๆ ภายใต้โปรโตคอล ที่มีชื่อว่า TCP/IP โดยที่ขนาดของเครือข่าย ครอบคลุมไปทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย และมีการขยายขอบเขตออกไป อย่างไม่หยุดยั้ง

      ระบบ Internet เป็นการนำเครือข่ายขนาดใหญ่ที่สุดของโลก ที่มีการต่อเสมือนกับ ใยแมงมุม หรือ World Wide Web หรือเรียกย่อๆ ว่า WWW (มีการบัญญัติศัพท์ว่า เครือข่ายใยพิภพ) ในระบบนี้เราสามารถเปรียบเทียบ Internet ได้ สองลักษณะคือ ลักษณะทางกายภาพ และทางตรรกะ ในทางกายภาพ (Physical) นั้น Internet เป็นเครือข่ายที่รับอิทธิพลจาก เครือข่ายโทรศัพท์โดยตรง ในสหรัฐอเมริกา บริษัทที่เป็นผู้ให้บริการ Internet ก็เป็นบริษัทที่ทำธุรกิจ ทางโทรศัพท์ เช่น MCI, AT&T, BELL เป็นต้น และอีกลักษณะหนึ่ง ที่เป็นความเด่นของระบบ คือลักษณะทางตรรกะ หรือ LOGICAL CONNECTION ที่เป็นเสมือนใยแมงมุม ครอบคลุมโลกไว้

      อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย
      ปี พ.ศ. 2529 อาจารย์กาญจนา กาญจนสุต จากสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย (AIT) ร่วมกับอาจารย์โทโมโนริ คิมูระ จากสถาบันเดียวกัน ร่วมสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยอาศัย
      •    โมเด็ม NEC ความเร็ว 2400 Baud
      •    เครื่องคอมพิวเตอร์พีซี NEC
      •    สายโทรศัพท์ทองแดง
      โดยเครือข่ายที่ได้ วิ่งด้วยความเร็ว 1200 - 2400 Baud และมีเสียงดังมาก จากนั้นได้ปรับเปลี่ยนไปใช้บริการไทยแพค ของการสื่อสารแห่งประเทศไทย ซึ่งใช้เทคโนโลยี X.25 ผ่านการหมุนโทรศัพท์ไปยังศูนย์บริการของการสื่อสารแห่งประเทศไทย ทำการรับส่งอีเมล์กับมหาวิทยาลัยโตเกียว และมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น โดยใช้โปรแกรม UUCP ตลอดจนส่งอีเมล์ไปยังบริษัท UUNET ที่เวอร์จิเนีย สหรัฐอเมริกา และนำมาใช้กับงานของอาจารย์ และงานสอนนักศึกษาในเวลาต่อไป
      นับได้ว่า อาจารย์กาญจนา กาญจนสุต เป็นบุคคลแรกที่เริ่มใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์รายแรกของประเทศไทย
      หลังจากนั้นได้มีความร่วมมือระหว่างรัฐบาลออสเตรเลีย ภายใต้โครงการ The International Development Plan (IDP) ได้ให้ความช่วยเหลือกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย พัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไทยขึ้นมา ในปี พ.ศ. 2531 โดยให้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย มีหน้าที่เป็นศูนย์กลางของประเทศไทยในการเชื่อมโยงไปที่เครื่องแม่ข่าย ของมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น และตั้งชื่อโครงการนี้ว่า TCSNet - Thai Computer Science Network โดยมีการติดต่อผ่านเครือข่ายวันละ 2 ครั้ง จ่ายค่าใช้จ่ายปีละ 4 หมื่นบาท และใช้ซอฟต์แวร์ SUNIII ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการ UNIX ประเภทหนึ่ง ที่แพร่หลายในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของออสเตรเลีย (Australian Computer Science Network - ACSNet)
      ซอฟต์แวร์ SUNIII เป็นโปรแกรม UNIX ที่สามารถรับส่งข้อมูลไปกลับได้เลยในการติดต่อครั้งเดียว ประกอบด้วยเครือข่ายการส่งข้อมูลระบบ Multiple Hops ทำให้แตกต่างจาก UUCP ตรงที่ผู้ใช้ไม่ต้องใส่คำสั่ง และบอกที่อยู่ของจุดหมายปลายทางผ่านระบบทางไกล เพราะเครือข่าย SUNIII สามารถหาที่อยู่ของปลายทาง และส่งข้อมูลได้เอง โปรแกรมนี้ทำงานได้ดีทั้งกับสายเช่าแบบถาวร (Dedicated Line) สายโทรศัพท์ธรรมดาที่ติดต่อแบบ Dial-up และสายที่ใช้ X.25
      นอกจากนี้สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย ยังเป็นศูนย์เชื่อม (Gateway) ระหว่างประเทศไทย กับ UUNET อันส่งผลให้นักวิชาไทยทั่วไป สามารถใช้บริการจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ได้อย่างกว้างขวาง
      ปี พ.ศ. 2534 อาจารย์ทวีศักดิ์ กออนันตกูล อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้จัดตั้งศูนย์อีเมล์แห่งใหม่ โดยใช้โปรแกรม MHSNet และใช้โมเด็ม 14.4 Kbps (ซึ่งเร็วที่สุดในประเทศไทยในขณะนั้น) และทำหน้าที่แลกเปลี่ยนข้อมูลกับเครื่อง Munnari ของออสเตรเลีย กับมหาวิทยาลัยต่างๆ ในประเทศผ่านโปรแกรม UUCP
      เครือข่ายแห่งใหม่นี้ ประกอบด้วยมหาวิทยาลัยต่างๆ ใน TCSNet และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตลอดจนศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) และใช้ชื่อโครงการว่า \"โครงการเชื่อมเครือข่ายไทยสารเข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตต่างประเทศ\"
      หลังจากนั้นเนคเทค ก็ได้พัฒนาเครือข่ายอีกเครือข่ายขึ้นมา โดยใช้ X.25 รวมกับ MHSNet และใช้โปรโตคอล TCP/IP เกิดเป็นเครือข่ายไทยสาร \"Thai Social/Scientific Academic and Research Network - ThaiSarn\" ในปี พ.ศ. 2535

      ปลายปี 2535 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เช่าชื้อสายครึ่งวงจร 9.6 Kbps จากการสื่อสารแห่งประเทศไทย เพื่อเชื่อมกับ UUNET สหรัฐอเมริกา ทำให้จุฬาฯ เป็นศูนย์กลางแห่งใหม่สำหรับเครือข่ายภายใต้ชื่อ ThaiNet อันประกอบด้วย AIT, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ และให้สามาชิกไทยสารใช้สายเชื่อมนี้ได้โดยผ่านทางเนคเทคอีกด้วย ภายใต้ระเบียบการใช้อินเทอร์เน็ต (Appropriate Use Policy - AUP) ของ The National Science Foundation (NSF)
      และปี 2537 เนคเทค ได้เช่าชื้อสายเชื่อมสายที่สอง ที่มีขนาด 64 Kbps ต่อไปยังบริษัท UUNet ทำให้มีผู้ใช้เพิ่มมากขึ้น จาก 200 คนในปี 2535 เป็น 5,000 คนในเดือนพฤษภาคม 2537 และ 23,000 คนในเดือนมิถุนายน ของปี 2537
      AIT ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมภายในประเทศระหว่าง ThaiNet กับ ThaiSarn ผ่านสายเช่า 64 Kbps ของเครือข่ายไทยสาร
      ปี พ.ศ. 2538 รัฐบาลไทย เปิดบริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ โดยมีบริษัทอินเทอร์เน็ตแห่งประเทศไทย จำกัด อันเป็นบริษัทถือหุ้นระหว่างการสื่อสารแห่งประเทศไทย องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยใช้สายเช่าครึ่งวงจรขนาด 512 Kbps ไปยัง UUNet โดยถือว่าเป็นบริษัทผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตรายแรกของประเทศไทย และได้เพิ่มจำนวนจนเป็น 18 บริษัทในปัจจุบัน
      ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ \"อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย\"



      IP Address หรือ IP network number
      ภายใต้มาตรฐาน TCP/IP เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อกัน จะต้องมีหมายเลขประจำตัวไว้อ้างอิงให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ ได้ทราบ เช่นเดียวกับเลขประจำตัวประชาชนของบุคคลแต่ละคน โดยหมายเลขอ้างอิงนี้ จะเป็นหมายเลขตำแหน่งของระบบ ซึ่งมีชื่อเรียกว่า IP network number หรือหมายเลข IP หมายเลขต่าง ๆ ต้องไม่ซ้ำกัน ดังนั้นจึงถูกควบคุมโดยหน่วยงาน (InterNIC - Internet Network Information Center) ขององค์กร Network Solution Incorporated (NSI) สหรัฐอเมริกา หรือจาก ISP ผู้ให้บริการทั่วไป ซึ่งได้ขอจาก InterNIC มาก่อนหน้านี้แล้ว
      IP number ประกอบด้วยเลขฐานสองจำนวน 4 ชุด ๆ ละ 8 บิต (รวม 32 บิต) สามารถแทนค่าได้ 256 4 หรือ 4,294,967,296 ค่า จาก 000.000.000.000 ถึง 255.255.255.255

      เขียนเป็นเลขฐานสิบ 4 ชุด แต่ละชุดคั่นด้วยเครื่องหมายจุด (dot)

      และสามารถแบ่งเป็นกลุ่ม เรียกว่า คลาส (Class) ได้ 5 คลาส ดังนี้


      Domain Name ใน Internet
      ชื่อโดเมน (Domain Name) หมายถึง ชื่อที่ถูกเรียกแทนการเรียกเป็นหมายเลขอินเทอร์เน็ต (IP Address) เนื่องจากการจดจำหมายเลข IP ถึง 16 หลัก ทำให้ยุ่งยาก และไม่สามารถจำได้เวลาท่องเที่ยวไปในระบบอินเทอร์เน็ต จึงนำชื่อที่เป็นตัวอักษรมาใช้แทน ซึ่งมักจะเป็นชื่อที่สื่อความหมายถึงหน่วยงาน หรือเจ้าของเว็บไซต์นั้นๆ
      เช่นเว็บไซต์ของเนคเทค มีหมายเลข IP คือ 202.44.204.33 ซึ่งยากต่อการจดจำ (ในกรณีที่ต้องจำหลายเว็บไซต์) ดังนั้นจึงมีการกำหนดชื่อเรียกใหม่ เป็น www.nectec.or.th ซึ่งก็คือ \"ชื่อโดเมน\" นั่นเอง
      ชื่อโดเมน เป็นชื่อที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคลต่อบุคคล แต่การติดต่อระหว่างคอมพิวเตอร์ในเครือข่าย ยังใช้ IP Address ดังนั้น ระบบจึงมีการติดตั้งโปรแกรม และเครื่องที่ทำหน้าที่เป็นตัว Lookup หรือดัชนี ในการเปิดดูบัญชีหมายเลข จากชื่อที่เป็นตัวอักษร หรือเรียกว่า Domain Name โดยที่เครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ทำหน้าที่นี้เรียกว่า Domain Name Server หรือ Domain Server
      ชื่อโดเมน เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้าง และถือว่าเป็นทรัพย์สินทางปัญญา โดยแต่ละประเทศจะมีหน่วยงานรับผิดชอบการจดทะเบียนชื่อโดเมน เช่น ประเทศไทย รับผิดชอบโดย \"ศูนย์สารสนเทศเครือข่ายประเทศไทย - THNIC : Thailand Network Information Center\"



      รูปแบบชื่อโดเมน
      รูปแบบการตั้งชื่อของ Domain ตามหลักการของ Internet มีรูปแบบ 3 รูปแบบใหญ่ๆ คือ
      •    โดเมนขั้นสูงสุด - Top Level Domain เป็นรูปแบบที่ยังสามารถแบ่งได้ อีก 2 แบบย่อย คือ
      o    รูปแบบโดเมนขั้นสูงสุดแบบสากล (General Internet DNS Top Level Domains: gTLDs) เป็นรูปแบบมาตรฐานที่ใช้กัน โดยเฉพาะในอเมริกา เช่น .com, .net, .gov
      o    รูปแบบโดเมนขั้นสูงสุดแต่ละประเทศ (Country Code Top Level Domains: ccTLDs) เป็นรูปแบบที่ใช้บ่งบอกถึงประเทศเจ้าของโดเมน หรือที่ตั้งของโดเมน มักจะใช้กับประเทศอื่นๆ ยกเว้นอเมริกา เช่น .th หมายถึงโดเมนที่ดูแลโดยประเทศไทย หรือ .jp หมายถึงโดเมนของประเทศญี่ปุ่น
      •    โดเมนขั้นที่สอง - Second Level Domain
      •    โดเมนขั้นที่ 3 - Third Level Domain
      ตารางแสดง Top Level Domain
      .com    commercial
      .net    service provider
      .org    nonprofit organization
      .edu    educational institution
      .gov    United States government
      .mil    United States military

      .ac    Ascension Island
      .ad    Andorra
      .ae    United Arab Emirates
      .af    Afghanistan
      .ag    Antigua and Barbuda
      .ai    Anguilla
      .al    Albania
      .am    Armenia
      .an    Netherlands Antilles
      .ao    Angola
      .aq    Antarctica
      .ar    Argentina
      .as    American Samoa
      .at    Austria
      .au    Australia
      .aw    Aruba
      .az    Azerbaijan
      .ba    Bosnia and Herzegovina
      .bb    Barbados
      .bd    Bangladesh
      .be    Belgium
      .bf    Burkina Faso
      .bg    Bulgaria
      .bh    Bahrain
      .bi    Burundi
      .bj    Benin
      .bm    Bermuda
      .bn    Brunei Darussalam
      .bo    Bolivia
      .br    Brazil
      .bs    Bahamas
      .bt    Bhutan
      .bv    Bouvet Island
      .bw    Botswana
      .by    Belarus
      .bz    Belize
      .ca    Canada
      .cc    Cocos (Keeling) Islands
      .cd    Congo, Democratic People\'s Republic
      .cf    Central African Republic
      .cg    Congo, Republic of
      .ch    Switzerland
      .ci    Côte d\'Ivoire
      .ck    Cook Islands
      .cl    Chile
      .cm    Cameroon
      .cn    China
      .co    Colombia
      .cr    Costa Rica
      .cu    Cuba
      .cv    Cape Verde
      .cx    Christmas Island
      .cy    Cyprus
      .cz    Czech Republic
      .de    Germany
      .dj    Djibouti
      .dk    Denmark
      .dm    Dominica
      .do    Dominican Republic
      .dz    Algeria
      .ec    Ecuador
      .ee    Estonia
      .eg    Egypt
      .eh    Western Sahara
      .er    Eritrea
      .es    Spain
      .et    Ethiopia
      .fi    Finland
      .fj    Fiji
      .fk    Falkland Islands (Malvinas)
      .fm    Micronesia, Federal State of
      .fo    Faroe Islands
      .fr    France
      .ga    Gabon
      .gd    Grenada
      .ge    Georgia
      .gf    French Guiana
      .gg    Guernsey
          .gh    Ghana
      .gi    Gibraltar
      .gl    Greenland
      .gm    Gambia
      .gn    Guinea
      .gp    Guadeloupe
      .gq    Equatorial Guinea
      .gr    Greece
      .gs    South Georgia and the South Sandwich Islands
      .gt    Guatemala
      .gu    Guam
      .gw    Guinea-Bissau
      .gy    Guyana
      .hk    Hong Kong
      .hm    Heard and McDonald Islands
      .hn    Honduras
      .hr    Croatia/Hrvatska
      .ht    Haiti
      .hu    Hungary
      .id    Indonesia
      .ie    Ireland
      .il    Israel
      .im    Isle of Man
      .in    India
      .io    British Indian Ocean Territory
      .iq    Iraq
      .ir    Iran (Islamic Republic of)
      .is    Iceland
      .it    Italy
      .je    Jersey
      .jm    Jamaica
      .jo    Jordan
      .jp    Japan
      .ke    Kenya
      .kg    Kyrgyzstan
      .kh    Cambodia
      .ki    Kiribati
      .km    Comoros
      .kn    Saint Kitts and Nevis
      .kp    Korea, Democratic People\'s Republic
      .kr    Korea, Republic of
      .kw    Kuwait
      .ky    Cayman Islands
      .kz    Kazakhstan
      .la    Lao People\'s Democratic Republic
      .lb    Lebanon
      .lc    Saint Lucia
      .li    Liechtenstein
      .lk    Sri Lanka
      .lr    Liberia
      .ls    Lesotho
      .lt    Lituania
      .lu    Luxemborg
      .lv    Latvia
      .ly    Libyan Arab Jamahiriya
      .ma    Morocco
      .mc    Monaco
      .md    Moldova, Republic of
      .mg    Madagascar
      .mh    Marshall Islands
      .mk    Macedonia, Former Yugoslav Republic
      .ml    Mali
      .mm    Myanmar
      .mn    Mongolia
      .mo    Macau
      .mp    Norther Mariana Islands
      .mq    Martinique
      .mr    Mauritania
      .ms    Montserrat
      .mt    Malta
      .mu    Mauritius
      .mv    Maldives
      .mw    Malawi
      .mx    Mexico
      .my    Malaysia
      .mz    Mozambique
      .na    Namibia
      .nc    New Caledonia
      .ne    Niger
      .nf    Norfolk Island
      .ng    Nigeria
      .ni    Nicaragua
      .nl    Netherlands
          .no    Norway
      .np    Nepal
      .nr    Nauru
      .nu    Niue
      .nz    New Zealand
      .om    Oman
      .pa    Panama
      .pe    Peru
      .pf    French Polynesia
      .pg    Papua New Guinea
      .ph    Philippines
      .pk    Pakistan
      .pl    Poland
      .pm    St. Pierre and Miquelon
      .pn    Pitcairn Island
      .pr    Puerto Rico
      .ps    Palestinian Territories
      .pt    Portugal
      .pw    Palau
      .py    Paraguay
      .qa    Qatar
      .re    Reunion Island
      .ro    Romania
      .ru    Russian Federation
      .rw    Rwanda
      .sa    Saudi Arabia
      .sb    Solomon Islands
      .sc    Seychelles
      .sd    Sudan
      .se    Sweden
      .sg    Singapore
      .sh    St. Helena
      .si    Slovenia
      .sj    Svalbard and Jan Mayen Islands
      .sk    Slovak Republic
      .sl    Sierra Leone
      .sm    San Marino
      .sn    Senegal
      .so    Somalia
      .sr    Suriname
      .st    Sao Tome and Principe
      .sv    El Salvador
      .sy    Syrian Arab Republic
      .sz    Swaziland
      .tc    Turks and Ciacos Islands
      .td    Chad
      .tf    French Southern Territories
      .tg    Togo
      .th    Thailand
      .tj    Tajikistan
      .tk    Tokelau
      .tm    Turkmenistan
      .tn    Tunisia
      .to    Tonga
      .tp    East Timor
      .tr    Turkey
      .tt    Trinidad and Tobago
      .tv    Tuvalu
      .tw    Taiwan
      .tz    Tanzania
      .ua    Ukraine
      .ug    Uganda
      .uk    United Kingdom
      .um    U.S. Minor Outlying Islands
      .us    United States
      .uy    Uruguay
      .uz    Uzbekistan
      .va    Holy See (City Vatican State)
      .vc    Saint Vincent and the Grenadines
      .ve    Venezuela
      .vg    Virgin Islands (British)
      .vi    Virgin Islands (USA)
      .vn    Vietnam
      .vu    Vanautu
      .wf    Wallace and Futuna Islands
      .ws    Western Samoa
      .ye    Yemen
      .yt    Mayotte
      .yu    Yugoslavia
      .za    South Africa
      .zm    Zambia
      .zr    Zaire
      .zw    Zimbabwe



      เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ Domain Name
      •    โดเมนเนมแรก คือ symbolics.com ซึ่งจดทะเบียนเมื่อวันที่ 13 มีนาคม 1985
      •    park คือ การจองโดเมนเนม โดยที่ยังไม่นำไปใช้งาน
      •    Cybersquatter คือ ผู้ที่ต้องการเก็งกำไรจากการขายโดเมนเนมให้กับผู้อื่น
      •    ติดตามสถิติการจดโดเมนเนมทั่วโลก ได้จาก http://www.domainstats.com/
      •    ICANN http://www.icann.org เป็นองค์กรอิสระซึ่งประกอบด้วยนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญ และนักธุรกิจที่มีชื่อเสียง ที่ทำหน้าที่บริหารระบบโดเมนเนม, จัดสรรหมายเลขไอพี, บริหารระบบอุปกรณ์บริการด้านทะเบียนและสืบค้นโดเมน และกำหนดมาตรฐานทางเทคนิคที่เกี่ยวข้องกับโปรโตคอลสื่อสาร โดยไม่หวังผลกำไร
      •    ในอดีตชื่อโดเมน ยาวไม่เกิน 22 ตัวอักษร และได้เปลี่ยนเป็น 63 ตัวอักษร ตั้งแต่ปลายปี 1999 โดยเฉลี่ยไม่เกิน 11 ตัวอักษร
      •    ในการขอจดชื่อโดเมนเนม จะเป็นสิทธิ์แบบเช่าชื่อ ซึ่งมีอายุ 2 ปี และต้องต่ออายุใหม่
      •    ตรวจสอบชื่อโดเมนเนม ได้จากเว็บไซต์
      o    http://www.netsol.com
      o    http://www.thnic.net


      ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail or E-mail)
      ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือเรียกย่อๆ ว่า E - Mail เป็นวิธีการติดต่อสื่อสารกันบน Internet ที่เป็นมาตรฐาน และเก่าแก่ที่สุด โดยที่สามารถจะส่งเอกสารที่เป็นข้อความธรรมดา จนถึงการส่งเอกสาร แบบมัลติมิเดีย มีทั้งภาพและเสียง ไปรอบโลก ในการให้บริการแบบนี้ ผู้ที่ต้องการส่ง และรับจดหมาย อีเล็กทรอนิกส์ จะต้องมีบัญชีการใช้บริการที่แน่นอน ซึ่งเรียกว่า E-Mail Address คล้ายๆ กับชื่อ-นามสกุล และที่อยู่นั่นเอง
      สามารถแบ่งการใช้อีเมล์ตามลักษณะของการให้บริการได้กว้างๆ 3 ลักษณะคือ
      •  อีเมล์สำนักงาน – เป็นบัญชีการใช้บริการรับ/ส่งอีเมล์ที่หน่วยงาน หรือสำนักงานของผู้ใช้เป็นผู้จัดทำและให้บริการ มีจุดเด่นคือ บ่งชี้ถึงหน่วยงานสังกัดของผู้ใช้ เช่น อีเมล์ของบุคลากรในเนคเทค จะอยู่ในรูปของ ชื่อบุคคล @nectec.or.th ทำให้ทราบได้ทันทีว่าบุคคลนั้นๆ อยู่ในหน่วยงานใด
      •  อีเมล์โดย ISP – ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตหลายท่าน คงไม่มีอีเมล์ที่จัดให้บริการโดยสำนักงาน เนื่องจากความไม่พร้อมของสำนักงานหรือหน่วยงานที่ต้นสังกัด ทางเลือกที่น่าสนใจก็คือ เมื่อผู้ใช้สมัครเป็นสมาชิกอินเทอร์เน็ตจาก ISP ส่วนมาก ISP ก็จะให้บริการอีเมล์ด้วยเสมอ ดังนั้นผู้ใช้จึงสามารถมีอีเมล์ที่ให้บริการโดย ISP เพื่อใช้งานได้เช่นกัน อย่างไรก็ตามอีเมล์แบบนี้ มักจะมีจุดอ่อน คือ
      •    ไม่บ่งชี้สถานภาพของบุคคล หรือหน่วยงาน
      •    อายุการใช้บริการไม่ยาวนาน โดยผู้ใช้อินเทอร์เน็ต มักจะซื้อบริการที่ถูกที่สุด ดังนั้นเมื่อหมดอายุกับ ISP รายหนึ่ง ก็อาจจะเปลี่ยนเป็นอีกราย (ที่ราคาถูกกว่า) ทำให้อีเมล์เดิมถูกยกเลิกไปทันที ซึ่งเป็นภาระในการติดต่อสื่อสารได้
      อีเมล์ที่ให้บริการฟรีทั่วไป – หน่วยงานหรือเว็บไซต์หลายเว็บไซต์ ให้บริการบัญชีอีเมล์ฟรีสำหรับผู้สนใจทั่วไป ดังนั้นผู้ใช้อินเทอร์เน็ตส่วนมาก จึงเลือกใช้อีเมล์ลักษณะนี้ เนื่องจากสมัครได้ง่าย ฟรี และใช้งานได้ทุกที่ ทุกเวลา
      รูปแบบของ e-Mail Address
      บัญชีชื่อ @ โดเมนเนมของหน่วยงานหรือผู้ให้บริการ
      เช่น นายสมชาย เป็นพนักงานของศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ดังนั้น e-Mail Address ที่สามารถเป็นไปได้ของนายสมชาย คือ somchai@nectec.or.th (ข้อมูลสมมติ)
      นายวินัย เป็นพนักงานของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ดังนั้น e-Mail Address ที่สามารถเป็นไปได้ของนายวินัย คือ vinai@ku.ac.th
      การแจ้งอีเมล์ให้กับผู้อื่น มีข้อควรระวังดังนี้
      •    ระบุตัวอักษรตัวพิมพ์ใหญ่ ตัวพิมพ์เล็กให้ชัดเจน เพราะระบบอินเทอร์เน็ต มักจะถือว่าตัวอักษรตัวใหญ่และตัวเล็ก เป็นคนละตัวกัน เช่น Vinai ไม่เหมือนกับ vinai เป็นต้น
      •    จะต้องระบุให้ครบทั้งชื่อบัญชี เครื่องหมาย @ และโดเมนเนม

      บริการคัดลอกข้อมูลข้ามเครือข่าย ด้วย ftp
      FTP หรือ File Transfer Protocol เป็นบริการคัดลอกข้อมูลข้ามเครือข่าย โดย
      •    ใช้ในการส่งข้อมูลจากเครื่องลูกไปยังเครื่องแม่ข่าย (Server)
      •    ใช้ในการดาวน์โหลดข้อมูล จากเครื่องแม่ข่าย มาไว้ที่เครื่องลูก
      การใช้บริการ FTP สามารถทำได้ทั้งผู้ที่เป็นสมาชิก FTP Server และบุคคลภายนอก ที่ไม่ได้เป็นสมาชิก โดยสามารถเข้าไปใช้บริการได้ (บางประเภท) ในนาม anonymous
      ปัจจุบันการใช้บริการ FTP สามารถทำได้ทั้งในรูปแบบ Text Mode ผ่าน Unix ด้วยคำสั่ง get, put หรือ Graphics Mode ผ่าน Microsoft Windows เช่น การใช้โปรแกรม WinFTP Light, CuteFTP


      บริการใช้เครื่องข้ามเครือข่าย ด้วยโปรแกรม telnet
      บริการนี้เป็นประโยชน์ และประหยัดค่าใช้จ่าย เนื่องจากการที่ระบบคอมพิวเตอร์ และโปรแกรม ตลอดจนข้อมูลบางอย่าง ต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ ที่มีขีดความสามารถสูงมาก และต้องใช้ข้อมูลจำนวนมาก ดังนั้นถ้าต้องซื้อระบบดังกล่าวมาใช้งานที่ไม่บ่อยนัก อาจจะไม่คุ้มค่า ในการลงทุน และเสียเวลา ดังนั้นการใช้โปรแกรม telnet ที่ทำให้สามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ห่างไกลออกไปโดยเสมือนอยู่ที่หน้าเครื่องนั้นๆ โดยตรง จึงเป็นโปรแกรมที่จำเป็น อีกโปรแกรมหนึ่งของ Internet ด้วยความสามารถนี้ โปรแกรม Telnet อนุญาตให้คุณทำงานบน เครื่องคอมพิวเตอร์อื่น ที่อยู่บน Internet เช่น การ Compile โปรแกรม หรือการสั่งให้โปรแกรมทำงาน ที่ไม่สามารถทำงานบนเครื่องที่ใช้งานอยู่ ตัวอย่างเช่น โปรแกรมที่มีความซับซ้อนมากๆ ในการคำนวน ไม่สามารถที่จะใช้เครื่องที่อยู่บนโต๊ะ (PC or Work Station แบบปกติ) ได้ ต้องส่งโปรแกรมไปทำงานบน Super Computer โดยใช้โปรแกรม Telnet เพื่อเชื่อมกับ Super Computer กับเครื่องของเรา และ run โปรแกรมนั้น ก็จะทำให้เครื่องแบบตั้งโต้ะ มีความสามารถเท่ากับ Super Computer ทีเดียว
      โดยสรุป Telnet มีประโยชน์คือ
      •    การใช้ไปใช้ทรัพยากรของคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น
      •    การค้นและโอนข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ แม้จะต่างระบบ
      •    การตรวจเมล์ (E-Mail) หรือบริการอื่นๆ กรณีที่ต้องใช้เครื่องอื่น โดยเฉพาะในระบบ Text Mode

      บริการค้นข้อมูลข้ามเครือข่าย
      เนื่องจากมีความพยายามที่จะจัดตั้งระบบ Electronic Library หรือห้องสมุดเครือข่ายคอมพิวเตอร์ จึงมีการพัฒนาระบบดังกล่าว เพื่อทำเมนูในการค้นคว้า หาข้อมูลที่ต้องการ ได้แก่
      •    Archie
      o    เป็นวิธีการแบบง่าย ในการที่จะค้นหาสารสนเทศ ในลักษณะของ anonymous ftp พัฒนาจากมหาวิทยาลัย Mc Gill ใน Montreal ประเทศแคนาดา โปรแกรมนี้เป็นความพยายามอันแรก ที่จะใช้ระบบ Internet เป็น Catalog เพื่อเก็บและเผยแพร่ข้อมูล สารสนเทศบนเครือข่าย คุณสามารถส่งคำถาม ไปยังเครื่องที่บริการด้วย E-mail และเครื่องบริการก็จะตอบคำถามกลับมา
      •    Gopher
      o    พัฒนาจากมหาวิทยาลัย Minnesota เป็นวิธีการซึ่งสามารถที่จะค้นหา และ รับข้อมูลแบบง่าย บน Internet โดยไม่ยุ่งยาก และสามารถรับข้อมูลได้หลาย แบบ เช่น ข้อความ เสียง หรือภาพ Gopher นั้น ทำงานผ่านเครือข่ายโดยอัตโนมัติ โดยมีตัวให้บริการ อยู่ทั่วไปบน Internet แต่ละตัวให้บริการ จะเก็บข้อมูลของตนเอง รวมถึงการเชื่อมโยงไปยังตัวให้บริการอื่นๆ ในการเข้าถึง Gopher ด้วย Gopher name
      •    Veronica
      o    มาจากคำว่า Very Easy Rodent-Oriented Net-oriented Index to Computerized Archives ซึ่งพัฒนาจาก มหาวิทยาลัยแห่ง Nevada ซึ่งจะใช้การค้นหาด้วย Key Word ในทุกๆ ตัวให้บริการ และทุกๆ เมนู หรือเรียกอีกแบบหนึ่งได้ว่า เก็บดัชนีของทุกๆ ตัวให้บริการ ไว้ที่ Veronica
      •    WAIS
      o    มาจากคำว่า Wide Area Information Sever สามารถใช้โปรแกรมนี้ ในการค้นหาแหล่งข้อมูล โดยใช้ภาษาแบบปกติ ไม่ต้องใช้โปรแกรมภาษาพิเศษ หรือภาษาของฐานข้อมูลในการค้น WAIS ทำงานโดยการรับคำร้อง ในการค้นและเปรียบเทียบ ในเอกสารต้นฉบับว่าเอกสารใด ตรงกับความต้องการ และส่งรายการทั้งหมดมายังผู้ที่ต้องการ

      บริการค้นข้อมูล World Wide Web
      การนำเสนอข้อมูลในระบบ WWW (World Wide Web) พัฒนาขึ้นมาในช่วงปลายปี 1989 โดยทีมงานจาก ห้องปฏิบัติการทางจุลภาคฟิสิกส์แห่งยุโรป (European Particle Physics Labs) หรือที่รู้จักกัน ในนาม CERN (Conseil European pour la Recherche Nucleaire) ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และได้มี การพัฒนาภาษาที่ใช้สนับสนุน การเผยแพร่เอกสารของนักวิจัย หรือเอกสารเว็บ (Web Document) จากเครื่องแม่ข่าย (Server) ไปยังสถานที่ต่างๆ ในระบบ WWW เรียกว่า ภาษา HTML (HyperText Markup Language)
      การเผยแพร่ข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต ผ่านสื่อประเภทเว็บเพจ (WebPage) เป็นที่นิยมกันอย่างสูงในปัจจุบัน ไม่เฉพาะข้อมูลโฆษณาสินค้า ยังรวมไปถึงข้อมูลทางการแพทย์ การเรียน งานวิจัยต่างๆ เพราะเข้าถึงกลุ่มผู้สนใจได้ทั่วโลก ตลอดจนข้อมูลที่นำเสนอออกไป สามารถเผยแพร่ ได้ทั้งข้อมูลตัวอักษร ข้อมูลภาพ ข้อมูลเสียง และภาพเคลื่อนไหว มีลูกเล่นและเทคนิคการนำเสนอ ที่หลากหลาย อันส่งผลให้ระบบ WWW เติบโตเป็นหนึ่ง ในรูปแบบบริการ ที่ได้รับความนิยมสูงสุดของ ระบบอินเทอร์เน็ต
      ลักษณะเด่นของการนำเสนอข้อมูลเว็บเพจ คือ สามารถเชื่อมโยงข้อมูลไปยังจุดอื่นๆ บนหน้าเว็บได้ ตลอดจนสามารถเชื่อมโยงไปยังเว็บอื่นๆ ในระบบเครือข่าย อันเป็นที่มาของคำว่า HyperText หรือข้อความที่มีความสามารถ มากกว่าข้อความปกตินั่นเอง จึงมีลักษณะคล้ายกับว่าผู้อ่านเอกสารเว็บ สามารถโต้ตอบกับเอกสารนั้นๆ ด้วยตนเอง ตลอดเวลาที่มีการใช้งานนั่นเอง
      ด้วยความสามารถดังกล่าวข้างต้น จึงมีผู้ให้คำนิยาม Web ไว้ดังนี้
      \"World Wide Web as a global, interactive, cross-platform, distributed, graphical hypertext information system that runs over the Internet.\"
      •    The Web is a Graphical Hypertext Information System.
      การนำเสนอข้อมูลผ่านเว็บ เป็นการนำเสนอด้วยข้อมูล ที่สามารถเรียก หรือโยงไปยังจุดอื่นๆ ในระบบกราฟิก ซึ่งทำให้ข้อมูลนั้นๆ มีจุดดึงดูดให้น่าเรียกดู

      •    The Web is Cross-Platform.
      The Web doesn\'t care about user-interface wars between companies, such as UNIX, Windows 3.11, Windows 95, Windows NT, System 6/7 of Macintosh. ข้อมูลบนเว็บไม่ยึดติดกับระบบปฏิบัติการ (Operating System : OS) เนื่องจากเป็นข้อมูลนั้นๆ ถูกจัดเก็บเป็น Text File ดังนั้นไม่ว่าจะถูกเก็บไว้ใน คอมพิวเตอร์ที่ใช้ OS เป็น Unix หรือ Windows NT ก็สามารถเรียกดูจากคอมพิวเตอร์ที่ใช้ OS ต่างจากคอมพิวเตอร์ที่เป็นเครื่องแม่ข่ายได้
      •    The Web is Distributed.
      The information is distributed globally across thousands of different sites. ข้อมูลในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีปริมาณมากจากทั่วโลก และผู้ใช้จากทุกแห่งหน ที่สามารถต่อเข้า ระบบอินเทอร์เน็ตได้ ก็สามารถเรียกดูข้อมูลได้ตลอดเวลา ดังนั้นข้อมูลในระบบอินเทอร์เน็ต จึงสามารถเผยแพร่ได้รวดเร็ว และกว้างไกล
      •    The Web is interactive.
      The Web is interactive by nature. การทำงานบนเว็บ เป็นการทำงานแบบโต้ตอบกับผู้ใช้ โดยธรรมชาติอยู่แล้ว ดังนั้นเว็บจึงเป็นระบบ Interactive ในตัวมันเอง เริ่มตั้งแต่ผู้ใช้เปิดโปรแกรมดูผลเว็บ (Browser) พิมพ์ชื่อเรียกเว็บ (URL : Uniform Resource Locator) เมื่อเอกสารเว็บแสดงผล ผ่านเบราเซอร์ ผู้ใช้ก็สามารถคลิกเลือกรายการ หรือข้อมูลที่สนใจ อันเป็นการทำงานแบบโต้ตอบไปในตัวนั่นเอง
      การใช้โปรแกรมประเภทนี้ จะต้องมีโปรแกรมลูก หรือ Browser ที่สามารถทำให้ผู้ใช้ สามารถมองเห็นภาพ หรือข้อมูลแบบต่างๆ โปรแกรมประเภทนี้ได้แก่ MS Internet Exploror, Mosaic, Netscape, Cello เป็นต้น


      บริการสนทนาออนไลน์
      บริการสนทนาออนไลน์ หรือที่เรียกว่า Chat (IRC - Internet Relay Chat) หรือเรียกว่า Talk เป็นบริการที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูงในปัจจุบัน โดยผู้ใช้บริการสามารถคุยโต้ตอบ (ทั้งโดยการพิมพ์ และพูด) กับผู้อื่นๆ ในเครือข่ายได้ในเวลาเดียวกัน
      ปัจจุบันบริการนี้ ได้นำมาประยุกต์ใช้กับการประชุมทางไกล (VDO Conference) โดยอาศัยอุปกรณ์เสริมต่างๆ เช่น กระดานสนทนา, ไมโครโฟน, กล้องส่งภาพขนาดเล็กเป็นต้น

      โปรแกรมที่นิยมใช้กันได้แก่ Pirch, ICQ, Microsoft NetMeeting, InternetPhone


      กระดานข่าว
      กระดานข่าว หรือ Bulletin Board Sytem (BBS) เป็นบริการข่าวสารรูปแบบหนึ่ง โดยอาศัยการเผยแพร่ข้อมูลผ่านกระดานอิเล็กทรอนิกส์ ของเครือข่าย ตามหมวดหมู่ที่มีการกำหนดไว้ หรืออาจจะกำหนดเพิ่มเติมก็ได้ ที่เรียกว่ากลุ่มข่าว (Newsgroup) เช่น กลุ่มผู้สนใจด้านศิลปะ, ด้านโปรแกรม เป็นต้น
      ปัจจุบันเป็นบริการหนึ่งที่นิยม และมีการปรับรูปแบบให้อยู่ในรูปของเอกสาร HTML ทำให้สามารถเรียกดู และใช้งานได้อย่างสะดวก รวดเร็ว



      แนวโน้มการใช้อินเทอร์เน็ต
      เป็นที่แน่นอนแล้วว่าในอนาคต อินเทอร์เน็ตจะเข้ามามีส่วนร่วมกับชีวิตประจำวันของคนเรามากขึ้น และจะช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีรูปแบบใหม่ ดังนี้
      •    การคุยโทรศัพท์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต (Voice over IP) ซึ่งปัจจุบันองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย ก็นำมาใช้ผ่านหมายเลข 1234 ทั่วประเทศ (ต้นปี 2545)
      •    การคุยระยะไกลแบบมีภาพและเสียงของคู่สนทนา (Voice conference)
      •    การนำอินเทอร์เน็ตมาประยุกต์กับเครือข่ายเคเบิ้ลทีวี (Web TV & Cable MODEM)
      •    การประยุกต์ใช้อินเทอร์เน็ตกับเครื่องใช้ต่างๆ ในชีวิตประจำวัน (Internet Device)
      โทษของอินเทอร์เน็ต
      โทษของอินเทอร์เน็ต มีหลากหลายลักษณะ ทั้งที่เป็นแหล่งข้อมูลที่เสียหาย, ข้อมูลไม่ดี ไม่ถูกต้อง, แหล่งซื้อขายประกาศของผิดกฏหมาย, ขายบริการทางเพศ ที่รวมและกระจายของไวรัสคอมพิวเตอร์ต่างๆ
      •    อินเทอร์เน็ตเป็นระบบอิสระ ไม่มีเจ้าของ ทำให้การควบคุมกระทำได้ยาก
      •    มีข้อมูลที่มีผลเสียเผยแพร่อยู่ปริมาณมาก
      •    ไม่มีระบบจัดการข้อมูลที่ดี ทำให้การค้นหากระทำได้ไม่ดีเท่าที่ควร
      •    เติบโตเร็วเกินไป
      •    ข้อมูลบางอย่างอาจไม่จริง ต้องดูให้ดีเสียก่อน อาจถูกหลอกลวง-กลั่นแกล้งจากเพื่อนใหม่
      •    ถ้าเล่นอินเทอร์เน็ตมากเกินไปอาจเสียการเรียนได้
      •    ข้อมูลบางอย่างก็ไม่เหมาะกับเด็กๆ
      •    ขณะที่ใช้อินเทอร์เน็ต โทรศัพท์จะใช้งานไม่ได้

      โรคติดอินเทอร์เน็ต
      โรคติดอินเทอร์เน็ต (Webaholic) เป็นอาการทางจิตประเภทหนึ่ง ซึ่งนักจิตวิทยาชื่อ Kimberly S Young ได้ศึกษาและวิเคราะห์ไว้ว่า บุคคลใดที่มีอาการดังต่อไปนี้ อย่างน้อย 4 ประการ เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี แสดงว่าเป็นอาการติดอินเทอร์เน็ต
      •    รู้สึกหมกมุ่นกับอินเทอร์เน็ต แม้ในเวลาที่ไม่ได้ต่อเข้าระบบอินเทอร์เน็ต
      •    มีความต้องการใช้อินเทอร์เน็ตเป็นเวลานานขึ้นอยู่เรื่อยๆ
      •    ไม่สามารถควบคุมการใช้อินเทอร์เน็ตได้
      •    รู้สึกหงุดหงิดเมื่อใช้อินเทอร์เน็ตน้อยลง หรือหยุดใช้
      •    คิดว่าเมื่อใช้อินเทอร์เน็ตแล้ว ทำให้ตนเองรู้สึกดีขึ้น
      •    ใช้เป็นอินเทอร์เน็ตในการหลีกเลี่ยงปัญหา
      •    หลอกคนในครอบครัว หรือเพื่อน เรื่องการใช้อินเทอร์เน็ตของตนเอง
      •    มีอาการผิดปกติเมื่อเลิกใช้อินเทอร์เน็ต เช่น หดหู่ กระวนกระวาย
      ซึ่งอาการดังกล่าว ถ้ามีมากกว่า 4 ประการในช่วง 1 ปี จะถือว่าเป็นอาการติดอินเทอร์เน็ต ซึ่งส่งผลเสียต่อระบบร่างกาย ทั้งการกิน การขับถ่าย และกระทบต่อการเรียน สภาพสังคมของคนๆ นั้นต่อไป


      บริษัทผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย
      •    ANET
      •    ASIA ACCESS
      •    Asia Infonet
      •    CS Internet
      •    Cwn
      •    Far East Internet
      •    Idea Net
      •    Ji-NET
      •    Internet Thailand
      •    Internet KSC
      •    Data Line Thai
      •    Samart Online
      •    Siam Global Access
      •    Pacific Internet (Thailand)
      •    E-Z Net Company
      •    Roynet Public Co., Ltd
      •    Cable & Wireless Services (Thailand) Limited
      •    Loxley

      บัญญัติ 10 ประการ ของการใช้อินเทอร์เน็ต
      มารยาทในการใช้อินเทอร์เน็ต เรียกว่าบัญญัติ 10 ประการของการใช้อินเทอร์เน็ตก็ได้ โดยอาจารย์ยืน ภู่วรวรรณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
      •    ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้าย หรือละเมิดผู้อื่น
      •    ต้องไม่รบกวนการทำงานของผู้อื่น
      •    ต้องไม่สอดแนม แก้ไข หรือเปิดดูแฟ้มข้อมูลของผู้อื่น
      •    ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร
      •    ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ
      •    ต้องไม่คัดลอกโปรแกรมของผู้อื่นที่มีลิขสิทธิ์
      •    ต้องไม่ละเมิดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์โดยที่ตนเองไม่มีสิทธิ์
      •    ต้องไม่นำเอาผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน
      •    ต้องคำนึงถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสังคมที่เกิดจากการกระทำของท่าน
      •    ต้องใช้คอมพิวเตอร์โดยเคารพกฎระเบียบ กติกา และมีมารยาท
      Cybersquatter
      Cybersquatter หมายถึง บุคคลที่คิดหากำไรทางลัด โดยการนำเอาเครื่องหมายการค้า หรือชื่อทางการค้าที่มีชื่อเสียง มาจดเป็นโดเมนเนม โดยเจ้าของไม่อนุญาต รวมถึงการจดไว้เพื่อขายต่อให้กับเจ้าของชื่อทางการค้า หรือเครื่องหมายการค้าที่แท้จริง
      หน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญในอินเทอร์เน็ตของประเทศไทย
      ISP คงเป็นหน่วยงานแรกที่หลายๆ คนคงคิดถึงเมื่อนึกถึงหัวข้อนี้ รองลงไปก็คงเป็นเนคเทค ซึ่งก็ถือว่าเป็นหน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญต่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของประเทศไทย แต่ก็ยังมีหน่วยงานอื่นอีกหลายหน่วย ดังนี้
      •    การสื่อสารแห่งประเทศไทย ในฐานะผู้ผูกขาดบริการวงจรสื่อสารระหว่างประเทศ ผู้ให้ใบอนุญาต และถอดถอนสิทธิการให้บริการของ ISP รวมทั้งเป็นหุ้นส่วนของ ISP ทุกราย (32%) รวมทั้งเป็นผู้ให้บริการจุดแลกเปลี่ยนสัญญาณภายในประเทศ
      •    ISP - Internet Service Providers หรือผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ทั้ง 17 ราย (พ.ย. 2545) ในฐานะผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตแก่บุคคลและองค์กรต่างๆ
      •    ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตแบบไม่หวังกำไร เช่น SchoolNet ที่ให้บริการโรงเรียนต่างๆ ทั่วประเทศ, ThaiSarn ผู้ให้บริการเชิงวิจัยสำหรับสถานศึกษา, UniNet เครือข่ายของทบวงมหาวิทยาลัย, EdNet เครือข่ายของกระทวงศึกษาธิการ และ GINet เครือข่ายรัฐบาล
      •    THNIC ในฐานะผู้ให้บริการจดทะเบียนชื่อโดเมนสัญชาติไทย (.th) และผู้ดูและบบบริการสอบถามชื่อโดเมนสัญชาติไทย ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้การดูแลของ AIT
      •    NECTEC หรือศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ในฐานหน่วยงานวิจัย ค้นคว้า และพัฒนาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูล และในฐานะผู้ให้บริการจุดแลกเปลี่ยนสัญญาณภายในประเทศ ผู้ดูแลเครือข่าย Thaisarn, SchoolNet, GINet และในฐานะคณะอนุกรรมการด้านนโยบายอินเทอร์เน็ตสำหรับประเทศไทย
      •    ผู้ให้บริการวงจรสื่อสารภายในประเทศ ซึ่งมีหลายรายเช่น การสื่อสารแห่งประเทศไทย, บริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัทเอกชนอื่นๆ

      ระบบอินเทอร์เน็ตของประเทศไทย
      โครงสร้างของอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย (พ.ย. 2545) ปัจจุบันประกอบด้วย ISP 18 ราย และผู้ให้บริการแบบไม่หวังผลกำไรอีก 4 ราย แต่มีรูปแบบช่องรับ/ส่งสัญญาณที่แตกต่างกันออกไป << คลิกเพื่อดูผังโครงสร้าง >> ทั้งนี้ ISP ทุกราย (ทั้งเชิงพาณิชย์และไม่หวังผลกำไร) จะต้องเช่าช่องสัญญาณจากจากผู้ให้บริการวงจรสื่อสารอีกต่อหนึ่ง โดยแบ่งเป็น
      •    ช่องสัญญาณการเชื่อมต่อภายในประเทศ - ISP สามารถเลือกเช่าช่องสัญญาณได้โดยเสรี ทั้งจาก ทศท., กสท., TelecomAsia, DataNet โดยวงจรของทุกราย จะเชื่อมต่อกับจุดแลกเปลี่ยนสัญญาณภายในประเทศ เพื่อความรวดเร็วในการแลกเปลี่ยนข้อมูล นั่นคือ การติดต่อสื่อสารระหว่างคู่สื่อสารในประเทศไทย สามารถทำได้สะดวก ไม่ว่าคู่สื่อสารนั้น จะใช้บริการของ ISP รายใดก็ตาม ทั้งนี้จุดแลกเปลี่ยนในปัจจุบันได้แก่ IIR (Internet Information Research) ของเนคเทคและ NIX (National Internet Exchange) ของ กสท.
      •    ช่องสัญญาณการเชื่อมต่อระหว่างประเทศ - ISP จะต้องผ่าน กสท. เท่านั้น เนื่องจากกฎหมายปัจจุบันยังไม่ให้อนุญาตให้ทำการส่งข้อมูลเข้า-ออกของไทย โดยปราศจากการควบคุมของ กสท. โดย ISP จะเชื่อมสัญญาณเข้ากับ IIG (International Internet Gateway)

      การป้องกันข้อมูลไม่พึงประสงค์บนเว็บ
      เนื่องจากระบบอินเทอร์เน็ตเป็นระบบเปิดที่อนุญาตให้ผู้ใดก็ได้ที่สนใจ สามารถนำเสนอได้อย่างอิสระ ทำให้ข้อมูลบนเครือข่าย มีหลากหลาย ทั้งคุณ และโทษ การกลั่นกรองเนื้อหาที่เหมาะสมให้กับเยาวชน เป็นเรื่องที่กระทำได้ค่อนข้างยาก อย่างไรก็ตามก็พอจะมีเทคนิคหรือวิธีการกลั่นกรองเนื้อหา ได้ดังนี้
      •    การกลั่นกรองที่เครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้
      •    การกลั่นกรองในส่วนของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต
      การกลั่นกรองที่เครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้
      การกลั่นกรองที่เครื่องของผู้ใช้มีจุดเด่นที่กระทำได้ง่าย รวดเร็ว แต่อาจจะกลั่นกลองได้ไม่ครบทั้งหมด และข้อมูลที่กลั่นกรองอาจจะครอบคลุมถึงเนื้อหาที่มีสาระประโยชน์ได้ด้วย เช่นต้องการป้องกันเว็บที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับ Sex ก็อาจจะล็อกเว็บไซต์การแพทย์ที่ให้คำแนะนำด้านเพศศึกษาไปด้วยก็ได้
      วิธีการนี้กระทำได้โดย
      วิธีที่ 1. กำหนดค่า Security และระดับของเนื้อหา ผ่านเบราเซอร์ IE ด้วยคำสั่ง Tools, Internet Options แล้วกำหนดค่าจากบัตรรายการ Security หรือ Content
      วิธีที่ 2. ติดตั้งโปรแกรมที่ทำหน้าที่สกัดกั้นการเข้าสู่เว็บไซต์ที่ไม่พึงประสงค์ โดยผู้ใช้สามารถกำหนดรายการเว็บไซต์ได้ตามที่ต้องการ โดยโปรแกรมที่ทำหน้าที่ดังกล่าวได้แก่
      •    Net Nanny
      •    Surfwatch
      •    Cybersitter
      •    Cyberpatrol
      การกลั่นกรองที่ระบบของผู้ให้บริการ (ISP)
      เป็นระบบที่เรียกว่า Proxy โดยจะทำหน้าที่ตรวจจับข้อมูลเนื้อหาที่ไม่พึงประสงค์ ตามรายการที่ระบุไว้ ไม่ให้ผ่านเข้าไปยังผู้ใช้ ซึ่งมีผลต่อลูกค้าของผู้ให้บริการทุกราย ซึ่งถือว่าเป็นการคลุมระบบทั้งหมด แต่ก็มีข้อเสียคือ ระบบจะทำงานหนักมาก เนื่องจากต้องคอยตรวจสอบการเรียกดูเว็บไซต์จากผู้ใช้ทุกราย และเป็นการจำกัดสิทธิของผู้ใช้บริการด้วย

      อาชญากรรมคอมพิวเตอร์
      เทคโนโลยีที่ทันสมัย แม้จะช่วยอำนวยความสะดวกได้มากเพียงใดก็ตาม สิ่งที่ต้องยอมรับความจริงก็คือ เทคโนโลยีทุกอย่างมีจุดเด่น ข้อด้อยของตนทั้งสิ้น ทั้งที่มาจากตัวเทคโนโลยีเอง และมาจากปัญหาอื่นๆ เช่น บุคคลที่มีจุดประสงค์ร้าย ในโลก cyberspace อาชญากรรมคอมพิวเตอร์เป็นปัญหาหลักที่นับว่ายิ่งมีความรุนแรง เพิ่มมากขึ้น ประมาณกันว่ามีถึง 230% ในช่วงปี 2002 และแหล่งที่เป็นจุดโจมตีมากที่สุดก็คือ อินเทอร์เน็ต นับว่ารุนแรงกว่าปัญหาไวรัสคอมพิวเตอร์เสียด้วยซ้ำ หน่วยงานทุกหน่วยงานที่นำไอทีมาใช้งาน จึงต้องตระหนักในปัญหานี้เป็นอย่างยิ่ง จำเป็นต้องลงทุนด้านบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญด้านการรักษาความปลอดภัย ระบบซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ที่มีประสิทธิภาพ การวางแผน ติดตาม และประเมินผลที่ต้องกระทำอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง
      แต่ไม่ว่าจะมีการป้องกันดีเพียงใด ปัญหาการโจมตีระบบคอมพิวเตอร์ก็มีอยู่เรื่อยๆ ทั้งนี้ระบบการโจมตีที่พบบ่อยๆ ได้แก่
      •    Hacker & Cracker อาชญากรที่ได้รับการยอมรับว่ามีผลกระทบต่อสังคมไอทีเป็นอย่างยิ่ง
      •    บุลากรในองค์กร หน่วยงานคุณไล่พนักงานออกจากงาน, สร้างความไม่พึงพอใจให้กับพนักงาน นี่แหล่ะปัญหาของอาชญกรรมได้เช่นกัน
      •    Buffer overflow เป็นรูปแบบการโจมตีที่ง่ายที่สุด แต่ทำอันตรายให้กับระบบได้มากที่สุด โดยอาชญากรจะอาศัยช่องโหว่ของระบบปฏิบัติการ และขีดจำกัดของทรัพยากรระบบมาใช้ในการจู่โจม การส่งคำสั่งให้เครื่องแม่ข่ายเป็นปริมาณมากๆ ในเวลาเดียวกัน ซึ่งส่งผลให้เครื่องไม่สามารถรันงานได้ตามปกติ หน่วยความจำไม่เพียงพอ จนกระทั่งเกิดการแฮงค์ของระบบ เช่นการสร้างฟอร์มรับส่งเมล์ที่ไม่ได้ป้องกัน ผู้ไม่ประสงค์อาจจะใช้ฟอร์มนั้นในการส่งข้อมูลกระหน่ำระบบได้
      •    Backdoors นักพัฒนาเกือบทุกราย มักสร้างระบบ Backdoors เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงาน ซึ่งหากอาชญากรรู้เท่าทัน ก็สามารถใช้ประโยชน์จาก Backdoors นั้นได้เช่นกัน
      •    CGI Script ภาษาคอมพิวเตอร์ที่นิยมมากในการพัฒนาเว็บเซอร์วิส มักเป็นช่องโหว่รุนแรงอีกทางหนึ่งได้เช่นกัน
      •    Hidden HTML การสร้างฟอร์มด้วยภาษา HTML และสร้างฟิลด์เก็บรหัสแบบ Hidden ย่อมเป็นช่องทางที่อำนวยความสะดวกให้กับอาชญากรได้เป็นอย่างดี โดยการเปิดดูรหัสคำสั่ง (Source Code) ก็สามารถตรวจสอบและนำมาใช้งานได้ทันที
      •    Failing to Update การประกาศจุดอ่อนของซอฟต์แวร์ เพื่อให้ผู้ใช้นำไปปรับปรุงเป็นทางหนึ่งที่อาชญากร นำไปจู่โจมระบบที่ใช้ซอฟต์แวร์นั้นๆ ได้เช่นกัน เพราะกว่าที่เจ้าของเว็บไซต์ หรือระบบ จะทำการปรับปรุง (Updated) ซอตฟ์แวร์ที่มีช่องโหว่นั้น ก็สายเกินไปเสียแล้ว
      •    Illegal Browsing ธุรกรรมทางอินเทอร์เน็ต ย่อมหนีไม่พ้นการส่งค่าผ่านทางบราวเซอร์ แม้กระทั่งรหัสผ่านต่างๆ ซึ่งบราวเซอร์บางรุ่น หรือรุ่นเก่าๆ ย่อมไม่มีความสามารถในการเข้ารหัส หรือป้องกันการเรียกดูข้อมูล นี่ก็เป็นอีกจุดอ่อนของธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ได้เช่นกัน
      •    Malicious scripts ก็เขียนโปรแกรมไว้ในเว็บไซต์ แล้วผู้ใช้เรียกเว็บไซต์ดูบนเครื่องของตน มั่นใจหรือว่าไม่เจอปัญหา อาชญากรอาจจะเขียนโปรแกรมแผงในเอกสารเว็บ เมื่อถูกเรียก โปรแกรมนั่นจะถูกดึงไปประมวลผลฝั่งไคลน์เอ็นต์ และทำงานตามที่กำหนดไว้อย่างง่ายดาย โดยเราเองไม่รู้ว่าเรานั่นแหล่ะเป็นผู้สั่งรันโปรแกรมนั้นด้วยตนเอง น่ากลัวเสียจริงๆๆ
      •    Poison cookies ขนมหวานอิเล็กทรอนิกส์ ที่เก็บข้อมูลต่างๆ ตามแต่จะกำหนด จะถูกเรียกทำงานทันทีเมื่อมีการเรียกดูเว็บไซต์ที่บรรจุคุกกี้ชิ้นนี้ และไม่ยากอีกเช่นกันที่จะเขียนโปรแกรมแฝงอีกชิ้น ให้ส่งคุกกี้ที่บันทึกข้อมูลต่างๆ ของผู้ใช้ส่งกลับไปยังอาชญากร
      •    ไวรัสคอมพิวเตอร์ ภัยร้ายสำหรับหน่วยงานที่ใช้ไอทีตั้งแต่เริ่มแรก และดำรงอยู่อย่างอมตะตลอดกาล ในปี 2001 พบว่าไวรัส Nimda ได้สร้างความเสียหายได้สูงสุด เป็นมูลค่าถึง 25,400 ล้าบบาท ในทั่วโลก ตามด้วย Code Red, Sircam, LoveBug, Melissa ตามลำดับที่ไม่หย่อนกว่ากัน
      บัญญัติ 10 ประการด้านความปลอดภัยของเครือข่าย
      1.    ตั้งรหัสผ่านที่ยากแก่การเดา
      2.    เปลี่ยนรหัสผ่านสม่ำเสมอ เช่น ทุก 90 วัน
      3.    รันและปรับปรุงโปรแกรมป้องกันไวรัสตลอดเวลา
      4.    ให้ความรู้แก่บุคลากรในเรื่องความปลอดภัยในการรับไฟล์ หรือดาวน์โหลดไฟล์จากอินเทอร์เน็ต เช่น อีเมล์, เว็บไซต์
      5.    ติดตั้งระบบรักษาความปลอดภัยสำหรับเครือข่ายอย่างสมบูรณ์
      6.    ประเมินสถานการณ์ของความปลอดภัยในเครือข่ายสม่ำเสมอ
      7.    ลบรหัสผ่าน และบัญชีการใช้ของพนักงานที่ออกจากหน่วยงานทันที
      8.    วางระบบรักษาความปลอดภัยสำหรับการเข้าถึงระบบของพนักงานจากภายนอกหน่วยงาน
      9.    ปรับปรุง (Upgrade) ซอฟต์แวร์สม่ำเสมอ
      10.    ไม่รันเซอร์วิสบางตัวบนเครือข่าย อย่างไม่จำเป็น
      Ethernet
      Ethernet เป็นเทคโนโลยีสำหรับเครือข่ายแบบแลน (LAN) ที่ได้รับความนิยมสูงสุดในปัจจุบัน คิดค้นโดยบริษัท Xerox ตามมาตรฐาน IEEE 802.3 การเชื่อมเครือข่ายแบบ Ethernet สามารถใช้สายเชื่อมได้ทั้งแบบ Co-Axial และ UTP (Unshielded Twisted Pair) โดยสายสัญญาณที่ได้รับความนิยม คือ UTP 10Base-T ซึ่งสามารถส่งข้อมูลได้เร็วถึง 10 Mbps ผ่าน Hub
      ทั้งนี้การเชื่อมคอมพิวเตอร์ในเครือข่าย ไม่ควรเกิน 30 เครื่องต่อหนึ่งวงเครือข่าย เนื่องจากอุปกรณ์ใน Ethernet LAN จะแข่งขันในการส่งข้อมูล หากส่งข้อมูลพร้อมกัน และสัญญาณชนกัน จะทำให้เกิดการส่งใหม่ (CSMD/CD: Carrier sense multiple access with collision detection) ทำให้เสียเวลารอ
      ปัจจุบัน Ethernet ได้พัฒนาไปมาก เป็น Fast Ethernet ที่ส่งข้อมูลได้ 100 Mbps และ Gigabit Ethernet

      Leased Line
      วงจรเช่า หรือคู่สายเช่า (Leased Line) เป็นวงจรเหมือนวงจรโทรศัพท์ ที่มีการกำหนดต้นทาง และปลายทางที่แน่นอน ตลอด 24 ชั่วโมง โดยไม่ต้องหมุนเบอร์ของปลายทางเมื่อต้องการติดต่อ โดยอาจจะเป็นการติดต่อด้วย Fiber Optics หรือดาวเทียมก็ได้ ปัจจุบันนำมาใช้เป็นสัญญาณเชื่อมเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่มีความเร็วสูง เนื่องจากเป็นอิสระจากคนอื่น ด้วยความเร็วตั้งแต่ 9600, 64, 128 kbps, 34 Mbps ระบุต้นทางและปลายทางชัดแบบ Leased Line เรียกว่าการส่งข้อมูลแบบ Circuit Switching ซึ่งมีข้อเสียคือ หากไม่มีการใช้สัญญาณในเวลาใดๆ ก็จะเสียคุณค่า และประสิทธิภาพของวงจรสื่อสายโดยรวมไปแบบสูญเปล่า
      การเลือกใช้ Leased Line ต้องพิจารณาจากผู้ให้บริการ, ความเร็ว และชนิดของสื่อ
      Frame Relay
      Frame Relay เป็นบริการทางเครือข่ายชนิดหนึ่ง สำหรับเชื่อมต่อ LAN หรือเครือข่ายมากกว่า 2 เครือข่ายขึ้นไป ที่อยู่ห่างกัน โดยพัฒนามาจากเทคโนโลยี X.25 เป็นเครือข่ายระบบดิจิทัลที่มีอัตราความผิดพลาดของข้อมูลต่ำ มีระบบตรวจเช็คความถูกต้องของข้อมูลที่ปลายทาง ส่งข้อมูลได้เร็ว ประหยัดเวลา ลักษณะการส่งข้อมูลดีกว่า Leased Line เนื่องจากเป็นแบบ packet switching คือไม่มีการจองวงจรสื่อสารไว้ส่วนตัว ข้อมูลแต่ละคนจะถูกแบ่งเป็นชิ้นเล็กๆ เรียกว่า packet และส่งเข้าไปในเครือข่าย เพื่อส่งต่อไปยังปลายทาง ทำให้เครือข่ายเป็นเครือข่ายรวม ใช้เครือข่ายได้อย่างคุ้มค่า

      การเลือกใช้ Frame Relay จะต้องพิจารณาค่าความเร็วที่รับประกันว่าจะได้รับขั้นต่ำ (CIR: Committed Information Rate) และค่าความเร็วที่ส่งได้มากที่สุด กรณีวงจรสื่อสารรวมมีที่เหลือ (MIR: Maximum Information Rate) เช่น ถ้า Frame Relay มีค่า CIR 64kbps หมายความว่า เราสามารถส่งข้อมูลได้ไม่น้อยกว่า 64 kbps ในทุกกรณี และหากข้อมูลที่จะส่งใหญ่กว่า 64 kbps เครือข่ายก็ยังสามารถรองรับได้ ตราบใดยังไม่เกินค่า MIR
      การสื่อสารแบบ Connection Oriented
      การสื่อสารข้อมูลบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต จะทำได้โดยใช้กฏข้อบังคับที่เรียกว่า IP (Internet Protocol) ซึ่งทำให้เครือข่ายอินเทอร์เน็ต ถูกเรียกว่า เครือข่าย IP นอกจากกฎ IP ใน OSI Model ของเครือข่าย ยังมีกฏ TCP (Transmission Control Protocol) ทั้งนี้ TCP จะเป็นการสื่อสารแบบ Connection Oriented คือมีลักษณะเหมือนกันส่งข้อมูลเสียงทางโทรศัพท์ ต้องมีการสร้าง Connection ก่อน (คล้ายหมุนเบอร์ปลายทาง) จึงจะส่งข้อมูล และเมื่อส่งข้อมูลเสร็จสิ้น ก็จะทำการยุติ Connection (วงหูโทรศัพท์)
      ทั้งนี้เปรียบเสมือนการส่งข้อมูลทีละชิ้นไปเรื่อยๆ ผู้รับก็รับข้อมูลนั้นๆ ตามลำดับก่อนหลัง ทำให้เสียเวลาในจุดเริ่มต้น แต่การส่งมีความถูกต้อง และรับรองว่าปลายทางได้รับข้อมูล ลักษณะงานที่ติดต่อแบบ TCP ก็คือ e-mail, WWW, FTP

      การสื่อสารแบบ Connectionless
      นอกจากกฏ IP และ TCP ยังมีกฏ UDP (User Datagram Protocol) ซึ่งเป็นการสื่อสารแบบ Connectionless คือข้อมูลจะถูกแบ่งเป็นชิ้นๆ ตามที่อยู่ปลายทาง แล้วผ่านตัวกลางไปยังปลายทาง อาจจะใช้เส้นทางคนละเส้นทางกันก็ได้ รวมทั้งข้อมูลแต่ละชิ้นอาจจะถึงก่อนหลังแตกต่างกันไปได้ด้วย ทำให้การเริ่มต้นส่งทำได้รวดเร็ว ไม่ต้องเสียเวลาสร้าง Connection แต่ก็มีจุดอ่อนคือ ไม่สามารถรับประกันได้ว่า ข้อมูลถึงปลายทางอย่างถูกต้อง ตัวอย่างงานที่ใช้การสื่อสารแบบ UDP คือ การส่งสัญญาณเสียงดิจิทัล, Video

      Set-top Box
      Set-top Box เป็นกล่องเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต แบบพกพา ทำให้สามารถดูเว็บและรับ/ส่งอีเมล์จากเครื่องโทรทัศน์ได้ มีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา เชื่อมต่อกับทีวีได้ง่ายและสะดวก WebTV จะมีเบราเซอร์ของตนเอง ประกอบด้วย MODEM 33.6 Kbps เป็นอย่างต่ำ พร้อมคีย์บอร์ดไร้สาย จุดเชื่อมต่อคีย์บอร์ดแบบ PS/2 ช่องเพิ่มเติม Smart Card และ I/O Port สำหรับเชื่อมต่อเครื่องพิมพ์ ตัวอย่าง Set-top Box
      •    WebTV ของบริษัท Philips Magnavox, Sony
      •    Saturn Net Link ของ Sega
      •    Navio Communications
      •    RCA, ProScan GE ของ Thomson/RCA

      ความผสานกันของ CD-ROM และ Website
      •    เอกสารเว็บ และเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีความสามารถโดดเด่นในเรื่องเทคโนโลยีข้ามระบบ (Cross platform) ทำให้เอกสารเนื้อหาต่างๆ สามารถเรียกดูได้ด้วยคอมพิวเตอร์ทุกระบบปฏิบัติการ และทุกค่าย
      •    เอกสารเว็บ และ CD-ROM ประสานกันได้อย่างเหมาะเจาะ การนำเนื้อหาจากเว็บไซต์ที่พัฒนาแล้ว มาใส่ใน CD-ROM จะเป็นอีกช่องทางในการเผยแพร่ผลงานออกไปยังกลุ่มผู้ใช้ (ลูกค้า) ที่มียังปัญหาด้านการเชื่อมต่อเครือข่าย อย่างไรก็ตามยังมีความท้าทายในการข้ามระบบของการใช้ CD-ROM
      •    อินเทอร์เน็ตเน้นการนำเสนออย่างรวดเร็ว ส่งผลให้มีข้อจำกัดในด้านขนาดของไฟล์ประกอบต่างๆ
      •    CD-ROM ช่วยในการนำเสนอไฟล์ประกอบขนาดใหญ่ได้เป็นอย่างดี เช่นไฟล์ภาพคุณภาพสูง, ไฟล์เสียง, ภาพยนตร์, ภาพเคลื่อนไหว, ภาพสามมิติ และซอฟต์แวร์ต่างๆ
      •    เนื้อหาที่ทันสมัย ปรับปรุงอย่างรวดเร็ว อินเทอร์เน็ตเข้ามาช่วยเสริมเนื้อหาหลักใน CD-ROM ได้เป็นอย่างดี
      •    การติดต่อสื่อสารระหว่างผู้พัฒนาเนื้อหา และผู้อ่านเนื้อหา เป็นช่องทางสร้างมูลค่าเพิ่มได้เป็นอย่างดี
      •    CD-ROM, KIOSK เน้นการนำเสนอแบบอ่านอย่างเดียว แต่ Web ทำได้มากกว่า

      Off-line Browser
      การเรียกดูข้อมูลโดยเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตตลอดเวลา แม้จะเป็นข้อมูลเดิม เป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น และอาจจะเป็นภาระได้ง่าย ด้วยเทคโนโลยี Off-line Browser จะช่วยตรวจสอบ และดูดเนื้อหาบนเว็บไซต์มาเก็บไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ ทำให้เมื่อต้องการอ่านเนื้อหาเดิมซ้ำ ไม่ต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต บางซอฟต์แวร์ในกลุ่มนี้ ยังตรวจสอบเนื้อหาใหม่ พร้อมปรับปรุงเนื้อหาในคอมพิวเตอร์ให้โดยอัตโนมัติ และบางรุ่นอาจจะให้ผู้ใช้กำหนดประเภท หรือหมวดเนื้อหาที่ต้องการตรวจสอบและปรับปรุงด้วย
      ตัวอย่างซอฟต์แวร์ได้แก่
      •    Web Buddy (http://www.dataviz.com)
      •    Freeloader (http://www.freeloader.com)
      •    Web Whacker (http://www.ffg.com)
      •    Surfbot (http://www.surflogic.com)
      •    WSmart bookmarks (http://www.firstfloor.com)
      •    Net Attache Light (http://www.tympani.com)
      •    Milktruck (http://www.travsoft.com)
      •    BackWeb (http://www.backweb.com)

      การใช้อินเทอร์เน็ตในสำนักงาน
      สำนักงานหรือหน่วยงานต่างๆ คงมีการจัดทำระบบเครือข่ายภายในหน่วยงาน ไว้พร้อมให้บริการสำหรับผู้บริหาร หรือพนักงาน ซึ่งโดยปกติแล้วผู้บริหาร หรือผู้ใช้งานเทียบจะไม่ต้องยุ่งเกี่ยวกับการเชื่อมต่อใดๆ ทั้งสิ้น ผู้บริหาร หรือผู้ใช้เพียงแต่เปิดคอมพิวเตอร์ ระบบที่สำนักงานติดตั้งไว้ ก็จะเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตให้โดยอัตโนมัติ (บางหน่วยงานอาจจะต้องพิมพ์ชื่อและรหัสผ่าน ก่อนเข้าสู่ระบบใช้งาน ตามแต่ระบบของแต่ละหน่วยงาน) ทั้งนี้คอมพิวเตอร์ในสำนักงาน มักจะเชื่อมต่อกับระบบของหน่วยงานโดยผ่านระบบแลน (LAN: Local Area Network) ทางการ์ดแลน (LAN Card)
      ดังนั้นการใช้อินเทอร์เน็ตในสำนักงาน ก็พอจะสรุปขั้นตอนได้ดังนี้
      •    ติดต่อเจ้าหน้าที่ควบคุมระบบ (System Administrator) เพื่อขอสิทธิ์ในการใช้งานระบบอินเทอร์เน็ต พร้อมรับบัญชีผู้ใช้และรหัสผ่าน (Internet Account & Password)
      •    เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานเข้ากับระบบเครือข่ายภายในหน่วยงาน

      •    เปิดคอมพิวเตอร์ แล้วเข้าสู่ระบบการใช้งาน
      •    ใช้งานอินเทอร์เน็ต

      การใช้อินเทอร์เน็ต กับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนตัว
      การใช้อินเทอร์เน็ตกับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล มีขั้นตอนที่ยุ่งยากมากกว่า เพราะผู้บริหาร หรือผู้ใช้มักจะต้องดำเนินการติดตั้งค่าควบคุมต่างๆ ด้วยตนเอง แต่ก็พอจะสรุปขั้นตอนได้คร่าวๆ ดังนี้
      •    ติดตั้งโมเด็ม (MODEM) เข้ากับคอมพิวเตอร์ที่ใช้งาน


      •    สมัครสมาชิกการใช้อินเทอร์เน็ต
      o    สมาชิกภายในหน่วยงาน – หน่วยงานบางหน่วยงานอาจจะมีบริการอินเทอร์เน็ตให้กับบุคลากร โดยบุคลากรที่เป็นสมาชิกสามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตที่บ้าน หรือภายนอกหน่วยงานโดยการหมุนโทรศัพท์เชื่อมต่อระบบเข้ามาที่หน่วยงานก็ได้
      o    สมาชิกกับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ในประเทศ – ประเทศไทยมีผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP: Internet Service Provider) 18 ราย (ปี 2545) ซึ่งผู้ใช้สามารถเลือกใช้บริการจาก ISP รายได้ก็ตามตามความชอบ และราคาที่สนใจ
      •    เมื่อเป็นสมาชิกการใช้อินเทอร์เน็ต ไม่ว่าลักษณะใด ก็จะได้รับบัญชีการใช้อินเทอร์เน็ต และรหัสผ่าน (Internet Account & Password) พร้อมคู่มือการใช้งานระบบ
      o    บัญชีและรหัสผ่านในการใช้อินเทอร์เน็ต เป็นข้อมูลสำคัญ ไม่ควรเปิดเผยต่อบุคคลอื่น
      •    เชื่อมสายโทรศัพท์เข้ากับ MODEM และเชื่อมสาย MODEM เข้ากับคอมพิวเตอร์
      •    เปิดใช้งานคอมพิวเตอร์
      •    ติดตั้งค่าจำเป็นตามคู่มือการใช้งาน
      •    เชื่อมต่อระบบอินเทอร์เน็ต

      เรียกดูเว็บไซต์
      การใช้อินเทอร์เน็ตในปัจจุบันนี้คงหนีไม่พ้นการเรียกดูเว็บไซต์ (Website) หรือข้อมูลข่าวสารที่หน่วยงาน องค์กร กลุ่มบุคคล หรือบุคคลได้จัดทำ และเผยแพร่ไว้บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เนื่องจากเป็น ข้อมูลที่มีการนำเสนอทั้งข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว มีสีสันสวยงามน่าสนใจ
      การเรียกดูเว็บไซต์ มีขั้นตอนดังนี้
      •    เชื่อมต่อเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ต
      •    ดับเบิ้ลคลิกที่ไอคอนโปรแกรม Internet Explorer

      •    ปรากฏหน้าต่างโปรแกรม ดังนี้

      หมายเหตุ ข้อมูลที่ปรากฏบนหน้าต่างโปรแกรม อาจจะแตกต่างออกไปได้ ตามแต่ค่าติดตั้งของคอมพิวเตอร์นั้นๆ
      •    รายการใดๆ ที่เมื่อนำเมาส์ไปชี้ แล้วเมาส์เปลี่ยนรูปร่างจาก  เป็น  แสดงว่าสามารถคลิกเมาส์ เพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติมได้
      •    เมื่อคลิกเลือกดูข้อมูล สามารถกลับมายังจอภาพก่อนหน้า ได้โดยคลิกที่ปุ่ม  
      •    ต้องการกลับไปจอภาพแรกที่ปรากฏตอนเริ่มโปรแกรม ให้คลิกปุ่ม  



      ชื่อเรียกเว็บไซต์
      การใช้อินเทอร์เน็ตในปัจจุบันนี้คงหนีไม่พ้นการเรียกดูเว็บไซต์ (Website) หรือข้อมูลข่าวสารที่หน่วยงาน องค์กร กลุ่มบุคคล ชื่อเรียกเว็บไซต์ (URL: Uniform Resource Locator) เป็นชื่อที่กำหนดขึ้นมาเพื่อใช้อ้างอิงการเรียกข้อมูลบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีลักษณะเป็นภาษาอังกฤษเรียงกันเป็นช่วงๆ 3 – 5 ช่วง แต่ละช่วงคั่นด้วยเครื่องหมายจุดทศนิยม (เรียกว่า Dot) เช่น
      •    เว็บไซต์ของรัฐบาลไทย www.thaigov.go.th
      •    เว็บไซต์เครือข่ายสารสนเทศภาครัฐ เนคเทค www.thaigov.net
      •    เว็บไซต์ผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูง www.nitc.go.th/cio
      •    เว็บไซต์หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ www.thairath.com
      ชื่อเรียกเว็บไซต์ หรือ URL จะมีหลักในการใช้งาน โดยยึดผังดังนี้


      บันทึกชื่อเรียกเว็บไซต์
      ชื่อเรียกเว็บไซต์ของหน่วยงานแต่ละหน่วยงาน มักจะยาว และก่อให้เกิดปัญหาในการจำ เมื่อจำเป็นต้องใช้เว็บไซต์หลายๆ เว็บไซต์ โปรแกรม Internet Explorer ได้ช่วยแก้ปัญหานี้ โดยเตรียมคำสั่งบันทึกชื่อเว็บไซต์ที่ผู้ใช้ใช้บ่อยๆ เพื่อให้สะดวกต่อการเรียกใช้งาน ผ่านทางคำสั่ง Favorite หรือ Bookmark (Netscape)

      เว็บไซต์ที่บันทึกไว้ใน Favorites สามารถเรียกดูได้สะดวก รวดเร็ว เพียงแต่คลิกเลือกคำสั่ง Favorites แล้วเลื่อนเมาส์หาเว็บไซต์ที่ต้องการจากรายการที่แสดง เมื่อคลิกที่ชื่อเว็บไซต์ที่บันทึกไว้ โปรแกรมจะเรียกเว็บไซต์นั้นๆ มาแสดงบนโดยอัตโนมัติ

      อินเตอร์เน็ตคืออะไร?
           เราอาจให้ความหมายได้ว่าอินเตอร์เน็ต คือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ แต่ความจริง แล้วอินเตอร์เน็ตเป็นทั้งเครือข่ายของคอมพิวเตอร์ และ เครือข่ายของเครือข่าย เพราะ อินเตอร์เน็ตประกอบด้วยเครือข่ายย่อยเป็นจำนวนมาก ต่อเชื่อม เข้าด้วยกันภายใต้ มาตรฐานเดียวกันจนเป็น สังคมเครือข่ายขนาดใหญ่ คอมพิวเตอร์ในอินเตอร์เน็ตทุก เครื่องใช้มาตรฐาน TCP/IP เดียวกันหมด อินเตอร์เน็ตสำคัญอย่างไร หลายประเทศทั่วโลกกำลังให้ความสำคัญกับ เทคโนโลยีสารสนเทศ (InformationTechnology) หรือเรียกโดยย่อว่า \" ไอที\" ซึ่งหมายถึง ความรู้ในวิธีการประมวลผล จัดเก็บ รวบรวม เรียกใช้ และนำเสนอข้อมูลด้วยวิธีการ ทางอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องมือที่จำเป็นต้อง ใช้สำหรับงานไอที คือ คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สื่อสาร โทรคมนาคม ตลอดจนโครงสร้าง พื้นฐานด้านการสื่อสารไม่ว่าจะเป็นสายโทรศัพท์ ดาวเทียม หรือเคเบิ้ลใยแก้วนำแสง อินเตอร์เน็ตเป็นเครื่องมือสำคัญ อย่างหนึ่ง ในการประยุกต์ใช้ไอที หากเราจำเป็นต้องอาศัยข้อมูล ข่าวสาร ในการทำงาน ประจำวันอินเตอร์เน็ตจะเป็นช่องทางที่ทำ ให้เราเข้าถึงข้อมูล ได้ในเวลาอันรวดเร็วข่าวสารหรือเหตุการณ์ความเป็นไปต่างๆ ทั่วโลกที่เกิดขึ้น ในปัจจุบันสามารถสืบค้นได้จากอินเตอร์เน็ตเช่นกัน อินเตอร์เน็ตจึงเป็น แหล่งข่าวที่ทันสมัยและช่วยให้รับรู้ข่าวสารที่เกิดขึ้นในมุมอื่นๆของโลกได้อย่าง รวดเร็ว กว่าสื่ออื่นๆ อินเตอร์เน็ตเป็น แหล่งรวบรวมข้อมูลแหล่งใหญ่ที่ สุดของโลก และเป็นที่รวมทั้งบริการและเครื่องมือสืบค้นข้อมูลหลายประเภท จนกระทั่งกล่าว ได้ว่าอินเตอร์เน็ตเป็นเครื่องมือสำคัญอย่าง หนึ่งใน การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี สารสนเทศ ทั้งในระดับบุคคลและองค์กร
      ใครเป็นผู้ดูแลอินเตอร์เน็ต?
           การเชื่อมต่อเข้าเป็นอินเตอร์เน็ตอาศัยการบริหารแบ บกระจายอำนาจอินเตอร์เน็ตจึงไม่มีใครเป็น เจ้าของ หรือควบคุมดูแลอย่างแท้จริงเครือข่าย แต่ละส่วนในอินเตอร์เน็ตต่างบริหารเครือข่ายของตน เองอย่าง เป็นอิสระโดยรับผิดชอบค่าใช้จ่ายติดตั้งระบบ และการเช่าวงจรสื่อสารเพื่อต่อเชื่อมเข้าด้วยกันแต่ในทาง ปฏิบัติแล้วอินเตอร์เน็ตมีองค์กรระหว่างประเทศที่จัดตั้ง ขึ้นเพื่อประสานความร่วมมือ ระหว่างสมาชิกองค์การนี้ ได้แก่ ISOC หรือ สมาคมอินเตอร์เน็ต ( Internet Society ) ISOCเป็นองค์กรเพื่อความร่วมมือและประสานงาน ของสมาชิกอินเตอร์เน็ตระหว่างประเทศ เป็นองค์กร ที่ไม่แสวงผลกำไรและมีนโยบายสนับสนุน การใช้อินเตอร์เน็ตเป็นโครงสร้างพื้นฐาน อย่างหนึ่ง สำหรับการศึกษาและงานวิจัย และทำหน้าที่ส่งเสริม และเผยแพร่ความรู้ให้แก่ผู้ ใช้อินเตอร์เน็ตทั่วไป ISOC ยังทำหน้าที่พัฒนามาตรฐานและเทคโนโลยีเพื่อใช้ ในอินเตอร์เน็ต ภายใน ISOC มีคณะทำงานอาสาสมัคร ร่วมวางแนวทางพัฒนาอินเตอร์เน็ต ให้สมาชิกถือปฏิบัติ แต่ไม่มีหน้าที่ดูแลหรือควบคุมการบริหารเครือข่ายแต่อย่างใด
      ประวัติความเป็นมาของอินเตอร์เน็ต
           ประวัติความเป็นมาและมีการ พัฒนามาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่การเกิดของเครือข่าย อาร์พาเน็ต ในปี พ.ศ.2512 ก่อนที่จะก่อตัวเป็น อินเตอร์เน็ตจนกระทั่งถึงทุกวันนี้อิน เตอร์เน็ตมีพัฒนาการมา จากอาร์พาเน็ต ( ARPAnet ) ซึ่งเป็นเครือข่ายคอมพิว เตอร์ภายใต้ การรับผิดชอบของ อาร์พา ( Advanced Research Projects Agency ) ในสังกัดกระทรวงกลาโห ของสหรัฐอเมริกาอาร์พาเน็ต ในขั้นต้นเป็นเพียงเครือข่ายทดลองที่ตั้งขึ้นเพื่อเป็นการสนับสนุนงานวิจัยด้านการ ทหารและ โดยเนื้อแท้แล้วอาร์พาเน็ตเป็นผลพวงมาจากการเมืองโลกในยุคสงคราม เย็นระหว่างค่าย คอมมิวนิสต์และค่ายเสรีประชาธิปไตย ยุคสงครามเย็น ในทศวรรษ ของปีพ.ศ.2510 นับเป็นเวลาแห่งความตึงเครียดเนื่องจากภาวะ สงครามเย็นระหว่างประเทศในค่ายคอมมิวนิสต์และค่ายเสรีประชาธิปไตย สหรัฐ อเมริกาซึ่งเป็นประเทศผู้นำ กลุ่มเสรีประชาธิปไตยได้ก่อตั้งห้องปฏิบัติการทดลอง เพื่อค้นคว้าและพัฒนาเทคโนโลยีอย่างเร่งด่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีด้าน ระบบคอมพิวเตอร์ช่วงท้ายของทศวรรษ 2510 ห้องปฏิบัติการวิจัย ในสหรัฐ ฯ และในมหาวิทยาลัยใหญ่ ๆล้วนแล้วแต่มีคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัยในยุคนั้นติดตั้งอยู่
      กำเนิดอาร์พาเน็ต
      วันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2512 ได้มีการทดลองเชื่อมโยง IMP ระหว่างมหาวิทยาลัย 4 แห่งโดยมีโฮสต์ต่างชนิดกันที่ใช้ในระบบปฏิบัติการต่างกัน คือ
           1. มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย แห่ง ลอส แอนเจลิส ใช้เครื่อง SDS Sigma 7 ภายใต้ระบบปฏิบัติ การ SEX ( Sigma EXecutive )
           2. สถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด ใช้เครื่อง SDS 940และระบบปฏิบัติการ Genie
           3. มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย แห่ง ซานตา บาร์บารา มีเครื่อง IBM 360/75ทำงาน ภายใต้ระบบปฏิบัติการ OS/MVT
           4. มหาวิทยาลัยยูทาห์ ที่ซอลต์เลคซิตี้ ใช้เครื่อง DEC PDP-10ภายใต้ระบบปฏิบัติการ Tenex
      จากอาร์พาเน็ตสู่อินเตอร์เน็ต
      ในระยะต้นของการพัฒนาเครือข่าย อาร์พาเน็ตเป็นเส้นทางสื่อสารหลักของเครือข่าย ที่เรียกว่า \"สันหลัง\" หรือ \"Backbone\" ภายในทวีป และในช่วงต่อมาจึงมีเครือข่ายอื่นเชื่อมต่อเข้ามา เช่น NSFnet และ เครือข่ายของ NASA เป็นต้น ชื่อที่ใช้เรียกเครือข่ายก็เปลี่ยนไปเป็นลำดับจาก อาร์พาอินเตอร์เน็ต เป็น เฟเดอรัล รีเสิร์ช อินเตอร์เน็ต และยังเปลี่ยนไปเป็น TCP/IP Internet กระทั่งในที่สุดกลายมาเป็นชื่อที่ร ู้ จักในปัจจุบันว่า \"อินเตอร์เน็ต\" พัฒนาการต่อมา ในปลาย พ.ศ. 2526 อาร์พาเน็ตถูกแบ่งแยกเป็น 2 เครือข่าย คือ เครือข่ายด้านการ วิจัยและเครือข่ายของกองทัพ เครือข่ายด้านงานวิจัยยังคงใช้ชื่อ อาร์พาเน็ตอยู่เช่นเดิม ส่วนเครือข่ายของ กองทัพมีชื่อเรียกใหม่ว่า \"มิลเน็ต\" ( MILNET ) อาร์พาเน็ตให้บริการจนกระทั่งถึงจุดที่สมรรถนะของเครือข่ายไม่พอเพียงที่จะรับภาระการสื่อสาร หลักของอินเตอร์เน็ตอีกต่อไป ดาร์พาจึงได้ปลดระวางอาร์พาเน็ตลงในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2533 และเอ็นเอสเอฟเน็ตได้รับเป็นเส้นทางหลักของการสื่อสารแทน การเติบโตของอินเตอร์เน็ต ในช่วงหนึ่งปีให้หลังของการเปลี่ยนมาใช้ TCP/IP มีจำนวนโฮสต์ในอินเตอร์เน็ต รวมกัน 213 โฮสต ์ ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2529 จำนวนโฮสต์ในอินเตอร์เน็ตเพิ่มขึ้นเป็น 1,024 โฮสต์ และในเดือน มกราคมปี พ.ศ.2536 จำนวนโฮสต์ในอินเตอร์เน็ตเพิ่มขึ้นไปกว่า 1,000,000 โฮสต์ แต่ละวันจะ มีโฮสต์เพิ่มเข้าสู่ระบบและมีผู้ใช้รายใหม่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง จำนวนโฮสต์โดยประมาณภายใน อินเตอร์เน็ตนับจากปี พ.ศ. 2524 ถึง 2537 มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นแบบเอ๊กโปเนนเชียล นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2529 จำนวนโฮสต์ในอินเตอร์เน็ตเพิ่มขึ้นมากกว่า 2 เท่าตัวในทุก ๆ ปี และยังคงเพิ่มขึ้นอย่าง ไม่หยุดยั้ง จำนวนโฮสต์โดยประมาณใน พ.ศ. 2538 คาดว่ามีราวหกล้านเครื่อง หากประเมินว่าโฮสต ์หนึ่งมีผู้ใช้เฉลี่ย 5-8 ราย จะประมาณว่า มีผู้ใช้อินเตอร์เน็ตทั่วโลกอยู่กว่า 30 ล้านคน การขยายตัว ของอินเตอร์เน็ตในปัจจุบันอยู่ในอัตรา 10-15 % ต่อเดือน
      ประวัติความเป็นมาของอินเตอร์เน็ตในประเทศไทย
           การเชื่อมต่อเข้าสู่อินเตอร์เน็ตของประเทศไทยมีจุดกำเนิดมาจากเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระหว่างมหาวิทยาลัย หรือที่เรียกว่า \"แคมปัสเน็ตเวอร์ก\" ( Campus Network ) เครือข่ายดัง กล่าวได้รับการสนับสนุนจาก \"ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ\" ( NECTEC ) จนกระทั่งได้ เชื่อมเข้าสู่อินเตอร์เน็ตโดยสมบูรณ์ในเดือนสิงหาคม ปี พ.ศ.2535 พัฒนาการ ประเทศไทยได้เริ่มติดต่อกับอินเตอร์เน็ตโดยใช้ E-mail ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530 โดยเริ่มที่ \"มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่\" เป็นแห่งแรก และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย ภายใต้ความร่วมมือระหว่างไทยและออสเตรเลียในช่วงเวลาต่อมา ในขณะนั้นยังไม่ได้มีการเชื่อมต่อ แบบ On-line หากแต่เป็นการแลกเปลี่ยนข่าวสาร ด้วย E-mail โดยใช้ระบบ MSHnet ละ UUCP โดยทางออสเตรเลียจะโทรศัพท์เชื่อมเข้ามาสู่ระบบวันละ 2 ครั้ง ในปีถัดมา NECTEC ซึ่งอยู่ภายใต้ กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน ( ชื่อเดิมในขณะนั้น ) ได้จัดสรรทุนดำเนินโครงการ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ของสถาบันอุดมศึกษา โดยแบ่ง โครงการออกเป็น 2 ระยะ
      การดำเนินงานใน ระยะแรกเป็นการเชื่อมโยง 4 หน่วยงาน ได้แก่
      • กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ
      • จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
      • สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย
      • สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าวิทยาเขตเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
      ระยะที่สองเป็นการเชื่อมต่อสถาบันอุดมศึกษาที่เหลือ คือ
      • มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
      • มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
      • มหาวิทยาลัยมหิดล
      • มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
      • สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าวิทยาเขตธนบุรี
      • สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าวิทยา เขตพระนครเหนือ
      • มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
      • มหาวิทยาลัยขอนแก่น
      • มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
      เราจะเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตได้อย่างไร?
      อุปกรณ์
      คอมพิวเตอร์ เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานได้ ควรจะใช้เครื่องระดับ 486Xขึ้นไปแรม 16 เมกขึ้นไป
      โมเด็ม (Modulator Demodulator Machine) โมเด็มคืออุปกรณ์ซึ่งทำหน้าที่แปลงข้อมูลที่ได้จาก เครื่องคอมพิวเตอร์ไปเป็นสัญญาณไฟฟ้ารูปแบบหนึ่ง (Impulse) ซึ่งสามารถส่งผ่านสายโทรศัพท์ทั่วไป ได้ซึ่งสัญญาณโทรศัพท์นั้นจะเป็นสัญญาณอนาล๊อกส่วนสัญญาณข้อมูลที่มาจากคอมพิวเตอร์จะเป็นสัญญาณ ดิจิตอลทำให้ต้องใช้ โมเด็มในการแปลงสัญญาณอนาล๊อกเป็นดืจิตอลและดิจิตอลเป็นอนาล๊อกซะก่อน โมเด็มสามรถแยกได้เป็น 3 ชนิด แต่ละชนิดก็มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไปดังนี้
      • โมเด็มแบบติดตั้งภายใน โมเด็มชนิดนี้จะมีลักษณะเป็นแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกนำมาติดตั้งเข้ากับภายในตัวเครื่องคอมพิวเตอร์โดยตรง รูปร่างจะแตกต่างกันตามที่ผู้ผลิตจะออกแบบมาสำหรับคอมพิวเตอร์ชนิดนั้นๆโมเด็มชนิดนี้จะใช้ไฟฟ้าจากพาวเวอร ์ซับพายที่มันต่ออยู่ทำให้เราไม่ต้องต่อไฟหม้อแปลงต่างหากจากภายนอก ส่วนมากโมเด็มติดตั้งภายในจะทำการติดตั้ง ผ่านทาง Port อนุกรม RS-232C รวมอยู่ด้วย ทำให้ไม่มีปัญหาในเรื่อง port อนุกรมรุ่นเก่าที่ติดมากับเครื่องคอมพิวเตอร์ การเชื่อมต่อโมเด็มกับเครื่องคอมพิวเตอร์จะต่อทาง slot มาตรฐานในเครื่องคอมพิวเตอร์และเมื่อติดตั้งแล้วจะไม่เปลือง เนื้อที่ภายนอกใดๆเลย และโมเด็มสำหรับติดตั้งภายในจะมี จุดให้ผู้ใช้เสียบสายโทรศัพท์เข้ากับโมเด็มโดยใช้ปลั๊กโทรศัพท ์ธรรมดา แบบ RJ-11 และมีลำโพงประกอบด้วย
      • โมเด็มแบบติดตั้งภายนอก จะมีลักษณะเป็นกล้องสี่เหลี่ยมแบนๆภายในมีวงจรโมเด็มไฟสถานะ และลำโพง เนื่องจากต่อภายนอกจึงต้องมี adapter แปลงสัญญาณก่อนและจะมีสายต่อแบบ 25 ขา DB25 เอาไว้ใช้เชื่อมต่อผ่านทาง port อนุกรม RS - 232C 1
      • PCMCIA (Personal Computer Memory Card International Asociation) จะเป็น โมเด็มที่มีขนาดเล็ที่สุดคือ มีขนาดเท่าบัตรเครดิตรอละหนาเพียง 5 มิลเท่านั้นซึ่งโมเด็มชนิดนี้ออกแบบมาโดยให้คอมพิวเตอร์โน๊ตบุคโดย เฉพาะซึ่งในปัจจุบันโมเด็มชนิดนี้จะมีความเร็วพอๆกับโมเด็มที่ติตตั้งภายนอกและภายในในปัจจุบันนี้โมเด็มม ีความเร็วสูงสุดที่ 56Kbps(Kilobyte per second)โดยจะใช้ มาตรฐาน V.90 เป็นตัวกำหนด
      อินเตอร์เน็ตทำงานอย่างไร?
      รู้จักกับ TCP/IP
           โปรโตคอล TCP/IP หรือ Transmission Control Protocol/Internet Protocol เป็นระเบียบวิธีการ สื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ ที่ใช้กันมาแต่เดิมในระบบปฏิบัติการ Unix ซึ่งมีการใช้งานอย่าง กว้างขวางมาก จนถือเป็นมาตรฐานได้ จุดกำเนิดของโปรโตคอล TCP/IP นี้เริ่มขึ้นในราว พ.ศ. 2512 ที่กระทรวงกลาโหมของสหรัฐ เมื่อพบปัญหาในการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในหน่วยงานต่างๆ ของตน ซึ่งจะต้องมีการส่งข้อมูลระหว่างกัน และไปยังหน่วยงานภายนอกอื่นๆ เช่น มหาวิทยาลัย ห้องทดลองต่างๆ (ส่วนใหญ่มีเครื่องที่ใช้ระบบ Unix อยู่เป็นจำนวนมาก) เนื่องจากแต่ละแห่ง ก็จะมีระบบคอมพิวเตอร์ของตนเองที่แตกต่างกันไป การต่อเชื่อมกันก็เป็นไปในลักษณะต่างคนต่างทำไม เหมือนกัน ดังนั้นข่าวสารข้อมูลทั้งหลาย จึงถ่ายเทไปมาได้อย่างยากลำบากมาก กระทรวงกลาโหมสหรัฐได้ จัดตั้งหน่วยงาน Advanced Research Projects Agencies (ARPA) ขึ้นมา เพื่อหาทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นนี้ ผลลัพธ์ที่หน่วยงาน ARPA ได้จัดทำขึ้นคือ การกำหนดมาตรฐานในการสื่อสารข้อมูลและได้จัดตั้งเครือข่าย ARPANET ขึ้นโดยใช้โปรโตคอล TCP/IP ต่อมาก็กลายมาเป็นมาตรฐานจริงจัง ในราวปี พ.ศ. 2525 ความสัมพันธ์ระหว่าง TCP/IP กับระบบปฏิบัติการ Unix เกิดขึ้น เนื่องจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ที่เบอร์คเลย ์ ได้พัฒนาระบบปฏิบัติการ Unix ซึ่งมีการผนวกเข้ากับโปรโตคอล TCP/IP สำหรับใช้ในการสื่อสารระหว่างระบบ ออกมา และเผยแพร่ต่อไปยังหน่วยงานต่างๆ ทำให้การสื่อสารกันของเครื่องที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Unix มักจะต้อง ใช้โปรโตคอล TCP/IP เสมอ และมีบทบาทเป็นสิ่งที่คู่กันต่อมาถึงปัจจุบัน ในปัจจุบันนี้ ไม่ว่าคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ของผู้ใช้จะเป็นแบบใดก็ตาม เช่น พีซีหรือแมคอินทอช ก็สามารถใช้งานโปรโตคอล TCP/IP เพื่อต่อเชื่อมเข้าส ู่อินเตอร์เน็ตได้ วิธีการก็คือเพียงแต่ติดตั้งใช้งานซอฟต์แวร์โปรโตคอล TCP/IP เท่านั้น ส่วนวิธีการ และโปรแกรม ที่ติดตั้ง จะแตกต่างกันขึ้นกับระบบที่ใช้ ซึ่งจะกล่าวต่อไป หมายเลข IP (IP Address) การสื่อสารกันในระบบเครือข่าย อินเตอร์เน็ตที่มีโปรโตคอล TCP/IP เป็นมาตรฐานนี้ เครื่องอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่ออยู่ จะต้องมีหมายเลขประ จำตัวเอาไว้อ้างอิง ให้เครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ ได้ทราบเหมือนกับคนทุกคนต้องมีชื่อให้คนอื่นเรียก หมายเลขอ้างอิงดังกล่าวเราเรียกว่า IP Address หรือหมายเลข IP หรือบางทีก็เรียกว่า \"แอดเดรส IP\" (IP ในที่นี้ก็คือ Internet Protocol ตัวเดียวกับใน TCP/IP นั่นเอง) ซึ่งถูกจัดเป็นตัวเลขชุดหนึ่งขนาด 32 บิต ใน 1 ชุดนี้จะมีตัวเลขถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ส่วนละ 8 บิตเท่าๆ กัน เวลาเขียนก็แปลงให้เป็นเลขฐานสิบ ก่อนเพื่อความง่ายแล้วเขียนโดยคั่นแต่ละส่วนด้วยจุด ดังนั้นในตัวเลขแต่ละส่วนนี้จึงมีค่าได้ตั้งแต่ 0 จนถึง 28 -1 = 255 เท่านั้น เช่น 192.10.1.101 เป็นต้น ตัวเลข IP Address ชุดนี้จะเป็นสิ่งที่สำคัญคล้ายเบอร์โทรศัพท์ที่เรามีใช้อยู่และไม่ซ้ำกัน เพราะสามารถกำหนดเป็นตัวเลขได้รวมทั้งสิ้นกว่า 4 พันล้านเลขหมาย แต่การกำหนด ใ ห้คอมพิวเตอร์มีเลขหมาย IP Address นี้ไม่ได้เริ่มต้นจากหมายเลข 1 และนับขึ้นไปเรื่อยๆ หากแต่จะมีการจัด แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนแรกเป็นหมายเลขของเครือข่าย (Network Number) ส่วนที่สองเรียกว่าหมายเลขของ คอมพิวเตอร์ที่อยู่ในเครือข่ายนั้น (Host Number) เพราะในเครือข่ายใดๆ อาจจะมีเครื่องคอมพิวเตอร์เชื่อมต่ออยู่ ได้มากมาย ในเครือข่ายที่อยู่คนละระบบ อาจมีหมายเลข Host ซ้ำกันก็ได้ แต่เมื่อรวมกับหมายเลข Network แล้ว จะได้เป็น IP Address ที่ไม่ซ้ำกันเลย ในการจัดตั้งหรือกำหนดหมายเลข IP Address นี้ก็มีวิธีการกำหนดที่ชัดเจน และมีกฎเกณฑ์ที่รัดกุม ผู้ใช้ที่อยากจัดตั้งโฮสต์คอมพิวเตอร์ เพื่อเชื่อมต่อเข้าอินเตอร์เน็ต และให้บริการต่างๆ สามารถขอหมายเลข IP Address ได้ที่หน่วยงาน Internet Network Information Center (InterNIC) ขององค์กร Network Solution Incorporated (NSI) ที่รัฐเวอร์จิเนีย สหรัฐอเมริกา แต่ถ้าผู้ใช้สมัครเข้าเป็นสมาชิกขอ ใช้บริการอินเตอร์เน็ตจากบริษัทผู้ให้บริการ (Internet Service Provider) เรียกย่อๆ ว่าหน่วยงาน ISPรายใดก็แล้วแต่ ก็ไม่ต้องติดต่อขอ IP Address เนื่องจากหน่วยงาน ISP เหล่านั้นจะกำหนดหมายเลข IP ให้ใช้ หรือส่งค่า IP ชั่วคราวให้ใช้งาน
      ใครเป็นเจ้าของ อินเตอร์เน็ต
           ในปัจจุบันหน่วยงานที่ทำหน้าที่กำกับควบคุมดูแลทิศทางของอินเทอเน็ตโดยรวมคือ \"สมาคมอินเทอเน็ต\" (Internet Society) ซึ่งสมาชิกประกอบด้วยทั้งผู้ใช้และผู้ให้บริการทั่วไป รวมกันเป็นกลุ่มย่อยๆภายใน สมาคมอีกทีหนึ่ง ในบรรดากลุ่มย่อยเหล่านี้ หลุ่มย่อยอันหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญคือ Internet Architecture Board หรือ IAB ซึ่งตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ 2526 เพื่อสนับสนุนงานวิจัยต่างๆเกี่ยวกับอินเทอเน็ตและในปัจจุบันเป็นผู้วาง มาตรฐานการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่าย ทำหน้าที่ค้นคว้า วิจัยสิ่งใหม่ เพื่อรองรับอินเทอเน็ตในอนาคต
      บริการต่างๆ ในอินเตอร์เน็ต
           ตามที่ได้อธิบายไปแล้วว่าเครือข่ายอินเตอร์เน็ต คือเครือข่ายของเครือข่ายที่มีการเชื่อมโยงกันไปทั่วโลกในแต่ละ เครือข่ายก็จะมีเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ทำหน้าที่เป็นผู้ให้บริการ ซึ่งอาจเรียกว่าเป็น เซิร์ฟเวอร์ (Server) หรือ โฮสต ์ (Host) เชื่อมต่ออยู่เป็นจำนวนมาก ระบบคอมพิวเตอร์เหล่านี้จะให้บริการต่างๆ แล้วแต่ลักษณะและจุดประสงค์ท ี่เจ้าของเครือข่ายนั้นหรือเจ้าของระบบคอมพิวเตอร์นั้นตั้งขึ้น ในอดีตมักมีเฉพาะบริการเรื่องข้อมูลข่าวสารและ โปรแกรม ที่ใช้ในแวดวงการศึกษาวิจัยเป็นหลัก แต่ในปัจจุบันก็ได้ขยายเข้าสู่เรื่องของการค้าและธุรกิจแทบ จะทุกด้าน บริการต่างๆ บนอินเตอร์เน็ตอาจแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้
      บริการด้านการสื่อสาร
      เป็นบริการที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถติดต่อรับส่งข้อมูลแลกเปลี่ยนกันได้ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งรวด เร็วกว่าการติดต่อแบบธรรมดาและมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างถูกกว่ามาก
      1. ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail)
      ผู้ใช้บริการสามารถติดต่อรับ-ส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์หรือ E-mail กับผู้ใช้อินเตอร์เน็ตทั่วโลกกว่า 20 ล้านคน ได้ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมอีก และบริการไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์นี้ก็รวดเร็วทันใจและสะดวกมาก โดย E-mail จะมีหลักการทำงานดังนี้
      • POP3 (Post Office Protocol) ซึ่งในปัจจุบันเป็น protocol มาตรฐานที่ใช้สำหรับรับ-ส่ง จดหมายอิเล็กทรอนิก ในปัจจุบันนี้
      • SMTP (Simple Mail Transfer Protocol)
      • IMAP (Internet Message Access Protocol)
      • MIME (Multipurpose Internet Mail Extension)
      2. สนทนาแบบออนลายน์ (Chat)
      ผู้ใช้บริการสามารถคุยโต้ตอบกับผู้ใช้คนอื่นๆ ในอินเตอร์เน็ตได้ในเวลาเดียวกัน (โดยการพิมพ์เข้าไปทางคีย์บอร์ด) เสมือนกับการคุยกันแต่ผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ของทั้งสองที่ ซึ่งก็สนุกและรวดเร็วดี บริการสนทนาแบบออนลายน ์นี้เรียกว่า Talk เนื่องจากใช้โปรแกรมที่ชื่อว่า Talk ติดต่อกัน หรือจะคุยกันเป็นกลุ่มหลายๆ คนในลักษณะของการ Chat (ชื่อเต็มๆ ว่า Internet Relay Chat หรือ IRC ก็ได้) ซึ่งในปัจจุบันก็ได้พัฒนาไปถึงขั้นที่สามารถใช้ภาพสามมิติ ภาพเคลื่อนไหวหรือการ์ตูนต่างๆ แทนตัวคนที่สนทนากันได้แล้ว และยังสามารถคุยกันด้วยเสียงในแบบเดียวกับ โทรศัพท์ ตลอดจนแลกเปลี่ยนข้อมูลบนจอภาพหรือในเครื่องของผู้สนทนาแต่ละฝ่ายได้อีกด้วยโดย การทำงาน แบบนี้ก็จะอาศัย Protocol ช่วยในการติดต่ออีก Protocol นึงซึ่งมีชื่อว่า IRC(Internet Relay Chat) ซึ่งก็เป็น protocol อีกชนิดหนึ่งบนเครือข่ายอินเทอเน็ตที่สามารถทำให้ User หลายคนเข้ามาคุยพร้อมกันได้ผ่านตัวหนังสือแบบ Real time โดยจะมีหลักการคือ
      • มีเครื่อง Server ซึ่งจะเรียกว่าเป็น IRC server ก็ได้ซึ่ง server นี้ก็จะหมายถึงฮาร์ดแวร์+ซอฟแวร์โดยที่ฮาร์ดแวร ์คือคอมพิวเตอร์ที่จำเป็นจะต้องมีทรัพยากรระบบค่อนข้างสูงและจะต้องมีมากกว่า 1 เครื่องเพื่อลองรับ User หลายคน
      • เครื่องของเราจะทำหน้ามี่เป็นเครื่อง Client ซึ่งก็คือคอมพิวเตอร์ที่ เชื่อมต่อเข้ากับอินเทอเน็ตได้แบบธรรมดาโดย ที่ไม่ต้องารทรัพยากรมากนัก และก็ต้องมีโปรแกรมสำหรับเชื่อมต่อเข้า Irc server ได้
      บริการด้านข้อมูลต่างๆ
      ผู้ใช้บริการสามารถค้นหาข้อมูลต่างๆ ที่ต้องการ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องหรือหัวข้อใดๆ ได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจาก ในอินเตอร์เน็ตมีเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ผู้เชี่ยวชาญในแขนงต่างๆ หรือผู้ที่เป็นเจ้าของขอมูลนั้นๆเก็บข้อมูลเพื่อ เผยแพร่เอาไว้มากมาย ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการศึกษาค้นคว้าและเตรียมข้อมูลลงได้มาก และเปรียบเสมือน มีห้องสมุดขนาดยักษ์ให้ใช้งานได้ทันที
      1. FTP (File Transfer Protocol)
      FTP ย่อมาจาก File Transfer Protocol เป็นคำสั่งที่ใช้ในการคัดลอกไฟล์ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ คำสั่งนี้ม ีใช้งานอยู่ในเครือข่ายของ TCP/IP ทั่วไป และเมื่อมีการให้บริการในลักษณะของเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเกิดขึ้น การให้บริการ FTP จึงกลายมาเป็นบริการหนึ่งของอินเตอร์เน็ตไปด้วย โดยผู้ให้บริการจะจัดเตรียมเครื่อง คอมพิวเตอร์ที่จะให้บริการ FTP หรือเรียกว่า FTP Server ซึ่งบรรจุไฟล์ข้อมูลต่างๆ ไว้ ผู้ใช้ที่อยู่ทั่วทุกมุมโลก จะสามารถใช้คำสั่ง FTP ผ่านอินเตอร์เน็ตเข้ามายังเซิฟเวอร์เหล่านี้เพื่อทำการโอนหรือคัดลอกไฟล์ข้อมูลเหล่าน ี้ไป (เหตุที่ใช้คำว่า \"คัดลอก\" ก็เพราะในทางปฏิบัติจริงๆ แล้วไฟล์ต้นทางก็ยังอยู่อย่างเดิม ในขณะที่ทางเครื่อง ของเราซึ่งเป็นปลายทางจะได้ข้อมูลที่เหมือนกับต้นทางขึ้นมาอีกชุดหนึ่ง แต่การทำงานของ FTP จะต่างจากการ คัดลอกหรือ copy ไฟล์ทั่วๆ ไปบนระบบเครือข่ายก็คือ การทำ FTP จะมีขั้นตอนที่ซับซ้อนและรัดกุมกว่า เหมาะ กับระบบเครือข่ายที่ต่อกันในระยะไกลๆ เช่น ผ่านสายโทรศัพท์หรือระบบโทรคมนาคมอื่นๆ ซึ่งมีโอกาสเกิดความ ผิดพลาดต่างๆ ได้มากกว่าในเครือข่ายที่เป็น LAN) โดยทั่วไปไฟล์ที่เก็บอยู่บน Host ที่เชื่อมกับเครือข่ายอินเตอร์เน็ตจะแบ่งเป็นหลายประเภท ได้แก่ Freeware, Shareware และ Commercialware
      2. World Wide Web (WWW หรือ Web หรือ W3) เครือข่ายใยแมงมุม
      เมื่อสักประมาณ 4 ปีที่ผ่านมา ผู้เชี่ยวชาญกล่าวกันว่า ประมาณการคร่าวๆ ว่ามีผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตอยู่ประมาณ 25 ล้านคน มีเพียง 2 ล้านคนเท่านั้น ที่ใช้เวิร์ล-ไวด์-เวบ ประมาณการอันนี ้ดูจะถูกลบล้างโดยสิ้นเชิง จากการบันทึก จำนวนครั้ง (hit) ที่มีผู้เข้าใช้เวบไซท์ของ Netscape ผู้เป็นเจ้าพ่อของโปรแกรมอ่านเวบเพจ เพราะในช่วงประมาณต้น ปีที่ผ่านไปนี้ มีผู้เข้าใช้มากถึง 35 พันล้านครั้งต่อหนึ่งวัน และจากสถติที่มีผู้รวบรวมไว้ แม่ข่ายบริการเวบเพจ หรือท ี่เรียกว่าเวบไซท์นั้น มีมากถึง 10 ล้านแห่งเข้าไปแล้ว เห็นได้ชัดว่า บริการเวิร์ลไวด์เวบ กำลังเติบโตในอัตราเร่งสูงสุด ถ้าจะให้จัดลำดับ บริการเวิร์ลไวด์เวบ มีผู้ใช้บริการมากรองเป็นอันดับสอง จากบริการอีเมล์เท่านั้นเอง จะไม่ให้มีผู้ใช้งาน และให้บริการมากมายขนาดนี้ได้อย่างไร ก็เพราะ บริการทั้งข้อมูลข่าวสาร ที่แต่เดิม ทำกันบนแม่ข่าย Telnet (ผ่านทางเมนู Gopher) และบริการไฟล์ที่ทำกันบนแม่ข่าย FTP ล้วนแล้วแต่สามารถให้บริการบนเวิร์ลไวด์เวบ ในรูปแบบที่สวยงาม และเข้าใจง่ายกว่ากันมาก แถมบริการเวิร์ลไวด์เวบ ยังพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ จนกระทั่งสามารถ สื่อสารกันด้วยมัลติมิเดีย และแม้แต่วิดิโอเต็มจอภาพได้ในอนาคต และที่สำคัญ เครื่องพีซีที่เชื่อมเข้าระบบเครือข่าย อินเตอร์เน็ต กลายเป็นหน่วยหนึ่ง ของเครือข่ายในทันที ไม่ใช่เครื่องรีโมท ที่ขอเข้าไปใช้งานหน้าจอเครื่องลูก นเครือข่ายยูนิกซ์เหมือนอย่างแต่ก่อน ซึ่งนั่นก็คือ เครื่องพีซีที่ใช้บริการเวิร์ลไวด์เวบนั้น สามารถติดต่อกับเครื่องแม่ข่ายทั่วโลกได้โดยตรง ด้วยศักยภาพเครื่องของตนเอง และด้วยโปรแกรมที่เรียกใช้งาน ตามที่ตนชอบและถนัด ไม่ต้องพึ่งพา อาศัยโปรแกรม ในเครือข่ายยูนิกซ์อีกเลย เวบ (Web) ก่อกำหนดขึ้นครั้งแรก ในปี คศ. 1990 ที่ CERN ณ European Particle Physics Laboratory ในสวิตเซอร์แลนด์ ในปัจจุบัน มีองค์กรอิสระที่ชื่อว่า World Wide Web Consortium (W3C) คอยกำกับดูแลการเติบโตของเวบ Web Consortium ได้บัญญัติมาตรฐานขึ้นชุดหนึ่ง สำหรับการเพิ่มแม่ข่ายให้กับเวบ และเพื่อการสร้างหน้าจอของข่าวสาร ที่ปรากฏแก่สายตา ของผู้เข้าชมเวบ หน้าจอเหล่านี้เรียกว่า หน้าเอกสารหรือเพจ ถูกเขียนขึ้นด้วยภาษาที่มีรูปแบบเฉพาะ คือ HyperText Markup Language (HTML) โปรแกรมอ่านเวบเพจความจริงก็คือ โปรแกรมที่แปลผลรูปแบบของเอกสาร HTML และแปลผลคำสั่งที่บรรจุอยู่ ทั้งโปรแกรมอ่านเวบ และแม่ข่ายสื่อสารกัน ผ่านมาตรฐานอีกตัวหนึ่งคือ HyperText Transfer Protocol (HTTP) ซึ่งprotocol นี้ก็เป็นส่วนหนึ่งของ TCP/IP เช่นกันWeb Consortium ได้ตีพิมพ์คุณลักษณะของ HTML และ HTTP ทำให้ทุกๆ คนบนอินเตอร์เน็ต สามารถสร้างเอกสารเวบได้อย่างสะดวกง่ายดาย การสร้างสิ่งพิมพ์เวบใหม่ที่ง่าย และเป็นแบบเปิดน ี้ ทำให้มีแหล่งข่าวสารเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทุกวันนี้ เอกสารเวบจำนวนมหาศาล และการเชื่อมโยงไปยังเครือ ข่ายมากมาย ถูกสร้างขึ้นจากสังคมอินเตอร์เน็ต ไม่ใช่จากองค์การควบคุม Web แต่อย่างใด
      โทษของอินเตอร์เน็ต
      1.โรคติดอินเทอเน็ต(Webaholic)
      อินเตอร์เน็ตก็เป็นสิ่งเสพติดหรือ?
      หากการเล่นอินเตอร์เน็ต ทำให้คุณเสียงาน หรือแม้แต่ทำลาย นักจิตวิทยาชื่อ Kimberly S. Young ได้ศึกษาพฤติกรรม ของผู้ใช้อินเตอร์เน็ตอย่างมากเป็นจำนวน 496 คน โดยเปรียบเทียบ กับบรรทัดฐาน ซึ่งใช้ในการจัดว่า ผู้ใดเป็นผู้ที่ติดการพนัน การติดการพนันประเภทที่ถอนตัวไม่ขึ้น มีลักษณะคล้ายคลึงกับ การติดอินเตอร์เน็ต เพราะทั้งสองอย่าง เกี่ยวข้องกับการล้มเหลว ในการควบคุมความต้องการของตนเอง โดยไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสารเคมีใดๆ (อย่างสุรา หรือยาเสพติด) คำว่า อินเตอร์เน็ต ในการศึกษาวิจัยเรื่องนี้ หมายรวมถึง ตัวอินเตอร์เน็ตเอง ระบบออนไลน์ (อย่างเช่น AmericaOn-line, Compuserve, Prodigy) หรือระบบ BBS (Bulletin Board Systems) และการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ได้ระบุว่า ผู้ที่มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ อย่างน้อย 4 อย่าง เป็นเวลานานอย่างน้อย 1 ปีถือได้ว่า มีอาการติดอินเตอร์เน็ต
      • รู้สึกหมกมุ่นกับอินเตอร์เน็ต แม้ในเวลาที่ไม่ได้ต่อกับอินเตอร์เน็ต
      • มีความต้องการใช้อินเตอร์เน็ตเป็นเวลานานขึ้น
      • ไม่สามารถควบคุมการใช้อินเตอร์เน็ตได้
      • รู้สึกหงุดหงิดเมื่อต้องใช้อินเตอร์เน็ตน้อยลงหรือหยุดใช้
      • ใช้อินเตอร์เน็ตเป็นวิธีในการหลีกเลี่ยงปัญหาหรือคิดว่าการใชอินเตอร์เน็ตทำให้ตนเองรู้สึกดีขึ้น
      • หลอกคนในครอบครัวหรือเพื่อน เรื่องการใช้อินเตอร์เน็ตของตัวเอง
      • การใช้อินเตอร์เน็ตทำให้เกิดการเสี่ยงต่อการสูญเสียงาน การเรียน และความสัมพันธ ์ ยังใช้อินเตอร์เน็ตถึงแม้ว่าต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก
      • มีอาการผิดปกติ อย่างเช่น หดหู่ กระวนกระวายเมื่อเลิกใช้อินเตอร์เน็ต
      • ใช้เวลาในการใช้อินเตอร์เน็ตนานกว่าที่ตัวเองได้ตั้งใจไว้
      สำหรับผู้ใช้อินเตอร์เน็ต ที่ไม่เข้าข่ายข้างต้นเกิน 3 ข้อในช่วงเวลา 1 ปี ถือว่ายังเป็นปกติ จากการศึกษาวิจัย ผู้ที่ใช้อินเตอร์เน็ตอย่างหนัก 496 คน มี 396 คนซึ่งประกอบไปด้วย เพศชาย 157 คน และเพศหญิง 239 คน เป็นผู้ที่เรียกได้ว่า \"ติดอินเตอร์เน็ต\" ในขณะที่อีก 100 คนยังนับเป็นปกติ ประกอบด้วยเพศชาย และเพศหญิง 46 และ 54 คนตามลำดับ สำหรับผู้ที่จัดว่า \"ติดอินเตอร์เน็ต\" นั้นได้แสดงลักษณะอาการของการติด (คล้ายกับการติดการพนัน) และการใช้อินเตอร์เน็ต อย่างหนักเหมือนกับ การเล่นการพนัน ความผิดปกติในการกินอาหาร หรือสุราเรื้อรัง มีผล กระทบต่อการเรียน อาชีพ สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของคนคนนั้น ถึงแม้ว่าการวิจัยที่ผ่านมาได้แสดงให้เห็นว่า การติดเทคโนโลยีอย่างเช่น การติดเล่นเกมส์ ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นกับเพศชายแต่ผลลัพธ์ข้างต้น แสดงให้เห็นว่า ผู้ที่ติดอินเตอร์เน็ต ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง วัยกลางคนและไม่มีงานทำ
      2.เรื่องอณาจารผิดศีลธรรม(Pornography/Indecent Content)
      เรื่องของข้อมูลต่างๆที่มีเนื้อหาไปในทางขัดต่อศีลธรรม ลามกอนาจาร หรือรวมถึงภาพโป๊เปลือยต่างๆนั้นเป็น เรื่องที่มีมานานพอสมควรแล้วบนโลกอินเทอเน็ต แต่ไม่โจ่งแจ้งเนื่องจากสมัยก่อนเป็นยุคที่ WWW ยังไม่พัฒนา มากนักทำให้ไม่มีภาพออกมา แต่ในปัจจุบันภายเหล่านี้เป็นที่โจ่งแจ้งบนอินเทอเน็ตและสิ่งเหล่านี้สามารถเข้าสู่เด็ก และเยาวชนได้ง่ายโดยผู้ปกครองไม่สามารถที่จะให้ความดูแลได้เต็มที่ เพราะว่าอินเทอเน็ตนั้นเป็นโลกที่ไร้พรมแดนและเปิดกว้างทำให้สือ่เหล่านี้สามรถเผยแพร่ไปได้รวดเร็วจนเรา ไม่สามารถจับกุมหรือเอาผิดผู้ที่ทำสิ่งเหล่านี้ขึ้นมาได้
      3.ไวรัส ม้าโทรจัน หนอนอินเตอร์เน็ต และระเบิดเวลา
      ไวรัส : เป็นโปรแกรมอิสระ ซึ่งจะสืบพันธุ์โดยการจำลองตัวเองให้มากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อที่จะทำลายข้อมูล หรืออาจทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานช้าลงโดยการแอบใช้สอยหน่วยความจำหรือพื้นที่ว่างบนดิสก์โดยพลการ
      ม้าโทรจัน : ม้าโทรจันเป็นตำนานนักรบที่ซ่อนตัวอยู่ในม้าไม้ แล้วแอบเข้าไปในเมืองจนกระทั่งยึดเมืองได้สำเร็จ โปรแกรมนี้ก็ทำงานคล้ายๆกัน คือโปรแกรมนี้จะทำหน้าที่ไม่พึงประสงค์ มันจะซ่อนตัวอยู่ในโปรแกรมที่ไม่ได้รับอนุญาต มันมักจะทำในสิ่งที่เราไม่ต้องการ และสิ่งที่มันทำนั้น ไม่มีความจำเป็นต่อเราด้วย
      หนอนอินเตอร์เน็ต : ถูกสร้างขึ้นโดย Robert Morris, Jr. จนดังกระฉ่อนไปทั่วโลก มันคือโปรแกรมที่จะสืบพันธุ์โดยการจำลองตัวเองมากขึ้นเรื่อยๆ จากระบบหนึ่ง ครอบครองทรัพยากรและทำให้ระบบช้าลง
      ระเบิดเวลา : คือรหัสซึ่งจะทำหน้าที่เป็นตัวกระตุ้นรูปแบบเฉพาะของการโจมตีนั้นๆ ทำงานเมื่อสภาพการโจมตีนั้นๆมาถึง ยกตัวอย่างเช่น ระเบิดเวลาจะทำลายไฟล์ทั้งหมดในวันที่ 31 กรกฎาคม 2542
      Internet
           จุดเริ่มต้นของ Internet นั้นมาจากปี พ.ศ. 2500 หน่วยงาน ARPA (Advanced Research Projects Agency) ของกระทรวงกลาโหม สหรัฐอเมริกามีความคิดที่จะหาทางป้องกันระบบเครือข่ายข้อมูล ที่อาจจะถูกโจมตีจากสหภาพโซเวียตโดยหากถูกโจมตี หรือได้รับความเสียหายระบบเครือข่ายข้อมูล จะต้องสามารถทำงานได้อย่างปกติ
           จากแนวความคิดนี้ทำให้ต้องกระจายศูนย์ข้อมูลของระบบเครือข่ายให้มีอยู่หลายๆ ที่ และจำเป็นต้องออกแบบเครือข่ายใหม่ทั้งหมดให้พร้อมที่จะรับความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในแต่ละจุดโดยที่เหลือจะยังคงสามารถทำงานเป็นศูนย์ข้อมูลได้ปกติ จากการดำเนินการดังกล่าวจึงเป็นพื้นฐานในการพัฒนาโครงข่ายที่เรียกว่า Internet
      World Wide Web
      เมื่อ Internet ถูกนำมาใช้และพัฒนาขึ้นเป็นลำดับ ในปี พ.ศ. 2532 นายทิม เบอร์เนอร์สลี (Tim Berners-Lee) เสนอแนวความคิดที่จะนำเอา Internet มาใช้เป็นเครื่องมือในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างนักวิชาการจากทุกที่ทั่วโลก จากแนวความคิดนี้ทำให้มีการพัฒนา Internet จนเกิดสิ่งที่เรียกว่า World Wide Web (WWW) ที่หมายถึงโลกเครือข่ายข้อมูล ที่มีลักษณะคล้ายใยแมงมุม ซึ่งมีจุดเชื่อมต่อได้ไม่จำกัด และทำให้เกิดแหล่งข้อมูลเป็นจำนวนไม่จำกัดด้วย

      ใน WWW จะมีการใช้ Protocol HTTP, ภาษา HTML, URL และ CGI โดยมีหน้าที่ที่ควรรู้ดังนี้
      •  HTTP (Hypertext Transfer Protocol) : เป็น Protocol สำคัญที่ใช้สำหรับรับส่งไฟล์เอกสาร (Document File)
      •  HTML (Hypertext Markup Language) : เป็นภาษาคอมพิวเตอร์มาตรฐานที่ถูกพัฒนาและใช้กันทั่วโลกสำหรับสร้าง Home Page
      •  URL (Uniform Resource Locator) : เป็นเลขทะเบียนที่ใช้อ้างอิงตำแหน่งของ Internet Server หรือ Home Page โดยแต่ละ Internet Server แต่ละ Web Page จะมี URL ที่ต่างกัน
      •  CGI (Common Gateway Interface) เป็น Software อยู่ใน Internet Server ซึ่ง Software เหล่านี้มีหน้าที่เช่น ตอบสนองผู้ใช้ (User) , ทำการนับจำนวนผู้เยี่ยมชม , ส่งข้อความสู่ Pager เป็นต้น
      Hypertext , Hypermedia
      Hypertext คือไฟล์เอกสารแบบหนึ่งใน Internet ซึ่งอาจเรียกไฟล์เอกสารนี้ว่า Hypertext Document โดยจะมีลักษณะที่แตกต่างจากไฟล์เอกสารอื่นๆ คือ เป็นไฟล์ที่ได้จากการนำ Text file มาใส่คำสั่งที่เรียกว่าแท็ก (Tag) ลงไป ทำให้ Text file เหล่านี้สามารถนำไปแสดงผลเป็น Web Page ใน Web Browser ได้ นอกจากนี้ยังสามารถใส่คำสั่งที่เกี่ยวกับรูปภาพ (Image) หรือใส่คำสั่งที่ใช้เชื่อมโยงกับ Hypertext Document อื่นๆ ได้โดยอาศัยการอ้างอิงตำแหน่งจาก URL

      Hypermedia คือไฟล์เอกสาร Hypertext (Hypertext Document) ที่ได้รวมเอาเสียง ภาพ ภาพเคลื่อนไหว วีดีโอ การรันโปรแกรม เอาไว้ด้วยกัน ซึ่งโฮมเพจส่วนใหญ่ในปัจจุบันนี้จะเป็นแบบ Hypermedia Document
      HTML
           HTML (Hypertext Markup Language) เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการทำให้ Text File เป็น Hypertext Document หรือ Hypermedia Document และสามารถนำไปแสดงผลเป็น Web Page ใน Web Browser ได้ ทั้งนี้ในภาษา HTML จะมีคำสั่งที่เรียกว่า แท็ก (Tag) เพื่อใช้ในการเตรียมข้อความ, ภาพ, เสียง ฯลฯ ที่จะไปปรากฎใน Web Browser โดย ข้อความ, ภาพ, เสียง ฯลฯ จะมีหน้าตาอย่างไรนั้น จะขึ้นกับการประมวลผลของ Web Browser ซึ่งอาจแตกต่างกันบ้างในแต่ละ Web Browser
           รูปแบบของการเขียนคำสั่ง HTML (Tag) มีลักษณะ < Tag Name > ...ข้อความหรือรูปภาพ... เช่น หากเขียนแท็กดังนี้ สวัสดี จะเป็นการแสดงข้อความตัวเข้มว่า \"สวัสดี\"
           ภาษา HTML ได้ถูกนำมาใช้ในการสร้าง Web Page ซึ่งมีการพัฒนาโดยกำหนดเป็นมาตรฐานตั้งแต่ version 1.0 ประมาณ 10 ปีที่แล้ว และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ในระหว่างที่พัฒนามาตรฐานของ HTML มีบริษัทต่างๆ ทำการสร้างแท็กของตัวเองเพิ่มเติมขึ้นมา เช่น บริษัท Netscape ก็เพิ่มเติมชุดของคำสั่ง HTML ที่เรียกว่า Netscape Extension และ Microsoft ก็เพิ่มเติมชุดคำสั่งสำหรับ Internet Explorer ขึ้นเช่นกัน จากการพัฒนาของแต่ละบริษัทนี้เองทำให้เมื่อเขียนแท็กแล้วอาจจะไม่สามารถทำงานได้กับทุก Web Browser แต่อย่างไรก็ตามในปัจจุบันนี้มาตรฐาน HTML ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาถึง Version 4.0 แล้ว ทำให้แท็กซึ่งเป็นคำสั่ง HTML มาตรฐานมีเพิ่มขึ้นและใช้งานได้สะดวกเป็นอย่างมาก
      URL
           ในการทำ Link เพื่อเชื่อมโยง Web Page เข้าด้วยกันนั้นจะต้องใช้ URL (Uniform Resource Locator) เป็นเลขทะเบียนอ้างอิงตำแหน่ง (address) โดยในแต่ละ Web Page จะต้องมี URL เพื่อใช้อ้างอิงตำแหน่งที่เป็นของตนเองและไม่ซ้ำกัน
      URL มีลักษณะเช่น
      http://www.domain_name.com/path/index.html
      o    \"http\" : เป็นส่วนที่ใช้ระบุประเภท Protocol ซึ่งในที่นี้กำหนด Protocol คือ HTTP และนอกจาก protocol http สำหรับ www แล้วยังมี ftp , gophers , wais , telnet , news เป็นต้น
      o    www.domain_name : ในส่วนนี้แท้จริงเป็นตัวเลข 4 ชุดที่ใช้ระบุตำแหน่งของ Internet Server และเรียกชุดของตัวเลขนี้ว่า IP Address เช่น 163.12.135.7 แต่ทั้งนี้ในการเขียน URL ปกติจะไม่เขียนเลขชุดเหล่านี้เนื่องจากจำยากจึงมีการนำเอาข้อความมาแทน เช่น www.myweb.com แต่ในการใช้งานจริงคุณสามารถใช้งานได้ทั้ง IP Address ที่เป็นตัวเลข หรือใช้ข้อความแทน
      o    path : เป็นเส้นทางของสิ่งที่คุณต้องการเช่นเส้นทางที่อยู่ของ Web Page ใน Internet Server
      o    index.html : เป็นส่วนของสิ่งที่คุณต้องการเช่นต้องการเข้าหน้าแรกของ home page ก็ระบุเป็น index.html ทั้งนี้ใน web ส่วนใหญ่จะใช้ index.html เป็นหน้าแรกและทำให้ในบางครั้งไม่จำเป็นต้องใส่คำว่า index.html ลงใน URL
      เกี่ยวกับ domain name ที่ใช้เป็นข้อความนั้นได้มีการวางแบบแผนของข้อความ คือจะมี ชื่อ site ,องค์กร , ประเทศ เช่น myweb.com.th จะเป็นการบอกว่า Home Page นี้ชื่อ \"myweb\" เป็นองค์กรประเภท com (commmercial - การค้า) และเป็นของประเทศ th (thailand)
      สำหรับประเภทขององค์กรใน URL ที่ได้จัดไว้เช่น
          edu : education สำหรับองค์กรการศึกษา
          gov : government สำหรับหน่วยงานของรัฐ
          mil : military สำหรับองค์กรทางทหาร
          net : network สำหรับระบบเครือข่ายที่เชื่อมต่อเข้า internet
          com : commercial สำหรับบริษัท หรือองค์กรทางการค้า
          org : non-profit organization สำหรับองค์กรที่ไม่หาผลประโยชน์ หรือองค์กรการกุศล
      Web Site , Home Page และ Web Page

           ในเครือข่ายของ Internet จะมีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์ข้อมูลข่าวสารที่เรียกว่า Internet Server หรือเรียกว่า Host ซึ่งมีจำนวนอยู่มากมายกระจายอยู่ทั่วโลก และ Internet Server นี้จะมีพื้นที่เก็บข้อมูลต่างๆ มากมายรวมทั้งเก็บ Hypertext Document ที่เป็น Web Page ซึ่งมักจะมีการเชื่อมโยงเป็นกลุ่มๆ โดยหน้าแรกของ Web Page ที่ผู้ใช้ (User) สามารถเข้าถึงได้จะเรียก Web Page นั้นว่า Home Page แต่ทั้งนี้ในบางครั้งคำว่า Home Page ในบางครั้งอาจหมายกลุ่มของ Web Page ทั้งกลุ่มก็ได้
           เนื่องจาก Internet Server เป็นที่เก็บของ Web Page ดังนั้นจึงอาจเรียก Internet Server นี้ว่า Web Site โดยในแต่ละ Inernet Server สามารถมีได้หลาย Web Site
      บริการจดหมายอิเล็คทรอนิคส์ (Electronic Mail หรือ E-mail)
               เนื่องจากในระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตนั้นคอมพิวเตอร์ทั้งหลายได้ถูกเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน ทำให้การส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ด้วยกันสามารถที่จะกระทำได้โดยไม่ขึ้นอยู่กับระยะทางว่า จะใกล้หรือไกลเพียงใด ดังนั้นบริการ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์จึงเป็นบริการที่ได้รับความนิยมแพร่หลายเป็นอย่างมาก เนื่องจากผู้ใช้งานสามารถรับส่งข้อความเพื่อติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร กับบุคคลอื่นๆ ที่ใช้บริการนี้บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้ ไม่ว่าผู้นั้นจะอยู่ห่างไกลเพียงใดและมีความสะดวกรวดเร็วกว่าการใช้บริการระบบไปรษณีย์ตามปกติ นอกจากนั้นยังสามารถส่งข้อมูลในรูป แบบอื่นๆ นอกเหนือจากตัวอักษร เช่น ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง แนบไปพร้อมกับจดหมายได้อีกด้วย
           ในการส่งอีเมล์ก็ต้องมีการจ่าหน้าถึงผู้รับเช่นเดียวกับการส่งจดหมายธรรมดาทั่วไป ผู้ส่งและผู้รับจะต้องมีที่อยู่ซึ่งเรียกว่า อีเมล์แอดเดรส (E-mail Address) สำหรับรูปแบบของอีเมล์ แอดเดรสจะประกอบด้วย 2 ส่วนคือ ชื่อผู้ใช้ และชื่อเครื่องบริการ และใช้เครื่องหมาย @ (ออกเสียงว่า \"แอ็ท\") คั่นระหว่างทั้งสองส่วนนี้ ตัวอย่างเช่น pranee@nectec.or.th ซึ่งมีชื่อผู้ใช้ คือ pranee และชื่อเครื่องบริการ คือ nectec.or.th



      รูปที่ 5 ตัวอย่างโปรแกรมที่ใช้ในการส่งจดหมายซึ่งแสดงส่วนประกอบหลักของอีเมล์
      โครงสร้างจดหมายของอีเมล์โดยทั่วไปแบ่งเป็น 3 ส่วน ดังนี้
           1. ส่วนหัวจดหมาย เป็นส่วนที่ใช้ในการระบุอีเมล์แอดเดรสของผู้รับจดหมาย หัวข้อเรื่องของจดหมาย แฟ้ม ข้อมูลที่แนบกับจดหมาย โดยมีรายละเอียดดังนี้
               To : คือ อีเมล์แอดเดรสของผู้รับ ถ้ามีผู้รับหลายคนให้คั่นอีเมล์แอดเดรสแต่ละชื่อด้วย เครื่องหมายจุลภาค (,)
               CC : (ย่อมาจาก Carbon Copy) คือ อีเมล์แอดเดรสของผู้รับคนอื่นๆ ที่ต้องการให้รับจดหมายนี้ด้วย แต่เน้นน้ำหนักของจดหมายให้เพียงแต่ผู้รับเหล่านี้รับทราบเท่านั้น ถ้ามีผู้รับประเภท                  นี้หลายคนให้คั่นอีเมล์แอดเดรสแต่ละชื่อด้วยเครื่องหมายจุลภาค
               BCC : (ย่อมาจาก Blind Carbon Copy) คือ อีเมล์แอดเดรสของผู้รับ ซึ่งผู้ส่งมีความประสงค์ที่จะไม่ให้ปรากฏอีเมล์ของผู้รับเหล่านี้ให้ผู้รับคนอื่นๆ เห็นว่าได้มีการมีส่งจดหมายฉบับนี้                  ให้แก่ผู้รับเหล่านี้ด้วย ถ้าหากมีอีเมล์แอดเดรสประเภทนี้มากกว่าหนึ่งก็ให้คั่นอีเมล์แอดเดรสแต่ละชื่อด้วยเครื่องหมายจุลภาคเช่นกัน
               Subject : คือ หัวข้อเรื่องของจดหมายซึ่งจะบอกให้ผู้รับทราบถึงประเด็นสำคัญที่อยู่ในเนื้อความของจดหมาย
               Attach : คือ แฟ้มข้อมูลที่ต้องการแนบส่งไปพร้อมกับจดหมาย ซึ่งอาจจะมีหลายแฟ้มข้อมูลก็ได้
           2. ส่วนเนื้อความ เป็นส่วนข้อความในจดหมาย
           3. ส่วนท้ายจดหมาย เป็นส่วนปิดท้ายเนื้อความในจดหมาย ซึ่งอาจเป็นชื่อของผู้ส่งพร้อมกับที่อยู่ตำแหน่ง หรือสถานที่ทำงาน ซึ่งในส่วนนี้อาจเรียกว่าเป็น ลายเซ็น (Signature)

            โปรแกรมที่ใช้ในการรับส่งจดหมายบางโปรแกรมอาจจะให้ผู้ใช้กำหนด Signature เอาไว้ก่อน และเมื่อมีการส่งอีเมล์ทุกครั้งโปรแกรมก็จะต่อท้ายข้อความในส่วน เนื้อความจดหมายด้วย Singature ที่กำหนดไว้ให้โดยอัตโนมัติ สำหรับส่วนท้ายจดหมายนี้อาจจะมีหรือไม่มีก็ได้โปรแกรมที่ใช้งานในการรับส่งอีเมล์ที่มีผู้นิยมใช้งานมีอยู่หลายโปรแกรม มีทั้งที่เป็นแบบตัวอักษร (Text mode) หรือแบบที่เป็นกราฟิกส์ (Graphic mode) โดยทั่วไปในเครื่องที่ใช้ระบบปฎิบัติการยูนิกซ์ ผู้ใช้สามารถใช้โปรแกรม mail หรือ mailx เพื่ออ่านและส่งอีเมล์ได้ และอีกโปรแกรมที่ได้รับ ความนิยมอย่างสูง คือ โปรแกรม pine ซึ่งโปรแกรมที่กล่าวมาทั้งสองนี้จะทำงานในแบบตัวอักษร ส่วนโปรแกรมที่เป็นแบบกราฟิกส์ซึ่งทำงานอยู่บนระบบปฏิบัติการแบบกราฟิกส์อย่างเช่น ไมโครซอฟต์วินโดว์ ก็มีอยู่หลายโปรแกรม ตัวอย่างเช่น โปรแกรม Microsoft Outlook โปรแกรม Eudora โปรแกรม Netscape Mail เป็นต้น

            ปัจจุบันมีหน่วยงานบางแห่งได้มีการพัฒนารูปแบบการให้บริการรับส่งอีเมล์ขึ้นใหม่เพื่อให้รองรับการใช้งานผ่านเครือข่าย WWW ได้อีกด้วย โดยผู้ใช้สามารถที่จะสมัครลงทะเบียนที่เวบไซต์ ของหน่วยงานที่เปิดให้บริการได้ จากนั้นก็จะได้รับอีเมล์แอดเดรสและรหัสผ่านเพื่อขอเข้าใช้บริการผ่านเวบไซต์ดังกล่าว บริการการรับส่งอีเมล์ผ่านเว็บในลักษณะนี้เรียกว่า เวบเมล์ (Web Mail) สำหรับเวบเมล์สำหรับของต่างประเทศที่ได้รับความนิยมในปัจจุบันมีอยู่หลายแห่ง เช่น http://www.hotmail.com, http://www.yahoomail.com เป็นต้น ส่วนเวบเมล์ของไทยที่ให้ บริการฟรีหลายแห่งก็จะมีคำอธิบายและคำสั่งต่างๆ เป็นภาษาไทยเพื่อความสะดวกแก่ผู้ใช้ที่เป็นคนไทย อย่างเช่น http://www.chaiyomail.com, http://www.thaimail.com เป็นต้น

      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×