ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    พัฒนาการด้านการเมืองและการปกครองของไทย

    ลำดับตอนที่ #4 : การเมืองการปกครองของไทยสมัยรัตนโกสินทร์ ก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 12.01K
      11
      5 พ.ย. 52

    การเมืองการปกครองของไทยสมัยรัตนโกสินทร์ ก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง

    การปรับปรุงการปกครองในสมัยรัชกาลที่
    4

    ประเทศไทยในรัชกาลที่ 4 ต้องประสบปัญหาเผชิญหน้ากับการขยายอิทธิพลของชาติมหาอำนาจจักรวรรดินิยมตะวันตก อันได้แก่อังกฤษและฝรั่งเศส เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงริเริ่มการปรับปรุงการปกครอง ประกอบกับพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก่อนเสด็จขึ้นครองราชย์ได้ทรงผนวชอยู่หลายปี ระหว่างที่ทรงผนวชอยู่นั้นพระองค์ได้เดินธุดงค์ไปทั่วราชอาณาจักร ทำให้ทรงทราบสภาพทั่วไปของอาณาจักรและพสกนิกรของพระองค์นอกจากนั้นยังทรงศึกษาภาษาอังกฤษจากพวกมิชชันนารีที่เข้ามาสอนคริสต์ศาสนา ทำให้พระองค์ทรงอ่านและตรัสภาอังกฤษได้อย่างงดี จึงทรงรอบรู่กิจการนอกประเทศ และทรงทราบเหตุการณ์ที่ชาติตะวันตกได้แผ่ขยายอิทธิพลเข้ามาในทวีปเอเชีย

    การปรับปรุงการปกครองในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สามารถพิจารณาได้ 2 ประการ คือ

    1. การปรับปรุงการบริหารราชการแผ่นดิน ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นการพยายามปรับปรุงระบบการบริหารโดยการแทรกระบบใหม่เข้าไปในระบบการบริหารเก่า ได้แก่ การพยายามใช้ระบบคุณธรรมเข้าแทนที่ระบบอุปถัมภ์ในระบบราชการ เช่น ยึดหลักความสามารถของบุคคลในการรับราชการ โดยเฉพาะข้าราชการในกระทรวงยุติธรรม พระองค์ทรงสอบประวัติข้าราชการก่อนการแต่งตั้ง ซึ่งระบบการบริหารแบบใหม่นี้ทรงนำมาใช้ในการแต่งตั้งข้าราชการในเมืองหลวงและส่วนหัวเมือง โดนมีหลักเกณฑ์พิจารณาความรู้ ความสามารถ ประกอบกับชาติกำเนิดและความจงรักภักดีเป็นสำคัญ นอกจากนี้รัชกาลที่ 4 ยังทรงกวดขันความประพฤติของข้าราชการทั้งในด้านการปกครองและความประพฤติส่วนตัว ในประชุมประกาศรัชกาลที่ 4 จึงปรากฏ การลงโทษเจ้านายและข้าราชการเป็นจำนวนมาก ซึ่งนับเป็นการเปลี่ยนแปลงในด้านการบริหารประเทศ

    2. การทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นศูนย์รวมแห่งอำนาจการเมือง เช่น โปรดเกล้าฯ ให้มีการแก้ไขระเบียบประเพณีบางอย่างที่ทรงเห็นว่าล่าสมัย และมีพระราชประสงค์ให้มีลักษณะแบบตะวันตกมากขึ้น เช่น ให้ขุนนางข้าราชการเลือกบุคคลที่เหมาะสมขึ้นดำรงตำแหน่งพระมหาราชครูปุโรหิตและพระมหาราชครูมหิธรซึ่งว่าลง โดยพระองค์เป็นผู้ลงนามโปรดเกล้าฯเท่านั้น พระองค์ทรงดื่มน้ำพระพิพัฒน์สัตยาร่วมกับบรรดาขุนนางและข้าราชการสวมเสื้อ และให้ประชาชนถวายฎีการ้องทุกข์ได้ ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างพระมหากษัตริย์กับประชาชนมีความใกล้ชิดกันมากกว่าแต่ก่อน การปรับปรุงการปกครองในสมัยที่ 4 เป็นความพยายามสร้างสถาบันพระมหากษัตริย์ให้เป็นศูนย์อำนาจของสังคมไทย โดยการลดบทบาทของเจ้านายและขุนนาง และสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันพระมหากษัตริย์กับราษฎรทั่วไป นับเป็นการริเริ่มการรวมอำนาจเข้าสู่สถาบันพระมหากษัตริย์ซึ่งจะสำเร็จในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

     

    การปฏิรูปการปกครองในสมัยรัชกาลที่  5

                    เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชย์ใน พ.ศ. 2411  มีเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์  อำนาจการปกครองส่วนใหญ่อยู่ในมือของขุนนางสกุลบุนนาค  พระองค์จึงทรงพยายามที่จะรวมอำนาจมาที่สถาบันพระมหากษัตริย์  การแต่งตั้งวังหน้าในรัชสมัยของพระองค์ยังแสดงให้เห็นว่าอำนาจอยู่ในมือของขุนนางสกุลบุนนาค  เพราะเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์เรียกประชุมพระราชวงศ์และเสนาบดีแต่งตั้งกรมหมื่นบวรวิชัยชาญ  พระราชโอรสของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวให้ดำรงตำแหน่งวังหน้าโดยไม่คอยรับสนองพระบรมราชโองการตามประเพณี

                    รัชกาลที่ 5  ทรงตระหนักและทรงพยายามดึงอำนาจรวมศูนย์เข้าสู่สถาบันพระมหากษัตริย์  เหตุการณ์วิกฤตการณ์วังหน้าใน พ.ศ. 2417  ได้เกิดการวิวาทขึ้นระหว่างฝ่ายวังหลวงกับฝ่ายวังหน้า  มีความรุนแรงถึงขนาดวังหน้าต้องเสด็จลี้ภัยทางการเมืองไปอยู่ในสถานกงสุลอังกฤษ  เหตุการณ์คลี่คลายเมื่อวังหน้าทรงยอมลดพระราชอำนาจลง  และเสด็จไปประทับ ณ พระราชวังบวรสถานมงคล  จนเสด็จทิวงคตใน พ.ศ. 2428

                    ใน พ.ศ. 2413  หลังจากเสด็จขึ้นครองราชย์ได้  2  ปี  รัชกาลที่ 5  ทรงวางรากฐานทางอำนาจด้วยการตั้ง กรมทหารมหาดเล็ก ขึ้นเพื่อสร้างฐานพระราชอำนาจของกษัตริย์  ในต้นปี พ.ศ. 2416  ได้ทรงออก พระราชบัญญัติหอรัษฎากรพิพัฒน์ รวมการเก็บภาษีเข้าสู่ศูนย์กลาง

                    หลังพระราชพิธีบรมราชาภิเษก  รัชกาลที่ 5  เริ่มปฏิรูปการปกครองเพื่อรวมอำนาจเข้าสู่สถาบันพระมหากษัตริย์  ด้วยการตราพระราชบัญญัติขึ้น  4  ฉบับ  การปฏิรูปก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างฝ่ายวังหลวงกับวังหน้า  รัชกาลที่ 5  จึงทรงต้องชะลอการปฏิรูปในด้านต่าง ๆ จนกระทั่งกรมพระราชวังบวรวิชัยชาญทิวงคตใน พ.ศ. 2428  จึงทรงดึงอำนาจเข้าสู่สถาบันพระมหากษัตริย์ได้

                    ต่อมากลุ่มก้าวหน้า ร.ศ. 103  ได้นำความกราบบังคมทูลต่อรัชกาลที่ 5  ถวายความเห็น  ประเด็นสำคัญ คือ ได้เสนอให้ปรับปรุงการปกครองของประเทศให้เป็นแบบพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ  คำกราบบังคมทูลของกลุ่มก้าวหน้า ร.ศ. 103  ที่ขอให้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญนั้น  รัชกาลที่ 5  ทรงเห็นว่าเมืองไทยขณะนั้นขัดสนคนมีความรู้  และยังไม่พร้อมที่จะปกครองภายใต้รัฐธรรมนูญ  สิ่งสำคัญสำหรับประเทศไทยไม่ใช่การเปลียนแปลงการปกครอง  แต่เป็นการปฏิรูปการบริหารราชการเพื่อให้ข้าราชการทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น  พ.ศ. 2417 2428  กลุ่มขุนนางเก่าเริ่มหมดบทบาททางการเมือง  ระหว่าง พ.ศ. 2418 2432  รัชกาลที่ 5  ทรงตั้งพระอนุชาหลายพระองค์ขึ้นทรงกรม  นอกจากนี้ในช่วงนี้ยังมีกำลังทหารมากขึ้น

                   

     

                    ในขณะที่ส่วนกลางที่กรุงเทพฯ  มีการปฏิรูปการปกครองนั้น  รัฐบาลได้เริ่มขยายอำนาจการปกครองไปยังหัวเมืองตามส่วนภูมิภาค  เพื่อรวมอำนาจสู่รัฐบาลกลางให้กระชับขึ้น  พยายามให้รัฐบาลใกล้ชิดกับหัวเมืองยิ่งขึ้น

                    การปฏิรูปการปกครองหัวเมืองเป็นนโยบายสำคัญของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  เพราะรัฐบาลกลางที่กรุงเทพฯ  เริ่มเห็นความจำเป็นที่จะต้องรักษาเสถียรภาพทางชายแดนให้พ้นจากภัยคุกคามของมหาอำนาจ

                    การปฏิรูปการปกครองครั้งสำคัญในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  เริ่มต้นประมาณ พ.ศ. 2430  ทรงตั้งกรมขึ้นใหม่  6  กรม  เมื่อรวมกับที่มีอยู่เดิมแล้ว  6  กรม  เป็น  12  กรม  ดังนี้

                    กรมมหาดไทย                       ปกครองฝ่ายเหนือและเมืองลาว

                    กรมพระกลาโหม   ปกครองฝ่ายใต้  ตะวันออก  ตะวันตก  และมลายู

                    กรมท่า                                    ดูแลการต่างประเทศ

                    กรมวัง                                    ดูแลในพระราชวังและกรมซึ่งรับราชการในพระองค์

                    กรมเมือง                                ว่าการตำรวจ  การบัญชีพล (สุรัสวดี)  และนักโทษ

                    กรมนา                                    ดูแลการเพาะปลูก  การค้าขาย  ป่าไม้  และบ่อแร่

                    กรมพระคลัง                          ดูแลภาษีอากร  เงินรับจ่ายในแผ่นดินทั้งหมด

                    กรมยุติธรรม                          จัดการศาล  ชำระความทั้งแพ่งและอาญา

                    กรมยุทธนาธิการ                   ตรวจตราจัดการในกรมทหารบก  ทหารเรือ

                    กรมธรรมการ                         จัดการศึกษาและการศาสนา

                    กรมโยธาธิการ                      ก่อสร้าง  ขุดคลอง  การช่างทั่วไป  การไปรษณีย์โทรเลข  การรถไฟ

                    กรมมุรธาธิการ                      รักษาพระราชลัญจกร  พระราชกำหนดกฎหมาย  และหนังสือ

                                                                    ราชการทั้งหมด

     

                    ต่อมาใน พ.ศ. 2435  กรมเหล่านี้ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นกระทรวง  และใน พ.ศ. 2437  ได้มีพระราชบัญญัติแยกอำนาจหน้าที่ของกระทรวงกลาโหมและมหาดไทยออกจากกันอย่างเด็ดขาด

    จัดระเบียบการปกครองส่วนภูมิภาคในลักษณะการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง  เรียกระบบการปกครองแบบใหม่นี้ว่า  ระบบเทศาภิบาล

                    หลักการปกครองตามระบบเทศาภิบาลมีระบุไว้ในประกาศจัดปันหน้าที่ระหว่างกระทรวงกลาโหมและกระทรวงมหาดไทย ร.ศ. 113  ซึ่งรวมหัวเมืองทั้งหมดไว้ใต้การบังคับบัญชาของกระทรวงมหาดไทย  ต่อมาได้มีพระราชบัญญัติลักษณะการปกครองท้องที่ ร.ศ. 116  และข้อบังคับลักษณะปกครองหัวเมือง ร.ศ. 117  ตราขึ้นเพื่อจัดการปกครองหัวเมืองตั้งแต่ระดับสูงสุดถึงระดับต่ำสุด

    ไทยเริ่มจัดส่วนราชการบริหารตามแบบใหม่  มีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบตามลำดับ 

                    มณฑล  มีข้าหลวงเทศาภิบาลเป็นผู้บังคับบัญชาการ  ขึ้นตรงต่อเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย

                    เมือง  ให้เจ้าเมืองหรือผู้ว่าราชการเมืองเป็นผู้ปกครอง  โดยอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของข้าหลวงเทศาภิบาลประจำมณฑลนั้น ๆ      

                    อำเภอ  มีนายอำเภอเป็นผู้ปกครอง

                    ตำบลและหมู่บ้าน  เป็นหน่วยการปกครองระดับล่างสุด  ผู้ใหญ่บ้านปกครองหมู่บ้าน  กำนันปกครองตำบล

     

                    เจ้าเมืองและกรมการเมืองเป็นกลไกในการปกครองของรัฐบาลกลางที่กรุงเทพฯ  ทรงปรับปรุงระบบเงินเดือน  เก็บส่วนแบ่งของเงินภาษีมาเป็นระบบเงินเดือนจากส่วนกลาง

                    การเปลี่ยนระบบการปกครองหัวเมืองเป็นระบบเทศาภิบาลนี้มิได้ดำเนินไปอย่างราบรื่น  เนื่องจากรัฐบาลประสบปัญหาหลายประการด้วยกัน ได้แก่

    1.     การขาดบุคลากรไปปฏิบัติงาน

    2.     รัฐบาลกลาขาดงบประมาณ ทำให้ต้องเร่งรัดภาษี

    3.     อำนาจของรัฐไปกระทบกับผลประโยชน์ของเจ้าเมืองและราษฎรท้องถิ่น

    4.     รัฐบาลไม่ต้องการที่จะนำการปกครองแบบใหม่ เข้าไปใช้ตามหัวเมืองชายแดน เพราะเกรงจะถูกต่อต้านจากผู้ไม่พอใจที่ต้องสูญเสียอำนาจ

                    การเปลี่ยนแปลงการปกครองที่สำคัญอีกประการหนึ่ง  คือ  การปรับปรุงการปกครองส่วนท้องถิ่นที่ต้องการให้ราษฎรมีส่วนในการปกครองประเทศ  ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติจัดการสุขาภิบาล  การสุขาภิบาลเริ่มขึ้นเป็นครั้งแรกที่ท่าฉลอม  จังหวัดสมุทรสาคร  เมื่อ พ.ศ. 2448  มีการตั้งคณะกรรมการสุขาภิบาลขึ้นจากคนในท้องถิ่น  มีการเก็บภาษีโรงร้านและให้สุขาภิบาลมีอำนาจใช้เงินที่เก็บได้มาบำรุงท้องที่ของตน  สำหรับในกรุงเทพฯ  มีพระราชกำหนดสุขาภิบาลใน ร.ศ. 116 (พ.ศ. 2440)  และมีพระราชกำหนดสุขาภิบาลเป็นชื่อหัวเมือง ร.ศ. 127 (พ.ศ. 2451)       

    การเมืองการปกครองสมัยรัชกาลที่ 6

    เหตุการณ์สำคัญทางการเมืองที่เกิดขึ้นในช่วงต้นรัชกาล คือ กบฏ ร..130 (พ..2454) เกิดขึ้นเนื่องจากกลุ่มนายทหารหนุ่มและพลเรือนกลุ่มหนึ่งได้ตั้งขบวนการที่จะก่อปฏิวัติเพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครอง หัวหน้าขบวนการ 130 คือ นายร้อยเอก ขุนทวยหาญพิทักษ์ ร้อยตรีเหรียญ ศรีจันทร์ และร้อยตรีจรูญ ชตะเมษ ขบวนการนี้มีแผนที่จะเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา

    ขบวนการ ร..130 ต้องประสบความล้มเหลวเนื่องจากถูกจับกุมเสียก่อน มีการลงโทษตั้งแต่ประหารชีวิตและจำคุก แต่รัชกาลที่6ให้ลดหย่อนโทษลงให้ เหลือจำคุกตลอดชีวิต หลายคนรอแต่เพียงลงอาญา พ..2467ทุกคนได้รับพระราชทานอภัยโทษ

    ขบวนการ ร..130 เป็นผลจากการเจริญเติบโตของระบบราชการไทยที่ก่อตั้งในรัชกาลที่5แล้วพัฒนากลายเป็นกลไกสำคัญในการปกครองประเทศ นำไปสู่ความต้องการมีส่วนในการปกครองประเทศ

    หลังกบฏ ร..130 รัชกาลที่6 ชี้ให้เห็นว่าระบอบราชาธิปไตยเหมาะสมที่สุดสำหรับเมืองไทย และทรงปรับปรุงโครงสร้างการปกครองประเทศทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค

    ทรงพยายามพัฒนาความรู้ความคิดของพลเมืองให้มากขึ้น เช่น การตราประราชบัญญัติประถมศึกษา พ..2464 และการให้สิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นแก่วงการหนังสือพิมพ์

    ทรงเห็นว่าการปกครองแบบประชาธิปไตยในประเทศไทยควรจะมีลักษณะค่อยเป็นค่อยไป  จึงทรงจัดตั้งดุสิตธานีลักษณะเป็นเมืองประชาธิปไตยในบริเวณพระราชวังดุสิต เพื่อฝึกให้ขุนนางและข้าราชการทดลองปกครองและบริหารราชการท้องถิ่นเรียกว่า เทศบาล

    การเมืองการปกครองสมัยรัชกาลที่  7

                    พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นเสวยราชสมบัติเมื่อ พ.ศ. 2468  ทรงพยายามปรับปรุงการปกครองและการเมืองหลายประการด้วยกัน  ได้แก่  การตั้งอภิรัฐมนตรีเป็นที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน  คณะรัฐมนตรีสภา  คณะเสนาบดีสภา  ซึ่งเป็นที่ประชุมคณะเสนาบดีและคณะองคมนตรี  ปรับปรุงสถาบันการเมือง  พัฒนาระบบการปกครองส่วนท้องถิ่นให้เป็นประชาธิปไตย  ได้แก่  การบริหารส่วนท้องถิ่นแบบเทศบาลและสุขาภิบาล  จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์การปฏิวัติดปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475

                    การจัดตั้งสถาบันการเมืองต่าง ๆ เป็นการกระจายการตัดสินใจทางการเมืองไปสู่กลุ่มเจ้านาย  แต่ขั้นตอนการตัดสินใจขั้นสุดท้ายก็ต้องอยู่ที่พระมหากษัตริย์ตามระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์  ปัญหาทางด้านการเมืองที่อำนางการปกครองตกอยู่ในหมู่พระราชวงศ์  ทำให้กลุ่มข้าราชการรุ่นใหม่ ๆ ที่จบการศึกษาจากต่างประเทศไม่พอใจ  ปัญหาทางสังคม  ได้แก่  ปัญหาทางชนชั้น  ซึ่งก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างพระราชวงศ์กับกลุ่มสามัญชน

                    ได้ทรงพยายามแก้ไขข้อบกพร่องต่าง ๆ และพยายามกระจายความรับผิดชอบในด้านการปกครองออกไปสู่คณะเสนาบดีและคณะสภาองคมนตรี

                    รัชกาลที่  7  ทรงสนับสนุนการปกครองที่มาจากประชาชน  พระองค์จึงให้ความสำคัญต่อการปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปของเทศบาล  และได้ออกร่างพระราชบัญญัติเทศบาลฉบับแรกขึ้นเมื่อ  พ.ศ. 2473  แต่ยังไม่ทันได้ประกาศใช้ก็เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ. 2475  เสียก่อน

                    รัชกาลที่  7  ทรงมีแผนที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญ  ในรัชกาลนี้มีการร่างรัฐธรรมนูญถึง  2  ฉบับ             ฉบับแรกคือ  ร่างรัฐธรรมนูญของพระยากัลยาณไมตรี

                    ฉบับที่สอง  ร่างเสร็จเมื่อวันที่  9  มีนาคม พ.ศ. 2474  เพียง  3  เดือนครึ่งก่อนการปฏิวัติ 

    แผนพัฒนาการปกครองของรัชกาลที่  7  สิ้นสุดลงเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตย  โดยมีพระมหากษัตริย์ทรงอย่ใต้กฎหมายเมื่อวันที่  24  มิถุนายน พ.ศ. 2475

    สาเหตุของการเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ. 2475

                    1. ความเสื่อมศรัทธาการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์  เริ่มเสื่อมลงตั้งแต่สมัยรัชกาลที่  6  มาจนถึงสมัยรัชกาลที่  7

                2. ประชาชนชาวไทยบางส่วนได้รับการศึกษาแบบตะวันตก  ได้ส่งนักเรียนไทยไปศึกษายังประเทศต่าง ๆ ในยุโรป  นอกจากวิชาความรู้แล้ว  ยังรับอิทธิพลความคิดวัฒนธรรมแบบตะวันตกกลับมาด้วย

                    3. อิทธิพลของสื่อมวลชน  ก่อนการปฏิวัติ พ.ศ. 2475  ในกรุงเทพฯ  มีการออกหนังสือพิมพ์ของเอกชนหลายฉบับ  หนังสือพิมพ์เหล่านี้ได้พากันวิพากษ์วิจารณ์การบริหารงานที่บกพร่องของรัฐบาลอยู่บ่อย ๆ อีกทั้งยังยกย่องระบอบประชาธิปไตยอีกด้วย 4. เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำภายในประเทศอย่างรุนแรง  เศรษฐกิจของประเทศไทยเริ่มตกต่ำตั้งแต่ปลายรัชกาลที่  6  เนื่องจากเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1  รัชกาลที่  6  ทรงใช้จ่ายเงินจำนวนมาก  พอมาถึงสมัยรัชกาลที่ 7  เศรษฐกิจโลกตกต่ำอย่างร้ายแรง  รัชกาลที่ 7  ทรงดำเนินนโยบายประหยัดเงินทุกวิถีทาง  พวกที่นิยมระบอบประชาธิปไตยต่างกล่าวหาว่าเป็นเพราะความบกพร่องของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์  และคณะราษฎรได้อ้างเหตุผลนี้ในการยึดอำนาจการปกครอง

                                   

     

     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×